Title Thumbnail: แผ่นกระเบื้องแสดงภาพพระพุทธเจ้าและความศรัทธา; ศิลปะคันธาระ, ที่เมืองเปศวาร์ ปากีสถาน - 10 ธันวาคม 2563, (ถ่ายภาพโดย DeAgostini/Getty Images), ที่มาจาก: Facebook เพจ "Ancient History of India," วันที่เข้าถึง: 15 กุมภาพันธ์ 2564. Hero Image: แผนภูมิแสดงการแผ่ไพศาลของพระพุทธศาสนา, ที่มา: Facebook เพจ "Michael Frey," วันที่เข้าถึง 18 สิงหาคม 2564.
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.002 (บทนำ - ต่อ)
First revision: Feb.15, 2021
Last change: Jul.10, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
42 (ต่อ)
เป็นข้อสันนิษฐานขั้นสุดท้ายของปรัชญาทั้งหลายว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นจริงได้ซึ่งขัดแย้งในตัวเอง. ในประวัติศาสตร์ของความคิดนั้น ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการตระหนักถึงความสำคัญของสมมติฐานนี้ และนำข้อสันนิษฐานไปใช้อย่างมีสติ. ในฤคเวทนั้น มีการยอมรับอย่างไม่รู้ตัวถึงความถูกต้องของความรู้ทั่วไป. เมื่อเราไปถึงขั้นของอุปนิษัทแล้ว ปัญหาเชิงวิภาษวิธีต่าง ๆ จะรวมไว้ด้วยกันและความยากลำบากของความรู้ก็ปรากฎขึ้น. เราพบความพยายามที่จะกำหนดขอบเขตขององค์ความรู้และเปิดพื้นที่ให้กับสัญชาตญาณ แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ในลักษณะกึ่งปรัชญา. เมื่อศรัทธาในพลังเหตุผลสั่นคลอน ความคลางแคลงใจก็เข้ามาแทนที่ และบรรดาพวกวัตถุนิยม และผู้นิยมความว่างเปล่าก็เข้ามาแทนที่. พระพุทธศาสนายอมรับในจุดยืนของอุปนิษัทที่ว่าความจริงคือสิ่งที่มองไม่เห็นนั้น ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยสติปัญญาที่ใช้เหตุผล พระพุทธศาสนาจึงบังคับใช้กับความไม่เป็นแก่นสารของโลก. สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ความขัดแย้งนั้นเป็นธรรมชาติของบรรดาสรรพสิ่ง และโลกแห่งความจัดเจนนั้น ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความตึงเครียดของสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันเท่านั้น. เราไม่สามารถรู้ได้ว่ามีอะไรมากกว่าความเป็นจริงหรือไม่ และสิ่งนี้ก็ไม่สามารถเป็นสิ่งที่จริงแท้ได้ ด้วยเพราะมันขัดแย้งในตัวเอง. ข้อสรุปดังกล่าวเป็นปลายสุดของพัฒนาการทางพระพุทธศาสนา. เรามีทฤษฎีของนาคารชุน ซึ่งเป็นถ้อยแถลงที่ยั่งยืนทางปรัชญาเกี่ยวกับตำแหน่งสำคัญของอุปนิษัท. มีสิ่งที่มีอยู่จริง แม้ว่าเราไม่สามารถรู้ได้ก็ตาม และสิ่งที่รู้นั้นไม่เป็นจริง เพราะการตีความของโลก ในฐานะระบบที่เข้าใจได้นั้นล้มเหลว. ทั้งหมดนี้ล้วนตระเตรียมหนทางสำหรับการวิจารณ์ด้านเหตุผลอย่างมีสติสัมปชัญญะ. ในตัวความคิดเองนั้นมีความขัดแย้งหรือไม่เพียงพอ. ความแตกต่างก็บังเกิดขึ้น เมื่อมีคำถามว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงได้อย่างจริง. หรือเป็นเพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ หรือไม่ใช่ทั้งหมด หรือเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างหรือความขัดแย้งในตัวเองแต่เดิม? ดังที่เราได้เห็นแล้ว มีผู้ที่ยึดมั่นในเหตุผลของความเป็นจริง โดยได้สงวนความจริงแท้ไว้ว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่เหตุผลเท่านั้น. ด้วยความคิดเช่นนั้น ไม่สามารถให้ความจริงแท้ทั้งหมดแก่เราได้. “สิ่งนั้น” ช่างเกินกว่า “อะไร” ในคำกล่าวของแบรดลีย์. ความคิดนั้น ทำให้เรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับความจริงแท้ แต่เป็นเพียงองค์ความรู้เท่านั้น หาใช่ความจริงแท้ไม่. มีบางคนรู้สึกว่าสิ่งที่เป็นจริงนั้น สอดคล้องในตัวเอง และสิ่งใดก็ตามที่เป็นความคิดนั้นขัดแย้งในตัวเอง. ความคิดทำงานโดยมีการขัดแย้งระหว่าง
1.
2.
43
อัตวิสัยและภววิสัย และสิ่งที่เป็นจริงอย่างแท้จริงคือสิ่งที่ความขัดแย้งเหล่านี้ถูกยกเลิกไป. ความคิดที่เห็นประจักษ์ได้ที่สุดนั้น ตราบเท่าที่มันพยายามรวมหลาย ๆ สิ่งเข้าด้วยกัน ยังคงเป็นนามธรรม เพราะมันขัดแย้งในตัวเอง และหากเราต้องการที่จะเข้าใจถึงความจริงแท้แล้ว ก็ต้องละทิ้งความคิดนี้เสีย. ในสมมติฐานแรก สิ่งที่ความคิดเผยให้เห็นนั้นไม่ได้ขัดแย้งกับความเป็นจริง ทว่าเป็นการเปิดเผยส่วนหนึ่งของความเป็นจริง. มุมมองบางส่วนนั้นขัดแย้งกันเอง เพราะมันเป็นเพียงมุมมองบางส่วนเท่านั้น. มุมมองเหล่านี้เป็นจริงเท่าที่เป็นอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด. สมมติฐานที่สองนั้นบอกเราว่า เราสามารถรับรู้ความเป็นจริงได้ด้วยความรู้สึกหรือสัญชาตญาณ1. มุมมองแรกยังเน้นย้ำถึงการเสริมความคิดด้วยความรู้สึก หากต้องการจะบรรลุถึงความจริงแท้อย่างครบถ้วน. ดูเหมือนว่าเราต้องการองค์ประกอบอื่นนอกเหนือไปจากความคิด และสิ่งนี้ได้รับคำแนะนำโดยคำว่า “ทรรศนะ01.” ซึ่งใช้เพื่ออธิบายระบบปรัชญา หลักคำสอน หรือศาสตร์.

ฟรานซิส เฮอร์เบิร์ต แบรดลีย์, (30 ม.ค. พ.ศ.2389 – 18 กันยายน พ.ศ.2467 ) นักปรัชญาชาวอังกฤษ งานเขียนที่สำคัญคือ Appearance and Reality ที่มา: alchetron.com และ en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 20 พฤษภาคม 2564.
1.
คำว่า “ทรรศนะ” มาจากคำว่า ทฤศ (दृश् - dṛś) แปลว่า การเห็น. การเห็นนี้อาจเป็นได้ทั้งการสังเกตทางการรับรู้ หรือองค์ความรู้เชิงแนวคิด หรือประสบการณ์โดยสัญชาตญาณ. อาจเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง การสอบถามเชิงตรรกะหรือการหยั่งรู้ในจิตวิญญาณ. โดยทั่วไปแล้ว “ทรรศนะ” หมายถึงการอธิบายเชิงวิพากษ์ การสำรวจเชิงตรรกะหรือระบบต่าง ๆ . เราไม่พบคำที่ใช้ในหัวข้อนี้ในช่วงแรกของความคิดเชิงปรัชญา เมื่อปรัชญามีสหัชญาณ (ความรู้ที่เกิดขึ้นเอง) มากกว่า. อันแสดงให้เห็นว่า “ทรรศนะ” ไม่ใช่สหัชญาณ แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกันมากก็ตาม. บางทีเราควรใช้คำนี้ด้วยความรอบคอบ เพื่อบ่งชี้ระบบความคิดที่ได้มาจากประสบการณ์เชิงสัญชาตญาณ และสนับสนุนด้วยการโต้แย้งเชิงตรรกะ. ในระบบของเอกนิยมสุดโต่งนั้น ปรัชญาได้ตระเตรียมหนทางสำหรับประสบกาณ์ทางสัญชาตญาณไว้ ด้วยการให้แนวคิดเกี่ยวกับความไร้ประสิทธิภาพของความคิดแก่เรา. ในระบบของเอกนิยมแบบกลาง ๆ ที่ซึ่งความจริงคือองค์รวมรูปธรรม ปรัชญาประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมในการสร้างความจริงแท้ขึ้นมาใหม่ตามอุดมคติ. แต่ความจริงแท้นั้นอยู่เหนือ ล้อมรอบ และล้นเกินหมวดหมู่ที่น่าสังเวชของเรา. ในลัทธิเอกนิยมสุดโต่งนี้ มันเป็นประสบการณ์โดยสัญชาตญาณจะเผยให้เราเห็นถึงความเปี่ยมล้นของความจริงแท้ ในแนวคิดด้านเอกนิยมที่เป็นรูปธรรมนั้น ประสบการณ์ดังกล่าวจะเปิดเผยให้เราทราบถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง. การสร้างสรรค์แนวคิดนั้นไม่มีความแน่นอนเท่ากับข้อเท็จที่ประสบพบเห็น. ขอกล่าวอีกครั้ง, ความคิดเห็นหรือ
---------------
1. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ: แบรดลีย์ ผู้กล่าวว่าเราสามารถเข้าถึงความจริงแท้ได้โดยผ่านความรู้สึกบางรูปแบบ และ แม็คแทกการ์ท ผู้มองว่าความรักเป็นหนทางที่น่าพอใจที่สุดในการกำหนดคุณลักษณะของสิ่งที่สมบูรณ์แบบ.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ทรรศนะ (दर्शन - Darśana) หมายถึง “การกระทำของการเห็นหรือการดู” ยังหมายถึง “ระบบปรัชญา” ซึ่งในภารตวรรษนั้น ตามธรรมชาติของระบบนั้นอาจเป็นแบบเทววิทยา ตรรกะ ระบบ เทวนิยม อเทวนิยม เกี่ยวข้องกับประเพณีทางศาสนาหรืออิสระมากขึ้นหรือน้อยลง คำนี้ปรากฏในชื่อของสารานุกรมของระบบดังกล่าว ทรรศนะในภาษาพื้นเมืองภารตะตอนเหนือสมัยใหม่ หมายถึง การกระทำของการไปเยี่ยมเทพเจ้าในวัดหรือบุคคลศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับที่พูดในภาษาอังกฤษว่า 'ไปพบใครสักคน' ดังนั้น ทรรศนะ ซึ่งแปลว่า 'การมองเห็น การหยั่งรู้ และการเห็น' ในความหมายนี้ก็คือ 'การพบกับสิ่งที่ถูกมองเห็นและผู้ที่เห็น' ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความหมายเพิ่มเติมในบริบทของ 'การมองเห็น' ทางจิตวิญญาณอีกด้วย.
1.
2.
44
มุมมองเชิงตรรกะจะกลายเป็นความจริงได้ ก็ต่อเมื่อมันผ่านบททดสอบของชีวิต.
“ทรรศนะ” นั้นเป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือ เนื่องจากมันเผชิญกับการป้องกันจากการถกเถียงเชิงตรรกะ (หรือวิภาษวิธี) ของเอกนิยมที่สุดโต่ง รวมทั้งความจริงโดยสัญชาตญาณ ซึ่งเป็นพื้นฐานของคำนี้. ในทางปรัชญาแล้ว “ทรรศนะ” หมายถึง การพิสูจน์สัญชาตญาณและเผยแพร่สัญชาตญาณอย่างมีเหตุผล. แม้แต่ในระบบอื่น ๆ ก็นำไปใช้กับงานแสดงความจริงเชิงตรรกะที่สามารถได้มาในแง่แนวคิดโดยมีหรือไม่มีความช่วยเหลือจากสัญชาตญาณที่กระตุ้นความคิดใด ๆ ก็ได้.
“ทรรศนะ” จึงใช้ได้กับมุมมองทั้งหมดเกี่ยวกับความจริงที่เกิดขึ้นจากจิตใจของมนุษย์ และหากความเป็นจริงเป็นหนึ่ง ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันที่พยายามจะเผยสิ่งเดียวกันจะต้องสอดคล้องกัน. มันไม่มีอะไรที่บังเอิญหรือเกิดขึ้นได้ (เพียงลำพัง) แต่จะต้องสะท้อนมุมมองที่แตกต่างที่ได้รับจากสิ่งที่เป็นจริง. จากการพิจารณาอย่างใกล้ชิดถึงมุมมองต่าง ๆ ที่จิตใจเราได้รับจากการจับภาพความเป็นจริงจากจุดต่าง ๆ เราได้ก้าวขึ้นสู่ขั้นที่สองของการถ่ายทอดความเป็นจริงเต็มรูปแบบในแง่ตรรกะ. เมื่อเราตระหนักว่าคำอธิบายเชิงแนวคิดต่อเป็นจริงนั้นไม่เพียงพอ เราก็พยายามยึดถือความเป็นจริงด้วยสัญชาตญาณ ที่ซึ่งมโนคติด้านภูมิปัญญาได้ถูกกลืนกินไป. ถึงเวลาแล้วที่เราจะได้รับการกล่าวขานว่าได้รับ “สภาวะ” อันบริสุทธิ์ของแนวคิดเอกนิยมสุดโต่ง จากที่ซึ่งเรากลับคืนสู่ความจริงแท้เชิงตรรกะของความคิด ซึ่งเราจะเริ่มสะกดทีละตัวอักษรในระบบต่าง ๆ อีกครั้ง. “ทรรศนะ” ที่ใช้ได้กับคำหลังนี้ หมายถึงคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ เกี่ยวกับความจริงแท้. คำนี้เป็นคำเดียวที่แสดงถึงแรงบันดาลใจอันซับซ้อนทั้งหมดของปรัชญาด้วยความคลุมเครือที่งดงาม.
