MENU
TH EN

อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ

คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค


                                                                
...พุทธพจน์...


1. มีผู้ไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์มีหลักในการตรัสหรือไม่อย่างไรบ้าง ทรงตอบโดยใช้วิธี "จำแนกแยกแยะ" ดังนี้

 1.1 คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น = ไม่ตรัส
 1.2 คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น = ไม่ตรัส
 1.3 คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น = เลือกกาลตรัส
 1.4 คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น = ไม่ตรัส
 1.5 คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น = ไม่ตรัส
 1.6 คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น = เลือกกาลตรัส


2. In any contest between power and patience, bet on patience.
ระหว่างพละกำลังกับความทรหดนั้น จงพนันเอาข้างความทรหดไว้ดีกว่า
[วิภัช ธราภาค]


3. จิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์

 

 

   "... อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่าน เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาก็จะเป็นทุกข์ เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา
      จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้ จะช่วยให้จิตของท่านสะอาด และมีความพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด
     จงเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด
     จงเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา
     จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น..."

  ที่มา: จาก.คู่มือการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่ออิสระมุนี. สำนักธรรมวิหาร หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ข้อ 74-77



4.  กาลามสูตร หรือ กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระธรรมบท วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงกระบวนการคิด การเชื่อแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล ประกอบด้วย
 
  1) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มาอนุสฺสเวน)
  2) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา (มา ปรมฺปราย)
  3) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
  4) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฎกสมฺปทาเนน)
  5) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
  6) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
  7) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
  8) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎี(ของตน)ที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
  9) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่า(เชื่อ)จะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
 10) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด พิจารณาด้วยปัญญาว่าธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือฏิบัติตามนั้น

ที่มา: จาก.
  ๑.    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระเพิ่มเติม ช่วงที่ 1/เสริม) หน้าที่ 19-20, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) พิมพ์ครั้งที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553, ธนธัชการพิมพ์.
  ๒.    คอลัมน์ของสำนักงาน ก.พ. "กระแสคน กระแสโลก" โดย เวชยันต์ เอี่ยมสุธน หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ หน้าที่ 37 ฉบับประจำวันที่ 3-9 มิถุนายน 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1607.



 


