MENU
TH EN

ข. บทนำ: ศาสนาเชน

Title Thumbnail: พระโคมเตศวร บุตรของพระฤษภเทพ (Gomateshwara Bahubali), ที่มา: worldatlas.com, วันที่เข้าถึง 11 พฤศจิกายน 2564. Hero Image: รูปปั้น Lord Bahubali พระโคมเตศวร บุตรของพระฤษภเทพ (The Lord Gomateshwara Bahubali statue of Venoor (Karnataka) Jain Temple) มีความสูง 16.0 เมตร (52.5 ฟุต) สร้างเมื่อ คศว.ที่ 16, ที่มา: discover.hubpages.com, วันที่เข้าถึง 16 กรกฎาคม 2565.
ข. บทนำ: ศาสนาเชน01, 02.
First revision: Nov.11, 2021
Last change: Jul.4, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1
เชนเป็นศาสนาหนึ่งในประเพณีทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของภารตะ อย่างไรก็ตาม นอกเอเชียใต้แล้ว ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก สำหรับผู้ที่เคยได้ยินชื่อเชนเพียงไม่กี่คน พวกเขาเพียงแค่เป็นส่วนหนึ่งของพรมวิเศษและดูแปลกสำหรับภารตะ ซึ่งเป็นส่วนที่แท้จริงของภูมิประเทศอันดูเหมือนฝัน ซึ่งตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ผู้คนทางตะวันตกและจินตนาการของคนตะวันตกเองได้หล่อหลอมไปรอบ ๆ ความคิดอย่างเช่น "ภารตะ" หรือ "ตะวันออก".

       ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ผู้บันทึกเหตุการณ์หรือพงศาวดารชาวกรีก ต่อมาก็เป็นพ่อค้าชาวฟีนีเชียน และพ่อค้าชาวโรมัน. ต่อจากนั้นก็เป็นพวกอาหรับ พวกนักเดินเรือชาวโปรตุเกส พวกมิชชันนารีแห่งศาสนาคริสต์ นักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ พวกฮิปปี้และบุปผาชน...ไล่ยาวไปถึงนักท่องเที่ยวที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ทุกช่วงอายุ รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปภารตะและผู้ที่ไม่เคยเหยียบย่ำแผ่นดินภารตะ (แผ่นดินแม่ภารตะ - ภารตมาตา) ล้วนมีส่วนในการถักทออันแสดงให้เห็นถึงภารตะที่น่าอัศจรรย์ ลึกซึ้ง แปลกใหม่ และไกลโพ้น ในส่วนของชาวภารตะที่มีการศึกษา ได้จงใจตกแต่งภาพนี้ขึ้น.

อนุทวีปภารตะ (Bharata or Indian subcontinent), ที่มา:simple.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 16 พฤศจิกายน 2564.

       ภูมิประเทศที่นี่เต็มไปด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยทิวเขาที่ไม่สามารถเข้าไปได้. ที่นั่นมีเครื่องเทศรสเผ็ดและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม โขลงพญาช้าง งูเห่า และเสือโคร่งเบงกอลได้อาศัยอยู่. ดินแดนเหล่านี้ถูกพายุโซนร้อนโหมกระหน่ำและข้ามผ่านแม่น้ำอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง. ท่ามกลางทุุ่งนา จักพบดวงตาสีเข้มและส่าหรีหลากสีสัน. มีรายงานถึงพระราชวังอันน่าทึ่งเป็นที่ประทับของมหาราชาผู้มั่งคั่งเหลือล้น ซึ่งเต็มไปด้วยอัญมณี ไข่มุก และอำพันที่ส่องประกาย. มีเหล่าเทวาและเทวีประมาณ 300 ล้านองค์สถิตอยู่ในแผ่นดินนี้ เทพหรือเทพีแต่ละองค์นั้นมีวิหารของตนเอง  ซึ่งมีเครื่องหอมจุดถวายไว้อย่างต่อเนื่อง ภารตะ หรือมากกว่านั้นนี่คือ (อนุ) ทวีปภารตะ (หรือ ชมพูทวีป)01 เป็น
---------------

