Title Thumbnail & Hero Image: ภาพเขียนที่ม้วนแบบ "ปธาน" แสดงเรื่องเล่าในมหาภารตะ พรรณนาถึง พระสรัสวติ; (ที่ราบสูง) เดกกัน (ทางตะวันตกและใต้ของอินเดีย), คศว.ที่ 19-20, บริติชมิวเซียม, ที่มา: https://hinduaesthetic.medium.com, วันที่เข้าถึง 16 เมษายน 2566.
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.005 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท (ต่อ 2)01, 02.
First revision: Apr.15, 2023
Last change: Aug.14, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
89 (ต่อ)
VI
แนวโน้มแนวคิดเอกเทวนิยม
ดังที่เราจะเห็นจากการอภิปรายเกี่ยวกับอรรถรเวท แนวคิดที่เป็นตำนานนอกขอบเขตของโลกชาวอารยัน ที่อยู่ในระดับความคิดที่แตกต่างกันเข้ามาในวิหารแห่งพระเวท. เหล่าทวยเทพและเทพีที่แน่นขนัดนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเหนื่อยล้าแก่สติปัญญา. ดังนั้นแนวโน้มจึงเกิดขึ้นเร็วมากในการที่จะระบุเทพเจ้าองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่ง หรือรวบเหล่าทวยเทพเข้าไว้ด้วยกัน.
90
มีความพยายามในการจัดหมวดหมู่ทำให้เทพเจ้าเหลือเพียงสามวง คือ พื้นดิน ท้องฟ้า และอากาศ. บางครั้งเราก็เรียกเทพเจ้าเหล่านี้ว่า 333 หรือ การรวมกันของสามที่เป็นตัวเลข.1. ทวยเทพจะถูกอัญเชิญเป็นคู่เมื่อทำหน้าที่เหมือนกัน. บางครั้งก็นำมารวมเข้าด้วยกันเป็น วิศเวเทพ01. หรือแนวคิดเกี่ยวกับ (การรวมครอบคลุมทั้งหมดของ) เหล่าเทพเจ้า. แนวโน้มในการจัดระบบนี้เป็นด้านปลายของธรรมชาติในลัทธิเอกเทวนิยม ซึ่งตรงไปตรงมามากกว่า และ (เทียบกับแนวคิดเดิมที่) เทพีขัดขวางกันเอง.
ลัทธิเอกเทวนิยมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับความคิดที่แท้จริงเกี่ยวกับพระเจ้า. สิ่งสูงสุดมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น. เราไม่สามารถมีสองสิ่งสูงสุดและไม่จำกัดได้. ทุกคำถามได้ถามว่าพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างพระเจ้าองค์อื่นด้วยหรือไม่. พระผู้เป็นเจ้าที่ถูกสร้างขึ้นนั้น ไม่ใช่พระเจ้าเลย. ด้วยความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของโลกและธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า. เหล่าทวยเทพจึงมีแนวโน้มที่จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว. การรับรู้ถึงความเป็นเอกภาพที่เกิดขึ้นในแนวคิดของฤทธา เป็นการทำงานเพื่อสนับสนุนลัทธิเอกเทวนิยม. ทว่าปรากฎการณ์ที่หลากหลายของธรรมชาตินั้น มีความต้องการทวยเทพหลายองค์ ความกลมกลืนของธรรมชาติก็ไม่ควรต้องการเทพเจ้าองค์เดียวที่โอบรับทุกสิ่งที่เป็นอยู่หรือ. ความเชื่อถือในกฎธรรมชาติ นั่นหมายถึงความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว. ความก้าวหน้าของความคิดนี้บ่งบอกถึงการเป็นอัมพาตของความเชื่อในโชคลาง. ระบบธรรมชาติที่เป็นระบบระเบียบจะไม่มีที่ว่างสำหรับการแทรกแซงที่น่าพิศวงซึ่งความเชื่อโชคลางและความคิดที่สัยสนเพียงลำพังเพื่อค้นหาสัญญาณของการนับถือพระเจ้าหลายองค์. ในการบูชาพระวรุณนั้น เรามีแนวทางที่ใกล้เคียงที่สุดในการนับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว. ด้วยคุณลักษณะทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ อาทิ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความชอบธรรม และแม้แต่ความสงสารก็ถูกกำหนดไว้ที่พระองค์. มีการเน้นย้ำในด้านที่สูงส่งกว่าและอุดมคติมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไปถึงการปราบหรือการละเลยเชิงเปรียบเทียบของด้านโดยรวมหรือด้านที่เป็นวัตถุ. พระวรุณเป็นเทพเจ้าที่มนุษย์และธรรมชาติ ทั้งโลกนี้และทั้งอื่น ๆ ต่างล้วนเป็นเจ้าของ. พระองค์มิได้สนพระทัยเพียงเฉพาะแต่ความประพฤติภายนอกเท่านั้น แตยังทรงห่วงใยต่อความบริสุทธิ์ภายในของชีวิตอีกด้วย. ความต้องการโดยปริยายของจิตสำนึกของศาสนาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวได้แสดงออกในสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะว่าเป็นลัทธิที่อยู่นอกศาสนา (และความเชื่อตามที่ปรากฎใน) คัมภีร์พระเวท.
หมายเหตุ การขยายความ
01. วิศเวเทพ (विश्वेदेव - Viśve devāḥ) หมายถึง การกำหนดที่ใช้เพื่อกล่าวถึงเทพองค์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวททั้งหมด นอกจากนี้ยังหมายถึงการจำแนกประเภทของเทพในคัมภีร์ปุราณะโดยเฉพาะอีกด้วย วิศเวเทพบางครั้งถูกมองว่าเป็นการรวมตัวของทวยเทพที่ครอบคลุมมากที่สุด เป็นการจำแนกประเภทที่ไม่มีการระบุเทพใด ๆ, เสริมจาก: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 เมษายน 2566.
---------------
1. ดูใน ฤคเวท บรรพที่ 3 สรรคที่ 9. 9.
