MENU
TH EN

พระธรรมบท 1

พระพุทธรูปปางประทานอภัย (ยืน) (หันหน้าไปทางทิศตะวันตก) ในเจดีย์ประธานโบราณสถานวัดพระสี่อริยบท จังหวัดกำแพงเพชร, ถ่ายไว้เมื่อ 31 ตุลาคม 2564.
พระธรรมบท 1
 
First revision: Nov.13, 2022
Last change: Jan.14, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย พุทธมามกะ04. อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.

ข้าพเจ้ากับพระราชปริยัติดิลก (พระอาจารย์วิชิต อิสฺสโร) เปรียญธรรม ๙ ประโยค ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ธนบุรี อดีตเจ้าคณะ 11 วัดประยูรฯ ถ่ายไว้เมื่อ 7 กันยายน พ.ศ.2557.
1.
       ด้วยประโยชน์และอานิสงส์ที่ผู้สนใจได้จากบล็อกพระธรรมบทนี้ ขอน้อมถวายแด่พระราชปริยัติดิลก (พระอาจารย์วิชิต อิสฺสโร) เปรียญธรรม ๙ ประโยค ไว้ ณ ที่นี้ ขอให้ดวงวิญญาณของพระอาจารย์วิชิต ได้ขึ้นสู่ภพภูมิที่สงบ ละเอียดประณีต และเข้าใกล้พระนิพพานโดยเร็วด้วยเทอญ จากลูกศิษย์โต้ง ศิษย์วัดประยูรฯ คณะ 11 ช่วง พ.ศ.2518-2526
 
หน้าที่ 1
1.
2.
บทนำ
I. พระธรรมบท
1.
       ระธรรมบท03 นี้ เป็นหนึ่งในหมวดย่อยของขุททกนิกาย (Khuddaka Nikāya) ในพระสุตตันตปิฎก (Sutta Piṭaka) เป็นภาษาบาลีมี 423 คำโคลง แบ่งเป็น 26 บท.1. เป็นนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธมามกะ ซึ่งรวมบทโคลงที่นิยม หรือรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ แม้ว่าอาจไม่มีพระวจนะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทว่าได้แฝงไว้ด้วยจิตวิญญาณแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ น้อมนำเหล่ามนุษย์เข้าสู่กระบวนการแห่งความพยายามทางจิตใจและศีลธรรมด้วยความวิริยะบากบั่น. พระธรรม คือ วินัย กฎกติกา และศาสนา2. บท คือ วิถี3. วิธี (อุปายะ) หนทาง (มรรค).
       พระธรรมบทจึงเป็นหนทางแห่งธรรม. บท (Pada) แปลว่า ฐาน; พระธรรมบทจึงเป็นฐานหรือรากฐานของพระศาสนา. หากนำคำว่า บท มาเป็นส่วนหนึ่งของโคลง พระธรรมบท ก็จะหมายถึง ถ้อยคำของพระศาสนา. ชาวจีนได้แปลพระธรรมบทเป็น 'ข้อความในพระคัมภีร์.' เนื่องจากมีข้อความจากหนังสือซึ่งบัญญัติไว้หลายเล่ม.
       เราไม่สามารถกำหนดวันที่ในการจัดทำพระธรรมบทได้แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวันที่ในการจัดทำพุทธบัญญัติซึ่งพระธรรมบทเป็นส่วนหนึ่งในพุทธบัญญัตินี้. ประเพณีทางพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านพระพุทธโฆษะเห็นด้วย การถือศีลได้รับการตกลงยอมรับในพุทธสภาแรกหรือปฐมสังคายนา01. จากข้อความของยวน ชวาง02. ซึ่งบันทึกไว้ว่าพระไตรปิฎกได้เขียนขึ้นในตอนท้ายของปฐมสังคายนา ภายใต้พระบัญชาของพระมหากัสสปะเถระ (Kāśyapa หรือ Mahākāśyapa) ซึ่งแสดงให้เห็นแง่มุมที่แพร่หลายต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 2 (คริสต์ศตวรรษที่ 7).

