MENU
TH EN
Title Thumbnail & Hero Image: เล่าจื้อ, พัฒนาเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567.
A02. เล่าจื้อ01.
First revision: May 15, 2024
Last change: Jul.29, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
.


หน้าที่ 1

เต๋าที่เล่าแจ้งนั้น หาใช่เต๋าไม่
 
เล่าจื้อ (老子 - Lǎozi)
ราวก่อนพุทธกาล 100 ปี (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6)
 
 สาขาปรัชญา  จารีตนิยม
 แนวคิดทฤษฎี  เต๋า หรือ เต้าเต๋อจิง (道德經 - Tao Te Ching) หรือ เต๋าเต็กเก็ง (Tō-tek-keng - ภาษาฮกเกี้ยน)
 ก่อนหน้านี้:  ราวก่อนพุทธกาล 1057-503 ปี (หรือราว 1600-1046 ปีก่อนคริสตกาล)
 ในสมัยราชวงศ์ชาง ผู้คนเชื่อว่าโชคชะตาถูกควบคุมโดยเทพเจ้าและการมั่นบูชาบรรพบุรุษ มีลัทธิพื้นบ้าน เน้นไสยศาสตร์.
 ราวก่อนพุทธกาล 502 ปี ถึง พ.ศ.287 (หรือราว 1045-256 ปีก่อนคริสตกาล)
 
ภายใต้ราชวงศ์โจว มีแนวคิดเรื่อง "อาณัติแห่งสวรรค์" (The Mandate of Heaven) เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจทางการเมือง
 หลังจากนี้:  ราวช่วงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพ (หรือ 500 ปีก่อนคริสตกาล)
 ขงจื้อ ท่านได้กำหนดเกณฑ์ในการพัฒนาตนและการปกครองที่มีจริยธรรมขึ้น.

 ราว พ.ศ.143 หรือ ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตศักราช
 ปราชญจวงจื่อ01.มุ่งความสนใจไปที่การสอนของลัทธิเต๋าไปที่การกระทำของแต่ละบุคคลมากกว่าการกระทำของรัฐ
 ราว พ.ศ.243 หรือ ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช
 ปราชญ์หว่างปี้ (王弼 - Wang Bi หรือ ฝู่ซื่อ - 輔嗣 - Fusi
) และปราชญ์กัวเซียง (郭象 - Guo Xiang) ได้ก่อตั้งสำนักลัทธิเต๋าใหม่

หมายเหตุ และคำอธิบาย
01. ปราชญ์จวงจื่อ (莊子 - Zhuangzi) ท่านเป็นปรมาจารย์ฝ่ายเต๋า ลำดับถัดมาจากปราชญ์เล่าจื๊อ ท่านเป็นผู้รจนาคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง (หรือเต๋าเต็งเก็ง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว/บ้างก็ว่าฮกเกี้ยน).
 

เล่าจื๊อ (Lao Tze) ที่มา: p7.storage.canalblog.com ผ่าน pinterest.com, วันที่สืบค้น: 20 พฤศจิกายน 2566.


 
หน้าที่ 2
       "เต๋าที่สามารถเอ่ยนามได้ ไม่ได้เป็นเต๋าที่เล่าแจ้ง." "ความจริงแท้นั้นไร้รูปแบบ, ความไม่รู้แท้ต่างหากที่มีรูปแบบ-เป็นที่รับรู้กันทั่วไป". สำหรับผู้เดินทางบนมรรคาสู่การบรรลุธรรมนั้น อย่าใส่ใจกับสิ่งที่ไม่จริงแท้, แม้ว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยจะสาละวนอยู่กับความไม่จริงแท้นี้ก็ตาม. การบรรลุมรรคผลนั้นมีนัยว่า ไม่สนทนาปสาทะ; การสนทนาปสาทะเป็นการแสดงนัยว่ามิได้บรรลุมรรคผล. นั่นคือคำประกาศว่า เต๋าที่เล่าแจ้งนั้น มิอาจมีคุณค่าให้จับต้องได้; ด้วยเหตุนี้การนิ่งเงียบ ย่อมดีกว่าการเจรจาพาทีโต้เถียง. ความจริงแท้ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดได้; ดีกว่า, แน่ละที่ไม่กล่าวอะไรเลย. นั่นคือการบรรลุมรรคผลอันยิ่งใหญ่." ส้อทฮิล (Soothill): สามศาสนาในจีน, พิมพ์ครั้งที่สอง (พ.ศ.2466/ค.ศ.1923), หน้าที่ 56-7.
หนังสือสามศาสนาในจีน ประพันธ์โดย วิลเลี่ยม เอ็ดเวิร์ด ส้อทฮิล (William Edward Soothill), ที่มา: www.weiserantiquarian.com, วันที่สืบค้น 28 กันยายน 2560.
 
       ราวพุทธศตวรรษที่ 1 หรือศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช จีนเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาวะสงครามภายใน เมื่อราชวงศ์โจวที่ปกครองอยู่นั้นพังทลายลง. การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดชนชั้นทางสังคมใหม่ซึ่งเป็นขุนนางประกอบด้วย กลุ่มผู้ปกครองและเหล่าตุลาการขึ้น ซึ่งได้พัฒนากลยุทธ์การปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น. แนวความคิดจำนวนมากได้ก่อร่างพัฒนาโดยชนชั้นขุนนางข้างต้น กลายเป็นที่รู้จักในชื่อของหนึ่งร้อยสำนักแนวคิด (The Hundred Schools of Thought).

       สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้มาพร้อมกับการก่อกำเนิดปรัชญาในกรีซ และมีข้อกังวลบางประการ เช่น (ในแนวคิดด้านตะวันตกแล้ว) มีการแสวงหาความมั่นคงในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีทางเลือกอื่นที่ศาสนากำหนดไว้ก่อนหน้านี้. แต่ปรัชญาจีนนั้นมีวิวัฒนาการมาจากการเมืองเชิงปฏิบัติ ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่าธรรมชาติของจักรวาล.

       แนวคิดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่จะปรากฎขึ้นในเวลานี้มาจาก เต๋า เต๋อ จิง (道德经 - Dao De Jing - Tao Te Ching - วิถีและพลังของเต๋า) ซึ่งมีสาเหตุมาจากเล่าจื๊อ ซึ่งนี่คือความพยายามของท่านในระยะแรก ๆ ที่จะเสนอทฤษฎีการปกครองที่ยุติธรรมโดยยึดหลักเต๋อ (คุณธรรม - virtue) ซึ่งสามารถพบได้โดยการทำตามเต๋า (Dao - วิถี) อันเป็นพื้นฐานปรัชญาที่เรียกว่าลัทธิเต๋า.

       เต๋า เต๋อ จิง ได้กำหนดถึงการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติเป็นหนทางสู่ชีวิตที่มีความสมดุล ดังเช่น คนตกปลาในทะเลสาบ ควรตกปลาในจำนวนที่จำเป็นไม่มากเกินไป เป็นต้น.



วงจรของการเปลี่ยนแปลง (Cycles of change)
       เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดเต๋า เราต้องรู้ว่าชาวจีนโบราณมองโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างไร สำหรับพวกเขาแล้ว การเปลี่ยนแปลงจะเป็นวัฏจักรโดยเคลื่อนจากสภาวะหนึ่งไปยังอีกสภาวะหนึ่งอย่างต่อเนื่อง เช่น จากกลางคืนสู่กลางวัน ฤดูร้อนสู่ฤดูหนาว เป็นต้น. พวกเขามองว่าสภาวะต่าง ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ตรงข้ามกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกัน สภาวะหนึ่งเกิดขึ้นจากอีกสภาวะหนึ่ง. สภาวะเหล่านี้ยังมีคุณสมบัติเสริมที่ประกอบกันเป็นทั้งหมด. กระบวนการเปลี่ยนแปลงถูกมองว่าเป็นการแสดงออกของเต๋า และนำไปสู่การปรากฎ 10,000 ครั้ง และไม่มีสถานะที่พิเศษใด ๆ . แต่เนื่องจากความปรารถนา (กิเลสตัณหา) และเจตจำนงเสรีของเรา เราจึงพลัดหลงออกจากเต๋า และรบกวนความสมดุลที่กลมกลืนของโลกได้. การใช้ชีวิตอย่างมีคุณธรรมมายถึงการปฏิบัติตามเต๋า.

       อย่างไรก็ตาม การติดตามเต๋านั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังที่เต๋า เต๋อ จิงรับรู้. การปรัชญาเกี่ยวกับเต๋านั้นไร้จุดหมาย เนื่องจากมันอยู่เหนือสิ่งอื่นใดที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ เต๋ามีลักษณะเฉพาะคือ หวู (武 - Wu) ("ไม่เป็นอยู่") ดังนั้นเราจึงสามารถดำเนินชีวิตตามเต๋า ด้วย หวูเหว่ย (Wu Wei) เท่านั้น ซึ่งแปลว่า "ไม่กระทำ" อย่างแท้จริง. ด้วยเหตุนี้ท่านเล่าจื๊อก็ไม่ได้หมายความว่า "ไม่กระทำ" ใด ๆ . แต่หมายถึงการกระทำตามธรรมชาติ - เป็นธรรมชาติของสัญชาตญาณ ในทางกลับกัน นำมาซึ่งการกระทำโดยปราศจากความปรารถนา ความทะเยอทะยาน หรือการไม่ปฏิบัติตามแบบแผนทางสังคม.


เล่าจื้อ
       มีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับผู้ประพันธ์ เต๋า เต๋อ จิง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่าเป็นเล่าจื้อ ท่านได้กลายเป็นบุคคลที่แทบจะเป็นตำนาน มีการแนะนำด้วยซ้ำว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานของเล่าจื๊อ แต่เป็นการรวบรวมคำพูดของนักวิชาการหลายคน สิ่งที่เรารู้ก็คือ มีนักวิชาการคนหนึ่งเกิดในรัฐฉู่ ชื่อ หลี่เอ๋อ (Li Er) หรือเล่าทัน (Lao Tan) ในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามเล่าจื๊อ  (ปรมาจารย์เฒ่า) มีข้อความหลายฉบับระบุว่าท่านเป็นนักเก็บเอกสารในราชสำนักโจว และขงจื๊อ (Confucius) ได้ปรึกษากับท่านเกี่ยวกับพิธีกรรมและพิธีการต่าง ๆ ตำนานกล่าวว่าเล่าจื๊อออกจากราชสำนักเมื่อราชวงศ์โจวเสื่อมถอย และเดินทางไปทางตะวันตกเพื่อแสวงหาความสงบ ขณะที่ท่านกำลังจะข้ามชายแดน ทหารยามคนหนึ่งจำท่านได้และขอบันทึกภูมิปัญญาของเขา เล่าจื๊อเขียนเต๋า เต๋อ จิงให้เขา จากนั้นก็เดินทางต่อไปโดยไม่มีใครพบท่านอีกเลย.

คำศัพท์ คำอธิบาย และที่มา:
01. จาก. The Philosophy Book, ISBN: 978-1-4053-5329-8, ผู้ร่วมเขียนประกอบด้วย Will Buckingham, John Marenbon, Douglas Burnham, Marcus Weeks, Clive Hill, Peter J. King และอีกหลายท่าน, สำนักพิมพ์ DK, จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554, ประเทศสโลวาเกีย.




 
info@huexonline.com