MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001

Title Thumbnail: อรชุนและพระกฤษณะผู้เป็นสารถี เผชิญหน้ากับกรรณะ, ประมาณปี พ.ศ.2363 ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย, วันที่สืบค้น 21 กันยายน 2560., Hero Image: Spiritual Nonviolence ภาพพระกฤษณะสนทนากับอรชุน, ที่มา : www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง 11 มีนาคม 2564. 

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001
First revision: Jan.29, 2021
Last change: May 14, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

1.
ส่วนที่ 3
 
ระบบพราหมณ์ทั้งหก01.
 
 
 
 
หน้าที่ 17
 
 

บทที่ 1
 
บทนำ
 
จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย - ทรรศนะ - อาสติกะ และ นาสติกะ – วรรณกรรมเกี่ยวกับพระสูตร - วัน (ที่ระบุเรื่องราว) - แนวคิดร่วม - ระบบทั้งหก.
 
 
 

1
 

รุ่งอรุณแห่งระบบ
 
นยุคของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นยุคแห่งกระแสปรัชญาอันยิ่งใหญ่ของอินเดีย. ความก้าวหน้าของปรัชญาส่วนใหญ่นั้น มักจะเกิดจากการโจมตีอย่างรุนแรงต่อประเพณีทางประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์รู้สึกว่าตนถูกบังคับให้ถอยหลัง และหยิบยกคำถามพื้นฐานซึ่งบรรพชนของพวกเขาได้ปัดคำถามเหล่านี้ทิ้งด้วยแผนการเก่าดั้งเดิมขึ้นมาอีกครั้ง. การขบถของพุทธศาสนาและศาสนาเชนนั้น แม้กระทั่งในปัจจุบัน ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ทางความคิดของอินเดียยุคหนึ่ง เนื่องจากในที่สุดวิธีการความเชื่อแบบลัทธิก็ถูกระเบิด และช่วยนำมาซึ่งจุดยืนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ สำหรับเหล่านักคิดที่ยิ่งใหญ่ของชาวพุทธแล้ว ตรรกะถือเป็นคลังแสงหลักที่ใช้สร้างอาวุธวิพากษ์วิจารณ์เชิงทำลายสากล. พระพุทธศาสนาได้ทำหน้าที่เป็นยาชำระล้างสิ่งโสมมในจิตใจอันเป็นเครื่องกีดขวางในยุคเก่าก่อน. ความระแวงสงสัยนั้น หากกล่าวโดยความสัตย์แล้ว มันจะช่วยปรับความเชื่อที่วางอยู่บนฐานทางธรรมชาติเสียใหม่. ความจำเป็นในการวางรากฐานให้ลึกลงไปอีกส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของปรัชญาซึ่งก่อให้เกิดระบบความคิดทั้งหกระบบ โดยที่การวิจารณ์และการวิเคราะห์แบบเย็นชาเข้ามาแทนที่บทกวีและศาสนา สำนักแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมถูกบังคับให้รวบรวมมุมมองของตนและกำหนดแนวทางป้องกันอย่างมีตรรกะต่อมุมมอง (ใหม่ - พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน) เหล่านั้น ด้านวิพากษ์วิจารณ์ของปรัชญาจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับด้านหวังผลประโยชน์ไว้ล่วงหน้า. ทัศนคติทางปรัชญาเกี่ยวกับช่วงเวลาก่อนระบบ ได้วางข้อคิดทั่วไปบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของจักรวาลโดยรวม แต่ไม่ได้ตระหนักว่าทฤษฎีวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เป็นรากฐานที่จำเป็นของการคาดเดาที่เกิดผลใด ๆ .

 

 
      
ประเด็นสำคัญแทรก
       ทรรศนะทั้ง 602. สำนักปรัชญาอินเดีย 6 สำนักเป็นผู้ให้กำเนิดตอนสำคัญแห่งวรรณคดีพระเวท ทรรศนะทั้ง 6 มีชื่อเรียกดังนี้
          1.  นยายทรรศนะ (न्याय - Nyāya)
          2.  ไวเศษิกทรรศนะ (वैशेषिक - Vaiśeṣika)
          3.  สางขยทรรศนะ (सांख्य - Sāṁkhya)
          4.  โยคทรรศนะ (योग - Yoga)
          5.  ปูรวมีมางสาทรรศนะ (पूर्णिमान्सा - Pūramîmānsā)
          6.  อุตตรมีมางสาทรรศนะ (उत्तरामिमान्सा - Uttaramîmānsā)