91
เป็นไปตามคำกล่าวของมัคส์ มึลเล่อร์ ผู้บัญญัติศัพท์นี้ (ลัทธิเอกเทวนิยม) การบูชาทวยเทพหลายองค์นั้น ในทางกลับกันก็ราวกับเป็น (การบูชา) เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นเพียงเทพเจ้าองค์เดียว. แต่การวางตำแหน่งทางความคิดทั้งหมดนั้นมีความขัดแย้งกันในเชิงตรรกะ โดยที่หัวใจได้แสดงวิถีที่ถูกต้องแห่งความก้าวหน้าและมีความเชื่อที่แย้งกันอยู่. เราไม่สามารถมีเทพเจ้าหลายองค์ได้ ด้วยเพราะจิตสำนึกทางศาสนา (ของเรา) นั้นต่อต้านความมีพระผู้เป็นเจ้าหลายองค์. (การมี) ลัทธินอกศาสนานั้น เป็นการรวมกลุ่มโดยไม่รู้ตัวไปสู่ลัทธิเอกเทวนิยม. ด้วยจิตใจที่อ่อนแอของมนุษย์ก็ยังคงแสวงหาเป้าหมาย (และที่พึ่ง) อยู่. คัมภีร์พระเวทของชาวอารยันนั้น ก็ตระหนักรู้ได้ถึงความลึกลับขั้นุสุดยอดและความไม่เพียงพอต่อแนวคิดที่แพร่หลายนี้ (ลัทธิเอกเทวนิยม). เหล่าทวยเทพที่ได้รับการบูชาทรงยืนเคียงข้างกัน แม้ว่าในขณะนี้จะมีเทพเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ดำรงตำแหน่งสูงสุด. พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวจะไม่ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าองค์อื่น ๆ . แม้แต่เทพขั้นรองลงมาในบางครั้งก็ยังได้รับตำแหน่งสูงสุด. ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความทุ่มเทของกวีและสิ่งพิเศษในมุมมองของกวีเอง. "พระวรุณทรงเป็นสรวงสวรรค์ พระวรุณทรงเป็นพื้นพสุธา พระวรุณทรงเป็นห้วงจักรวาลและเป็นทั้งสิ้นนอกเหนือไปจากนี้." บางครั้งพระอัคนีก็เป็นทวยเทพทั้งหมด ในขณะที่เทพแต่ละองค์ดูเหมือนจะเป็นภาพถ่ายรวมหมู่ของบรรดาทวยเทพทั้งหลาย. การจำนนของมนุษย์ต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญของประสบการณ์ทางศาสนา ซึ่งเป็นไปได้กับพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น. ดังนั้นลัทธินอกรีตจึงดูเหมือนว่าเป็นผลมาจากตรรกะของศาสนา มันไม่ได้เป็นไปตามที่บลูมฟิลด์เสนอว่า "ลัทธิพหุนิยมเริ่มเย็นชาในการรับใช้ (พระผู้เป็นเจ้า) และเข้มงวดไร้ความปรานีในความแตกต่างซึ่งนำไปสู่การฉวยโอกาสในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทุกองค์ต่างถือคทาแต่ไม่มีองค์ใดรักษามันไว้."1.
เมื่อเทพแต่ละองค์ถูกมองว่าเป็นผู้สร้างและมีคุณลักษณะของการเป็นพระวิศวกรรม ผู้สร้างโลก และพระประชาบดี01. เจ้าแห่งสรรพสัตว์ เป็นเรื่องง่ายที่ละทิ้งคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ และสร้างเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ร่วมกันแทน โดยเเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเทพเจ้าหลายองค์แล้ว ก็จะมีแนวคิดที่คลุมเครือและสับสนเท่านั้นและมิใช่บุคคลจริง ๆ .
อุดมคติทีละน้อยของความคิดที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าตามที่ได้เปิดเผยในลัทธิพระวรุณนั้น ตรรกะของศาสนาที่มีแนวโน้มน้อมนำที่จะให้เหล่าทวยเทพไหลรวมเข้าหากัน ลัทธินอกศาสนาที่บ่ายหน้าไปในทิศทางของการเป็นเอกเทวนิยม (การนับถือพระเจ้าองค์เดียว) แนวคิดของฤทธาหรือความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติและแรงกระตุ้นที่จะจัดระบบจิตใจของมนุษย์ - ทั้งหมดนี้ได้ช่วยให้เกิดการแทนที่ของลัทธิมานุษยวิทยาที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ โดยลัทธิเอกเทวนิยมทางจิตวิญญาณแทน.
หมายเหตุ การขยายความ
01. พระประชาบดี หรือ พระประชาปติ (प्रजापति - Prajāpati) หมายถึง 'เจ้าแห่งสรรพสัตว์' เป็นเทพเจ้าฮินดูสมัยพระเวท ในวรรณคดีและคติยุคหลัง พระประชาบดีมักถูกอธิบายและระบุด้วยว่าเป็นพระผู้สร้าง คือพระพรหม แต่นามนี้ยังหมายความรวมถึงเทพเจ้าต่าง ๆ อีกหลายองค์ ขึ้นอยู่กับข้อความอันระบุที่ปรากฏนั้น ๆ ตั้งแต่การเป็นเทพเจ้าผู้สร้างไปจนถึงเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เช่น พระวิศวกรรม พระอัคนี พระอินทร์ พระทักษะ และเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมากมาย สะท้อนจักรวาลวิทยาฮินดูที่หลากหลาย ในวรรณคดีคลาสสิกและยุคกลาง ประชาบดีมีคติทางอภิปรัชญาที่เรียกว่าพรหมันในฐานะประชาบดี-พรหมัน (สวยัมภู พราหมัณ) หรืออีกทางหนึ่งคือพราหมณ์อันอธิบายว่าเป็นรูปผู้ที่มีปรากฏรูปแรกเริ่มก่อน คือ พระประชาบดี บทบาทของพระองค์อีกประการในศาสนาฮินดูคือ เป็นบิดาของชายาพระพิฆเนศทั้งสองนาง คือ นางสิทธิและนางพุทธิ พระองค์ยังปรากฏบทบาทอันเป็นที่รู้จักในธชัคคปริตรของศาสนาพุทธ และทรงเป็นสัญลักษณ์ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสถาบันพระประชาบดีของกระทรวงในประเทศไทย, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 25 เมษายน 2566.
---------------
1. ศาสนาแห่งพระเวท. หน้าที่ 199.
