Title Thumbnail: มัคส์ มึลเล่อร์, ที่มา: Facebook.com/FriedrichMMuller, วันที่เข้าถึง 26 มกราคม 2565. Hero Image: Friedrich Max Müller, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 27 มกราคม 2565.
ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย 1
First revision: Jan.26, 2022
Last change: Apr.26, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
ในหนังสือทางด้านปรัชญาอินเดียต่าง ๆ ได้มีการกล่าวอ้างถึงงานเขียนของมหาปราชญ์ชาวอัสดงคตประเทศท่านนี้ มัคส์ มึลเลอร์ Max Müller (Friedrich Max Müller) ซึ่งพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เรียกท่านว่า "โมกษะมูลาจารย์", ที่มา: ส.ธรรมยศ จากหนังสือ "REX SIMEN SIUM หรือ พระเจ้ากรุงสยาม" หน้าที่ 23 สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, นนทบุรี, พิมพ์ครั้ง พ.ศ.2563
จึงใคร่ขอนำงานของท่านมัคส์ มึลเลอร์ มาแปลและเพิ่มเสริมจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้อ่านและรวมทั้งกระผม มีความเข้าใจปรัชญาอินเดียมากขึ้น พร้อมนี้ใคร่ขออัญชลีต่อดวงวิญญาณของมหาปราชญ์ มัคส์ มึลเลอร์ ที่ได้รังสรรค์ผลงานให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ไว้ ณ ที่นี้.
ผลงานที่ควรค่าแก่การสะสมไว้
ของ
ผู้ทรงคุณวุฒิ เอฟ. มัคส์ มึลเล่อร์
บทที่ 19
ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย
ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย
โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ มัคส์ มึลเล่อร์ ก.ม.
สมาชิกต่างประเทศช่วงปลายของสถาบันชาวฝรั่งเศส
นิวอิมเพรสชั่น
ลองแมนส์, กรีน และ โก.
39 พาเทอร์โนสเตอร์ โรว์ ลอนดอน
โฟร์ธ อเวนิวแอนด์ ถนนที่สามสิบ นิวยอร์ค
บอมเบย์ กัลกัตตา และมัทราส
ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462)
บันทึกทางบรรณานุกรม
พิมพ์ครั้งแรก 8vo มิถุนายน พ.ศ.2442 (ค.ศ.1899).
พิมพ์ใหม่, Cr.8vo, เป็นการพิมพ์สะสมในงานของ
ศาสตราจารย์มัค มึลเล่อร์, ตุลาคม พ.ศ.2446 (ค.ศ.1903)
พิมพ์อีกครั้ง, มกราคม พ.ศ.2455 (ค.ศ.1912);
มีนาคม พ.ศ.2459 (ค.ศ.1916); กันยายน พ.ศ.2462 (ค.ศ.1919)
v
บทนำ
นี่มิใช่เป็นการปราศจากความวิตกที่จริงจังที่ข้าพเจ้ามีในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต อ้างยังสถานที่ก่อนที่เพื่อนร่วมงานของข้าพเจ้าทั้งหลาย และทั้งหมดของผู้ที่สนอกสนใจในการเติบโตของความคิดเชิงปรัชญาทั่วทุกมุมโลก. มีบันทึกจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย ซึ่งได้เก็บสะสมไว้ในบันทึกของข้าพเจ้ามาหลายปีแล้ว. มันเร็วเท่ากับปี พ.ศ.2395 (ค.ศ.1852) ที่ข้าพเจ้าได้ตีพิมพ์ผลงานแรกของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการศึกษาด้านปรัชญาอินเดียใน วารสารสมาคมตะวันออกแห่งเยอรมัน (Zeitschrift der Deutschen Morgenländischen Gesellschaft). มันเป็นอาชีพอื่น ๆ ของข้าพเจ้า อย่างไรก็ตามและ มากกว่าที่จะเป็นคุณลักษณะจำเพาะ การตระเตรียมของข้าพเจ้าสำหรับการทำฉบับพิมพ์ให้สมบูรณ์ทางด้านฤคเวท และคำอธิบายที่มีอย่างมากมาย ไม่ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าในช่วงเวลานั้น