MENU
TH EN
โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วสี
คัดลอกมาอีกทีจากระดาษปรู๊ฟ ซึ่งเคยบันทึกไว้ราว ๆ ปี ๒๕๒๘.



1.  เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ ประกอบด้วย:-
รูป   ----> กาย
วิญญาณ ---> รับรู้
สัญญา -----> จำได้
เวทนา -----> รู้สึกสุข, ทุกข์
สังขาร -----> ความคิด
วิญญาณ + สัญญา + เวทนา + สังขาร = จิต.

2.  สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป ไม่อิสระจากกัน นั่นคือ "อิทัปปัจจยตา".
3.  กาย, ใจและสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงถึงกันตลอด.
4.  เมื่อมีเหตุการณ์อย่างหนึ่ง เหตุการณ์นั้น มีเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องอย่างสลับซับซ้อน ผลักดันกันเป็นทอด ๆ (อิทัปปัจจยตา) พอเหมาะพอดีให้เกิดขึ้น
5.  ธรรม หรือ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ที่มีเหตุผลในตัวเอง พุทธธรรมเน้นที่เหตุผล (เย ธมมา เหตุปฺปภวา) อิทัปปัจจยตา ที่สลับซับซ้อนมาก ๆ เข้า รวมเรียกว่า "กรรม".
6.  ความดีในทางพุทธ หมายถึง มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง นั่นคือ โลภ โกรธ หลง น้อยลงเท่าใด ท่านยิ่งถือเป็นความดีมากขึ้นเท่านั้น. "กรรมใดมีเหตุเป็นแดนเกิด ถ้าต้องการดับกรรม ก็ต้องดับเหตุของกรรมอันนั้น" พระตถาคตเจ้าศาสดาของเราสอนดังนี้.
7.  เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา แปลว่า กรรมใดมีเหตุเป็นแดนเกิด หรือมาจาก "เสียงเรียกร้องแห่งความมีเหตุผล.
กาลามสูตร = เกสปุตติยสูตร.
"ระหว่างปัญญา กับ ศรัทธา ต้องทำให้มันพอดี ๆ".
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา = สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเปลี่ยนแปลงความพอดี ๆ ก็ต้องดูให้เหมาะแก่กาลเวลาและสถานการณ์ในแต่ละเรื่อง ซึ่งล้วนเปลี่ยนแปลงอย่างแตกต่างกัน.
8.  ปัญญา = การรู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง.
9.  สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย = สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น.
10. สพฺเพ ธมฺมา อนิจจา! ถ้าเรามองเห็นอะไรคงที่ และยึดมั่นถือมั่น (ใจแคบ) จะเกิดความอึดอัดขัดข้อง เพราะไม่เป็นธรรม (ชาติ) แต่ถ้ามองเห็นการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งทั้งหลาย ตามที่เป็นจริงก็จะเข้าใจทั่วตลอด ใจกว้าง ไม่ขัดแย้งกับธรรมชาติ.
humanexcellence.thailand@gmail.com