MENU
TH EN

เค้าโครงปรัชญาอินเดีย 1

Title Thumbnail: อาจารย เอ็ม หิริยานนะ, ที่มา: https://www.dharmadispatch.in/culture/acharya-m-hiriyanna-the-joyous-radiance-of-sanatana-erudition-and-scholarship, วันที่เข้าถึง: 24 พฤศจิกายน 2564., Hero Image: ปกหนังสือ
เค้าโครงปรัชญาอินเดีย 1
First revision: Nov.24, 2021
Last change: Jul.17, 2022
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
 อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
 
       จากที่ได้ศึกษามา ศาสตราจารย์ ไมซอร์ หิริยานนะ (บ้างก็เรียก หิริญาณนะ - Professor Mysore Hiriyanna - maisoor hiriyaanna) เป็นบุคคลสำคัญที่ชาวอินเดียยกย่องว่าเป็น "โสกราตีสแห่งอินเดีย" (บ้างก็เรียกท่านเป็นโสกราตีสแห่งไมซอร์) ท่านมีส่วนสำคัญในการให้ความเห็นการประพันธ์ผลงานชิ้นเอก "ปรัชญาอินเดีย - Indian Philosophy" และ "ภควัทคีตา- Bhagavad Gītā" ของ ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan)  จึงใคร่ขอนำงานสำคัญของท่านชิ้นหนึ่ง "เค้าโครงปรัชญาอินเดีย" มาแสดงไว้ที่นี้ เป็นประโยชน์แก่ตัวกระผมเอง และผู้สนใจทั่วไป ใคร่ขออัญชลีต่อดวงวิญญาณของ ศ.ไมซอร์ หิริยานนะ มา ณ ที่นี้.
 
เค้าโครง
ปรัชญาอินเดีย



เอ็ม. หิริยานนะ


เค้าโครงปรัชญาอินเดีย


โดยผู้ประพันธ์ท่านเดียวกัน
สาระสำคัญปรัชญาอินเดีย




เค้าโครง
ปรัชญาอินเดีย


เอ็ม. หิริยานนะ


สำนักพิมพ์โมติลาล บานาร์ซิดาส​
จำกัด * เดลลี

ตีพิมพ์ครั้ง 6: เดลลี, พ.ศ.2561
ตีพิมพ์ฉบับอินเดียครั้งแรก: เดลลี; พ.ศ.2536



สำนักพิมพ์โมติลาล บานาร์ซิดาส จำกัด
สงวนลิขสิทธิ์​​​​​​



ISBN : 978-81-208-1086-0 (ปกผ้า)
ISBN : 978-81-208-1099-0 (ปกกระดาษ)


โมติลาล บานาร์ซิดาส
41 ยู.เอ. ถนนบังกาโล, ยวะฮาร์ นาคาร์, เดลลี 110 007
1 บี, จโยติ สตูดิโอ คอมปาวด์, สะพานเคนเนดี้, นานา โชวค์, มุมไบ 400 007
203 โรยาเพทต้าห์ ไฮโรด, มายลาปอร์, เชนไน 600 004
236, เมนบล็อคที่ 9, ชยนาคาร์, เบงกาลูรู 560 011
8 ถนนกาแมค, กัลกัตตา 700 017
อโศก ราชพาธ, ปัตนะ 800 004
โชวค์, พาราณสี 221 001


พิมพ์ในอินเดีย

โดย อาร์พี เชน ณ แน็บ ปริ้นติ้งยูนิต,
 เอ-44, พื้นที่อุตสาหกรรมนารายนะ, เฟส 1, นิว เดลลี-110028
และตีพิมพ์โดย เจพี เชน สำหรับ สำนักพิมพ์ โมติลาล บานาร์ซิดาส จำกัด,
41 ยู. เอ. ถนนบังกาโล, ยวะฮาร์ นาคาร์, เดลลี 110 007



