MENU
TH EN
Title Thumbnail & Hero Image: โปรทากอรัส พัฒนาเมื่อ 25 มีนาคม 2568.
A08. โปรทากอรัส
First revision: Mar.25, 2025
Last change: Apr.2, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
หน้าที่ 1
 
มนุษย์เป็นเครื่องวัดทุกสรรพสิ่ง
โปรทากอรัส (Protagoras)
(พ.ศ.53-123 หรือ 490-420 ก่อนคริสตกาล)
 
   สำนักแนวคิด:  จริยธรรม
   แนวคิด ทฤษฎี:  สัมพัทธนิยม (Relativism)01.
   ก่อนหน้านี้:  ในช่วงปลายพระชนม์ชีพของพระบรมศาสดา หรือ ราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 5: พาร์เมนิเดสโต้แย้งว่า เราสามารถพึ่งเหตุผลได้มากกว่าหลักฐานจากประสาทสัมผัสของเรา.
   หลังจากนี้:  - ราวพุทธศตวรรษที่ 1-2 หรือต้นก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 4: ทฤษฎีรูปแบบของเพลโตระบุว่ามี "รูปแบบสัมบูรณ์" หรือรูปแบบในอุดมคติของทุกสรรพสิ่ง.
 - พ.ศ. 2123/ค.ศ.1580: นักเขียนชาวฝรั่งเศส มิเชล เดอ มงแตน (Michel de Montaigne) สนับสนุนแนวคิดสัมพัทธนิยม เพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ในบทความของเขา.
 - พ.ศ.2510-2515/ค.ศ.1967-72: แจ๊คส์ เดียร์ริดา(Jacques Derrida) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อแสดงให้เห็นว่าข้อความใด ๆ ก็ตามก็มีข้อขัดแย้งที่ไม่อาจปรองดองได้.
 - พ.ศ.2548/ค.ศ.2005: พระสันตปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เตือนว่า "เรากำลังก้าวไปสู่การปกครองแบบเผด็จการแบบสัมพัทธภาพนิยม" ในคำปราศรัยต่อสาธารณชนครั้งแรกในฐานะพระสันตปาปา.

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. สัมพัทธนิยม (Relativism) หมายถึง แนวคิดที่เชื่อว่าไม่มีความจริงแบบตายตัว ความจริงสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสถานที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบความคิดความเชื่อ และโลกทัศน์ของคนแต่ละกลุ่ม ในทางมานุษยวิทยาอธิบายว่าสัมพัทธนิยมคือระเบียบวิธีที่นักมานุษยวิทยาใช้พิจารณาเพื่อทำงานภาคสนามในชุนชนของมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากตะวันตก ซึ่งนักมานุษยวิทยาจะต้องไม่นำเอาความคิดแบบตะวันตกไปตัดสินคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนอื่น และต้องศึกษาความคิดของคนอื่นในฐานะที่เป็นเงื่อนไขทางสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ. อ้างถึง: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, https://anthropology-concepts.sac.or.th/glossary/128, วันที่เข้าถึง: 2 เมษายน 2568.

1.
2.
3.

 

 
humanexcellence.thailand@gmail.com