MENU
TH EN

อสีติ มหาสาวก 1: ความเข้าใจเบื้องต้น

"ขึ้นชื่อว่าอามิสบูชาแล้วไม่สามารถจะค้ำจุนพระศาสนาให้ทรงอยู่ได้แม้เพียงชั่วเวลาดื่มยาคู (ข้าวต้ม) ๑ อึก... แต่การปฏิบัติชอบเป็นการบูชาที่เหมาะสมแก่พระศาสดา เพราะว่าการปฏิบัติชอบนั้นอันพระศาสดานั้น ปรารถนาแล้วและสามารถค้ำจุนพระศาสนาให้คงอยู่ได้ด้วย"

"อามิสปูชา จ นาเมสา สาสนํ เอกยาคุปานกาลมตฺตํปิ สนฺธาเรตุํ น สกฺโกติ... สมฺมาปฏิปตฺติ ปน สตถฺถุ อนุจฺฉวิกา ปูชาฯ สา หิ เตน ปฏฺฐิตา เจว สกฺโกติ จ สาสนํ สนฺธาเรตุํ"  (มฺงคล. ๑/๗๙)

                                                            มังคลัตถทีปนี.


 
First revision: Jan.06, 2013
Last revision: Jan.18, 2013
 

อสีติมหาสาวก ๘๐ พระอรหันต์, ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ, สำนักพิมพ์ธรรมลีลา (ผู้รวบรวมจำไม่ได้ว่าปีที่พิมพ์เป็นปีใด ซึ่งได้คัดลอกมาจากสมุดโน้ตที่ได้จดเก็บไว้นานแล้วเมื่อราว ๆ ปีปลายปี พ.ศ.๒๕๔๐ อีกต่อหนึ่ง).

 ความหมายของคำว่า "อสีติมหาสาวก" ตามรูปศัพท์ เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ "อสีติ" และ "มหาสาวก" .

"อสีติ" เป็นปกติสังขยา คือ จำนวนนับตามปกติ แปลว่า "๘๐".
"มหาสาวก" ประกอบด้วยคำว่า "มหา" ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่, มาก, สำคัญ และคำว่า "สาวก" ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ "สุ" (ในความหมายว่าฟัง) + ปัจจัย ณฺวุ มีรูปศัพท์ว่า "สาวก" แปลว่า ผู้ฟัง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุผู้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดคืออรหัตตผล.

ดังนั้นคำว่า "อสีติ" และ "มหาสาวก" เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำสมาส เป็น "อสีติมหาสาวก" จึงแปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่หรือผู้ยิ่งใหญ่หรือสำคัญ ๘๐ รูป (www.dhammajak.net วันที่สืบค้น. ๑๗ ก.ย.๕๕).


กลุ่มที่ ๑: กลุ่มพระปัญจวัคคีย์ (๕ รูป)

   ๐๑:  พระอัญญาโกณฑัญญะ
   ๐๒:  พระวัปปะ
   ๐๓:  พระภัททิยะ
   ๐๔:  พระมหานามะ และ
   ๐๕:  พระอัสสชิ


กลุ่มที่ ๒: พระนาลกะ-พระยสะ (๒ รูป)

    ๐๖:  พระนาลกะ และ
    ๐๗:  พระยสะ


กลุ่มที่ ๓: กลุ่มเพื่อนพระยสะ (๔ รูป)

    ๐๘:  พระวิมละ
    ๐๙:  พระสุพาหุ
    ๑๐:  พระปุณณชิ และ
    ๑๑:  พระควัมปติ


กลุ่มที่ ๔: กลุ่มพระชฎิล ๓ พี่น้อง (๓ รูป)

    ๑๒:  พระอุรุเวลกัสสปะ
    ๑๓:  พระนทีกัสสปะ  และ
    ๑๔:  พระคยากัสสปะ


กลุ่มที่ ๕: กลุ่มพระอัครสาวก (๒ รูป)