92
ในช่วงเวลานี้ นักพยากรณ์แห่งศาสนาพระเวทได้ให้ความสนใจที่จะค้นหาสาเหตุเดียวที่มีการรังสรรค์เอกภพ ซึ่งตัวเอกภพเองมิได้ถูกสร้างและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง. วิธีเดียวในการสร้างลัทธิเอกเทวนิยมดังกล่าวได้ก็คือ การให้เหล่าทวยเทพอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเทพที่อยู่สูงกว่าหรือควบคุมดวงวิญญาณของเหล่าทวยเทพ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์กำหนดการทำงานของเหล่าเทพเจ้าที่ต่ำศักดิ์เอาไว้. กระบวนการนี้ได้ตอบสนองความต้องการที่มีเทพเจ้าองค์เดียว และยังช่วยให้พวกเขารักษาความต่อเนื่องกับอดีตได้ ความคิดของชาวอินเดียไม่ว่าจะกล้าหาญและจริงใจเพียงใด ก็ไม่เคยแข็งกระด้างและหยาบคาย. แนวความคิดของชาวอินเดียเช่นนี้จะไม่สนใจว่าจะเป็นที่นิยมหรือไม่ และมักจะไม่มีการประนีประนอมใด ๆ ทว่าตรรกะที่ไร้ความปรานีเช่นนี้ ได้กลายมาเป็นบรมครูที่อิจฉาและระแวงมีความคิดที่จะล้างแค้นเอาคืน ด้วยเหตุนี้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในปัจจุบันจึงหมายถึงกลุ่มปรัชญา ศาสนา นิทานปรัมปรา และเวทมนตร์จำนวนมากที่หลากหลายแตกต่าง. มีเทพเจ้าหลายองค์ถือรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปตามจิตวิญญาณอันเป็นสากล. เหล่าทวยเทพนี้จะปกครองในขอบเขตของตนภายใต้อำนาจสูงสุด.อำนาจของเหล่าเทพได้ถูกจัดแบ่ง มอบหมายออกไป และการปกครองของทวยเทพนี้เป็นเพียงระดับอุปราช (ระดับรอง ๆ ) แต่ไม่มีความเป็นรัฐาธิปัตย์. ดังนั้นเหล่าทวยเทพแห่งการบูชาตามธรรมชาติที่สับสนก็กลายเป็นพลังแห่งจักรวาลซึ่งการประกอบกิจพิธีถูกควบคุมอยู่ในระบบที่เป็นหนึ่งเดียว. แม้แต่พระอินทร์และพระวรุณก็กลายเป็นเทพประจำในหน่วยย่อย. ตำแหน่งสูงสุดในระยะหลังของฤคเวทนี้จะตกเป็นของพระวิศวกรรม.1. พระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าที่มองเห็นทุกสรรพสิ่ง ทรงมีพระเนตร พระพักตร์ พระกร พระบาท ที่ช่วยรังสรรค์สวรรค์และโลก ด้วยพระกรและปีกของพระองค์ ทรงรับรู้เรื่องราวในโลกทั้งมวล ทว่า (ซับซ้อน) เหนือความเข้าใจของปุถุชน. ยังมีการอ้างว่าพระพฤหัสปติเป็นเทพในตำแหน่งสูงสุดอีกด้วย.2. ในหลาย ๆ แห่งก็กำหนดให้พระประชาบดี เป็นเทพแห่งสรรพสัตว์.3. ส่วนพระหิรัญยครรภ์ทรงเป็นเทพแห่งทองคำ ถือกำเนิดขึ้นตามพระนามขององค์เทพสูงสุด ซึ่งมีการอธิบายว่าทรงเป็นเทพองค์เดียวในทุกสิ่งที่มีอยู่.4.
พระวิศวกรรม (ศีรษะโขนไทย), ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง 7 พฤษภาคม 2566.
VII
ลัทธิที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว เปรียบเทียบกับ ลัทธิที่เชื่อว่ามีเพียงปัจจัย
แม้ในสมัยที่มีบทสวดพระเวท เราไม่เพียงแต่มีจินตนาการและความคิดที่เพ้อฝันเท่านั้น แต่ทว่ายังมีความคิดที่จริงจัง
---------------
1. ดูบรรพที่ 10 สรรคที่ 81. 82.
2. ดูบรรพที่ 10 สรรคที่ 72.
3. ดูบรรพที่ 10 สรรคที่ 81. 43. บรรพที่ 10 สรรคที่ 189. 4; ศตปถพราหมณะ {ได้อรรถาธิบายในยชุรเวทขาว คือ ศุกล} บรรพที่ 6 สรรคที่ 6. 8. 1-14; บรรพที่ 10 สรรคที่ 1. 3. 1.
4. บรรพที่ 10 สรรคที่ 121.
93
และการสอบถามที่เกิดจากการที่เรามักพบอารมณ์ตั้งคำถามที่ยืนยันตัวตน. ความจำเป็นที่จะต้องตั้งสิ่งที่ถือเป็นหลักอันเป็นเทพเจ้าหลายองค์นั้น เกิดจากแรงกระตุ้นของจิตใจ ซึ่งพยายามทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ได้รับมา. "ในยามราตรีนั้น ตะวันอยู่ไหนเล่า?" "ในยามทิวา หมู่ดาวอยู่ไหนเล่า?" "ทำไมพระอาทิตย์ไม่ตกลงมา?" "ในสองสิ่งนี้ ระหว่างราตรีกับทิวา อย่างไหนมาก่อน อย่างไหนอยู่ทีหลัง?" "พระพายนั้นมาจากไหนหนอและจะพัดไปหนใด?"1 ด้วยคำถามเช่นนี้ จากความรู้สึกเกรงขามและพิศวง อันเป็นต้นกำเนิดของวิทยาศาสตร์และปรัชญาทั้งหมด. โดยสัญชาตญาณแล้ว เราได้เห็นการรวมกลุ่มขององค์ความรู้ที่เผยให้เห็นในทุกรูปแบบและจินตนาการ. ทวยเทพหลายองค์ถูกหยาม. ความโหยหาของหัวใจมนุษย์ไม่สามารถทำให้เหล่าเทพเจ้าที่มีพหุลักษณ์พอใจได้. ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเทพเจ้าองค์ไหนมีจริง. กัสเม ดีไวย หะวิษา วิทีม (कस्मै देवाय हविषा विधेम) "เราจะถวายบูชาแด่เทพเจ้าองค์ใด"2. ต้นกำเนิดอันต่ำต้อยของเทพเจ้านั้นดูจะจดวางและระบุเครื่องหมายไว้แล้ว. เทพเจ้าองค์ใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินอินเดีย และบางองค์ก็หยิบยืมมาจากชนพื้นเมือง. การสวดอ้อนวอนเพื่อให้เราเลื่อมใสนั้นเป็นไปไม่ได้ ในช่วงเวลาที่ศรัทธามีความมั่นคงไม่สั่นคลอน3. ความสงสัยลอยล่องอยู่ในอากาศ. การดำรงอยู่และอำนาจอันสูงส่งของพระอินทร์ถูกตั้งคำถาม4. เหล่านาสติกะ01. หรือวิญญูชนที่ปฏิเสธ (การดำรงอยู่ของพระเจ้า) ที่กำลังวุ่นวายอยู่กับงานเพื่อละทิ้งสิ่งทั้งปวงอันเป็นเปลือกกระพี้แห่งความเท็จ. บทสวดถูกส่งไปถึงเทพเจ้าที่ไม่รู้จัก เรามาถึง "พลบค่ำแห่งทวยเทพ" ซึ่งพวกเขากำลังจะจากไปอย่างช้า ๆ . ใน (ยุค) คัมภีร์อุปนิษัท แสงโพล้เพล้ก็กลายเป็นย่ำค่ำ และเทพที่แท้จริงองค์นั้นก็หายไป แม้แต่ผู้ที่ยังเฝ้าฝันถึงอดีต. กระทั่งเทพองค์เดียวที่ยิ่งใหญ่ในยุคลัทธิเอกเทวนิยม (ที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) ก็ไม่รอดพ้นจากการวิพากษ์วิจารณ์. จิตใจของมนุษย์มิได้พึงพอใจกับเทพยดาที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาให้ศักดิ์สิทธิ์. มีหรือที่เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าอีกองค์หนึ่ง คำถามนี้คงไม่ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครถาม. "ใครบ้างที่ได้เห็นบุตรหัวปี ในเมื่อผู้ไม่มีกระดูกได้ให้กำเนิดบุตรที่มีกระดูก ไหนเล่าคือชีวิต เลือด ตัวตนของจักรวาล ใครบ้างที่จะเข้าไปถามผู้ที่พอรู้?"5. มันเป็นปัญหาพื้นฐานของปรัชญา. ชีวิตหรือสารัตถะของจักรวาลคืออะไร ลำพังความเชื่อเพียงอย่างเดียวมิอาจทำให้บังเกิดได้. เราต้องรู้สึกหรือสัมผัสกับความเป็นจริงทางวิญญาณ.