 หลวงพ่อดีเนาะ

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ อดีตสมภารวัดป่าชิคาโก แสดงธรรมไว้หลายธรรมมาสน์คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย (สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี) ฟังแล้วติดใจ เอามาพิมพ์เป็นหนังสื่อ ชื่อ หักหอกเป็นดอกไม้ เรื่องหนึ่งที่ท่านเทศน์ เป็นเรื่องของหลวงพ่อวัดหนึ่ง ซึ่งขึ้นชื่อลือชากันว่า ท่านเป็นพระที่มีแต่ความสุข ไม่เคยมีความทุกข์
วันหนึ่ง โยมมานิมนต์ท่านไปเทศน์ที่บ้าน บอกท่านว่าจะมารับแต่เช้า หลวงพ่อก็นั่งรอจนสายโยมก็ไม่มาสักที หลวงพ่อก็ว่า "ไม่มา ก็ดีเหมือนกันเนาะ เราฉันข้าวของเราดีกว่า"
ฉันข้าวได้ไม่กี่คำ โยมก็มารับพอดี กราบกรานขอโทษที่มาช้า เหตุเพราะว่ารถเสีย หลวงพ่อวางช้อน "อือ ก็ดีเนาะ ไปฉันที่งานเนาะ" นั่ง รถไปได้สักพัก เครื่องรถก็ดับอีก คนขับบอก "รถเสียครับ" หลวงพ่อก็ว่า "ดีเนาะ ได้หยุดพักชมวิวเนาะ"
คนขับซ่อมเครื่องรถได้พัก ก็ออกปากขอให้หลวงพ่อช่วยเข็นรถ ความจริงหลวงพ่อก็แก่ ข้าวก็ฉันได้ไม่กี่คำ แต่ทานก็ยิ้ม บอกว่า "โอ้ดีเนาะ ได้ออกกำลังเนาะ"
แล้วก็ขมีขมันออกแรงช่วยเข็นรถจนวิ่งได้ ไปถึงบ้านงาน เวลาเลยเที่ยง หมดเวลาฉันอาหารไปแล้ว เป็นอันว่า วันนั้นหลวงพ่ออดข้าว เจ้าภาพก็ร้อนใจ อะไร ๆ ก็เลยเวลามานาน นิมนต์ท่านขึ้นเทศน์ทันที "ดีเนาะ มาถึงก็ได้ทำงานเลยเนาะ"
หลวงพ่อว่าแล้วก็ขึ้นธรรมมาสน์เทศน์จนจบ มีคนชงกาแฟถวาย แต่เผลอตักเกลือใส่แทนน้ำตาลหลวงพ่อจิบกาแฟไปหนึ่งคำ แล้วก็บอกโยมว่า "โอ้ดีเนาะ ดี ๆ " แล้วก็วาง
ธรรมเนียมของหลวงพ่อขลัง ๆ เวลาท่านฉันอะไร ลูกศิษย์ก็ อยากได้บ้าง ว่ากันว่าเป็นสิริมงคลดีนักเรียงหน้ารอกันเป็นแถว ลูกศิษย์คนแรก ดื่มกาแฟก็พ่นพรวดออกมา "เค็มปี๋เลยหลวงพ่อ ฉันเข้าไปได้ยังไง!" "ก็ดีเนาะ ฉันกาแฟหวาน ๆ มานาน" หลวงพ่อว่า "ฉันเค็ม ๆ มั่งก็ดีเหมือนกัน"
ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะออก ลมแรง น้ำท่วม หรือคนด่า หลวงพ่อท่านมองไปในแง่ดีได้หมด มีลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งไปทำผิด ถูกจับไปติดคุก ท่านก็ว่า "ก็ดีเนาะ มันจะได้ศึกษาชีวิต"
ท่าน อาจารย์ประสงค์บอกว่า หลวงพ่อองค์นี้ ชื่ออะไร อยู่วัดไหน ตัวท่านเคยจดไว้ แต่ทำสมุดที่จดหายจำได้เพียงแต่ว่า คนอีสานเขาสรรเสริญท่านมาก แม้ท่านจะชื่อจริงอะไร ก็คงไม่มีใครจำ เพราะต่างก็เรียกท่านว่า "หลวงพ่อดีเนาะ" กันหมดแล้ว

เรื่อง ของหลวงพ่อดีเนาะ เป็นหนึ่งตัวอย่างในเรื่อง "หักหอกเป็นดอกไม้" ทุกข์สุข ดีเลวล้วนแล้วแต่อยู่ที่วิธีคิด ถ้าคิดเป็นบวก เรื่องก็ออกมาเป็นบวก...
หลวง พ่อดีเนาะ แห่งวัดมัชฌิมาวาส อุดรธานี ซึ่งมองโลกในแง่ดี ไม่เคยจับผิดใคร ไม่เคยว่าใคร … เจอปัญหาอะไร ๆ ก็พูดว่า “ดีเนาะ” … จนกระทั่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็น “พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที” ซึ่งแปลว่า ดีเนาะ