หมายเหตุ การขยายความ
01. ปัจจุบันนี้ "ภารตะ" เป็นประเทศเอกราช ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2490. อย่างไรก็ตามสถานที่ที่ผู้ประพันธ์ 01. อ้างถึงนั้นใหญ่กว่าและเก่าแก่กว่ารัฐชาติภารตะสมัยใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ. แท้จริงแล้ว ตราบจนถึงปี พ.ศ.2490 อินเดียไม่เคยเป็นรัฐชาติมาก่อน อันเป็นแนวคิดเด่น ๆ หลายกรณีในยุโรป. พื้นที่ที่ผู้ประพันธ์ 01. อ้างถึงนั้นคือ อารยธรรมภารตะ หรือหากท่านชอบ นี่เป็นเอเชียใต้ (ภารตะ ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน และหมู่เกาะมัลดีฟส์) แผ่นเปลือกโลกที่สลับซับซ้อนอย่างยิ่งของมนุษยชาติ ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ จะลดเหลือเพียงชาติเดียว. อันประกอบด้วยวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา กลุ่มสังคม คุณค่าทางจริยธรรม แนวคิดทางการเมือง ฯลฯ เหลือคณานับ. ในหนังสือเล่มนี้ 01. เมื่อเราใช้คำว่า "อารยธรรมภารตะ" "เอเชียใต้" หรือ "ทวีปภารตะ" (ขอให้เราขจัดแนวคิดที่ว่าเป็นส่วนย่อยของทวีป) ผู้ประพันธ์ 01. ก็มิได้หมายถึงหน่วยทางการเมือง แต่เป็นหน่วยที่มีอารยธรรมต่างหาก.


2
สิ่งแห่งความปรารถนาอยู่เสมอบนขอบฟ้าแห่งจินตนาการของโลกตะวันตกเสมอมา. เฮเกิล (พ.ศ.2380: หน้าที่ 272) ได้สังเกตแล้ว ซึ่งก็เป็นเช่นนั้น. 

       แน่นอนว่ายังมีชนชาวภารตะอื่น ๆ อันจินตนาการได้ว่ามีความแปลกประหลาดน้อยลงอีกหน่อยหรือชวนให้นึกถึง. ความอดอยากและความยากไร้ของภารตะ ความสกปรกและขาดสุขลักษณะ. ภารตะมีประชากรที่ล้นเกิน เต็มไปด้วยเด็กชายหญิงที่ไม่มีอนาคต. หรือน้ำท่วมด้วยมรสุมและภัยพิบัติจากความแห้งแล้ง อันเป็นฉากพินาศอุบัติภัย. อินเดียถูกจำนองด้วยความอยุติธรรมทางสังคมและความรุนแรงทางเพศ. หรือภารตะที่มีความขัดแย้งระหว่างศาสนา ความคลั่งไคล้ และสงคราม. ชาวภารตะอาจอยู่เหนือจิตวิญญาณได้เท่ากับความเชื่อโชคลางที่แก้ไขไม่ได้. แม้ว่ากฎที่ผนึกแน่นนี้จะเกิดขึ้นภายหลัง ทว่าก็ได้รับการส่งเสริมมากเกินไปจากความสนใจของสื่อและสำนักพิมพ์สีเหลือง??? ซึ่งพวกเขาก็เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยสร้างภาพลักษณ์แห่งภารตะ และเราชาวภารตะ และที่ไม่ใช่ชาวภารตะอย่างต่อเนื่อง. ในมุมมองเพ้อฝันที่ลึกลับและแปลกประหลาดของภารตะนั้นแตกต่างกับภารตะที่ขี้เหร่ในมุมมองที่เป็นประโยชน์.

       อย่างไรก็ตาม ศาสนาเชนแทบจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารตะที่น่าสังเวช โลกที่สาม และร่อแร่นี้. หากจินตนาการได้เลยล่วงข้ามมา ศาสนาเชนก็ถูกกล่าวหาได้ จึงกล่าวได้เลยว่าภายใต้หัวข้อย่อยของภารตะที่ยอดเยี่ยมมหัศจรรย์ ภารตะแห่งภูมิปัญญา เป็นภารตะที่ล่อลวงชาวยุโรปมาช้านาน. ให้เราย้อนกลับไปยังภาพอันสวยงาม.