หมายเหตุ การขยายความ
01. นาสติกะ (नास्तिका - nāstika) ตรงข้ามกับอาสติกะ (आस्तिक - āstika), นาสติกะ คือบรรดาผู้ปฏิเสธทุกคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องของเหล่าอาสติกะ พวกเขาไม่เชื่อในการมีอยู่ของวิญญาณหรือตัวตน ไม่เชื่อในพระเจ้า หรือพวกอเทวนิยม.
---------------
1. ฤคเวท บรรพที่ 1 สรรคที่ 24. 185.
2. บรรพที่ 10 สรรคที่ 121.
3. บรรพที่ 10 สรรคที่ 151.
4. บรรพที่ 10 สรรคที่ 86. 1; บรรพที่ 7 สรรคที่ 100-3; บรรพที่ 2 สรรคที่ 12. 5.
5. ฤคเวท บรรพที่ 1 สรรคที่ 4. 164.
94
ด้วยคำถามคือ "ใครได้เห็นบุตรหัวปีบ้าง?"1. จิตที่แสวงหาไม่ได้สนใจกับความสะดวกสบายและความสุขส่วนตัวมากเท่าความจริงแท้. ไม่ว่าคุณจะมองพระผู้เป็นเจ้าด้วยความเถื่อนดิบว่าเป็นผู้ที่ขี้โมโหหรือโกรธเคือง หรือมองว่าเป็นผู้ที่มีอารยธรรมที่มีความเมตตา เป็นผู้ตัดสินโลกทั้งใบ เป็นผู้ประพันธ์และเป็นผู้ควบคุมโลก นับเป็นแนวคิดที่อ่อนแอซึ่งไม่สามารถทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ได้. ความคิดของมนุษย์ (เช่นนี้) จะต้องจางหายไป. พวกเขาให้สิ่งแทนพระผู้เป็นเจ้าแก่เรา แต่ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าที่มีชีวิตที่แท้จริง. เราต้องเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นศูนย์กลางของชีวิต ไม่ใช่เงาของพระองค์ที่สะท้อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์. พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นแสงสว่างที่ไม่รู้จักหมดสิ้นอยู่รายล้อมเราทุกด้าน. ปราโณ วิราฏ ("ชีวิตนั้นยิ่งใหญ่"). ซึ่งรวมถึงความคิดต่าง ๆ ที่ไม่น้อยไปกว่าสรรพสิ่งเลย. สิ่งเดียวกันเปิดตัวเองภายใต้แง่มุมที่แตกต่างกัน. เป็นหนึ่งเดียวที่สม่ำเสมอ นิรันดร์ มีความจำเป็น ไม่มีที่สิ้นสุด และทั้งมวลนั้นทรงพลัง. จากมันทั้งหมดที่ไหลออกมา. แล้วมันทั้งหมดก็ไหลย้อนกลับไป. ไม่ว่าคุณค่าทางอารมณ์โดยส่วนตัวของพระผู้เป็นเจ้าจะเป็นเช่นไร ความจริงก็จักสร้างมาตรฐานที่แตกต่างออกไปและเรียกร้องสิ่งที่เคารพบูชาที่แตกต่างออกไปด้วย. ไม่ว่า (ลัทธิเอกเทวนิยม-ลัทธิที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) จะดูเย็นชาและห่างไกล น่ากลัวและไม่น่าพอใจเพียงใด แต่ที่สุดแล้วมันก็ไม่ได้เป็นความจริงอีกต่อไป. ลัทธิเอกเทวนิยมซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นในทุกวันนี้ ได้ล้มเหลวในการทำให้เหล่านักคิดด้านพระเวทพึงพอใจ.
