MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.002 - บทนำ (ต่อ)

Title Thumbnail: แผ่นกระเบื้องแสดงภาพพระพุทธเจ้าและความศรัทธา; ศิลปะคันธาระ, ที่เมืองเปศวาร์ ปากีสถาน - 10 ธันวาคม 2563, (ถ่ายภาพโดย  DeAgostini/Getty Images), ที่มาจาก: Facebook เพจ "Ancient History of India," วันที่เข้าถึง: 15 กุมภาพันธ์ 2564.
Hero Image: แผนภูมิแสดงการแผ่ไพศาลของพระพุทธศาสนา, ที่มา: Facebook เพจ "Michael Frey," วันที่เข้าถึง 18 สิงหาคม 2564.

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.002 (บทนำ - ต่อ)
First revision: Feb.15, 2021
Last change: Oct.7, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
.
.
42 (ต่อ)
       มีสมมติฐานที่กำหนดไว้ก่อนแล้วอันเป็นขั้นสูงสุดของปรัชญาทั้งมวลที่ไม่มีสิ่งจริงแท้ใด ๆ จะมีความขัดแย้งในตัวเองได้. ในประวัติศาสตร์ของความคิดนั้น ต้องใช้เวลาพอสมควรในการตระหนักถึงความสำคัญของสมมติฐานที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว และนำไปใช้อย่างมีสติ. ในฤคเวทนั้น มีการยอมรับความถูกต้องของความรู้ธรรมดาพื้น ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ. เมื่อเราย่างเข้ามาถึงขั้นของอุปนิษัทแล้ว ปัญหาวิภาษวิธีต่าง ๆ ได้ผนวกรวมไว้ด้วยกันและรู้สึกได้ถึงความขัดสนด้านองค์ความรู้. ในนั้นเราพบว่ามีความพยายามที่กำหนดขีดจำกัดองค์ความรู้ไว้ และจัดให้มีที่ว่างสำหรับสหัชญาณ แต่ทั้งหมดล้วนเป็นวิถีกึ่งปรัชญา. เมื่อศรัทธาในพลังเหตุผลถูกสั่นคลอน ความคลางแคลงใจก็เข้าครอบงำ บรรดาพวกวัตถุนิยม และผู้นิยมด้านการทำลายล้างก็จะขึ้นมาบนเวที. การยอมรับในจุดยืนของอุปนิษัทที่ว่าความจริงแท้นั้นมองไม่เห็น ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยสติปัญญาเชิงตรรกะ พระพุทธศาสนาได้ดำเนินการกับความไม่เป็นแก่นสารของโลก. ความขัดแย้งนั้นเป็นธรรมชาติของบรรดาสรรพสิ่ง และโลกแห่งความจัดเจนนั้น ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความตึงเครียดของสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน. เราไม่สามารถรู้ได้มากไปกว่าสิ่งซึ่งเป็นอยู่ในเวลานี้ และนี่ก็ไม่สามารถเป็นสิ่งที่จริงแท้ได้ ด้วยเพราะมันขัดแย้งในตัวเอง. ข้อสรุปดังกล่าวเป็นปลายสุดของพัฒนาการทางพระพุทธศาสนา. เรามีทฤษฎีของนาคารชุน ซึ่งเป็นถ้อยแถลงที่ยั่งยืนทางปรัชญาเกี่ยวกับตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของอุปนิษัท. นี่คือความจริงแท้ แม้ว่าเราไม่สามารถรู้ได้ก็ตาม สำหรับทุก ๆ การตีความของโลก ในขณะที่ระบบที่เข้าใจง่ายได้ถูกทำลายลง. ทั้งหมดนี้ล้วนตระเตรียมหนทางสำหรับการวิจารณ์ด้านเหตุผลอย่างขวยเขิน. มีความขัดแย้งและไม่เพียงพอในตัวความคิดเอง. ความแตกต่างก็บังเกิดขึ้น เมื่อมีคำถามว่า ทำไมถึงไม่สามารถจับความด้านความจริงแท้ได้. หรือเป็นเพราะมันเกี่ยวข้องกับบางส่วนหรือไม่ใช่ทั้งหมด หรือเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างหรือความขัดแย้งในตัวเองแต่ดั้งเดิม. ดังที่เราได้เห็นแล้ว มีผู้ที่ยึดมั่นในเหตุผลของความเป็นจริง โดยได้สงวนความจริงแท้ไว้ว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่เหตุผลเท่านั้น. ด้วยความคิดเช่นนั้น ไม่สามารถให้ความจริงแท้ทั้งหมดแก่เราได้. “สิ่งนั้น” ช่างเกินกว่า “อะไร” ในคำกล่าวของแบรดลีย์. ความคิดนั้น ทำให้เรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับความจริงแท้ แต่เป็นเพียงองค์ความรู้เท่านั้น หาใช่ความจริงแท้ไม่. มีผู้อื่นรู้สึกว่าสิ่งที่เป็นจริงนั้น สอดคล้องกับตัวเอง และสิ่งที่คิดนั้นขัดแย้งในตัวเอง. ความคิดทำงานร่วมกับ
.
.
43
การต่อต้านด้านอัตวิสัยและภววิสัย และความจริงอันสมบูรณ์คือบางสิ่งที่ตรงกันข้ามอันได้ถูกลบล้างไปแล้ว. ความคิดที่เห็นประจักษ์ได้ที่สุดนั้น เท่าที่เราพยายามรวมหลาย ๆ ความคิดไว้ด้วยกัน ยังคงเป็นนามธรรม ด้วยเพราะมันมีความขัดแย้งในตัวเอง และหากเราต้องการเข้าใจถึงความจริงแท้แล้ว ก็ต้องเลิกความคิดนี้เสีย. ในสมมติฐานแรก การเผยถึงความคิดนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับความจริง ทว่าเป็นการเผยส่วนหนึ่งของมัน. มุมมองบางส่วนขัดแย้งกันเอง เพียงเพราะมันเป็นบางส่วน. สิ่งเหล่านั้นเป็นความจริงตราบเท่านี้สิ่งเหล่านั้นผ่านพ้นไป แต่ก็มิใช่ความจริงทั้งหมด. สมมติฐานที่สองนั้นบอกเราได้ว่า ความจริงแท้สามารถเข้าใจได้ด้วยรูปแบบของความรู้สึกและสัญชาตญาณ.1 มุมมองแรกยังยืนยันถึงการเสริมความคิดด้วยความรู้สึก ถ้าหากจะบรรลุความจริงแท้ด้วยความสมบูรณ์ของมันเอง. ดูเหมือนว่าเราต้องการองค์ประกอบอื่นนอกเหนือจากความคิด และมีคำแนะนำด้วยศัพท์ว่า “ทรรศนะ” ซึ่งนำมาใช้อธิบายระบบปรัชญา หลักคำสอน หรือศาสตร์.
ฟรานซิส เฮอร์เบิร์ต แบรดลีย์, (30 ม.ค. พ.ศ.2389 – 18 กันยายน พ.ศ.2467 ) นักปรัชญาชาวอังกฤษ งานเขียนที่สำคัญคือ Appearance and Reality  ที่มา: alchetron.com และ en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 20 พฤษภาคม 2564.
.
       คำว่า “ทรรศนะ” มาจากคำว่า ทฤศ (แปลว่า) พบเห็น (หรือนึกดู). การพบเห็นนี้อาจเป็นได้ทั้งการสังเกตการรับรู้ หรือองค์ความรู้เชิงแนวคิด หรือประสบการณ์โดยสัญชาตญาณ. อาจเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง การสอบถามเชิงตรรกะหรือความเห็นแจ้งในจิตวิญญาณ. โดยทั่วไปแล้ว “ทรรศนะ” หมายถึงการเปิดเผยที่สำคัญ การสำรวจเชิงตรรกะหรือระบบต่าง ๆ . เราไม่พบคำที่ใช้อ้างอิงนี้ในช่วงแรกของความคิดเชิงปรัชญา เมื่อปรัชญามีสหัชญาณ (ความรู้ที่เกิดขึ้นเอง) มากขึ้น. อันแสดงให้เห็นว่า “ทรรศนะ” ไม่ใช่สหัชญาณ แต่มันอาจเกี่ยวข้องกันไม่น้อย. บางทีเราควรใช้คำนี้เพื่อบ่งบอกถึงระบบความคิดที่ได้มาจากประสบการณ์เชิงสัญชาตญาณ และยั่งยืนโดยการโต้แย้งเชิงตรรกะ. ในระบบของปรัชญาเอกนิยมสุดโต่งนั้น ได้ตระเตรียมหนทางสำหรับประสบกาณ์โดยสัญชาตญาณไว้ ด้วยการให้เราเกิดมโนคติเกี่ยวกับความอ่อนแอของความคิด. ในระบบของเอกนิยมแบบกลาง ๆ ที่ซึ่งความจริงเป็นรูปธรรมทั้งหมด ปรัชญาประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมในการสร้างความจริงแท้ขึ้นมาใหม่ตามอุดมคติ. แต่ความจริงแท้ได้ฟันฝ่า สิ่งที่รายล้อม ล้นเกินในความวิปโยคของเรา. ด้วยเอกนิยมสุดโต่งนี้ มันเป็นประสบการณ์โดยสัญชาตญาณที่เผยให้เราเห็นถึงความเปี่ยมล้นของความจริงแท้ ในแนวคิดด้านเอกนิยมที่เป็นรูปธรรมนั้น เป็นเรื่องข้างในที่ซึ่งองค์ความรู้ถูกแทรกซึมด้วยความรู้สึกและอารมณ์. การสร้างแนวคิด ไม่ได้ครอบครองความแน่นอนของข้อเท็จจริงจากประสบการณ์. อีกครั้งความเห็นหรือ
---------------
1.  ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ: แบรดลีย์ ผู้บอกว่าเราสามารถเข้าถึงความจริงแท้ได้โดยผ่านความรู้สึกแบบหนึ่ง และ แม็คแท็กเกิร์ท ซึ่งมองว่าความรักเป็นหนทางที่น่าพอใจที่สุดในการแสดงคุณลักษณะแห่งความสมบูรณ์.
.
.
44
มุมมองเชิงตรรกะจะกลายเป็นความจริง ก็ต่อเมื่อมันเป็นบททดสอบของชีวิต.

       “ทรรศนะ” นั้นเป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือ เนื่องจากมันเผชิญกับการป้องกันจากการถกเถียงเชิงตรรกะ (หรือวิภาษวิธี) ของเอกนิยมที่สุดโต่ง รวมทั้งความจริงโดยสัญชาตญาณ ซึ่งมันมีพื้นฐานมาก่อน. 
ในทางปรัชญาแล้ว “ทรรศนะ” คือ การนำการรู้โดยสัญชาตญาณ (สหัชญาณ การหยั่งรู้) มาพิสูจน์และเผยแพร่อย่างมีเหตุผล. แม้แต่ในระบบอื่น ๆ ก็นำไปใช้กับงานแสดงความจริงเชิงตรรกะที่อาจมีแนวคิดโดยมีหรือไม่มีความช่วยเหลือจากสัญชาตญาณอันมีชีวิตชีวา.
The darśana–śāstra, ที่มา: bhaktivinodainstitute.org, วันที่เข้าถึง 22 พฤษภาคม 2564.
 
 (จากการวิจัยอย่างเข้มข้นศาสตราจารย์การ์เบแห่งปรัสเซีย (Richard Garbe) ได้ยืนยันว่าอริสโตเติลเป็นผู้ติดตามนยายะศาสตร์ของฤๅษีโคตมะ (Nyāya-śāstra ของ Gautama), เธลีส (Thales) เป็นผู้ติดตาม ไวเศษิกะศาสตร์ (Vaiśeṣika –śāstra) ของฤๅษีกณาทะ (Kanāda), โสกราตีสเป็นผู้ติดตามมิมางสาศาสตร์ ของฤๅษีไชยมิณิ ( Jaimini Mīmāṁsā-śāstra), เพลโต (Plato) เป็นผู้ติดตามเวทานตะของฤๅษีวยาส (Vyāsa’s Vedānta) พีธากอรัส (Pythagoras) เป็นลูกศิษย์ด้านสางขยะศาสตร์ของฤๅษีกปิละหรือกปิลมุนี (Sāṅkhya-śāstra ของ Kapila) และซีโน (Xeno) เป็นสาวกของโยคะศาสตร์ของฤๅษีปตัญชลิ (Pataṅjali's Yoga śāstra).)

“ทรรศนะ” ใช้ได้กับทุกมุมมองของความจริงที่เกิดขึ้นโดยจิตใจของมนุษย์ และหากความเป็นจริงเป็นหนึ่ง ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันที่พยายามจะเผยสิ่งเดียวกันจะต้องเห็นพ้องด้วยซึ่งกันและกัน. มันไม่มีอะไรที่บังเอิญหรือเกิดขึ้นได้ (โดยลำพัง) แต่ต้องสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างกันที่ได้รับจากความจริง. จากการพิจารณาอย่างใกล้ชิดถึงมุมมองต่าง ๆ ที่จิตใจเราได้รับจากการถ่ายภาพความจริงจากมุมถ่ายที่แตกต่างกัน เราได้ก้าวขึ้นสู่ขั้นที่สองของการแสดงภาพความเป็นจริงในแง่ตรรกะ. เมื่อเราตระหนักถึงความไม่เพียงพอในเรื่องราวคำอธิบายด้านแนวคิดต่อความจริงแท้แล้ว เราพยายามยึดความเป็นจริงด้วยสัญชาตญาณ ที่ซึ่งมโนคติด้านภูมิปัญญาได้ถูกกลืนหายไป. ถึงเวลาแล้วที่เราได้รับการกล่าวขานว่าได้รับ “ชีวิต” อันบริสุทธิ์ของแนวคิดว่ามีเพียงปัจจัยอันสุดโต่งจากที่ซึ่งเรากลับไปสู่ความคิดของความจริงแท้อันเป็นตรรกะ ซึ่งเราจะเริ่มอีกครั้งในการสะกดตัวอักษรทีละตัวในระบบต่าง ๆ ด้วยตัวมันเอง. “ ทรรศนะ ” ที่ใช้ได้ในขั้นสุดท้ายนี้หมายถึงเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ของความจริงแท้. เป็นคำเดียวที่ตั้งมั่นสำหรับแรงบันดาลใจอันซับซ้อนของปรัชญาด้วยความคลุมเครือที่งดงาม.