    ๑๕:  พระสารีบุตร และ
    ๑๖: พระมหาโมคคัลลานะ


กลุ่มที่ ๖: กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ (๘ รูป)

    ๑๗:  พระมหากัสสปะ
    ๑๘:  พระราธะ
    ๑๙:  พระอุปเสนะ (พระอุปเสนวังคันตบุตร)
    ๒๐:  พระมหาจุนทะ
    ๒๑:  พระขทิรวนิยเรวตะ
    ๒๒:  พระมหาปันถก
    ๒๓:  พระจูฬปันถก และ
    ๒๔:  พระสภิยะ


กลุ่มที่ ๗: กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล (๑๖ รูป)

    ๒๕:  พระวักกลิ
    ๒๖:  พระยโสชะ
    ๒๗:  พระกุณฑธานะ
    ๒๘:  พระปิลินทวัจฉะ
    ๒๙:  พระมหาโกฏฐิตะ
    ๓๐:  พระโสภิตะ
    ๓๑:  พระอุปวาณะ
    ๓๒:  พระองคุลิมาล
    ๓๓:  พระสาคตะ
    ๓๔:  พระเสละ
    ๓๕:  พระวังคีสะ
    ๓๖:  พระลกุณฑกภัททิยะ
    ๓๗:  พระกุมารกัสสปะ
    ๓๘:  พระนันทกะ
    ๓๙:  พระสุภูติ และ
    ๔๐:  พระกังขาเรวตะ


กลุ่มที่ ๘: กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ (๑๔ รูป)

    ๔๑:  พระนันทะ
    ๔๒:  พระราหุล
    ๔๓:  พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร)
    ๔๔:  พระอนุรุทธะ
    ๔๕:  พระอานนท์
    ๔๖:  พระภคุ
    ๔๗:  พระกิมพิละ
    ๔๘:  พระอุบาลี
    ๔๙:  พระเมฆิยะ
    ๕๐:  พระนาคิตะ
    ๕๑:  พระสีวลี
    ๕๒:  พระปุณณมันตานีบุตร
    ๕๓:  พระมหาอุทายี และ
    ๕๔:  พระกาฬุทายี


กลุ่มที่ ๙: กลุ่มพระมาณพ ๑๖ (๑๖ รูป)

    ๕๕:  พระอชิตะ
    ๕๖:  พระติสสเมตเตยยะ
    ๕๗:  พระปุณณกะ
    ๕๘:  พระเมตตคู
    ๕๙:  พระโธตกะ
    ๖๐:  พระอุปสีวะ
    ๖๑:  พระนันทะ
    ๖๒:  พระเหมกะ
    ๖๓:  พระโตเทยยะ
    ๖๔:  พระกัปปะ
    ๖๕:  พระชตุกัณณี
    ๖๖:  พระภัทราวุธ
    ๖๗:  พระอุทยะ
    ๖๘:  พระโปสาละ
    ๖๙:  พระโมฆราช และ
    ๗๐:  พระปิงคิยะ


กลุ่มที่ ๑๐: กลุ่มพระชาวแคว้นวังสะ (๒ รูป)

    ๗๑:  พระพากุละ และ
    ๗๒:  พระปิณโฑลภารทวาชะ


กลุ่มที่ ๑๑: กลุ่มพระชาวแคว้นอวันตี (๒ รูป)

    ๗๓:  พระมหากัจจายนะ และ
    ๗๔:  พระโสณกุฏิกัณณะ


กลุ่มที่ ๑๒: กลุ่มพระต่างแคว้น (๖ รูป)

    ๗๕:  พระพาหยะ
    ๗๖:  พระปุณณะ
    ๗๗:  พระทัพพะ
    ๗๘:  พระรัฐบาล
    ๗๙:  พระโสณโกฬิวิสะ และ
    ๘๐:  พระมหากัปปินะ
info@huexonline.com