MENU
TH EN

01. กลุ่มปราสาทหมีเซิน

Title Thumbnail & Hero Image: ภาพปราสาทหมีเซิน ถ่ายไว้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. 
01. กลุ่มปราสาทหมีเซิน02.
First revision: Apr.19, 2020
Last  change: Aug.29, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง ปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     กลุ่มปราสาทหมีเซิน (Mỹ sơn) เป็นกลุ่มปราสาทจัมปาที่มีความสำคัญที่สุด สามารถกล่าวได้ตรง ๆ ว่าเป็นหัวใจและจิตวิญญาณของอาณาจักรจัมปา ที่มีอายุราวพันกว่าปี (จากคริสต์ศตวรรษที่ 4-14) กลุ่มปราสาทอยู่ในหุบเขาที่ลึกและแคบใกล้กับหมู่บ้านหมีเซิน ในชุมชนถี่ตัน (Duy Tân) ย่านถี่ซูเยิน (Duy Xuyên) จังหวัดกว่างนัม (Quảng Nam)01. หุบเขาโค้วเกือบจะเป็นวงกลม, มีรัศมีราว 2 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองดานังราว 68 กิโลเมตร, กลุ่มปราสาทอยู่ภายในหุบเขาที่เทือกเขามีความสูงระหว่าง 120 ถึง 350 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ "ยอดเขาฟันแมว - Răng Mèo - Cat's Teeth". หุบเขาได้ประมวลลำเลียงสายน้ำจากฝนที่ตกเซาะลงมาเป็นลำธารที่ชื่อว่า "สุยเท่ - Suối Thể". กระแสน้ำได้่ไหลวกขึ้นไปทางเหนือ ลงสู่แม่น้ำธูโบน (Thu Bồn). มีจารึกบนศิลาในกลุ่มปราสาทหมีเซินของพระเจ้าภทรวรมเทวะ (Bhadravarman) อธิบายว่า "ดินแดนที่มี (ขอบเขต ได้แก่) ภูเขาซูลาฮาทางทิศตะวันออก ภูเขาที่ยิ่งใหญ่ทางตอนใต้ ภูเขาคูคากาทางตะวันตกและแม่น้ำใหญ่ทางตอนเหนือ".

ภาพหนึ่งในเทือกเขาสูง รอบ ๆ กลุ่มปราสาทหมีเซิน, ถ่ายไว้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563.

     กลุ่มปราสาทหมีเซินทั้งหมดนี้ มีไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบวิหาร. พบจารึกศิลามากมายในบริเวณกลุ่มปราสาทหมีเซิน. ซึ่งจารึกนี้สามารถระบุได้ว่าเป็นจารึกที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 14. ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ของอาณาจักรจัมปา. มีจารึกโบราณรวม 31 หลักที่พบในบริเวณกลุ่มปราสาทหมีเซิน, อันมากกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนจารึกโบราณทั้งหมดของอาณาจักรจัมปา. จารึกที่ประดิษฐ์ในช่วงรัชกาลพระเจ้าภทรวรมเทวะ กล่าวว่าวิหารแห่งแรกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4. พระองค์เรียกพระนามเทพเจ้าว่า ภัทเรศวรามสวามี (Bhadresvaramsvami). ในขณะที่มหาเทพพระศิวะนั้นได้รับการขนานนามว่าภัทเรศวร (Bhadresvara)
    




ที่มา คำศัพท์ และ คำอธิบาย:

01. จาก. "Mỹ sơn Relics" โดย โง วัน ไดห์ (Ngô Văn Doanh) สำนักพิมพ์เต่ เก้ย (THẾ GIỚI), ฮานอย ปี 2019.
02.  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ด้น และค้นหาอาณาจักรจัมปา
humanexcellence.thailand@gmail.com