MENU
TH EN

III. อาณาจักรพระนครโบราณ: สมัยเมืองพระนคร (ตอนปลาย) - หลังสมัยเมืองพระนคร

Title Thumbnail: หน้าบันหนึ่งในกลุ่มปราสาทบันทายสรี ถ่ายไว้เมื่อ 8 มิถุนายน 2561 & Hero Image: มหาปราสาทนครวัด ถ่ายไว้เป็นภาพขาวดำเมื่อ 22 ตุลาคม 2561.
III. อาณาจักรพระนครโบราณ: สมัยเมืองพระนคร (ตอนปลาย) - หลังสมัยเมืองพระนคร
First revision: May 08, 2021
Last change: Nov.01, 2021

สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     หลังสมัยเมืองพระนคร (บ้างก็เรียก Post-Angkorian Period นั้น) เริ่มนับตั้งแต่ เจ้าพระยาญาติ (ចៅពញាយ៉ាត เจาพญาย̎าต) ทรงละทิ้งนครธมไปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งในบล็อกนี้ จะขอกล่าวบรรยายไว้ต่อจากสมัยพระเจ้าชัยวรมเทวะปรเมศวร (พระบรมลำพงษ์ราชา) แห่งเมืองพระนคร จนถึงสิ้นสุดยุคเมืองพระนคร ซึ่งสยามเทศะ อันเป็นชนชาติแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้ามาปกครองและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง สันนิษฐานต่อเนื่องได้ถึงการมีส่วนล่มสลายของเมืองพระนคร อยู่มิน้อย.
 
 สมัยอยู่ภายใต้การปกครองของสยามเทศะ01.
 สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา 
 นครธม (พ.ศ.1896-พ.ศ.1931)
 ช่วงเวลา  เหตุการณ์ ความสัมพันธ์/เหตุการณ์ Timeline เทียบกับสยามเทศะ02  หมายเหตุ
พ.ศ.1896  สยามเทศะตีนครธมแตก แต่เมืองนครธม ก็ยังมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์สืบต่อไป  พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยา พ.ศ.1893 ต่อมาอีก 3 ปี ก็ให้สมเด็จพระราเมศวรพระโอรสไปตีเมืองกัมพูชา และให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกทัพไปช่วย  ในบางเอกสาร การศึกที่พระเจ้าอู่ทองทรงชนะศึกครั้งนี้ จึงได้ตั้งเมือง "อู่ทองมีชัย" ขึ้น (อุดรมีชัย) เพื่อประกาศชัยชนะเหนือกัมพูชา มีประเด็นที่น่าสนใจ ทำไมพระเจ้าอู่ทองซึ่งเพิ่งทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาได้ไม่นานนัก จึงรีบยกทัพปราบพระบรมลำพงศ์ที่เมืองนครธม? มีความใกล้ชิดกันแล้วแตกแยกแค้นเคืองกันภายหลังหรือเปล่า ?
 พ.ศ.1896-1898  พระบากระษัตร (บ้างก็เรียก ปาสัต)  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ.1893-1912) ต่อด้วยสมัยสมเด็จพระราเมศวร ครั้งที่ 1 (พ.ศ.1912-1913)  พระโอรสของพระบรมลำพงศ์
 พ.ศ.1898-1900  พระบาอัฐ  
พ.ศ.1900-1900  พระดำบองพิท  
 พ.ศ.1900-1909  พระศรีสุริโยวงษ์  
พ.ศ.1909-1913  พระบรมรามา  
พ.ศ.1913-1916  พระธรรมโศกราช  ตรงกับสมัยขุนหลวงพะงั่ว (พ.ศ.1913-1931)
 
