MENU
TH EN

A01. เธลีสแห่งมีเลทัส

Title Thumbnail & hero Image: เธลีสแห่งมีเลทัส, ประมวลภาพโดยโปรแกรม Adobe Firefly, เมื่อ 3 พฤษภาคม 2567.
A01. เธลีสแห่งมีเลทัส01,02.
First revision: May 3, 2024
Last change: May 15, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.


หน้าที่ 1
ทุกสรรพสิ่งรังสรรค์มาจากน้ำ

เธลีสแห่งมีเลทัส (Thales of Miletus)
ราวก่อนพุทธกาล 81-3 ปี (ราวก่อนคริสตกาล 624-546 ปี)
 
   สาขาปรัชญา:  อภิปรัชญา (Metaphysics)
   แนวคิดทฤษฎี:  เอกนิยม (Monism)
   ก่อนหน้านี้:  ราว 1957- 367 ปีก่อนพุทธกาล (2500-900 ปีก่อนคริสตกาล): อารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) และ อารยธรรมไมซีเนียน (Mycenaean civilization) ในกรีซ ซึ่งต่อมานั้นอาศัยศาสนาอธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ.
 ราว 557 ปีก่อนพุทธกาล (1100 ปีก่อนคริสตกาล): ตำนานการสร้างของชาวบาบิโลน. ในมหากาพย์ เอนูมา เอลิช (Enȗma Eliš) (ที่กล่าวเรื่องราวการกำเนิดจักรวาลของบาบิโลเนีย) กล่าวถึงสภาวะเบื้องต้นของโลกว่าเป็นมวลน้ำ.
ราว 157 ปีก่อนพุทธกาล (700 ปีก่อนคริสตกาล): กวีชาวกรีก เฮซิโอด หรือ ฮีเซียด (Hesiod) ได้แต่งธีออโกนี (Theogony) เป็นกวีนิพนธ์เชิงสั่งสอน. เล่าถึงวิธีการที่เหล่าเทพสร้างจักรวาล. รายละเอียดดูใน 1. ปฐมบท เทพปกรณัมกรีกและโรมันโบราณ.
   หลังจากนี้:  ช่วงที่สมเด็จพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์ชีพ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5):  เอมเพเดอคลิส (Empedocles) เสนอองค์ประกอบพื้นฐานสี่ประการของจักรวาล: ดิน, น้ำ, ลม, และไฟ.
 ราวพุทธศตวรรษที่ 1-2 (ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล): ลูซิปปุส (Leucippus) และ เดโมคริตุส (Democritus) ได้สรุปว่าจักรวาลประกอบด้วยอะตอมและพื้นที่ว่างเท่านั้น.

       จากการสังเกตการณ์ เธลีสก็อนุมานได้ว่า สภาพอากาศที่เหมาะสม ซึ่งไม่ได้ดึงดูดความสนใจจากพระผู้เป็นเจ้านัก นำไปสู่การเก็บเกี่ยวที่ดี. ทำนายว่าผลผลิตมะกอกจะออกมาสูงภายในหนึ่งปีแน่ ๆ  กล่าวกันว่าท่านซื้อเครื่องสกัดมะกอกในท้องถิ่นจนหมด แล้วได้กำไรจากการให้เช่าเครื่องฯ ซึ่งตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น.
 

หน้าที่ 2
      เธลีส, ท่านเป็นปราชญ์ท่านสำคัญท่านหนึ่งในยุคสมัยก่อนโสกราตีส01. ท่านอ้างว่าองค์ประกอบมีหนึ่งเดียวคือ น้ำ (Archê)02. เธลีสพิเคราะห์ว่าน้ำอาจเผชิญกับหลักการของการเปลี่ยนแปลง เช่น การระเหยและการควบแน่น ดังนั้นจึงปล่อยให้เป็นก๊าซหรือของแข็ง ท่านตระหนักว่าน้ำมีส่วนรับผิดชอบต่อความชื้น (ซึ่งทำให้เกิดความร้อน) และการถนอม ท่านยังเชื่อว่าโลกลอยอยู่บนน้ำ.