       กล่าวกันว่าทรรศนะทั้ง 6 นี้แต่งขึ้นในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงสมัยของพระเจ้าอโศก โดยแต่งเป็นสูตร (สูกตะ) ซึ่งให้คำจำกัดความแบบสั้น ๆ ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความสงสัย แนวความคิดเรื่องอวิทยา (Ayidyā) มายา ปุรุษะและชีวะมีอยู่ในปรัชญาทุกระบบ ทรรศะทั้ง 6 นั้น คัดค้านความไม่เชื่อของชาวพุทธ และสร้างมาตรฐานแห่งความจริงแท้เชิงวัตถุประสงค์ ขึ้นมาคัดค้านทฤษฎีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ของพระพุทธศาสนา) ทุกทรรศนะเชื่อเรื่องการสร้างโลก การรักษาโลก และการทำลายโลก นอกจากปูรวมีมางสาทรรศนะแล้ว ทรรศนะอื่น ๆ ก็มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่โมกษะหรือการเปลื้องวิญญาณให้หลุดพ้นจากการเกิดใหม่โดยชี้ชัดออกมาว่า วิธีที่จะบรรลุโมกษะนั้น คือ การทำจิตให้บริสุทธิ์ (Cittasuddhi-จิตตสุทธิ) และการกระทำแบบวางเฉย (Niṣkam Karma - นิษกัมกรรม).

       1.  นยายทรรศนะ (न्याय - Nyāya) โดยมี ฤๅษีอัษปาทะ โคตมะ (अक्षपाद  गौतम - Akṣapāda Gūatama) เป็นผู้แต่งทรรศนะนี้ ถือว่า ตรรกะ คือ การคิดเป็นพื้นฐานของการศึกษาทั้งหมด และเป็นศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย คนเราสามารถรับรู้ได้โดย 4 วิธีคือ
              1). ประตยักษะ (Pratayakṣa - การเห็นประจักษ์)
              2). อนุมาน (Anumāna - การคาดคะเน) อนุมานมี 3 ชนิด คือ ปูรวัต (Pūravat) เสสวัต (Sesavat) และสามัญญโต ทฤษตัม (Sāmaññato Driṣataṃ)
              3). อุปมา (Upamā - การเปรียบเทียบ)
              4). ศัพทะ (Shabda - การพูด)

1.
2.
หน้าที่ 18
       นยายทรรศนะ อภิปรายถึงปัญหาที่เกิดจากความสงสัย และเชื่อว่าเกิดจากความจำผิด ความผิด คือการเข้าใจวัตถุผิดไปจากที่เป็นจริง ความจริงย่อมเปิดเผยตัวเองต่อคนที่รู้ (ความจริงนั้น) อาตมัน (soul) เป็นจริง คุณสมบัติของวิญญาณ คือ ความรัก ความเกลียด เจตจำนง การรับรู้ (consciousness) ไม่สามารถจะแยกไปจากวิญญาณ "เหมือนแสงสว่างของเปลวไฟ ไม่สามารถอยู่แยกจากเปลวไฟได้" นยายทรรศนะเชื่อในพระเป็นเจ้าว่าสมบูรณ์ด้วยความรู้และความสุข (bliss) ยอมรับทฤษฎีการเกิดใหม่ และสอนผู้คนให้เปลื้องตนเองให้พ้นจากพันธนาการ (กิเลส) ที่ทำให้เกิดใหม่.

       2.  ไวเศษิกทรรศนะ ฤๅษีกณาทะ (कणाद - Kaṇāda) เป็นผู้แต่ง ทรรศนะนี้ถือว่า ปทารถะ (Padārtha) แบ่งออกได้เป็น 6 ชั้น คือ ทระวยะ (Dravya-ทรัพย์) คุณ (Guṇa-คุณภาพ) กรรม (Karma - การกระทำ) สามันยะ (Sāmanya - ความเป็นสามัญหรือความทั่วไป) วิเศษ (Visheṣa - ความจำเพาะ) และสมวย (Samavaya - การอนุมาน) ทรัพย์ มี 9 คือ ปฐวี อาโป วาโย เตโช อากาศ กาละ เทศะ วิญญาณ และมนัส อะตอม คือ โครงสร้างเล็กสุดของสรรพสิ่งที่เป็นรูป เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำลายได้ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมีขนาดแตกต่างกัน มีคุณสมบัติอยู่ 17 ชนิด กรรมอยู่ได้ชั่วระยะเวลาอันสั้นแล้วก็ดับลงที่ขั้นหนึ่ง หรือขั้นต่อมา (เกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว) ฤๅษีกณาทะไม่ได้อ้างถึงพระเจ้าโดยตรง ปรัชญาของท่านไม่ได้เป็นปรัชญาเกี่ยวกับจักรวาลที่สมบูรณ์.
ฤๅษีกณาทะ (कणाद - Kaṇāda), ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง: 17 มีนาคม 2568.

