Title Thumbnail: แม่หญิงลาว, Hero Image: ศาลาในกรุงเวียงจันทน์ซึ่งได้ให้ชาวฝรั่งเศสพำนักระยะหนึ่ง, ไม่ทราบปีที่ถ่าย Cr.ผู้ถ่ายภาพ, ที่มา: Facebook เพจ"กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 14 กรกฎาคม 2564.
I. อาณาจักรล้านช้าง01, 02, 03.
First revision: Jul.13, 2021
Last change: Jan.11, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
ข้อมูลทั่วไปปัจจุบัน (Fact Sheet)
|
ชื่อทางการ |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว- สปป.ลาว (The Lao People's Democratic Republic-LDPR) |
|
ที่ตั้ง |
เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดกับประเทศไทยทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ |
|
พื้นที่ |
237,955 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตการปกครองพิเศษ |
|
เมืองหลวง |
นครเวียงจันทร์ (Vientiane) |
|
ภูมิอากาศ |
อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80% |
|
ภาษา |
ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ |
|
กลุ่มชาติพันธุ์ |
(สำรวจเมื่อ พ.ศ.2558) ลาว 53.2% ขมุ 11% ม้ง 9.2% ผู้ไท 3.4% ไท 3.1% มังกอง 2.5% กะตาง 2.2% ลื้อ 2.0% อาข่า 1.8% อื่น ๆ 11.6% |
|
ศาสนา |
พุทธ นับถือผี คริสต์ และอื่น ๆ |
|
สกุลเงิน |
กีบ (Kip) |
|
ระบอบการปกครอง |
สังคมนิยม |
|
จำนวนประชากร |
6.492 ล้านคน (พ.ศ.2558) |
เส้นทางการเคลื่อนย้ายของเผ่าไท ในพศว.ที่ 1-10, ที่มา Facebook เพจ "กลุ่มศิลปะวัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร์ลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," โดยผู้ใช้นามว่า พ่อใหญ่ เซียนเต่า, วันที่เข้าถึง 14 ตุลาคม 2564.
อาณาจักรล้านช้าง หรือ อาณาจักรลาว หรือ อาณาจักรลาวล้านช้าง มีชื่อเต็มว่า "อาณาจักรศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว" เป็นอาณาจักรหลักของวัฒนธรรมหลักไท-ลาว รวมกัน หลาย ๆ ชาติพันธุ์ แม้แต่ผู้ไท ภูไท ซึ่งเรียกว่า ลาวเก่า ด้วย.
ลาวนั้น แบ่งพื้นที่หรืออาณาจักรย่อยออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ลาวหลวงพระบาง หรือ ล้านช้างหลวงพระบางร่มขาว
2. ลาวเวียงจันทน์ หรือ ล้านช้างเวียงจันทน์ และ
3. ลาวจำปาสัก หรือ ล้านช้างจำปาศักดิ์
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งลาวออกตามระดับพื้นที่ได้ 3 กลุ่ม คือ
1. ลาวเทิง (ลาวในพื้นที่ราบสูง นับถือผี พูดกลุ่มภาษามอญ-เขมร)
2. ลาวสูง และ
3. ลาวลุ่ม (พวกไทเลิง)
ปัจจุบันอาณาจักรล้านช้าง ได้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีประชาชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์โดยสังเขปดังนี้03.
ชนเผ่าลาว - ผู้ไท 6 ชนเผ่า (68.28%)
ชนเผ่าทิเบต - พม่า 30 ชนเผ่า (21.83%)
ชนเผ่ามอญ - เขมร 3 ชนเผ่า (6.94%)
ชนเผ่าม้ง - เย้า 7 ชนเผ่า (2.95%)
รายละเอียดดูได้ใน ชนเผ่าและชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์
อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาว ซึ่งตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณ สปป.ลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกับอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และกัมพูชา.
อาณาจักรล้านช้างนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ.1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความเจริญรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรย ต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือ รัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ.2091-2114) และรัชกาลสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ.2181-2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาว ก็เสื่อมอำนาจและแตกออกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ.2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยาม และต่อมาในปี พ.ศ.2436 ราชอาณาจักรลาวทั้งสาม ก็ตกเป็นรัฐในอารักขาหรืออาณานิคมของฝรั่งเศส.
แผนที่อาณาจักรล้านช้าง ราว คศว.ที่ 14 หรือราวกลางพศว.ที่ 20 (สีเขียวเข้ม), ที่มา: wikiwand.com, วันที่เข้าถึง 14 กรกฎาคม 2564.
การสถาปนา
นักประวัติศาสตร์ลาวเชื่อว่า ชาวลาวเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง แถบมณฑลเสฉวนในสาธารณรัฐประชาชนจีนปัจจุบัน. ต่อมาได้ถูกจีนรุกรานจึงได้อพยพมาทางตอนใต้ของเสฉวนจนถึงยูนนาน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนองแสหรืออาณาจักรน่านเจ้า โดยได้มีความเจริญรุ่งเรืองและดำรงเอกราชมากว่าร้อยปี 05. (ปัจจุบันมีการพิสูจน์แล้วว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของชนชาติต้าหลี่ ไม่ใช่ชนชาติไท-ลาว) จนถึงสมัยของขุนบรมราชาธิราช พระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองใหม่ที่นาน้อยอ้อยหนู โดยให้ชื่อว่า "เมืองแถน" (สันนิษฐานว่าพ้องมาจากภาษาจีนกลาง "เทียน" ซึ่งแปลว่า เมืองสวรรค์) หรือ "เมืองกาหลง" (มหาสิลา วีระวงส์ ปราชญ์ชาวลาว เขื่อว่าเมืองแถน คือ เมืองแถง หรือเดียนเบียนฟู ในดินแดนสิบสองจุไท ประเทศเวียดนามปัจจุบัน).
ในพงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า ขุนบรมได้ทรงแผ่ขยายอาณาจักรออกไป โดยทรงส่งพระโอรส 7 องค์ไปปกครองเมืองต่าง ๆ ดังนี้
1. ขุนลอ ปกครองเมืองเซ่าหรือเมืองชวา (อ่านว่า เมืองซัว หรือเมืองซวา - ต่อมาเรียกว่า หลวงพระบาง) เชียงดง เชียงทอง
2. ท้าวผาล้าน (หรือขุนลาน) ปกครองเมืองหอแต (ต้าหอ สิบสองปันนา) บ้างก็ว่า เมืองห้อวอง (ฮุนหนำ - ยูนนาน)
3. ท้าวจุลง (หรือ ขุนจูสง) ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม (ปัจจุบันคือเวียดนาม) บ้างก็ว่า เมืองระณีพรหมทัตราช (ญวน - เว้)
4. ท้าวคำผง (หรือ ขุนคำพวง) ปกครองเมืองเชียงใหม่ บ้างก็เรียกว่า เมืองกุมกามโยนกราชละพุนเชียงใหม่.
5. ท้าวอิน (หรือ ขุนบานจิ่งเหลา หรือ ขุนอินทร์) ปกครองเมืองลานเพียศรีอยุธยา (ละโว้) บ้างก็ว่า เมืองละโว้โยธิยา - เมืองชาวใต้อโยธยา.
6. ท้าวกม ปกครองเมืองมอน (อินทรปัต หงสาวดี) (ใน 03. ระบุแตกต่างว่าเป็น ขุนเจ็ดเจือง ปกครองเมืองมวน - เชียงลม)
7. ท้าวเจือง (หรือ ขุนเจ็ดเจืองจิ่งเหลา) ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง - เชื่อกันว่าคือท้าวเจืองที่ปรากฎในวรรณกรรมเรื่อง "ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง")04.
อนึ่งบรรดาเมืองข้างต้นที่ขุนบรมส่งโอรสไปปกครองบางเมืองนั้น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเมืองและชุมชนระหว่าง พศว.ที่ 19 ได้เป็นอย่างดี เช่น "กุมกาม โยนกราช (เชียงแสน) ละพุน เชียงใหม่" ซึ่ง 4 เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองหลักของล้านนาระหว่าง พศว.ที่ 19-21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัชกาลพระเมืองแก้ว (พ.ศ.2038-2068) ตรงกับสมัยของพระยาวิชุลราช.
ที่น่าสนใจคือเดิมพงศาวดารกล่าวว่าชื่อ ขุนบานจิ่งเหลา นั้น สำเนียงพ้องกับพระนาม ขุนบางกลางหาว (ผู้ที่อยู่กลางหาว หรือกลางท้องฟ้าได้ก็คือ พระอาทิตย์) หรือ ศรีอินทราทิตย์ ในจารึกหลักที่ 1 ซึ่งปกครองกรุงสุโขทัย ราวปลาย พศว.ที่18.
ขุนลอ ผู้สร้าง/ปกครองเมืองชวานี้ถือกันว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวลาวทั้งปวง ประมาณในปี พ.ศ.1300 พระองค์ได้ให้เมืองชวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งนามธานีใหม่ว่า "เมืองเชียงทอง" และได้ขับไล่ชนชาติขอมที่มีอำนาจอยู่เดิมในบริเวณดังกล่าวออกไปสำเร็จ (นักวิชาการรุ่นใหม่มีแนวโน้มระบุว่า ขอม คือคนไทในภาคกลางลุ่มเจ้าพระยา) ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงต่อมายาวนาน มีกษัตริย์สืบต่อมาหลายพระองค์.
แผนที่ สปป.ลาว ปัจจุบัน แบ่งตามเขตการปกครอง, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 23 กรกฎาคม 2564.
การรวมชาติ
ในปลายพศว.ที่ 19 อาณาจักรล้านช้างได้มีกษัตริย์องค์สำคัญที่ชาวลาวยกย่องคือ "พระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช" อันเป็นพระบิดาของชาติลาว
นาฏศิลป์ราชสำนัก หอพระแก้ว เวียงจันทน์ สปป.ลาว ปี พ.ศ.2475, ที่มา: Facebook เพจ: Wisuwat Buroot, วันที่เข้าถึง 11 มกราคม 2566.
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 13 กรกฎาคม 2564.
02. จาก. th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 14 กรกฎาคม 2564.
03. จาก. ลำดับกษัตริย์ลาว, สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ISBN 974-418-118-4, สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ 2, พ.ศ.2545
04. จาก. Thailand: A Short History, Wyatt, David K., New Haven (Yale University Press), 2003. ISBN 0-300-08475-7.
05. ข้อมูลนี้ คงต้องมีการศึกษาค้นคว้า สอบทานเพิ่มเติม ด้วยเพราะนักวิชาการดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลจากทางประเทศไทย ตำนานเรื่องชาติไทย ของพระยาอนุมานราชธน เป็นหลัก.
PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: ภาพรูปปั้น มร.โอกุสต์ ปาวี ที่เวียงจันทน์ ด้านหน้าซ้ายของหอพระแก้ว ริมแม่น้ำโขง ไม่ทราบปีที่ถ่าย มีภาพชาวฝรั่งเศส คนลาว และคนเวียดนาม อยู่ด้านหน้า, ที่มา: 4.bp.bloggangspot.com, วันที่เข้าถึง 5 สิงหาคม 2564.
ภาพที่ 02: คณะละครหลวง, ที่มา: Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 6 สิงหาคม 2564.