หลวงพ่อดีเนาะเป็นเกจิอาจารย์มีชื่อของจังหวัดอุดรธานี ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพนับถือทั่วประเทศ มีเรื่องเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมี และการประพฤติปฏิบัติตนของหลวงพ่อดีเล่าขานกันมากมายหลายเรื่องเช่นมีผู้ เล่าว่า เนื่องจากหลวงพ่อดีมีผู้เคารพนับถือมาก จึงมีผู้มาถวายจตุปัจจัยข้าวของเครื่องใช้ที่มีค่าแก่ท่านมากมาย ในกุฏิของหลวงพ่อดีจึงมีข้าวของเงินทองที่เตะตาล่อโจรให้อยากลองของมากมาย แต่ดูเหมือนว่าหลวงพ่อท่านไม่ค่อยจะสนใจวัตถุรอบกายของท่านแต่อย่างใดอยู่มา วันหนึ่ง หลวงพ่อดีก็ถูกขุนโจรใจโหดปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์มากมาย ถือปืนบุกเข้าประชิดตัวหลวงพ่อบนกุฏิพร้อมทั้งประกาศก้อง
นี่คือการปล้น อย่าได้ขัดขืนนะหลวงพ่อ” หลวงพ่อดียิ้มกับโจรด้วยอารมณ์ดีและไม่มีอาการสะทกสะท้าน ท่านกล่าวกับโจรอย่างนิ่มนวลว่า “ปล้นก็ดีเนาะ” โจรชักแปลกใจในคำพูดและท่าทีของหลวงพ่อ โจรพูดว่า “ถูกปล้นทำไมว่าดีละหลวงพ่อ
หลวงพ่อดีตอบว่า “ทำไม่จะไม่ดีละ ก็ข้าต้องทนทุกข์ทรมานเฝ้าไอ้สมบัติบ้า ๆ นี้ตั้งนานแล้ว เอ็งเอาไปเสียให้หมดข้าจะได้ไม่ต้องเฝ้ามันอีก” โจรขู่อีก “ไม่ใช่ปล้นอย่างเดียวฉันต้องฆ่าหลวงพ่อด้วย เพื่อปิดปากเจ้าทรัพย์” หลวงพ่อดีก็ตอบเหมือนเดิม
ฆ่าก็ดีเนาะ” โจรแปลกใจจึงถามว่า “ถูกฆ่ามันจะดีได้อย่างไรละหลวงพ่อ” หลวงพ่อดีตอบ “ข้ามันแก่แล้ว ตายเสียได้ก็ดี จะได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร” โจรรู้สึกอ่อนใจเลยบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ฆ่าหรอก
หลวงพ่อดีก็พูดเหมือนเคย “ไม่ฆ่าก็ดีเนาะ” โจรถามอีก “ทำไมฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดีอีก” หลวงพ่อดีบอกว่า “การฆ่ามันเป็นบาป เอ็งจะต้องชดใช้เวรทั้งชาตินี้และชาติหน้า อย่างน้อยตำรวจเขาจะต้องตามจับเอ็งเข้าคุก เข้าตะราง หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย ตายแล้วก็ยังตกนรกอีก” โจรเลยเปลี่ยนใจ “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ปล้นหลวงพ่อแล้ว” หลวงพ่อดีก็ตอบอีกว่า “ไม่ปล้นก็ดีเนาะ
มี ผู้เล่าต่อมาว่า ในที่สุดโจรคนนั้นก็สำนึกบาปเข้ามอบตัวกับตำรวจ เมื่อพ้นโทษออกมาก็ขอให้หลวงพ่อดีบวชให้และบำเพ็ญศีลภาวนาตลอดมา ส่วนหลวงพ่อดีมีคนให้ฉายาท่านว่า “หลวงพ่อดีเนาะ” มาจนทุกวันนี้

ท่านมีตัวตนอยู่จริงครับ

พระเทพวิสุทธาจารย์ (หลวงปู่ดีเนาะ)
วัดมัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.อุดรธานี

 

ที่มา : จาก. อีเมล์ที่ฟอร์เวิร์ดมาจากคุณอรัญญา (arunya@penatex.com) เมื่อ 21 มิ.ย.54

5. งานของท่าน ว.วชิรเมธี

คนกับเวลา

  • ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าการฆ่าคน. (??? แปลก ๆ ท่านผู้เจริญท่านใดทราบ ช่วยชี้แนะด้วยครับ..!!!)
  • อชุเชว กิจฺจมาตปฺปํ - ควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด.
  • อยู่ให้เหมือนวันสุดท้าย ตายให้เหมือนกับยังคบอยู่.
  • หากวันนี้ถูกต้อง พรุ่งนี้ก็ไม่ผิด.
  • วันนี้ยังอยู่ไม่ดูแล วันพรุ่งนี้ยังมาไม่ถึง แต่กังวลวันวานล่วงไปแล้ว แต่ยังถวิลหา ปราชญ์ท่านว่า "ผู้ถูกเวลากลืนกิน".