หมายเหตุ การขยายความ
01. ปฐมสังคายนาในครั้งนั้น ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้พระอุบาลี และพระอานนท์เป็นกำลังสำคัญในการวิสัชนาพระวินัย พระธรรม (พระสูตร และพระอภิธรรม) ตามลำดับ ได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก, ที่มา: www.dhammathai.org/monk/monk06.php, วันที่เข้าถึง 4 เมษายน 2566.
02. ยวน ชวาง (Yuan Chwang) หรือ พระภิกษุเสวียนจั้ง (Hsuan Tsang - 玄奘) หรือ Hionen Thseng หรือ Hionen Thsang หรือพระถังซัมจั๋ง (Táng sānzàng - 唐三藏) รายละเอียดดูใน หมายเหตุ การขยายความ หน้าที่ viii ของ
สรรพทรรศนะสังเคราะห์ 1.
---------------
1. มีพระธรรมบทฉบับภาษาจีนและภาษาทิเบตซึ่งแตกต่างจากข้อความในภาษาบาลีเล็กน้อย แม้ว่าเนื้อหาทั้งหมดจะสอดคล้องกันก็ตาม ฉบับภาษาจีนมี 39 บท ส่วนภาษาบาลีมี 26 บท เดิมมี 8 บทในตอนต้น 4 บทในตอนท้าย และบทที่ 33 เพิ่มเติมจากที่พบในฉบับภาษาบาลี แม้แต่ในบทที่เป็นภาษาจีนและฉบับภาษาบาลีก็มีบทภาษาจีนมากกว่าภาษาบาลีถึง 79 บท.
2. ธรรมมะ โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งของ หรือ รูปร่าง (
ดู 279!!!???) หรือ วิถีแห่งชีวิต (167).
3. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ อปฺปมาโท อมตํ ปทํ. - appamādo amatapadam, 21; ความไม่ประมาทเป็นหนทางที่ไม่ตาย (สู่ชีวิตนิรันดร์).

1.
2.
หน้าที่ 2
ในคัมภีร์มหาวงศ์ได้บอกเราว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏกามานิ01. (พ.ศ.455-467 หรือ 88 ถึง 76 ปีก่อนคริสตกาล) 'เหล่าภิกษุผู้มีปัญญาเป็นเลิศจึงกล่าวด้วยวาจา1 ให้เป็นอมตะด้วยภาษาบาลีแห่งปิฏกตฺตยะและอรรถกถา02. (คำบรรยาย) แต่ในห้วงขณะนี้ เหล่าภิกษุเล็งเห็นถึงความมลายเสื่อมทรุดของประชาชน จึงชุมนุมสงฆ์กันเพื่อจะธำรงพระศาสนาที่อาจจะสถิตคงอยู่กาลนาน พร้อมได้สาธกและจารไว้เป็นคัมภีร์'.2 คัมภีร์มหาวงศ์นี้ ถึงกำเนิดขึ้นใน พ.ศ.1002-1020 {หรือคริสต์ศตวรรษที่ 5 (ค.ศ.459-77)} แม้ว่าจะมีรากฐานมาจากอรรถกถาที่เก่ากว่าซึ่งแสดงถึงการเชื่อมโยงกับแนวประเพณีของศรีลังกาอยู่ แต่ในมิลินทปัญหา03. ซึ่งอยู่ในช่วงหลัง พ.ศ.453 หรือต้นคริสต์ศักราช ก็ได้กล่าวถึงพระธรรมบท. ในคัมภีร์กถาวัตถุ04. มีข้อความอ้างอิงมากมายจากพระธรรมบท มหานิทเทส05. และ จูฬนิทเทส06. ในพระไตรปิฎกนั้น ก็มิได้มีการอ้างถึงการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งสามในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เมืองปาฏลีบุตร (Pāṭaliputra) เมื่อ พ.ศ.296 (ก่อน ค.ศ.247 ปี)  มีการอ้างถึงการสังคายนาฯ ครั้งที่หนึ่งที่เมืองราชคฤห์ (Rājagṛha) เมื่อ พ.ศ.66 (ก่อน ค.ศ.477 ปี) และการสังคายนาฯ ครั้งที่สองที่เมืองไพศาลี (สก. वैशाली - Vaiśālī) เมื่อ พ.ศ.166 (ก่อน ค.ศ.377 ปี).  พระไตรปิฎกได้รับการอัญเชิญยังเหล่าพุทธมามกะ และได้สรุปประมวลเสร็จสมบูรณ์ภายหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สอง ได้มีการพิจารณาเบี่ยงไปจากพระวินัยอันเคร่งครัด 10 ประการที่ได้บัญญัติขึ้นในสมัยแรก ๆ ที่พระวินัยมิได้บัญญัติไว้ (ก่อนการสังคายนาฯ ครั้งที่สองนี้) ก็ได้มีการบัญญัติพระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka) ที่พึงมีไว้ ณ เมืองไพศาลี. บรรดาอรรถคำสอนแห่งพระธรรมบทนั้น เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยครั้งสังคายนาฯ ครั้งที่หนึ่ง ซึ่งไตรปิฎกที่ได้จารึกบัญญัติขึ้นนี้เป็นพุทธดำรัสของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง3.

