MENU
TH EN
อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านไทยลื้ออัน สงบร่มเย็น วัดแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งผลงานทางสถาปัตยกรรม และ จิตรกรรมชาวน่าน
ภาพเก่าวิหารวัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว  ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่าน
ราชวงศ์ภูคา01,02,03
First revision: Jun.02, 2019
Last change: Jul.01, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

     บทความนี้ สามารถศึกษาประกอบได้เรื่อง เมืองน่าน ในกลุ่มบล็อก อาณาจักรล้านนา. 

     น่าน เป็น นครรัฐ ที่มีราชวงค์ปกครองในอดีต ชื่อ ราชวงศ์ภูคา  ด้วย ราชวงศ์ภูคา หรือ ราชวงศ์กาว หรือ กาวรัฐ ในภาษาบาลี หรือ ราชวงศ์น่าน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครรัฐน่าน  สถาปนาขึ้นโดยพญาภูคา ปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 1911 โดยมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองปัว ต่อมา ได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองย่าง ก่อนย้ายอีกครั้ง ลงมายังที่ราบลุ่ม น่าน คือ เมืองภูเพียงแช่แห้ง ใน รัชสมัยพญาครานเมือง และ ย้ายมายัง เมืองน่าน ตามลำดับ

     นครรัฐน่าน ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1993 อินทแก่นท้าวกษัตริย์น่าน หนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราช จึงได้แต่งตั้งท้าวผาแสงบุตรท้าวแพง เชื้อสายราชวงศ์ภูคา ปกครองน่าน และ เป็นเจ้านายราชวงศ์ภูคาพระองค์สุดท้าย เพราะหลังจากการสิ้นพระชนม์ของท้าวผาแสงขุนนาง ก็เข้ามากินเมืองแทน ดังปรากฏใน พื้นเมืองน่าน ความว่า "...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแล ย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล... นครรัฐน่านซึ่งมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาว จึงมีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ภูคา อาจมีเชื้อสายจากชาวกาวดังกล่าวด้วย ดังปรากฏว่าตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน"

     ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 45 พ.ศ. 1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า เป็นชาวกาว นอกจากนี้ราชวงศ์ภูคา ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่าน ชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน จารึกปู่สบถหลาน เมื่อปี พ.ศ. 1935


     น่าน ยังถูกจัดในเมืองแฝดสาม กับ หลวงพระบาง และ เชียงรุ่ง(สิบสองปันนา) "ความ สัมพันธ์ น่าน หลวงพระบาง เชียงรุ่ง เกิดขึ้นเพราะเป็นเมืองที่การค้าร่วมกันและเป็นเมืองที่มีสาย สัมพันธ์ทางเครือญาติกันในระดับราชวงศ์ อีกทั้งคนน่านบางส่วน ทก็มีกลุ่มที่อพยพมาจากสิบสองปันนา เชียงรุ่ง มาอาศัยอยู่ที่น่าน"
 

     น่านในยุคสร้างเมืองสมัยพญาภูคา ตามพงศาวดารกล่าวว่า พญาภูคาได้ส่ง ท้าวนุ่น ขุนฟอง บุตรบุญธรรมทั้งสองคนไปสร้างเมือง เมืองหนึ่งคือ วรนคร อ.ปัว ปัจจุบัน อีกเมืองหนึ่งคือจันทบุรี หรือ หลวงพระบางปัจจุบัน เพราะหลวงพระบางสมัยนั้นถูกใช้เป็นสถานีค้ากับ กลุ่มที่จะออกไปถึงเมืองที่ อยู่ลึกเข้าไปได้เป็นช่องทางหนึ่งที่จะระบายเกลือจากเมืองน่านได้ ทั้ง สามเมืองไปมาหาสู่กันได้โดยอาศัยลำน้ำโขงเป็นตัวเชื่อม รวมทั้งอาศัยการนับถือพุทธศาสนา ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน นอกจากการนับถือพุทธศาสนา สามเมืองนี้ก็นับถือผีแบบเดียวกัน ประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย การทอผ้า ตลอดจนการแข่งเรือก็เหมือนกัน การบอกโมงยาม การนับถือปี เดือน วัน เหมือนกันหมดทั้งสามเมือง "ฉะนั้น การเป็นคู่แฝดไม่ได้หมายความว่าลักษณะของเมือง เหมือนกัน ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน แต่มันหมายถึง เมืองที่มีชาติพันธุ์เดียวกัน แทบเป็นเส้นสายการค้าเดียวกัน เพราะมีวัฒนธรรมร่วมกันอยู่


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01.  จาก. MGR Online วันที่เข้าถึง 10 เมษายน 2559
02.  จาก. วิกิพีเดีย เรื่อง ราชวงค์ภูคา วันที่เข้าถึง 10 เมษายน 2559
03.  จาก. เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น, ใน Facebook, วันที่เข้าถึง 2 มิถุนายน 2562.
info@huexonline.com