 
 พ.ศ.1916  สยามเทศะตีนครธมแตก แต่กัมพูชายังมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป  
 พ.ศ.1916  พระอินทราชา  
 พ.ศ.1916-1931  พระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 หรือ พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ (Barom Reachea I)  
 กรุงจตุรมุข (พ.ศ.1931-พ.ศ.2083) 
พ.ศ.1931-1976   พระบรมราชารามาธิบดีที่ 2 หรือ พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ (Barom Reachea II)   ตรงกับสมัยสมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พ.ศ.1938-1952) ต่อด้วยเจ้าสามพระยา (พ.ศ.1967-1991)  ย้ายมายังกรุงจตุรมุข พระยาญาติทรงปกครองต่อ
 พ.ศ.1976-1980  พระนารายณ์รามาธิบดี  
พ.ศ.1980-2011  พระศรีราชาและพระศรีสุริโยไทยราชา  ตรงกับสมัยเจ้าสามพระยา ถึง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (....พ.ศ.2072)  แย่งราชสมบัติกัน
พ.ศ.2011-2047  พระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี  
พ.ศ.2047-2055  พระศรีสุคนธบท  
พ.ศ.2051-2081  เจ้ากอง  ตรงกับสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2089)  ก่อกบฏ
พ.ศ.2059-2083  เจ้าพระยาจันทราชา  
 กรุงละแวก (พ.ศ.2083-พ.ศ.2140)
 พ.ศ.2083-2109  เจ้าพระยาจันทราชา ตรงกับสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2089) ถึงสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พ.ศ.2112-2133)  เจ้าพระยาจันทรราชา ทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงละแวก
พ.ศ.2109-2119  สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก - Barom Reacha III)  
พ.ศ.2119-2137  สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา)   ตรงกับสมัยสมเด็จพระนเรศ (พ.ศ.2133-2148)  ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส
 พ.ศ.2137  สยามเทศะตีเมืองละแวกแตก แต่ยังมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป  มีบันทึกแสดงไว้ อ้างจากการบรรยายของ อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร "ล้านนามหาปกรณัม" เมื่อเดือนมีนาคม 2564. ทหารไทยใช้กลวิธีโรยเงินทองไว้หน้าประตูเมืองละแวก ทหารละแวกเผลอและย่ามใจ เปิดประตูเมืองมาเก็บเงินทอง จึงเสียทีแก่ทหารสยามเทศะของพระนเรศ
พ.ศ.2137-2139  พระเชษฐาแห่งเจิงเปรย (Chettha Chung Prey)  
พ.ศ.2139-2140  พระบรมราชารามาธิบดีที่ 3 (Barom Reacha III)  
 กรุงศรีสุนทร (พ.ศ.2140-พ.ศ.2162)
พ.ศ.2140-2142  พระบรมราชารามาธิบดีที่ 3 (Barom Reacha III) ตรงกับสมัยสมเด็จพระนเรศ (พ.ศ.2133-2148)  พระบรมราชารามาธิบดีที่ 3 ทรงย้ายเมืองหลวงมากรุงศรีสุนทร
พ.ศ.2142-2143  เจ้าพระยาญม (Chau Ponhea Nhom)  
พ.ศ.2143-2145  พระแก้วฟ้าที่ 1  
พ.ศ.2144-2161  พระบรมราชารามาธิบดีที่ 4 (Barom Reacha IV)  ตรงกับสมัยพระเอกาทศรถ (พ.ศ.2148-2153)  
พ.ศ.2161-2162  พระไชยเชษฐาที่ 1 (Chettha I)  
 กรุงอุดงฦๅไชย (พ.ศ.2162-พ.ศ.2384)
พ.ศ.2162-2170  พระไชยเชษฐาที่ 1 (Chettha I) ตรงกับสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2154-2171)  พระไชยเชษฐาที่ 1 ทรงย้ายเมืองหลวงมากรุงอุดงฦๅไชย
พ.ศ.2170-2177  พระศรีธรรมราชาที่ 1 (Thommo Reachea I)  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช-พระอาทิตยวงศ์-พระเจ้าปราสาททอง-สมเด็จเจ้าฟ้าไชย-สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ.2171-2199)  
พ.ศ.2178-2182  พระองค์ทรงราชาธิราชธิบดี  
พ.ศ.2182-2184  พระปทุมราชาที่ 1  
พ.ศ.2184-2201  พระรามาธิบดีที่ 1  
พ.ศ.2202-2215  พระปทุมราชาที่ 2  ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)  
พ.ศ.2215-2216  พระปทุมราชาที่ 3  