       ในยุคโบราณ (ช่วงก่อนพุทธศักราช 257-57 /ช่วงกลางก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8-6), กลุ่มชนในคาบสมุทรกรีกค่อย ๆ มาตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มนครรัฐ. พวกเขาพัฒนาระบบการเขียนและตัวอักษร รวมทั้งสิ่งที่ปัจจุบันยอมรับว่าเป็นปรัชญาตะวันตก. อารยธรรมก่อนหน้านี้ได้อาศัยศาสนาความเชื่ออธิบายปรากฎการณ์ในโลกรอบ ๆ ตัวพวกเขา และแล้วก็เกิดนักคิดสายพันธุ์ใหม่และพยายามค้นหาคำอธิบายที่เป็นธรรมชาติและมีเหตุผล.

       นักคิดทางวิทยาศาสตร์คนใหม่ท่านแรกที่เรารู้จักคือเธลีสแห่งมีเลทัส. เราไม่พบงานเขียนของท่าน ซ่งอาจจะมีแต่ไม่หลงเหลืออยู่เลย แต่เราก็รู้ว่าท่านเข้าใจเรขาคณิตและดาราศาสตร์เป็นอย่างดี และมีชื่อเสียงขจรขจายว่าเป็นผู้ทำนายสุริยุปราคาเต็มดวงราวก่อนพุทธศักราช 42 ปี (เมื่อ ปี 585 ก่อนคริสตศักราช). นำไปสู่การหันเหทางจิตใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกไม่ได้เกิดจากการแทรกแซงของสิ่งที่เหนือธรรมชาติ แต่มีสาเหตุจากธรรมชาติที่เปิดเผยได้ด้วยการสังเกต.

สสารพื้นฐาน (Fundamental substance)
       เธลีสจำเป็นที่จะต้องสร้างหลักการแรกในการทำงานด้านปรัชญา ดังนั้นท่านได้ตั้งคำถามว่า "สสารพื้นฐานของจักรวาลคืออะไร?" ด้วยแนวคิดที่ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลสามารถถูกลดทอนให้เหลือเพียงสสารเดียวได้ในที่สุดคือ ทฤษฎีเอกนิยม03. และท่านและเหล่าศิษยานุศิษย์เป็นกลุ่มแรกที่เสนอแนวคิดนี้ในปรัชญาตะวันตก. ท่านให้เหตุผลว่าสสารพื้นฐานของจักรวาลต้องเป็นอะไรบางอย่างที่ทุกสิ่งสามารถนำมาสร้างขึ้นได้ เช่นเดียวกับมันจำเป็นต่อชีวิตและสามารถเคลื่อนที่ได้ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง. ท่านสังเกตเห็นว่าน้ำมีความจำเป็นอย่างชัดเจนในการดำรงชีวิตทุกรูปแบบ และน้ำเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลง โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เป็นของเหลวไปจนถึงเป็นน้ำแข็ง และเป็นหมอกไอ. ดังนั้น เธลีสจึงสรุปว่าสสารทั้งหมดไม่ว่าจะมีคุณสมบัติปรากฏชัดเพียงใด จะต้องเป็นน้ำในช่วงหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง.

       เธลีสยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ผืนดินทุกแห่งดูเหมือนจะสิ้นสุดลงที่ริมน้ำ. จากจุดนี้เอง ท่านอนุมานได้ว่าโลกทั้งใบจะต้องลอยอยู่บนผืนน้ำ เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นที่ทำให้เกิดระลอกคลื่นหรือแรงสั่นสะเทือนในน้ำนี้แล้ว ท่านกล่าวว่า เราพบว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนแผ่นดินไหว.