       “ทรรศนะ” คือการรับรู้ภายใน ซึ่งมุมมองทั้งหมดได้เผยไปยังความรู้สึกทางจิตวิญญาณ. การมองเห็นของจิตวิญญาณนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อและที่ซึ่งปรัชญาพำนักอาศัยอยู่ อันเป็นเครื่องหมายที่โดดเด่นของนักปรัชญาที่แท้จริง. ดังนั้นชัยชนะสูงสุดของปรัชญาจึงเป็นไปได้เฉพาะกับเหล่าผู้ที่ประสบความสำเร็จด้วยจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์. ความบริสุทธิ์นี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับอย่างลึกซึ้งของประสบการณ์ รับรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีบางจุดของความแข็งแกร่งที่ซุกซ่อนไว้ภายในมนุษย์ ซึ่งเราไม่เพียงแต่ตรวจสอบกันเท่านั้น แต่เราต้องเข้าใจชีวิตด้วย. จากแหล่งข้อมูลภายในนี้ นักปรัชญาได้เผยให้เราเห็นความจริงของชีวิต ความจริงที่ลำพังมีเพียงภูมิปัญญาก็ไม่สามารถค้นพบได้. การมองเห็นนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เกือบเทียบเท่าได้ว่าผลไม้มาจากดอกไม้ จากใจกลางอันลึกลับที่ซึ่งประสบการณ์ทั้งมวลได้ถูกสอบทานยืนยัน.
.
.
45
       ผู้แสวงหาความจริงแท้ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเป็นบางประการ ก่อนที่เขาจะออกเดินทาง. ความเห็นของศังกราจารย์ในพระสูตรแรกของเวทานตะสูตรนั้น ได้ระบุว่าเงื่อนไขสี่ประการเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปรัชญาทุกคน. เงื่อนไขแรกคือ องค์ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างนิรันดร์และไม่นิรันดร์. นี่ไม่ได้หมายถึงองค์ความรู้เต็มรูปแบบ ซึ่งรับเข้ามาเพียงในตอนท้ายเท่านั้น มันเพียงเป็นการโค้งงอของอภิปรัชญา ซึ่งไม่ยอมรับว่าทุกสิ่งที่เห็นเป็นความจริงแท้สมบูรณ์ อันเป็นคำถามที่มีจุดประสงค์พิเศษเฉพาะของผู้ปุจฉา. เขาต้องมีจิตวิญญาณที่สงสัยในการตรวจสอบทุกสรรพสิ่ง จินตนาการที่เร้าร้อนซึ่งสามารถจำแนกความจริงออกมาจากข้อมูลที่ขาดการเชื่อมต่อให้เห็นชัดได้ และอุปนิสัยของการทำสมาธิซึ่งไม่อาจทำให้จิตใจเขาสูญสลายไปทั้งหมด. เงื่อนไขประการที่สอง คือ การพิชิตความปรารถนาอันเป็นผลพวงของการกระทำทั้งในชีวิตปัจจุบันและโลกหน้า. มันเรียกร้องให้สละความต้องการเล็ก ๆ น้อย ๆ ความสนใจส่วนตัวและประโยชน์ในทางปฏิบัติ. การติดตามความคิดหรือการสอบถามยังจิตใจที่ไตร่ตรองไซร้ นี่เป็นจุดจบของมันเอง. การใช้ภูมิปัญญาที่ถูกต้องนั้นคือการทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่ดีและไม่ดี. ปราชญ์นั้นเป็นนักธรรมชาติวิทยาอีกด้วย ที่ควรติดตามความเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากการกล่าวที่เกินจริงในสิ่งที่ดีหรือดูแคลนความชั่วร้ายด้วยอคติบางอย่างของตน. ปราชญ์ต้องยืนอยู่นอกชีวิตและมองดูมัน. ดังที่ว่ากันว่าเขาต้องมีความรักในปัจจุบันและอนาคต. จากนั้นเขาก็สามารถเดิมพันหมดหน้าตักในการคิดที่แจ่มชัดและการตัดสินอย่างซื่อสัตย์ พัฒนาการมองจักรวาลอย่างไร้ตัวตนด้วยการทุ่มเทให้กับความจริง. เพื่อที่จะเข้าถึงอารมณ์นี้ เขาต้องทนทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงของใจ ซึ่งยืนยันในเงื่อนไขที่สาม ที่ซึ่งผู้ศึกษารับคำสั่งให้รับความสงบ ความยับยั้งชั่งใจตนเอง การเสียสละ ความอดทน ความสงบสุขในจิตใจ และความศรัทธา. มีเพียงจิตใจที่ได้รับการฝึกฝนซึ่งควบคุมร่างกายได้อย่างเบ็ดเสร็จเท่านั้นที่สามารถสืบรู้และตรึกตรองได้อย่างไม่รู้จบตราบเท่าที่ชีวิตยังคงอยู่ ไม่เคยสูญเสียการมองเห็นวัตถุแม้เพียงครู่ ไม่เคยปล่อยให้สิ่งล่อใจใด ๆ ในโลกบดบังไว้แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง. ผู้แสวงหาความจริงแท้ต้องมีความกล้าที่จำเป็น ในการสูญเสียสิ่งทั้งปวงเพื่อเข้าถึงจุดสูงสุด. ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่เขาจะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก รวมถึงการตรวจสอบตนเองโดยไม่ต้องมีความเวทนาปราณีใด ๆ  อันจะช่วยให้ผู้แสวงหาบรรลุถึงปลายสุดแห่งเสรีภาพได้ ความปรารถนาในโมกษะหรือการปลดปล่อย นี่เป็นเงื่อนไขประการที่สี่. บุคคลผู้มีสภาวะจิตใจด้านอภิปรัชญานั้น เป็นผู้ที่ละแล้ว
.
.
46
ซึ่งความปรารถนาทั้งปวงและฝึกจิตตน จักกลืนกินความปรารถนาเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น (คือ) เพื่อบรรลุถึงจุดสิ้นสุดหรือเข้าถึงความเป็นนิรันดร์. ชาวอินเดียให้ความเคารพอย่างสูงต่อปราชญ์เหล่านี้ ผู้มีเกียรติในองค์ความรู้อันมีอำนาจและพลังแห่งภูมิปัญญา ที่ซึ่งเหล่าชนอินเดียได้บูชาเหล่าปราชญ์นี้. ดวงวิญญาณของผู้เผยพระวจนะ ผู้ซึ่งมีความปรารถนาอันสง่างามสำหรับความจริงแท้ ได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะเข้าใจความลี้ลับของโลกมนุษย์ และได้เปล่งวาจาเอาไว้นั้น ได้ใช้เวลากลางวันอย่างลำบาก และช่วงกลางคืนที่มิอาจข่มตาหลับได้ นับเป็นปราชญ์อันสำคัญยิ่ง. ปราชญ์เหล่านี้เข้าใจประสบการณ์ในนามของมนุษยชาติ ดังนั้นเหล่าชนอินเดียจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาปราชญ์นี้ตลอดไป.

สวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon), ที่มา: worldhistory.org, วันที่เข้าถึง 13 มิถุนายน 2564.
.
       การเคารพในอดีตถือเป็นลักษณะประจำชาติอีกประการหนึ่ง. มีความแน่วแน่ทางอารมณ์ ความภักดีอันยืนหยัดที่มิได้สูญเสียอะไรเลย ในหนทางอันยาวไกลแห่งยุคสมัย. เมื่อต้องเผชิญกับวัฒนธรรมใหม่หรือการขยายองค์ความรู้อย่างฉับพลัน ชาวอินเดียมิได้ยอมจำนนต่อการล่อลวงในห้วงเวลาดังกล่าว ทว่ายังยึดมั่นในความศรัทธาดั้งเดิมของเขา โดยผนวกสิ่งใหม่ไปยังสิ่งเก่าให้มากที่สุด. เสรีนิยมเชิงอนุรักษ์นี้ เป็นความลับของความสำเร็จในวัฒนธรรมและอารยธรรมอินเดีย. อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกที่แก่เก่ากาลไปตามอายุขัย  ก็มีแต่อารยธรรมอินเดียนี่แหละที่ยังคงรอดอยู่. ความอลังการของอารยธรรมอียิปต์นั้น สามารถเรียนรู้ได้จากรายงานการศึกษาของนักโบราณคดี และการอ่าน (ถอดคำ) จากจารึกอักษรอียิปต์โบราณเท่านั้น จักรวรรดิบาบิโลนซึ่งมีความพิศวงทางด้านวิทยาศาสตร์ การชลประทาน และทักษะด้านวิศวกรรม ซึ่งทุกวันนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าซากปรักหักพัง วัฒนธรรมโรมันอันยิ่งใหญ่ที่มีสถาบันทางการเมืองและแนวคิดทางด้านกฎหมายและความเท่าเทียมกันนั้น ก็เป็นเรื่องของอดีตในวงกว้าง. อารยธรรมอินเดียซึ่งมีอายุน้อยที่สุด คือประมาณ 4,000 ปี ก็ยังคงดำรงคุณลักษณะที่สำคัญเอาไว้. อารยธรรมของเธอ (ในทางภาษาศาสตร์ มีการแบ่งคำนามเป็นเพศชาย-หญิง อินเดียนั้น ถือเป็นเพศหญิง) ย้อนหลังไปถึงสมัยพระเวท มีทั้งเยาว์วัยและแก่ชราในคราเดียวเดียวกัน. เธอได้รับการต่ออายุให้เยาว์วัยเมื่อใดก็ตามที่ประวัติศาสตร์เรียกร้อง. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ก็มิได้รู้สึกตัวว่ามีการเปลี่ยนแปลง. นับเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ตลอดเวลาที่อ้างว่าเป็นเพียงชื่อใหม่สำหรับวิธีคิดแบบเก่า. ในฤคเวท (หนึ่งในสี่พระเวท อันประกอบด้วย ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอรรถรเวท) เราจะเห็นถึงจิตสำนึกทางศาสนาของผู้รุกรานชาวอารยัน สังเกตแนวคิดของผู้คนบนผืนแผ่นดิน. ในอรรถเวทนั้น เราจะพบเทพจักรวาลที่มีความคลุมเครือได้ถูกเพิ่มเติมเข้ากับเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและดวงอาทิตย์ ไฟและลมที่ชาวอารยันบูชาจากแม่น้ำคงคาถึงเฮลเลสปอนท์ (หรือช่องแคบดาร์ดาแนลล์ อันเป็นช่องแคบทางด้านตะวันตกของตุรกีปัจจุบัน อยู่ริมทะเลเอเจียน ซึ่งจะเชื่อมต่อไปช่องแคบบอสฟอรัส อิสตันบูล และต่อไปยังทะเลดำ) ถือว่าเป็นการฟื้นคืนชีพอุปนิษัทหรือ
.
.
47
เป็นการสำนึกถึงสิ่งที่พบแล้วในบทสวดแห่งพระเวท. ในภควัทคีตานั้น ได้มีการเอ่ยอ้างถึงสรุปคำสอนของอุปนิษัท. ในมหากาพย์หรือโคลงเรื่องราวความกล้าหาญนั้น เรามีจุดนัดพบกันของแนวคิดทางศาสนาเกี่ยวกับการนำมาซึ่งแนวคิดสูงสุดกับการบูชาธรรมชาติในยุคแรก. การเคารพจิตวิญญาณอันน่าเกรงขามของมนุษย์ยุคเก่ากาล ทำให้เราประสบความสำเร็จในสิ่งใหม่ ๆ1. วิญญาณเดิมยังคงอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช่รูปแบบเก่าก็ตาม. แนวโน้มที่รักษา (แนวคิด) ประเภทนี้ไว้ ได้นำไปสู่คำกล่าวที่ทันสมัยว่าอินเดียไม่สามารถเคลื่อนตัวออกไปได้. จิตใจของมนุษย์อันไม่เคยหยุดนิ่ง แม้จะยอมรับว่าไม่มีการแตกหักกันเด็ดขาดกับอดีต.

       การเคารพต่ออดีตนี้ ทำให้เกิดความต่อเนื่องทางความคิดของชาวอินเดีย ซึ่งยุคสมัยต่าง ๆ ได้เรียงร้อยกันด้วยการเคารพนบนอบโดยธรรมชาติ. วัฒนธรรมฮินดูนั้นเป็นผลผลิตของยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กระทำขึ้นโดยคนหลายร้อยรุ่น ซึ่งบางส่วนนั้นยาวนาน คงค้างอยู่ และบางส่วนนั้นสั้น รวดเร็ว และหรรษา ซึ่งวัฒนธรรมบางอย่างนั้นได้เพิ่มพูนบางสิ่งที่มีคุณภาพให้กับประเพณีอันรุ่มรวยที่ยิ่งใหญ่ซึ่งยังคงดำเนินต่อไปอยู่ แม้ว่าได้ปรากฏร่องรอยของอดีตที่ตายแล้วอยู่ภายในนั้นก็ตาม. งานการของปรัชญาอินเดียนั้น เปรียบได้กับเส้นทางน้ำที่ไหลพลิ้วอย่างเริงร่าจากแหล่งกำเนิด ท่ามกลางยอดเขาทางตอนเหนือ ไหลรินผ่านหุบเขาอันมีร่มเงาและลงสู่ที่ราบลุ่ม แพร่กระจายสู่บรรดาลำธารน้อยด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก จนพัดกวาดเพิ่มขึ้นเป็นความยิ่งใหญ่ และพลังอันเงียบสงบผ่านดินแดนและเหล่าผู้คน ซึ่งได้ส่งผลต่อโชคชะตา ราวแบกบรรทุกเรือนับพันลำไว้บนทรวงอก. ใครจะไปรู้เล่าว่าเมื่อใดที่สายธารอันยิ่งใหญ่ยังคงเชี่ยวกรากและปรีดิ์เปรมจะไหลลงสู่มหาสมุทร พระผู้เป็นบิดาของทุกสายธารหรือ.