       พุทธศาสนิกชาวจีนถือว่าผลงานนี้เป็นของพระอารยะ ธรรมทราต (Ārya Dharmatrāta)
แม้ว่าเป็นการยากที่จะกำหนดวันที่เกิดผลงานนี้ได้อย่างชัดเจนก็ตาม4.
หมายเหตุ การขยายความ
01.
พระเจ้าวัฏฏกามานิ หรือ พระเจ้าวัฏฏคามิณีอภัย (Vaṭṭagāmani - वट्टगामणि) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอนุราชปุระของศรีลังกา พระองค์ทรงสร้างวัดอภัยคีรีวิหาร (Abhayagiri Dagaba) ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 4 ซึ่งเป็นยุคสมัยแรก ๆ ที่มีการจารพุทธพจน์ลงในใบลาน สำนักอภัยคีรีวิหารเป็นแหล่งต้นตอในการสร้างหนังสือปกรณ์วิเศษ ชื่อ วิมุตติมรรค อันเป็นคัมภีร์หนึ่งที่มีความสำคัญของพุทธศาสนา นิกายเถรวาท คณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูของสำนักอภัยคีรีวิหาร ชื่อ พระอุปติสสะเถระ ผู้รจนาคัมภีร์วิมุตติมรรคไว้เป็นแบบ, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 20 เมษายน 2565.
02. อรรถกถา บ้างก็เขียนว่า อฏฐกถา.
03. มิลินทปัญหา
(บาฬี: Milinda Pañha - มิลินฺทปญฺห - สส.
- मिलिन्दा पञ्हा) นาคเสนภิกษุสูตร (สส.: नागसेनाभिक्षुसूत्र - Nāgasenabhiksusūtra, นาคเสนภิกฺษุสูตร) หรือ ปัญหาพระยามิลินท์ เป็นเอกสารทางศาสนาพุทธช่วง พ.ศ.443 หรือ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง พ.ศ.200 หรือ คริสต์ศักราช 200 อ้างถึงบทบันทึกการสนทนาระหว่างพระนาคเสน (Nāgasena, นาคเสน) นักบวชทางพุทธศาสนา กับพระยามิลินท์ (Milinda, มิลินฺท) หรือพระเจ้าเมลันเดอร์ที่ 1 แห่งแบ็กเตรีย กษัตริย์ชาวโยนก (คือชาวกรีก) ผู้ครองกรุงสาคละ (Sagala; ปัจจุบันคือเมืองซีอัลโกต ประเทศปากีสถาน) โดยเนื้อหาจะกล่าวถึงการปุจฉาวิสัชนาเกี่ยวกับปัญหาหลักธรรมต่าง ๆ ตั้งแต่หลักธรรมพื้นฐานไปจนถึงหลักธรรมชั้นสูงคือการบรรลุนิพพาน ผู้อ่านสามารถเข้าใจหลักธรรมทางพุทธศาสนาได้โดยง่าย มิลินทปัญหา ได้รับการยกย่องอย่างมากในประเทศพม่า โดยถูกรวมไว้ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีหมวดขุททกนิกาย ส่วนฉบับย่อถูกรวมไว้ในพระคัมภีร์ของนิกายมหายานฉบับภาษาจีน ในประเทศไทยเพิ่งมีการแปล มิลินทปัญหา จากภาษาสิงหลเป็นไทยครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้แปล ในเอกสารฉบับจีนมี นาคเสนภิกษุสูตร ซึ่งเนื้อหาสอดคล้องกับสามบทแรกของ มิลินทปัญหา ถูกแปลในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันออก ตรงกับ พ.ศ.860-963 หรือ ค.ศ.317–420, ปรับเสริมจาก: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 21 เมษายน 2566.
