MENU
TH EN

II. อาณาจักรล้านช้าง

Title Thumbnail & Hero Image: วัดพระแก้ว เวียงจันทน์, วัดเชียงทอง หลวงพระบาง, ที่มา: Facebook เพจ"กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2564.
II. อาณาจักรล้านช้าง01, 02, 03.
First revision: Jul.12, 2021
Last change: Aug.18, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

       ขอแสดงรายพระนามมหากษัตริย์02. เจ้ามหาชีวิต ผู้นำ ผู้ปกครอง อาณาจักรล้านช้าง หรือ อาณาจักรลาว หรือ อาณาจักรลาวล้านช้าง มีชื่อเต็มว่า "อาณาจักรศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว" ไว้ดังนี้

       จะเรียงลำดับอ้างอิงตามพงศาวดารลาว ชินกาลมาลีปกรณ์ และตำนานพระแก้วมรกต กรณีที่ศักราชไม่ตรงกัน จะยึดตามตำนานพระแก้วมรกตเป็นหลัก อ้างถึง 03. การศึกษากำหนดอายุสมัยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ความคลาดเคลื่อนของตำนานพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีผู้เรียบเรียงขึ้นภายหลังนั้น นี่เป็นข้อจำกัดในการเรียบเรียงและปริวรรต ขอให้ผู้ศึกษาต่อยอดสืบไป นำไปค้นคว้าเพิ่มเติมให้เกิดปัญญา และปริวรรตให้ถูกต้องในกาลต่อมาด้วยเทอญ. 

 
ที่ กษัตริย์/เจ้ามหาชีวิต/ผู้ปกครอง  ราชอาณาจักร/ช่วงเวลา  หมายเหตุ
 A01  ขุนบรมราชาธิราช  พ.ศ.1240-1293  เป็นบุตรแถนฟ้า (พระยาอินทาธิปติราช-พระอินทร์)03.
 ได้ย้ายจากหนองแส (เมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า) มาอยู่ที่ใหม่เรียกว่า นาน้อยอ้อยหนู (เมืองแถน หรือ เมืองแถง หรือเมืองกาหลง หรือเดียนเบียนฟู)03. พร้อมทั้งขยายอาณาเขตให้กว้างขวางโดยส่งพระโอรส 7 องค์ไปปกครองเมืองต่าง ๆ คือ
 1. ขุนลอ (A02) - ปกครองเมืองชวาล้านช้าง (หลวงพระบาง) เชียงดง เชียงทอง
 2. ท้าวผาล้าน หรือ ขุนลาน - ปกครองเมืองหอแต (ต้าหอ) หรือ เมืองห้อวอง (ฮุนหนำ-ยุนนาน)
 3. ท้าวจุลง หรือ ขุนจูสง - ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม หรือ เมืองระณีพรหมทัตราช (ญวน-เว้)
 4. ท้าวคำผง หรือ ขุนคำพวง - ปกครองเมืองกุมกามโยนกราชละพุนเชียงใหม่ หรือเมืองเชียงใหม่ 
 5. ท้าวงั่วอิน หรือ ขุนบานจิ่งเหลา (ขุนอินทร์)04.- ปกครองเมืองศรีอยุธยา (ละโว้) เมืองชาวใต้อโยธยา
 6. ท้าวกม หรือ ขุนเจ็ดเจือง - ปกครองเมืองมอน (อินทรปัต) หรือ เมืองมวน (เชียงลม)
 7. ท้าวเจือง หรือ ขุนเจ็ดเจืองจิ่งเหลา - ปกครองเมืองพวนเชียงขวาง (เชียงขวาง)
 นครเชียงทอง
 A02  ขุนลอ  ตั้งเมืองชวาเป็นราชธานี (พศว.13)  ได้เปลี่ยนนามจาก ชวา เป็นเชียงทอง มีกษัตริย์สืบต่อมา 16 ขุน 6 ท้าว 2 พระยา 2 เจ้าฟ้า จนมาถึงองค์ที่ 26 คือ เจ้าฟ้าคำเฮียว
 B01  ขุนชวา  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ ได้นามตามขุนชวาต้นวงศาเดิม
 B02  ขุนชวาเลา  ไม่มีข้อมูล  
 B03  ขุนสูง  ไม่มีข้อมูล  เป็นหลาน (นัดดา) ขุนลอ
 B04  ขุนเค็ด  ไม่มีข้อมูล  หรือ ขุนเด็ก เป็นโอรสขุนลอ
 B05  ขุนคุม  ไม่มีข้อมูล  
 B06  ขุนคีบ  ไม่มีข้อมูล  หรือ ขุนคีม เป็นหลาน (นัดดา) ขุนลอ
 B07  ขุนคบ  ไม่มีข้อมูล  
 B08  ขุนเคา  ไม่มีข้อมูล  
 B09  ขุนคาน  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
 B10  ขุนแพง  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
B11  ขุนเพ็ง  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
B12  ขุนเพิง  ไม่มีข้อมูล  
B13  ขุนพี  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
B14  ขุนคำ  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
B15  ขุนฮุง  พ.ศ.1406 จนสิ้นรัชกาล  หรือ ขุนฮุ่ง เป็นโอรสขุนลอ
B16  ท้าวแท่นโม  ไม่มีข้อมูล  หรือ ท้าวแทนโม เป็นโอรสขุนลอ
B17  ท้าวยุง  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
B18  ท้าวเยิก  ไม่มีข้อมูล  เป็นโอรสขุนลอ
B19  ท้าวพิน  ไม่มีข้อมูล  หรือ ท้าวพิณ เป็นโอรสขุนลอ
B20  ท้าวพาด  ไม่มีข้อมูล  หรือ ท้าวผาด เป็นโอรสขุนลอ
B21  ท้าวหว่าง  จนถึง พ.ศ.1814   เป็นโอรสขุนลอ
B22  พระยาลังธิราช  พ.ศ.1814-185906.  หรือ พระยาลัง05. หรือท้าวละวัง เป็นโอรสขุนลอ
B23  พระยาสุวรรณคำผง  พ.ศ.1859-1887  
B24  เจ้าฟ้าเงี้ยว  พ.ศ.1887-1894  
B25  เจ้าฟ้าคำเฮียว   พ.ศ.1894-1896  หรือ ขุนยาคำเฮียว
หมายเหตุ
     1). ลำดับที่ B01-B25 นั้น อ้างจาก 03. พงศาวดารไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใดบ้าง แต่กล่าวโดยรวมว่ามี 13 ชั่วคน
     2). มี ขุนคัง โอรสขุนลอ ยังกำหนดไม่ได้ว่าอยู่ในลำดับใด   

