MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2

Title thumbnail: ดร.ราธกฤษณัน เยือนกรุงมอสโคว์ เมื่อ พ.ศ.2507, ที่มา: www.rbth.com, วันที่เข้าถึง 8 ธันวาคม 2563. Hero Image: ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน ที่มา: https://indianexpress.com, วันที่เข้าถึง 8 ธันวาคม 2563. 
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2
First revision: Dec.08, 2020
Last change: May 21, 2024

       ในมหาบรรพ มหาองค์ความรู้ทั้งสองเล่มนี้ ผมได้นำผลงานชิ้นสำคัญอันเอกอุ ของมหาปราชญ์นามอุโฆษ ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan) มาแปล เพิ่มคำอธิบาย เสริมองค์ความรู้จากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ และภาพประกอบ ปริวรรตด้วยความเคารพ จากหนังสือ "INDIAN PHILOSOPHY Volume 1 & 2" ใคร่ขออัญชลี ใคร่ขออนุญาตนำผลงานของท่านมหาบัณฑิต มหาคุรุ ซึ่งสถิตในสรวงสวรรค์ หรือภพภูมิที่สูงส่งมีลำคลื่นความถี่อันละเอียดประณีต มาเผยแพร่แก่ผู้สนใจใคร่ศึกษาครับ.

       ผมใคร่ขออุทิศคุณความดีทั้งมวลที่ผมอาจจักได้รับแก่คุณพ่อเลื่อน และคุณแม่อนงค์ กาญจนคงคา ที่ได้เอ็นดูรักใคร่ผมอย่างสุดซึ้ง ผู้เป็นครูสองท่านแรกของผม.
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
30 กันยายน 2563   
 
สำนักพิมพ์หนังสือปกอ่อน อ๊อกฟอร์ด อินเดีย
 
 
 

ปรัชญาอินเดีย
เล่มที่ 2

ส. ราธากฤษณัน




[ปกหลัง]
 

สำนักพิมพ์ปกอ่อน อ๊อกซ์ฟอร์ด อินเดีย
 
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2
———————————————————————————
 ส. ราธากฤษณัน

 
เป็นสิ่งที่เรารับทราบกันมานาน ในฐานะที่ปรัชญาอินเดียนั้นเป็นเรื่องชั้นเอก ด้วยการสำรวจที่ได้ริเริ่มขึ้นของกรอบความคิดต่าง ๆ ของอินเดีย อันเป็นสิ่งที่น่าหลงใหล จำเนียรกาลผ่านประวัติศาสตร์อันสลับซับซ้อน. จากฤคเวทไปถึงศรีรามานุจารย์นั้น ราธากฤษณันได้เฝ้าติดตามพัฒนาการของปรัชญาอินเดีย ช่วงขณะที่การเติบโตของปรัชญาซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมหนึ่งเดียวของความคิดที่ผ่านไปในยุคต่าง ๆ. ลำพัง ปราชญ์แต่ละท่าน และมุมมองของเหล่าปราชญ์นั้น ได้ถูกตีความท่ามกลางข้อถกเถียงกันที่กว้างขวาง. ตลอดมา สิ่งที่ผู้ประพันธ์กังวลได้แสดงเป็นตัวอักษรทางปรัชญาโบราณ ด้วยสิ่งที่ดีเลิศของเหล่าปราชญ์ อันสัมพันธ์โยงไปสู่ประเด็นทางด้านปรัชญาและศาสนาในปัจจุบัน. องค์ประกอบที่สำคัญของบรรดาอักษรข้อความและปราชญ์แต่ละท่านได้รังสรรค์นั้น ถูกนำมาย้ำเน้น เพื่อพิทักษ์ไม่ให้ความหมายและความสำคัญถูกบดบังโดยรายละเอียด. ช่างมีความคล้ายคลึงหรือเป็นสิ่งคู่ขนานกันระหว่างวัฒนธรรมปรัชญาอินเดียและวัฒนธรรมปรัชญาทางตะวันตกที่มักจะขีดวาดขึ้นเสมอ.
 