04. กถาวัตถุ (บาฬี: Kathāvatthu - Points of Controversy) ปรากฎขึ้นราว พ.ศ.240 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก ของเถรวาทนิกาย เป็นคัมภีร์ที่ 5 ของอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นคำแถลงวินิจฉัยทัศนะต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัยสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. กถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และ 2. ที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่สาม, ที่มา: เสนาะ ผดุงวัตร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2529.
05. มหานิทเทส
(the Mahā niddesa) เป็นชื่อของพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนพระไตรปิฎก 45 เล่ม และจัดอยู่ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ซึ่งเป็นนิกายที่ 5 คัมภีร์นี้ได้เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์สายพระพุทธศาสนาเถรวาทว่าเป็นผลงานของสารีบุตร อัครสาวกของพระพุทธเจ้า เนื้อหาของคัมภีร์กล่าวถึงเรื่องกาม การข้องอยู่ในเบญจขันธ์ การกล่าวประทุษร้ายกันด้วยมานะทิฏฐิ การพิจารณาความหมดจด การยึดถือทิฏฐิที่เยี่ยม การพรรณนาชีวิตและความตาย การถามถึงวิธีหลีกออกจากเมถุนธรรม การยึดมั่นศาสดาตนและการดูหมิ่นศาสดาอื่น มาคันทิยพราหมณ์ถามปัญหาและฟังธรรม ทัศนะและศีลของพระอรหันต์ สาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท การวิวาทกันด้วยทิฏฐิขนาดเล็ก(ทิฏฐิที่สำนักตนยึดถือ) และขนาดใหญ่ (ทิฏฐิ 62) การกำจัดบาปอย่างเร็วพลัน ความกลัวที่เกิดจากโทษของตน การสรรเสริญพระพุทธคุณ และการถามปัญหาของพระสารีบุตรเถระ,
ที่มา: ดร.ประพันธ์ ศุภษร (2551) www.mcu.ac.th, วันที่เข้าถึง 25 กรกฎาคม 2566.
06. จูฬนิทเทส
(the Cūḷa niddesa) (เดิมรวมอยู่ในเล่มเดียวกันกับมหานิทเทส) จัดอยู่ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เล่มที่ 11 ซึ่งอรรถาธิบายข้อความจากพระสุตตันตปฏิฎก (ปรากฎขึ้นราวไม่เกิน 400 ปีก่อนพุทธศักราช).
07. พระพุทธโฆสะ หรือ พระพุทธโฆษาจารย์ (Buddhaghoṣa)
---------------
1. มุขปาฐะ (สส. मुखपाठेन - mukhapāṭhena).
2. โปตะเกสุ ลิคาพะยม (pottakesu likhāpayum) (คัมภีร์มหาวงศ์ หน้าที่ 37).
3. มัคส์ มึลเล่อร์ คิดว่า งานประพันธ์อรรถคำสอนในพระธรรมบทที่พระพุทธโฆสะ
07. ได้ให้ความเห็นนั้น มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 4. เมื่อพระเจ้าวัฏฏกามานิ ได้มีพระบัญชาให้ลดการจารพระไตรปิฎกลง, {เหล่าหนังสือหายากแห่งบูรพาทิศ - Sacred books of the East - S.B.E.
เล่มที่ 10 (พ.ศ.2424/ค.ศ.1881) หน้าที่ 14}.
4. ซามูเอล บีล กล่าวว่าพระอารยะ ธรรมทราตนี้ มีชีวิตอยู่ประมาณ พ.ศ.473 หรือ 70 ปีก่อนคริสตกาล, ดูในหนังสือ ธรรมบท ของท่าน (พ.ศ.2445) หน้าที่ 9.
1.