ทุ่มเทเวลาเขียนได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าความสนใจในปรัชญาอินเดียของข้าพเจ้า ในฐานะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของวรรณกรรมของอินเดียและของปรัชญาระดับสากล ซึ่งยังคงเหมือนเดิมเสมอ. ความสนใจนี้บังเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อข้าพเจ้าได้เขียนประพันธ์เสร็จสิ้นสำหรับชุดหนังสือศักดิ์สิทธิ์แห่งบูรพาทิศ (เล่มที่หนึ่งและสิบห้า) การแปลอุปนิษัทของข้าพเจ้า แหล่งข้อมูลต่าง ๆ อันห่างไกลของปรัชญาอินเดีย และโดยเฉพาะด้านปรัชญาเวทานตะ เป็นระบบซึ่งความคาดหวังของมนุษย์ซึ่งดูเหมือนว่าข้าพเจ้า (เข้าใจ) อย่างถึงที่สุดแล้ว. บางระบบอื่น ๆ ของปรัชญาอินเดีย ยังได้ปลุกความอยากรู้ของบัณฑิตและนักปราชญ์ในยุโรปและอเมริกา และในอินเดียก็มีการฟื้นฟูการศึกษาเชิงปรัชญา แม้ว่าจะกำกับวิธีการฟื้นฟูไว้ไม่ดีนักก็ตาม แต่ก็เกิดขึ้น ซึ่งหากมันนำมาด้วยการปฏิบัติที่กระตือรือร้น ประสานงานมากกว่านี้ ระหว่างเหล่านักคิดชาวยุโรปและอินเดียต่าง ๆ.
vi
มันอาจเป็นผลผลิตในอนาคตสำหรับผลลัพธ์ที่มีความสำคัญอย่างที่สุด. ภายใต้สภาวการณ์เหล่านี้ ความปรารถนาทั่ว ๆ ก็เกิดขึ้น และได้แสดงออกมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าสำหรับการเผยแพร่ระบบทั้งหก ที่ทั่วถึงและครอบคลุมยิ่งขึ้น ซึ่งแนวคิดเชิงปรัชญาของอินเดีย ได้ค้นพบถึงการตระหนักรู้อย่างสมบูรณ์.
ศาสตราจารย์ พอล ยาคอบ ดอยส์เซน (Paul Jakob Deussen) (พ.ศ.2388-2462) ผู้ประพันธ์ The Philosophy of the Upanishads, ที่มา: librarything.com, วันที่เข้าถึง 1 มีนาคม 2565.
ริชาร์ด ฟอน การ์เบ้ (9 มีนาคม พ.ศ.2400 – 22 กันยายน พ.ศ.2470) นักอินเดียวิทยาชาวเยอรมันและบรรณารักษ์, ที่มา: wikidata.org, วันที่เข้าถึง: 2 มีนาคม 2565.
ไม่นานมานี้ ได้มีผลงานยอดเยี่ยมที่ตีพิมพ์ขึ้นแล้วของศาสตราจารย์ดอยส์เซนและการ์เบ้ในเยอรมัน และงานของดร.จี.ธิโบต์01. ในอินเดีย. ได้ให้แรงกระตุ้นครั้งใหม่แก่การศึกษาที่สำคัญเหล่านี้ ซึ่งไม่เพียงแต่สำคัญในสายตาของปราชญ์สันสกฤตในเชิงวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกคนที่ปรารถนาจะทำความคุ้นเคยกับวิธีแก้ปัญหาทั้งหมดที่เผ่าพันธุ์ของมนุษย์อันมีพรสวรรค์สูงสุดเสนอให้ไขปริศนานิรันดร์ของโลก. การศึกษาเหล่านี้ เพื่อเป็นการเชิดชูผู้มีอำนาจขั้นสูง ที่ได้เลิกศึกษาปรัชญาให้เป็นเพียงงานอดิเรก (เพื่อให้งานศึกษาแนวคิดปรัชญาเป็นงานหลัก) ของผู้มีทรงอิทธิพลไม่กี่ท่าน และก็กลายเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจทั่วประเทศ1. งานของศาสตราจารย์ดอยส์เซนเกี่ยวกับปรัชญาพระเวท (พ.ศ.2426) และงานแปลพระเวทสูตร (พ.ศ.2430) ผลงานแปลของศาสตราจารย์การ์เบ้ในเรื่องสางขยะสูตร (พ.ศ.2432) และ ท้ายที่สุดก็ไม่ด้อยแต่อย่างไร ซึ่ง ดร.จี.ธิโบต์ได้ใช้การแปลพระเวทสูตรอย่างถี่ถ้วนและมากที่สุดในเล่มที่ 34 และเล่มที่ 38 ของชุดหนังสือศักดิ์สิทธิ์แห่งบูรพาทิศ (The Sacred Books of the East) (พ.ศ.2433 และ พ.ศ.2439) เป็นการทำเครื่องหมายในยุคใหม่ของการศึกษาด้านสองระบบปรัชญาที่สำคัญที่สุดของอินเดียโบราณ และได้จารึกชื่อของผู้ประพันธ์ไว้แถวหน้าของนักวิชาการสันสกฤตในยุโรปแล้ว.