หนังสือที่เขียนขึ้นนี้ ส่องสว่างเจิดจ้ายิ่ง และกระนั้นก็ยังเปิดให้นักอ่านทั่วไปเข้าถึงได้. เนื้อหาในหนังสือปรัชญาอินเดียเล่มนี้ครอบคลุมระบบพราหมณ์ทั้งหก (ทรรศนะทั้งหก).
 
 
ส. ราธากฤษณัน เป็นนักปรัชญาที่โดดเด่น รัฐบุรุษ และนักประพันธ์. ท่านเป็นผู้แปล พระธรรมบท (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด) และท่านใช้เวลาหลายปี ในการเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ก่อนที่ท่านจะรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของอินเดีย.
 
 
 
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
www.oup.com
                                                                                                                                                                 375 รูปี 
                                                                                                                       
 
 
 

ภาพหายาก ดร. ส. ราธากฤษณัน กำลังเล่นคริคเก็ตกับหลาน ๆ
ที่มา:
https://starofmysore.com , วันที่เข้าถึง 11 ธันวาคม พ.ศ.2563.
 
 
 

ปรัชญาอินเดีย
 
 
 
 
 

ปรัชญาอินเดีย
 

 
โดย
 

ส. ราธากฤษณัน
 
 
 

เล่มที่ 2
 
 
 
 

 
 

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
 
 
 
 
 

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
อาคารห้องสมุดวายเอ็มซีเอ ถนนชัยสิงห์ กรุงนิวเดลลี 110001
 
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นแผนกหนึ่งของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด. เพื่อเป็นการเพิ่มเสริมวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยด้านความเป็นเลิศในการวิจัย ทุนการศึกษา และการศึกษาด้วยการตีพิมพ์ไปทั่วโลก ใน
 
อ๊อกซ์ฟอร์ด     นิวยอร์ค
เอเธนส์ โอ๊คแลนด์ กรุงเทพฯ     โบโกต้า บัวโนสเอเรส กัลกัตตา
เคปทาวน์ เชนไน ดาร์ เอส ซาลาม     เดลี ฟลอเรนซ์ ฮ่องกง อิสตันบูล
การาจี กัวลาลัมเปอร์ มาดริด     เมลเบอร์น เม็กซิโกซิตี้ มุมไบ
ไนโรบี ปารีส เซาเปาโล สิงคโปร์     ไทเป โตเกียว โตรอนโต วอร์ซอร์
 
พร้อมบริษัทที่เข้าร่วม ใน
เบอร์ลิน     ไอบาดาน
 
© สำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ด 1999
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2466
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2472 พิมพ์ในอินเดีย พ.ศ.2483
พิมพ์โดยห้าง จอร์จ อัลเลน และอัลวิน จำกัด
การพิมพ์ฉบับปรับปรุงนี้ พิมพ์ในอินเดีย ปี พ.ศ.2532
โดยการเรียบเรียงให้เหมือนฉบับดั้งเดิม
การพิมพ์ครั้งที่เจ็ด ในปี พ.ศ.2537
สำนักพิมพ์ปกอ่อน อ๊อกซ์ฟอร์ด อินเดีย ปี พ.ศ.2539
การพิมพ์ครั้งที่ห้า พ.ศ.2542
 
ISBN 019 563820 4
 
 
 
 
พิมพ์ในอินเดียที่ บริษัท รีคา ปริ้นเตอร์ส์ จำกัด กรุงนิวเดลี 110 020
และพิมพ์จัดจำหน่ายโดย แมนซาร์ คาน สำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ด
อาคารห้องสมุดวายเอ็มซีเอ ถนนชัยสิงห์ กรุงนิวเดลี 110001




บทนำในการพิมพ์ครั้งที่สอง
 
ข้าพเจ้าได้ใช้โอกาสในการตีพิมพ์ครั้งที่สองนี้ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดและการพิมพ์ผิดยิบย่อยต่าง ๆ ที่มีไม่น้อยนั้นเสีย และเพื่อแยกต้นฉบับภาษาสันสกฤตในบางกรณีที่น่าสงสัยและเข้าใจยาก เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเปรียบเทียบการตีความกับข้อความได้. ในส่วนหลังซึ่งพบได้ในหมายเหตุท้ายเล่ม อันได้รวมเนื้อหาที่มีความตั้งใจในอันที่จะแก้ไขปัญหาหรือทำให้หนังสือเป็นปัจจุบัน.