       บนยอดเขาแห่งหนึ่ง ชายขอบหมู่บ้าน ริมฝั่งแม่น้ำ บางทีอาจจะอยู่ภายในวัดร้าง ซึ่งมีความลึกลับพิเศษเป็นสื่อกลางนั้น. เงียบสงบ ราบเรียบ อันเป็นแม่แบบของภูมิปัญญานิรนามของอดีตที่ห่างไกล: เหล่าโยคีที่มีพลังเหนือธรรมชาติ เหล่านักบวชที่รอบรู้ในบทสวดอันศักดิ์สิทธิ์ (มนต์ - Mantras) พวกฟะเคีย (fakir)01. นอนบนเตียงตะปู ผู้ศักดิ์สิทธิ อันปนเปื้อนขี้เถ้า นักพรตผู้ไม่ครั่นคร้าม เข้าสู่ภาวะที่ล้วนเงียบงัน. อันอยู่ในหมวดสุดท้ายของโยคีสุภาษิต ที่ศาสนาเชนเข้ากันได้อย่างเหมาะสม. ผู้นับถือเชนไม่ใช่เป็นปราชญ์เปลือยกายลึกลับ (พรตที่บำบัดกาย - ที่พิจารณาว่าอาหารและเสื้อผ้าเป็นอันตรายต่อความบริสุทธิ์ของความคิด) ที่กองกำลังของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (ศตว.ที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช) เข้ามาทำศึกในอินเดียหรือเปล่า.

       ผู้บันทึกเหตุการณ์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้เล่าถึงการพบปะกันระหว่างผู้บัญชาการทหารและเหล่านักพรต ซึ่งทรงภูมิปัญญาที่เป็นตำนานเล่าขานในสมัยนั้น. ผู้บำเพ็ญทุกรกิริยาที่ชื่อกะละนอส กล่าวว่าเขามีภูมิคุ้มกันต่อความเจ็บปวดและความสุข และบุคคลที่ชื่อแดนดะมิส เขาไม่กล้าออกจากภารตะ. การรับวิถีชีวิตของเหล่านักพรตเปลือยกาย วิธีเผชิญหน้ากับความตาย การไม่แยแสต่อธรรมเนียมปฏิบัติต่อสังคม ล้วนสร้างความประทับใจให้กับชาวมาซิโดเนีย. ไม่นานนักพวกสโตอิก02.ก็เข้าถึงที่สุดในทางปฏิบัติตามทฤษฎีของพวกเขาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่อความสุขและความเจ็บปวด (ฮาลบ์แฟส01 พ.ศ.2531: หน้า 435). แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ยอมรับว่านักพรตที่เปลือยเปล่าเหล่านี้คือผู้นับถือเชน (ฟอน กลาสแนปป์02 พ.ศ.2468: หน้าที่ 163-165) แต่มีความเป็นไปได้ (ดรูว พ.ศ.2530: หน้าที่ 147). นี่เป็นสถานการณ์ที่แปลกประหลาดนัก ภิกษุภารตะท่านแรกที่จับภาพจินตนาการของตะวันตกได้อย่างแม่นยำคือคนที่ตอนนั้นได้ลืมไปเกือบหมด. แม้แต่ดิโอจีเนส ลาเออเทียส (คริสต์ศตวรรษที่ 3) ยังกล่าวถึงปราชญ์เหล่านี้และสงสัยว่าพวกเขาส่งผลกระทบต่อปรัชญากรีก03. มากน้อยเพียงใด (ฮาลบ์แฟส พ.ศ.2531: หน้า 3). หลายศตวรรษต่อมามีการกล่าวกระจายถึงเรื่องนี้จากปากของมิชชันนารีหรือปัญญาชนชาวเยอรมันบางท่าน. แต่การอ้างอิงก็ค่อย ๆ เลือนไป หากในวันนี้ได้ปรากฎศาสนาเชนขึ้นบนขอบฟ้าตะวันตก นั้น
---------------

01. พวกฟะเคีย (fakir) เหล่าชนในลัทธิหนึ่ง นิกายสุหนี่ พึ่งพาพระเจ้าอย่างเต็มที่ในทุกสิ่งที่พวกเขาทำและทุกลมหายใจที่ได้หายใจ.
02. สโตอิก (Stoic) เป็นลัทธิหนึ่งในเอเธนส์ กรืก เกิดขึ้นราวต้น 300 ปีก่อนคริสต์กาล เน้นระบบตรรกะและมุมมองต่อธรรมชาติ มีคำสอนว่า "คุณธรรม (virtue) เป็นสิ่งดีสิ่งเดียว (only good)".
03. ปรัชญากรีก หรือ Hellenic philosophy.

หมายเหตุ การขยายความ

Wilhelm Halbfass, ที่มา: academia.edu, วันที่เข้าถึง 13 มีนาคม 2565.
01. วิลเฮม ฮาลบ์แฟส (Wilhelm Halbfass) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ.1940)-25 พฤษภาคม พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000)) เป็นนักอินเดียวิทยา และนักปรัชญาคลาสสิก ชาวเยอรมัน เป็นศาสตราจารย์ด้านเอเซียศึกษาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา จวบจนอนิจกรรม.
Helmuth von Glasenapp, ที่มา: en.wikipeida.org, วันที่เข้าถึง 13 มีนาคม 2565. 
02. เฮลมุทธ์ ฟอน กลาสแนปป์ (Von Glasenapp) (8 กันยายน พ.ศ. 2434 (ค.ศ.1891)-25 มิถุนายน พ.ศ.2506 (ค.ศ.1963)) เป็นนักอินเดียวิทยา และนักวิชาการทางศาสนา ชาวเยอรมัน.
 