คนกับธรรม

  • ทุกข์ = ธรรม.
  • ผู้ก้าวย่างด้วยความรู้สึกตัว คือ ผู้ก้าวเดินอยู่บนดอกบัวอย่างแท้จริง จงเป็นคนดี อย่ามัวแสดงตนว่าเป็นคนดี.
  • ครอบครองสิ่งใด ระวังจะเสียใจเพราะสิ่งนั้น แค่ปล่อยก็ลอยตัว ลดความอยากให้น้อยลง แล้วความสุขจะเพิ่มขึ้น ความอยากไร้ขีดจำกัดเหมือนเส้นขอบฟ้า แต่ชีวาแสนสั้นเหมือนหยดน้ำค้าง.
  • ยิ่งรวย ยิ่งให้ ยิ่งได้ ยิ่งแบ่งปัน.
  • อยากได้ทุกอย่าง จะเสียทุกอย่าง.
  • ชีวิตที่วิ่งตามความอยาก ไม่ต่างอะไรกับคนโง่เพียรตักน้ำไปเติมทะเล.
  • การศึกษาดี งานดี เงินดี ครอบครัวดี เกียรติภูมิดี สุขภาพดี = ชีวีเป็นสุข.
  • การศึกษา คือ การตื่นขึ้นมามองเห็นตัวเอง.
  • อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน.
  • อยู่กับปัจจุบัน จึงไม่ทันได้เป็นทุกข์.
  • อดีตผ่านไป แต่ถ้าใส่ใจก็ยิ่งเจ็บ.
  • เบิกบานกับลมหายใจ ยิ่งใหญ่กับการปล่อยวาง.
  • รู้ลมหายใจ ยิ่งใหญ่กว่ารู้ครอบจักรวาล.
  • รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยคราว, รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก ไม่ต้องรบก็ชนะ.
  • อัตตาเป็นเพียงมายา อนัตตาเป็นความจริง.
  • ชนะเขาก็อหังการ แพ้คนอื่นก็ผูกพยาบาท.
  • วางแพ้ วางชนะ ชีวิตจึงจะมีความสุข.
  • โกรธแล้วกัด คือ สัตว์สองเท้า.
  • โกรธแล้ววาง คือ ทางแห่งโพธิสัตว์.
  • สรรพสิ่ง คือ ของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน.
  • การดำเนินชีวิต คือ การปฏิบัติธรรม.
  • มนุษย์นั่นแหละ เป็นตัวธรรมชาติ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ.
  • เราเกิดทุกครั้งที่สร้างอัตตา เราตายทุกครั้งก็วางอัตตา.
  • อัตตามี ทุกข์ก็มา อัตตาหมด ทุกข์ก็ม้วย.
  • องคุลิมาลยังกลับใจ แล้วคุณเป็นใครไม่กลับตัว.
  • กฎแห่งกรรม คือ ศาลสถิตยุติธรรมที่เที่ยงแท้.
  • ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว.
  • กฎแห่งกรรมทำงานไม่มีวันหยุด.
  • ทุกเรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ขอให้ "รู้".
  • ทุกข์กระทบ ธรรมกระเทือน.
  • บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา ปัญญาประเสริฐที่สุด.
  • ความคิดเห็นเป็นสิ่งวูบไหว แต่สัจธรรมนั้นไซร้เป็นสิ่งเที่ยงแท้.