       การแสดงข้อความภาษาสันสกฤตในรูปแบบภาษาอังกฤษโดยทั่วไปนั้น จะใช้การแปลมาตรฐานที่มีอยู่ทั่วไปและมีการกล่าวถึงในการอ้างอิงทางบรรณานุกรม. นี่เป็นความมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนวรรณกรรมเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก แม้ว่าเป็นการชี้อ้อมไปยังวรรณกรรมทั้งหมดในหัวข้อนี้ก็ตาม.

       ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบคุณเหล่ามิตรสหาย และนักวิจารณ์หลายท่านสำหรับคำแนะนำอันมีคุณค่ายิ่ง. ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณกับศาสตราจารย์ เอ็ม. หิริยันนะ แห่งเมืองมัยซอร์. ท่ามกลางหลาย ๆ ท่านที่ช่วยข้าพเจ้าด้วยคำแนะนำที่มีค่า ได้แก่ มหามโฮปาธยายะ เอ็น. เอส. อนันตกฤษณะ ศาสตริ แห่งเมืองกัลกัตตา. เพื่อนและเพื่อนร่วมงานของข้าพเจ้า มร.เค. ซี. จัตเตอร์จี ที่ได้ตรวจสอบข้อมูลอ้างอิง และนี่เป็นคำขอบคุณของข้าพเจ้าต่อสหาย.

กันยายน  พ.ศ.2473. 




 
10
บทนำในการพิมพ์ครั้งแรก
 
หนังสือเล่มนี้ ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อการอภิปรายถกประเด็นเกี่ยวกับระบบพราหมณ์ทั้งหก ข้าพเจ้าได้ใช้แผนและวิธีการแบบเดียวกันกับเล่มแรก. ข้าพเจ้าเปิดรับ ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ จิตวิญญาณที่แท้จริงในการตีความเชิงปรัชญา ได้แก่ แปลหรือตีความผู้ประพันธ์โบราณและความคิดของพวกเขาอย่างดีที่สุด และเชื่อมโยงเหล่านักประพันธ์กับประเด็นชีวิตต่าง ๆ ของปรัชญาและศาสนา. วากัสปติ มิศระ01. ผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบความคิดของชาวฮินดูแทบทั้งหมด ได้ประพันธ์ไว้ในแต่ละระบบ ราวกับได้ศรัทธากับคำสอนเหล่านั้น. ในการนำเสนอแนวโน้มของความคิดอันชาญฉลาดที่สุกงอมอันเนิ่นนานมาแล้วและผนวกรวมผลงานที่ยากลำบากจำนวนมากนั้น ซึ่งจำเป็นต้องเลือก เน้น และแม้แต่วิพากษ์วิจารณ์แง่มุมเฉพาะ ซึ่งปกติธรรมดาแล้วจะเบี่ยงทิศทางการทำงานด้านความคิดของข้าพเจ้า. การที่ได้มีส่วนร่วมในงานที่ต้องมีการตัดสินใจในรายละเอียดหลายประเด็นนั้น บางทีก็อาจจะหวังมากเกินไปว่าหนังสือเล่มนี้ปราศจากข้อผิดพลาด แต่ข้าพเจ้าก็พยายามเต็มที่ที่จะปฏิบัติอย่างมีเป้าประสงค์และหลีกเลี่ยงการบิดเบือนหลักฐาน.
 