พวกเขาใช้หลักการกลาง ๆ ของคำว่า สัต เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันอยู่เหนือเพศ. ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามีอยู่จริง ซึ่งพระอัคนี พระอินทร์ พระวรุณ ฯลฯ นั้น เป็นเพียงรูปหรือชื่อเท่านั้น. ซึ่งสิ่งนั้นมีอยู่ ไม่มากนัก แต่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความเป็นตัวตน เข้าปกครอง "เหนือทุกสรรพสิ่งทั้งที่ไม่เคลื่อนไหวและเคลื่อนไหว ทั้งที่เดินหรือเหินบิน มีชีวิตอยู่ด้วยกำเนิดที่แตกต่าง."2 "ความจริงซึ่งมีเพียงหนึ่ง ผู้ที่ได้เรียนรู้แล้วได้เรียกในชื่อที่ต่าง ๆ กันว่า พระอัคนี พระยม และพระมาตริศวัน01."3
สรวงสวรรค์ที่มีดวงดาวส่องสกาวและผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ ท้องทะเลและเนินเข้าที่ยาวจรดไม่มีที่สิ้นสุด,
ล้วนเป็นกิจของจิตที่เป็นหนึ่ง เป็นคุณสมบัติ
อันมีใบหน้าที่เหมือนกัน เบ่งบานอยู่บนต้นไม้เดี่ยว
เป็นคุณลักษณะแห่งการเปิดเผยซึ่งได้พยากรณ์ไว้อย่างยิ่งใหญ่
เป็นรูปแบบและสัญลักษณ์แห่งนิรันดร์
เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายและในท่ามกลางและไม่มีที่สิ้นสุด.4
หมายเหตุ การขยายความ
01. พระมาตริศวัน (मातरिश्वन् - Mātariśvan) เป็นบุตรสำคัญตนหนึ่งของพญาครุฑ (อ้างถึงโศลกที่ 14 อัธยายะที่ 10 อุโทยคบรรพ มหาภารตยุทธ). เป็นอุปเทพ หรือนรเทพ เป็นเทพย่อย (devatā - Demigod) มีเรื่องราวหลายเรื่องในพระเวทเกี่ยวกับการเกิดของอัคนี (ไฟ) แม้ว่าอัคนีซึ่งมีต้นกำเนิดจากเมฆจะมาถึงพื้นโลกในรูปของสายฟ้า แต่อัคนีก็ซ่อนตัวอยู่ ทำให้มองไม่เห็นอัคนี พระมาตริศวันเป็นผู้แปลงร่างของอัคนีจากพื้นโลกและมอบให้แก่ตระกูลฤๅษีภฤคุ {भृगु - Bhṛgu - อาดิ ฤๅษี - Ādi Rṣi - आदि र्षि - เป็นหนึ่งในสัปตฤษี (सप्तर्षि - Saptarṣi) เป็นฤษีตนแรก ๆ ของโลก} และทำให้พวกเขาสร้างอัคนีได้ตามต้องการ (ฤคเวท).
---------------
1. Ko dadarśa Prathamā jāyamānam? - มีใครเห็นชัยชนะครั้งแรกบ้าง? - को ददर्श प्रथमा जयमानं?, อยู่ในฤคเวท บรรพที่ 1. สรรคที่ 164. 4.
2. บรรพที่ 3 สรรคที่ 54. 8.
3. Ekaṁ sad viprā bahudhā vadanti - एकं सद् विप्र बहुधा वदन्ति - พราหมณ์ที่ดีท่านหนึ่งพูดได้หลายอย่าง
Agniṁ yamam mātariśvānam āhuḥ - अग्निं यमं मातरिश्वानं आहु - พวกเขาเรียกไฟ ยมะ และพระมาตริศวัน (บรรพที่ 1. สรรคที่ 164. 46).
4. เวิร์ดสเวิร์ธ พรีลูด 6.
95
หนึ่งเดียวนี้เป็นดวงวิญญาณของโลก เป็นเหตุผลที่มีอยู่จริงในจักรวาล เป็นแหล่งกำเนิดของธรรมชาติทั้งมวล เป็นพลังงานนิรันดร์. ไม่ใช่ทั้งสวรรค์และโลกมนุษย์ ไม่ใช่ทั้งแสงสุริยะและพายุ แต่ทว่าเป็นแก่นแท้อีกประการหนึ่ง บางทีฤทธา ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วนั้นคือ อทิติที่รับไว้ซึ่งจิตวิญญาณ ผู้ซึ่งหายใจอย่างไร้ลมหายใจ.1 เราไม่สามารถมองเห็นได้ เราไม่สามารถอธิบายได้อย่างเพียงพอ. ด้วยความจริงใจที่สัมผัสได้ กวีกล่าวสรุปว่า: "เราจะไม่มีวันได้เห็นผู้ให้กำเนิดสิ่งเหล่านี้เลย." "ฉันเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ฉันจึงถามหาที่ซ่อนของเหล่าทวยเทพ - เมื่อไม่พานพบ ฉันจึงได้ถามปราชญ์ที่อาจพบได้ จากสิ่งที่ไม่รู้ก็จะรู้ได้."2 มันเป็นความจริงอันสูงสุดซึ่งดำรงอยู่ในทุกสรรพสิ่งและขับเคลื่อนทุกสิ่งอัน (เสมือน) เป็นความจริงที่สดใสบนดอกกุหลาบ แตกช่องดงามในก้อนเมฆ แสดงความแข็งแกร่งท่ามกลางพายุ และได้วางตั้งเป็นดวงดาวบนท้องนภา. ณ ที่นี่เรามีการหยั่งรู้ได้ถึงพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง ซึ่งในบรรดาเหล่าเทพทวยเทพนั้นเป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ช่างมหัศจรรย์ในทุก ๆ วัน ช่างแสนวิเศษด้วยมันเป็นรุ่งอรุณของประวัติศาสตร์ด้านจิตใจซึ่งได้เห็นถึงโลกทัศน์ที่แท้จริง. ในการปรากฎตัวของความจริงหนึ่งเดียวนี้ ทำให้ความแตกต่างระหว่างชาวอารยันกับชาวดราวิเดียน01 ชาวยิวกับพวกนอกศาสนา ชาวฮินดูกับชาวมุสลิม และพวกเพแกน02. กับคริสเตียน ล้วนเลือนหายไป. เราซึ่งมีโลกทัศน์ชั่วขณะเกี่ยวกับอุดมคติ ที่ซึ่งศาสนาทางโลกทั้งหมดล้วนเป็นเพียงเงาที่ชี้ไปยังวันที่สมบูรณ์แบบ. ที่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ (วันหรือยุคพระศรีอาริย์ ). "เหล่านักพรตและเหล่ากวีได้ใช้คำพูดสร้างความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งเดียว."3 มนุษย์ผูกพันกับการสร้างความคิดที่ไม่สมบูรณ์ของความจริงแท้อันไพศาลนี้. ดูเหมือนว่าความปรารถนาภายในจิตวิญญาณของเขานั้น จะพึงพอใจกับความคิดที่ไม่เพียงพอ ซึ่งก็คือ "รูปเคารพที่เรานับถือบูชา." ไม่มีเทวรูปสององค์ที่จะเหมือนกันทุกประการ เนื่องจากไม่มีใครสองคนที่จะมีแนวคิดเหมือนกันทุกประการ. มันช่างเป็นเรื่องโง่เขลาที่จะมาทะเลาะกันเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่เราพยายามแสดงให้เห็นว่ามันจริงแท้. พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวถูกเรียกแตกต่างกัน ไปตามวง (ความคิด) ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพระองค์ได้ทรงงานหรือมีรสนิยมหลากหลายของดวงวิญญาณที่เฝ้าแสวงหา. สิ่งนี้มิได้ถูกมองว่าเป็นที่พำนักอันคับแคบต่อศาสนาอันเป็นที่นิยม. เป็นการเปิดเผยความจริงทางปรัชญาอันลึกซึ้ง. สำหรับอิสราเอลแล้ว การเปิดเดียวกันนี้เกิดขึ้น: "พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้าเป็นองค์เดียวกัน."