The darśana–śāstra, ที่มา: bhaktivinodainstitute.org, วันที่เข้าถึง 22 พฤษภาคม 2564.
{จากการวิจัยอย่างเข้มข้นศาสตราจารย์การ์เบแห่งปรัสเซีย (Richard Garbe)01. ได้ยืนยันว่าอริสโตเติล02. เป็นผู้ติดตามนยายะศาสตร์03. ของฤๅษีโคตมะ04. (Nyāya-śāstra ของ Gautama), เธลีส05. (Thales) เป็นผู้ติดตาม ไวเศษิกะศาสตร์06. (Vaiśeṣika –śāstra) ของฤๅษีกณาทะ07. (Kanāda), โสกราตีส08. เป็นผู้ติดตามมีมางสาศาสตร์09. ของฤๅษีไชยมิณิ10. (Jaimini Mīmāṁsā-śāstra), เพลโต11. (Plato) เป็นผู้ติดตามเวทานตะ12. ของฤๅษีวยาส13. (Vyāsa’s Vedānta) พีทาโกรัส14. (Pythagoras) เป็นลูกศิษย์ด้านสางขยศาสตร์15. ของฤๅษีกปิละ16. หรือกปิลมุนี (Sāṃkhyaśāstra ของ Kapila) และซีโน17. (Xeno) เป็นสาวกของโยคศาสตร์18. ของฤๅษีปตัญชลิ19. (Pataṅjali's Yoga śāstra).}
1.
“ทรรศนะ” คือการรับรู้ทางจิตวิญญาณ เป็นมุมมองทั้งหมดได้เผยไปยังประสาทสัมผัสของวิญญาณ. การมองเห็นจิตวิญญาณนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปรัชญาดำรงอยู่เท่านั้น อันเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงนักปรัชญาที่แท้จริง. ดังนั้นชัยชนะสูงสุดของปรัชญาจึงเป็นไปได้เฉพาะกับเหล่าผู้ที่ถึงความบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณเท่านั้น. ความบริสุทธิ์นี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับประสบการณ์อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะตระหนักได้ก็ต่อเมื่อพบจุดแข็งบางอย่างที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในตัวมนุษย์ ซึ่งเขาไม่เพียงแต่สามารถตรวจสอบได้เท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าใจชีวิตได้อีกด้วย. จากแหล่งภายในนี้ นักปรัชญาได้เปิดเผยความจริงของชีวิตให้เราทราบ ซึ่งเป็นความจริงที่ลำพังมีเพียงภูมิปัญญาเปล่า ๆ ก็ไม่สามารถค้นพบได้. การมองเห็นนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เกือบเทียบเท่าได้ว่าผลไม้มาจากดอกไม้ จากศูนย์กลางอันลึกลับที่ซึ่งประสบการณ์ทั้งมวลได้รับการปรองดองกัน.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ริชาร์ด การ์เบ (Richard Karl von Garbe) รายละเอียดดูในหน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
02. อริสโตเติล (Ἀριστοτέλης - Aristotle) รายละเอียดดูใน A13. อริสโตเติล.
03. นยายะศาสตร์ หรือ นยายทรรศนะ (न्याय - Nyāya) รายละเอียดดูในแทรก 1-2 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.
04. โคตมะ มหาฤๅษี (गौतम महर्षि - Gautama Maharishi) รายละเอียดดูในหน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
05. เธลีส (Thales) รายละเอียดดูใน A01. เธลีสแห่งมีเลทัส.
06. ไวเศษิกะศาสตร์ หรือ ไวเศษิกทรรศนะ (वैशेषिक - Vaiśeṣika) รายละเอียดดูในแทรก 2 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.
07. ฤๅษีกณาทะ (कणाद - Kaṇāda) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
08. โสกราตีส (Σωκράτης - Socrates) รายละเอียดดูใน A11. โสกราตีส.
09. มีมางสาศาสตร์ (मीमांसा - Mīmāṃsā) รายละเอียดดูในแทรก 2 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.
10. ฤๅษีไชยมิณิ (जैमिनि - Jaimini) ดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
11. เพลโต (Πλάτων - Plato) รายละเอียดดูใน A12. เพลโต.
12. เวทานตะ (वेदान्त - Vedānta) - สำนักปรัชญาฮินดูหลักที่ตีความอุปนิษัท พรหมสูตร และภควัทคีตา สำนักนี้สำรวจธรรมชาติของความจริง ตัวตน และการหลุดพ้น (โมกษะ) คำว่า "เวทานตะ" หมายความตามตัวอักษรว่า "จุดสิ้นสุดของพระเวท" หรือ "จุดมุ่งหมายที่สูงขึ้นของพระเวท" ซึ่งหมายถึงอุปนิษัท ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของพระเวท.
13. ฤๅษีวยาส (Vyās) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
14. พีทาโกรัส (Pythagoras) รายละเอียดดูใน A03. พีทาโกรัส.
15. สางขยศาสตร์ (सांख्यशास्त्र - Sāṃkhyaśāstra) รายละเอียดดูในแทรก 2 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.
16. ฤๅษีกปิละ (कपिल - Kapila) - ดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
17. ซีโน (Zeno) รายละเอียดดูใน A16. ซีโนแห่งซิเตียม.
18. โยคศาสตร์ (योगशास्त्र - Yogaśāstra) - รายละเอียดดูในแทรก 2 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001
19. ฤๅษีปตัญชลิ (पतञ्जलि - Patañjali) ดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
1.
2.
45
ผู้แสวงหาความจริงแท้ จะต้องตอบสนองต่อเงื่อนไขสำคัญบางประการ ก่อนที่จะเริ่มต้นการแสวงหา. ศังกราจารย์ได้กล่าวไว้ในคำอธิบายของท่านเกี่ยวกับพระสูตรแรกของเวทานตะสูตรว่าเงื่อนไขสี่ประการมีความจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปรัชญาทุกคน. เงื่อนไขแรก คือ องค์ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นนิรันดร์และสิ่งที่ไม่คงอยู่. นี่ไม่ได้หมายถึงองค์ความรู้เต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถมาได้เมื่อถึงที่สุดเท่านั้น แต่เป็นเพียงเป็นการโค้งงอของอภิปรัชญา ซึ่งไม่ยอมรับว่าทุกสิ่งที่เห็นเป็นความจริงแท้สมบูรณ์ อันเป็นคำถามที่มีความโน้มเอียงของผู้ปุจฉา. เขาต้องมีจิตวิญญาณแห่งความอยากรู้อยากเห็นเพื่อสืบเสาะหาความจริงในทุกสรรพสิ่ง มีจินตนาการที่เร้าร้อนที่สามารถจำแนกความจริงออกมาจากข้อมูลจำนวนมากที่ขาดการปะติดปะต่อให้เห็นชัดได้ และมีอุปนิสัยชอบทำสมาธิซึ่งไม่อาจยินยอมให้จิตใจเขาเลือนหายไป. เงื่อนไขประการที่สอง คือ การระงับความปรารถนาในผลแห่งการกระทำไม่ว่าจะเป็นในปัจจุบันและอนาคต. ต้องละทิ้งความปรารถนาอันเล็กน้อย แรงจูงใจส่วนตัวและผลประโยชน์ทางปฏิบัติทั้งหมด. การตรวจทานหรือค้นหาคำตอบในใจที่ได้ไตร่ตรองไซร้เป็นจุดมุ่งหมายของตนเอง. การใช้ภูมิปัญญาอย่างถูกต้องนั้นคือการเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่ดีและไม่ดี. ปราชญ์นั้นเป็นนักธรรมชาติวิทยาที่ควรติดตามความเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากการโอ้อวดความดีหรือดูแคลนความชั่วในนามของอคติบางอย่างของเขา. ปราชญ์ต้องยืนอยู่นอกเหนือชีวิตและมองดูมัน. ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเขาต้องรักปัจจุบันหรืออนาคต. จากนั้นเขาก็สามารถเดิมพันหมดหน้าตักไว้กับความคิดที่แจ่มชัดและการตัดสินใจที่ซื่อสัตย์ และพัฒนาการมองจักรวาลอย่างไร้ตัวตนด้วยการทุ่มเทให้กับความจริง. เพื่อที่จะเข้าถึงอารมณ์นี้ เขาต้องยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนกรานในเงื่อนไขที่สาม ที่ซึ่งผู้ศึกษารับคำสั่งให้รับไว้ซึ่งความสงบ ความยับยั้งชั่งใจ การเสียสละ ความอดทน ความสงบในจิตใจ และความศรัทธา. มีเพียงจิตใจที่ได้รับการฝึกฝนและควบคุมร่างกายได้สมบูรณ์เบ็ดเสร็จเท่านั้นที่สามารถสืบรู้และตรึกตรองได้อย่างไม่รู้จบตราบเท่าที่ชีวิตยังคงอยู่ โดยไม่ละสายตาจากวัตถุแม้สักนาทีเดียวหรือปล่อยให้สิ่งล่อใจทางโลกบดบังมัน. ผู้แสวงหาความจริงแท้ต้องมีความกล้าที่จำเป็น ในการสูญเสียสิ่งทั้งปวงเพื่อเข้าถึงจุดสูงสุดของเขา. ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่เขาจะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก รวมถึงการสำรวจตนเองโดยไม่ต้องมีความเวทนาปรานี อันจะช่วยให้ผู้แสวงหาบรรลุถึงปลายสุดแห่งเสรีภาพได้. ความปรารถนาในโมกษะ (मोक्ष - Mokṣa - Liberation) หรือการปลดปล่อยเป็นเงื่อนไขประการที่สี่. บุคคลผู้มีสภาวะจิตใจด้านอภิปรัชญานั้น เป็นผู้ที่ละแล้ว
.
.
46
ซึ่งความปรารถนาทั้งปวงและฝึกจิตตน จักกลืนกินความปรารถนาเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น เพื่อบรรลุถึงจุดสิ้นสุดหรือเข้าถึงความเป็นนิรันดร์. ชาวภารตะให้ความเคารพอย่างสูงต่อปราชญ์เหล่านี้ พวกเขาภูมิใจในองค์ความรู้และพลังแห่งภูมิปัญญา ที่ซึ่งเหล่าชนภารตะบูชาพวกเขา. ดวงวิญญาณของผู้พยากรณ์ ผู้ซึ่งมีความปรารถนาอันแรงกล้าต่อความจริงแท้ ได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะเข้าใจความลี้ลับของโลกมนุษย์ และเผยแพร่ออกมานั้น ได้ใช้เวลาทั้งกลางวัน และช่วงกลางคืนที่มิอาจข่มตาหลับได้ นับเป็นปราชญ์อย่างแท้จริง. ปราชญ์เหล่านี้เข้าใจประสบการณ์แทนมนุษยชาติ และด้วยเหตุนี้ เหล่าชนภารตะจึงรู้สึกขอบคุณพวกเขาตลอดไป.
สวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon), ที่มา: worldhistory.org, วันที่เข้าถึง 13 มิถุนายน 2564.
1.
การเคารพอดีตถือเป็นลักษณะนิสัยอีกประการหนึ่งของชาติ. มีความแน่วแน่ทางอารมณ์ ความภักดีอันยืนหยัดไม่ย่อท้อต่อการสูญเสียใด ๆ ในหนทางอันยาวไกลแห่งยุคสมัย. เมื่อต้องเผชิญกับวัฒนธรรมใหม่หรือความรู้ที่ขยายออกไปอย่างกระทันหัน ชาวภารตะมิได้ยอมจำนนต่อการล่อลวงในห้วงเวลาดังกล่าว ทว่ายังยึดมั่นในความศรัทธาดั้งเดิมของตน โดยผนวกสิ่งใหม่ไปยังสิ่งเก่าให้มากที่สุด. เสรีนิยมเชิงอนุรักษ์นี้ เป็นความลับแห่งความสำเร็จของวัฒนธรรมและอารยธรรมภารตะ. อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกที่แก่เก่าจากไปตามอายุขัย ก็มีแต่อารยธรรมภารตะนี่แหละที่ยังคงอยู่ได้. ความอลังการของอารยธรรมอียิปต์นั้น สามารถเรียนรู้ได้จากรายงานการศึกษาของนักโบราณคดี และการอ่านอักษรเฮียโรกลิฟิกเท่านั้น จักรวรรดิบาบิโลนซึ่งมีความมหัศจรรย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ การชลประทาน และทักษะทางวิศวกรรม ซึ่งทุกวันนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าซากปรักหักพัง วัฒนธรรมโรมันอันยิ่งใหญ่พร้อมด้วยสถาบันทางการเมืองและแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายและความเท่าเทียมกันนั้น ก็เป็นเรื่องของอดีตไปแล้วเป็นส่วนใหญ่. อารยธรรมภารตะซึ่งแม้จะประเมินไว้ต่ำที่สุดก็มีอายุกว่า 4,000 ปี ยังคงดำรงคุณลักษณะที่สำคัญเอาไว้. อารยธรรมของเธอ01. ย้อนหลังไปถึงสมัยพระเวท มีทั้งความเยาว์วัยและการแก่ชราในคราเดียวกัน. เธอได้ฟื้นคืนความเยาว์วัยเมื่อใดก็ตามที่กระแสประวัติศาสตร์เรียกร้อง. เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นโดยรู้ตัว. แต่ก็เกิดขึ้นแล้ว และตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงนั้นก็เป็นเพียงชื่อใหม่ของวิธีคิดแบบเก่าเท่านั้น. ในฤคเวท02. เราจะเห็นถึงจิตสำนึกทางศาสนาของผู้รุกรานชาวอารยัน ได้สังเกตแนวคิดของผู้คนในดินแดน. ในอรรถรเวทนั้น เราจะพบเทพจักรวาลที่มีความคลุมเครือได้ถูกเพิ่มเติมเข้ากับเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและดวงอาทิตย์ ไฟและลมที่ชาวอารยันบูชาจากแม่น้ำคงคาถึงเฮลเลสปอนท์03. ถือว่าเป็นการฟื้นฟูอุปนิษัทหรือ
---------------
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ในทางภาษาศาสตร์ มีการแบ่งคำนามเป็นเพศชาย-หญิง ภารตะหรืออินเดียนั้น ถือเป็นเพศหญิง.