วากัสปติ มิศระ บ้างก็เรียก วาจัสปติมิศระ (Váchaspati Miśra)01.

       ข้าพเจ้าควรกล่าวซ้ำในที่นี้ว่าการอภิปรายของข้าพเจ้าไม่ได้ถูกมองว่าสมบูรณ์ในแง่คำศัพท์ใด ๆ แทบทุกบทล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญผู้พร้อมสรรพด้วยอุปกรณ์ซึ่งได้อุทิศตนตลอดชีวิตเพื่อการศึกษานี้ไว้. การอภิปรายโดยรายละเอียดของระบบเฉพาะ ต้องใช้เอกสารที่แยกกัน. งานของข้าพเจ้ามีข้อจำกัด คือการร่างแบบกว้าง ๆ เกี่ยวกับบรรดาเคลื่อนไหวของความคิดที่แตกต่าง แรงจูงใจ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น. ข้าพเจ้ามีแบบที่แทบไม่ต้องใช้ความพยายามใด ๆ เข้าจัดการกับความคิดที่แตกต่างในหมู่นักประพันธ์ที่มีความสลักสำคัญไม่มากนักเมื่อเทียบกับแนวความคิดของสำนักต่าง ๆ . การปฏิบัติของข้าพเจ้าเกี่ยวกับพระศิวะ ลัทธิศักติ และระบบไวษณพนิกายนั้น ซึ่งภายหลังก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ
----------------
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. วากัสปติ มิศระ บ้างก็เรียก วาจัสปติมิศระ (Vācaspati Miśra) ท่านเป็นปราชญ์ภารตะ พราหมณ์-ฮินดู ในพุทธศตวรรษที่ 4 หรือ (คศว.ที่ 9) ลัทธิอไทวตะ เวทานตะ ท่านได้ประพันธ์ถึงหมวดสาขาต่าง ๆ ของปรัชญาอินเดียอย่างกว้างขวาง จนท่านเป็นที่รู้จักในนาม "ระบบหนึ่งที่ทุกระบบเป็นของตัวเอง - One for whom all systems are his own" หรือในภาษาสันสกฤตคือ सर्वतन्त्रस्वतन्त्रम् - Sarva-tantra-sva-tantra, มิศระท่านเป็นปราชญ์ที่สมบูรณ์พร้อม งานเขียนของท่านมีมากมายรวมทั้ง ภาษยะ (भाष्यः - bhāṣya - ข้อคิด - commentaries), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 10 มกราคม 2564ภาพจาก: https://artsandculture.google.com/asset/vacaspati-misra/3gGDRT6aNo0NuQ, วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2565.
11
ประวัติศาสตร์ศาสนามากกว่าปรัชญาอินเดีย ซึ่งได้นำมาบันทึกคัดย่อและสรุปไว้. ข้าพเจ้าจะพอใจอย่างเปี่ยมล้นหากข้าพเจ้าประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดความคิด แต่อาจไม่เพียงพอต่อจิตวิญญาณอันแท้จริงของความคิดเฉพาะของอินเดียที่มี (ความลุ่มลึก) หลายระดับชั้น.

       หากว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะดูเข้าใจยากกว่าเล่มก่อนสักเล็กน้อย ข้าพเจ้าหวังว่าความยากนี้ไม่ได้มาจากการที่ข้าพเจ้าประพันธ์ขึ้นมาทั้งหมด ทว่ามันอยู่ในระดับหนึ่งในเรื่องและในความคิดอันใกล้ชิดกันซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษา. การย่อเนื้อหาข้อเท็จจริงจำนวนมากให้เป็นการอธิบายที่ชัดเจน ซึ่งผู้อ่านสามารถติดตามได้โดยไม่สับสนหรือเบื่อหน่าย เป็นงานที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามันเป็นมากกว่าสิ่งที่จะกำหนดขอบเขตได้. มันมีไว้ให้ผู้อ่านได้ตัดสินว่าข้าพเจ้าประสบความสำเร็จแค่ไหน ในความพยายามที่จะควบคุมแนวทางตรงกลางระหว่างความหละหลวมและความอวดดี. เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น ก็ได้เพิ่มการพิมพ์การอภิปรายด้านเทคนิคและข้อความด้วยตัวพิมพ์ขนาดเล็กไว้.

