MENU
TH EN

ฉ. บทนำ: ภควัทคีตา

Title Thumbnail: พระกฤษณะกับนางราธา, Hero Image: พระกฤษณะกับลูกวัว ณ วฤณทาวัน, ที่มา: pinterest.com, วันที่เข้าถึง: 16 กุมภาพันธ์ 2567.
ฉ. บทนำ: ภควัทคีตา
First revision: Feb.16, 2024
Last change: Mar.25, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
 
43 (ต่อ.)
7. ความเป็นเฉพาะตัวตน
       ความเป็นจริงในธรรมชาติของมันเองนั้น เป็นอนันต์ สมบูรณ์ ไร้การควบคุม มีความเป็นหนึ่งเดียว ปิติในตัวเองอย่างแยกไม่ออก. ในกระบวนการของจักรวาลนั้น ความเป็นคู่และการต่อต้าน ซึ่งปกปิดความเป็นจริงอันไม่มีที่สิ้นสุดบังเกิดขึ้น. ในแง่ของไตตติรียะ อุปนิษัท กระบวนการของจักรวาลได้เข้าสู่สารัตถะห้าขั้นตอน สสารวัตถุ2. (อันนะ)01., ชีวิต (ปราณ)01., จิตใจ (มนัส)01., ปัญญา (วิชญาณ)01., และความสุข (อานันทะ)01.. มีทิศทางภายในที่มอบให้กับสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลของการมีส่วนร่วมในการรุกล้ำอย่างสร้างสรรค์ของชีวิต. มนุษย์อยู่ในขั้นที่สี่ของวิชญาณหรือปัญญา. เขามิได้เป็นนายในการกระทำของตัวเอง. เขาตระหนักถึงความเป็นจริงสากลซึ่งดำเนินอยู่ในผังงานทั้งหมด. ดูเหมือนมนุษย์จะรู้เรื่องชีวิตและจิตใจ. เขามีความเชี่ยวชาญโลกวัตถุ ขยายต่อยอดได้ แม้แต่การทำงานที่คลุมเครือของความคิด แต่ยังไม่ได้กลายเป็นจิตสำนึกที่ส่องสว่างอย่างสมบูรณ์. แม้ว่าสิ่งของจะประสบความสำเร็จด้วยการมีชีวิตได้ ชีวิตก็เติบโตเติมเต็มด้วยจิตใจ และจิตใจก็เติมเต็มด้วยสติปัญญาฉันใด มนุษย์ผู้ฉลาดก็จะเติบโตไปสู่ชีวิตที่สูงส่งและเป็นชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ฉันนั้น. การขยายขนาดของตนเองแบบก้าวหน้านั้น เป็นแรงกระตุ้นของธรรมชาติ. จุดประสงค์ขององค์ภควานสำหรับโลกหรือชะตากรรมของจักรวาลสำหรับมนุษย์คือการทำให้ความปรารถนาที่เป็นอมตะเป็นจริง โดยผ่านกรอบความเป็นมนุษย์นี้ ในความสำเร็จของชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์และผ่านกรอบทางกายภาพและจิตสำนึกทางปัญญา.

       พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตอยู่ในส่วนลึกของมนุษย์และไม่สามารถดับสูญได้. มันคือแสงสว่างภายใน พยานที่ซ่อนเร้น เป็นสิ่งที่คงอยู่และไม่เสื่อมสลายตั้งแต่เกิดถึงเกิด ความตาย ความเสื่อมโทรม หรือเสื่อมสลายมิอาจแตะต้องได้. เป็นหลักการของชีวะ (jīva) บุคคลผู้มีจิตซึ่งเปลี่ยนแปลงและเติบโตจากชีวิตไปสู่ชีวิต และเมื่ออัตตาได้รับการประสานกันอยู่สมบูรณ์โดยพระผู้เป็นเจ้า มันขึ้นไปสู่การดำรงอยู่...
---------------

2. ลิเทอรัล ฟู้ด.
หมายเหตุ คำอธิบาย


ปัญจะโกษา (Pañcakoṣā - The Five Levels of Being), ที่มา: www.yogabodymind.co.uk, วันที่เข้าถึง: 13 มีนาคม 2567.
 
01. ปัญจะโกษา หรือ ปัญจะโกศะ (पंचकोष - Pañcakoṣā หรือ पञ्चकोश - Pañcakośa) หมายถึง ห้าฝักหรือเปลือกแห่งชีวิต "The Five Sheaths or Levels of Being (kośa หรือ Koshas)" ประกอบด้วย  อันนะ (अन्न -anna), ปราณ (प्राणा - Prāṇā), จิตใจ (मनो -??? manas), ปัญญา หรือ วิชญาณ (विज्ञान - vijñāna), และ ความสุข (आनन्द - ānanda) ซึ่งรายละเอียดแสดงใน พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท ในบรรพที่ 1.

 
44
...ทางจิตวิญญาณซึ่งเป็นชะตากรรมของตัวอัตตาเอง และจนกว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น อัตตาก็เดินทางระหว่างการเกิดและการตาย.