เป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานการศึกษาปรัชญาอินเดียของข้าพเจ้านั้น ไม่ได้มีมากไปกว่าการตอกย้ำถึงหลักการของแต่ละระบบ (ปรัชญา) ดังนั้นผู้ประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของปรัชญาหลักของอินเดีย จึงได้หยิบยกมาด้วยเจตนาและชัดเจน เพื่อให้เรื่องราวที่มีความครอบคลุมมากขึ้นของ
---------------
1. คำกล่าวของอุปราชอินเดีย ดูใน ไทมส์, 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2441
หมายเหตุ การขยายความ
01 ดร.จี ธิโบต์ (George Frederick William Thibaut) (20 มีนาคม พ.ศ. 2391- ... พ.ศ.2457) ท่านเป็นนักอินเดียวิทยาชาวเยอรมัน โดดเด่นด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์อินเดียโบราณ ท่านทำงานช่วงสั้น ๆ ที่อังกฤษ เป็นศาสตราจารย์วิทยาลัยด้านภาษาสันสกฤตที่พาราณสี เป็นศาสตราจารย์ที่ Muir Central College ที่เมืองอัลลาฮาบัด, ปรับปรุงและแปลจาก en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 3 มีนาคม 2565.
vii
กิจกรรมทางปรัชญาของเหล่าชนอินเดียตั้งแต่เก่ากาล และเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแค่ศาสนาของเหล่าอินเดียนี้เท่านั้น แต่ปรัชญาของพวกเขายังเชื่อมโยงกับลักษณะประจำชาติของชาวอินเดีย ซึ่งเป็นมุมมองที่ศาสตราจารย์ไนท์แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์ แอนดรูว์ ได้ธำรงรักษาไว้อย่างดี1.
มันเป็นเพียงเช่นอินเดียประเทศเดียวเท่านั้น ที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อยทั้งหมดทางกายภาพ ดังเช่นการพัฒนาความคิดทางปรัชญาที่เข้มแข็งซึ่งเราสามารถดูได้ในระบบปรัชญาทั้งหกก็เป็นไปได้. แต่ในยุคอินเดียโบราณนั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลย. ในยุคอินเดียโบราณนั้น ชีวิตแทบจะไม่มีการต่อสู้ดิ้นรนรุนแรง. สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมีพร้อมสรรพโดยธรรมชาติ และผู้คนที่มีรสนิยมน้อย (ใช้ชีวิตง่าย ๆ ) สามารถอาศัยอยู่ที่นั่นได้เหมือนนกในป่า และทะยานดั่งวิหกสู่ท้องนภาเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ของสรวงสวรรค์ และแหล่งกำเนิดอันนิรันดร์ของแสงและความจริงแท้. จะมีอะไรกระทำแก่บรรดาผู้ที่หลบจากแดดร้อนที่ได้อาศัยอยู่ในร่มเงาของแมกไม้หรือในถ้ำแห่งทิวเขาต่าง ๆ เว้นแต่จะนั่งสมาธิในโลกที่ตนพบว่าตนได้ตั้งอยู่เล่า พวกเขาไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไรหรือทำไม? แทบจะไม่มีชีวิตทางการเมืองในอินเดียโบราณ เช่นที่เรารู้จากพระเวท และด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองหรือความทะเยอทะยานของผู้นำชุมชน. ยังไร้ซึ่งศิลปะหรือวิทยาการใด ๆ เพื่อเรียกร้องพลังของเผ่าพันธุ์ที่มีพรสวรรค์สูงนี้. ขณะที่เรา (ชาวยุโรป) เต็มไปด้วยหนังสือพิมพ์ รายงานรัฐสภา ที่พบและอภิปรายถกเถียงกันทุกวัน นวนิยายใหม่ ๆ และหน้าที่ทางสังคมที่ฆ่าเวลา แทบไม่เหลือเวลาว่างให้เราขลุกกับปัญหาทางอภิปรัชญาและศาสนาได้เลย ปัญหาเหล่านี้ก่อขึ้นเกือบจะเป็นหัวข้อเดียวกันที่คนชราในอินเดียสามารถใช้พลังทางภูมิปัญญาของตนได้. ชีวิตในป่าไม่มีความเป็นไปไม่ได้ในสภาพอากาศที่อบอุ่นของอินเดีย
---------------
1. ดู 'จิตใจ', เล่ม 5 ที่ 17.