 
คำนำ
 
งานชิ้นนี้อิงจากการบรรยายที่ข้าพเจ้าได้สอนมาหลายปีที่มหาวิทยาลัยไมซอร์และตีพิมพ์โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นตำราสำหรับใช้ในวิทยาลัยที่สอนปรัชญาอินเดีย. แม้ว่าจะมีจุดประสงค์หลักสำหรับนักศึกษา แต่ก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้อาจเป็นประโชน์กับผู้อื่นที่มีความสนใจในการแก้ปัญหาทางปรัชญาที่คุ้นเคยของอินเดีย. จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของหนังสือนี้คือให้มีการเชื่อมโยงและเท่าที่จะเป็นไปได้ภายในเล่มเดียว มีเรื่องราวที่ครอบคลุม แต่ทว่าในเรื่องการตีความและการวิพากษ์วิจารณ์จะไม่ถูกกีดกัน. หลังจากที่บทนำที่สรุปลักษณะเด่นของหนังสือนี้แล้วนั้น ความคิดของชาวอินเดียจักได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดในสามส่วนที่เกี่ยวกับยุคพระเวท ยุคหลังพระเวทตอนต้น และยุคของระบบปรัชญาตามลำดับ และเรื่องราวที่ให้ไว้เกี่ยวกับคำสอนในแต่ละส่วนซึ่งมีหลายข้อ โดยทั่วไปจะรวมถึงการสำรวจทางประวัติศาสตร์โดยสังเขป นอกเหนือจากการอธิบายทฤษฎีความรู้ อภิปรัชญาด้านภววิทยา01 และการสอนเชิงปฏิบัติ. ในเรื่องนี้นั้น ปัญหาขององค์ความรู้ที่เป็นกฎได้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเน้นไปที่จิตวิทยาและอีกส่วนที่เป็นตรรกะ. ในการจัดทำหนังสือนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้ประโยชน์จากงานมาตรฐานในหัวข้อที่ได้ตีพิมพ์เมื่อไม่นานนี้ เว้นไว้เสียแต่ในสองหรือสามบท (เช่น พระพุทธศาสนายุคแรก) ทัศนะที่แสดงออกมาเกือบทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากการศึกษาแหล่งที่มาดั้งเดิมอย่างอิสระ. ข้าพเจ้าเป็นหนี้ต่อ (ข้อความอ้างอิง) เชิงอรรถ เป็นไปไม่ได้เลยที่ข้าพเจ้าจะละเว้นคำศัพท์ภาษาสันสกฤตออกจากเนื้อหาทั้งหมด แต่มีการใช้เท่าที่จำเป็นและจะไม่เกิดปัญหา หากได้อ่านหนังสือนี้ตั้งแต่ต้นและให้เชิงอรรถได้อธิบายตาม. เพื่อเอื้อต่อการอ้างอิง จำนวนหน้าที่กล่าวถึงศัพท์หรือนิพจน์ทางเทคนิคหรือแนวคิดที่ไม่คุ้นเคยในครั้งแรกจะถูกเพิ่มเข้าไปในวงเล็บทุกครั้งที่มีการพาดพิงถึงในส่วนท้ายของหนังสือนี้.

       มีสองประเด็นที่ต้องดึงดูดความสนใจเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด ๆ . ในทัศนะของ
หมายเหตุ การขยายความ

01. อภิปรัชญาด้านภววิทยา (Ontology) เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่ศึกษาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นอยู่ หรือสัต (being) ในความหมายกว้างกว่านี้ ภววิทยาศึกษาศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแปรสภาพ (becoming) การดำรงอยู่ (existence) ความเป็นจริง (reality) และ ประเภทของสัต (categories of being) และความสัมพันธ์ระหว่างมัน โดยดั้งเดิมแล้ว ภววิทยาจัดเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาสาขาอภิปรัชญา (metaphysics) ภววิทยามุ่งสนใจกับคำถามถึงการมีอยู่ (exist) ของสัตภาพ (entity) ต่าง ๆ และสัตภาพต่าง ๆ นั้นควรรวมกลุ่มหรือสัมพันธ์กันภายในชนชั้น (hierarchy) อย่างไร และจะถูกนำมาแบ่งประเภทตามความเหมือนหรือความต่างอย่างไร. ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 29 พฤศจิกายน 2564.