       ใยการจัดพิมพ์เล่มที่หนึ่งนั้น ข้าพเจ้าพบว่าไม่เพียงแต่ตำราภาษาสันสกฤตของสำนักความคิดต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานเขียนของเดสเซ่นและคีธ ธีเบาท์และการ์บ คงคานาธ ชาและวิทยาภูษาณ ซึ่งมีประโยชน์มาก. ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณเหล่าสหาย สุพรหมันยา ไอยะร์ และศาสตราจารย์ เจ. เอส. แม็กคินซี่ สำหรับความกรุณาของพวกเขาในการอ่านเอ็มเอส01. ไว้มาก ด้วยข้อพิสูจน์และด้วยข้อเสนอแนะที่มีคุณค่ายิ่ง. ศาสตราจารย์ เอ. แบริเดล คีธ ช่างเหมาะควรในการพิสูจน์อักษรข้อความ และหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากข้อคิดเห็นอันสำคัญของท่าน. อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งเช่นเดียวกับกรณีของหนังสือเล่มแรกยังบรรณาธิการทั่วไป ศาสตราจารย์ เจ. เอช. มูรเฮด ผู้ให้เวลาและความคิดกับงานชิ้นนี้มาก. ข้อบกพร่องของหนังสือเล่มนี้ช่าง มีมากเมื่อเทียบกับความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือที่ได้รับ. แม้งานพิมพ์จะมีปัญหามากก็ตาม ข้าพเจ้าก็ปิติที่งานนี้ทำได้ดีเป็นพิเศษ.


   ธันวาคม 2469
----------------
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เอ็มเอส MS. หมายถึง มีมางสา สูตร (मीमांसा सूत्र - Mīmāṁsā Sūtra) ซึ่งประพันธ์โดย ฤษีไชยมินิ ราวพุทธศักราชที่ 243-343 (หรือก่อนคริสต์ศักราชที่ 300-200) ท่านเป็นหนึ่งในปราชญ์คนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโบราณ ท่านเป็นหนึ่งในศิษยานุศิษย์ของมหาฤๅษีวยาส ผู้ประพันธ์ มหาภารตยุทธ.
 
เนื้อหา
 
  หน้า
คำนำของการจัดพิมพ์ครั้งที่สอง .   .   .   .   .   . 5
คำนำของการจัดพิมพ์ครั้งแรก .   .   .   .   .   .        7
 
ส่วนที่ 3
ระบบพราหมณ์ทั้งหก
 
บทที่ 1
ทนำ .      .     .      .      .     .      .     .    .     . 17
   จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย - ทรรศนะ - อาสติกะ และ นาสติกะ - วรรณกรรมด้านพระสูตร - วันที่ (การกำหนดช่วงเวลา) - แนวคิดทั่วไป - ระบบ (พราหมณ์) ทั้งหก   
 