       มิได้มีความต้องการเหล่านักคิดชาวอินเดียเลย ที่จะมองปรัชญาอินเดียทั้งหมดว่าเป็นระบบหนึ่งของการเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง. พวกเขาเชื่อว่าแต่ละอารยธรรมกำลังสร้างความคิดอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ.2 มันมี

 ---------------
1. ข้อมูลทางบรรณานุกรม: “การอ้างสิทธิ์ถึงสิ่งใหม่ที่จะกลายเป็นเก่านี้ เป็นคุณลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนไหวอันยิ่งใหญ่ในมุมมองที่แตกต่างกัน. การปฏิรูปโดยอ้างว่าเป็นการกลับมาสู่พระคัมภีร์ไบเบิล ขบวนการอีแวนเจลิคัล (Evangelical movement- ขบวนการเกี่ยวกับคำสอนของพระเยซู) ในอังกฤษ อันเป็นการหวนคืนสู่พระวรสาร ขบวนการไฮเชิร์ช เป็นการหวนคืนสู่คริสตจักรในยุคแรก. มีองค์ประกอบขนาดใหญ่แม้การปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึงเป็นการบาดหมางที่ยิ่งใหญ่ในอดีต มีอุดมคติที่จะหวนคืนสู่คุณธรรมของสาธารณรัฐโรมัน หรือความเรียบง่ายของมนุษย์ปถุชน”, (กิลเบิร์ต เมอร์เรย์, สี่ขั้นของศาสนาที่ยิ่งใหญ่, หน้า 58).
2. ชาวกรีกเรียกคุณสมบัติของแต่ละคนว่า "ธรรมชาติ" และชาวอินเดียเรียกมันว่า "ธรรมะ".   

.
.
48
การศึกษาสาเหตุที่มีอยู่อย่างถาวร ซึ่งกำหนดชีวิตของแต่ละเผ่าพันธุ์มนุษย์ มุ่งไปสู่การพัฒนาที่สมบูรณ์. มุมมองอันหลากหลายที่กำหนดไว้ในอินเดียนั้น นับเป็นกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ต้นเดียวกัน. ทางลัดและตรอกซอกซอยได้ถูกปรับให้เข้ากับถนนสายหลักอันนำไปสู่ความจริงแท้. ด้วยวิถีที่คุ้นเคยซึ่งระบบดั้งเดิมทั้งหก (นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ มีมางสา และเวทานตะ) ได้รับการตรวจทานเทียบเคียง นั่นคือการกล่าวเช่นเดียวกันกับที่มารดาชี้นิ้วไปยังดวงจันทร์ให้ทารกพูดถึงมันว่าเป็นวงกลมที่ส่องสว่างอยู่บนต้นไม้ ซึ่งเด็กก็เข้าใจได้ง่าย โดยมิต้องกล่าวถึงระยะทางอันยาวโยชน์ที่แยกโลกออกจากดวงจันทร์ ซึ่งจะทำให้สับสนเข้าไปอีก แม้ว่าจะมีแง่มุมความคิดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เป็นไปให้เหมาะกับความกะปลกกะเปลี้ยที่แตกต่างกันในความเข้าใจของมนุษย์. พระโพธจันทโรทัย01 อันเป็นละครแนวปรัชญา ได้กล่าวว่าระบบทั้งหกของปรัชญาฮินดูนั้น มิได้แยกจากกัน แต่ได้สร้างจากมุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับสง่าราศีของพระผู้เป็นเจ้าที่ยังไม่ได้สร้างขึ้นอันเป็นองค์เดียวกัน. เหล่าระบบปรัชญาทั้งหกได้ก่อตัวเป็นศูนย์รวมของรังสีที่กระจัดกระจาย ซึ่งความเป็นมนุษย์ในหลายแง่มุมนั้น ได้สะท้อนมาจากพระสุริยะอันเรืองรอง. ในคัมภีร์สรวทรรศนะสังเคราะห์ของมาธวะ02 (ค.ศ.1380/พ.ศ.1923) ได้ร่าง 16 ระบบแนวคิด เพื่อแสดงลำดับขั้นทีละน้อย ๆ จนถึงยอดปลายทางอันเป็น อทไวตะ เวทานตะ (ไม่เป็นคู่นิยม หรือ อทวิภาวะ). ด้วยจิตวิญญาณของเฮเกิล03 เขามองว่าประวัติศาสตร์ของปรัชญาอินเดียนั้น เป็นความพยายามอันก้าวหน้าไปสู่แนวคิดที่ชัดเจนของโลก. ความจริงจะถูกเผยทีละน้อยในระบบที่ต่อเนื่องกัน และความจริงแท้อันสมบูรณ์จะสะท้อนออกมาก็ต่อเมื่อ ชุดของปรัชญาได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น. ในอทไวตะ เวทานตะนั้น มีลำแสงจำนวนมากที่รวมพุ่งมายังจุดเดียว. วิชญาณภิกขุ04 นักบวชและนักคิดในพุทธศตวรรษที่ 21 นั้น ถือว่าทุกระบบมีอำนาจจัดการด้วยตัวเอง1 และประนีประนอมจากการปฏิบัติจริงเชิงอภิปรัชญา และพิจารณาเห็นสางขยะเป็นการแสดงความจริงขั้นสุดท้าย ปราชญ์มธุสูทนะ สรสวตี05 ได้เขียนไว้ในปรสธานภีทะ06 ดังนี้ : “ขอบเขตสูงสุดของเหล่ามุนีทั้งมวล ผู้ประพันธ์ระบบที่แตกต่างเหล่านี้ คือการสนับสนุนเห็นพ้องกับทฤษฎีมายา การออกแบบเพียงประการเดียวของเหล่ามุนีนี้คือ การสถาปนาการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดพระองค์เดียว แก่นแท้เพียงประการเดียวสำหรับเหล่ามุนีนั้น ไม่อาจที่จะเข้าใจผิดได้ เนื่องด้วยความรอบรู้ของพวกเขา. ครั้นเมื่อเหล่ามุนีเห็นว่าผู้ซึ่งไล่ล่าติดตามวัตถุภายนอกนั้น ไม่สามารถเจาะลึกถึงความจริงแท้สูงสุดได้ภายในคราวเดียว
---------------
1 สรวากมปรามาณยะ (Sarvāgamaprāmāṇya) (เป็นงานของ Nyaya-Manjari of Jayanta Bhatta กล่าวถึงจุดยืนประการหนึ่งซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมาก พระคัมภีร์ทุกศาสนามีความถูกต้องเท่าเทียมกัน)
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พระโพธจันทโรทัย (The Prabodhacandrodaya) หมายถึง พระจันทร์ที่ตื่นขึ้น จากหนังสือ Prabodhacandrodaya เขียนโดน กฤษณะ มิสระ (Kṛṣṇa Misŕa) สำนักพิมพ์ MOTILAL BANARSIDASS, เดลลี พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2514 เป็นละครแนวปรัชญาที่มีการกำหนด บทบาทตัวละครไว้น่าสนใจ ตัวละครหลักคือ บุรุษ (Puruṣa) มีตัวละครที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวละครเกี่ยวกับภาพลวงตา หรือ มายา (Delusion) คือ
  • จารวาก-Cārvāka (Materialist) – his great friend,
  • กรรม-Kāma (Concupiscence), โกรธ-Krodha (Anger), โลภ-Lobha (Greed), ดังภะDaṃbha (Deceit-หลอกลวง), อหังการ์-Ahaṃkāra (Egoism) – his ministers,
  • มิจฉาทิฏฐิ-Mithyādṛṣṭ  (Error) – his wife,
  • Vibhramāvatī (Confusion) – his wife’s friend,
  • Rati (Pleasure) – Kāma’s wife,
  • หิงสา (Hiṃsā) (ความรุนแรง-Violence) – the wife of Krodha,
  • Tṛṣṇā (Desire) – the wife of Lobha.
มีตัวละครเกี่ยวกับวิเวก (Viveka) คือ:
  • Mati (Reason) – his wife,
  • Saṃtoṣa (Contentment) – his friend,
02. คัมภีร์สรวทรรศนะสังเคราะห์ของมาธวะ (Mādhava’s Sarvadarśanasaṁgraha) อ้างอิงจาก "Rediscovering India", Indian Philosophy Library, SARVA-DARSANA SAMGRAHA, แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย GOUTH A.E. COWELL E.B. Vol.9, 1987, สำนักพิมพ์ COSMO PUBLICATIONS พิมพ์ที่ นิวเดลี และส่วนที่ค้นเพิ่มเติม ขอประมวลไว้ดังนี้ มหาคุรุมาธวะ ได้แจงปรัชญาอินเดียไว้มี 16 ระบบแนวคิด ดังนี้
       1. ระบบจารวาก (The Chárváka or (Cārvāka; สันสกฤต : चार्वाक) System) หรือโลกายัต (Lokāyata) เป็นปรัชญาที่มีมาก่อนพุทธกาล ไม่ปรากฏผู้ตั้งคัมภีร์หรือสาวก ที่ทราบว่ามีลัทธินี้อยู่ เพราะมีกล่าวถึงในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และ ศาสนาเชน แนวความเชื่อของลัทธินี้ถือว่าสิ่งที่เป็นจริงจะต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส สิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส เช่น โมกษะ นิพพาน บุญบาป ไม่มีอยู่จริง ไม่เชื่อถือคัมภีร์พระเวท เพราะถือว่าเป็นคัมภีร์ที่พวกพราหมณ์แต่งขึ้นเพื่อมอมเมาประชาชน สรรพสิ่งเกิดจากการรวมตัวของธาตุสี่คือดิน น้ำ ลม ไฟ การตายคือการที่ธาตุทั้งสี่แยกตัวออกจากกัน จิตวิญญาณ อาตมัน โลกหน้าไม่มีจริง ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า จุดหมายของลัทธิจารวากคือความสุขของเนื้อหนังหรือทางประสาทสัมผัส ซึ่งถือว่าเป็นความสุขที่ดีที่สุด การทำดีคือการกระทำที่นำความสุขมาให้ (ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2555, หน้า 261–272).
       2. ระบบพุทธ (The Bauddha System) ระบบที่เน้นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มุ่งหาหนทางในการพ้นทุกข์ ที่เรียกว่าอริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
       3. 
ระบบอรหัต หรือ เชน (The Árhata or Jaina System)
       4. 
ระบบรามานูชาจารย์ (The Rámánuja System)
       5. 
ระบบปูรณะ ปราญ หรือ ระบบภูมิปัญญา (The Púrṇa-prajña System)
       6. ระบบ นคุลิศะ (นาคุลิสะ) ปศุปตะ (The Nakulíśa-Pásupata System)
       7. 
ระบบไศวะ (ไศวนิกาย) (The Śaiva System)
       8. 
ระบบปรัชญาพิชาญ หรือ ระบบรับรู้ (The Pratyabhijñá or Recognitive System)
       9. 
ระบบรเสศวระ (The Raseśvara or Mercurial System) เป็นระบบปรัชญาหรือของไศวนิกาย เกิดขึ้นราว ๆ คศว.ที่ 11 สนับสนุนการใช้ปรอทเพื่อให้ร่างกายเป็นอมตะ.
       10. 
ระบบไวเศษิกะ หรือ อูลุกยะ (The Vaiśeshika or Aulúkya System)
       11. 
ระบบอักชะพาท หรือ นยายะ (The Akshapáda or Nyáya System) เป็นปรัชญาในศาสนาฮินดู คำว่านยายะมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง นำไปสู่ความจริงแท้ ลัทธินี้เริ่มขึ้นหลังพุทธกาลโดยมีฤๅษีโคตมะเป็นผู้แต่งนยายสูตร ต่อมาได้มีผู้แต่งคัมภีร์อธิบายความเพิ่มเติมต่อมาคือวาตสยายนะ แต่งนยายภาษยะ อุททโยตกระ แต่งวารติกะ และ วาจัสปติแต่งตาตปรยฎีกา ทำให้ได้คัมภีร์ในลัทธินยายะที่สมบูรณ์ ลัทธินี้มีความเห็นว่าชีวิตในโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ และโมกษะเป็นสภาวะที่ดับทุกข์สิ้นเชิง ความทุกข์ของสัตว์โลกเกิดจากสังโยชน์หรือพันธนะเป็นเครื่องผูกมัดสรรพสัตว์ให้ติดอยู่ในสังสารวัฏ เหตุที่ทำให้เกิดโลกคือปรมาณูของธาตุทั้งสี่คือดินน้ำลมไฟ ปรมาณูของธาตุทั้งสี่นี้เกิดขึ้นเองไม่มีใครสร้างและทำลายได้ พระเจ้าทรงสร้างโลก โดยนำปรมาณูของธาตุทั้งสี่มารวมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม และการทำลายโลกของพระเจ้าคือการที่ทรงแยกปรมาณูเหล่านี้ออกจากกัน ชีวาตมันหรือวิญญาณเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเองและดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ มนัสหรือจิตรเป็นสื่อในการรับรู้อารมณ์ของชีวาตมัน จนกระทั่งชีวาตมันบรรลุโมกษะจึงแยกออกจากมนัสได้โดยเด็ดขาด การเกิดคือการที่ชีวาตมันมาอาศัยในร่างกายและการตายคือการที่ชีวาตมันแยกออกจากร่างกาย (อ้างอิง: ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555)
       12. 
ระบบของมหาฤๅษีไชมิณิ หรือ ปุรวะ มีมางสา (The Jaiminiya System)
       13. 
ระบบปาณินิยะ (The Páṇiníya System)
       14. 
ระบบสางขยะ (The Sáṅkhya System)
       15. 
ระบบโยคะ (The Pátañjala or Yoga System)
       16. 
ระบบเวทานตะหรือระบบศังกราจารย์ (The Vedánta or System of Saṃkara Áchárya)
03. เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilheim Friedrich Hegal) (27 สิงหาคม พ.ศ.2313 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2374) นักปรัชญาชาวเยอรมัน สำนักคิดจิตนิยม (idealism).
04. วิชญาณภิกษุ (Vijñānabhikṣu) ปราชญ์ฮินดูจากรัฐพิหาร มีชีวิตอยู่ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 21-22 ท่านได้ให้คำแนะนำในสำนักต่าง ๆ ของปรัชญาฮินดู โดยเฉพาะได้อรรถาธิบายเกี่ยวสำนักแนวคิดด้านโยคะของปตัญชลิฤๅษี การรวมเป็นหนึ่งเดียวของปรัชญาเวทานตะ โยคะ และสางขยะ. ท่านได้รับการพิจารณาว่ามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการเคลื่อนไหวด้านปรัชญาเวทานตะใหม่ในยุคปัจจุบัน.
05. ปราชญ์มัทสุธาณะ สรสวตี (Madhusūdana Sarasvatī) (ราว ค.ศ.1540-1640 หรือ ราว พ.ศ.2083-2183) ท่านกำเนิดและถึงแก่กรรมที่เบงกอล เป็นปราชญ์ในลัทธิอทไวตะ เวทานตะ.
06. ปรสธานภีทะ (Prasthānabheda -प्रस्थानभेदः) เป็นงานเขียนสำคัญของมหาคุรุมัทสุธาณะ สรสวตี กล่าวถึงประเด็นในการบูรณาการระบบศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ภายในกรอบแนวคิดด้านพระเวท ดังนั้นจึงถือเป็นงานเก่ากาลด้านแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู.