 
8
ศาสนาพุทธ นิกายมาธยมิกะ01 คือ ลัทธิการทำลายล้างล้วน ๆ แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่ามันสื่อถึงแนวคิดเชิงบวกเกี่ยวกับความจริงแท้. การพิจารณาคำถามนี้จากแหล่งที่มาทางพุทธศาสนานั้นยาก ยิ่งเมื่อมีการพิจารณาเชิงปรัชญาปะปนกับคำถามทางประวัติศาสตร์ด้วย. ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม คุณลักษณะเชิงลบของการสอนนั้น ได้รับการรับรองจากงานของศาสนาฮินดูและเชนทั้งหมด ซึ่งย้อนไปถึงสมัยที่พระพุทธศาสนายังคงเป็นพลังในดินแดนแห่งการก่อกำเนิด. ตามข้อสรุปธรรมดา ๆ ที่มาจากความเห็นพ้องต้องกันคือ อย่างน้อยหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาในอินเดีย หลักคำสอนมาธยมิกะเป็นการทำลายล้าง และก็ไม่ถือว่าไม่เหมาะสมแต่อย่างใดในหนังสือปรัชญาอินเดียที่จะให้ความสำคัญในแง่มุมนี้. ประเด็นที่สองคือการไม่มีเรื่องราวใด ๆ ของสำนักทไวตะแห่งปรัชญาเวทานตะ. ปรัชญาเวทานตะนั้นเป็นทวีคูณ. เป็นแบบเบ็ดเสร็จเผด็จการหรือเทวนิยม ซึ่งแต่ละอย่างก็แสดงให้เห็นได้อีกหลายรูปแบบ. สิ่งใดก็ตามที่เหมือนกับการปฏิบัติต่อการสอนแบบหลายด้านอย่างครบสมบูรณ์ในที่นี้ มีเพียงสองตัวอย่างเท่านั้นที่ได้รับเลือก ตัวอย่างแรกคือ อไวตะของศังกราจารย์ อันแสดงให้เห็นอำนาจเบ็ดเสร็จของปรัชญาเวทานตะ และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ วิศิษฏาทไวตะ02 บ้างก็เรียก (วิศิษทไวตะ) ของรามานูชาจารย์ เพื่อแสดงให้เห็นเทวนิยมของลัทธิเวทานตะ.
       โดยสรุปแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อ เซอร์ ส. ราธากฤษณัน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยอานธร ที่ได้ให้ความสนใจงานนี้ด้วยความกรุณาและให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือในงานนี้มาโดยตลอด และ มิสเตอร์ ดี. เวนกทรมิยาห์ แห่งเบงกอล ผู้ซึ่งได้อ่านหนังสือนี้ทั้งเล่ม และได้แนะนำการปรับปรุงต่าง ๆ .
เอ็ม. เอช.
สิงหาคม พ.ศ.2475

หมายเหตุ การขยายความ
01. 
ศาสนาพุทธ นิกายมาธยมิกะ (the Mādhyamika school of Buddhism) บ้างก็เรียก มัธยมกะ หมายถึง สายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา เป็นพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานยุคแรก ที่ก่อตั้งโดยท่านนาครชุนะ เน้นที่ความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง โดยถือว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีความอยู่ด้วยตัวเอง (สวภาวะ) แต่เกิดได้เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอิงกันเกิด ปฏิเสธทั้งทิฐิข้างที่กล่าวอ้างว่าสรรพสิ่งมีอยู่จริง (สัสสตทิฐิ) และที่ถือว่าขาดศูนย์ (อุจเฉททิฐิ). ที่มา: th.wikipeid.org, วันที่เข้าถึง 3 ธันวาคม 2564.
02วิศิษฏาทไวตะ (บ้างก็เรียก วิศิษทไวตะ) เวทานตะ (Viśiṣtādvaita Vedanta) เป็นสำนักปรัชญาและทฤษฎี, มีกิจกรรมหลักทางตอนใต้ของอินเดีย ช่วงประมาณ ค.ศ.900 ถึงปัจจุบัน, ได้ถือเอาความสมบูรณ์สูงสุดของพระเจ้า ผู้ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งเดียวที่ธำรงอยู่และเป็นทุกสิ่งสรรพ (จากทุกสรรพชีวิต มนุษย์ถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ) อันเป็นคุณลักษณะของพระองค์ (รายละเอียดดูในหมายเหตุและคำอธิบาย ข้อที่ 17 ค. บทนำ: ภควัทคีตา)
 