บทที่ 2
วามสมจริงเชิงตรรกะของนยายะ .    .    .    .    . 29
  ระบบปรัชญานยายะ (न्याय - nyaya) และไวเศษิกะ (वैशेषिक - Vaiśeṣika) – จุดเริ่มต้นของระบบปรัชญานยายะ – วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ – จุดมุ่งหมายและขอบเขต – ธรรมชาติของคำจำกัดความ – การรับรู้ – การวิเคราะห์และประเภทของการวิเคราะห์ – การอนุมาน – การอ้างเหตุผล – บทนำ – ความเป็นสาเหตุ – สาเหตุหลายประการ – อสัตการยวาท (असत्कार्यवाद - Asatkāryavāda - หลักคำสอนในเรื่องเหตุและผลในปรัชญาอินเดีย) – การวิพากษ์วิจารณ์ทัศนะของเหตุตามระบบปรัชญานยายะ – การเปรียบเทียบ – ความรู้ทางวาจา (มุขปาฐะ) – อำนาจของพระเวท – องค์ความรู้ในรูปแบบอื่น ๆ – เอทิหยะ (ऐतिह्या - Aitihya - งานที่กลั่นกรองดีแล้ว) และ อรธาปัตติ (अर्थापत्ति - Arthāpatti - การรับเข้า, ความหมายโดยนัย), Saṁbhava and Abhāva – Tarka, Vāda, Nigrahasthāna – Memory – Doubt – Fallacies – Truth, its nature and criterion – Theories of error – The Nyāya theory of knowledge examined – The world of nature – The individual soul – Saṁsara – Mokṣa – Criticism of the Nyāya theory of soul and its relation to consciousness – Ethics – Proofs for the existence of God – Conclusion.         
 
บทที่ 3
THE ATOMISTIC PLURALISM OF THE VAIŚEṢIKA. . . 176
  The Vaiśeṣika – Date and literature – Theory of knowledge – Categories – Substance – Soul – Manas – Space – Time – Ākāśa -Earth, water, light and air – The atomic theory – Quality – Activity – Generality – Particularity – Inherence – Non-existence – Ethics – Theology – General estimate.    
 
 
 
บทที่ 4
  PAGE
THE SĀṀKHYA SYSTEM  .    .    .    .    .    .    .    .    .  248
  Introduction – Antecedents – Literature – Causality – Prakṛti – Guṇas – Cosmic evolution – Puruṣa – The relation between Purua and Prakṛti – The problem of knowledge – Jīva – Ethics – Release – God – Is Sāṁkhya atheistic? – General estimate.     
 
บทที่ 5
THE YOGA SYSTEM OF PATAÑJALI .    .    .    .    .     . 336
  Introduction – Antecedents of the Yoga system – Date and literature – The Sāṁkhya and the Yoga – Psychology – The means of knowledge – The art of Yoga – Ethical preparation – The discipline of the body – Regulation of breath – Sense-control – Contemplation – Concentration – Freedom – Karma – Supernormal powers – Theism of the Yoga - Conclusion.   
 
บทที่ 6
THE PŪRVA MĪMĀṀSĀ .   .    .    .   .    .    .    .    . 374
  Introduction – Date and literature – The sources of knowledge – Perception – Inference – Scriptural testimony – Comparison – Implication – Non-apprehension – Theory of Knowledge: Prabhākara, Kumārila – The self: Prabhākara, Kumārila – Nature of reality – Ethics – Apūrva – Mokṣa – God – Conclusion.     
 
บทที่ 7
THE VEDĀNTA SŪTRA .   .    .    .   .    .    .    .    . 430
  The Vedānta and its interpretations – Authorship and date of the Sūtra – Relation to other schools – Brahman – The world – The individual self - Mokṣa - Conclusion.    
 
บทที่ 8
THE ADVAITA VEDĀNTA ŚAṀKARA .    .    .    .    .    . 445
  Introduction – Date – Life and personality of Śaṁkara - Literature – Gauḍapāda’s Kārikā – Buddhist influence – Analysis of experience – Causation – Creation – Ethics and religion – relation to Buddhism – General estimate of Gauḍapāda’s position – Bhartṛhari – Bhartṛprapañca – Śaṁkara’s relation to the Upaniṣads and the Brahma Sūtra – Relation to Buddhism and other systems of philosophy – The reality of Ātman – Its nature – Theory of knowledge – Mechanism of Knowledge – Perception, its nature and varieties – Inference – Scriptural testimony – Refutation of subjectivism – Criterion of truth – Inadequacy of logical knowledge – Self-consciousness – Adhyāsa – Anubhava -  
 