.
.
49
เหล่ามุนีจึงเสนอทฤษฎีต่าง ๆ ให้แก่เขาเหล่านั้น เพื่อไม่ให้พวกเขาตกอยู่ใต้ลัทธิอเทวนิยม01. ความเข้าใจผิดเกี่ยววัตถุสิ่งของซึ่งเหล่ามุนีมีความเห็นอยู่นั้น และแสดงให้เห็นว่าเขาเหล่านั้นได้ถูกกำหนดแบบมาเพื่อเสนอหลักคำสอนที่แย้งกับพระเวท เหล่าผู้ซึ่งได้เข้ามาพิเคราะห์พิจารณาหลักคำสอนเฉพาะในสำนักหลายแห่งเหล่านี้ด้วยความพึงใจ และด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นสาวกศิษยานุศิษย์ของระบบที่หลากหลาย.”1 ความสมานฉันท์ของระบบที่หลากหลายนี้2 เป็นความเพียรพยายามของเหล่านักวิเคราะห์วิจารณ์แทบทั้งหมด. ความแตกต่างเป็นเพียงเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาถือว่าเป็นความจริง ผู้ปกปักรักษาปรัชญานยายะ เช่น อุทัยนาจารย์03 ได้เฝ้ามองมายังปรัชญานยายะ และเหล่าสาวกเช่น รามานูชาจารย์ ที่ถือว่าลัทธิเทวนิยมนั้นเป็นความจริงแท้. สอดคล้องกับจิตวิญญาณของวัฒนธรรมอินเดียที่คิดว่ากระแสแนวคิดอันหลากหลายที่ซึมซับผ่านแทรกในแผ่นพื้นธรณีนั้น จะปล่อยไหลผ่านลงสู่เพียงหนึ่งน้ำนที จะท่วมท้นกลายเป็นเมืองแห่งพระผู้เป็นเจ้า.

       จากจุดเริ่มต้น ชาวอินเดียตระหนักได้ว่าความจริงแท้นั้นมีหลายด้าน และทัศนะที่แตกต่างกัน ก็มีแง่มุมแห่งความจริงแท้ที่ต่างกันออกไป ซึ่งยังคงไม่มีผู้ใดสามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์. เขาจึงอดกลั้นและเปิดรับความคิดเห็นอื่น ๆ . เขาไม่กลัวที่จะยอมรับแม้แต่หลักคำสอนที่อันตราย ตราบเท่าที่พวกเขาเหล่าชนอินเดียได้รับการเกื้อหนุนด้วยตรรกะ. เขายอมไม่ได้ที่จะตาย หากยังสามารถช่วยได้ แม้เพียงจุดเล็ก ๆ เศษเสี้ยวแห่งจารีตประเพณีก็ตาม ทว่าก็จะพยายามปรับตัวให้เข้ากับมันทั้งหมด. มีหลายกรณีที่ได้เยียวยาความอดกลั้นดังกล่าวไว้. จากการศึกษาของเราก็ได้พบว่า มีอันตรายเกิดขึ้นกับมุมมองดังกล่าว. บ่อยครั้งที่สิ่งนี้ได้นำเหล่าคุรุชาวอินเดียไปสู่ความคลุมเครือ การยอมรับอย่างเย็นชาเพิกเฉย และผสมผสานที่ดูด้อยค่า.
 
 
III
 
างอย่างที่ต้องจ่ายไปเกี่ยวกับรัชญาอินเดีย
 
       ข้อกล่าวหาหลักที่ต่อต้านปรัชญาอินเดีย อาทิ การมองโลกในแง่ร้าย ความหยิ่งยโสดื้อรั้น ความเฉยเมยต่อจริยธรรม และการไม่ก้าวรุดหน้า.

       นักวิจารณ์ปรัชญาและวัฒนธรรมอินเดียแทบทุกท่าน ล้วนมองโลกในแง่ร้าย.3 อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเข้าใจ

---------------
1 ดูใน มัวร์02 อ.ส.ด. (อักษรสันสกฤตดั้งเดิม) เล่มที่ 4 บทที่ 1 และ 2.
2 สรวทรรศนะสามรสยะ

3 ไชลี่ย์, ในงาน Administrative Problems (หน้าที่ 67), ยืนยันว่าปรัชญาของอินเดียเกิดจาก “ความเกียจคร้านและความปรารถนาที่จะพักผ่อนชั่วนิรันดร์.”
หมายเหตุ คำอธิบาย
   01. อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ.
   02. มัวร์ (Dr. John Muir) เป็นผู้มีความรู้ในภาษาสันสกฤต อินเดียวิทยา และเป็นผู้พิพากษาในอินเดีย {ชาตะ: กลาสโกว์ สก็อตแลนด์ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2353 (ค.ศ.1810) – มรณะ: อดินเบอระ สก็อตแลนด์ 7 มีนาคม พ.ศ.2425 (ค.ศ.1882)} ผลงานสำคัญคือในปี พ.ศ.2404 (ค.ศ.1861) “Original Sanskrit Texts on the Origin and Progress of the Religion and Institutions of India.”
   03อุทัยนาจารย์ (Udayana หรือ Udayanācārya) เป็นปราชญ์และนักตรรกวิทยาอินเดียที่สำคัญ ในช่วง พ.ศ.1518-1593 (ค.ศ.975-1050) ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ปรัชญานยายะ ที่พยายามคิดค้นเทววิทยาที่มีเหตุผลเพื่อพิสูจน์การดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า โดยใช้ตรรกะและการตอบโต้ การกล่าวโจมตีถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า (นั้นดำรงอยู่จริงหรือไม่) โดยปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา เช่น พระภิกษุธรรมกีรติ (Dharmakīrti) และ พระภิกษุญาณศรี (Jñānaśrī) และรวมทั้งต่อต้านสำนักวัตถุนิยมของอินเดีย (จารวาก - Chārvaka)

.
.
50
ได้ว่าจิตใจของมนุษย์สามารถคาดเดาได้อย่างอิสระและสร้างชีวิตขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร ในเมื่อเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้าและความรู้สึกสิ้นหวังในการที่จะเอาชนะ. ด้วยความสำคัญในการพิจารณาถึงขอบเขตและเสรีภาพด้านความคิดของชาวอินเดียแล้ว มิได้สอดคล้องกับการมองโลกในแง่ร้ายในระดับสูงสุด. ปรัชญาอินเดียจะมองโลกในแง่ร้าย หากการมองโลกในแง่ร้ายนี้หมายถึงความรู้สึกที่ไม่พึงใจกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือมีอยู่. ในมุมนี้ปรัชญาทั้งหมดจะมองโลกในแง่ร้าย. ความทุกข์ในโลกก่อให้เกิดปัญหาทางปรัชญาและศาสนา. ระบบศาสนาที่เน้นการไถ่ถอนจะแสวงหาหนทางหนีจากชีวิตในขณะที่เราอาศัยอยู่บนโลก. ความจริงแล้วสาระสำคัญ (ของปรัชญาและศาสนา) นั้นมิได้ชั่วร้าย. ในปรัชญาอินเดีย คำว่า “สัต” นั้นหมายถึงทั้งเป็นความจริงและความสมบูรณ์แบบ. ความจริงกับความดี หรือความจริงและความสมบูรณ์แบบที่แม่นยำยิ่งขึ้น ที่ไปได้ด้วยกัน. สิ่งที่เป็นความจริงนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง และนี่คือพื้นฐานของการมองโลกในแง่ดีทั้งหมด. ศาสตราจารย์โบซานเกต์01 เขียนไว้ว่า: "ข้าพเจ้าเชื่อถึงการมองโลกในแง่ดี แต่ข้าพเจ้าขอเสริมว่าไม่มีการมองโลกในแง่ดีใด ๆ ที่คู่ควรกับการมองโลกในแง่ร้ายและไปถึงจุดที่ไกลกว่านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่านี่คือจิตวิญญาณที่แท้จริงของชีวิต และถ้าผู้ใดเห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นข้ออ้างในการยอมจำนนต่อความชั่วอย่างไม่ยุติธรรม ข้าพเจ้าขอตอบว่าความจริงทั้งปวงที่ละเอียดถี่ถ้วนมีอันตรายต่อการปฏิบัติได้."1 นักคิดชาวอินเดียต่างมองโลกในแง่ร้าย เมื่อมองว่าระเบียบโลกเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายและโกหกหลอกลวง พวกเขามองโลกในแง่ดีเพราะพวกเขารู้สึกว่ามีทางออกสู่โลกแห่งความจริงซึ่งเป็นคุณงามความดี.

       กล่าวกันว่าปรัชญาอินเดียนั้นไม่มีค่าอะไรเลย หากไม่ได้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ และปรัชญาที่แท้จริงไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยเพียงแต่ยอมรับหลักคำสอนเท่านั้น. วิถีความคิดของชาวอินเดียจะเป็นคำตอบสำหรับข้อกล่าวหานี้. ระบบของปรัชญาหลายระบบได้ถกเถียงกันถึงปัญหาของความรู้ ที่มา และความถูกต้องของความรู้เป็นเบื้องต้นในการศึกษาปัญหาอื่น ๆ . เป็นความจริงที่พระเวทหรือศรุตนั้น โดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้. แต่ปรัชญาจะกลายเป็นเรื่องที่ดื้อรั้น ก็ต่อเมื่อคำยืนยันของพระเวทถูกมองว่าเหนือกว่าหลักฐานของความรู้สึกและข้อสรุปของเหตุผล.
---------------

1 อุดมคติทางสังคมและสากล (Social and International Ideas), หน้าที่ 43 เปรียบเทียบหรือข้อมูลทางบรรณานุกรมของโชเพินเฮาเออร์02 "การมองโลกในแง่ดีนั้น เมื่อมันไม่ใช่แค่คำพูดที่ไร้ความคิดเช่นได้ปิดบังอะไรไว้ เพียงแต่เป็นคำที่อยู่ใต้หน้าผากของพวกเขา ไม่เพียงแต่จะดูไร้สาระเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีคิดที่ชั่วร้ายจริง ๆ เป็นการเยาะเย้ยอันขมขื่นของมนุษยชาติที่ทุกข์ยากเกินบรรยาย"
หมายเหตุ คำอธิบาย
   01. ศาสตราจารย์ เบอร์นาร์ด โบซานเกต์ (Professor Bernard Bosanquet) ชาตะ 14 มิ.ย. พ.ศ.2391 (ค.ศ.1848) มรณะ 8 ก.พ. พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) ท่านเป็นนักปรัชญาสำนักอังกฤษและนักทฤษฎีทางการเมือง งานของท่านมีอิทธิพลต่อระบบการเมืองและนโยบายด้านสังคม.
   
02. อาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) ชาตะ 22 ก.พ. พ.ศ.2331 (ค.ศ.1788) มรณะ 21 ก.ย. พ.ศ.2403 (ค.ศ.1860) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า เมื่ออายุ 25 ปีโชเพินเฮาเออร์พิมพ์ปริญญานิพนธ์ มูลบัญญัติสี่ประการของเหตุผล (Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde) ที่เป็นปรัชญาที่พิจารณาคำถามที่ว่าเหตุผลเพียงอย่างเดียวจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับโลกได้หรือไม่ งานชิ้นที่มีอิทธิพลที่สุดของโชเพินเฮาเออร์ Die Welt als Wille und Vorstellung (The World as Will and Representation) เน้นบทบาทของแรงบันดาลใจ (motivation) ของมนุษย์ที่โชเพินเฮาเออร์เรียกว่า "เจตจำนง" (Will) การวิจัยของโชเพินเฮาเออร์นำไปสู่การสรุปว่าความต้องการทางอารมณ์, ทางร่างกาย และทางเพศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโชเพินเฮาเออร์จึงนิยมวิถีชีวิตที่ลดความต้องการของมนุษย์ เช่น การบำเพ็ญเพียร การปฏิเสธตัวเอง ที่คล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาพุทธและเวทานตะ.

.
.
51
ถ้อยแถลงของพระเวท คือ อาปตวจนะ01 หรือคำกล่าวของปราชญ์ซึ่งเราถูกเรียกร้องให้ยอมรับ หากเรารู้สึกเชื่อว่าผู้ที่ฉลาดนั้น มีวิธีการที่ดีกว่าที่เรามี ในการตัดสินเรื่องที่เป็นปัญหา. โดยทั่วไปแล้ว ความจริงของพระเวทนั้น ได้กล่าวถึงประสบการณ์ของผู้พยากรณ์ ซึ่งต้องคำนึงถึงความจริงแท้อย่างมีเหตุผลด้วย. ประสบการณ์โดยสัญชาตญาณเหล่านี้สถิตอยู่ในความเป็นไปได้ของทุก ๆ คน หากพวกเขาต้องการที่จะมีมัน.1 การอ้อนวอนไปยังพระเวทนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการอ้างถึงมาตรฐานพิเศษทางปรัชญาใด ๆ . หลักธรรมสำหรับคนธรรมดาสามัญนั้นก็คือประสบการณ์ของผู้มีใจบริสุทธิ์. เป็นความจริงที่ว่า เมื่อเราก้าวย่างไปถึงขั้นของข้อคิดเห็นที่มีขึ้นภายหลัง เรามีสถานะที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในเชิงปรัชญา เมื่อการคาดการณ์ได้กลายเป็นการป้องกันทางวิชาการของหลักคำสอนอันเป็นที่ยอมรับ. ระบบเริ่มแรกเดิมทีนั้น ยังเรียกตนเองว่าเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์และก็อ้างตนว่าเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์เก่า แต่ไม่มีแนวโน้มเลยที่พวกเขาจะเป็นนักปราชญ์ เนื่องจากอุปนิษัทที่พวกเขามองหาแรงบันดาลใจนั้นมีหลายด้าน.2 หลังจากความขัดแย้งทางปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่แปด ได้กลายเป็นประเพณีและมีลักษณะทางวิชาการ และเราก็พลาด (ประเด็นด้าน) เสรีภาพในยุคก่อนหน้า. เหล่าผู้สถาปนาสำนัก (ปรัชญา) ต่าง ๆ นั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ ดังนั้นการกังขาในความคิดเห็นของเขาดูจะเป็นเรื่องขาดความศักดิ์สิทธิ์และดูต่ำทรามสักหน่อย. ข้อเสนอพื้นฐานนั้นได้รับการตัดสินเพียงครั้งเดียว และหน้าที่ของคุรุก็เป็นเพียงถ่ายทอดความเชื่อต่าง ๆ ของสำนัก ซึ่งเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของสมองของคุรุและเวลาที่ต้องการ. เรามีข้อโต้แย้งที่สดใหม่สำหรับข้อสรุปที่ได้กล่าวมาแล้ว เหตุผลใหม่เพื่อเผชิญกับปัญหาใหม่ และการรังสรรค์ของเก่าขึ้นใหม่ โดยการเปลี่ยนส่วนหน้าเล็กน้อยหรือบิด (เบือน) ด้วยวิภาษวิธี. มีการทำสมาบัติทำสมาธิน้อยลงที่เกี่ยวกับปัญหาชีวิตในเชิงลึก และอภิปรายถกเถียงมากขึ้นกับปัญหาที่เป็นสิ่งประดิษฐ์เทียม ๆ . สมบัติพัสถานที่เรามีอยู่เดิมนั้นอุดตันเราด้วยความมั่งคั่งอันเป็นภาระ และปรัชญาก็หยุดเคลื่อนไหวและบางครั้งก็พบว่ายากที่จะสูดอากาศหายใจให้เต็มปอด. มีข้อกล่าวหาในเรื่องการไม่แสวงหากำไรที่ร้องขึ้นกันทั่วไปแย้งกับปรัชญาอินเดียทั้งมวล ซึ่งอาจจะมีบางประเด็นเมื่อนำมาประยุกต์กับการบรรยายของเหล่านักวิพากษ์วิจารณ์ ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นลูกศิษย์ที่ได้รับแรงดลใจจากชีวิตและความงดงามที่เหล่าปราชญ์รุ่นก่อนเป็น แต่นักวิภาษวิธีที่เชี่ยวชาญต่างตระหนักถึงพันธกิจเพื่อมนุษยชาติ. ทว่าแม้ภายใต้ความชราอันเป็นเปลือกกระพี้ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้นั้น
---------------
1 ดูใน S.B.V.S., หนังสือหายากของ V.S. (Sacred Book of V.S.), บทที่ 3 บรรพที่ 2 บรรทัดที่ 24.
2 วิศวโตมุกคา
02
หมายเหตุ คำอธิบาย
 
  01อาปตวจนะ (āptavacana - आप्तवचन) หมายถึง การได้รับข้อความ หรือ สิทธิอำนาจ การเปิดเผย.
   02. วิศวโตมุกคา (Viśvatomukhāḥ) หันหน้าไปทางโลก- (World-facing) (สู่โลกอันเป็นโลกียะ).

.
.
52
จิตวิญญาณยังคงอ่อนเยาว์ และจากนั้นก็ผลิแตกออกและแตกหน่อออกมาเป็นสิ่งสดเขียวและอ่อนโยน. มีมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นเฉกเช่น ศังกราจารย์ หรือ มาธวะ01 ผู้เรียกตนว่าผู้ออกความเห็น (อรรกถาจารย์) กระนั้นก็ยังซึมซาบหลักการทางจิตวิญญาณซึ่งชี้นำการเคลื่อนไหวของโลก.

       ปรัชญาอินเดียมักถูกต่อต้านว่าไม่มีจริยธรรม. “ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีปรัชญาทางจริยธรรมอยู่ภายในพรมแดนด้านแนวคิดของชาวฮินดู.”1 อย่างไรก็ตามข้อกล่าวหานี้ไม่สามารถคงอยู่ได้ ความพยายามที่จะเติมเต็มทั้งชีวิตด้วยพลังแห่งจิตวิญญาณนั้นเป็นเรื่องปกติ. ถัดไปก็คือการจำแนกความจริงแท้ พระธรรมเป็นแนวคิดที่สำคัญที่สุดของชาวอินเดีย. ศาสนาอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมที่แท้จริงก็คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาเชน และศาสนาฮินดูก็ไม่ได้ด้อยกว่าศาสนาอื่น. ความสมบูรณ์ทางจริยธรรมเป็นก้าวแรกสู่ความรู้อันศักดิ์สิทธิ์.
ที่มา: https://storylog.co/story/590d83323a2d222a22214e2e, วันที่เข้าถึง 10 พฤศจิกายน 2564.
.
        กล่าวกันว่าปรัชญาในอินเดียยังคงสถิตนิ่ง แสดงถึงการทำงานอันมิรู้จบในการนวดฟางเก่า ๆ . (กระบวนการทำงานที่ดูธรรมดา พื้น ๆ สงบนิ่ง และไม่รู้จบ) “ตะวันออกที่ไม่เปลี่ยนแปลง” นั้น หมายความว่าเวลาของอินเดียได้หยุดโบยบินและยังคงนิ่งอยู่ตลอดไป. หากมันหมายความว่ามีอัตลักษณ์พื้นฐานอยู่ในบรรดาปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นความไม่รุดก้าวไปข้างหน้าประเภทนี้เป็นคุณลักษณะทั่วไปของการพัฒนาทางปรัชญาทั้งหมด. มีปัญหาเดิม ๆ ของพระผู้เป็นเจ้า เสรีภาพ ความเป็นอมตะ และการแก้ปัญหาอันไม่พึงใจแบบเดิม ๆ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา. แม้ว่ารูปแบบของปัญหาจะเหมือนเดิม แต่เนื้อหาสาระตัวปัญหาได้เปลี่ยนไป. มีความแตกต่างกันทั้งหมดในโลกระหว่างพระผู้เป็นเจ้าในบทสวดของพระเวทกำลังดื่มโสม และความสมบูรณ์ของศังกราจารย์. สภาวการณ์ต่าง ๆ ที่ซึ่งปรัชญาต้องมีการปรับแต่งตนเองในแต่ละรุ่นนั้น ความพยายามที่จะจัดการกับเหล่าปัญหาจำต้องมีการปรับตัวปรัชญาให้ทันกาล (เป็นปัจจุบัน). หากการคัดค้านนั้นได้หมายความว่าไม่มีความแตกต่างเชิงพื้นฐานมากนัก ระหว่างวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ให้ไว้ในพระคัมภีร์เก่าแก่ของอินเดียกับผลงานด้านศาสนาคริสต์ต่าง ๆ ของเพลโต ก็แสดงให้เห็นเพียงว่าพระวิญญาณอันเป็นสากลซึ่งเปี่ยมด้วยความรักองค์เดียวกันนี้ นาน ๆ ครั้งได้ส่งวรสารและเปล่งสุรเสียงออกมา. เรื่องราวศักดิ์สิทธิ์อันเป็นแก่นสารได้ไหลชโลมลงมาสู่เราครั้งเก่ากาลในยุคต่าง ๆ ที่สมดุล มีสีสันตามเชื้อชาติและประเพณี. ถ้ามันหมายความว่ามีความคารวะบางประการในอดีตที่กระตุ้นให้ปราชญ์อินเดียเทไวน์ใหม่ลงในขวดเก่า ซึ่งเราได้เกริ่นไปแล้วว่านี่
---------------
1 ฟาควาร์, วารสารฮิบเบิร์ต, ตุลาคม พ.ศ.2464, หน้า 24.
หมายเหตุ คำอธิบาย
   01มาธวะ (Mādhava) แปลว่า ผู้นำมาซึ่งฤดูใบไม้ผลิ.

.
.
53
เป็นลักษณะเฉพาะของจิตใจชาวอินเดีย. วิถีที่จะเติบโตก็คือการนำคุณธรรมความดีทั้งหมดที่ผ่านไปแล้วมาเพิ่มเสริม. นี่คือการสืบสานความเชื่อของบรรพชนและดัดแปลงไปตามจิตวิญญาณแห่งกาลเวลา. หากปรัชญาความคิดอินเดียเป็นเรื่องลม ๆ แล้ง ๆ เพราะไม่คำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ก็คือความไร้ประโยชน์ซึ่งสิ่งเก่าทั้งหมดมีอยู่ในสายตาของสิ่งใหม่. การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของปรัชญามากเท่ากับวิพากษ์วิจารณ์นี้. ทฤษฎีที่ปฏิวัติในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์อย่างมากของพวกเขา ด้านวิวัฒนาการทางชีววิทยาและความสัมพันธ์ทางกายภาพนั้น  ไม่ได้กระทบต่อหลักปรัชญาต่าง ๆ ที่ได้รังสรรค์ขึ้นแต่อย่างใด เพียงได้รับการยืนยันว่ามีสาขาวิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึ้น.

       ภาระของความไปไม่ถึงไหนหรือความไม่คงที่ จะเกิดขึ้นกับเราในขั้นตอนที่มีนักวิพากษ์วิจารณ์ที่ยิ่งใหญ่ได้วิจารณ์ขึ้น. งานในอดีตจะหนักอึ้งขึ้น ความคิดริเริ่มถูกระงับ และผลงานของเหล่าปราชญ์ เปรียบได้กับผู้ศึกษาในยุคกลาง จำนนต่ออำนาจและประเพณีในแบบเดียวกัน และการรุกคืบของอคติทางเทววิทยาแบบเดิม ๆ ก็เริ่มต้นขึ้น. ปราชญ์อินเดียสามารถทำได้ดีกว่าเพราะมีอิสระที่มากขึ้น. เพื่อให้การพัฒนาทางด้านปรัชญาได้มีชีวิตชีวาต่อไป เพื่อรักษากระแสพลังสร้างสรรค์ให้ดำเนินต่อไป (จำต้องมี) การเชื่อมโยงกับชีวิตที่เคลื่อนไหวนี้สามารถเอื้ออำนวยความอิสระทางความคิดที่แท้จริงอันเป็นสิ่งจำเป็นไว้. ซึ่งบางทีปรัชญาอินเดียได้สูญเสียความแข็งแกร่งและพลัง เมื่อโชคชะตาทางการเมืองของเธอพบกับความพ่ายแพ้ ก็อาจได้รับแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นใหม่ ๆ จากยุคที่เพิ่งจะเริ่มขึ้นต้น. หากปราชญ์อินเดียผสมผสานความรักของสิ่งเก่ากาลเข้ากับความกระหายในสิ่งที่เป็นความจริง ปรัชญาอินเดียก็อาจมีอนาคตที่รุ่งโรจน์เหมือนเช่นอดีต. 
 .
 .
IV
 
คุณค่าของการศึกษารัชญาอินเดีย
 
       มันไม่ได้เป็นเพียงชิ้นส่วนของการสำรวจโบราณวัตถุที่ความคิดของอินเดียควรค่ากับการศึกษา. การคาดการณ์ของปราชญ์เฉพาะ (บางนิกายหรือลัทธิ) หรือความคิดในยุคอดีตนั้นไม่ไร้ค่า. ไม่มีสิ่งใดที่ชายและหญิงจะปล่อยให้พลังสูญเสียไปโดยสิ้นเชิง. ในความคิดของชาวอารยันในยุคพระเวท เราจะพบเห็นถึงการต่อสู้ภายในจิตใจอันทรงพลัง
.
.
54
ด้วยปัญหาสูงสุดในการจัดวาง (กรอบและแนวความคิด) ไปยังผู้ใคร่ครวญ. จากคำกล่าวของเฮเกิล: “ในความหมายที่แท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ของปรัชญานั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับอดีต แต่อยู่กับนิรันดร์และตามความเป็นจริงปัจจุบัน และผลลัพธ์ที่ได้นั้นดูคล้ายคลึงกัน ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห่งความคลาดเคลื่อนทางสติปัญญาของมนุษย์ แต่เป็นวิหารของเทพเจ้าที่แสดงลำดับขั้นต่าง ๆ ของตรรกะอันถาวรในความคิดของเหล่ามวลมนุษยชาติ”.1 ประวัติความคิดของอินเดียนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นตั้งแต่แรก เป็นเพียงเป็นการสืบสานความคิดที่น่าสะพึงกลัวอันตามติดกันมาอย่างรวดเร็ว.