       ทุกรูปแบบของการดำรงอยู่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ภายใต้คุณลักษณะที่คงตัวอย่างดีของรูปแบบมนุษย์ คือโครงร่างของวัตถุ องคาพยพ และความเป็นสัตว์. เรื่องชีวิตและจิตใจที่บรรจุโลกอยู่ในตัวเราไว้อย่างดี. เราเป็นส่วนหนึ่งของพลังที่ทำงานในโลกภายนอก. ธรรมชาติทางสติปัญญาของเราก่อให้เกิดความประหม่า มันนำไปสู่การถือกำเนิดขึ้นของมนุษย์แต่ละคนจากความสมัครสมานเดิมกับธรรมชาติ. ความปลอดภัยที่มนุษย์ได้รับจากการยึดมั่นในสัญชาตญาณกลุ่มก็จะเลือนลางไปและจะต้องได้รับความปลอดภัยกลับคืนในระดับที่สูงขึ้น โดยไม่จำกัดเฉพาะความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์. โดยการบูรณาการตนเองของมนุษย์ ความสมัครสามัคดีของเขากับโลกจะต้องบรรลุในความเป็นธรรมชาติของความรักและการทำงานที่ไม่เห็นแก่ตัว. อรชุนในฉากเปิดเรื่อง ได้เผชิญหน้ากับโลกแห่งธรรมชาติและสังคม และรู้สึกอ้างว้างยิ่ง. เขาไม่ต้องการซื้อความมั่นคงภายในด้วยการยอมจำนนต่อมาตรฐานทางสังคม. ตราบใดที่เขามองดูตัวเองในฐานะวรรณะกษัตริย์ที่ต้องต่อสู้ ตราบใดที่เขาถูกผูกมัดไว้กับตำแหน่งและภาระหน้าที่ของเขา อรชุนไม่ทราบถึงความเป็นไปได้ทั้งหมดจากการกระทำของเขาเอง. พวกเราส่วนใหญ่ต่างด้นหาสถานที่เฉพาะในโลกทางสังคมที่ให้ความหมายชีวิตแก่เราและได้รับความรู้สึกที่ปลอดภัย รู้สึกถึงการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ. โดยปกติแล้ว ภายในขอบเขตที่จำกัด เราจะพบกรอบในการแสดงออกในชีวิตของเราและกิจวัตรทางสังคม ซึ่งไม่ได้รู้สึกว่าเป็นพันธนาการแต่อย่างใด. บุคคลที่ว่านี้ยังไม่ปรากฎ. เขาผู้ซึ่งไม่นึกถึงตัวเอง เว้นเสียแต่ผ่านสื่อกลางทางสังคม. อรชุนสามารถเอาชนะความรู้สึกหมดหนทางและความวิตกกังวลได้โดยยอมจำนนต่ออำนาจทางสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ. ซึ่งนั่นจะเป็นการหยุดยั้งการเติบโตของเขา. ความรู้สึกพึงพอใจและความมั่นคงปลอดภัยใด ๆ ที่ได้รับจากการหยิบยื่นจากอำนาจภายนอกได้ขายในราคาแห่งความซื่อสัตย์บูรณภาพของตนเอง. มุมมองสมัยใหม่เช่นพวกเผด็จการได้กล่าวประกาศว่าบุคคลสามารถรอดได้โดยการถูกดูดซับเข้าสู่สังคม.
พวกเขาลืมไปว่าที่กลุ่มนี้ดำรงอยู่เพียงเพื่อรักษาบุคลิกภาพของมนุษย์ให้สมบูรณ์. อรชุนแยกตัวออกจากบริบททางสังคม ยืนหยัดอยู่ตามลำพัง และเผชิญกับแง่มุมที่เต็มไปด้วยอันตรายและมีอำนาจเหนือกว่าของสังคมโลก. การยอมจำนนไม่ใช่วิธีของมนุษย์ในการเอาชนะความเหงาและความวิตกกังวล. โดยการพัฒนาธรรมชาติทางจิตวิญญาณภายในของเรา เราจะได้รับความสัมพันธ์รูปแบบใหม่กับโลกและเติบโตไปสู่อิสรภาพ โดยที่ความสมบูรณ์บูรณภาพของตนเองไม่ถูกประนีประนอม.

 
45
จากนั้นเราจะตระหนักว่าตนเองเป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างกระตือรือร้น ดำเนินชีวิตโดยไม่จำต้องมีวินัยจากผู้มีอำนาจภายนอก มีแต่โดยกฎเกณฑ์ภายในของการอุทิศตนอย่างอิสระต่อความจริง.