หมายเหตุ การขยายความ
01. ชาวดราวิเดียน (द्रविड़ - Dravidian) ทราวิฑ หรือ ทราวิฑะ (สันสกฤต: Drāviḍa) หรือ มิลักขะ (สันสกฤต: Milakkha) หมายถึง ชาวทมิฬเดิมอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธุมานานกว่า 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล ปัจจุบันได้ถอยร่นมาอยู่แถบอินเดียใต้ (กลุ่มภาษาทมิฬ เตลูกู ฯ ) และบางส่วน (ทางเหนือ) ของเกาะลังกา.
02. เพแกน (Pagan) เป็นกลุ่มคนนอกรีตในลัทธิที่กระจายอยู่ในยุโรปช่วงยุคจักรวรรดิโรมัน (จักรพรรดิคอนสแตนติน ก็เป็นชาวเพแกน) ก่อนที่จะมีคริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแพร่ เน้นความกลมกลืนและอยู่กับธรรมชาติ แยกตัวออกจากชุมชน หาสมุนไพรรากไม้ในป่าเขาเพื่อมาทำยา จนชาวบ้านทึกทักว่าเป็นพวกแม่มดพ่อมด ถูกจับนำมาเผาทั้งเป็นจำนวนมาก บ้างก็ว่าเป็นจำนวนถึงห้าหมื่นถึงแปดหมื่นคน อ้างอิงจากนวนิยายเบสท์เซลเล่อร์เรื่อง "ดาวินชี โค้ด" ของแดน บราวน์ .
---------------
1. บรรพที่ 10. 129. 2.
2. ฤคเวท บรรพที่ 10 สรรคที่ 121; บรรพที่ 10 สรรคที่ 82. 7; บรรพที่ 1 สรรคที่ 167. 5-6.
3. บรรพที่ 10. สรรคที่ 114; ดูเพิ่มเติมในยชุรเวช บรรพที่ 30. สรรคที่ 2. 4. ดูใน นิรุกตะของยาสกะ (Yāska’s Nirukta) บรรพที่ 7 สรรคที่ 5.
96
พลูทาร์ก01. กล่าวว่า: "มีพระอาทิตย์ดวงเดียวและมีท้องฟ้าผืนเดียวเหนือทุกชาติ และมีเทพเพียงองค์เดียวภายใต้ชื่อต่าง ๆ มากมาย."
โอ! พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสง่าราศีเป็นเลิศ ทรงมีหลากหลายพระนาม
พระราชาที่ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ แม้ว่าปีแล้วปีเล่าอันไม่มีที่สิ้นสิ้นสุด (พระองค์) ทรงเหมือนเช่นเดิม
ทรงมีมหิทธานุภาพทุกอย่าง ตามที่สูเจ้ากำหนด
ทรงควบคุมไว้ทั้งหมด ทรงโอภาปราศรัย (ดั่ง) มหาเทพซุส สำหรับสูเจ้า
เป็นหน้าที่ที่สรรพชีวิตสูเจ้าในทุกผืนแผ่นดินที่เรียกขาน.1
จากทฤษฎีที่ว่ามีเพียงปัจจัย (เอกนิยม - การมีมาตรฐานเดียว) ของฤคเวท ซึ่งเดสเซนได้เขียนไว้ว่า: "เมื่อชาวฮินดูได้มายัง (ได้ศึกษา) ลัทธิที่มีเพียงปัจจัย ด้วยวิธีที่แตกต่างจากดินแดนอื่น ๆ . ก็มีลัทธิเอกเทวนิยมที่ได้รับมาจากอียิปต์โดยได้ระบุกลไกของเทพเจ้าในท้องถิ่นต่าง ๆ ส่วนในปาเลสไตน์ก็โดยการบัญญัติของเทพเจ้าอื่น ๆ และการข่มเหงผู้บูชาพระเจ้าของพวกเขาอย่างรุนแรงเพื่อประโยชน์แห่งพระเยโฮวา (Jehovah) ผู้เป็นพระเจ้าของชนชาติของเหล่าตน. ในอินเดีย (ภารตะ) พวกเขาบรรลุถึงความเป็นเอกนิยม แม้จะไม่ใช่เอกเทวนิยมในแนวทางปรัชญาที่มากขึ้น โดยเล็งเห็นถึงความสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังผ่านม่านแห่งความหลากหลาย."2 มัคซ์ มึลเล่อร์กล่าวว่า: “ไม่ว่าการรวบรวมฤคเวทสังหิตาของเราจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ก่อนหน้านั้น ความเชื่อมั่นก็ได้ก่อตัวขึ้นว่ามีพระผู้เป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่ชายหรือหญิง พระผู้เป็นหนึ่งเดียวที่ทรงยกระดับให้สูงเหนือเงื่อนไขและข้อจำกัดของบุคลิกภาพและธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหมด และถึงกระนั้น พระผู้เป็นหนึ่งเดียวนั้นก็ทรงถูกเรียกขานด้วยนามต่าง ๆ เช่น พระอินทร์ พระอัคนี พระมาตริศวัน หรือแม้กระทั่งพระนามของพระประชาปติ พระเจ้าแห่งสรรพสิ่ง ในความเป็นจริง กวีพระเวทได้มาถึงแนวคิดเรื่องพระเจ้า ซึ่งนักปรัชญาคริสเตียนบางคนในอเล็กซานเดรียได้บรรลุแนวคิดนี้อีกครั้ง แต่ปัจจุบันนี้ แนวคิดนี้ก็ยังเกินขอบเขตของผู้ที่เรียกตัวเองว่าคริสเตียน”3.
มัคซ์ มึลเล่อร์ (Friedrich Max Müller), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 27 มกราคม 2565.
