Title Thumbnail & Hero Image: โลกโบราณ, ประมวลภาพโดย Copilot AI, เมื่อ 27 เมษายน 2567.
A00. โลกโบราณ: ก่อนพุทธกาล 157 ปี ถึง พ.ศ.79301.
First revision: Apr.27, 2024
Last change: May 02, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และ ปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
หน้าที่ 01
ตั้งแต่เริ่มต้นประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ผู้คนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับโลก และตำแหน่งของพวกเขาในโลก. สำหรับสังคมยุคแรกแล้วนั้น คำตอบสำหรับคำถามพื้นฐานที่สุดพบได้ในศาสนา นั่นคือ: การกระทำของเทพเจ้าจะอธิบายการทำงานของจักรวาล และเป็นกรอบสำหรับอารยธรรมของมนุษย์.
อย่างไรก็ตาม บางคนพบว่าคำอธิบายทางศาสนาแบบดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอ และพวกเขาเริ่มค้นหาคำตอบโดยอิงจากเหตุผล มากกว่าที่จะเป็นไปตามแบบแผนหรือศาสนา. การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญา และนักคิดผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในกลุ่มแรกที่เรารู้จักคือ เธลีสแห่งมีเลทัส (Thales of Miletus) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกชุมชนชาวกรีกในสาธารณรัฐทูร์เคีย (Türkiye - เดิมคือประเทศตุรกี) ยุคปัจจุบัน. เธลีสใช้เหตุผลเพื่อสอบถามถึงธรรมชาติของจักรวาลและสนับสนุนให้ศิษยานุศิษย์กระทำเช่นเดียวกัน สิ่งที่ท่านได้ส่งต่อไปยังศิษย์ผู้ติดตามคือ คำตอบต่าง ๆ ที่ใช้เหตุผลตามแนวทางของท่าน และด้วยเหตุนี้ เธลีสจึงถูกมองว่าเป็นนักปรัชญาคนแรก.
ข้อกังวลหลักของนักปรัชญายุคแรกมีศูนย์กลางอยู่ที่คำถามพื้นฐานของเธลีส: “โลกนี้สร้างมาจากอะไร?” คำตอบของพวกเขาเหล่าศิษย์เป็นรากฐานของความคิดทางวิทยาศาสตร์และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน. งานของ พีทาโกรัส (Pythagoras) เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในขณะที่ท่านพยายามอธิบายโลกไม่ใช่ในแง่ของสสารปฐมภูมิบางรูปแบบ แต่เป็นคณิตศาสตร์. ท่านและศิษยานุศิษย์ได้บรรยายโครงสร้างของจักรวาลเป็นตัวเลข, อัตราส่วน, และเรขาคณิต. แม้ว่าความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์เหล่านี้บางส่วนได้รับความสำคัญที่เป็น รหัสยภาวะ (Mystery) สำหรับพีทาโกรัสและเหล่าศิษย์ผู้ติดตาม แต่คำอธิบายเชิงตัวเลขเกี่ยวกับจักรวาลนั้น มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเริ่มต้นของความคิดทางวิทยาศาสตร์ในระยะต่อมา.
ปรัชญากรีกคลาสสิก (Classical Greek Philosophy)
เมื่อนครรัฐกรีกเติบโตขึ้น ปรัชญากรีกก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ตั้งแต่ไอโอเนีย โดยเฉพาะนครเอเธนส์ ซึ่งกำลังกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของกรีซอย่างรวดเร็ว. ในที่นี้ เหลาสปราชญ์ได้ขยายขอบเขตของปรัชญาให้กว้างขึ้นเพื่อรวมคำถามใหม่ ๆ เช่น “เราจะรู้สิ่งที่เรารู้ได้อย่างไร” และ “เราควรดำเนินชีวิตอย่างไร” ซึ่ง โสกราตีส ท่านผู้เป็นชาวเอเธนส์ เป็นผู้ริเริ่มปรัชญากรีกคลาสสิกในช่วงเวลาสั้น ๆ . แต่มีอิทธิพลอย่างมหาศาล แม้ว่าท่านจะไม่ทิ้งงานประพันธ์ไว้ก็ตาม แต่ความคิดของท่านมีความสำคัญมากจนนำไปสู่แนวทางปรัชญาในอนาคต และนักปรัชญาทุกคนที่อยู่ก่อนหน้าท่านจึงกลายเป็นที่รู้จักในนาม ยุคก่อนโสกราตีส. เพลโต ลูกศิษย์ของท่านได้ก่อตั้งสำนักปรัชญาในกรุงเอเธนส์ เรียกว่า อคาเดมี - Academy (ซึ่งมาจากคำว่า "วิชาการ") ซึ่งเพลโตท่านได้สอนและพัฒนาแนวคิดของอาจารย์ โดยส่งต่อให้กับศิษย์ เช่น อริสโตเติล ซึ่งเป็นศิษย์และครูอยู่ที่นั่นมาราว 20 ปี. แนวคิดและวิธีการที่แตกต่างกันของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ ได้แก่ โสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล ก่อให้เกิดพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกดังที่เรารู้จักในปัจจุบัน และความแตกต่างทางความคิดเห็นของพวกเขายังคงจำแนกเหล่านักปรัชญาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดทางประวัติศาสตร์.