เนื้อหา
 บทที่  หน้า
   บทนำ  13
 ส่วนที่ 1
ยุคพระเวท
I.  แนวคิดก่อนอุปนิษัท 29
II.  อุปนิษัท  48
ส่วนที่ 2
ยุคหลังพระเวท ระยะแรก
III.  ถ้อยแถลงเบื้องต้น  87
IV.  ภควัทคีตา 116
V.  พระพุทธศาสนาในระยะแรก  133
VI.  ศาสนาเชน  155
ส่วนที่ 3
ยุคแห่งระบบ
VII.  ถ้อยแถลงเบื้องต้น 177
VIII.  วัตถุนิยม 187
IX.  สำนักพระพุทธศาสนาในระยะต่อมา 196
X.  นยายะ-ไวเศษิกะ 225
XI.  สางขยะ-โยคะ 267
XII.  ปูรวะ-มีมางสา 298
XIII.  เวทานตะ. (ก) อไวตะ 336
XIV.  เวทานตะ. (ข) วิศิษฎาทไวตะ 383
     
   ภาคผนวก 413

 
ที่มา: yogaenred.com, วันที่เข้าถึง 8 ธันวาคม 2564.
 
รายการชื่อย่อ
   อดส.  อปัฏตฺมพธัมสูตร (ฉบับห้องสมุดตะวันออกแห่งไมซอร์).
   อว.  อรรถรเวท.
   ภค.  ภควัทคีตา.
   ปพ.  ปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ เอ. บี. คีธ (สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์).
   พอ.  พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท.
   พวส.  พฤหทารัณยโกปนิษัท-วารติกะ โดย สุเรศวระ.
   ฉอ.  ฉานโทคยะ อุปนิษัท.
   จอ.  จริยธรรมแห่งอินเดีย โดย ศาสตราจารย์ อี. ดับบลิว. ฮ้อฟกินส์.
   สศจ.  สารานุกรมแห่งศาสนาและจริยธรรม.
   คธส.  พระโคตมะ-พระธรรม-พระสูตร (ฉบับห้องสมุดตะวันออกแห่งไมซอร์).
   ปอ.  ปรัชญาอินเดีย โดย ศาสตราจารย์ ส. ราธากฤษณัน: 2 เล่ม.
   มภ.  มหาภารตะยุทธ.
   นม.  นยายะ-มัญจรี โดย ชยันตะ ภัฏฏะ (ชุดงานของวิเซียนะการัม ซานส).
   นส.  นยายะ-สูตร ของ โคตมะ (ชุดงานของวิเซียนะการัม ซานส).
   นสภ.  นยายะ-สูตร-ภาษยะ โดย วาทสยายนะ (ชุดงานของวิเซียนะการัม ซานส).
   นว.  นยายะ-วารติกะ โดย อุทโยทกระ (ชุดงานของโชคามบะ).
   คช.  เค้าโครงแห่งศาสนาเชน โดย ช. ไชนิ (สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์).
   ขสด.  ข้อความภาษาสันสกฤตดั้งเดิม โดย เจ. เมียร์ 5 เล่ม.
   วสภ.  ไวเศษิกะ-สูตร-ภาษยะ โดย ประศาสทภาด (ชุดงานของวิเซียนะการัม ซานส).
   ปป.  ปรการณะ-ปัญสิจา โดย ศลิคนาธะ (ชุดงานของโชวกัมบา).
   ปอ.  ปรัชญาแห่งอุปนิษัท โดย พี.เดสเซ่น: แปลเป็นภาษอังกฤษโดย เอ.เอส. จีเดน.
   ศว.  ศาสนาแห่งพระเวท โดย เมาริซ บลูมพีลด์.
   ฤว.  ฤคเวท.
   สส.  สรรพาธะ-สิทธิ พร้อมกับ ทัตวะ-มุคตา-กลาปะ โดย เวทานตะเดศิคะ (ชุดงานของโชวกัมบา).
   ศภ.   ศรี-ภาษยะ โดย รามานูชาจารย์ พร้อมกับ ศรุตะ-ประกาศิกา: สูตร 1-4 (สำนักพิมพ์ นิรณยะ สาจ.)
   นศบ.  หนังสือศักดิ์สิทธิ์แห่งบูรพาทิศ.
     