ในบทสวดขั้นสูงบางบทของฤคเวท เทพผู้สูงสุดถูกเรียกอย่างเฉยเมยว่า เขาหรือพระองค์ หรือมัน. ความสับสนระหว่างเอกเทวนิยมและเอกนิยม ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปรัชญาตะวันออกและตะวันตก ปรากฏให้เห็นที่นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของความคิด. สิ่งมีชีวิตที่ไร้รูปร่าง ไร้ตัวตน บริสุทธิ์ และไร้ความรู้สึกแห่งปรัชญาองค์เดียวกันนี้ได้รับการบูชาโดยหัวใจที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและเปี่ยมด้วยอารมณ์ของมนุษย์ผู้มีอารมณ์ความรู้สึกในฐานะเทพเจ้าที่อ่อนโยนและเมตตา.
หมายเหตุ การขยายความ
01. พลูทาร์ก (Plutarch) (ราว พ.ศ.589 - ราว พ.ศ.663) เป็นชาวกรีก ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพลเมืองโรมัน เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ เป็นนักปรัชญาสำนักเพลโต.
---------------
1. บทสวดแห่งการชำระล้าง (The Hym of Cleanthes).
2. เค้าโครงปรัชญาอินเดีย (Outline of Indian Philosophy), เอ็ม หิริยานนะ, หน้าที่ 13.
3. ร.ห.อ. (ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย - The Six Systems of Indian Philosophy, มัคซ์ มึลเล่อร์) หน้าที่ 51, 52.
97
จิตสำนึกทางศาสนาโดยทั่วไปมีรูปแบบเป็นการสนทนา เป็นความสมัครสมานของเจตนารมณ์สองประการ คือ เจตนารมณ์ที่จำกัดและเจตนารมณ์ที่ไม่จำกัด. มีแนวโน้มที่จะมองว่าพระเจ้าเป็นบุคคลที่ไม่มีขอบเขตเมื่อเทียบกับมนุษย์ที่มีขอบเขตจำกัด. แต่แนวคิดที่ว่าพระเจ้าเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ แนวคิดนั้นไม่ใช่ความจริงสูงสุดของปรัชญา. ยกเว้นมีเพียงคนไม่กี่คนที่มีเหตุผลมากล้นเกินและต้องการผลักดันหลักการของตนไปสู่ข้อสรุปที่สุดโต่งว่า ศาสนาไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีพระเจ้าผู้เป็นบุคคล. แม้แต่เมื่อถูกขอให้ให้คำจำกัดความความจริงสูงสุด นักปรัชญาก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจะใช้คำศัพท์ที่ลดความเป็นจริงนั้นให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าได้. มนุษย์ทราบดีว่าพลังที่จำกัดของเขาไม่อาจครอบคลุมความกว้างใหญ่ไพศาลของจิตวิญญาณจักรวาลได้. แต่เขาจำเป็นต้องอธิบายความเป็นนิรันดร์ในแบบของเขาเอง เนื่องจากข้อจำกัดของเขาทำให้เขาต้องสร้างภาพที่ไม่เพียงพอของแหล่งที่มาและพลังงานอันกว้างใหญ่ สูงส่ง และยากจะเข้าใจถึงสรรพสิ่ง. เขาสร้างรูปเคารพขึ้นมาเพื่อความพึงพอใจส่วนตัว. บุคลิกภาพเป็นข้อจำกัด แต่มีเพียงพระเจ้าที่เป็นบุคคลเท่านั้นที่สามารถบูชาได้. บุคลิกภาพแสดงเป็นนัยถึงการแยกแยะระหว่างตัวตนและสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ดังนั้นจึงไม่สามารถนำไปใช้กับสิ่งที่เป็นอยู่ซึ่งได้รวมเอาไว้และโอบรับทุกสิ่งที่มีอยู่. พระเจ้าที่เป็นบุคคลเป็นสัญลักษณ์ แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของพระเจ้าผู้ทรงมีชีวิตที่แท้จริง. สิ่งที่ไม่มีรูปร่างได้รับรูปร่าง สิ่งที่ไม่ได้เป็นบุคคลก็ได้เป็นบุคคล สิ่งที่อยู่ทุกหนทุกแห่งได้รับการตั้งค่าไว้ชั่วคราว. ทันทีที่เราลดสิ่งที่เป็นที่สุดให้กลายเป็นสิ่งที่น่าบูชา สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่น้อยกว่าสิ่งที่เป็นที่สุด. การจะมีความสัมพันธ์ในทางปฏิบัติกับเจตจำนงที่จำกัดได้นั้น พระเจ้าจะต้องน้อยกว่าสิ่งที่เป็นที่สุด แต่ถ้าพระองค์น้อยกว่าสิ่งที่เป็นที่สุด พระองค์ก็ไม่สามารถเป็นวัตถุแห่งการบูชาในศาสนาที่มีประสิทธิผลใด ๆ ได้. หากพระเจ้าสมบูรณ์แบบ ศาสนาก็เป็นไปไม่ได้ หากพระเจ้าไม่สมบูรณ์แบบ ศาสนาก็ไร้ประสิทธิผล. เราไม่สามารถมีความยินดีในความสงบสุข ความมั่นใจในชัยชนะ และความมั่นใจในชะตากรรมขั้นสุดท้ายของจักรวาลกับพระเจ้าที่มีขอบเขตจำกัดได้. ศาสนาที่แท้จริงต้องการสิ่งที่สมบูรณ์. ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งศาสนาและปรัชญาที่ได้รับความนิยม วิญญาณที่สมบูรณ์จึงถูกเรียกอย่างไม่เลือกปฏิบัติว่า เขาหรือพระองค์ หรือมัน. ซึ่งเป็นเช่นนั้นในอุปนิษัท และเป็นเช่นนั้นในภควัทคีตา และเวทานตะสูตร เราไม่จำเป็นต้องคิดว่านี่เป็นการประนีประนอมอย่างมีสติสัมปชัญญะระหว่างองค์ประกอบเทวนิยมและเอกนิยม หรือความคิดที่เลื่อนลอย.
98
แนวคิดเอกนิยมยังสามารถพัฒนาจิตวิญญาณทางศาสนาขั้นสูงสุดได้. มีเพียงการอธิษฐานต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่ถูกแทนที่ด้วยการไตร่ตรองถึงจิตวิญญาณสูงสุดที่ปกครองโลก ความรักที่กระตุ้นโลกอย่างแม่นยำแต่ก็ฟุ่มเฟือย. ความเห็นอกเห็นใจระหว่างจิตใจของส่วนหนึ่ง และจิตใจของส่วนรวมทั้งมวลก็ก่อให้เกิดอารมณ์ทางศาสนาขั้นสูงสุด. ความรักในอุดมคติของพระผู้เป็นเจ้าและการไตร่ตรองถึงความสมบูรณ์ของความงามและความดีจะหลั่งไหลเข้ามาในจิตใจด้วยอารมณ์แห่งจักรวาล. เป็นเรื่องจริงที่ศาสนาเช่นนี้ดูเหมือนจะเป็นศาสนาสำหรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุถึงและรู้สึกว่ามันมีพลังเย็นชาเกินไปหรืออ่อนด้อยทางปัญญาเกินไป แต่ศาสนาอื่นก็ไม่สามารถให้เหตุผลทางปรัชญาได้.