viii
และการที่ขาดวิธีการสื่อสารติดต่อซึ่งธรรมดาที่สุดนั้น จะทำอย่างไรให้สมาชิกในชุมชนเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ (อนุทวีป) แต่เพื่อแสดงความประหลาดใจในโลกซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาทั้งหมด?. ความมุ่งมั่นทะเยอทะยานทางวรรณกรรมแทบจะไม่มีอยู่เลยในช่วงเวลาที่แม้แต่ศิลปะด้านการเขียนยังไม่เป็นที่รู้จัก และเมื่อไม่มีวรรณกรรมใด ๆ เว้นแต่สิ่งที่จะเผยแพร่และส่งต่อด้วยความทรงจำ ได้รับการพัฒนาในระดับที่ไม่ธรรมดาและแทบจะไม่น่าเชื่อภายใต้ระเบียบวินัยที่ละเอียดรอบคอบ. ทว่าในเวลาที่ผู้คนไม่ได้นึกถึงเสียงปรบมือหรือประโยชน์ส่วนตนแล้วนั้น พวกเขากลับคิดถึงความจริงแท้มากขึ้น และด้วยอุปนิสัยรักอิสระและซื่อสัตย์อย่างสมบูรณ์ในด้านปรัชญาที่มีแทบทั้งหมดของพวกเขา.
ความปรารถนาของข้าพเจ้านั้นมีมานานแล้วในอันที่จะนำผลลัพธ์ของปรัชญาแห่งชนชาติอินเดียนี้ เข้ามาใกล้ ๆ เรา และหากเป็นไปได้ ก็จะปลุกความเห็นอกเห็นใจของเราสำหรับความพยายามอย่างสัตย์ซื่อของพวกเขาที่จะฉายแสงไปยังปัญหาในมุมมืดของการดำรงอยู่ ไม่ว่าโลกวัตถุหรือจิตวิญญาณส่วนตนจะเป็นเช่นไร ซึ่งความรู้เกี่ยวกับโลกนั้นถือเป็นข้อพิสูจน์เพียงประการเดียวของการดำรงอยู่ของโลกทางวัตถุ. หลักการง่าย ๆ ของแต่ละระบบในหกระบบของปรัชญาอินเดียนั้นเป็นที่รู้จักกันดี หรือเข้าถึงได้โดยง่าย เข้าถึงได้ง่ายกว่า ข้าพเจ้าควรจะกล่าวถึงมากกว่าสิ่งที่บรรดานักปราชญ์ชั้นนำของกรีซหรือของยุโรปยุคใหม่. ความคิดเห็นทุกประเด็นของผู้ก่อตั้งสำนักแนวคิดเชิงปรัชญาของอินเดียทั้งหกนั้น ล้วนส่งมอบมาในรูปของคำพังเพยสั้น ๆ หรือพระสูตร จึงเว้นช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับความไม่แน่นอน เพื่อให้ปรัชญาเมธีแต่ละท่านที่ได้ยึดสมรภูมิทางคิดไว้นั้น จัดวางแนวคิดที่ถูกต้องลงได้. เรารู้ว่าต้องลงแรงจำนวนมากและยังคงจ่ายอยู่ เพื่อที่จะได้รับมุมมองที่แน่นอนของเพลโตและอริสโตเติลนั้น เปล่าเลย
ix
แม้แต่คานท์และเฮเกล ของคำถามที่สำคัญที่สุดบางข้อเกี่ยวกับระบบปรัชญาของเหล่าปราชญ์นี้. แม้กระทั่งนักปรัชญาที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งคำพูดมักทำให้เราสงสัยว่าพวกเขาหมายถึงอะไร ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นนักวัตถุนิยมหรือนักอุดมคติ ผู้เป็นเอกนิยม (ที่เชื่อว่ามีเพียงปัจจัย การมีมาตรฐานเดียว) ผู้เป็นทวินิยม (ผู้เชื่อว่าความแท้จริงปฐมธาตุมี 2 อย่าง คือ จิตกับสสาร) เทวนิยม หรือ ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า. เหล่าปราชญ์ฮินดูไม่ค่อยปล่อยให้เราสงสัยในประเด็นสำคัญดังกล่าว และแน่นอนว่าพวกเขาไม่เคยละเลยผลที่ตามมาจากแนวคิดทฤษฎีของตนเลย. เหล่าปราชญ์ฮินดูนี้ไม่เคยคลุมเครือหรือพยายามปิดบังความคิดเห็นของตน ในจุดที่พวกเขามีแนวโน้มว่าจะไม่เป็นที่นิยมก็ตาม.