02. ฤคเวท (ऋग्वेद - Ṛgveda - ṛc = praise, verse and veda = knowlege.) อันเป็นหนึ่งในสี่พระเวท ซึ่งพระเวทประกอบด้วย ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอรรถรเวท.
03. เฮลเลสปอนท์ (Hellespont) หรือช่องแคบดาร์ดาแนลล์ (Dardanelles) หรือช่องแคบกัลลิโพลี (Strait of Gallipoli) อันเป็นช่องแคบทางด้านตะวันตกของทูร์เคียปัจจุบัน อยู่ริมทะเลเอเจียน ซึ่งจะเชื่อมต่อไปช่องแคบบอสฟอรัส อิสตันบูล และต่อไปยังทะเลดำ.
.
.
47
ค่อนข้างจะเป็นการตระหนักรู้ถึงบางสิ่งที่พบในบทสวดแห่งพระเวท. ในภควัทคีตานั้น อ้างว่าสรุปคำสอนของอุปนิษัท01. ไว้. ในมหากาพย์ต่าง ๆ นั้น เรามีจุดบรรจบกันของแนวคิดทางศาสนาซึ่งแนวคิดสูงสุดกับการบูชาธรรมชาติในยุคแรก. การเคารพจิตวิญญาณอันน่าเกรงขามของมนุษย์ยุคเก่ากาล ทำให้เราประสบความสำเร็จในสิ่งใหม่ ๆ1. วิญญาณเดิมยังคงอยู่ แม้ว่ารูปแบบเก่าจะไม่คงอยู่ก็ตาม. แนวโน้มที่จะคงรูปแบบเดิมไว้ ได้ทำให้เกิดคำกล่าวที่เป็นที่นิยมว่าภารตะนั้นนิ่งเฉย. จิตใจของมนุษย์ไม่เคยหยุดนิ่ง แม้ว่าจะไม่ยอมละเมิดอดีตโดยเด็ดขาดก็ตาม.
การเคารพอดีตนี้ ทำให้เกิดความต่อเนื่องทางความคิดของชาวภารตะ ซึ่งยุคสมัยต่าง ๆ ได้เรียงร้อยกันด้วยการเคารพนบนอบตามธรรมชาติ. วัฒนธรรมฮินดูนั้นเป็นผลผลิตของยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กระทำขึ้นโดยรุ่นต่อรุ่นหลายร้อยรุ่น ซึ่งบางรุ้นนั้นยาวนาน และน่าเบื่อหน่าย ในขณะที่บางรุ่นสั้น รวดเร็ว และหรรษา ซึ่งแต่ละรุ่นได้เพิ่มบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณภาพให้กับประเพณีอันรุ่มรวยที่ยิ่งใหญ่ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ แม้ว่ามีร่องรอยของอดีตที่ตายแล้วก็ตาม. ความก้าวหน้าของปรัชญาภารตะนั้น เปรียบได้กับเส้นทางน้ำที่ไหลพลิ้วอย่างเริงร่าจากแหล่งกำเนิด ท่ามกลางยอดเขาทางตอนเหนือ ไหลรินผ่านหุบเขาอันมีร่มเงาและลงสู่ที่ราบลุ่ม และพัดพาลำธารเล็ก ๆ ด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก จนกระทั่งไหลพุ่งอย่างสง่างามและทรงพลังผ่านดินแดนและเหล่าผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากชะตากรรม ราวแบกบรรทุกเรือนับพันลำไว้บนอก. ใครจะไปรู้เล่าว่าเมื่อใดที่สายธารอันยิ่งใหญ่ยังคงเชี่ยวกรากและปรีดิ์เปรมจะไหลลงสู่มหาสมุทร พระผู้เป็นบิดาของทุกสายธารหรือ.
นักคิดชาวภารตะจำนวนมากมองว่าปรัชญาภารตะทั้งหมดเป็นระบบแห่งการเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง. พวกเขาเชื่อว่าแต่ละอารยธรรมกำลังสร้างความคิดอันศักดิ์สิทธิ์อกมา ซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน.2 มี
---------------
1. ข้อมูลทางบรรณานุกรม: “การอ้างว่าสิ่งใหม่เป็นสิ่งเก่านั้น เป็นคุณลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนไหวอันยิ่งใหญ่ในระดับต่าง ๆ. การปฏิรูปศาสนาถือว่าเป็นการกลับไปหาพระคัมภีร์ การเคลื่อนไหลของกลุ่มอีแวนเจลิคัล (Evangelical movement- ขบวนการเกี่ยวกับคำสอนของพระเยซู) ในอังกฤษ ถือเป็นการหวนกลับไปหาพระกิตติคุณ การเคลื่อนไหวของคริสตจักรชั้นสูงเป็นการหวนคืนสู่คริสตจักรในยุคแรก. แม้แต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการละเมิดอดีตครั้งใหญ่ที่สุดในอดีต ก็ยังถือว่าอุดมคติที่จะหวนคืนไปหาคุณธรรมของสาธารณรัฐโรมัน หรือความเรียบง่ายของมนุษย์ปถุชน”, (กิลเบิร์ต เมอร์เรย์, สี่ขั้นของศาสนาที่ยิ่งใหญ่, หน้า 58).
2. ชาวกรีกเรียกคุณสมบัติพิเศษของแต่ละคนว่า "ธรรมชาติ" และชาวภารตะเรียกว่า "ธรรมะ".
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อุปนิษัท (उपनिषद् - upaniṣad) รายละเอียดดูใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ.
.
.
48
มีจุดมุ่งหมายที่อยู่ภายใน ซึ่งกำหนดชีวิตของแต่ละเผ่าพันธุ์มนุษย์ ให้มุ่งสู่การพัฒนาที่สมบูรณ์. มุมมองต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในภารตวรรษนั้น ถือเป็นกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ต้นเดียวกัน. ทางลัดและทางตันได้รับการปรับประสานให้เข้ากับเส้นทางหลักในการก้าวไปสู่ความจริงแท้. วิถีที่คุ้นเคยซึ่งระบบดั้งเดิมทั้งหก01. ได้รับการปรับประสานเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับที่มารดาชี้นิ้วไปยังดวงจันทร์ให้ทารกพูดถึงมันว่าเป็นวงกลมที่ส่องสว่างอยู่บนต้นไม้ ซึ่งเด็กก็เข้าใจได้ดี โดยมิต้องกล่าวถึงระยะทางอันยาวโยชน์ที่แยกโลกออกจากดวงจันทร์ ซึ่งทำให้เด็กสับสน แม้ว่าจะมีแง่มุมความคิดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เป็นไปให้เหมาะกับความกะปลกกะเปลี้ยที่แตกต่างกันในความเข้าใจของมนุษย์. พระโพธจันทโรทัย02 อันเป็นละครแนวปรัชญา ได้กล่าวว่าระบบทั้งหกของปรัชญาฮินดูนั้น มิได้แยกจากกัน แต่ได้สร้างสง่าราศีของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกันที่ไร้การสร้างสรรค์จากมุมมองที่แตกต่างกัน. เหล่าระบบปรัชญาทั้งหกได้ก่อตัวเป็นศูนย์รวมของรังสีที่กระจัดกระจาย ซึ่งความเป็นมนุษย์ในหลายแง่มุมนั้น ได้สะท้อนมาจากพระสุริยะอันเรืองรอง. ในคัมภีร์สรรพทรรศนะสังเคราะห์ของมาธวะ03 (ค.ศ.1380/พ.ศ.1923) ได้ร่างระบบความคิด 16 ระบบ เพื่อแสดงให้เห็นชุดความคิดที่ค่อย ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนมาสิ้นสุดที่ อทไวตะ เวทานตะ (ไม่เป็นคู่นิยม หรือ อทวิภาวะ หรือ อทวินิยม). ด้วยจิตวิญญาณของเฮเกล04 เขามองว่าประวัติศาสตร์ของปรัชญาภารตะนั้น เป็นความพยายามที่ก้าวหน้าไปสู่แนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับโลก. ความจริงจะถูกเผยทีละน้อยในระบบที่ต่อเนื่องกัน และความจริงแท้อันสมบูรณ์จะสะท้อนออกมาก็ต่อเมื่อ ปรัชญาชุดหนึ่งได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น. ในอทไวตะ เวทานตะนั้น มีลำแสงจำนวนมากที่นำมารวมเป็นหนึ่งเดียว. วิชญาณภิกขุ05 นักบวชและนักคิดในพุทธศตวรรษที่ 21 นั้น ยึดมั่นว่าทุกระบบล้วนมีอำนาจ1 และประสานความสอดคล้องกันโดยการแยกแยะความจริงเชิงอภิปรัชญา และมองเห็นสางขยะเป็นการแสดงออกุคงความจริงขั้นสุดท้าย ปราชญ์มธุสูทนะ สรสวตี06 ได้เขียนไว้ในปรสธานภีทะ07 ว่า : “ขอบเขตสูงสุดของเหล่ามุนีทั้งมวล ผู้ประพันธ์ระบบที่แตกต่างเหล่านี้ คือการสนับสนุนเห็นพ้องกับทฤษฎีมายา การออกแบบเพียงประการเดียวของเหล่ามุนีนี้คือ การสถาปนาการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดพระองค์เดียว แก่นแท้เพียงประการเดียวสำหรับเหล่ามุนีนั้น ไม่อาจที่จะเข้าใจผิดได้ เนื่องด้วยความรอบรู้ของพวกเขา. ครั้นเมื่อเหล่ามุนีเห็นว่าผู้ซึ่งไล่ล่าติดตามวัตถุภายนอกนั้น ไม่สามารถเจาะลึกถึงความจริงแท้สูงสุดได้ภายในคราวเดียว
---------------
1. สรวากมปรามาณยะ (सर्वागमप्रामाण्या - Sarvāgamaprāmāṇya) เป็นงานของสำนักแนวคิดนยายะ Nyaya-Manjari of Jayanta Bhatta กล่าวถึงจุดยืนประการหนึ่งซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมาก พระคัมภีร์ทุกศาสนามีความถูกต้องเท่าเทียมกัน.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ระบบดั้งเดิมทั้งหก รายละเอียดดูในแทรก 1 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.

หน้าปกหนังสือ พระโพธจันทโรทัย, ประพันธ์โดย กฤษณะ มิศระ แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Dr. Sita K. Nambiar, เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยสำนักพิมพ์ Motilal Banarsidass ภารตะ.
1.
02. พระโพธจันทโรทัย (प्रबोधचन्द्रोदयम् - The Prabodhacandrodaya) หมายถึง พระจันทร์ที่ตื่นขึ้น (Rise of The Moon of Intellect) จากหนังสือ Prabodhacandrodaya ประพันธ์โดย กฤษณะ มิศระ (Kṛṣṇa Misŕa หรือ श्रीकृष्णामिश्र - Śrīkṛṣṇamiśra) ผู้ประพันธ์บทละครนี้ คาดว่าน่าจะอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 หรือช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในบทละคร ตัวละครเช่น วิเวก (विवेक - Viveka - การเลือกปฏิบัติ ความรอบคอบ - Discrimination, discretion) ศานติ (शान्ति - Śānti - สันติ) ศรัทธา (श्रद्धा - Śraddhā) และ กรุณา (करुणा - Karuṇā - ความสงสาร) เป็นต้น เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ของความรู้สึกและความคิดของมนุษย์ บทละครนี้ประกอบด้วย 6 องก์ ในบทละครเป็นการวิวาทะกันระหว่างวิเวกและมหาโมหะ (महामोहा - Mahāmoha) ถูกแสดงโดยผู้ประพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างคุณธรรมและความชั่วร้าย โดยคุณธรรมได้รับชัยชนะเหนือความชั่วร้าย ในบทละครนี้มีองค์ประกอบเชิงเสียดสี ผู้ประพันธ์วิพากษ์วิจารณ์ข้อบกพร่องของกลุ่มคนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคม, จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ MOTILAL BANARSIDASS, เดลลี ภารตะ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2514 เป็นละครแนวปรัชญาที่มีการกำหนด บทบาทตัวละครไว้น่าสนใจ ตัวละครหลักคือ ปุรุษ (Puruṣa) มีตัวละครที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวละครเกี่ยวกับภาพลวงตา หรือ มายา (माया - Delusion) คือ
- จารวาก (चार्वाक - Cārvāka - Materialist) – his great friend,
- กาม (काम - Kāma - Concupiscence - ราคะ), โกรธ (क्रोध - Krodha - Anger), โลภ (लोभा - Lobha - Greed), ดังภะ (दण्डभा - Daṃbha - Deceit - หลอกลวง), อหังการ์ (अहङ्कार - Ahaṃkāra - Egoism) – his ministers,
- มิจฉาทิฏฐิ (मिथ्यादृष्ट् - Mithyādṛṣṭ - Error) – his wife,
- วิภรามาวตี (विभ्रमावती - Vibhramāvatī - Confusion) – his wife’s friend,
- รติ (रति - Rati - Pleasure) – Kāma’s wife,
- หิงสา (हिंसा - Hiṃsā - ความรุนแรง - Violence) – the wife of Krodha,
- ทฤษณา (तृष्णा - Tṛṣṇā - Desire) – the wife of Lobha.