ศาสนาทุกรูปแบบที่ปรากฏบนโลกล้วนมีพื้นฐานมาจากความต้องการพื้นฐานของจิตใจมนุษย์. มนุษย์โหยหาอำนาจเหนือตนเองที่สามารถพึ่งพาได้ อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเองซึ่งสามารถบูชาได้. บรรดาเทพเจ้าในแต่ละระดับของศาสนาพระเวทนั้น สะท้อนถึงความต้องการและความจำเป็นที่เพิ่มมากขึ้น มีการจัดกลุ่มระดับจิตใจ และการค้นหาหัวใจของมนุษย์. บางครั้งมนุษย์ต้องการเหล่าทวยเทพที่รับฟังคำอธิษฐานของเขาและยอมรับการเสียสละของเขา และเรามีเหล่าทวยเทพที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดนี้. เรามีเทพเจ้าตามธรรมชาติ เทพเจ้าที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ แต่ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดตอบสนองต่อแนวคิดสูงสุด แม้ว่ามนุษย์จะพยายามอธิบายความคิดของพวกเขาที่มีต่อจิตใจของมนุษย์โดยกล่าวว่าพวกเขามีการแสดงออกที่หลากหลายของพระเจ้าสูงสุดองค์เดียวก็ตาม. รัศมีที่กระจัดกระจายท่ามกลางหมู่ทวยเทพนั้นรวมตัวกันในความงดงามอันหาที่สุดมิได้ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ไม่มีพระนาม ผู้ทรงสนองความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของหัวใจมนุษย์และจิตใจที่กำลังคลางแคลง. ความก้าวหน้าของพระเวทไม่ได้หยุดนิ่งจนกว่าจะไปถึงความจริงอันสูงสุดนี้. การเติบโตของความคิดทางศาสนาที่รวมอยู่ในบทสวดอาจนำมาซึ่งการกล่าวถึงเทพเจ้าที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้: (1) พระดิออษหรือพระทโยษะ01 ซึ่งบ่งบอกถึงการบูชาธรรมชาติในสถานะแรก; (2) พระวรุณ เทพเจ้าที่มีศีลธรรมสูงส่งในยุคต่อ ๆ มา; (3) พระอินทร์ เทพเจ้าที่เห็นแก่ตัวในยุคแห่งการพิชิตและครอบงำ; (4) พระประชาบดี เทพเจ้าของพวกเทวนิยม และ (5) พระพรหม ซึ่งเป็นความสมบูรณ์แบบของสี่ขั้นซึ่งอยู่ในระดับล่างที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้งหมดนี้. ความก้าวหน้านี้เป็นไปตามลำดับเวลาและตามตรรกะ.
หมายเหตุ การขยายความ
พระดิออษ หรือ พระทโยษะ (Dyáuṣ) หรือ เทยาสฺ หรือ อากาศ (ākāśa, Akasha) - ท้องฟ้า สวรรค์, ที่มา: bloghemasic.blogspot.com, วันที่เข้าถึง: 29 สิงหาคม 2564.
99
มีเพียงบทสวดพระเวทเท่านั้นที่เราพบว่าบทสวดทั้งหมดวางเรียงกันโดยไม่ได้คำนึงถึงลำดับเหตุการณ์หรือลำดับเวลา. บางครั้งบทสวดเดียวกันอาจมีการกล่าวถึงบทสวดทั้งหมด. แสดงให้เห็นว่าเมื่อเขียนข้อความในฤคเวทขึ้น ขั้นตอนความคิดทั้งหมดเหล่านี้ก็ผ่านพ้นไปแล้ว และผู้คนก็ยึดติดกับบทสวดบางบทหรือทั้งหมดโดยไม่รู้สึกตัวว่าบทสวดเหล่านี้ขัดแย้งกัน.
VIII
จักรวาลวิทยา
นักคิดในศาสนาพระเวทมิได้ละเลยปัญหาปรัชญาเกี่ยวกับต้นกำเนิดและธรรมชาติของโลก. ในการแสวงหาพื้นฐานแรกของสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด พวกเขามองน้ำ อากาศ และอื่น ๆ เช่นเดียวกับชาวกรีกโบราณว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ประกอบเป็นความหลากหลายของโลก01. กล่าวกันว่าน้ำจะพัฒนามาเป็นโลกด้วยพลังแห่งกาลเวลา. สังวัตสาร02 หรือปี ความปรารถนาหรือกาม สติปัญญาหรือปุรุษ03 ความอบอุ่นหรือตบะ04.
หมายเหตุ การขยายความ
01. ช่างละม้ายกับแนวคิดของปราชญ์เธลีส "ทุกสรรพสิ่งรังสรรค์มาจากน้ำ" ดูใน A01. เธลีสแห่งมีเลทัส.
02. สังวัตสาร (संवत्सर - saṁvatsara) แปลว่าความก้าวหน้าของกาลเวลา.
03. ปุรุษ (पुरुष - Puruṣa - วิญญาณ) จะคู่กับประกฤติ (प्रकृति - Prakṛti - สสาร) ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสองประการที่จำเป็นต่อการสร้างประปัญจะ (प्रपञ्च - Prapañca - โลกหรือจักรวาล - Universe) อันเป็นสิ่งที่มองเห็นได้จากการกระทำอันหลากหลาย เช่นเดียวกับผู้ชายและผู้หญิงที่มีหน้าที่ในการให้กำเนิดลูกหลาน. จากปุรุษ (เพศชาย) ก็ก่อกำเนิดประกฤติ (เพศหญิง) และต่อมาทั้งสองจึงร่วมกันสร้างประปัญจะขึ้น.
04. ตบะ (तपस् - Tapas) แปลว่า ความเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส.
--------------
แหล่งอ้างอิง:
01. จาก. INDIAN PHILOSOPHY Volume 1, ประพันธ์และเรียบเรียงโดย ฯ พณฯ สรวปัลลี ราธากฤษนัน, สำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ด อินเดีย, ISBN 019 563819 0, พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ.2542, พิมพ์ที่นครนิวเดลี ภารตะ.
02. จาก. www.wisdomlib.org.