ที่ |
นามกษัตริย์ |
นามในภาษาอังกฤษ/สันสกฤต/อื่น ๆ |
ช่วงที่ประสูติ/ครองราชย์ |
หมายเหตุ |
01 |
พระเจ้าอนุรุทธ หรือ พระเจ้าอนิรุทธ หรือ พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ อนุรุท
|
Anawrahta Minsaw |
ประสูติ 11 พฤษภาคม พ.ศ.1557/ 11 สิงหาคม พ.ศ.1587 (ค.ศ.1044) - 11 เมษายน พ.ศ.1620 (ค.ศ.1077) |
กล่าวได้ว่าเป็นบิดาแห่งชาติพม่า ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาให้สถิตในพม่าตราบจนทุกวันนี้. สร้างพระเจดีย์ชเวซิกอง หรือชเวซีโกน |
02 |
พระเจ้าสอลู (บ้างก็เรียกซอลู) |
Saw Lu |
ประสูติ 19 เมษายน พ.ศ.1592/ 11 เมษายน พ.ศ.1620 (ค.ศ.1077) - พ.ศ.1627 (ค.ศ.1084) |
พระโอรสของ 01 ทรงอ่อนแอ เหล่าอำมาตย์ ที่ปรึกษา พระชินอรหันต์บริหารราชการแทน ต่อมาถูกปลงพระชนม์โดยสหายคนสนิท |
03 |
พระเจ้าจันสิตตา (บ้างก็เรียกจันสิตถา จานซิต้า พระเจ้าครรชิต หรือ พระเจ้าจันสิต)
04
|
Kyansittha หรือ Kyanzittha หรือ ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชา (สันสกฤต) จารึกพม่าเรียก ถิลุงมัง (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" |
ประสูติ 21 กรกฎาคม พ.ศ.1573/21 เมษายน พ.ศ.1627 (ค.ศ.1084) - พ.ศ.1655-6 (ค.ศ.1112-3) |
บ้างก็ว่าเป็นอำมาตย์ในสมัย 02 และสถาปนาเป็นกษัตริย์ด้วยเหตุมีความวุ่นวาย บ้างก็ว่าเป็นพระโอรสของ 01 มีปรากฎในจารึกว่าพระองค์ซ่อมแซมพุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระบรมศาสดาที่อินเดีย |
04 |
พระเจ้าอลองสิธู หรือ สิธู (วีรบุรุษผู้ชนะ)
06
|
Alaungsithu พระนามภาษาสันสกฤตพบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยบวรธรรมราชา |
ประสูติ 17 มกราคม พ.ศ.1633/ พ.ศ.1655 - 1710
(ค.ศ.1112/12-1167) |
หลานหรือนัดดาของ 02 และ 03 ยุคนี้พม่าเจริญสูงสุดในทุกด้าน |
05 |
พระเจ้านรสู หรือ พระเจ้านรธู หรือ พระเจ้านรสุ หรือ นะระตู หรือ นราธู |
Narathu |
ประสูติ 16 มีนาคม พ.ศ.1661/พ.ศ.1710 - 1713
(ค.ศ.1167-1170) |
โอรสของ 04 สร้างวัดธรรมยางจี (Dhammayangi) เมืองพุกาม ตามจารึกระบุว่าพระองค์โหดร้าย ปิตุฆาต (ฆ่าบิดาตนเอง) เป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของราชวงศ์พุกาม |
06 |
พระเจ้านรสิงห์ หรือ นรเถขะ หรือ นรสิงขะ |
Naratheinkha หรือ Narasingkha สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรธัมมราชาธนบดี |
ประสูติ 20 สิงหาคม พ.ศ.1684/ราวกุมภาพันธ์ พ.ศ.1713-พฤษภาคม พ.ศ.1716 (ค.ศ.1170-1-1173-4) |
โอรสของ 05 |
07 |
พระเจ้านรปติสิทธู หรือ พระเจ้านรปติสี่ตู่ หรือ พระเจ้านีปติสิทธู |
Narapatisithu สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรธัมมราชา |
ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ.1693/พ.ศ.1716-1753 (ค.ศ.1173-4-1210-1) |
โอรสของ 05 อารยธรรมพม่าเริ่มชัดเจน ส่งผลต่อชาติต่าง ๆ โดยรอบ |
08 |
พระเจ้านะดวงมยา (นันเด่าง์เมีย) หรือ พระเจ้าไชยสิงขะ |
Nadaungmya หรือ Zeya Theinkha Uzana |
ประสูติ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1718/ พ.ศ.1753-1777 (ค.ศ.1210-1234) |
โอรสของ 07 รัชกาลนี้อาณาจักรพุกามสงบ มีการสร้างวัดจำนวนมาก ที่สำคัญอาทิ วัดที่โลมี่นโล (Htilominlo Temple) ที่พุกาม |
09 |
พระเจ้ากยะสวาร หรือ กยัสวาร หรือ พระเจ้าจะซวา |
Kyaswa สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรบัณฑิตธัมมราชา |
/ พ.ศ.1777-1793 (19 กรกฎาคม ค.ศ.1234/5-พฤษภาคม ค.ศ.1250/1) |
โอรสของ 08 เป็นจุดเริ่มต้นแห่งยุคเสื่อมถอย เงินในท้องพระคลังร่อยหรอ ด้วยยกเว้นภาษีที่ดินธรณีสงฆ์ |
10 |
พระเจ้าอุซานะ หรือ อุชานะ หรือ อุซะนา หรือพระเจ้าสิทธูที่ 3 |
Uzana หรือ Sithu III สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยธัมมราชาชัยสุรั |
/ พ.ศ. 1793-1797 (พฤษภาคม ค.ศ.1250/1-1 กรกฎาคม ค.ศ.1254/6) |
โอรสของ 09 ไม่มีความสามารถนัก สวรรคตจากการเสด็จคล้องช้าง |
11 |
พระเจ้านรสีหบดี |
Narathihapate หรือ Sithu IV สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรธัมมราชา เหมือน 07 |
/ พ.ศ.1797-1830 (6 พฤษภาคม ค.ศ.1254/6-1 กรกฏาคม ค.ศ.1287) |
โอรสของ 10 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม เป็นที่จดจำสองเรื่อง 1) ตะกละตะกลาม 2) หวาดกลัวต่อการรุกรานของมองโลก |
ช่วงว่างกษัตริย์หลังมองโกลรุกราน (พ.ศ.1830-1832 / ค.ศ.1287-1289) |
12 |
พระเจ้ากยอชวา |
Kyawswa |
/ พ.ศ.1830-1841 (30 พฤษภาคม ค.ศ.1287/9-17 ธันวาคม 1297/8) |
โอรสของ 11 หนึ่งในผู้ที่ตั้งตนเป็นกษัตริย์หลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม ใน ค.ศ.1287 ทรงปกครองอาณาจักรเล็ก ๆ รอบเมืองพุกาม เป็นประเทศราชมองโกล |
13 |
พระเจ้าสอนิท |
Swa Hint |
/ พ.ศ.1841-1855 (ค.ศ.1298-1312) |
โอรสของ 12 |