มีตัวละครเกี่ยวกับวิเวก (Viveka) คือ:
- มติ (मति - Mati - Reason) – his wife,
- สังโทษะ (संतोष - Saṃtoṣa - Contentment) – his friend,
คัมภีร์สรรพทรรศนะสังเคราะห์ โดยมาธวอาจารยะ, ที่มา: www.amazon.com, วันที่เข้าถึง: 25 พฤษภาคม 2568.
1.
03. คัมภีร์สรรพทรรศนะสังเคราะห์ของมาธวะ (Mādhava’s Sarvadarśanasaṁgraha) อ้างอิงจาก "Rediscovering India", Indian Philosophy Library, SARVA-DARSANA SAMGRAHA, แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย GOUTH A.E. COWELL E.B. Vol.9, 1987, สำนักพิมพ์ COSMO PUBLICATIONS พิมพ์ที่ นิวเดลี รายละเอียดดูได้ใน สรรพทรรศนะสังเคราะห์ 1 - บทนำและระบบจารวาก
04. เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกล (Georg Wilheim Friedrich Hegal) (27 สิงหาคม พ.ศ.2313 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2374) นักปรัชญาชาวเยอรมัน สำนักคิดจิตนิยม (idealism) รายละเอียดดูใน D11. เกออร์ก เฮเกล.
05. วิชญาณภิกษุ (विज्ञानभिक्षु - Vijñānabhikṣu) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
06. ปราชญ์มัทสุธาณะ สรสวตี (मधुसूदन सरस्वती - Madhusūdana Sarasvatī) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
07. ปรสธานภีทะ (प्रस्थानभेद - Prasthānabheda) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
1.
2.
49
เหล่ามุนีจึงเสนอทฤษฎีต่าง ๆ ให้แก่เขาเหล่านั้น เพื่อไม่ให้พวกเขาตกอยู่ใต้ความเป็นอเทวนิยม01. ความเข้าใจผิดเกี่ยววัตถุสิ่งของซึ่งเหล่ามุนีมีความเห็นอยู่นั้น และแสดงให้เห็นว่าเขาเหล่านั้นได้ถูกกำหนดแบบมาเพื่อเสนอหลักคำสอนที่แย้งกับพระเวท เหล่าผู้คนจึงเริ่มมองหลักคำสอนเฉพาะของสำนักต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยความชอบเป็นพิเศษ และด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นผู้ยึดมั่นในระบบต่าง ๆ .”1 นักวิจารณ์พิเคราะห์เกือบทั้งหมด2 พยายามจะปรับระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน. ความแตกต่างอยู่ที่สิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นความจริงเท่านั้น. ผู้ปกปักรักษาปรัชญานยายะ เช่น อุทัยนาจารย์03 ได้เฝ้ามองมายังปรัชญานยายะ และผู้มีแนวคิดเทวนิยมดังเช่นรามานูชาจารย์04 ที่ถือว่าลัทธิเทวนิยมนั้นเป็นความจริงแท้. สอดคล้องกับจิตวิญญาณของวัฒนธรรมภารตะที่คิดว่ากระแสแนวคิดอันหลากหลายที่ซึมซับผ่านแทรกในแผ่นพื้นธรณีนั้น จะปล่อยเป็นน้ำไหลผ่านลงสู่เพียงหนึ่งน้ำนที จะท่วมท้นกลายเป็นเมืองแห่งพระผู้เป็นเจ้า.
ตั้งแต่แรกเริ่ม ชาวภารตะตระหนักดีว่าความจริงแท้นั้นมีหลายแง่มุม และมุมมองที่แตกต่างกัน ก็มีความจริงแท้ในแง่มุมต่าง ๆ ที่ไม่มีผู้ใดสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่. ดังนั้นชาวภารตะจึงอดทนและเปิดรับมุมมองอื่น ๆ . เขาไม่หวั่นไหวที่จะยอมรับแม้แต่หลักคำสอนที่เป็นอันตราย ตราบใดที่พวกเขาเหล่าชนภารตะมีหลักตรรกะรองรับ. เขาไม่ยอมให้ความตายบังเกิดขึ้น หากยังสามารถช่วยได้ แม้เพียงจุดเล็ก ๆ เศษเสี้ยวแห่งจารีตประเพณีก็ตาม แต่ก็จะพยายามยอมรับมันให้ได้ทั้งหมด. เราพบกรณีการปฏิบัติที่อดกลั้นเช่นนี้หลายกรณีในระหว่างการศึกษาของเรา. แน่นอนว่ามีอันตรายเกิดขึ้นจากทัศนคติเช่นนี้. บ่อยครั้งที่สิ่งนี้ได้นำเหล่าภารตะคุรุมีทัศคติที่คลุมเครือ ยอมรับอย่างเพิกเฉยเย็นชา และยึดมั่นในลัทธิที่ไร้เหตุผล.
III
บางอย่างที่ต้องจ่ายไปเกี่ยวกับปรัชญาภารตะ
ข้อกล่าวหาหลักที่ต่อต้านปรัชญาภารตะ อาทิ การมองโลกในแง่ร้าย ความหยิ่งยโสดื้อรั้น ความเฉยเมยต่อจริยธรรม และการไม่ก้าวรุดหน้า.
นักวิจารณ์ปรัชญาและวัฒนธรรมภารตะแทบทุกท่าน ต่างวิจารณ์ความมองโลกในแง่ร้ายของปรัชญาและวัฒนธรรมภารตะ.3 อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเข้าใจ
---------------
1. ดูใน มัวร์02 อ.ส.ด. (อักษรสันสกฤตดั้งเดิม) เล่มที่ 4 บทที่ 1 และ 2.
2. สรรพทรรศนะสามรสยะ (सर्वदर्शनासाम्रस्य - Sarvadarśanasāmrasya) !!??
3. ไชลี่ย์, ในงาน Administrative Problems (หน้าที่ 67), ยืนยันว่าปรัชญาของอินเดียเกิดจาก “ความเกียจคร้านและความปรารถนาที่จะพักผ่อนชั่วนิรันดร์.”
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ.
02. มัวร์ (Dr. John Muir) เป็นผู้มีความรู้ในภาษาสันสกฤต ภารตวิทยา และเป็นผู้พิพากษาในอินเดีย {ชาตะ: กลาสโกว์ สก็อตแลนด์ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2353 (ค.ศ.1810) – มรณะ: อดินเบอระ สก็อตแลนด์ 7 มีนาคม พ.ศ.2425 (ค.ศ.1882)} ผลงานสำคัญคือในปี พ.ศ.2404 (ค.ศ.1861) “Original Sanskrit Texts on the Origin and Progress of the Religion and Institutions of India.”
03. อุทัยนาจารย์ (उदयन - Udayana หรือ उदयनाचार्य - Udayanācārya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
04. รามานูชาจารย์ (रामानुज - Rāmānuja) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
.
.
50
ได้ว่าจิตใจของมนุษย์สามารถคาดเดาได้อย่างอิสระและปรับเปลี่ยนชีวิตได้อย่างไร ในเมื่อชีวิตเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้าและความรู้สึกสิ้นหวังที่จะเอาชนะ. โดยปริยายแล้ว ขอบเขตและเสรีภาพของความคิดภารตะไม่สอดคล้องกับการมองโลกในแง่ร้ายขั้นสุดยอด. ปรัชญาภารตะเป็นปรัชญาที่มองโลกในแง่ร้ายแล้วไซร้ หากการมองโลกในแง่ร้ายนี้หมายถึงความรู้สึกที่ไม่พึงใจกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือมีอยู่. ในความหมายนี้ ปรัชญาล้วนมองโลกในแง่ร้าย. ความทุกข์ในโลกก่อให้เกิดปัญหากับปรัชญาและศาสนา. ระบบศาสนาที่เน้นการไถ่บาปจะแสวงหาหนทางหนีจากชีวิตที่เราดำเนินอยู่บนโลก. แต่ในสาระสำคัญ ความจริงไม่ได้เป็นสิ่งชั่วร้าย. ในปรัชญาภารตะ คำว่า “สัต”01 เดียวกันนี้บ่งบอกถึงทั้งความจริงและความสมบูรณ์แบบ. ความจริงและความดี หรือจะพูดให้ถูกต้องกว่านั้นก็คือ ความเป็นจริงและความสมบูรณ์แบบนั้นไปด้วยกันได้. ความจริงนั้นมีค่าสูงสุดเช่นกัน และนี่คือพื้นฐานของการมองโลกในแง่ดีทั้งหมด. ศาสตราจารย์โบซานเกต์02 เขียนไว้ว่า: "ข้าพเจ้าเชื่อในการมองโลกในแง่ดี แต่ข้าพเจ้าขอเสริมว่าไม่มีการมองโลกในแง่ดีนั้นไม่คุ้มค่าเลยหากมองโลกในแง่ร้ายเกินไปและไปถึงจุดที่เหนือกว่านั้น ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่านี่คือจิตวิญญาณที่แท้จริงของชีวิต และถ้าผู้ใดเห็นว่ามันเป็นอันตราย และเป็นข้ออ้างในการยอมจำนนต่อความชั่วร้ายโดยไม่มีเหตุผล ข้าพเจ้าขอตอบว่าความจริงทั้งปวงที่ละเอียดถี่ถ้วนมีความเสี่ยงที่จะนำไปปฏิบัติ."1 นักคิดชาวภารตะต่างมองโลกในแง่ร้าย เพราะมองว่าระเบียบโลกเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายและโกหกหลอกลวง พวกเขามองโลกในแง่ดีเพราะพวกเขารู้สึกว่ามีทางออกจากระเบียบโลกโดยจะเข้าไปสู่ขอบเขตของความจริง ซึ่งก็คือความดีด้วยเช่นกัน.
กล่าวกันว่าปรัชญาภารตะนั้นไม่มีอะไรเลย นอกจากหลักคำสอนที่ยึดถือกัน และปรัชญาที่แท้จริงนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากปราศจากหลักคำสอนที่ยึดถือกัน. การศึกษาแนวคิดของชาวภารตะจะเป็นคำตอบสำหรับข้อกล่าวหานี้. ระบบของปรัชญาจำนวนมากกล่าวถึงปัญหาของความรู้ ต้นกำเนิด และความถูกต้องของความรู้เป็นเบื้องต้นในการศึกษาปัญหาอื่น ๆ . เป็นความจริงที่พระเวทหรือศรุติ04 นั้น โดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ. แต่ปรัชญาจะกลายเป็นลัทธิที่ยึดมั่นถือมั่นก็ต่อเมื่อข้ออ้างในพระเวทถูกมองว่าเหนือกว่าหลักฐานของประสาทสัมผัสและข้อสรุปของเหตุผล.
---------------
1. อุดมคติทางสังคมและสากล (Social and International Ideas), หน้าที่ 43 เปรียบเทียบหรือข้อมูลทางบรรณานุกรมของโชเพินเฮาเออร์03 "การมองโลกในแง่ดีนั้น เมื่อไม่ใช่แค่คำพูดโดยไม่ได้คิดของผู้ที่ไม่พูดอะไรเลย นอกจากคำพูดที่อยู่ใต้หน้าผากของพวกเขา ไม่เพียงแต่จะดูไร้สาระเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีคิดที่ชั่วร้ายจริง ๆ เป็นการเยาะเย้ยมนุษยชาติที่ทุกข์ยากขมขื่นอย่างเกินบรรยาย"
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. สัต (सत् - Sat) - มีอยู่ ดำรงอยู่ จริง จำเป็น ใช่แล้ว เหมาะสม ดีที่สุด น่านับถือ.
02. ศาสตราจารย์ เบอร์นาร์ด โบซานเกต์ (Professor Bernard Bosanquet) ชาตะ 14 มิ.ย. พ.ศ.2391 (ค.ศ.1848) มรณะ 8 ก.พ. พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) ท่านเป็นนักปรัชญาสำนักอังกฤษและนักทฤษฎีทางการเมือง งานของท่านมีอิทธิพลต่อระบบการเมืองและนโยบายด้านสังคม.
03. อาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) ชาตะ 22 ก.พ. พ.ศ.2331 (ค.ศ.1788) มรณะ 21 ก.ย. พ.ศ.2403 (ค.ศ.1860) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า เมื่ออายุ 25 ปีโชเพินเฮาเออร์พิมพ์ปริญญานิพนธ์ มูลบัญญัติสี่ประการของเหตุผล (Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde) ที่เป็นปรัชญาที่พิจารณาคำถามที่ว่าเหตุผลเพียงอย่างเดียวจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับโลกได้หรือไม่ งานชิ้นที่มีอิทธิพลที่สุดของโชเพินเฮาเออร์ Die Welt als Wille und Vorstellung (The World as Will and Representation) เน้นบทบาทของแรงบันดาลใจ (motivation) ของมนุษย์ที่โชเพินเฮาเออร์เรียกว่า "เจตจำนง" (Will) การวิจัยของโชเพินเฮาเออร์นำไปสู่การสรุปว่าความต้องการทางอารมณ์, ทางร่างกาย และทางเพศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโชเพินเฮาเออร์จึงนิยมวิถีชีวิตที่ลดความต้องการของมนุษย์ เช่น การบำเพ็ญเพียร การปฏิเสธตัวเอง ที่คล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาพุทธและเวทานตะ.
04. ศรุติ (श्रुति - śruti) สิ่งที่ได้ยินมา - what was heard รายละเอียดดูเพิ่มเติมในหน้าที่ 5 ของ B01. โลกของมหาฤๅษีวาลมีกิ: ภูมิหลังและจักรวาลของรามายณะ รวมทั้งการแปล.