พระพุทธโฆษาจารย์, ที่มา: facebook เพจ "IIT - International Institute of Theravada," วันที่เข้าถึง 9 เมษายน 2567.
1.
หน้าที่ 3
       โดยทั่วไปบรรดาอรรถคำสอนแห่งพระธรรมบทนี้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในพระพุทธประวัติและแสดงให้เห็นถึงวิธีเทศนาที่พระองค์นำมาใช้. ในอรรถกถาภาษาบาลีของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นได้ให้ความหมายของอรรถคำสอนแห่งพระธรรมบทต่าง ๆ โดยอธิบายอ้างอิงถึงอุปมาที่พระบรมศาสดาทรงนำมาใช้ ไม่เพียงแต่พระองค์จะเป็นครูที่ฉลาดเท่านั้น แต่ยังแสดงพระองค์เป็นมิตรที่มีความเห็นอกเห็นใจกับเพื่อนมนุษย์ในการเทศนาแก่เหล่าชนที่มาเฝ้าและสดับพระธรรมของพระพุทธองค์.

       คำบรรยายเกี่ยวกับธรรมบทที่เรียกว่า ธรรมบทอรรถกถา (Dhammapada Aṭṭhakathā) นั้น ได้กล่าวถึงพระพุทธโฆษาจารย์ ดังจะเห็นได้จากสัญลักษณ์ที่ปรากฎในหนังสือที่จัดพิมพ์. พระพุทธโฆษาจารย์เดิมนั้นพระคุณเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้รอบรู้ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ได้เจริญรุ่งเรืองโดยเริ่มประมาณ พ.ศ.943 หรือคริสตศักราชที่ 400. พระคุณเจ้าได้อรรถาธิบายพระมหาธรรมบททั้งสี่หรือนิกาย01. ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของพระคุณเจ้าก็คืองานพระวิสุทธิมรรค. นามของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นยิ่งใหญ่อย่างที่สุดในประวัติศาสตร์ของสำนักพระพุทธศาสนาบาลีนิกาย และก็กล่าวได้ว่าผู้ประพันธ์ธรรมบทอรรถกถานั้นก็คือพระคุณเจ้า. แต่เนื่องจากภาษาและลีลาของอรรถกถานี้มีความแตกต่างกันมากจากงาน พระวิสุทธิมรรค อรรถกถาเรื่องพระวินัย และมหานิกายทั้งสี่02. อันโด่งดังของพระคุณเจ้าพระพุทธโฆษาจารย์ จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปนัก. 

หมายเหตุ การขยายความ
01.
นิกาย (Nikāya บาฬี: निकाय, สันสกฤต: āgama - आगम) หมายถึง เล่ม, สิ่งที่รวบรวมไว้, ชั้น, หรือ กลุ่ม.
02. มหานิกายทั้งสี่ (The four greater Nikāyas) ประกอบด้วย ทีฆนิกาย (Dīghanikāya or Digha Nikāya - พระสูตรที่มีขนาดยาว - The long discourse), มัชฌิมนิกาย (Majjhima Nikāya - พระสูตรที่มีขนาดปานกลาง - The middle-length discourses), สังยุตตนิกาย (Saṁyutta Nikāya or saṃyutta-Nikāya - พระสูตรที่จัดรวมไว้เป็นกลุ่ม ๆ หรือสังยุตต์หนึ่ง ๆ - The connected discourses), และอังคุตตรนิกาย (Anguttara Nikāya or aṅguttara-Nikāya - พระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ หรือนิบาตหนึ่ง ๆ - The numerical discourses).

1.
2.
II. สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า)

       สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โคตมะ พุทธะนั้น, เป็นสิ่งเรามีบรมครูจากแดนอุษาที่พระองค์มิได้ทรงเป็นรองใครในเรื่องอิทธิพลต่อความคิดและสรรพชีวิตแห่งมนุษยชาติ ทรงเป็นที่เคารพสักการะของทุกคนสรรพชีวิตน้อยใหญ่ในฐานะที่พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งประเพณีทางศาสนาที่มีผู้ศรัทธายึดถือไม่น้อย มีมิติด้านกว้างและลึกกว่าใคร ๆ . พระองค์ทรงประทับอยู่ในประวัติศาสตร์แห่งปรัชญาของโลก เป็นมรดกแก่วิญญูชนที่ได้รับการปลูกฝัง สำหรับความซื่อตรงทางพุทธปัญญา ความแน่วแน่ทางศีลธรรม และความตระหนักรู้ทางจิตวิญญาณ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) จึงเป็นหนึ่งในบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย.
1.
2.
หน้าที่ 4
 
1. ช่วงที่ยังทรงพระชนม์ชีพ
1.
       แม้ว่าพระจริยาวัตรตามประวัติศาสตร์ของพระองค์จะถูกต้องคำถามมากหลาย1. มีนักวิชาการที่มีความสามารถเพียงไม่กี่ท่าน (หากมี) ในปัจจุบันที่สงสัยว่าจริยาวัตรต่าง ๆ ของพระองค์ในประวัติศาสตร์นั้น สามารถระบุวันเดือนปีที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้จริงหรือ ซึ่งสามารถร่างพุทธประวัติอย่างน้อยก็เป็นโครงร่าง และหลักธรรมคำสอนเกี่ยวกับปัญหาสำคัญบางประการของปรัชญาทางศาสนา ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจที่ควร. ซึ่งข้าพเจ้า (ส. ราธากฤษณัน) ไม่สามารถใหเหตุผลโดยละเอียดได้ว่าบางส่วนของพระพุทธบัญญัติในยุกแรก ซึ่งกอปรด้วยความทรงจำของผู้ที่ได้เห็นได้ยินจากพระพุทธองค์.2 ซึ่งเป็นโลก (หรือเป็นเทคนิค) ที่ไม่ค่อยได้ใช้นัก ดังนั้นความทรงจำ (ของผู้แสดงมุขปาฐะ) จึงแม่นยำและถี่ยิบมากกว่าปกติปัจจุบัน.
---------------

1. ดู เอมีล เซอนาต, เรียงความเรื่องตำนานพระพุทธเจ้า (พ.ศ.2418) (ภาษาฝรั่งเศส).
1.

