MENU
TH EN

นครวัด: ยลพระบรมวิษณุโลก ก่อนสิ้นลมปราณ ตอนที่ 4

Title Thumbnail: นครวัด, ถ่ายไว้เมื่อ 22 ตุลาคม 2561. Hero Image: นครวัด ราว ๆ พ.ศ.2436 ร.ศ.112 (สังเกตเห็นกุฏิภิกษุ ลานด้านหน้านครวัด) Cr.ผู้ถ่ายภาพ, ที่มา: Facebook เพจ "สำรวจปราสาทอารยธรรม "เขมรโบราณ"," โดยผู้ใช้นามว่า Totsapol Nampanya, วันที่เข้าถึง 26 ธันวาคม 2564. 
นครวัด:  ยลพระบรมวิษณุโลก ก่อนสิ้นลมปราณ ตอนที่ 401.
First revision: Aug.22, 2020
Last change: Jan.14, 2022
สืบค้น เรียบเรียง รวบรวม และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

ระเบียงคดด้านตะวันออกปีกใต้

การกวนเกษียรสมุทร (Churning of the Sea of Milk)
03.
       ผนังสลักหินด้านนี้มีความยาวประมาณ 60 เมตร เป็นเรื่องราวจากคัมภีร์ภควัต ปุราณะ (Bhāgavata Purāṇa) ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่กว่าเทพใด ๆ ) กล่าวถึงอวตารของพระวิษณุ (นารายณ์อวตาร- Avatars of Vishnu) ว่าด้วยการกวนเกษียรสมุทร (เกษียร แปลว่า น้ำนมที่ไหลเต็มอยู่ตลอดปี) ตรงกลางด้านบนเป็นภาพสลักรูปพระวิษณุประทับบนเขามันทระ โดยมีพญานาควาสุกรีพันรอบเขา หัวพญานาคอยู่ทางซ้ายมือมีอสูรฉุดอยู่ 92 ตน ทางหางพญานาคมีเทวาฉุด 88 องต์ ด้านล่างมีเต่ายักษ์หนุนเขาอยู่ ซึ่งเป็นนารายณ์อวตารปางที่ 2 ของพระวิษณุที่เรียกกันว่า "กูมาวตาร" รายละเอียดศึกษาได้ใน "นารายณ์อวตาร ตอนที่ 2 กูรมาวตาร"


ระเบียงคดด้านตะวันออกปีกใต้, ถ่ายจากด้านล่าง จากตะวันออกไปยังตะวันตกราว ๆ 4 โมงเย็น ของวันที่ 20 ตุลาคม 2561
 

       หมายเลข 1: กองทัพอสูร, หมายเลข 3: จระเข้สองตัวกำลังกัดกัน หมายเลข 4: ปลาวาฬขนาดเล็ก (Narwhale) หมายเลข 5: เหล่าอสูรา 92 ตน 
 

หมายเลข 2: ท้าวราวณะ หรือ ราพณ์ หรือ ราวัน (रावण, Rāvaṇa) หรือทศกัณฐ์กำลังฉุดตรงปลายด้านหัวของพญานาควาสุกรี, ​​​​​​ถ่ายไว้เมื่อ 20 ตุลาคม 2561
 

หมายเลข 7: พระวิษณุกำลังกำกับเพื่อประคองเขามันทระไม่ให้เอียง ขณะเดียวกันพระวิษณุทรงอวตารเป็นเต่า (กูรมาวตาร) หมายเลข 6 โดยใช้กระดองรองรับไม่ให้เขามันทระทะลุแกนโลก ด้านบนซ้ายและขวาของภาพสลัก การกวนเกษียรสมุทรก็ให้เกิดเหล่านางอัปสร (Apsara) จำนวนคณานัปหลายล้านตน, ถ่ายไว้เมื่อ 20 ตุลาคม 2561.
 

หมายเลข 12: พญาพาลี (Vali) หรืออาจจะเป็นสุครีพ (Sugriva) (ด้วยเพราะสังเกตเห็นได้ว่าบนศีรษะของพญาวานร มีมงกุฎอยู่ นั่นหมายถึงการเป็นกษัตริย์ การเป็นเจ้าเมืองขีดขิน) ฉุดด้านหางของพญานาควาสุกรีไว้, ถ่ายไว้เมื่อ 20 ตุลาคม 2561.
 