.
.
51
คำกล่าวในพระเวทที่เป็น อาปตวจนะ01 หรือคำกล่าวของปราชญ์ซึ่งเราจำต้องยอมรับ หากเรามั่นใจว่าปราชญ์เหล่านั้น มีวิธีที่ดีกว่าเราในการตัดสินประเด็นที่กำลังพิจารณาอยู่. โดยทั่วไปแล้ว ความจริงของพระเวทเหล่านี้ หมายถึงถึงประสบการณ์ของผู้พยากรณ์ ซึ่งการตีความเป็นจริงอย่างมีเหตุผลจะต้องคำนึงถึง ประสบการณ์โดยเฉพาะสัญชาตญาณเหล่านี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนสามารถสัมผัสได้ หากพวกเขาปรารถนาเท่านั้น.1 การเรียกร้องถึงพระเวทนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการอ้างถึงมาตรฐานพิเศษทางปรัชญาใด ๆ . หลักธรรมสำหรับคนธรรมดาสามัญนั้นก็คือประสบการณ์ของผู้มีใจบริสุทธิ์. เป็นความจริงที่ว่า เมื่อเราไปถึงขั้นของข้อคิดเห็นที่มีขึ้นภายหลัง เราจะมีสถานะความเชื่อทางปรัชญาที่ถูกต้อง เมื่อการคาดเดาได้กลายเป็นการปกป้องหลักคำสอนที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการ. ระบบก่อนหน้านี้ ก็เรียกตนเองว่าเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์และก็อ้างตนว่าเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์เก่า แต่ไม่เคยมีแนวโน้มเลยที่พวกเขาจะเป็นนักปราชญ์ เนื่องจากอุปนิษัทที่พวกเขามองหาแรงบันดาลใจนั้นมีหลายแง่มุม.2 หลังจากความขัดแย้งทางปรัชญาในพุทธศตวรรษที่ 13-14 (คริสต์ศตวรรษที่แปด) ได้กลายเป็นประเพณีและมีลักษณะทางปรัชญา และเราก็พลาด (ประเด็นด้าน) เสรีภาพในยุคก่อนหน้า. เหล่าผู้สถาปนาสำนักความคิดต่าง ๆ นั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ ดังนั้นการกังขาในความคิดเห็นของเขาดูจึงถือเป็นการดูหมิ่นศาสนาและไร้ศีลธรรม. หลักการพื้นฐานจะต้องได้รับการสรุปในครั้งเดียวและตลอดไป และหน้าที่ของคุรุคือถ่ายทอดความเชื่อต่าง ๆ ของสำนักความคิด โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามที่สมองของคุรุสามารถสั่งการได้และตามยุคสมัย. เรามีข้อโต้แย้งที่สดใหม่สำหรับข้อสรุปที่ได้คาดเดาไว้ล่วงหน้า วิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ และการรังสรรค์ของเก่าขึ้นมาใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในส่วนหน้าหรือบิด (เบือน) ด้วยวิภาษวิธีหรือเกี่ยวกับการจาระไนเหตุผล. มีการทำสมาธิที่เกี่ยวกับปัญหาชีวิตที่ลึกซึ้งน้อยลง และอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประดิษฐ์มากขึ้น. สมบัติพัสถานประเพณีที่เรามีอยู่เดิมนั้นอุดตันเราด้วยความมั่งคั่งอันเป็นภาระ และปรัชญาก็หยุดเคลื่อนไหวและบางครั้งก็ทำให้หายใจแทบไม่ออกเลย. มีข้อกล่าวหาว่าไร้ประโยชน์ที่ถูกยกขึ้นโดยต่อปรัชญาภารตะทั้งมวล อาจมีประโยชน์บางประการเมื่อนำไปประยุกต์กับถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือยของเหล่านักวิพากษ์วิจารณ์ ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นลูกศิษย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจแห่งชีวิตและความงดงามที่เหล่าปราชญ์รุ่นก่อนเป็น แต่นักวิภาษวิธีที่เชี่ยวชาญที่ตระหนักถึงพันธกิจของตนต่อมนุษยชาติ. ทว่าแม้ภายใต้ความชราอันเป็นเปลือกกระพี้ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้นั้น
---------------
1. ดูใน S.B.V.S., หนังสือหายากของ V.S. (Sacred Book of V.S.), บทที่ 3 บรรพที่ 2 บรรทัดที่ 24.
2. วิศวโตมุกคา02
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อาปตวจนะ (आप्तवचन - āptavacana) หมายถึง การได้รับข้อความ หรือ สิทธิอำนาจ การเปิดเผย.
02. วิศวโตมุกคา (विश्वतोमुखा - Viśvatomukhāḥ) หันหน้าไปทางโลก - World-facing (สู่โลกอันเป็นโลกียะ).
1.
2.
52
จิตวิญญาณยังคงอ่อนเยาว์ และจากนั้นก็ผลิแตกออกและแตกหน่อออกมาเป็นสิ่งสดเขียวและอ่อนโยน. มีบุคคลเช่น ศังกราจารย์ หรือ มาธวะ01 ผู้เรียกตนว่านักวิจารณ์ (อรรกถาจารย์) กระนั้นก็ยังสามารถซึมซาบหลักธรรมทางจิตวิญญาณที่กำกับการเคลื่อนไหวของโลกได้.
มักมีการโต้แย้งว่าปรัชญาภารตะนั้น ไม่มีจริยธรรม. “ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีปรัชญาทางจริยธรรมใดเลยที่อยู่ในพรมแดนแนวความคิดของชาวฮินดู.”1 อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถยืนยันข้อกล่าวหานี้ได้ ความพยายามที่จะเติมเต็มทั้งชีวิตด้วยพลังแห่งจิตวิญญาณนั้นเป็นเรื่องปกติ. ถัดไปจากหมวดหมู่ของความจริงแท้แล้ว ธรรมะเป็นแนวคิดที่สำคัญที่สุดของชาวภารตะ. ศาสนาอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมที่แท้จริงก็คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาเชน และศาสนาฮินดูก็ไม่ได้ด้อยกว่าศาสนาอื่น. ความสมบูรณ์ทางจริยธรรมเป็นก้าวแรกสู่ความรู้อันศักดิ์สิทธิ์.
ที่มา: https://storylog.co/story/590d83323a2d222a22214e2e, วันที่เข้าถึง 10 พฤศจิกายน 2564.
.
กล่าวกันว่าปรัชญาในภารตะยังคงสถิตนิ่ง แสดงถึงกระบวนการอันมิรู้จบสิ้นในการนวดบดฟางเก่า ๆ . “ตะวันออกที่ไม่เปลี่ยนแปลง” นั้น หมายความว่าเวลาของภารตะได้หยุดโบยบินและยังคงนิ่งอยู่ตลอดไป. หากมันหมายความว่ามีอัตลักษณ์พื้นฐานอยู่ในปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นความไม่รุดก้าวไปข้างหน้าประเภทนี้เป็นคุณลักษณะทั่วไปของการพัฒนาทางปรัชญาทั้งหมด. มีปัญหาเดิม ๆ ของพระผู้เป็นเจ้า เสรีภาพ และความเป็นอมตะ และวิธีแก้ปัญหาเดิม ๆ ที่ไม่น่าพอใจ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดหลายศตวรรษ. แม้ว่ารูปแบบของปัญหาจะเหมือนเดิม แต่เนื้อหาสาระตัวปัญหาได้เปลี่ยนไป. มีความแตกต่างกันทั้งหมดในโลกระหว่างพระผู้เป็นเจ้าในบทสวดของพระเวทกำลังดื่มโสม02 กับความสมบูรณ์ของศังกราจารย์. สถานการณ์ที่ปรัชญาเป็นคำตอบนั้นจะต้องเกิดขึ้นใหม่ในแต่ละยุคสมัย และความพยายามที่จะจัดการกับสถานการณ์แบบนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวปรัชญาให้ใหม่ไปด้วย. หากการคัดค้านหมายความว่าไม่มีความแตกต่างเชิงพื้นฐานมากนัก ระหว่างวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ให้ไว้ในพระคัมภีร์เก่าแก่ของภารตะกับงานเขียนด้านศาสนาคริสต์ต่าง ๆ ของเพลโต นั่นก็แสดงว่าพระวิญญาณสากลซึ่งเปี่ยมด้วยความรักองค์เดียวกันนี้ นาน ๆ ครั้งได้ส่งวรสารและเปล่งสุรเสียงออกมา. เรื่องราวศักดิ์สิทธิ์อันเป็นแก่นสารได้ไหลชโลมลงมาสู่เราครั้งเก่ากาลในยุคต่าง ๆ โดยมีความสมดุล มีสีสันที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติและประเพณี. หากสิ่งนี้หมายถึงการมีการคารวะต่ออดีตในระดับหนึ่ง ซึ่งผลักดันให้ปราชญ์ภารตะเทไวน์ใหม่ลงในขวดเก่า ซึ่งเราได้เกริ่นไปแล้วว่านี่
---------------
1. ฟาควาร์, วารสารฮิบเบิร์ต, ตุลาคม พ.ศ.2464, หน้า 24.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. มาธวะ (माधव - Mādhava) แปลว่า ผู้นำมาซึ่งฤดูใบไม้ผลิ และเป็นอีกฉายาหนึ่งของพระกฤษณะ (कृष्ण - Kṛṣna).
02. โสม (सोम - Soma - sóma) ในวัฒนธรรมพระเวทโบราณของภารตะ โสมถือเป็นเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์และเป็นเทพเจ้าด้วย โสมน่าจะเป็นน้ำผลไม้ที่ทำจากพืชบนภูเขาหรือพืชที่ชื่อฮาโอมา (Haoma - เป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ของผู้นับถือลัทธิบูชาไฟ - โซโรแอสเตอร์ - Zoroastrianism - และต่อมาในวัฒนธรรมของชาวเปอร์เซีย และปกรณัม) พระเวทกล่าวถึงโสมอย่างกว้างขวาง โดยมีบทสวดสรรเสริญคุณสมบัติของโสมหลายบท เชื่อกันว่าโสมมีพลังศักดิ์สิทธิ์ โดยสามารถให้ภาพนิมิตและมอบความเป็นอมตะเมื่อดื่มเข้าไป นักวิชาการบางคนเสนอว่าโสมเป็นยาที่กระตุ้นประสาท ซึ่งอาจสกัดมาจากพืชเอฟีดรา (Ephedra - เป็นพืชตระกูลไม้พุ่ม มีหลายสายพันธุ์ ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ ยุโรปตอนใต้ แอฟริกาตอนเหนือ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และเอเชียกลาง จีนตอนเหนือ และอเมริกาใต้ด้านตะวันตก).
1.
2.
53
เป็นลักษณะเฉพาะของจิตใจชาวภารตะ. วิถีที่จะเติบโตก็คือการนำสิ่งดี ๆ ทั้งหมดที่ผ่านมาแล้วมาเพิ่มเสริมสิ่งใหม่ ๆ เข้าไป. นี่คือการสืบสานความเชื่อของบรรพชนและดัดแปลงไปตามจิตวิญญาณแห่งกาลเวลา. หากความคิดภารตะเป็นเรื่องลม ๆ แล้ง ๆ เพราะไม่คำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ก็ถือเป็นความไร้ประโยชน์ซึ่งสิ่งเก่า ๆ ทั้งหมดมีอยู่ในสายตาของสิ่งใหม่ ๆ . การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของปรัชญามากเท่ากับวิพากษ์วิจารณ์นี้. ทฤษฎีที่ปฏิวัติในวงการทางวิทยาศาสตร์อย่างด้านวิวัฒนาการทางชีววิทยาและความสัมพันธ์ทางกายภาพนั้น ไม่ได้ทำลายหลักปรัชญาต่าง ๆ ที่ได้รังสรรค์ขึ้นแต่อย่างใด แต่เพียงยืนยันว่ามีสาขาวิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึ้น.
ข้อกล่าวหาถึงความไม่ก้าวหน้าหรือหรือความนิ่งเฉย จะเกิดขึ้นกับเราในขั้นตอนที่มีนักวิพากษ์วิจารณ์ที่ยิ่งใหญ่ท่านแรกได้วิจารณ์ขึ้น. งานในอดีตจะหนักอึ้งขึ้น ความคิดริเริ่มถูกระงับ และผลงานของเหล่าปราชญ์ เทียบได้กับงานของปราชญ์ในยุคกลาง ที่มีความเคารพต่ออำนาจและประเพณีในแบบเดียวกัน และการรุกคืบของอคติทางเทววิทยาแบบเดิม ๆ ก็เริ่มต้นขึ้น. ปราชญ์ภารตะสามารถทำได้ดีกว่านี้หากมีอิสระมากขึ้น. เพื่อให้การพัฒนาทางด้านปรัชญาก้าวหน้าต่อไป จำต้องรักษากระแสพลังสร้างสรรค์ให้ไหลเวียนอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเชื่อมโยงกับกระแสชีวิตที่สามารถเอื้ออำนวยอิสระทางความคิดที่แท้จริงได้. ซึ่งบางทีภารตะปรัชญาที่สูญเสียความแข็งแกร่งและพลัง เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ทางการเมือง ก็อาจได้รับแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นใหม่ ๆ จากยุคที่เพิ่งจะเริ่มขึ้นต้น. หากภารตะปราชญ์ผสมผสานความรักของสิ่งเก่ากาลเข้ากับความกระหายในสิ่งที่เป็นความจริง ภารตะปรัชญาอาจมีอนาคตที่รุ่งโรจน์ไม่แพ้อดีต.
.
.