พระเจ้าอโศกมหาราช, พัฒนาขึ้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2567.
1.
2. ธรรมเนียมปฏิบัติก็คือ จะมีการซักซ้อมพระธรรมและพระวินัยขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ (ปฐมสังคายนา) ซึ่งจัดขึ้นทันทีภายหลังการปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีการสังคายนาครั้งที่ 2 ในอีกหนึ่งร้อยปีต่อมา ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองไพศาลี (สส. वैशाली - Vaiśālī) เมื่อสวดพระวินัยอีกครั้ง และมีข้อผิดพลาดทางวินัยสิบประการ จึงถูกตำหนิ. ตามคำบอกเล่าของสำนักพระพุทธศาสนาในศรีลังกา มีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราว พ.ศ.296 (หรือ 247 ปีก่อนคริสตกาล). จากพระราชโองการ (The Bhābrū edict) ของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งมีข้อความเจ็ดตอนที่ระบุถึงในส่วนของพระสุตตันตปิฎกที่เหล่าภิกษุหรือศิษยานุศิษย์อ้างอิงไว้ศึกษา สามารถอนุมานได้ว่าตำราทางพระพุทธศาสนาประเภทนี้ได้เก็บรักษาอยู่ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช. ในจารึกที่สาญจี (Sāñchi) (สาญจีเป็น หมู่บ้านเล็ก ๆ ของรัฐมัธยมประเทศ ภารตะ เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ) มีคำว่าธัมมะกฐิกา (Dhammakathika) 'ผู้ประกาศธรรม', เปฎกิ (Peṭaki) ผู้รู้ในพระปิฎก, สุตาติกินี (Sutātikinī) ผู้รู้ในสุตตันตะ, ปัญจเนกายิกา (Pañcanekāyika) ผู้รู้ในนิกายทั้งห้า, บังเกิดขึ้น, และบ่งบอกว่านี่คือปิฎก, บทสนทนาวิพากษ์ และนิกายทั้ง 5 เป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนั้น. จารึกเหล่านี้ยอมรับว่ามีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เราอาจถือได้ว่าประเพณีทางพระคัมภีร์เกี่ยวกับพระเจ้าอโศกได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี ข้อเท็จจริงนี้ได้รับการยืนยันจากหลักฐานการแปลเป็นภาษาจีนและการค้นพบข้อความสันสกฤตที่สอดคล้องกับบางส่วนของนิกายทั้งห้า ภายในพระคัมภีร์เองมีชั้นวรรณะที่มีวันที่แตกต่างกันและสัญลักษณ์ของการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงมากมาย แม้ว่าจะกล่าวกันว่าทั้งหมดเป็นคำหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ พุทธวจน (buddhavacana) หรือ พระวจน (pravacana) ก็ตาม. เห็นได้ชัดว่ามีประเพณีลอยพระประทีบ มาตั้งแต่สมัยของพระพุทธเจ้าเอง.
1.
2.
หน้าที่ 5
สิ่งนี้เห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงที่ว่าเอกสารที่มีอายุก่อนหน้านั้นมาก อย่างฤคเวทได้ถูกส่งต่อมาถึงเราและถูกเก็บรักษาไว้ในความทรงจำของมนุษย์ โดยมีการอ่านที่แตกต่างกันน้อยกว่าตำราหลายเล่มในยุคหลัง1 แม้ว่าเอกสารทางพุทธศาสนาจะผ่านการแก้ไขมามากในยุคหลัง ๆ แต่คำพูดและการกระทำที่น่าจดจำของผู้ก่อตั้งก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยความแม่นยำปานกลาง องค์ประกอบเหนือธรรมชาติที่ประดับประดาและเรื่องเล่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในช่วงการประสูติของสมณะโคตม แสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาต่อบุคลิกภาพของพระองค์ของสาวกยุคแรก ๆ ซึ่งมีความทุ่มเทมากกว่าที่จะมองเห็นอย่างพินิจพิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม มีความเห็นสอดคล้องกันพื้นฐานระหว่างพระไตรปิฎกภาษาบาลี พงศาวดารศรีลังกา และงานสันสกฤตเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระองค์ ภาพของโลกที่พระองค์เสด็จไป และรูปแบบการสอนยุคแรกสุดของพระองค์ เรื่องราวในวัยเยาว์และวัยหนุ่มฉกรรจ์ของพระองค์มีบรรยากาศลึกลับอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ไว้วางใจเรื่องราวตามประเพณีของสายเลือดของพระองค์ พระองค์ประสูติเมื่อปี 563 ก่อนคริสตกาล2 เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งราชวงศ์กษัตริย์ที่รู้จักกันในชื่อศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ (หรือ กปิลวัสตุ) บนชายแดนประเทศเนปาล ห่างไปทางเหนือของเมืองพาราณสีประมาณ 100 ไมล์ ต่อมาจักรพรรดิอโศกทรงทำเครื่องหมายบริเวณดังกล่าวด้วยเสาซึ่งยังคงตั้งตระหง่านอยู่จนถึงปัจจุบัน3 พระองค์มีพระนามว่าสิทธัตถะ โดยมีโคตมะเป็นนามสกุลของพระองค์ นักพรตที่อยู่ที่นั่นเมื่อพระองค์ประสูติกล่าวว่าพระองค์จะเป็นจักรพรรดิ (จักรวาทิน) หากพระองค์ยินยอมที่จะครองราชย์, (ส่วนอีกทางเลือกหนึ่ง) พระองค์จะเป็นพระพุทธเจ้าหากพระองค์ดำเนินชีวิตแบบนักพรตพเนจร.