ภาพเขียนสีน้ำ: กปิลมุนี (Kapila, a Rishi) แห่งสำนักปรัชญาสางขยะ สันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่ในช่วง ร้อยปี-สองร้อยปีก่อนพุทธกาล, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 31 มีนาคม 2564.
ตัวอย่างเช่นกปิลมุนี ผู้ประพันธ์หรือวีรบุรุษผู้ร่วมรังสรรค์ระบบปรัชญาสางขยะ ได้เผยว่าระบบของท่านนั้นเป็นอเทวนิยม เป็นพระอิศวรโดยปราศจากพระผู้เป็นเจ้าหรือ พระผู้เป็นเจ้าที่กระตือรืนร้น แต่ถึงกระนั้น ระบบปรัชญาของท่านก็ยังได้ถูกนำมาถือปฏิบัติโดยปราชญ์ร่วมสมัยว่าระบบปรัชญาของท่านนั้นชอบธรรม ด้วยเพราะมีเหตุผลที่เผยออกมาอย่างสม่ำเสมอ และยอมรับว่าต้องการพลังอันเหนือธรรมชาติและมองไม่เห็นบางอย่างที่เรียกว่า ปุรุษะ. หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ (ปุรุษะ หรือ วิญญาณ) ก็ไม่มีวิวัฒนาการของประกฤติ (Prakriti) มีแต่เรื่องเดิม ๆ เก่ากาล ปราศจากโลกอันเป็นรูปธรรม หรือความเป็นจริงใด ๆ ในการดูย้อนไปยังตนเอง. มีเพียงชื่อเท่านั้นที่ได้รับพลังดังกล่าวมากับเราจนถึงผู้พัฒนาระบบ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่มีที่ว่างสำหรับพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ กระนั้นก็หดตัวย่อตัวเองจากการเรียกตนเองว่าไม่มีพระเจ้า เปล่าเลย เป็นเพียงความพยายามด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อหลีกหนีความเสื่อมทรามของอเทวนิยม. สิ่งนี้นำไปสู่ความคลุมเครือในเชิงปรัชญา หากไม่ใช่ความไม่ซื่อสัตย์ และมักจะทำให้การรับรู้ถึงเศียรพระผู้เป็นเจ้าล่าช้าไป แม้ปราศจากสิ่งกีดขวางของกิจกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ ทว่ายังเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญา พลัง และเจตจำนง. จากมุมมองทางปรัชญา ไม่มีทฤษฎีวิวัฒนาการใด ๆ ไม่ว่าจะโบราณหรือยุคใหม่ (ในภาษาสันสกฤต และในสำนักปรัชญาสางขยะ เรียก ปรินามะ- Pariṇāma परिणाम - modification, change หรือ flux) ก็ตาม ที่จะจัดพื้นที่ว่างให้แก่พระผู้สร้างหรือผู้ว่าการแห่งโลกได้ และด้วยเหตุนี้ในปรัชญาสางขยะ จึงประกาศตนอย่างไม่เกรงกลัวว่าเป็นพระอิศวรองค์น้อย ๆ ปล่อยให้ระบบปรัชญาอื่นคือ ปรัชญาโยคะ ได้
x