       หนึ่งในทรรศนะทั้งหกของปรัชญาอินเดียหลังพุทธกาล สถาปนาโดยฤๅษีกณาทะ เป็นแนวคิดแบบพหุสัจนิยม (Dualistic Realism) เชื่อว่าส่วนที่เล็กที่สุดของสสารคือ ปรมาณู มีจำนวนมาก แบ่งแยกไม่ได้และเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก พระเจ้าสูงสุดคือพระมเหศวรเป็นผู้สร้างโลก โดยเจตจำนงของพระองค์ จะกระตุ้นให้ปรมาณูมารวมตัวกัน จนเกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ และเป็นโลกในที่สุด: เพิ่มเสริมและอ้างถึง: ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า 189-208.

         ระบบไวเศษิกะนี้ จะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ธรรมชาติ ได้ชื่อมาจากคำว่า "ความเฉพาะเจาะจง-particularity" โดยเริ่มจากหลักการที่ว่ารายละเอียดต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะอะตอมและวิญญาณ เป็นสิ่งที่คงอยู่ชั่วนิรันดร์ และวัตถุต่าง ๆ ที่เราสัมผัสได้และประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ นั้นไม่คงอยู่ชั่วนิรันดร์ จึงได้พัฒนาทฤษฎีอะตอมที่เชื่อมโยงกับสารต่าง ๆ ของดิน น้ำ แสง และอากาศ (อวกาศ). แม้ว่าระบบนี้จะมีอายุเก่าแก่กว่าทรรศนะนยายะ ซึ่งอภิปรายถึงปัญหาของความรู้และวิเคราะห์วิธีการได้มาซึ่งความรู้ แต่ก็ได้ถือเอาหลักการตรรกะหลัก ๆ ที่ได้รับการพัฒนามาจากระบบอื่นมาถือปฏิบัติ, อ้างถึง: www.wisdomlib.org, วันที่เข้าถึง: 17 มีนาคม 2568.

       3.  สางขยทรรศนะ (सांख्य - Sāṁkhya) ฤๅษีกปิละ (कपिल -
Kapila) เป็นผู้แจ้ง ทรรศะนี้ถือว่า หลักการขั้นพื้นฐานของทรรศนะนี้ ก็คือ ความเป็นคู่กัน (ไทฺว-ภาวะ) ของปุรุษและประกฤติ ประกฤติ มีคุณอยู่ 3 คือ สัตตวคุณ (Sattvaguna) รชคุณ (Rajaguna) และตมคุณ (Tamaguna) สัตตวคุณเป็นต้นตอแห่งความดีและความสุข รชคุณเป็นต้นตอแห่งการทำกรรมและความทุกข์ ตมคุณเป็นต้นตอแห่งอวิชชา ความเกียจคร้าน และความเฉื่อยชา ไม่ถือว่าโลกเป็นจริง เพราะไม่ได้คงอยู่ตลอดไป ชั่วระยะ เวลาหนึ่งก็ถูกทำลายมีอยู่สิ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นอมตะคือ ประกฤติ ขณะที่ปุรุษะเป็นอมตะ ชีวะทั้งหลายก็ถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกมัดคือการเกิดใหม่ ทรรศนะนี้ เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง ประกฤติและปุรุษต่างอิงอาศัยกัน แต่ไม่อิงอาศัยพระเจ้า และ

       สางขยศาสตร์ (साङ्ख्यशास्त्र - Sāṃkhyaśāstra) มักเชื่อกันว่ารังสรรค์โดยฤๅษีกปิละ เป็นปรัชญาแบบทวิลักษณ์ที่แบ่งความจริงออกเป็นสองหลักการพื้นฐาน คือ ปุรุษ (จิตสำนึก) และประกฤติ (สสาร) ถือเป็นหนึ่งในระบบความคิดที่เก่าแก่ที่สุดในประเพณีพระเวท แตกต่างจากสำนักปรัชญาอื่น ๆ ที่เน้นเรื่องเอกนิยม สางขยศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าการหลุดพ้น (โมกษะ) จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อวิญญาณของปัจเจกบุคคล ปุรุษ ตระหนักถึงความแตกต่างของตนจากประกฤติหรือโลกแห่งวัตถุ ผู้ที่ศึกษาโหราศาสตร์หลายคนยังศึกษาคำสอนของสางขยศาสตร์ในฐานะส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจจักรวาลและการหลุดพ้นทางจิตวิญญาณ.