    12
   สท.  ศาสตรา-ทิปิกา โดย ปารธะสารธิ มิศระ พร้อมด้วย ยุกติ-สเนหะ-ประปูรณิ  (สำนักพิมพ์ นิรณยะ สาจ.)
   สทส.  สรรพทรรศนะสังเคราะห์ โดย มหาคุรุมาธวะ (กัลกัตตา), พ.ศ.2432.
   สค.  สางขยะ-คาริคา โดย อิศวรกฤษณะ.
   สลส.  สิทธานตะ-เลศะ-สังเคราะห์ โดย อัพพยะ ทิคษิตะ (ฉบับพิมพ์ของ คัมภา-โคนัม)
   สม.  สิทธานตะ-มุกตาวลี พร้อมด้วย คาริคาวะลี โดย วิสวนันธะ (สำนักพิมพ์ นิรณยะ สาจ.), พ.ศ.2459.
   สป.  สางขยะ-ประวะกนะ-สูตร.
   สปภ.  สางขยะ-ประวะกนะ-ภาษยะ โดย วิญาณะ ภิกษุ.
   รอ.  ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย โดย มัคส์ มึลเล่อร์ (ผลงานสะสม, เล่มที่ สิบเก้า).
   สทก.  สางขยะ-ทัตตวะ-เกามูที โดย วากัสปติ มิศระ.
   ศว.  โศลก-วารทิคา โดย คูมาริละ ภัฎฎะ (ชุดงานของโชวกัมบา).
   ทส.  ทาร์คะ-สังเคราะห์ โดย อันนัมภัฏฏะ (ชุดงานของ บอมเบย์ สันสกฤต).
   ทสด.  ทาร์คะ-สังเคราะห์-ดีพิคา (ชุดงานของ บอมเบย์ สันสกฤต).
   วสร.  เวทารธะ-สังเคราะห์ โดย รามานูชาจารย์ พร้อมด้วย ทาทพรยะ-ทีพิคา. (ชุดงานของโชวกัมบา), พ.ศ.2437.
   วป.  เวทานตะ-ปริภาษา โดย ธรรมราชะ อัธวารีนดรา (สำนักพิมพ์ เวงคที-ศวระ, บอมเบย์)
   วส.  เวทานตะ-สูตร โดย บาดรายณะ.
   ยส.  โยคะ-สูตร โดย ฤๅษีปตัญชลิ.
   ยสภ.  โยคะ-สูตร-ภาษยะ โดย ฤๅษีวยาส.
 