พ.ศ.2216-2219  พระแก้วฟ้าที่ 2  
พ.ศ.2219-2230  พระไชยเชษฐาที่ 2 รัชสมัยที่ 1 (Chettha II)  
พ.ศ.2230-2231  ว่างกษัตริย์  
พ.ศ.2231-2238  พระไชยเชษฐาที่ 2 รัชสมัยที่ 2 ตรงกับสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ.2231-2246)  
พ.ศ.2238-2239  พระรามาธิบดีที่ 2  
พ.ศ.2239-2243  พระไชยเชษฐาที่ 2 รัชสมัยที่ 3  
พ.ศ.2243-2244  พระแก้วฟ้าที่ 3 รัชสมัยที่ 1  
พ.ศ.2244-2245  พระไชยเชษฐาที่ 2 รัชสมัยที่ 4  
พ.ศ.2245-2247  พระศรีธรรมราชาที่ 2 (Thommo Reachea II) รัชสมัยที่ 1 ตรงกับสมัยพระเจ้าเสือ (พ.ศ.2246-2251)  
พ.ศ.2247-2252  พระไชยเชษฐาที่ 2 รัชสมัยที่ 5  
พ.ศ.2252-2256  พระศรีธรรมราชาที่ 2 (Thommo Reachea II) รัชสมัยที่ 2  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ.2251-2275)  
พ.ศ.2256-2265  พระแก้วฟ้าที่ 3 รัชสมัยที่ 2  
พ.ศ.2265-2272  พระสัตถา รัชสมัยที่ 1 (Satha)  
พ.ศ.2272-2272  พระแก้วฟ้าที่ 3 รัชสมัยที่ 3  
พ.ศ.2272-2280  พระสัตถา รัชสมัยที่ 2  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301)  
พ.ศ.2280-2290  พระศรีธรรมราชาที่ 2 รัชสมัยที่ 3  
พ.ศ.2290-2291  พระรามาธิบดีที่ 3 รัชสมัยที่ 1  
พ.ศ.2292-2298  พระศรีไชยเชฐ  
พ.ศ.2298-2300  พระรามาธิบดีที่ 3 รัชสมัยที่ 2  
พ.ศ.2301-2318  พระนารายณ์ราชารามาธิบดี  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าอุุทมพร-พระเจ้าเอกทัศ-สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ.2301-2325)  
พ.ศ.2318-2322  พระรามราชาธิราช  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ.2301-2325)  
พ.ศ.2322-2339  พระนารายณ์ราชาธิราช  ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี-รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2301-2339)  
พ.ศ.2339-2349  ว่างกษัตริย์  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2352)  
พ.ศ.2349-2377  พระอุไทยราชาธิราช  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2352-2367) ต่อด้วยรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2367-2394)   
พ.ศ.2377-2383  สมเด็จพระราชินีนาถองค์มี (นักองเม็ญ)
10
 พระองค์เม็ญ หรือพระองค์เจ้ามี เป็นพระมหากษัตริย์ (กษัตรี) แห่งอาณาจักรเขมรอุดง หลังสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีเสวยทิวงคตในช่วงสงครามอานัมสยามยุทธ พระเจ้ากรุงญวนจึงขุนนางจัดพระราชพิธีอภิเษกให้พระองค์เม็ญเสวยราชย์แทนพระราชบิดาขณะพระชนมายุ 20 พรรษา เพราะในช่วงเวลานั้นเจ้านายเขมรที่เป็นชายเข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยาม คงเหลือแต่เจ้านายเขมรผู้หญิง10.
พ.ศ.2383-2384  ว่างกษัตริย์  
พ.ศ.2384-2403  สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองด้วง)  
พ.ศ.2403-2447  สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองราชาวดี)  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2394-2411) ต่อด้วยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ต่อด้วยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468)   กัมพูชาพ้นจากความเป็นประเทศราชของสยาม และกลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2406
พ.ศ.2447-2470  พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ (นักองศรีสวัสดิ์) รายละเอียดภาพดู 03.
 ไทยได้เสียดินแดนให้ฝรั่งเศสแถบนครจำปาศักดิ์ รวมถึงเมืองเชียงแตง หรือ สะตึงเตรง ร.ศ.122 หรือ พ.ศ.244609
พ.ศ.2470-2484  พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์ (นักองศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์) รายละเอียดภาพดู 08.
 