หลวงพระบาง เมื่อ พ.ศ.2418 คราวเกิดสงครามปราบฮ่อ, ที่มา: silpa-mag.com, วันที่เข้าถึง 26 กรกฎาคม 2564.
 
อาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ.1896-2250)
 01  พระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช  พ.ศ.1896-1916  "พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธานี" พระบิดาของชนชาติลาว บ้างก็เรียก เจ้าฟ้างุ่ม[49/391]
 02  พระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาถ  พ.ศ.1916-1959  หรือ พระยาสามแสนไท (ท้าวอุ่นเรือน) โอรสเจ้าฟ้างุ้ม
 03  พระยาล้านคำแดง (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1959-1971  [61/391]
 04  เจ้าพรหมทัต (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1971-1972  
 05  เจ้าคำเต็มซ้า (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1973  
 06  พระยาหมื่นบ้าน (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1973  
 07  เจ้าไค้บัวบาน (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1974-1977  พระยาไค (ท้าวไคบัวบาน)
 08  เจ้าก้อนคำ (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1978  ท้าวคำเต็ม - ท้าวก้อนคำ หรือ พระยาเชียงสา
 09  เจ้ายุคล (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1979  
 10  เจ้าคำเกิด (กษัตริย์หุ่น)  พ.ศ.1979-1981  พระยาคำเกิด
 11  นางแก้วพิมพา หรือ พระมหาเทวีอามพัน  พ.ศ.1981  
 12  พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว  พ.ศ.1981-2023  ท้าวลือไชย หรือ สมเด็จพระยาชัยมหาราช
 13  พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์  พ.ศ.2023-2029  ท้าวแท่นคำ หรือ ท้าวคำเฮือง หรือ พระยาซายขาว
 14  พระยาหล้าแสนไทไตรภูวนาถ  พ.ศ.2029-2039  ท้าวหล้า (เจ้าตนหล้า)
 15  เจ้าชมพู  พ.ศ.2039-2044  พระยาชมพู หรือ ท้าวชมพู
 16  พระเจ้าวิชุลละราช  พ.ศ.2044-2063  พระยาวิชุลราชาธิบดีศรีสัตนาคนหุต (ท้าวภูเพไชยกุมาร) หรือ พระยาวิชุลราช หรือ ท้าวลุเพ มีการสร้างวัดวิชุล (ชื่อคงมีขึ้นภายหลัง) ไว้ก่อนแล้วในสมัยเจ้าฟ้างุ่ม แล้วนำพระบางมาประดิษฐานไว้ในสมัยนี้
 17  พระเจ้าโพธิศาละราช  พ.ศ.2063-2090  [86/391]
 18  เจ้ากิจธนวราธิราช หรือ เจ้าท่าเรือ  พ.ศ.2090-2091  
 19  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  พ.ศ.2091-2114  
 20  พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย  พ.ศ.2114-2118  
 21  พระเจ้าศรีวรวงษาธิราช หรือ พระมหาอุปราชศรีวรวงษา  พ.ศ.2118-2123  
 22  พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย (ครั้งที่ 2)  พ.ศ.2123-2125  
 23  พระยานครน้อย  พ.ศ.2125-2126  
พ.ศ.2126-2134 ???????
 24  พระหน่อเมือง   พ.ศ.2134-2139  ประกาศอิสรภาพจากพม่า
 25  พระวรปิตา  พ.ศ.2139-2140  
 26  พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช  พ.ศ.2140-2165  
 27  พระอุปยุวราช  พ.ศ.2165-2166  
 28  พระบัณฑิตโพธิศาละราช  พ.ศ.2166-2170  
 29  พระหม่อมแก้ว  พ.ศ.2170-2176  
 30  เจ้าวิชัย  พ.ศ.2176-2179  
 31  เจ้าต่อนคำ  พ.ศ.2179-2181  
 32  พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช  พ.ศ.2181-2238  
 33  พระยาจันทสีหราช เมืองแสน   พ.ศ.2238  
 34  เจ้าองค์หล่อ  พ.ศ.2239-2242  
 35  เจ้านันทราช  พ.ศ.2242-2245  
 36  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (พระไชยองค์เว้)  พ.ศ.2245-2250  ยกทัพจากเมืองเว้เข้ามาชิงราชสมบัติจากพระยานันทราช