บทนำ
 
จุดเริ่มต้นของปรัชญาอินเดียนั้น ทำให้เราย้อนกลับไปได้ไกลจริง ๆ ด้วยเพราะเราสามารถติดตามเหล่าปรัชญานี้ได้อย่างชัดเจนในบทสวดของฤคเวท ซึ่งประพันธ์โดยชาวอารยัน ไม่นานนักหลังจากที่เหล่าชนชาวอารยันได้ตั้งรกรากบนบ้านใหม่ของพวกเขาราวสหัสวรรษแรกก่อนพุทธศักราช หรือในช่วงกลางสหัสวรรษที่สองก่อนคริสตกาล. กิจกรรมการคาดเดาเริ่มต้นได้เร็วมาก และยังคงดำเนินต่อไปจนถึงหนึ่งหรือสองศตวรรษที่ผ่านมา เพื่อให้ประวัติศาสตร์ที่เราต้องบรรยายในหน้าต่อ ๆ ไปนี้ครอบคลุมเป็นระยะเวลากว่าสาบสิบศตวรรษ. ในช่วงเวลาที่ยาวนานนี้ ความคิดของชาวอินเดียได้พัฒนาขึ้น ซึ่งแทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลภายนอก และขอบเขตตลอดจนความสำคัญของความสำเร็จ จะปรากฏชัดเมื่อเรากล่าวถึงว่ามีการพัฒนาระบบปรัชญาขึ้นหลายระบบ นอกเหนือจากการสร้างศาสนาประจำชาติที่ยิ่งใหญ่ - ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาแห่งโลกอันยิ่งใหญ่ - พระพุทธศาสนา. ประวัติความเป็นมาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากเราเขียนได้ครบถ้วน ย่อมมีคุณค่ามหาศาล แต่ความรู้ของเราในปัจจุบันเกี่ยวกับอินเดียตอนต้นนั้น แม้จะได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งจากการวิจัยสมัยใหม่ แต่ก็น้อยเกินไปและไม่สมบูรณ์สำหรับปรัชญาอินเดีย. ไม่เพียงแต่เราไม่สามารถติดตามการเติบโตของแนวคิดปรัชญาเดี่ยว ๆ ทีละขั้นได้ บางครั้งเราไม่สามารถกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างระบบหนึ่งกับอีกระบบหนึ่งได้. ดังนั้นจึงเป็นคำถามที่เคลือบแคลงมาจนถึงทุกวันนี้ว่า ปรัชญาสางขยะนั้น เป็นตัวแทนของหลักคำสอนดั้งเดิมหรือมาจากหลักคำสอนอื่นกันแน่. ความบกพร่องนี้เกิดจากการที่เราไม่รู้รายละเอียดที่สำคัญมากพอ ๆ กับการขาดวิธีการเรียงลำดับเหตุการณ์ที่แน่นอน ซึ่งเป็นเกือบทั้งหมดในประวัติศาสตร์อินเดียตอนต้น. มีเพียงวันเดียวเท่านั้น ที่สามารถอ้างได้ว่าถูกตั้งเป็นหลักแหล่งในหนึ่งพันปีแรก ดังเช่นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 487 ปีก่อนคริสตกาล. แม้แต่วันที่เราทราบในระยะต่อ ๆ มา ก็ยังเป็นการคาดเดาเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นขีดจำกัดของช่วงเวลาที่เราเสนอให้เป็นแนวปฏิบัติอยู่นี้ ก็ถือว่ายังไม่แน่นอน. ตามเรื่องราวที่เรามีอยู่นั้น จะเห็นได้ว่าเป็นความเชื่อมโยง เราอาจอ้างถึงข้อเสียอีกประการหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าจะปะทะกับผู้ศึกษาที่คุ้นเคย

 
14
กับประวัติศาสตร์ปรัชญายุโรป. ด้วยเรื่องราวส่วนใหญ่ของเรานั้น จะไม่อ้างอิงถึงชีวิตความเป็นอยู่หรืออุปนิสัยของปราชญ์นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการการสอนของท่าน เพราะตอนนี้เรารู้จักน้อยมาก. ด้วยคำกล่าวของ อุทยนะ หรือ อุทยนาจารย์01 นักคิดสำนักปรัชญานยายะผู้ชื่อเสียง ซึ่งโคเวลล์ได้เขียนไว้ว่า:1 'เขาเปล่งประกายราวกับเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ตรึงอยู่บนนภาวรรณคดีของอินเดีย ทว่าไม่มีกล้องโทรทรรศน์ใดที่สามารถค้นพบเส้นผ่านศูนย์กลางที่เห็นค่าได้ ชื่อของเขาเป็นจุดสว่าง แต่สิ่งที่เราสามารถตรวจพบได้นั้น ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของโลกหรือสสารวัตถุที่เราพานพบเลย.'
---------------

01 บทนำของหนังสือ กุสุมาญชลิ (ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ) ระหว่างหน้าที่ 5 และ 6.
หมายเหตุ การขยายความ
01 อุทยนะ หรือ อุทยนาจารย์ (เทวนาครี: उदयन Udayana หรือ Udayanācārya) ท่านถือกำเนิดที่เมืองมิถิลา (รัฐพิหาร) ราว คศว.975-1050 งานที่สำคัญของท่านคือ นยายะกุสุมาญชลิ (Nyāyakusumāñjali of Udayanācārya) ที่เป็นการวิพากษ์และการพิสูจน์ถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ท่านเป็นปราชญ์ที่สำคัญที่สุดในสำนักปรัชญานยายะ เทววิทยา ต่อต้านแนวคิดระบบจารวาก (Chārvaka) ซึ่งเป็นลัทธิวัตถุนิยมของอินเดีย.



 
humanexcellence.thailand@gmail.com