       ช่างง่ายดายที่จะสร้างกีฬาแห่งปรัชญา เนื่องจากยังมีผู้ที่พึงใจที่จะอยู่ท่ามกลางสิ่งที่มีเหตุมีผลและคิดในทางที่เลอะเทอะ ปัญหาทางปรัชญาจะมีลักษณะที่ไม่เป็นจริงและมีรสแห่งความไร้สาระ. นักวิจารณ์ที่คิดตรงข้ามมองว่าข้อขัดแย้งของปรัชญานี้ เป็นการสับตรรกะอย่างสิ้นเปลือง และการจัดการทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับปริศนาเช่น "ไก่กับไข่อย่างไหนเกิดก่อนกัน"2 ปัญหาที่อภิปรายในปรัชญาอินเดีย ทำให้เหล่าชนงุนงงตั้งแต่ต้นเรื่อง แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการแก้ไขให้เป็นที่พอใจแก่ทุกคนก็ตาม. ดูเหมือนว่าจะมีความต้องการอันจำเป็นของมนุษย์หรือความปรารถนาที่จะรู้ถึงธรรมชาติของจิตวิญญาณและพระผู้เป็นเจ้า. เหล่าผู้ครุ่นคิดทุกคน เมื่อได้ใคร่ครวญถึงความจริงที่ว่า พวกเขาได้ถูกกวาดไปอย่างไม่หยุดไล่ไปตามโค้งใหญ่ของการกำเนิดไปสู่ความตาย กระแสแห่งชีวิตได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งซึ่งดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถสอบถามอะไรได้ อะไรคือจุดประสงค์ทั้งหมดนั้น โดยรวมแล้ว นอกเหนือจากเหตุการณ์เล็กน้อยที่ทำให้เสียสมาธิในระหว่างทางเท่านั้นหรือ. ปรัชญาไม่ใช่เรื่องแปลกของอินเดีย แต่เป็นความสนใจใคร่รู้ของมนุษย์.

       หากเราละทิ้งปรัชญาทางวิชาชีพ ซึ่งอาจดูเป็นธุรกิจที่ไร้ประโยชน์ ในอินเดีย เรามีการพัฒนาความคิดเชิงตรรกะที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในอินเดีย. งานของปราชญ์อินเดียนั้นมีคุณค่ามากต่อการพัฒนาความรู้ของมนุษย์ เราจึงตัดสินงานของเหล่าปราชญ์ว่าคู่ควรแก่การศึกษา แม้ว่าเราจะพบข้อผิดพลาดอย่างชัดแจ้งก็ตาม. หาก (เราพบ) ความวิปริตที่บ่อนทำลายปรัชญาแล้ว (เราก็) ควรละทิ้งไปเสีย. ท้ายที่สุด ความคงอยู่ของความจริงอย่างถาวรอาจได้รับการยอมรับว่า

---------------
1 ตรรกะ, หน้าที่ 137., การแปลของวอลเลซ.
2 ท้ายที่สุดแล้ว คำถามนี้ไม่ได้ซ้ำซากหรือไร้เดียงสาอย่างที่คิด. ดูในหนังสือของ ซามวล บัตเลอร์ 'โชคหรือเล่ห์เหลี่ยม'.

.
.
55
เป็นผลงานที่ทรงประสิทธิผลต่อความคิดของมนุษย์ แม้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับนักคิดที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกตะวันตก เช่น เพลโตและอริสโตเติล ก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่นัก. เป็นเรื่องง่ายที่จะยิ้มให้กับโคลงอันวิจิตรงดงามของเพลโตหรือความดื้อรั้นที่น่าเบื่อหน่ายของเดส์การต01 หรือประสบการณ์เชิงประจักษ์อันแห้งผากของฮูม02 หรือความขัดแย้งอันน่าสับสนของเฮเกิล และไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราได้ประโยชน์จากการศึกษาผลงานของเหล่าปราชญ์นี้. ถึงกระนั้น แม้ความจริงอันสำคัญยิ่งของนักคิดชาวอินเดียเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่หล่อหลอมประวัติศาสตร์ของจิตใจมนุษย์ แต่ก็มีการสังเคราะห์ถึงแนวคิดที่เป็นระบบที่หยิบยกขึ้นมาโดย บาดรายณะ03 หรือ ศังกราจารย์ ซึ่งจะยังคงเป็นจุดสังเกตของความคิดมนุษย์และอนุสรณ์สถานของอัจฉริยบุคคล.1 

       สำหรับผู้ศึกษาชาวอินเดียที่ได้ศึกษาปรัชญาอินเดียเพียงอย่างเดียวนั้น ก็สามารถให้มุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับอดีตของอินเดียได้. ในปัจจุบัน โดยเฉลี่ยแล้วชาวฮินดูมองว่าระบบในอดีตของพวกเขา ได้แก่ พระพุทธศาสนา ลัทธิอทไวตะ ลัทธิทไวตะ นั้น ล้วนมีค่าควรและยอมรับเหตุผลได้เท่าเทียมกัน. ผู้เขียนระบบ (ระบบปรัชญาทั้งหก หรือ ษาฑทรรศนะ) ได้รับการบูชาเป็นพระผู้เป็นเจ้า. การศึกษาปรัชญาอินเดียจะนำไปสู่การกระจ่างของสถานการณ์ การรับเอาทัศนะที่สมดุลมากขึ้น และการปลดปล่อยจิตใจจากความรู้สึกที่ถูกกดข่มของความสมบูรณ์แบบของทุกสิ่งที่มีแต่เก่ากาล. อิสรภาพจากพันธนาการไปสู่การมีอำนาจ (อย่างอิสระ) นี้ เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การดิ้นรน. เมื่อภูมิปัญญาที่ (เคย) ตกเป็นทาสนั้นอิสระขึ้นมา ความคิดริเริ่มและความพยายามสร้างสรรค์อาจเป็นไปได้อีกครั้ง. อาจเป็นความโทมนัสสำหรับชาวอินเดีย

---------------
1 มีนักวิชาการชาวตะวันตกหลายท่านได้ตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาอินเดีย. "ในทางกลับกัน เมื่อเราได้ศึกษาความเคลื่อนไหวทางกวี และปรัชญาตะวันออกด้วยความสนใจแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดในอินเดียซึ่งเริ่มแพร่หลายในยุโรป เราได้พบความจริงแท้ที่มากหลายและความจริงแท้ที่ลึกซึ้ง การทำเช่นนี้ชั่งตรงข้ามกับความถ่อมตัวของผลลัพธ์ที่ได้ ที่ซึ่งบางครั้งแล้วบรรดาหัวกะทิชาวยุโรปก็นิ่งงัน ต่อการที่เราถูกบังคับให้งอเข่าไปยังเบื้องตะวันออก และได้เห็นดินแดนแห่งปรัชญาสูงสุดอันเป็นแหล่งกำเนิดแห่งเผ่าพันธุ์มนุษย์" (วิคเตอร์ คาซิน). "หากข้าพเจ้าถามตัวเองจากวรรณคดีใดแล้ว พวกเราอยู่ที่นี่ในยุโรป พวกเราได้รับการเลี้ยงดูบ่มเพาะแทบเฉพาะในความคิดของชาวกรีกและโรมัน เชื้อชาติเซมิติกกลุ่มหนึ่ง ก็คือชาวยิว อาจจะน้าวดึงแนวทางที่แก้ไขที่ต้องการมากที่สุดตามลำดับ เพื่อทำให้ชีวิตภายในของเรามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น เป็นสากลมากขึ้น ซึ่งอันที่จริงแล้ว เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่แท้ ไม่ใช่เพียงแค่ชีวิต (ในโลก) นี้เท่านั้น แต่เป็นชีวิตที่แปรสภาพและเป็นนิรันดร์ - อีกครั้ง ข้าพเจ้าควรชี้มายังอินเดีย" (มัคส์ มึลเลอร์).04  "ในบรรดาชาติที่มีปรัชญาและอภิปรัชญาของตน ควบคู่ไปกับการชอบมาแต่เดิมในการแสวงหาปรัชญานี้ เช่นในปัจจุบันก็มีการแสดงคุณลักษณะเฉพาะของชาวเยอรมัน และในสมัยโบราณก็มีความแตกต่างที่น่าภาคภูมิใจของกรีก ฮินดูสถาน ซึ่งคงเป็นอันดับแรกในช่วงเวลาหนึ่ง" (อ้างแล้ว.).

 มัคส์ มึลเลอร์ Max Müller (Friedrich Max Müller) ที่มา: sriramakrishna.in, วันที่เข้าถึง 27 พฤศจิกายน 2564.
นักอักษรศาสตร์ และนักบูรพคดีศึกษา ชาวเยอรมัน (6 ธันวาคม พ.ศ.2366 - 28 ตุลาคม พ.ศ.2443) 
.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01 เดส์การต หรือ เดส์กะร์ต์ (Descartes) หรือ เรอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นนักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในต้นยุคสมัยใหม่ของอารยธรรมตะวันตก โดยนอกจากจะเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่แล้ว เดการ์ตยังเป็นผู้บุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ โดยเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 25 พฤศจิกายน 2564.)
02 เดวิด ฮูม (David Hume) ชาวสก็อต (ชาตะ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2254 มรณะ 25 สิงหาคม พ.ศ.2319) เป็นนักประสบการณ์นิยม ท่านมีแนวคิดทางปรัชญาอย่างถึงรากถึงแก่น ผลงานที่สำคัญคือ ความเรียงว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์ (A Treatise of Human Nature).
03 บาดรายณะ (Bādarāyaṇa) มหาคุรุชาวอินเดีย คาดว่ามีอายุอยู่ประมาณ 500-200 ปีก่อนคริสตกาล ผลงานของท่านคือ พรหมสูตรที่มีหลากหลาย ท่านเขียนงานพื้นฐานของเวทานตสูตร กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ก่อตั้งระบบปรัชญาเวทานตะขึ้น.
04 มัคส์ มึลเลอร์ Max Müller (Friedrich Max Müller) ซึ่งพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เรียกท่านว่า "โมกษะมูลาจารย์", ที่มา: ส.ธรรมยศ จากหนังสือ "REX SIMEN SIUM หรือ พระเจ้ากรุงสยาม" หน้าที่ 23 สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, นนทบุรี, พิมพ์ครั้ง พ.ศ.2563  
.
.
56
ปัจจุบัน ที่ได้ทราบรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคแรกในประเทศตน. ชายชราจะปลอบใจตนด้วยเรื่องราวในวัยเด็ก และวิธีที่จะลืมปัจจุบันที่ไม่ดีด้วยการอ่านถึงสิ่งที่งดงามต่าง ๆ ในอดีต.
 
V
 
ช่วงเวลาแห่งวามคิดของชาวอินเดีย
 
      จำเป็นที่จะต้องให้เหตุผลบางประการสำหรับชื่อ "ปรัชญาอินเดีย" เมื่อเรากำลังถกถึงปรัชญาของชาวฮินดูที่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ ที่มีสถานที่ของพวกเขาในอินเดียด้วยนั้น. เหตุผลที่ชัดเจนที่สุดคือ (หนังสือเล่มนี้ สามารถ) ใช้งานได้ทั่วไป. ชาวอินเดียส่วนใหญ่ในทุกวันนี้เป็นชาวฮินดู. และในที่นี่เรากังวลกับประวัติศาสตร์ของชาวอินเดียที่คิดขึ้นจนถึงราวพุทธศักราช 1500-1600 หรือหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อโชคชะตาของชาวฮินดูเชื่อมโยงกับผู้ที่ไม่ใช่ชาวฮินดูมากขึ้นเรื่อย ๆ . 
       เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของความคิดอินเดีย ชนชาติที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่นได้นำของขวัญของพวกเขามาด้วย ทว่าพลังแห่งจิตวิญญาณอินเดียก็มีอิทธิพลต่อเหล่าชนชาตินี้ด้วยเช่นกัน. เป็นไปไม่ได้ที่เราจะแน่ใจถึงพัฒนาการตามลำดับเหตุการณ์ที่แน่นอนได้ แม้ว่าเราจะพยายามมองความคิดของชาวอินเดียจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ก็ตาม. หลักคำสอนของสำนักแนวคิดบางแห่งนั้น มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของสำนักตน ซึ่งต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน. มิฉะนั้นบรรดาสำนักแนวคิดเหล่านี้ก็จะเลิกสนใจเรา และก็จะกลายเป็นประเพณีที่ดับสูญไป. ระบบปรัชญาแต่ละระบบเป็นคำตอบสำหรับคำถามในเชิงบวก ซึ่งความเก่ากาลได้กำหนดไว้สำหรับแต่ละปรัชญาเอง และเมื่อพิจารณาจากมุมมองของตัวเองก็จะเห็นความจริงบางอย่างขึ้น. ปรัชญาไม่ใช่ชุดของข้อเสนอที่ได้สรุปไว้หรือเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แต่เป็นการแสดงออกและวิวัฒนาการทางจิตใจที่เราต้องมีชีวิตอยู่ และที่เราต้องมีชีวิตอยู่นั้น หากเพื่อต้องการทราบว่าระบบต่าง ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างไร. เราต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของปรัชญากับประวัติศาสตร์ ชีวิตที่มีภูมิปัญญากับสภาพสังคม1. วิธีการทางประวัติศาสตร์กำหนดให้เราไม่เข้าข้าง
---------------