PAGE
  Scriptural authority – Higher wisdom and lower knowledge - Śaṁkara and Kant, Bergson and Bradley – The objective approach – Reality and existence – Space, time and cause – The world of phenomena – Brahman - Saguṇa and Nirguṇa – Īśvara -Proofs for the existence of God – Brahman and Īśvara – Personality – Creation – The phenomenal character of Īśvara – Being, not-being and becoming – The phenomenality of the world and illusion? – Avidyā and māyā – The world of nature – The individual self - Sākṣin and jīva – Brahman and jīva - Avacchedavāda – Bimbapratibimbavāda - Ethics – Charges of intellectualism and asceticism considered – Jñāna and Karma – Karma and freedom - Mokṣa – Future life – Religion - Conclusion.    
 
บทที่ 9
THE THEISM OF RĀMĀNUJA .    .    .     .    .    .    .    . 659
  Introduction – The Puranas – Life – History and literature – Bhāskara – Yādavaprakāśa – The Pramāṇas – Implications of Ramanuja’s theory of knowledge – God – The individual soul – Matter – Creation – Ethics and religion – Mokṣa – General estimate.  
 
บทที่ 10
THE ŚAIVA, THE ŚĀKTA, AND THE LATER VAIṢṆAVA THEISM 722
  Śaiva Siddhānta – Literature – Metaphysics, ethics and religion The Pratyabhijñā system of Kashmir – Śāktaism – The dualism of Madhva – Life and literature – Theory of knowledge – God – Soul – Nature – God and the world – Ethics and religion – General estimate – Nimbārka and Keśava – Vallabha – Caitanya, Jīva Gosvāmi and Baladeva.    
 
บทที่ 11
ทสรุป .    .    .     .    .    .    .    .     .     .     . 766
  The course of Hindu philosophic development – The unity of the different systems – The decline of the philosophic spirit in recent times – Contract with the West – The present situation – Conservatism and radicalism – The future.  
มายเหตุ   .    .    .     .    .    .    .    .     .     .     .      . 783
รรชนี .    .    .     .    .    .    .    .     .     .     .      . 793
 
 
15
 
รายการชื่อย่อ
 
ภ.ค. .   .   . ภควัทคีตา.
พ.ส. .   .   . พรหมสูตร.
ด.ส.ว. .   .   . ระบบปรัชญาเวทานตะของดุสเซ่น - อี.ที.
ป.อ. .   .   . ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.
น.ภ. .   .   . นยายะ ภาษยะ.
N.S. .   .   . Nyāya Sūtra.
N.V. .   .   . Nyāyavārttika.
N.V.T.T. .   .   . Nyāyavārttikatātparyaṭīkā.
P.P. .   .   . Padārthdharmasaṁgraha of Praśastapāda.
M.S. .   .   . Mīmāṁsā Sūtra.
P.M. .   .   . Pūrva-Mīmāṁsā Sūtras.
R.B. .   .   . Rāmānuja’s Bhāṣya on the Brahma Sūtra.
R.B.G. .   .   . Rāmānuja’s Bhāṣya on the Bhagavadgītā.
S.B. .   .   . Śaṁkara’s Bhāṣya on the Brahma Sūtra.
S.B.G. .   .   . Śaṁkara’s Bhāṣya on the Bhagavadgītā.
S.K. .   .   . Śāṁkhya Kārikā.
S.B.H. .   .   . Sacred Books of the Hindus.
S.L.S. .   .   . Siddhāntaleśasaṁgraha.
S.P.B. .   .   . Śāṁkhyapravacana Bhāṣya.
S.P.S. .   .   . Śāṁkhyapravacana Sūtra.
S.D.S. .   .   . Sarvadarśanasaṁgraha.
S.S.S.S. .   .   . Sarvasiddhāntasārasaṁgraha.
S.V. .   .   . Ślokavārttika.
V.S. .   .   . Vaiśeṣika Sūtra.
Y.B. .   .   . Yoga Bhāṣya.
Y.S. .   .   . Yoga Sūtra.
 
 





 
humanexcellence.thailand@gmail.com