วิหารมหามายาเทวี สถานที่ประสูติของพระบรมศาสดา ด้านหน้ามีเสาพระเจ้าอโศกตั้งตระหง่านอยู่ ถ่ายไว้เมื่อ 2 มกราคม 2568 ณ สวนลุมพินี ประเทศเนปาล

---------------
1. ศาสตราจารย์แมคโดนัลด์ เขียนว่า: 'ดูเหมือนว่าแก่นแท้ของประเพณีพระเวท ซึ่งแสดงโดยฤคเวท ได้ส่งต่อมาถึงเราด้วยความเที่ยงแท้ในระดับสูงและความเอาใจใส่อย่างน่าทึ่งต่อความซื่อสัตย์สุจริตทางวาจา (มุขปาฐะ) จากช่วงเวลาที่แทบจะห่างไกลกว่า 1,000 ปีก่อนคริสตกาล' (A History of Sanskrit Literature (1900), หน้า 46-7)
2. ประเพณีที่เป็นเอกฉันท์ว่าพระบรมศาสดาปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้แปดสิบปี และวันนี้ถูกกำหนดให้เป็น 483 ปีก่อนคริสตกาล, ส่วน Vincent Smith คิดว่าพระบรมศาสดาปรินิพพานเมื่อประมาณ 543 ปีก่อนคริสตกาล ดู Journal of the Royal Asiatic Society, 1918, หน้า 547; Oxford History of India (ค.ศ.1923), หน้า 48.
3. มีจารึกไว้ว่า “เมื่อพระเจ้าเทวัญปริยะ ปริยทรรศิน [King Devānāmpriya Priyadarśin  - พระนามของพระเจ้าอโศกในจารึก] (เทวนาครี: देवानांप्रिय -
Devānāmpriya -The Beloved of The Gods, เทวนาครี: प्रियदर्शी - Priyadarśin - He who regards everyone with affection) ทรงได้รับการเจิมพระนามเมื่อ 20 พรรษา พระองค์จึงเสด็จมาบูชาสถานที่นี้ด้วยพระองค์เอง เพราะพระพุทธเจ้าศากยมุนีประสูติที่นี่… พระองค์จึงทรงสร้างเสาหินขึ้นเพื่อแสดงว่าพระผู้มีพระภาคประสูติที่นี่” {Hultzsch, Inscriptions of Aśoka (1925), p.164}.
1.
2.
หน้าที่ 6
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าบุคคลเดียวกันนั้นไม่สามารถเป็นทั้งจักรพรรดิและพระพุทธเจ้าได้ เพราะการสละอาชีพทางโลกถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับศาสนาที่จริงจัง. เราเรียนรู้จากสุตตนิบาต (Sutta Nipāta) เกี่ยวกับเรื่องราวของฤๅษีชราผู้หนึ่งซึ่งมาเยี่ยมเจ้าชายน้อยและทำนายว่าเจ้าชายน้อยจะยิ่งใหญ่ในอนาคตตามแบบฉบับของสิเมโอน01 และร้องไห้เมื่อคิดว่าตัวเขาเองจะไม่มีโอกาสได้เห็นและได้ยินพระกิตติคุณใหม่ พระมารดาได้สิ้นพระชนม์หลังจากคลอดพระโอรสได้เจ็ดวัน และพระนางมหาประชาบดี พระขนิษฐาของพระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นมเหสีคนที่สองของพระเจ้าสุทโธทนะก็เลี้ยงดูพระโอรสทารกนั้น. ในเวลาต่อมา เจ้าชายสิตถัตถะได้สยุมพรกับนางยโสธารา1 ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ และมีพระโอรสชื่อราหุล เรื่องราวที่พระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะโคตมะทรงตรัสไว้ว่า โอกาสหรือพระประสงค์ของเหล่าทวยเทพได้วางไว้บนเส้นทางของพระองค์ มีทั้งชายชราที่บาดเจ็บและทรุดโทรม ชายที่ป่วย ชายที่ตาย