หมายเลข 5: เหล่าอสูรา 92 ตน หมายเลข 8: การแกะสลักหินส่วนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เราควรพบภูเขามันทระ และภาชนะที่บรรจุน้ำอมฤต (Amrita) ที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทร เราเห็นได้เพียงช้างเอราวัณ {หรือช้างไอราวัต (Airavata) พาหนะของพระอินทร์ขนาดเล็ก} และม้าอุจฉัยศรพ (Uchchaihshravas) ซึ่งเป็นม้าเจ็ดเศียร โดยพระอาทิตย์รับไปเป็นม้าทรงราชรถ. อันเป็นผลผลิตจากการกวนเกษียรสมุทร หมายเลข 9: มีเทพยดาเหาะอยู่เหนือพระวิษณุ อาจจะเป็นพระอินทร์ หรือพระวิษณุอีกครั้งหนึ่ง หรือ (เป็นมหาเทพศิวะ หรือพระพรหมที่มาชมพิธีการกวนเกษียรสมุทรนี้ - แต่มีความเป็นไปได้น้อย เพราะมหาเทพจะต้องยืนหรือนั่งอย่างสงบนิ่ง) หมายเลข 10: เหล่านางอัปสรจำนวนคณานัปเกิดขึ้นจากการกวนเกษียรสมุทร หมายเลข 11: เหล่าเทพ 88 องค์ หมายเลข 13: เหล่าทัพของอสูรา.



ระเบียงคดด้านตะวันออกปีกเหนือ

ชัยชนะของพระวิษณุเหนือพวกอสูร (Victory of Vishnu over the Asuras)

     ระเบียงด้านตะวันออกปีกเหนือของปราสาทนครวัดนี้ ยาวประมาณ 52 เมตร มีภาพสลักสำคัญ 2 ภาพที่แสดงให้เห็นฝีมือช่างที่ต่างไปจากภาพสลักด้านอื่น ๆ อย่างชัดเจน เพราะเป็นภาพที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 และเพิ่งแกะสลักต่อจนเสร็จในพุทธศตวรรษที่ 21 
     ภาพสลักส่วนนี้น่าจะสลักขึ้นตามภาพร่างของเดิม อย่างน้อยก็คือรูปตัวเอกในภาพนั้น ๆ สอดคล้องกับจารึกภาษาเขมรที่ระเบียงด้านทิศตะวันตกปีกเหนือ ในพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งค่อนข้างลบเลือน มีข้อความว่า "พระบาทมหาวิษณุโลก" ซึ่งตรงกับพระนาม "ปรมวิษณุโลก" ในจารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร ยังแกะสลักภาพทั้งสองไม่เสร็จ เมื่อ "พระบาทสมเด็จ พระราชโองการบรมราชาธิราช" ขึ้นครองราชย์จึงโปรดให้พระมหิธร นายช่างหลวง (ราชศิลปี) สลักต่อในปีมะเมีย อัฐศก (ตรงกับ พ.ศ.2089)
     ที่ระเบียงด้านทิศเหนือ ปีกด้านตะวันออก ก็มีจารึกเช่นเดียวกันระบุว่า "พระราชโองการ บรมราชาธร บรมบพิตร" เสด็จขึ้น02  (หน้าที่ 61/245) ครองราชย์ โปรดให้ช่างฝีมือผู้ชำนาญงานสลักภาพจนเสร็จสมบูรณ์ ในปีมหาศักราช 1485 (ตรงกับ พ.ศ.2106).
     ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และราชพงษาวดารกรุงกัมพูชาช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ระบุว่าปีในจารึกดังกล่าวตรงกับรัชกาล "พระองค์จันท์ที่ 1" สืบเนื่องมาถึงรัชกาล "พระบรมราชาที่ 1" พระโอรส.
     ตามหลักฐานในราชพงษาวดารเริ่มมีการสลักภาพเหล่านี้ในรัชกาลพระองค์จันท์ที่ 1 ผู้สร้างเมืองละแวกเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.2071 และในปี พ.ศ.2083 ได้รบชนะสยามที่เมืองพระนคร งานสลักภาพครั้งนี้คงเสร็จสิ้นในรัชกาลของพระองค์หรือรัชกาลถัดมา.
     ระเบียงทิศตะวันออก ปีกด้านเหนือมีภาพสลักยาวประมาณ 50 เมตร กลางภาพเล่าเรื่องพระวิษณุทรงครุฑกำลังเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญกับเหล่าอสูรทั้งหลายที่โจมตีพระองค์จากด้านข้างพระวิษณุปรากฎพระองค์เพียงลำพัง มีอสูร 4 ตนใกล้พระองค์กำลังละทิ้งช้างศึกของตนเอง.
      ศาสตราจารย์เซเดส์ สันนิษฐานว่าภาพสลักดังกล่าวน่าจะตรงกับเรื่องพระวิษณุมีชัยเหนืออสูร 4 ตนคือ มุรุ นิสุนทะ หัยครีพ และปัญจันทะ ซึ่งเป็นผู้ปกป้องเมืองปรากชโยทิศอันเป็นเมืองอสูรตามคัมภีร์หริวงศ์02 (หน้าที่ 63/281)
     ในรัชกาลพระบาทองค์จันท์ได้สร้างเพดานไม้ฉลักที่ทำลวดลายให้เด่นขึ้นด้วยสีและปิดทองในระเบียงนี้ด้วย.