IV
คุณค่าของการศึกษาภารตะปรัชญา
มันไม่ได้เป็นเพียงชิ้นส่วนของการสำรวจโบราณวัตถุ ซึ่งความคิดของภารตะนั้นควรค่ากับการศึกษา. แต่ยังรวมถึงการคาดการณ์ของปราชญ์ท่านใดท่านหนึ่งหรือความคิดในยุคก่อน ๆ ด้วย. ความคิดใด ๆ ที่เคยทำให้ผู้คนสนใจนั้นไม่มีวันสูญเสียความมีชีวิตชีวาไปโดยสิ้นเชิง. ในความคิดของชาวอารยันในยุคพระเวท เราจะพบเห็นถึงการต่อสู้ภายในจิตใจอันทรงพลัง
1.
2.
54
กับปัญหาสูงสุดที่มนุษย์ใช้ความคิดเผชิญ. จากคำกล่าวของเฮเกล: “ในความหมายที่แท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ของปรัชญานั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับอดีต แต่อยู่กับนิรันดร์และตามความเป็นจริงปัจจุบัน และผลลัพธ์ที่ได้นั้นดูคล้ายคลึงกัน ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมความผิดปกติทางสติปัญญาของมนุษย์ แต่เป็นวิหารของเทพเจ้าที่แสดงลำดับขั้นต่าง ๆ ของตรรกะที่อยู่ภายในความคิดของเหล่ามวลมนุษยชาติ”.1 ประวัติความคิดของภารตะนั้นไม่ใช่สิ่งที่เห็นในตอนแรก ซึ่งเป็นเพียงลำดับความคิดล่องลอยที่ดำเนินตามกันอย่างรวดเร็ว.
ช่างง่ายดายที่จะนำปรัชญาไปล้อเล่น เนื่องจากสำหรับผู้ที่พอใจกับการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งที่ต้องใช้ความรู้สึกและความคิดอย่างไม่รอบคอบ ปัญหาทางปรัชญาจะดูไม่จริงและมีกลิ่นอายของความไร้สาระ. นักวิจารณ์ที่เป็นปรปักษ์มองว่าการโต้แย้งทางปรัชญา เป็นการใช้ตรรกะที่สิ้นเปลือง และหลอกลวงทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับปริศนาเช่น "ไก่กับไข่อย่างไหนเกิดก่อนกัน"2 ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในภารตะปรัชญา ได้สร้างความงุนงงให้กับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการแก้ไขให้เป็นที่พอใจแก่ทุกคนก็ตาม. ดูเหมือนว่าจะมีความต้องการหรือความปรารถนาอันสำคัญยิ่งของมนุษย์ที่จะรู้จักธรรมชาติของจิตวิญญาณและพระผู้เป็นเจ้า. เมื่อใดก็ตามที่ผู้ช่างคิดไตร่ตรองถึงความจริงที่ว่าตนเองถูกพัดพาไปอย่างไม่หยุดหย่อนในเส้นทางแห่งการเกิดและการตาย กระแสแห่งชีวิตที่ไหลขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งไหลไปข้างหน้าและข้างบนอย่างไม่หยุดยั้ง เขาก็อดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า จุดประสงค์ของทั้งหมดนี้คืออะไร นอกเหนือไปจากเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คอยกวนใจระหว่างทาง ปรัชญาไม่ได้เป็นเพียงความแตกต่างทางเชื้อชาติของภารตะ ทว่าเป็นความสนใจใคร่รู้ของมนุษย์.
หากเราละทิ้งปรัชญาที่เราเชี่ยวชาญแล้วไซร้ อาจเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ ในภารตะ เราก็จะพบการพัฒนาทางความคิดที่เป็นตรรกะที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในภารตะ. งานของภารตะปราชญ์นั้นมีคุณค่ายิ่งกต่อการพัฒนาความรู้ของมนุษย์ จนเราตัดสินว่าผลงานของเหล่าปราชญ์นี้ว่าคู่ควรแก่การศึกษา แม้ว่าเราจะพบข้อผิดพลาดอย่างชัดแจ้งก็ตาม. หากมีความคิดอันหลอกลวงที่ทำลายปรัชญา ก็ควรละทิ้งไปเสีย. ท้ายที่สุดแล้ว ความจริงอันถาวรที่เหลืออยู่ซึ่งอาจได้รับการยอมรับว่า
---------------
1. ตรรกะ, หน้าที่ 137., การแปลของวอลเลซ.
2. ท้ายที่สุดแล้ว คำถามนี้ไม่ได้เป็นเรื่องไร้สาระหรือไร้เดียงสาอย่างที่คิด. ดูได้ในหนังสือ 'โชคหรือเล่ห์เหลี่ยม' ของ ซามวล บัตเลอร์ .
.
.
55
มีส่วนสนับสนุนที่ทรงประสิทธิผลต่อความคิดของมนุษย์ แม้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับนักคิดที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกตะวันตก เช่น เพลโตและอริสโตเติล ก็ไม่ได้มากมายอะไร. เป็นเรื่องง่ายที่จะยิ้มให้กับคำปราศัยอันวิจิตรงดงามของเพลโต หรือลัทธิความเชื่อที่น่าเบื่อหน่ายของเดส์คาร์ต์ส์01 หรือประสบการณ์เชิงประจักษ์อันแห้งผากของฮูม02 หรือความขัดแย้งอันน่าสับสนของเฮเกล03 แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีข้อสงสัยว่าเราได้ประโยชน์จากการศึกษาผลงานของเหล่าปราชญ์ตะวันตกนี้. ถึงกระนั้น แม้ความจริงอันสำคัญยิ่งของนักคิดชาวภารตะเพียงไม่กี่ประการเท่านั้นที่หล่อหลอมประวัติศาสตร์ของจิตใจมนุษย์ แต่ก็มีการสังเคราะห์ทั่วไปถึงแนวคิดที่เป็นระบบที่หยิบยกขึ้นมาโดย บาทรายณะ04 หรือ ศังกราจารย์ ซึ่งจะยังคงเป็นจุดสังเกตของความคิดมนุษย์และอนุสรณ์สถานของอัจฉริยภาพของมนุษย์.1
สำหรับผู้ศึกษาชาวภารตะที่ได้ศึกษาภารตะปรัชญาเพียงอย่างเดียวนั้น ก็สามารถให้มุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับอดีตของภารตประเทศได้. ในปัจจุบันนี้ ชาวฮินดูโดยทั่วไปมองว่าระบบในอดีตของตน ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธศาสนา อทไวตะ ทไวตะ นั้น ล้วนมีค่าควรและยอมรับด้วยเหตุผลเท่าเทียมกัน. ผู้รังสรรค์ระบบเหล่านี้ (ระบบปรัชญาทั้งหก หรือ ษาฑทรรศนะ) ได้รับการบูชาราวกับเป็นพระผู้เป็นเจ้า. การศึกษาปรัชญาอินเดียจะนำไปสู่การคลี่คลายสถานการณ์ การรับเอาเจตคติที่สมดุลมากขึ้น และการปลดปล่อยจิตใจจากความรู้สึกกดดันเกี่ยวกับความสมบูรณ์แบบของทุกสิ่งที่มีแต่เก่ากาล. อิสรภาพจากพันธนาการของการมีอำนาจนี้ เป็นอุดมคติที่ควรค่าแก่การมุ่งมั่น. เมื่อปัญญาที่ถูกกดขี่ได้รับอิสรภาพ ความคิดริเริ่มและความพยายามสร้างสรรค์ก็อาจเกิดขึ้นได้อีกครั้ง. การได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคแรกของประเทศ
---------------
1. มีนักวิชาการชาวตะวันตกหลายท่านได้ตระหนักถึงคุณค่าของภารตะปรัชญา. "ในทางกลับกัน เมื่อเราได้ศึกษาความตั้งใจถึงกระแสความคิดทางกวี และปรัชญาตะวันออกด้วยความสนใจแล้ว ซึ่งเหนือสิ่งกว่าของภารตะทั้งหมด ซึ่งเริ่มแพร่กระจายไปทั่วยุโรป เราจะพบว่ามีความจริงแท้มากมายและความจริงแท้ที่ลึกซึ้งมาก และมีความแตกต่างอย่างมากกับผลงานที่ต่ำต้อยซึ่งบางครั้งอัจฉริยภาพของยุโรปหยุดชะงักอยู่ เราจึงถูกบังคับให้คุกเข่าต่อหน้าความคิดของตะวันออก และมองเห็นดินแดนแห่งปรัชญาสูงสุดอันเป็นเปลของเผ่าพันธุ์มนุษย์แห่งนี้" (วิคเตอร์ คูซิน). "หากข้าพเจ้าจะถามตัวเองจากวรรณกรรมใดที่พวกเราในยุโรปหล่อหลอมมาโดยอาศัยความคิดของชาวกรีกและโรมันเป็นหลัก และเจากกลุ่มเซมิติกกลุ่มหนึ่ง ก็คือชาวยิว จะสามารถดึงเอาแนวทางแก้ไขที่จำเป็นที่สุดมาใช้เพื่อทำให้ชีวิตภายในของเรามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น เป็นสากลมากขึ้น ซึ่งอันที่จริงแล้ว เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่แท้ ชีวิตไม่ใช่แค่ชีวิตนี้เท่านั้น แต่เป็นชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปและเป็นนิรันดร์ - ข้าพเจ้าขอชี้ไปที่ภารตะอีกครั้ง" (มัคส์ มึลเลอร์).05 "ในบรรดาชาติที่ครอบครองปรัชญาและอภิปรัชญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการชื่นชอบมาแต่เดิมในการแสวงหาปรัชญานี้ เช่นในเยอรมนีปัจจุบันก็มีการแสดงอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะ และในสมัยโบราณก็มีความน่าภาคภูมิใจของกรีก ฮินดูสถานถือเป็นอันดับแรกในช่วงเวลาหนึ่ง" (อ้างแล้ว.).
มัคส์ มึลเลอร์ Max Müller (Friedrich Max Müller) ที่มา: sriramakrishna.in, วันที่เข้าถึง 27 พฤศจิกายน 2564.
นักอักษรศาสตร์ และนักบูรพคดีศึกษา ชาวเยอรมัน (6 ธันวาคม พ.ศ.2366 - 28 ตุลาคม พ.ศ.2443)
1.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เดส์การต หรือ เดส์กะร์ต์ (Descartes) หรือ เรอเน เดส์คาร์ต์ส์ (René Descartes) รายละเอียดดูใน C05. เรอเน เดส์คาร์ต์ส์.
02. เดวิด ฮูม (David Hume) รายละเอียดดูใน D02. เดวิด ฮูม.
03. เกออร์ก เฮเกล (Georg Hegel) รายละเอียดดูใน D11. เกออร์ก เฮเกล.
04. บาทรายณะ (बादरायण - Bādarāyaṇa) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
05. มัคส์ มึลเลอร์ (Max Müller or Friedrich Max Müller) ซึ่งพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เรียกท่านว่า "โมกษะมูลาจารย์", ที่มา: ส.ธรรมยศ จากหนังสือ "REX SIMEN SIUM หรือ พระเจ้ากรุงสยาม" หน้าที่ 23 สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, นนทบุรี, พิมพ์ครั้ง พ.ศ.2563
.
.
56
อาจเป็นความพึงพอใจที่น่าเศร้าสำหรับคนภารตะในปัจจุบัน. ชายชราจะปลอบใจตนด้วยเรื่องราวในวัยเด็ก และวิธีที่จะลืมปัจจุบันที่เลวร้ายด้วยการอ่านถึงสิ่งที่งดงามต่าง ๆ ในอดีต.
1.
2.
V
ช่วงเวลาแห่งความคิดของชาวภารตะ
จำเป็นที่จะต้องให้เหตุผลบางประการสำหรับชื่อ "ปรัชญาอินเดีย หรือภารตปรัชญา" เมื่อเรากำลังถกถึงปรัชญาของชาวฮินดูที่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ ที่มีที่ทางในภารตวรรษเช่นกัน. เหตุผลที่ชัดเจนที่สุดคือการใช้กันทั่วไป. ชาวภารตะส่วนใหญ่ในทุกวันนี้เป็นชาวฮินดู. และเราสนใจในประวัติศาสตร์ของชาวภารตะที่คิดขึ้นจนถึงราวพุทธศักราช 1500-1600 หรือหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อโชคชะตาของชาวฮินดูเชื่อมโยงกับโชคชะตาของผู้ที่ไม่ใช่ชาวฮินดูมากขึ้นเรื่อย ๆ .
การพัฒนาความคิดของภารตะอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนต่าง ๆ ในแต่ละยุคสมัยต่างได้รับพรสวรรค์ ทว่าพลังแห่งจิตวิญญาณของภารตะก็มีอิทธิพลต่อพวกเขาด้วยเช่นกัน. เป็นไปไม่ได้ที่เราจะแน่ใจถึงพัฒนาการตามลำดับเหตุการณ์ที่แน่นอนได้ แม้ว่าเราจะพยายามมองความคิดของภารตะจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ก็ตาม. หลักคำสอนของสำนักแนวคิดแต่ละแห่งนั้น มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน. มิฉะนั้นหลักคำสอนนั้นก็จะไม่มีคุณค่าสำหรับเราอีกต่อไป และก็จะกลายเป็นประเพณีที่ดับสูญไปแล้ว. ระบบปรัชญาแต่ละระบบเป็นคำตอบสำหรับคำถามในเชิงบวก ที่ยุคสมัยตั้งคำถามกับตัวมันเอง และเมื่อมองจากมุมมองของมันเอง ก็จะเห็นความจริงบางอย่าง. ปรัชญาไม่ใช่ชุดของข้อเสนอที่ได้สรุปไว้หรือเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาด แต่เป็นการแสดงออกและวิวัฒนาการทางจิตใจที่เราต้องดำรงอยู่ และที่เราต้องอยู่ในนั้น หากเราต้องการทราบว่าระบบต่าง ๆ หล่อหลอมขึ้นได้อย่างไร. เราต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของปรัชญากับประวัติศาสตร์ ชีวิตที่มีภูมิปัญญากับสภาพสังคม1. วิธีการทางประวัติศาสตร์กำหนดให้เรา
---------------
1. ในภาพของวอลเตอร์ แพเตอร์นั้น. "เมื่อเห็นต้นสนที่บิดเบี้ยวประหลาด ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งแปลก ๆ ในธรรมชาติบนสนามหญ้าในประเทศอังกฤษ หากเราลองคิดดูดี ๆ จะเห็นว่า ต้นสนต้นนี้เติบโตท่ามกลางกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากของเทือกเขาอัลไพน์ที่คอยหล่อหลอมให้ต้นสนนี้เติบโต ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสิ่งมีชีวิตที่จำเป็น เป็นตรรกะของความเหมาะสม เมื่อพวกมันสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ พวกมัน ซึ่งแท้จริงแล้วพวกมันเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม" (เพลโต และเพลโตนิยม, หน้าที่ 10).