 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2468-2478) ต่อด้วยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ.2478-2489)  
พ.ศ.2484-2498  พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหนุ  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 9 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2489-2559)  กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์ พ.ศ.2496
พ.ศ.2498-2503  พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสุรามฤต05.
 
 พระบิดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ
พ.ศ.2503-2536  ตำแหน่งถูกยกเลิก  
พ.ศ.2536-2547  พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ04.
 
 
พ.ศ.2547-ปัจจุบัน  พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี  พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ


สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก - Barom Reacha III) (พ.ศ.2109-2119) 
       สมเด็จพระบรมราชาที่ 306. เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชา พระองค์ประสูติในช่วงระหว่าง พ.ศ.2053-2063 และครองราชย์สมบัติในสมัยที่เมืองละแวกเป็นราชธานี ระหว่าง พ.ศ.2109–2119 ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาสองครั้ง ซึ่งมีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ และราชพงษาวดารกัมพูชา โดยในเอกสารไทยเรียกพระองค์ว่า พระยาละแวก แต่เป็นคนละพระองค์กับพระยาละแวกที่กล่าวถึงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช ซึ่งคือพระบรมราชาที่ 4 ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์.

       ครั้งแรกนั้น สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ทรงยกทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2113 ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา โดยยกทัพเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา ตั้งทัพอยู่ที่บ้านสามพิหาร (ในพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์) หรือบ้านกะทุ่ม (ในพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์) ในการศึกครั้งนี้ ฝ่ายสยามใช้ปืนใหญ่ยิงพระจำปาธิราช กองหน้าฝ่ายเขมรถึงแก่อนิจกรรมบนคอช้าง สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ให้ยกทัพเข้าปล้นเมือง 3 ครั้งก็ไม่สำเร็จ จึงเลิกทัพกลับไป โดยเจ้าเมืองจันทบุรี ระยอง นาเรือง และฉะเชิงเทรา นายกองทัพฝ่ายสยามเสียชีวิตในศึกครั้งนี้.

       ต่อมา ใน พ.ศ. 2118 ในพงศาวดารฉบับกรมราชบัณฑิต สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยยกทัพมาทางเรือ ผ่านทางปากน้ำพระประแดง ธนบุรี นนทบุรี แต่เข้าปล้นกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ ได้แต่กวาดต้อนเชลยกลับไป พร้อมกับนำพระรูปเทพารักษ์ สำริด ที่พบในลำน้ำที่เมืองพระประแดงไปด้วย 2 องค์ ในยุคพระมหาธรรมราชา เมื่อไทยกลับมามีอำนาจหลังยุคบุเรงนอง หลังจากนั้น เมืองละแวก กัมพูชา กับกรุงศรีอยุธยา สยาม กลับมามีไมตรีกัน.



พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์ (นักองศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์) (บ้างก็เรียก เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์) (พ.ศ.2470-2484) 
       เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เป็นกษัตริย์กัมพูชาในสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ครองราชย์ตั้งแต่ 9 สิงหาคม 1927 (พ.ศ.2470) – 24 เมษายน 1941 (พ.ศ.2484) พระองค์ทรงนิยมมีนางสนม นางบำเรอแวดล้อม แต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่นาน พระองค์ได้สั่งปลดนางสนมออกจากตำแหน่งถึง 100 คน จากกว่า 200 คน เพื่อลดรายจ่ายของราชสำนัก เมื่อเดือนเมษายน 1938 (พ.ศ. 2481).

       ในช่วงเดือนธันวาคม 1940 (พ.ศ.2483) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านพ้นไปได้ราว 1 ปี และฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ให้กับเยอรมนีไปแล้ว พระองค์ทรงประกาศว่าจะยืนหยัดอยู่ข้างฝรั่งเศสในยามยากลำบาก เพราะฝรั่งเศสคือผู้ที่ช่วยกัมพูชาไว้ได้จากความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อ 70 ปีก่อน (หมายถึงเหตุการณ์จลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส).