       อย่างไรก็ตาม ก็มีสิ่งที่น่าสนใจพอ ๆ กับรายละเอียดตามทฤษฎีของเธลีสก็คือ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เหตุผลหลักว่าทำไมท่านถึงถูกมองว่าเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของปรัชญา. ความสำคัญที่แท้จริงของท่านอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่าเธลีสเป็นนักคิดคนแรกที่แสวงหาคำตอบที่เป็นธรรมชาติและมีเหตุผลสำหรับคำถามพื้นฐาน แทนที่จะกำหนดวัตถุและเหตุการณ์ตามเจตนารมณ์ของเทพเจ้าตามอำเภอใจ. ด้วยการทำเช่นนั้น ท่านและปราชญ์รุ่นหลังของสำนักปรัชญามีเลเซียน04. ก็ได้วางรากฐานสำหรับความคิดทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาในอนาคตหยั่งลงในโลกตะวันตก.

---------------
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. สมัยก่อนโสกราตีส (pre-Socratic philosophers), เป็นคำที่ตั้งขึ้นโดยนักวิชาการชาวเยอรมันชื่อ แฮร์มานน์ เดียลส์ (Hermann Diels) เมื่อ พ.ศ.2446 (ค.ศ.1905).
02. น้ำ (Archê) - กรีก: Ἀρχή - อาร์คี่ - จุดเริ่มต้น หลักการแรกของโลกปรัชญากรีกโบราณ.
03. ทฤษฎีเอกนิยม (Monoism) หรือ ความเชื่อในเรื่องของการมีมาตรฐานเดียว ความจริงแท้ของสรรพสิ่งมีเพียงหนึ่งเดียว ความจริงแท้อันเป็นต้นตอ.
04. สำนักปรัชญามีเลเซียน (Milesian School) ถือเป็นสำนักปรัชญาก่อนยุคโสกราตีส ตั้งอยู่ที่เมืองมีเลทัส อยู่บนแนวฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรอนาโตเลีย สาธารณรัฐทูร์เคีย (Republic of Türkiye) ปัจจุบัน, สำนักปรัชญานี้ ประกอบด้วยปราชญ์ก่อนยุคโสกราตีสรวมสามท่าน คือ เธลีส, อานักซิมานเดอร์ (Anaximander), และ อานักซิเมเนส (Anaximenes).


 
หน้าที่ 3
       ดูเหมือนว่าชื่อเสียงของเธลีสในฐานะนักคิดชาวกรีกคนสำคัญในยุคแรก ๆ สมควรได้รับ และท่านก็ได้รับการกล่าวถึงในรายละเอียดบางอย่างจากทั้งอริสโตเติล และไดโอจีเนส แลร์ติอุส01. ได้แสดงหลักฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่บ่งชี้ว่าท่านเป็นนักปรัชญา มีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแข็งขัน และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เชื่อกันว่าท่านเดินทางไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และขณะเยือนอียิปต์ ท่านได้เรียนรู้เรขาคณิตเชิงปฏิบัติซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานของการให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive reasoning) ของท่าน อย่างไรก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใดเธลีสยังเป็นครู ในสำนักปรัชญาแห่งแรก "สำนักปรัชญามีเลเซียน".  ซึ่งอานักซิมานเดอร์ลูกศิษย์ของท่านได้ขยายทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของท่านให้แตกแขนงออกไป และในทางกลับกัน ท่านก็ได้เป็นที่ปรึกษาของอานักซิเมเนส ซึ่งเชื่อกันว่าได้สั่งสอนพีทาโกรัส (Pythagoras) นักคณิตศาสตร์รุ่นเยาว์.
----------------
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. ไดโอจีเนส แลร์ติอุส (Diogenes Laertius) ผู้เขียนชีวประวัติของนักปรัชญาชาวกรีกโบราณในศตวรรษที่ 3.


คำศัพท์ คำอธิบาย และที่มา:
01. จาก. The Philosophy Book, ISBN: 978-1-4053-5329-8, ผู้ร่วมเขียนประกอบด้วย Will Buckingham, John Marenbon, Douglas Burnham, Marcus Weeks, Clive Hill, Peter J. King และอีกหลายท่าน, สำนักพิมพ์ DK, จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554, ประเทศสโลวาเกีย.
02. จาก. Paul Kleinman, "Philosophy 101," สำนักพิมพ์ Adams Media, ISBN 978-1-4405-6767-4, จัดพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา, พ.ศ.2556.
humanexcellence.thailand@gmail.com