หน้าที่ 02
ปรับจาก 01 หน้าที่ 20.
หน้าที่ 03
ปรับจาก 01 หน้าที่ 21.
หน้าที่ 04
ยุคคลาสสิกของกรีกโบราณสิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ใน พ.ศ.220 หรือ 323 ปีก่อนคริสตศักราช. ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้รวมกรีซให้เป็นหนึ่งเดียว และนครรัฐของกรีกที่เคยทำงานร่วมรบร่วมกันอีกครั้งก็กลายเป็นคู่แข่งกัน. หลังจากการอนิจกรรมของ อริสโตเติล ในปี พ.ศ.221 หรือ 322 ปีก่อนคริสตศักราช แนวคิดด้านปรัชญาก็ถูกจำแนกเป็นกลุ่มความคิดที่แตกต่างกันมาก ในขณะที่พวกไซนิค (cynics) (มักเหยียดหยาม โอ้อวด เพื่อความสุขความสะดวกส่วนตน) พวกสเคพติกส์ (sceptics) (ชอบระแวง ปฏิเสธความเป็นไปได้ของความรู้หรือความเชื่อที่มีเหตุผลในบางขอบเขต) พวกอีพิคูเรียน (epicureans) (เหล่าศิษย์ของปราชญ์ชาวกรีกที่ชื่อ อิพิคูรัส - Epicurus - มักหมายถึงผู้มีรสนิยมสูง ฟุ้งเฟ้อ เจ้าสำราญ) และสโตอิก (Stoic) ต่างก็มีโต้แย้งจุดยืนของเหล่าแนวคิดตน.
ราวสองสามร้อยปีต่อมาวัฒนธรรมกรีกก็เริ่มเสื่อมถอย เมื่อจักรวรรดิโรมันเติบโตขึ้น ชาวโรมันมีเวลาน้อยหรือไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับปรัชญากรีกนัก. นอกเหนือจาก ปรัชญาสโตอิก (Stoicism) อย่างไรก็ตาม แนวคิดของชาวกรีกยังคงอยู่ สาเหตุหลักมาจากแนวคิดเหล่านี้ได้รับการเก็บรักษาต้นฉบับไว้และการแปลของโลกอาหรับ. แนวคิดของเหล่าเดิมนี้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงยุคกลาง โดยมีการผงาดขึ้นของศาสนาคริสต์และลัทธิทะเลทราย.
ปรัชญาตะวันออก (Eastern philosophies)
เหล่าปราชญ์ทั่วเอเชียก็ตั้งคำถามกับภูมิปัญญาดั้งเดิมเช่นกัน. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศจีนในช่วงก่อนพุทธศักราช 228 ปีถึง พ.ศ.62 (หรือปี 771 ถึง 481 ก่อนคริสตศักราช) นำไปสู่การรวบรวมปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของจักรวาลได้ระดับหนึ่ง กอปรกับมีวิธีที่ดีที่สุดในการจัดระเบียบสังคมที่ยุติธรรมและให้แนวทางด้านศีลธรรมแก่บุคคลในประเทศจีน มีกระบวนการสำรวจสิ่งที่ถือเป็น "ชีวิตที่ดี" โดยสิ่งที่เรียกว่า “สำนักแห่งร้อยความคิด” เจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลานี้ และที่สำคัญที่สุดคือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ยังคงครอบงำปรัชญาจีนจนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทางตอนใต้ของจีน ภารตะชมพูทวีป ปราชญ์บรมครูผู้หลุดพ้น พระผู้โปรดแสดงธรรมต่อสรรพชีวิตทั้งหลายก็บังเกิดขึ้น นั่นคือ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า สิทธัตถะโคตมะ จากการเทศนาของพระพุทธองค์ในดินแดนภารตะตอนเหนือในช่วงที่พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพนั้น 45 ปี (35-80 พรรษา) หรือประมาณ 498-463 ปีก่อนคริสตศักราช พระพุทธศาสนาแพร่กระจายไปทั่วอนุทวีปชมพูทวีปและเอเชียใต้ส่วนใหญ่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก แตกแขนงออกไปเป็นหลายนิกายซึ่งยังคงนับถือกันอย่างแพร่หลายและมั่นคง.
คำศัพท์ คำอธิบาย และที่มา:
01. จาก. The Philosophy Book, ISBN: 978-1-4053-5329-8, ผู้ร่วมเขียนประกอบด้วย Will Buckingham, John Marenbon, Douglas Burnham, Marcus Weeks, Clive Hill, Peter J. King และอีกหลายท่าน, สำนักพิมพ์ DK, จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554, ประเทศสโลวาเกีย.
02. จาก. Vincent Smith, "Journal of the Royal Asiatic Society," พ.ศ.2461, หน้าที่ 547.