      เป็นสำนักปรัชญาที่เน้นความเป็นคู่ตรงข้ามระหว่างปุรุษะ (पुरुष - Puruṣa "Spirit") และประกฤติ (प्रकृति - Prakṛti "Matter") เสนอโดยฤๅษีกปิละ (कपिल - Kapila) ระบบปรัชญานอกเทวนิยมนี้นั้นที่เรียกว่าสางขยะเพราะระบุถึง 25 ตัตตวะ (तत्त्व - Tattavas "Truth, Reality or Essence") หรือหมวดหมู่ต่าง ๆ ของความเป็นจริงโดยเริ่มจากประกฤติหรือประธาน (प्रधान - Pradhāna "essential part") ซึ่งเป็นสสารดั้งเดิม และปุรุษหรือตัวตน ปุรุษะซึ่งเป็นตัวตนที่มีสติสัมปชัญญะนั้นนิ่งเฉยและประกฤตินั้นกระทำการ ปุรุษะจะเข้าไปพัวพันกับวัฏสงสารและความทุกข์ที่ตามมา และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหมวดหมู่ทั้ง 25 จะทำให้สามารถเอาชนะความไม่รู้และความทุกข์ และบรรลุการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร (संसार - samsāra "wandering") ได้. แหล่งที่มา: www.wisdomlib.org, วันที่เข้าถึง: 9 มีนาคม 2568.

       4.  โยคทรรศนะ ฤๅษีปตัญชลิ (पतञ्जलि - Patañjali) เป็นผู้แต่ง ทรรศนะนี้ถือว่า การปฏิบัติโยคะ หรือการฝึกจิตให้เกิดสมาธิ สามารถทำคนให้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดใหม่ได้ คนควรทำความเพียรเพื่อพัฒนาชีวิตทั้งกายและใจ และได้เสนอวิธีที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นไว้ 7 วิธี คือ ยมะ (Yama-การงดเว้น) นิยมะ (Niyama-การสังเกต) อาสนะ (Āsana-การนั่ง) ปราณยมะ (Prānayama-การควบคุมลมหายใจ) ประตยหระ (Pratyahara-การถอนความรู้สึก) ธยานะ (Dhyāna-การเพ่ง) และสมาธิ (Samādhi-การควบคุมจิต) การปฏิบัติหัตถโยคะจะทำให้ควบคุมร่างกายและทำให้สามารถทนความเจ็บปวดหนัก ๆ ได้ การควบคุมลมหายใจ ย่อมมีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตใจ โยคะจะมายุติลงที่ธยานะและสมาธิ เมื่อคนเราได้สมาธิขั้นนั้น เขาจะไม่รับรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกเลย จะเพ่งอยู่ที่พระเจ้าเท่านั้น ทรรศนะนี้เชื่อว่า พระเจ้าเท่านั้นจะช่วยเราให้บรรลุถึงเป้าหมายของเรา.

       โยคะศาสตร์ (योगशास्त्र - Yogaśāstra) เป็นปรัชญาด้านโยคะ การทำงานเกี่ยวกับโยคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผลงานของมหาฤๅษีปตัญชลิ.

       5.  ปูรวมีมางสาทรรศนะ ฤๅษีไชมินิ (जैमिनी -
Jāimini) เป็นผู้แต่ง ทรรศนะนี้ถือพิธีกรรมเป็นเรื่องสำคัญ และยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ (ความน่าเชื่อถือ) ของพระเวท อาตมันไม่ใช่สิ่งเดียวกับร่างกายมนุษย์ ประสาทสัมผัส และความเข้าใจ และยอมรับว่า วิญญาณ (soul) มีหลากหลาย ธรรมะ คือ รูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีหน้าที่ (กรรม) อยู่ 2 ชนิด คือ นิตยกรรม (Nitya Karma) กับกัมยกรรม (Kamya Karma) นิตยกรรม คือ กรรมที่ทำทุกวัน ส่วนกัมยกรรม คือ กรรมที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์พิเศษบางอย่าง คนเราควรทำการบูชาต่อเทพเจ้า ไม่จำเป็นต้องรอให้พระเจ้ากรุณาหรือบันดาลให้ ปูรวมีมางสาทรรศนะเกี่ยวข้องอยู่กับจริยศาสตร์ด้านการใช้พลังที่บริสุทธิ์ และไม่โจมตีปัญหาเกี่ยวกับความจริงอันสูงสุด ผูกพันอยู่กับการประกอบพิธีบูชายัญเท่านั้น.