.
.
57
ไม่เข้าในการโต้เถียงของสำนักแนวคิด แต่ติดตามการพัฒนาด้วยความเย็นชาและเคร่งครัด.
แม้ว่าเราจะตระหนักถึงความสำคัญอันมหาศาลของมุมมองทางประวัติศาสตร์ แต่เราก็รู้สึกเสียใจที่เนื่องมาจากการละเลยลำดับเหตุการณ์ของงานเขียนแทบทั้งหมด เราจึงไม่สามารถระบุวันที่อันสัมพันธ์กันของระบบได้อย่างแม่นยำ. ธรรมชาติของชาวภารตะโบราณนั้นไม่มีประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นปรัชญาที่สุดโต่ง จนทำให้เรารู้จักภารตะปรัชญามากกว่าตัวปราชญ์เองเสียอีก. ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติแล้วนั้น ลำดับเหตุการณ์ของภารตะก็มีพื้นฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้น. รุ่งอรุณแห่งพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นพร้อมกับการขยายอำนาจของพวกเปอร์เซียไปยังแถบลุ่มน้ำสินธุ (The Indus) ภายใต้ราชวงศ์อคีเมนิเด (Achæmenidæ - ออกเสียง ak′ē-men′i-dē) ในเปอร์เซีย. กล่าวกันว่าศาสนาพุทธเป็นแหล่งความรู้ที่เก่าแก่ที่สุดของภารตะทางตะวันตกที่ได้รับจากเฮคาเตอุส01 และเฮโรโดตุส02.
ต่อไปนี้ขอแบ่งภารตะปรัชญาอย่างกว้าง ๆ ไว้ดังนี้:
(1) ยุคพระเวท (957-57 ปีก่อนพุทธศักราช หรือ 1500 ปีก่อนคริสตกาล - 600 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาของการตั้งถิ่นฐานของชาวอารยันและการขยายตัวและการแพร่กระจายของวัฒนธรรมและอารยธรรมอารยันอย่างค่อยเป็นค่อยไป. เป็นยุคที่มีการกำเนิดของสำนักศึกษาในป่าเขาลำเนาไพร อันเป็นจุดเริ่มต้นของอุดมคติที่สูงส่งของภารตะ. เราสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นชั้นของความคิดที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งแสดงโดยมนต์ของบทสวด บรรดาพวกพราหมณ์ และคัมภีร์อุปนิษัท. ในแง่มุมทางเทคนิคของคำนั้น ความคิดเห็นที่หยิบยกขึ้นในยุคนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นปรัชญา. เป็นยุคของการจัดรวมกลุ่ม ซึ่งความเชื่อทางไสยศาสตร์และความคิดยังคงขัดแย้งกันอยู่. แต่เพื่อให้เกิดระเบียบและความต่อเนื่องในเรื่องนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับแนวคิดบทสวดของฤคเวท และอภิปรายถึงมุมมองของคัมภีร์อุปนิษัท.
(2) ยุคมหากาพย์ (ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 57 ปี - พ.ศ.743 หรือ 600 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ.200) เป็นยุคที่มีการแผ่ขยาย มีพัฒนาการในช่วงระหว่างคัมภีร์อุปนิษัทระยะแรกและยุคทรรศนะหรือระบบต่าง ๆ ของปรัชญา. มหากาพย์รามายณะและมหาภารตยุทธได้ทำหน้าที่เป็นยานในการถ่ายทอดข่าวสารใหม่ที่เกี่ยวกับวีรบุรุษและความเป็นเทพเจ้าในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์. ในช่วงเวลานี้ เราได้เห็นถึงแนวคิดด้านประชาธิปไตยครั้งยิ่งใหญ่ของคัมภีร์อุปนิษัทในพระพุทธศาสนาและภควัทคีตา. มีระบบศาสนาของพระพุทธศาสนา เชน ไศวนิกาย ไวษณพนิกาย ล้วนอยู่ในยุคนี้. การพัฒนาความคิดเชิงนามธรรมมาถึงจุดสูงสุด
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เฮคาเตอุส (Hecateus) หรือ Hecataeus นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก (ราว พ.ศ.7-67 หรือ ก่อน ค.ศ.550-476).
02. เฮโรโดตุส (Herodotus) นักเขียน นักภูมิศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก (ราว พ.ศ.59-118 หรือ ก่อน ค.ศ.484-425).
.
.
58
ในสำนักภารตะปรัชญา ที่เรียกกันว่าทรรศนะ (ระบบปรัชญาด้านพราหมณ์-ฮินดู-The Brahmanical Systems) อยู่ในยุคนี้. ระบบปรัชญาแทบทั้งหมดล้วนมีจุดเริ่มต้นในช่วงแรกของยุคอรุณรุ่งแห่งพระพุทธศาสนา และเหล่าปรัชญานี้ก็ได้พัฒนาเคียงข้างไปด้วยกันตลอดหลายศตวรรษ ทว่างานปรัชญาที่เป็นระบบของสำนักแนวคิดต่าง ๆ นั้น ยังคงเป็นของยุคหลัง.
เอกสารตัวเขียนภาษาสันสกฤตของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (พระพุทธศาสนา) จากเตอร์กิสถานใต้ในอักษรพราหมี, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 4 ธันวาคม 2564.
1.
(3) ยุคพระสูตร (ตั้งแต่ พ.ศ.743 หรือ ค.ศ.200) ซึ่งเป็นยุคถัดมา เนื้อหาสาระมีมากจนยากที่จะควบคุม จนพบว่าจำเป็นต้องจารร่างย่อความเขียนเค้าโครงมวลเนื้อหาปรัชญานี้ไว้. การลดรูปและสรุปเนื้อหานี้เกิดขึ้นในรูปแบบของพระสูตร. พระสูตรเหล่านี้ยากที่จะทำความเข้าใจหากไม่มีคำอธิบายประกอบ จนกระทั่งคำอธิบายนี้มีความสำคัญมากกว่าตัวพระสูตรเสียเอง. ในกรณีนี้ เราจะเห็นทัศนคติเชิงวิพากษ์วิจารณ์ในการอภิปรายทางปรัชญา ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจิตใจไม่ได้รับรู้สิ่งที่ได้รับการบอกเล่าอย่างนิ่งเฉย แต่แล่นไปรอบ ๆ โดยตั้งคำถามและตอบคำถามเหล่านั้น. ด้วยสัญชาติญาณการแสวงหาความสุข บรรดานักคิดได้เสนอหลักการทั่วไปบางประการ ซึ่งดูเหมือนว่าพวกเขาจะอธิบายทุกแง่มุมของจักรวาลได้. การสังเคราะห์เชิงปรัชญา แม้จะลึกซึ้งและเฉียบแหลมเพียงใด ก็ประสบข้อบกพร่องของการเป็นวิกฤตก่อนกำหนด ในความหมายของพวกนิยมแนวคิดของค้านท์01. จิตใจมองโลกและสรุปผลโดยที่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาปรัชญามาก่อน. ความพยายามก่อนหน้านี้ในการทำความเข้าใจและตีความโลก ไม่ได้ความพยายามเชิงปรัชญาอย่างเคร่งครัด เนื่องจากพวกเขามิได้วิตกกับความเข้มงวดใด ๆ เกี่ยวกับความสามารถของจิตใจมนุษย์หรือประสิทธิภาพของเครื่องมือและเกณฑ์ที่ใช้. ดังที่แคร์ด์02 กล่าวไว้ จิตใจก็ "ยุ่งอยู่กับวัตถุจนไม่มีเวลาสนใจตัวเอง."1 เมื่อเราก้าวมาศึกษาพระสูตร เราก็มีความคิดและการไตร่ตรอง อิสระจากความประหม่า. ในบรรดาระบบ (ปรัชญา) เองนั้น เราไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ระบบไหนมาก่อนระบบไหนมาหลัง. มีการอ้างอิงไขว้กันตลอดทั้งระบบ. ปรัชญาโยคะยอมรับปรัชญาสางขยะ. ปรัชญาไวเศษิกะตอบรับทั้งปรัชญานยายะและปรัชญาสางขยะ. ปรัชญานยายะก็อ้างอิงถึงปรัชญาเวทานตะและปรัชญาสางขยะ. ปรัชญามีมางสาก็ตอบรับทั้งโดยตรงและโดยอ้อมถึงการมีอยู่มาก่อนของทุกปรัชญา. ปรัชญาเวทานตะด้วยก็เช่นกัน. ศาสตราจารย์การ์เบ ถือว่าปรัชญาสางขยะเป็นสำนักแนวคิดปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุด. ถัดมา
---------------
1. ปรัชญาวิพากษ์ของค้านท์, เล่มที่ 1. หน้าที่ 2.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พวกนิยมแนวคิดของค้านท์ (The Kantian) หมายถึง บรรดาผู้นิยมปรัชญาของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) (พ.ศ.2267-2347/ ค.ศ.1724-1804) นักปรัชญาชาวเยอรมัน มีแนวคิดด้านปรัชญาแห่งจิตใจ (philosophy of mind) แนวคิดด้านจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) - ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) - ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ และ จริยธรรม (Ethics).
02. เอ็ดเวิร์ด แคร์ด์ (Edward Caird) นักปรัชญาชาวสก็อต (23 มีนาคม พ.ศ.2378 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2451) เขาสนับสนุนแนวคิดของเฮเกล (สำนักแนวคิดจิตนิยม (idealism) - ความคิดเรื่องจิตหรือจิตวิญญาณ (Geist หรือบางครั้งแทนด้วยคำว่า mind) ในฐานะที่จิตวิญญาณจะแสดงตัวตนออกในรูปของประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งดำเนินการไปบนหลักการของวิภาษวิธีหรือหลักคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีความขัดแย้งระหว่างบทตั้งต้น (thesis) กับบทแย้ง (antithesis) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ใหม่หรือบทสรุป (synthesis)
1.
2.
59
ก็คือปรัชญาโยคะ ตามด้วยปรัชญามีมางสาและปรัชญาเวทานตะ ท้ายที่สุดคือปรัชญาไวเศษิกะและปรัชญานยายะ. ในยุคพระสูตรนี้ ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ชัดเจนนักจากสำนักศึกษาปรัชญาของผู้ให้ความเห็นที่มีคำอธิบายประกอบ. ทั้งสองช่วงเวลาได้ขยาย (องค์ความรู้และแนวคิด) กันออกไปจนถึงปัจจุบัน.
(4) ยุคสำนักแนวคิดปรัชญา มีอายุย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ตั้งแต่ ราว พ.ศ.743). เราไม่สามารถแยกเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างยุคนี้กับยุคก่อนได้. แต่ยุคนี้เองก็มีชื่อของมหาปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของ กุมาริละ01 ศังกราจารย์02 ศรีธระ03 รามานูชาจารย์04 มาธวะ05 วาจัสปติ06 อุทัยนะ07 ภาสกระ08 ชยันตะ09 วิชญาณภิกษุ10 และ รกูนาทะ11. ในไม่ช้าวรรณกรรมก็กลายเป็นการโต้เถียงกันอย่างไม่ลดราวาศอก. เราพบกลุ่มผู้ศึกษา นักโต้วาทีที่ส่งเสียงดังซึ่งหมกมุ่นอยู่กับทฤษฎีที่ละเอียดอ่อนเกินไป และการโต้เถียงที่ละเอียดยิบ ซึ่งต่อสู้กันอย่างดุเดือดเกี่ยวกับธรรมชาติของสากลเชิงตรรกะ. นักวิชาการชาวภารตะหลายท่านกลัวที่จะเปิดตำรา ซึ่งมักจะสร้างความสับสนมากกว่าการให้ความรู้แก่เรา. ไม่มีใครปฏิเสธความเฉียบแหลมและความกระตือรืนร้นของกลุ่มผู้ศึกษาได้นี้ได้ แทนที่จะใช้ความคิด เรากลับใช้คำพูด แทนที่จะใช้ปรัชญา ตรรกะกลับตัดทอน. ความคลุมเครือของความคิด ความละเอียดอ่อนของตรรกะ การไม่ยอมในอุปนิสัย ถือเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์ประเภทที่แย่ที่สุด. แน่นอนว่ามีนักวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีกว่านั้น ที่มีค่าพอ ๆ กับนักคิดในสมัยโบราณ. นักวิจารณ์เช่น ศังกราจารย์ และรามานูชาจารย์ กล่าวถึงหลักคำสอนเก่าอีกครั้ง และการทบทวนใหม่นั้น ก็มีค่าพอ ๆ กับการค้นพบทางจิตวิญญาณ.