1 ในกรอบคิดของวอลเตอร์ แพเตอร์นั้น. "เมื่อเห็นต้นสนที่บิดเบี้ยวประหลาด ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งแปลก ๆ ในธรรมชาติบนสนามหญ้าในประเทศอังกฤษ หากเราเปลี่ยนแนวคิดว่า ท่ามกลางพลังแห่งการแย่งชิงของกระแสน้ำอัลไพน์ที่หล่อหลอมการเติบโตอย่างแท้จริง รังสรรค์ให้เป็นสิ่งมีชีวิต ความจำเป็น ตรรกะของความเหมาะสม เมื่อสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องกับสภาวะแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความจริง" (เพลโต และเพลโตนิยม, หน้าที่ 10).
.
.
57
ในการโต้เถียงของสำนักแนวคิด  แต่ติดตามการพัฒนาด้วยความเย็นชาและเคร่งครัด.
       ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่อย่างดีพร้อมตามความสำคัญอันยิ่งใหญ่ของมุมมองทางประวัติศาสตร์ เราก็รู้สึกเสียใจจากการละเลยลำดับเวลาของงานเขียนเกือบทั้งหมด เราไม่สามารถระบุวันที่อันสัมพันธ์กันของระบบได้อย่างแม่นยำ. ธรรมชาติของชาวอินเดียโบราณนั้นไม่เป็นไปตามประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นปรัชญาที่ล้ำลึกมาก ซึ่งเรารู้เกี่ยวกับปรัชญามากกว่าปราชญ์. นับแต่เวลาประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ลำดับเหตุการณ์อยู่บนรากฐานที่ดีกว่า. รุ่งอรุณแห่งพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นพร้อมกับการขยายอำนาจของพวกเปอร์เซียไปยังแถบลุ่มน้ำสินธุ (The Indus) ภายใต้ราชวงศ์อคีเมนิเด (Achæmenidæ - ออกเสียง ak′ē-men′i-dē) ในเปอร์เซีย. กล่าวกันว่าเป็นแหล่งความรู้ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียทางตะวันตกที่ได้รับจากเฮคาเตอุส01 และเฮโรโดตุส02.

       ต่อไปนี้ขอแบ่งปรัชญาอินเดียอย่างกว้าง ๆ ไว้ดังนี้:

       (1) ยุคพระเวท (957-57 ปีก่อนพุทธศักราช หรือ 1500 ปีก่อนคริสตกาล - 600 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาของการตั้งถิ่นฐานของชาวอารยันและการขยายตัวและการแพร่กระจายของวัฒนธรรมและอารยธรรมอารยันทีละน้อย. เป็นเวลาที่เห็นการเติบโตของสำนักศึกษาในป่าเขาลำเนาไพร อันเป็นจุดเริ่มต้นของอุดมคติที่สูงส่งของอินเดีย. เราสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นชั้นของความคิดที่ต่อเนื่องกัน มีความหมายโดยมนต์ของบทสวด บรรดาพวกพราหมณ์ และคัมภีร์อุปนิษัท. ในแง่มุมทางเทคนิคของคำนั้น ความคิดเห็นที่หยิบยกขึ้นในยุคนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นปรัชญา. เป็นยุคของการจัดรวมกลุ่ม ซึ่งความเชื่อทางไสยศาสตร์และความคิดยังขัดแย้งกันอยู่. แต่เพื่อให้เกิดระเบียบและความต่อเนื่องในเรื่องนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับแนวคิดบทสวดของฤคเวท และอภิปรายถึงมุมมองของคัมภีร์อุปนิษัท.

       (2) ยุคมหากาพย์ (ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 57 ปี - พ.ศ.343 หรือ 600 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ.200) แผ่ขยายมีพัฒนาการในช่วงระหว่างคัมภีร์อุปนิษัทระยะแรกและยุคทรรศนะหรือระบบต่าง ๆ ของปรัชญา. มหากาพย์รามายาณะและมหาภารตะยุทธได้ทำหน้าที่เป็นยานในการถ่ายทอดข่าวสารใหม่ที่เกี่ยวกับวีรบุรุษและความเป็นเทพในรูปของมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กัน. ในช่วงเวลานี้ เรายังมีแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ด้านประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาและภควัทคีตา. มีระบบศาสนาของพระพุทธศาสนา เชน ไศวนิกาย ไวษณพนิกาย ขึ้นในยุคนี้. การพัฒนาความคิดเชิงนามธรรมมาถึงจุดสูงสุด

หมายเหตุ คำอธิบาย
01 เฮคาเตอุส (Hecateus) หรือ Hecataeus นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก (ราว พ.ศ.7-67 หรือ ก่อน ค.ศ.550-476).
02 เฮโรโดตุส (Herodotus) นักเขียน นักภูมิศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก (ราว พ.ศ.59-118 หรือ ก่อน ค.ศ.484-425).
.
.
58
ในสำนักปรัชญาอินเดีย ซึ่งมีทรรศนะ (ระบบปรัชญาด้านพราหมณ์-ฮินดู-The Brahmanical Systems) ขึ้นในยุคนี้. ระบบปรัชญาแทบทั้งหมดล้วนมีจุดเริ่มต้นในช่วงแรกของยุคอรุณรุ่งแห่งพระพุทธศาสนา และเหล่าปรัชญานี้ก็ได้พัฒนาเคียงข้างไปด้วยกันตลอดหลายศตวรรษ ทว่างานปรัชญาที่เป็นระบบของสำนักแนวคิดต่าง ๆ นั้น ยังคงเป็นของยุคหลัง.
 
เอกสารตัวเขียนภาษาสันสกฤตของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (พระพุทธศาสนา) จากเตอร์กิสถานใต้ในอักษรพราหมี, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 4 ธันวาคม 2564.
.
       (3) ยุคพระสูตร (ตั้งแต่ พ.ศ.200) ได้ถือกำเนิดถัดมา มวลเนื้อหาสารัตถะได้เติบโตมากจนยากที่ควบคุม จนพบว่าจำเป็นต้องจารร่างเขียนเค้าโครงมวลเนื้อหาปรัชญานี้ไว้. การย่อและการสรุปเนื้อหานี้เกิดขึ้นในรูปแบบของพระสูตร. พระสูตรเหล่านี้ยากที่จะทำความเข้าใจหากไม่มีคำอธิบายประกอบ จนกระทั่งคำอธิบายนี้มีความสำคัญมากกว่าตัวพระสูตรเสียเอง. ในยุคนี้ เรามีทัศนคติเชิงวิจารณ์ในการอภิปรายเชิงปรัชญาอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นที่ซึ่งจิตไม่ได้รับสิ่งที่บอกไปอย่างเฉยเมย แต่ครุ่นคิดไปรอบ ๆ สิ่งที่ได้รับทราบนี้ด้วย ก่อให้เกิดการโต้แย้งและมีการตอบคำถามไว้ไม่น้อย. ด้วยสัญชาติญาณการแสวงหาความสุข บรรดานักคิดจึงใช้หลักการทั่วไปบางอย่าง ซึ่งดูเหมือนว่าพวกเขาจะอธิบายทุกแง่มุมของจักรวาลได้. การสังเคราะห์เชิงปรัชญาไม่ว่าจะลึกซึ้งและเฉียบแหลมเพียงใด เราก็ได้รับความเดือดร้อนโดยตลอดจากข้อบกพร่องของการก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ในแง่มุมด้านศัพท์ของพวกนิยมแนวคิดของค้านท์ (The Kantian)01. โดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาเชิงปรัชญามาก่อน จิตใจก็มองดูโลก (อย่างตกผลึก) และได้ข้อสรุป. ความพยายามก่อนหน้านี้ในการทำความเข้าใจและตีความโลกนี้ ไม่ใช่ความพยายามเชิงปรัชญาอย่างเคร่งครัด เนื่องจากพวกเขามิได้วิตกกับความเข้มงวดใด ๆ เกี่ยวกับความสามารถของจิตใจมนุษย์หรือประสิทธิภาพของเครื่องมือและเกณฑ์วิธีการใช้งาน. ดังที่แคร์ด02 กล่าวไว้ จิตใจก็ "ยุ่งเกินกว่าจะสนใจวัตถุ."1 เมื่อเราก้าวมาศึกษาพระสูตร เราก็มีความคิดและการไตร่ตรอง อิสระจากความประหม่า. ในบรรดาระบบ (ปรัชญา) เองนั้น เราไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ระบบไหนมาก่อนระบบไหนมาหลัง. มีการอ้างอิงโยงกันตลอด. ปรัชญาโยคะยอมรับปรัชญาสางขยะ. ปรัชญาไวเศษิกะตอบรับทั้งปรัชญานยายะและปรัชญาสางขยะ. ปรัชญานยายะก็อ้างอิงถึงปรัชญาเวทานตะและปรัชญาสางขยะ. ปรัชญามีมางสาก็ตอบรับทั้งโดยตรงและโดยอ้อมถึงการมีอยู่มาก่อนของทุกปรัชญา. ปรัชญาเวทานตะด้วยก็เช่นกัน. ศาสตราจารย์การ์เบ ถือว่าปรัชญาสางขยะเป็นสำนักแนวคิดปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุด. ถัดจากนั้น
---------------
1 ปรัชญาวิพากษ์ของค้านท์, เล่มที่ 1. หน้าที่ 2.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01 พวกนิยมแนวคิดของค้านท์ (The Kantian) หมายถึง บรรดาผู้นิยมปรัชญาของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) (พ.ศ.2267-2347/ ค.ศ.1724-1804) นักปรัชญาชาวเยอรมัน มีแนวคิดด้านปรัชญาแห่งจิตใจ (philosophy of mind) แนวคิดด้านจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) - ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology)-ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ และ จริยธรรม (Ethics).
02 เอ็ดเวิร์ด แคร์ด (Edward Caird) นักปรัชญาชาวสก็อต (23 มีนาคม พ.ศ.2378 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2451) เขาสนับสนุนแนวคิดของเฮเกิล (สำนักแนวคิดจิตนิยม (idealism) - ความคิดเรื่องจิตหรือจิตวิญญาณ (Geist หรือบางครั้งแทนด้วยคำว่า mind) ในฐานะที่จิตวิญญาณจะแสดงตัวตนออกในรูปของประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งดำเนินการไปบนหลักการของวิภาษวิธีหรือหลักคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีความขัดแย้งระหว่างบทตั้งต้น (thesis) กับบทแย้ง (antithesis) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ใหม่หรือบทสรุป (synthesis)
.
.
59
ก็เป็นปรัชญาโยคะ ตามด้วยปรัชญามีมางสาและปรัชญาเวทานตะ ท้ายที่สุดของระบบปรัชญาทั้งหมดคือปรัชญาไวเศษิกะและปรัชญานยายะ. ในยุคพระสูตรนี้ ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ชัดเจนนักจากสำนักศึกษาปรัชญาของผู้ให้ความเห็นที่มีคำอธิบายประกอบ (ระหว่างตัวปรัชญากับคำอธิบายประกอบ). ทั้งสองสิ่งได้ขยาย (องค์ความรู้และแนวคิด) กันออกไปจนถึงปัจจุบัน.

       (4) ยุคสำนักแนวคิดปรัชญา มีขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศักราช (ตั้งแต่ ราว พ.ศ.343). เป็นไปไม่ได้ที่เราจะขีดวาดเส้นที่ยากและรวดเร็วระหว่างเส้นนี้กับเส้นก่อนหน้า ถึงกระนั้นก็ตามมีชื่อของมหาปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ ดังนี้ กุมาริลละ01 ศังกราจารย์02 ศรีธระ03 รามานูชาจารย์04 มาธวะ05 วาจัสปติ06 อุทัยนะ07 ภาสกระ08 ชยันตะ09 วิชญาณภิกษุ10 และ รกูนาทะ11. ในไม่ช้าวรรณกรรมก็กลายเป็นการโต้เถียงกันอย่างไม่ลดราวาศอก. เราพบกลุ่มผู้ศึกษา นักโต้เถียงที่ส่งเสียงเอะอะโวยวายในทฤษฎีที่ละเอียดอ่อนเกินไป และการโต้เถียง (ในเนื้อหา) ที่ละเอียดยิบ ผู้ต่อสู้กันอย่างดุเดือดไกลเกินกว่าธรรมชาติของจักรวาลเชิงตรรกะ. นักวิชาการชาวอินเดียหลายท่านกลัวการเปิดตำรา ซึ่งมักจะสร้างความสับสนมากกว่าการให้ความรู้แก่เรา. ไม่มีใครปฏิเสธความน่ารักและความกระตือรืนร้นของกลุ่มผู้ศึกษาได้ แทนที่จะใช้ความคิด เรากลับพบคำศัพท์ต่าง ๆ แทนที่จะเป็นการสับเปลี่ยนปรัชญากัน. ความคลุมเครือของความคิด ความละเอียดอ่อนของตรรกะ การไม่ยอมรับอารมณ์ ถือเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์ประเภทที่แย่ที่สุด. แน่นอนว่ามีนักวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีกว่านั้น ค่อนข้างมีคุณค่าพอ ๆ กับนักคิดในสมัยโบราณ. นักวิจารณ์เช่น ศังกราจารย์ และรามานูชาจารย์ กล่าวถึงหลักคำสอนเก่า และการทบทวนใหม่นั้น ก็มีค่าพอ ๆ กับการค้นพบทางจิตวิญญาณ.