คนกับเงิน
  • สาระของเงินอยู่ที่การให้ สาระของชีวิตอยู่ที่ปฏิบัติธรรม.
  • เงินทองเป็นของสมมติ แต่ชีวิตมนุษย์เป็นของจริง.
  • เงิน คือ ปัจจัย ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต.
  • เงิน คือ เครื่องมืออำนวยความสุข ไม่ใช่ตัวความสุขโดยตรง.
  • เงิน อาจทำให้คุณซื้อบ้านได้ แต่จิตวิญญาณของความเป็นบ้าน คุณต้องสร้างเอง.
  • เงิน คือ นายที่ไม่จริงใจ คือ ทาสที่ไม่ซื่อสัตย์ คือ มิตรที่พร้อมหักหลัง.
  • เงินที่อยู่ในมือของคนที่รู้คุณค่า จะถูกเปลี่ยนเป็นคุณภาพชีวิต.
  • เงินที่อยู่ในมือของคนที่ไม่รู้คุณค่า จะถูกเปลี่ยนเป็นความเหลวแหลกนานาชนิด.
  • เงินสำคัญที่รู้จักใช้ ไม่ได้สำคัญที่มีมากมายเป็นแสนล้าน.
  • สิ่งที่สูงกว่าเงิน คือ การก้าวเดินอยู่บนอริยมรรค.
  • สิ่งที่สูงกว่าเงิน คือ การเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีและมีชีวีอันเปี่ยมสุข.
  • อย่าใช้เงินสร้างสัมพันธภาพ เพราะผลผลิตคือมิตรเทียม.
  • จงเปลี่ยนเงินเป็นคุณภาพชีวิต อย่าเปลี่ยนเงินเป็นยาพิษ.
  • จงเปลี่ยนเงินเป็นประโยชน์สุขแก่ตนและมนุษยชาติ อย่าเปลี่ยนเงินเป็นสุญญากาศ.
  • จงใช้เงินเพื่อเพิ่มพูนปัญญาและวิชชา อย่าใช้เงินเพิ่มพูนตัณหาและอวิชชา.
  • จงเปลี่ยนเงินเป็นบุญ จงเปลี่ยนทุนเป็นธรรม.
  • มีเงินล้นฟ้า แต่ทว่าสุขภาพไม่ดี สู้ไม่มีเสียยังดีกว่า.
  • อย่าเห็นแก่เงิน จนหมางเมินความถูกต้อง.
  • อย่ารักเงินมากเกินไป จนยอมตายเพื่อแลกกับเงิน.
  • ประชาธิปไตยที่ได้มาเพราะเงิน มักเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ.
 

ที่มา : จาก. ว.วชิรเมธี, หนังสือ"เนชั่นสุดสัปดาห์" หน้า 56-57 ปีที่ 18 ฉบับที่ 933, วันที่ 16 เมษายน 2553 และฉบับก่อนหน้านี้ ช่วงต้นปี 2553 - กลางปี 2553

 

6. พุทธศาสนสุภาษิต

 

  • "การกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว ไม่ว่าบุญหรือบาป และไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางทวารตา ทวารหู หรือใจก็ตาม ย่อมไม่สูญหายไปไหน ย่อมจะเก็บประทับเอาไว้ในจิตใจอยู่เสมอตลอดเวลา เหมือนกับผ้าที่ถูกสีต่าง ๆ ย้อมเข้าไว้"
  • ฤๅษีโมฆราช ทูลถามว่า:


                      ข้าพระองค์จะมองดูโลกอย่างไรดี พญามฤตยู จึงจะมองไม่เห็น.


          พระบรมศาสดา ตรัสตอบว่า:

                    เธอจงมีสติ มองดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า
                    ถอนความเห็นว่าตัวเราออกให้ได้ทุกเมื่อ
                    เมื่อเธอเห็นโลกได้อย่างนี้ พญามฤตยูก็จะมองไม่เห็น.

[ไม่ทราบแหล่งที่มา. บันทึกเก็บไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๑]

humanexcellence.thailand@gmail.com