       ตัวตนของแต่ละบุคคลเป็นส่วนหนึ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้า,1 ซึ่งเป็นรูปแบบที่แท้จริง ไม่ใช่รูปแบบในจินตนาการของพระผู้สูงส่ง ซึ่งเป็นการสำแดงอันจำกัดของพระผู้เป็นเจ้า. ดวงวิญญาณที่มาจากองค์ภควาน พระอิศวรนั้น ไม่ได้เล็ดลอดออกมามากเท่ากับส่วนภายในขององค์ภควาน. ดวงวิญญาณจะดึงเอาอุดมคติมาจากหลักการที่เหนือกว่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนบิดาที่ทำให้มันดำรงอยู่. การดำรงอยู่อันเป็นสาระสำคัญของดวงวิญญาณนั้น เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ และการแสดงออกในชีวิตนั้นได้รับผลกระทบจากนิมิตอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นทั้งบิดาและสหายที่สถิตดำรงอยู่ตลอดกาลของดวงวิญญาณ. ความโดดเด่นของดวงวิญญาณถูกกำหนดโดยรูปแบบอันศักดิ์สิทธิ์และบริบทของประสาทสัมผัสและจิตใจที่ดึงมาสู่ตัวดวงวิญญาณเอง. สากลจักรวาลรวมอยู่ในบริบทอันจำกัดของกรอบเปลือกทางจิต-กายภาพอันสำคัญ.2 ไม่มีบุคคลอื่นใดที่จะเหมือนสหายของดวงวิญญาณ ไม่มีชีวิตใดที่จะเกิดขึ้นซ้ำรอยเดิม แม้กระนั้นยังมีรูปแบบเดียวที่ไหลผ่านชีวิตทั้งหมด. แก่นแท้ของอัตตา ลักษณะเฉพาะอันเป็นบุคลิกภาพของมนุษย์คือความกลมเกลียวเชิงสร้างสรรค์ จุดมุ่งหมายภายในตน แผนการซึ่งค่อย ๆ หล่อหลอมตัวมนุษย์เองให้เป็นหนึ่งเดียวเชิงอินทรียสาร. จุดมุ่งหมายของเราเป็นอย่างไร ชีวิตเราก็เช่นกัน. รูปแบบใด ๆ ที่บุคคลสันนิษฐานนั้นย่อมถูกแทนที่อย่างแน่นอน ด้วยเพราะเขาพยายามเอาชนะตนเองอยู่เสมอ และกระบวนการนี้จะดำเนินไปจนกว่าจะถึงจุดสิ้นสุดของการมีชีวิตอยู่. ชีวะคือการเคลื่อนไหวในความเป็นอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เฉพาะตน. เมื่ออัตตามลายหายไปในการระบุตัวที่ไม่ใช่ตัวตนและรูปแบบที่เป็นเท็จ มัน (ชีวะ) ก็จะตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงและรูปแบบของมัน ชีวะจะถูกผูกมัด แต่เมื่อได้พัฒนาความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ก็จะตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงแห่งตัวตนและไม่ใช่ตัวตนให้สว่างไสวด้วยตัวตนจนหมดสิ้นแล้วจึงจะเป็นอิสระ. การตระหนักรู้นี้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยการทำงานของพุทธิ01. หรือวิชญาณ02. อย่างเหมาะสม.

       ปัญหาที่มนุษย์เผชิญอยู่คือการบูรณาการบุคลิกภาพของตัวมนุษย์เอง การพัฒนาการของการดำรงอยู่อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหลักการทางจิตวิญญาณมีอำนาจเหนือพลังทั้งหมดของจิตวิญญาณและร่างกาย. ชีวิตที่บูรณาการอย่างสมบูรณ์นี้ถูกรังสรรค์ขึ้นด้วยจิตวิญญาณ. ความแตกต่างระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายซึ่งเชื่อมโยงมนุษย์กับชีวิตแห่งธรรมชาติไม่ใช่ความแตกต่างสูงสุด. มันไม่มีหรือดำรงอยู่ในความหมายที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเดการ์ต03.ได้ยืนยัน.
---------------

1. บรรพที่ 15, อัธยายะที่ 7. แก่นแท้อันศักดิ์สิทธิ์ของจิตวิญญาณนั้นมีหลายสมัญญา อาทิ - ด้านปลายสุด พื้นดิน หุบเหว ประกายไฟ ไฟ และแสงจากภายใน.
2. บรรพที่ 8, อัธยายะที่ 21.

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พุทธิ (बुद्धि - buddhi) เป็นคำที่ปรากฎกว้างขวางในฤคเวท และวรรณกรรมพระเวทอื่น ๆ หมายถึง พลังในการ สร้าง และรักษาแนวความคิด สติปัญญา เหตุผล สติปัญญา จิตใจ ความสามารถทางปัญญา และความสามารถในการ แยกแยะ ตัดสิน เข้าใจ เข้าใจ บางสิ่งบางอย่าง.
02. วิชญาณ
(विज्ञान - vijñāna) หมายถึง consciousness, knowledge, one who knows. - จิตสำนึก ความรู้ ผู้รู้.
03. เรอเน เดการ์ต (
René Descartes - เร่อเน่ เดการ์ต์)

ภาพที่ได้จากโปรแกรม "Chat Smith (GPT-4) AI ", เมื่อ 1 มีนาคม 2567.
เมื่อสั่งเรียกให้ออกภาพ AI ว่า "Apirak Kanchanakongkha"




ภาพที่ได้จากโปรแกรม "Chat Smith (GPT-4) AI" , เมื่อ 1 มีนาคม 2567.



 
info@huexonline.com