        มีประวัติปรัชญาอินเดียบางส่วนที่เขียนขึ้นโดยนักคิดชาวอินเดีย. ผู้วิพากษ์วิจารณ์ที่มีขึ้นภายหลังเกือบทั้งหมดนั้น ได้ให้มุมมองของตนที่ได้มาจากการสนทนาวิพากษ์เกี่ยวกับหลักคำสอนอื่น ๆ . ด้วยวิธีนี้ นักวิพากษ์วิจารณ์ทุกท่านจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้แนวคิดเกี่ยวกับมุมมองต่าง ๆ . บางครั้งก็มีความเพียรพยายามอย่างสงบมีสติในการจัดการกับระบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง. หัวหน้าผู้จัดทำรายงาน "ประวัติศาสตร์" บางท่าน อาจได้รับการกล่าวถึงในที่นี้. ษาฑทรรศนะสามัคยาจารย์-Ṣaḍdarśanasamuccaya, หรือสิ่งที่ดีเลิศของหกระบบ (ปรัชญา) อันเป็นงานประพันธ์ของหริภทรา.1,12

---------------
1 มิสเตอร์ บาร์ธกล่าวว่า: "หริภทรา ที่ทราบกันเป็นประเพณีว่าได้อนิจกรรมเมื่อก่อน พ.ศ.14 ปี หรือ ค.ศ.529 นั้น แต่ก็มีหลักฐานที่แน่ชัดกว่านั้นว่าท่านมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 14 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีผู้กล่าวไว้ไม่น้อยว่าท่านเปลี่ยนจากนับถือพราหมณ์มาเป็นเชน. ท่านยังคงมีชื่อเสียงในฐานะผู้เขียน "หนึ่งพันสี่ร้อยงานประพันธ์-Fourteen Hundred Prabandhas" (บทของผลงาน) และดูเหมือนว่าท่านจะเป็นหนึ่งในปราชญ์กลุ่มแรก ๆ ที่นำภาษาสันสกฤตมายังวรรณกรรมเชิงวิชาการของศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร. ด้วยหกระบบนี้ บรรดาพราหมณ์ได้เข้าใจถึง สองมีมางสา สางขยะ และโยคะ นยายะ และไวศษิกะ. ในอีกมุมหนึ่งนั้น หริภทราได้แสดงอรรถาธิบายภายใต้นิกายปรัชญาเหล่านี้ไว้สั้นมากในแปดสิบเจ็ดโศลก แต่ค่อนข้างเป็นกลางในหลักการสำคัญของพุทธมากะ ผู้นับถือเชน และศิษยานุศิษย์ของปรัชญานยายะ
หมายเหตุ คำอธิบาย
01 กุมาริลละ หรือ กุมาริลละภณ (Kumārila Bhaṭṭa) ประมาณ พ.ศ.1243 หรือ ค.ศ.700 เป็นปราชญ์สำนักปรัชญามีมางสา.
02 ศังกราจารย์ (Śaṁkara) หรือ Adi Shankara ท่านกำเนิดที่เมืองคาลาดี อาณาจักรเชระ ประมาณ พ.ศ.1343 หรือ ค.ศ.ที่ 8 อนิจกรรมที่เมืองเคดาร์นาท อาณาจักรกูรจะระ-ประทิหระ ประมาณ พ.ศ.1393 หรือ ค.ศ.750 เป็นปราชญ์และนักเทววิทยา ผลงานของท่านส่งผลกระทบอย่างมากต่อหลักคำสอนของอทไวตะ เวทานตะ ท่านได้ก่อตั้งสี่อาราม (Mathas) ซึ่งเชื่อกันว่าได้ช่วยพัฒนาฟื้นฟูประวัติศาสตร์ การขยายแนวคิดด้านอทไวตะ เวทานตะ. (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 02 ข.บทนำ: ภควัทคีตา)
03 ศรีธระ (Śrīdhara) หรือ ศรีธระ อาจารยะ (Śrīdhara Ācāryya) ท่านมีชีวิตในช่วง พ.ศ.1413-1473 หรือ ค.ศ.870-930 ท่านถือกำเนิดแถบเบงกอลตะวันตก เป็นนักคณิตศาสตร์ บัณฑิตด้านภาษาสันสกฤต และนักปรัชญา. 
04 รามานูชะ หรือ รามานูชาจารย์ (Rāmānuja or Ramanujacharya) ท่านกำเนิดที่เมืองศรีเปรัมบูดูร์ (ปัจจุบันคือเมืองทมิฬ นาดู) อาณาจักรโชละ อินเดียใต้ 25 เมษายน พ.ศ.1560 หรือ ค.ศ.1017 อนิจกรรมที่เมืองศรีรันคัม อาณาจักรโชละ พ.ศ.1680 หรือ ค.ศ.1137 สิริ 120 ปี ท่านเป็นปราชญ์อินเดีย นักปฏิรูปสังคม และพัฒนาหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดของประเพณีด้านศรีไวษณพนิกายของศาสนาฮินดู รากฐานทางปรัชญาของท่านเป็นข้อคิดทางวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการภักติ (Bhakti Movement). (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 03 ข.บทนำ: ภควัทคีตา)
05 มาธวะ (Madhva หรือ Mādhva) หรือ มาธวะอาจารยะ (Madva Acharya) ท่านถือกำเนิดบนชายฝังตะวันตกของรัฐกรณาฎกะ พ.ศ.1781 หรือ ค.ศ. 1238 และอนิจกรรมในพ.ศ.1860 บ้างก็ว่า พ.ศ.1821 (หรือ ค.ศ.1317 บ้างก็ว่า ค.ศ.1278) สำนักปรัชญาอทไวตะ เวทานตะ.
06 วาจัสปติ (Vācaspati) หรือ วาจัสปติ มิศระ (Vācaspati Miśra) ท่านถือกำเนิดที่เมืองมถิลา (ปัจจุบันคือพิหาร อินเดีย) พุทธศตวรรษที่ 14-15 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 9-10 และอนิจกรรมในพุทธศตวรรษที่ 14-15 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 9-10 สำนักปรัชญาอทไวตะ เวทานตะ.
07 อุทยนะ หรือ อุทัยนะ (Udayana) หรือ อุทยนาจารย์ หรือ อุทัยนาจารย์ (
Udayanācārya) 
 ท่านถือกำเนิดที่เมืองมถิลา (ปัจจุบันคือพิหาร อินเดีย) มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ.1518-1593 หรือ ค.ศ.975-1050 เป็นปราชญ์คนสำคัญของปรัชญานยายะ.
08 ภาสกระ (Bhāskara) หรือ ภัสการยาจารย์ (
Bhāskarāchārya) มีชีวิตระหว่าง พ.ศ. 1657-1728 หรือ ค.ศ.1114-1185 ท่านเป็นนักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ 
09 ชยันตะ (Jayanta) หรือ ชยันตะ ภัฏฏะ (Jayanta Bhaṭṭ
a) มีชีวิตระหว่าง พ.ศ.  หรือ ค.ศ.820-900 ที่เมืองศรีนาคาร์ ท่านเป็นนักประพันธ์บทกลอนชาวแคชเมียร์ (แคชมีริ) เป็นครู นักตรรกะ และที่ปรึกษาของกษัตริย์ เป็นปราชญ์ในสำนักปรัชญานยายะ.
10 วิชญาณภิกษุ (Vijñānabhikṣu) เป็นปราชญ์จากเมืองพิหาร แคว้นมคธ มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 มีชื่อเสียงจากการอธิบายให้ความเห็นในสำนักปรัชญาโยคะของปตัญชลิฤๅษี. แนวคิดของเขามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรัชญาเวทานตะ โยคะ และสางขยะ และถือว่าท่านมีอิทธิพลสำคัญต่อการเคลื่อนไหวกลุ่มนีโอ-เวทานตะ.
11 รกูนาทะ (Raghunātha) ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ.934-1004 หรือ ค.ศ.1477-1547 แถบเบงกอลตะวันตก เขาได้พัฒนาสำนักปรัชญาขึ้นใหม่ ในกลุ่มแนวคิดปรัชญานยายะ ชื่อว่า Navya Nyāya อันมีแนวคิดว่าสำนักปรัชญานี้เป็นตัวแทนของการพัฒนาขั้นสุดท้ายของตรรกะอย่างเป็นทางการของอินเดีย ไปสู่จุดสูงสุดของพลังการวิเคราะห์.

Haribhadra, ที่มา: thestupa.com, วันที่เข้าถึง 6 ธันวาคม 2564.

.
12 หริภทรา หรือ หริภัทรา (Haribhadra) หรือ อาจารย์ หริภัทรา ซุริ (Aacharya Haribhadra Suri) ท่านเป็นนักพรตในศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร (ยังมีข้อขัดแย้งเรื่องวันเกิด) ท่านมีชีวิตในช่วงก่อน พ.ศ.84-14 หรือ ค.ศ.459-529 ท่านประพันธ์หนังสือไว้หลายเล่มด้านโยคะ ศาสนาเปรียบเทียบ โดยได้สรุปวิเคราะห์ทฤษฎีของชาวฮินดู พุทธมามกะ และผู้นับถือเชนไว้.
.
.
60
สมันตภทรา ผู้เป็นนักพรตศาสนาเชน นิกายทิคัมพรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 14 นั้น กล่าวกันว่าได้ประพันธ์งานชื่อ อาปตมีมางสา (Āptamīmāṁsā) ซึ่งประกอบด้วยการทบทวนแนวคิดของสำนักปรัชญาต่าง ๆ .1 พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ลัทธิมาธยมิกะมีนามว่า ภาววิเวกะ (Bhāvaviveka - บ้างก็เรียกภาวิเวก) ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพันธ์งานที่เรียกว่า ตาร์คัชวาลัย (Tarkajvāla)01 ซึ่งได้วิพากษ์สำนักปรัชญามีมางสา สางขยะ ไวเศษิกะ และเวทานตะไว้. กล่าวกันว่ามีนักพรตในศาสนาเชน นิกายทิคัมพรชื่อ วิทยานันทะ (Vidyānanda) ได้เขียนในงานของเขาที่ชื่อว่า อษัฎสาหศรี (Aṣṭasāhasrī) และมีนักพรตในศาสนาเชน นิกายทิคัมพรอีกท่านหนึ่งชื่อ เมรุตุงคะ (Merutuṅga) ได้เขียนในงานของท่านใน ษาฑทรรศนะวิจารณ์ (Ṣaḍdarśanavicāra) (ราว พ.ศ.1843 หรือ ค.ศ.1300) ได้กล่าววิพากษ์ระบบศาสนาฮินดู. เรื่องราวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของปรัชญาอินเดียคือ สรวทรรศนะสังเคราะห์ (Sarvadarśanasaṁgraha)02 โดยเวทานติน มาธวะอาจารยา (Vedāntin Mādhavācārya)03 ผู้เป็นที่รู้จักกันดี ท่านมีชีวิตในพุทธศตวรรษที่สิบเก้า (หรือคริสต์ศตวรรษที่สิบสี่) ในอินเดียใต้. ซึ่งผลงานคัมภีร์สรวทรรศนะสังเคราะห์นี้ ได้ถูกส่งมอบหมายให้ศังกราจารย์2 และปรสธานภีทะ (Prasthānanabheda)04 โดยมหาคุุรุมัทสุธาณะ สรัสวตี (Madhusūdana Sarasvatī)05, 3 ซึ่งมีเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อปรัชญาต่าง ๆ .
---------------

ผู้นับถือปรัชญาสางขยะ ผู้นับถือปรัชญาไวเศษิกะ และผู้นับถือปรัชญามีมางสา. ดังนั้นท่านจึงเลือกจัดตั้งสำนักศึกษาปรัชญาของท่านเองและผู้ที่มีความใกล้ชิดกับศาสนาเชน ทำให้ท่านและกลุ่มที่สนับสนุนศรัทธาอยู่ท่ามกลางบรรดาศัตรูที่ยิ่งใหญ่คือ พุทธมามกะและผู้ดำเนินการทางพิธีกรรมของสำนักปรัชญาของฤๅษีไชยมิณิ (ปรัชญามีมางสา). ท้ายที่สุด ท่านหริภทราได้จับคู่กับโลกายัต (Lokāyatikas หรือจารวาก - ดูหน้าที่ 48 ตอนท้าย หมายเหตุและการขยายความ ข้อที่ 2.1), นักวัตถุนิยมที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า ซึ่งมิใช่เกี่ยวกับนิกายที่มีความคลั่ง และด้วยวิจารณญาณของตนเองเท่านั้น แต่ก็เป็นไปตามความคิดเห็นที่แพร่หลายในสมัยนั้น แม้แต่ในหมู่พราหมณ์" (อินเดียน แอนตีควารี, หน้า 66, พ.ศ.2438).
1 วิทยาภูชานะ, ระบบยุคกลางของตรรกะอินเดีย (Mediæval Systems of Indian Logic), หน้า 23.
2 ข้อมูลอาจจะไม่ถุกต้อง ดู คีธ : ตรรกะอินเดีย, หน้า 242, เอ็น. 3.
3 ดู มัคส์ มึลเล่อร์, ระบบทั้งหก, หน้า 75 ถึง 84.  

หมายเหตุ คำอธิบาย
01 ตาร์คัชวาลัย (Tarkajvāla) แปลว่า เปลวไฟแห่งเหตุผล (The Flame of Reason).
02 สรวทรรศนะสังเคราะห์ (Sarvadarśanasaṁgraha) ดูหน้าที่ 48 ตอนท้าย หมายเหตุและการขยายความ ข้อที่ 2
03 เวทานติน มาธวะอาจารยา (Vedāntin Mādhavācārya) (ดูหน้าที่ 48 ตอนท้าย หมายเหตุและการขยายความ ข้อที่ 2) ซึ่งท่านมีชีวิตระหว่าง พ.ศ.1839- 1929 หรือ ค.ศ.1296-1386.
04 ปรสธานภีทะ (Prasthānanabheda) ดูหน้าที่ 48 ตอนท้าย หมายเหตุและการขยายความ ข้อ 6)
05. มหาคุุรุมัทสุธาณะ สรัสวตี (Madhusūdana Sarasvatī) (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 24 ค.บทนำ: ภควัทคีตา)
.
.
.


 
info@huexonline.com