 




 
เทวาสุรสงคราม ระเบียงทิศตะวันออก ปีกด้านเหนือ




ระเบียงคดด้านเหนือปีกตะวันออก

ชัยชนะของพระกฤษณะเหนือพนาสูร บ้างก็เรียก ราพราสูร บ้างก็เรียก พาณาสูร [Vicotory of Krishna over Bana (or Banasura)]
     (ระเบียงทิศเหนือ ปีกด้านตะวันออก)
     ระเบียงทิศเหนือ ปีกด้านตะวันออกยาวประมาณ 60-66 เมตร สลักภาพที่น่าจะมีที่มาจากตอนหนึ่งของคัมภีร์หริวงศ์ คือภาพพระกฤษณะประทับเหนือพญาครุฑ มีพระปรัทยุมน์และพระพลราม02 (หน้าที่ 63/281)



 
พระกฤษณะรบพาณาสูร ในหริวงศ์ ระเบียงทิศเหนือ ปีกด้านตะวันออก
 

เจดีย์ด้านหลังนครวัด, ถ่ายไว้เมื่อ 20 ตุลาคม 2561

       จากข้อมูลของอาจารย์ (Kang Vol Khatshima) ที่แสดงใน Facebook ในเพจของท่าน ซึ่งโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2559 อธิบายไว้ดังนี้: จากจารึก IMA.38 (จารึกสมัยหลังพระนครหลักที่ 38) ซึ่งจารไว้บนผนังระเบียงคดปราสาทนครวัด ใกล้ ๆ กับเจดีย์นี้ ได้บอกกล่าวเรื่องราวไว้ชัดเจนว่า: เมื่อ พ.ศ.2244 ท่านไชยนัน ตำแหน่งท่านเป็นเสนาธิบดี เคยเป็นเจ้าเมืองไพร กดี และเจ้าเมือง ตโบง ฆมุม เป็นขุนนางชั้นเอก ต่อมาได้ตำแหน่งเป็น "ยมราช" (จะเป็นพระยา หรือเจ้าพระยาก็ไม่แน่ใจ) ได้สร้างตรีศูล ในปี พ.ศ.2245 ได้เป็นตำแหน่ง "ออกญาสุรินทราธิราช" และในอีก 2 ปีต่อมา ได้รับเลื่อนเป็น "เจาหฺวาย" ตำแหน่งอันเทียบเท่ากับ "นายกรัฐมนตรี" ในปัจจุบัน.
       และจารึกที่เป็นคำกลอนนี้ จริง ๆ แล้วเป็นการลาบวช แต่กล่าวถึงเรื่องราวมากมาย รวมทั้ง กล่าวถึงการสูญเสียภรรยา และลูก 2 คน พร้อมกับได้สร้างเจดีย์เพื่อจะบรรจุอัฐิของภรรยาและลูกให้อยู่ในสถานเดียวกัน ซึ่งข้อความในจารึก ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับเจดีย์องค์นี้ ท่านเคยบวชมาแล้ว 4 ครั้ง ครั้งที่เขียนจารึกลานี้เป็นครั้งที่ 5




ระเบียงคดด้านเหนือปีกตะวันตก

สงครามระหว่างเทพกับอสูร (Battle of Devas and Asuras)

 
ระเบียงคดด้านทิศเหนือปีกตะวันตก เล่าเรื่องพระวิษณุปราบกาลเนมิ พระวรุณทรงนาคในฉากนี้ไม่ค่อยพบมากนัก เพราะปกติแล้วพระวรุณจะทรงหงส์ (ที่มา: จากผู้ใช้นามว่า HI_Hu.RU ใน facebook สืบค้นเมื่อ 13 พ.ย.2561)



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01.  Michel Petrotchenko, Focusing On The Angkor Temples, The Guidebook, 4th Edition, 2017, Printed and Bound in Thailand, Amarin printing and Publish PCL.
02.  ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ: นครวัดทัศนะเขมร: รวบรวมบทรจนาเกี่ยวกับปราสาทนครวัด โดยกวีและนักปราชญ์เขมร สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (พระสังฆราช) ปาง ขาต่ (พระสงฆ์) ตรึง งา (อาจารย์) นัก ปาง (กวี) ออกญาสุตตันปรีชา (กวี) ศานติ ภักดีคำ (แปล-ถอดความเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2545.
03.  ปริวรรตจาก. oknation.nationtv.tvtv/blog/buzz/2008/07/01/entry-1, วันที่เข้าถึง 1 กันยายน 2564.
04.  Michael Freeman, Claude Jacques, ANCIENT ANGKOR: BOOKS GUIDES, River Books, Bangkok, Thailand, 2009.
humanexcellence.thailand@gmail.com