       ขณะเดียวกันนั้นเอง กัมพูชาของพระองค์ก็กำลังถูกคุกคามจากกองทัพไทยที่พยายามอ้างสิทธิยึดดินแดนอาณานิคมที่เสียไปคืนจากฝรั่งเศส จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงขอให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงและจัดการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรุงโตเกียว.

       แต่ระหว่างที่การเจรจายังไม่เสร็จสิ้น เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 เมษายน 1941 (พ.ศ. 2484) ซึ่งสื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นเพราะปัญหาสุขภาพเรื้อรัง บวกกับภาวะซึมเศร้าที่จะต้องเสียดินแดนด้านตะวันตกให้กับไทย08.



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. แกนหลักลำดับวงศ์กษัตริย์และเหตุการณ์นำมาจาก. Facebook เพจ "ปราสาทถิ่นแดนไทย", วันที่เข้าถึง 8 พฤษภาคม 2564.
02. อ้างอิงจาก. อาณาจักรอยุธยาตอนที่ 3, วันที่เข้าถึง 12 พฤษภาคม 2564.
03.
 พระบาทสมเด็จพระศรีสุวัตถิ์แห่งกัมพูชา ขณะดำรงพระอิสริยศสมเด็จพระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า ในปี พ.ศ. 2447, ที่มา: Facebook เพจ "กลุ่ม..ผู้ใฝ่เรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ทั่วไป", วันที่เข้าถึง 8 มิถุนายน 2564.
04. 
พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ, ที่มา: clipmass.com, วันที่เข้าถึง 14 มิถุนายน 2564.
05. 
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สุรามฤต, ที่มา: oknation.nationtv.tv, วันที่เข้าถึง 14 มิถุนายน 2564.
06. ปรับเสริมจาก. Facebook เพจ "กลุ่ม..ผู้ใฝ่เรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ทั่วไป", วันที่เข้าถึง 15 มิถุนายน 2564.
07. th.wikipedia.org/wiki/รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา, วันที่เข้าถึง 15 มิถุนายน 2564.
08. จาก. Facebook เพจ "เอกสารโบราณ..ANCIENT DOCUMENT", ผ่านผู้ใช้นามว่า Piyakul Meejumras, วันที่เข้าถึง 24 มิถุนายน 2564. ซึ่งได้อ้างอิงดังนี้:- 
1. “Pledge From Cambodian King”. The New York Times.
2. “Sisowath Monivong Indo-China King. Depression Forced Ruler to Fire 100 of His 200 Wives”. The New York Times. 3. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม คอลัมน์ภาพเก่าเล่าตำนาน วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2561
พระฉายาลักษณ์ลงสี พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ จอมจักรพงศ หริราชปรมินทร์ภูวนัย ไกรแก้วฟ้าสุราลัย พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี 4. รูปต้นฉบับ จากเพจบรรณาลัย 5. ข้อมูลฉลองพระองค์ ดร.สุรัตน์ จงดา 6. ลงสีโดย เซบัสเตียน พีท.
09. จาก. ประวัติศาสตร์อีสาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 หน้าที่ 439, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557. ในแผนที่การเสียดินแดนนครจำปาศักดิ์และเมืองมโนไพรของไทย ร.ศ.122 พ.ศ.2446 ให้แก่ฝรั่งเศส , ระบุถึงเมือง ๆ หนึ่งชื่อ เสียมโบก อยู่ริมแม่น้ำโขงตอนล่างถัดจะเมืองสะตึงเตรง (บ้างก็ว่า สตรึงแตรง, สะตึงแตรง ก็มี หรือ เมืองเชียงแตง เดิมเป็นของจำปาศักดิ์) นั้น เมืองเสียมโบก เท่าที่ทราบแปลว่า สยามหลอกลวง หมายถึง ทหารสยามเกณฑ์คนกัมพูชาไปทะลายแก่งหินที่แก่งหลี่ผี แต่ไม่สำเร็จ.3
10จาก. Facebook เพจ "ห้องหนังสือจอหงวน," วันที่เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2564.  เป็นภาพถ่ายก่อน พ.ศ. 2423 (ค.ศ.1880) ภาพจาก Leiden University Libraries.


 

 
info@huexonline.com