และการค้นหาสถานที่สำหรับพระอิศวรหรือพระเจ้าสำหรับส่วนตน ในระบบปรัชญาสางขยะดั้งเดิม ที่น่าสงสัยที่สุดคือ ปราชญ์อย่างเช่น ศังกราจารย์ นักบวชที่เด็ดเดี่ยวที่สุด และเป็นพราหมณ์ผู้ไร้เพศ เป็นต้นเหตุของหลายสิ่ง ได้ทราบข่าวว่าเป็นผู้บูชารูปเคารพและได้เห็น (พระผู้เป็นเจ้า) ในสิ่งเหล่านั้น (รูปเคารพ) แม้จะดูน่าเกลียด แต่สัญลักษณ์ของเทพก็มีประโยชน์ตามที่เขาคิด แต่สำหรับคนเขลาแล้ว ก็จะไร้ดวงตาที่มองเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่หลังรูปเคารพ และความหมายที่แท้จริงของรูปเคารพเหล่านี้ว่าคืออะไร.
สิ่งที่ข้าพเจ้าชื่นชมในเหล่าปราชญ์ชาวอินเดียก็คือ พวกเขาไม่พยายามหลอกลวงเราเกี่ยวกับหลักการและผลที่ตามมาตามหลักทฤษฎีของพวกเขา. หากเหล่าปราชญ์นี้เป็นพวกอุดมคตินิยม กระทั่งไกลถึงขอบเหวของลัทธิทำลายล้าง พวกเขาก็จะกล่าวเช่นเดิมเช่นนั้น และหากพวกเขาเล็งเห็นว่าโลกที่มีเป้าประสงค์นั้น ต้องการความคิดเห็นที่แท้จริง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีฐานรากที่มองเห็นหรือจับต้องได้ เหล่าปราชญ์นี้ก็ไม่เคยกลัวที่จะกล่าวออกมา. พวกเขาเป็นนักอุดมคติ หรือนักวัตถุนิยม เอกนิยม หรือ ทวินิยม ผู้เชื่อถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า หรือ ผู้ที่ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า โดยสุจริต เพราะการเคารพต่อความจริงของพวกเขาแข็งแกร่งกว่าการเคารพในสิ่งอื่นใด. ยกตัวอย่างเช่น ผู้นิยมปรัชญาเวทานตะ เป็นนักอุดมคติที่กล้าหาญ และในฐานะที่เป็นนักเอกนิยมที่เชื่อว่ามีเพียงปัจจัย จะปฏิเสธความเป็นจริงของสิ่งใด ๆ นอกเหนือจากพระพรหมผู้มีหนึ่งเดียว ซึ่งทรงเป็นวิญญาณสากล ซึ่งหมายถึงเรื่องราวของทั้งมวลที่เป็นโลกแห่งปรากฎการณ์. ตรงข้ามกับศิษยานุศิษย์ของลัทธิสางขยะ แม้จะเป็นนักอุดมคติและเป็นผู้ศรัทธาในปุรุษะ (पुरुष - puruṣa) (เรื่อง หรือ วิญญาณ) ที่มองไม่เห็น และ ประกฤติ (प्रकृति - prakṛti) (ธรรมชาติที่ได้เป็นรูปร่าง) ที่มองไม่เห็น ซึ่งไม่ตรงสงสัยเลยว่าพวกเขาเป็นอเทวนิยม ตราบเท่าที่การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าผู้แข็งขัน ผู้สร้างและผู้ปกครองโลก ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง.
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. จาก. มัคส์ มึลเล่อร์ (MAX MÜLLER), The Six Systems of Indian Philosophy, Longmans, Green and Co. 39 Paternoster Row, London Fourth Avenue & Street, New York, Bombay, Calcutta, and Madras พ.ศ.2462 (ค.ศ.1919).