       6.  อุตตรมีมางสาทรรศนะ ฤๅษีภัทรยานะ (भद्रायण -
Bhadrayāna) เป็นผู้แต่ง โดยเขียนเป็นสูตร (สั้น ๆ ) ไว้ 555 สูตร ซึ่งแบ่งออกเป็นบทใหญ่ได้ 4 บท บทที่ 1 อธิบายเรื่องลักษณะ (ธรรมชาติ) ของพรหมมัน ความสัมพันธ์ของพระหมมันกับโลกกับปัจเจกวิญาณ (individual soul-ชีวาตมัน) บทที่ 2 อธิบายเรื่องการคัดค้าน บทที่ 3 อธิบายเรื่องแนวทางและวิธีบรรลุถึงพรหมวิทยา บทที่ 4 อธิบายเรื่องผลของพรหมวิทยาและอนาคตของวิญญาณ (soul) หลังตาย (ชีวิตหลังตาย).
หมายเหตุ การขยายความ
01. ระบบพราหมณ์ทั้งหก หรือ ษัษทรรศนะ Shad-darśanas (षट् - ษษฺ หรือ ษฏฺ - Shad) หรือ สำนักแนวคิดอาสติกะ (आस्तिक - āstika) (The Six orthodox or Astika schools of Hindu philosophy).
02. เพิ่มเสริมและปรับจาก. หนังสือ ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ, หน้าที่ 35-38, ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2555, กรุงเทพฯ. ซึ่งทรรศนะที่ 6 นั้น จะแตกต่างจากผู้เขียนท่านอื่น โดยนักเขียนท่านอื่นจะเป็นเวทานตะ ส่วนอาจารย์บรรจบจะเป็นอุตตรมีมางสาทรรศนะ และ www.wisdomlib.org.

1.
2.
หน้าที่ 19
 

มหาฤๅษี, พัฒนาเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567.

นักวิจารณ์บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามใช้แนวทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและประสบการณ์ ไม่ใช่การเปิดเผยเหนือธรรมชาติเพื่อปกป้องแผนการอันเป็นการคาดเดาของพวกเขาได้. เราไม่ควรลดมาตรฐานของเราลงเพื่อปล่อยให้ความเชื่อที่เราต้องการได้รับเข้ามา. อาตมวิทยา01 หรือปรัชญาได้รับการสนับสนุนในขณะนี้โดยอานวีคษกี02 หรือศาสตร์แห่งการสืบค้น.
---------------

01. อาตมวิทยา (आत्मविद्या - Ātmavidyā) ประกอบด้วย 1) ความรู้ในตนเอง 2) ความรู้ทางจิตวิญญาณหรือความรู้ศักดิ์สิทธิ์หรือวิทยาศาสตร์.
02. อานวีคษกี (आन्वीक्षिकी - Ānvīkṣikī) เป็นชื่อปรัชญาเก่าแก่สุดของนยายะ (Nyāya) หมายถึงศาสตร์แห่งการสืบเสาะ อานวีคษกีนี้ เป็นสาขาหนึ่งของพระเวท ซึ่งมหาฤๅษี (Kauṭilya) ยอมรับ Ānvīkṣikī เป็นสาขาการศึกษาที่แยกจากกันและเหนือกว่า Trayi (พระเวท), Vārttā (การค้าขาย) และ Daṇḍanīti (การเมือง) Kauṭilya ได้รวม Sāṃkhya, Yoga และ Lokāyata ไว้ใน Ānvikṣikī ช่วงเวลาแห่งการก่อตั้ง Ānvikṣikī ในฐานะสาขาการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไปนั้นอยู่ที่ประมาณ 650 ปีก่อนคริสตกาล Ānvīkṣikī ถูกเรียกว่า Hetu-śāstra หรือ Hetu Vidyā เนื่องจากเกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลเป็นหลัก ความหมายของ Ānvīkṣikī นี้พบได้ใน Manusaṃhitā, Mahabhārata เป็นต้น นอกจากนี้ยังรู้จักกันในชื่อ Tarkavidyā ซึ่งเป็นศิลปะแห่งการโต้วาที หรือ Vāda-vidyā ซึ่งเป็นศิลปะแห่งการอภิปราย ในเวลาต่อมา Ānvikṣikī ได้รับการเรียกขานว่า Nyāya-śāstra (ศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลที่แท้จริง).

1.
2.
3.




 
humanexcellence.thailand@gmail.com