ยุคแตกแยกของอาณาจักรล้านช้าง
       ราชอาณาจักรล้านช้าง ได้แตกออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ ประกอบด้วย อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และ อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์.
 

ธงชาติอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ระหว่าง พ.ศ.2250-2436, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 กรกฏาคม 2564.
 
  อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
 01  เจ้ากิ่งกิสราช  พ.ศ.2246-2265    หรือ พระธรรมกิจล้านช้างร่มขาว (เจ้ากิ่งกิจ) พระนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
 02  เจ้าองค์ดำ  พ.ศ.2265-2266  หรือ พระบรมเชษฐขัตติยสุริยวงศา พระโอรสในเจ้าอินทรกุมาร เชื้อสายกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง
 03  เจ้าอินทโฉม  พ.ศ.2266-2292  หรือ เจ้าอินทโสม พระอนุชาในเจ้ากิ่งกิสราช
 04  เจ้าอินทพรหม  พ.ศ.2292-2293  พระโอรสในเจ้าอินทโฉม ครองราชย์ได้ 8 เดือน จึงถวายราชสมบัติให้เจ้าโชติกะ
 05  เจ้าโชติกะ  พ.ศ.2293-2314  พระเชษฐาองค์โตในเจ้าอินทพรหม
 06  เจ้าสุริยวงศ์  พ.ศ.2314-2334  พระอนุชาในเจ้าโชติกะ เสียเอกราชแก่สยามเมื่อ พ.ศ.2322
 07  เจ้าอนุรทธ  พ.ศ.2334-2359  พระโอรสองค์ที่ 2 ในเจ้าอินทโฉม พระเชษฐาในเจ้าสุริยวงศ์
 08  เจ้ามันธาตุราช  พ.ศ.2359-2378  หรือ พระเจ้ามังธาตุราช พระโอรสในเจ้าอนุรุทธ
 พ.ศ.2379-2380 ???????
 09
 
 พระเจ้าสุกขะเสิม01.หรือเจ้าสุกเสริม
 พ.ศ.2381-2393/ค.ศ.1838-185001.  พระเจ้าล้านช้างร่มขาวบรมเสฎขัตติยะฯ พระโอรสในเจ้ามันธาตุราช
 10 พระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ (เจ้าจันทราช)  พ.ศ.2395-2414  พระอนุชาในเจ้าสุกเสริม
 11
พระเจ้าอุ่นคำ01หรือพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร
 พ.ศ.2415-2431  พระอนุชาในพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ พระโอรสในเจ้ามันธาตุราช เกิดเหตุโจรจีนฮ่อยกทัพปล้มสะดมตามหัวเมืองลาวต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปี เมืองหลวงพระบางถูกเผาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้ออกจากตำแหน่งเจ้านครหลวงพระบาง ฐานหย่อนสมรรถนะ ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2438 [324/391]
 12  พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ (เจ้าคำสุก)  พ.ศ.2432-2447  พระโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภากร สมัยนี้ดินแดนลาวตกเป็นรัฐในอารักขาหรือเมืองขึ้่นของฝรั่งเศส
 13  พระเจ้าศรีสว่างวงศ์  พ.ศ.2447-2488  พระโอรสในพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ หลังปี พ.ศ.2488 ทรงเปลี่ยนพระราชฐานะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาว
 
ธงชาติอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ระหว่าง พ.ศ.2250-2371, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 กรกฏาคม 2564.
 
อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
 01  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (พระไชยองค์เว้)  พ.ศ.2250-2273    พระนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
 02  เจ้าองค์ลอง  พ.ศ.2273-2283  พระโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
 03  เจ้าอุปราช (ท้าวนอง)  พ.ศ.2283-2294  พระอนุชาในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
 04  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3
(พระเจ้าศิริบุญสาร)
 พ.ศ.2294-2322  พระโอรสในเจ้าองค์ลอง เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ.2322
 05  พระเจ้านันทเสน  พ.ศ.2325-2337  พระโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร
 06  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4
(พระเจ้าอินทรวงศ์)
 พ.ศ.2337-2348  พระอนุชาในพระเจ้านันทเสน พระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ใน ร.1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 07  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5
(เจ้าอนุวงศ์)
 พ.ศ.2348-2371  พระอนุชาในพระเจ้านันทเสนและพระเจ้าอินทวงศ์ สิ้นวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ หลังพระองค์พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากสยามกรุงเทพฯ แต่ไม่สำเร็จ.[259/391]
 

ธงชาติอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ระหว่าง พ.ศ.2356-2490, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 กรกฏาคม 2564.
 
อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
 01  พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร  พ.ศ.2256-2280    พระนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช [343/391]
 02  พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร  พ.ศ.2280-2334  พระโอรสในพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ.2322
 03  พระวิไชยราชขัตติยวงศา (เจ้าหน้า)  พ.ศ.2334-2354  บุตรพระตาเมืองหนองบัวลำภุ เชื้อสายเจ้าปางคำเมืองเชียงรุ้ง ได้ปกครองจำปาศักดิ์จากความชอบในการปราบปรามกบฎอ้ายเชียงแก้ว น้องชายของพระปทุมวรราชสุริยวงษ (เจ้าคำผง) แห่งเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช
 04  เจ้านู  พ.ศ.2354  พระโอรสในพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ถึงแก่พิราลัยหลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้ 3 วัน
 05  เจ้าหมาน้อย  พ.ศ.2356-2360  พระราชนัดดาในพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
 06  เจ้าราชบุตร (โย้)  พ.ศ.2362-2370  พระโอรสในเจ้าอนุวงศ์ ร่วมกับเจ้าอนุวงศ์ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากไทยในปี พ.ศ.2369-2370
 07  เจ้าฮุย  พ.ศ.2371-2383  พระนัดดาในพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร
 08  เจ้านาค  พ.ศ.2384-2393  พระเชษฐาของเจ้าฮุย
 09  เจ้าบัว  พ.ศ.2396-2398  หนังสือ ลำดับกษัตริย์ลาว ระบุว่า ยุคนี้ว่างเจ้าผู้ครองนคร 5 ปี (พ.ศ.2369-2370)
 10  เจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่)  พ.ศ.2399-2401  พระโอรสในเจ้าฮุย หลังถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราช (จู) รักษาราชการแทน
 11  เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์)  พ.ศ.2405-2443  พระโอรสในเจ้าฮุย พระอนุชาในเจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่)
 12  เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)  พ.ศ.2443-2489  พระโอรสในเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) หลัง พ.ศ.2446 ฝรั่งเศสลดฐานะเป็นผู้ว่าราชการนครจำปาศักดิ์  เป็นผู้ว่าราชการจำปาศักดิ์ ภายใต้การปกครองของไทย พ.ศ.2484-2489 ต่อมาไม่นานนัก จำปาศักดิ์ก็ตกเป็นของลาวภายใต้การเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศส

ลำดับกษัตริย์ ไทย-ลาว [384/391]


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2564.
02. จาก. th.wikipedia.org "รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว", วันที่เข้าถึง 13 กรกฎาคม 2564.
03. จาก. ลำดับกษัตริย์ลาว, สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ISBN 974-418-118-4, สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ 2, พ.ศ.2545
04. ขุนบานจิ่งเหลา สำเนียงพ้องกับพระนาม ขุนบางกลางหาว หรือ ศรีอินทราทิตย์ ในศิลาจารึกหลักที่ 1
05. อ้างจาก. พงศาวดารหลวงพระบาง (ฉบับ ร.5)
06. มีการสอบศักราชใหม่ ว่าเป็นราว พ.ศ.1823 หรือ 1834-1859 ได้ 25 ปี


 
info@huexonline.com