และนักพรตพเนจร ซึ่งสุดท้ายได้จุดประกายให้พระองค์ปรารถนาที่จะแสวงหาความสงบสุขในชีวิตทางศาสนา แสดงให้เห็นว่าเจ้าชายสิทธัตถะโคตมะทรงเป็นผู้มีอุปนิสัยเคร่งศาสนาและพบว่าความสุขและความทะเยอทะยานในโลกนี้ไม่น่าพอใจ อุดมคติของชีวิตแบบขอทานดึงดูดพระองค์ และเราได้ยินบ่อยครั้งในพระธรรมเทศนาของพระองค์เกี่ยวกับ ‘เป้าหมายสูงสุดของชีวิตศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้คนในเผ่าออกจากบ้านและออกไปสู่ความไร้บ้าน’2 ความพยายามของพระบิดาที่จะหันความสนใจไปสู่ผลประโยชน์ทางโลกล้มเหลว และเมื่ออายุได้ยี่สิบเก้าปี พระองค์ก็ออกจากบ้าน สวมชุดนักพรต และเริ่มสู่สมณเพศในฐานะผู้แสวงหาสัจธรรมพเนจร นี่คือการละทิ้งกองกิเลสทางศาสนาครั้งยิ่งใหญ่3 ต่อจิตใจของชาวภารตะ และรวมถึงความกระตือรือร้นและความทุกข์ทรมานที่ชาวภารตะเต็มใจจะเผชิญเพื่อบรรลุจุดหมายทางศาสนา.
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. สิเมโอน (Simeon) - สิเมโอนผู้รับเอาพระเจ้า เป็นชาวเยรูซาเลม ตามพระวรสารนักบุญลูกาแล้ว เขาได้พบกับมารีย์ โยเซฟ และพระกุมารเยซู ทั้งหมดเข้าในพระวิหารเพื่อทำสวดภาวนาครบรอบ 40 วันของพระกุมาร ตามธรรมบัญญัติของโมเสส. (th.wikipedia.org, สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2568).
--------------

1. มีการกล่าวถึงชื่ออื่น ๆ ด้วย เช่น ภัททกัจจา โคปา.
2. เปรียบเทียบกับ พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท: “เมื่อรู้จักเขาแล้ว พราหมณ์ก็ละทิ้งความปรารถนาในลูกหลาน ความปรารถนาในทรัพย์สิน ความปรารถนาในความรุ่งเรืองทางโลก และออกบวชเป็นภิกษุ” (bhikşācaryāṁ caranti) (iii. 5)
3. ในตำนานที่เล่าในภายหลัง การแยกทางจากภรรยาของเขาได้กลายเป็นหัวข้อของนิทานที่ซาบซึ้งใจ.



แหล่งอ้างอิง:
01. พุทธวจนะในธรรมบท (The Buddha's words in THE DHAMMAPADA), โดยราชบัณฑิต เสฐียรพงษ์ วรรณปก ISBN: 974-497-496-6, พิมพ์ครั้งที่ 11 สำนักพิมพ์: ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม กรุงเทพฯ, พ.ศ.2552
02. The Dhammapada, Introduced & Translated by Eknath Eswaran, Nilgiri Press, พิมพ์ครั้งที่ 2, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา, พ.ศ.2550.
03. The Dhammapada: With Introductory Essays, Pali Text, English Translation, and Notes (Oxford India Paperbacks), ฉบับปรับปรุงโดย ส. ราธากฤษณัน, พ.ศ.2547.
04. พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะหรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา. อ้างอิงจาก: พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ.2548.
1.
2.
3.
humanexcellence.thailand@gmail.com