มีประวัติศาสตร์ภารตปรัชญาบางส่วนที่เขียนขึ้นโดยนักคิดชาวภารตะ. ผู้วิพากษ์วิจารณ์รุ่นหลังเกือบทั้งหมดจะอภิปรายหลักคำสอนอื่น ๆ จากมุมมองของตนเอง. ด้วยวิธีนี้ นักวิจารณ์ทุกคนจึงสามารถเสนอแนวคิดจากมุมมองอื่น ๆ ได้. บางครั้งก็มีความเพียรพยายามอย่างสงบมีสติเพื่อจัดการกับระบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง. อาจกล่าวถึงเรื่องราว "ประวัติศาสตร์" หลัก ๆ บางส่วนได้ที่นี้. ษัฑทรรศนะสามัคยาจารย์12, หรือแบบอย่างของหกระบบ (ปรัชญา) อันเป็นงานประพันธ์ของหริภทรา.1,13
---------------
1. มิสเตอร์ บาร์ธกล่าวว่า: "หริภทรา ที่ทราบกันเป็นประเพณีว่าได้อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.1072 หรือ ค.ศ.529 นั้น แต่ก็มีหลักฐานที่แน่ชัดกว่านั้นว่าท่านมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 14 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีผู้กล่าวไว้ไม่น้อยว่าท่านเปลี่ยนจากนับถือพราหมณ์มาเป็นเชน. ท่านยังคงมีชื่อเสียงในฐานะผู้เขียน "หนึ่งพันสี่ร้อยงานประพันธ์ - Fourteen Hundred Prabandhas" และดูเหมือนว่าท่านจะเป็นหนึ่งในปราชญ์กลุ่มแรก ๆ ที่นำภาษาสันสกฤตมายังวรรณกรรมเชิงวิชาการของศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร. ด้วยหกระบบนี้ บรรดาพราหมณ์ได้เข้าใจถึง มีมางสา สางขยะ และโยคะ นยายะ และไวศษิกะ. ในอีกมุมหนึ่งนั้น หริภทราได้แสดงอรรถาธิบายภายใต้นิกายปรัชญาเหล่านี้ไว้สั้นมากในแปดสิบเจ็ดโศลก แต่ค่อนข้างเป็นกลางในหลักการสำคัญของพุทธมากะ ผู้นับถือเชน และศิษยานุศิษย์ของปรัชญานยายะ
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. กุมาริละ หรือ กุมาริละภัฏฏะ (कुमारिलभट्ट - Kumārila Bhaṭṭa) รายละเอียดดูใน หน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
02. ศังกราจารย์ (Śaṁkara หรือ Adi Shankara) รายละเอียดดูใน หน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
ศรีธระ หรือ ศรีธระ อาจารยะ, ที่มา: https://x.com/desi_thug1/status/1590898621452804097, วันที่เข้าถึง: 5 ก.ค.2568.
1.
03. ศรีธระ (श्रीधर - Śrīdhara) หรือ ศรีธระ อาจารยะ (श्रीधर आचार्य - Śrīdhara Ācāryya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
04. รามานูชะ หรือ รามานูชาจารย์ (रामानुज - Rāmānuja or Ramanujacharya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
05. มาธวะ (Madhva หรือ Mādhva) หรือ มาธวะอาจารยะ (Madva Acharya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
06. วาจัสปติ (वाचस्पति - Vācaspati) หรือ วาจัสปติ มิศระ (वाचस्पति मिश्र - Vācaspati Miśra) รายละเอียดดูในหน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
07. อุทยนะ หรือ อุทัยนะ (उदयन - Udayana) หรือ อุทยนาจารย์ หรือ อุทัยนาจารย์ (उदयनाचार्य - Udayanācārya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
ภาสการยาจารย์, ที่มา: despee.com, วันที่เข้าถึง: 6 ก.ค.2568.
1.
08. ภาสกระ (भास्कर - Bhāskara) หรือ ภาสการยาจารย์ (भास्कराचार्य - Bhāskarāchārya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
09. ชยันตะ (जयन्त - Jayanta) หรือ ชยันตะ ภัฏฏะ (जयन्त भट्ट - Jayanta Bhaṭṭa) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
10. วิชญาณภิกษุ (विज्ञानभिक्षु - Vijñānabhikṣu) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
11. รฆุนาถ หรือ ราฆุนาถ (रघुनाथ - Raghunātha) รายละเอียดดูในหน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.

หริภทรา (Haribhadra), ที่มา: thestupa.com, วันที่เข้าถึง 6 ธันวาคม 2564.
1.
12. ษัฑทรรศนะสามัคยาจารย์ (षड्दर्शनसमुच्चय - Ṣaḍdarśanasamuccaya) - สารานุกรมของระบบปรัชญาทั้งหก
13. หริภทรา หรือ หริภัทรา (हरिभद्र - Haribhadra) หรือ อาจารย หริภัทรา ซุริ (आचार्य हरिभद्र सूरि - Acharya Haribhadra Sūri) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
.
.
60
สมันตภัทระ01 หรือ สมันตภัทรอาจารยะ ผู้เป็นนักพรตศาสนาเชน นิกายทิคัมพรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 6 นั้น กล่าวกันว่าได้ประพันธ์งานชื่อ อาปตมีมางสา02 ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการทบทวนแนวคิดของสำนักปรัชญาต่าง ๆ .1 มีพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มหายานนิกาย สำนักมัธยมกะ03 นามว่า ภาววิเวก04 ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพันธ์งานที่เรียกว่า ตรรกะ-ชวาลา05 ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์สำนักปรัชญามีมางสา สางขยะ ไวเศษิกะ และเวทานตะไว้. กล่าวกันว่ามีนักพรตในศาสนาเชน นิกายทิคัมพรชื่อ วิทยานันทะ06 ได้เขียนในงานของเขาที่ชื่อว่า อษัฎสาหศรี07 และมีนักพรตในศาสนาเชน นิกายทิคัมพรอีกท่านหนึ่งชื่อ เมรุตุงคะ08 มีผลงานเรื่อง ษัฑทรรศนะวิจารณ์09 (ราว พ.ศ.1843 หรือ ค.ศ.1300) ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ระบบปรัขญาฮินดู. บันทึกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่เกี่ยวภารตะปรัชญาอินคือ สรรพทรรศนะสังเคราะห์10 โดยเวทานติน มาธวาอาจารยะ11 ผู้มีชื่อเสียง ซึ่งมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่สิบเก้า (หรือคริสต์ศตวรรษที่สิบสี่) ทางภารตวรรษตอนใต้. ซึ่งผลงานคัมภีร์สรรพทรรศนะสังเคราะห์นี้ ได้ส่งมอบหมายให้ศังกราจารย์2 และปรสธานภีทะ12 โดยมหาคุรุมัทสุธาณะ สรัสวตี 13, 3 ซึ่งล้วนบันทึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับปรัชญาต่าง ๆ .
---------------
ผู้นับถือปรัชญาสางขยะ ผู้นับถือปรัชญาไวเศษิกะ และผู้นับถือปรัชญามีมางสา. ดังนั้นท่านจึงเลือกจัดตั้งสำนักศึกษาปรัชญาของท่านเองและนิกายที่ชาวเชนมีความใกล้ชิดที่สุด ทำให้ท่านและกลุ่มที่สนับสนุนศรัทธาอยู่ท่ามกลางบรรดาศัตรูที่ฉกาจคือ บรรดาพุทธมามกะและนักพรตพิธีกรรมของสำนักปรัชญาของฤๅษีไชยมิณิ (ปรัชญามีมางสา). ท้ายที่สุด ท่านหริภทราได้จับคู่กับพวกโลกายัต {लोकायतिक - Lokāyatika หรือ चार्वाक - จารวาก - ดูแทรก 1 ของ สรรพ (สรว) ทรรศนะสังเคราะห์ 1 - บทนำและระบบจารวาก}, ซึ่งเป็นพวกวัตถุนิยมที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า หรือ อเทวนิยม (The Atheistic Materialists) ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีความคลั่งไคล้ในนิกาย และวิจารณญาณของตนเองเท่านั้น แต่ก็เป็นไปตามความคิดเห็นที่แพร่หลายในหมู่พราหมณ์ในขณะนั้นด้วย" (อินเดียน แอนตีควารี, หน้า 66, พ.ศ.2438).
1. วิทยาภูษณะ (विद्याभूषण - Vidyābhūṣaṇa), ระบบยุคกลางของตรรกะอินเดีย (Mediæval Systems of Indian Logic), หน้า 23.
2. ข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้อง ดู คีธ : ตรรกะอินเดีย, หน้า 242, เอ็น. 3.
3. ดู มัคส์ มึลเล่อร์, ระบบทั้งหก, หน้า 75 ถึง 84.
หมายเหตุ คำอธิบาย

พระโพธิสัตว์ สมันตภัทระ (समन्तभद्र - Samantabhadra), ที่มา: www.reddit.com, วันที่เข้าถึง: 8 กรกฎาคม 2568.
1.
01. สมันตภัทระ (समन्तभद्र - Samantabhadra) - ในแนวคิดของพระพุทธศาสนา มหายานนิกายนั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้าที่ 1 ของ พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 2.
02. อาปตมีมางสา (आप्तमीमाँसा - Āptamīmāṁsā) - เป็นคัมภีร์ที่ประพันธ์โดย สมันตภัทรอาจารยะ ซึ่งเป็นนักพรตในศาสนาเชน คัมภีร์นี้มี 114 โศลก ซึ่งกล่าวถึงทัศนะของชาวเชนเกี่ยวกับความเป็นจริง โดยเริ่มต้นด้วยแนวคิดเรื่องความรอบรู้ (केवल ज्ञान - kevala jñāna หรือ ไกวัล หรือ เกวญาณ หรือ ไกวัลย์ - Kaivalya - การเข้าใจทั้งหมด หรือ ปัญญาสูงสุด) และคุณลักษณะของผู้รอบรู้ (The Omniscient).
03. สำนักมัธยกะ (माध्यामिक - Mādhyamika) - หลักการสำคัญคือ สูญญตา - Emptiness (शुन्यता - Śūnyatā) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้าที่ 2 ของ พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 2
04. ภาววิเวก (สส. - भावविवेक - Bhāvaviveka - บ้างก็เรียกภววิเวก - Bhavaviveka) ท่านมีชีวิตในช่วง พ.ศ. 1043-1113/ค.ศ.500-570 เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา มหายานนิกาย ท่านประพันธ์มัธยมิกา หฤทัย การิกา (मध्यमिका हृदयं कारिका - Madhyamika Hridaya Kārikā) และอรรถกถาที่ชื่อ ตรรกะ-ชวาล05 ท่านมีอายุมากกว่าท่านภิกษุจันทรกีรติ (चंद्रकीर्ति - Candrakīrti - ภิกษุสำคัญในสำนักมัธยกะ) ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ท่าน.
05. ตรรกะ-ชวาลา (तर्कज्वाला - Tarkajvālā) แปลว่า The Flame of Logic - เปลวไฟแห่งตรรกะ หรือ เปลวไฟแห่งเหตุผล - The Flame of Reason.
06. วิทยานันทะ (विद्यानन्द - Vidyānanda) - ท่านเป็นนักตรรกศาสตร์ นักปราชญ์ และภิกษุในศาสนาเชน ทิคัมพรนิกาย (ชาตะ-มรณภาพ: พ.ศ.1293-1343/ค.ศ.750-800) ท่านได้ประพันธ์งานชื่อ อษัฏสาหศรี07 ขึ้น.
07. อษัฎสาหศรี (अष्टसाहश्री- Aṣṭasāhasrī) แปลว่า "แปดพัน" หมายถึงแปดพันโศลก อันงานประพันธ์ของท่านวิทยานันทะที่กล่าววิพากษ์ศาสนาฮินดู.
08. เมรุตุงคะ (मेरुतुङ्ग - Merutuṅga) - ท่านเป็นภิกษุในศาสนาเชน เศวตัมพรนิกาย (ชาตะ-มรณภาพ: ราวพุทธศตวรรษที่ 19/คริสต์ศตวรรษที่ 14) ท่านประพันธ์งานในภาษาสันสกฤตอันมีชื่อเสียง คือ ประพันธจินดามณี (प्रबन्धचिन्तामणि - Prabandhacintāmaṇi) ราว พ.ศ.1849/ค.ศ.1306
09. ษัฑทรรศนะวิจารณ์ (षड्दर्शनविचार - Ṣaḍdarśanavicāra) เป็นประพันธ์ของท่านเมรุตุงคะ ซึ่งแปลตรงตัวว่า "การอภิปรายหรือการวิเคราะห์เกี่ยวกับทรรศนะหรือระบบปรัชญาทั้งหก" หกระบบหรืออาสติกะ (आस्ति- āstika) ระบบทั้งหกนี้ถือว่าเป็นระบบดั้งเดิมเนื่องจากทั้งหมดยอมรับอำนาจของพระเวท ดังนั้น ษัฑทรรศนะวิจารณ์ จึงเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์และการมีส่วนสนับสนุนของระบบเหล่านี้แต่ละระบบต่อปรัชญาฮินดูและความสัมพันธ์ระหว่างกัน.
10. สรรพทรรศนะสังเคราะห์ (सर्वदर्शनसंग्रह - Sarvadarśanasaṁgraha) รายละเอียดดูใน สรรพทรรศนะสังเคราะห์ 1 - บทนำและระบบจารวาก.
11. เวทานติน มาธวะอาจารยา (वेदान्तिन् माधवाचार्य - Vedāntin Mādhavācārya) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
12. ปรสธานภีทะ (प्रस्थानभेद - Prasthānanabheda) เป็นงานประพันธ์ของมหาคุรุมัทสุธาณะ สรสวตี13 รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
13. มหาคุรุมัทสุธาณะ สรัสวตี (Madhusūdana Sarasvatī) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
1.
2.
3.