ที่มา: th.gov-civ-guarda.pt/ganges-river, วันที่เข้าถึง 23 พฤศจิกายน 2564.

3
เกี่ยวข้องกับภารตะที่มีนักพรตแปลก ๆ ที่หลงไหลวิถีของชาวกรีกเป็นได้. ภาพเริ่มต้นที่ก่อตัวขึ้นได้ยืนยงและคงอยู่กับเรา เลือนลางและสูญหายไปท่ามกลางตำนาน.

       ผู้ประพันธ์ 01. คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างถูกและดีต่อเราที่ นิทานปรำปราควรแยกออกมาจากแบบแผน (ด้านปรัชญา) นี้ และจินตนาการถูกปล่อยให้เป็นอิสระ. ท้ายที่สุดแล้ว อินเดียเป็นดินแดนแห่งชาดกนิทานและตำนานมาช้านาน และได้กระตุ้นให้ฝันดีในตอนกลางวันอยู่เสมอ. แต่ในขณะเดียวกันแล้ว ผู้ประพันธ์ 01. คิดว่าการเทียบวัดข้อมูลให้ถูกต้องนั้นก็เป็นประโยชน์. ข้อโต้แย้งของผู้ประพันธ์ 01. ก็คือความรู้ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีรักษาที่เรามีไว้สำหรับการเยียวยาความเคารพระหว่างวัฒนธรรมและการเข้าใกล้กับความซับซ้อนที่น่าหวาดหวั่นนั่นคือ
ภารตะ. การพิจารณาทบทวนความคิดในลักษณะเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการประเมินฉากใหม่อย่างเย็นชาและไร้วิญญาณ แต่เป็นการทำความเข้าใจกับประเพณีที่พิเศษอันจะกระตุ้นความสนใจและลึกซึ้งยิ่งขึ้น.
 
ข้อมูลพื้นฐาน

ในระดับที่เหนือกว่าธรรมดานั้น วัตถุประสงค์ของหนังสือนี้นั้น มิใช่เรื่องอื่นใด เป็นเพียงการเติมเต็มในช่องว่าง ข้อมูลข่าวสารที่พวกเรามีอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนานี้. ในการติดตามความเป็นพลวัตและพัฒนาการของศาสนาเชน ผู้ประพันธ์ได้พยายามครอบคลุมประเด็นหลักดังต่อไปนี้: จักรวาลวิทยา ตำนานหรือปกรณัม แหล่งกำเนิด และการเปลี่ยนผ่าน การรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ กลุ่มศาสนาหลัก วรรณะ คัมภีร์ ปรัชญาต่าง ๆ พิธีกรรม ตลอดจนวิถีวิทยา จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ จริยธรรม การยึดถือ การเชื่อมโยงกับประเพณีของศาสนาอื่น สภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์อันศักดิ์สิทธิ์ และอื่น ๆ . สิ่งที่ผู้ประพันธ์ต้องการจัดทำคือ การจัดเตรียมคู่มือพื้นฐานสำหรับผู้อ่านผู้ศึกษาทั่วไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเฉพาะในเนื้อหานี้เสมอไป.

       ในโลกแห่งปาฐกเสวนานี้นั้น การมีความรู้เกี่ยวกับค่านิยมและการอ้างอิงถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างในโลกใบนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้. และเพื่อให้สามารถเข้าใตสังคมซับซ้อนเฉกเช่นชาว
ภารตะ ความรู้เกี่ยวกับการแสดงออกทางศาสนานั้นถือเป็นพื้นฐาน. ถ้าเพียง (ศึกษา) เพื่อความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผู้อ่านควรทำความคุ้นเคยกับหลักปฏิบัติและคำสอนของศาสนาเชน.

 
พลวัตและประวัติศาสตร์ของประเพณี

ในความคิดของผู้ประพันธ์ การศึกษาวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่างออกไปนั้น ควรเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วไปที่จัดขึ้นในโรงเรียน. และสิ่งแรกที่ควรสอนก็คือ สถานการณ์ของโลกใบนี้ การสนทนาวิสาสะระหว่างวัฒนธรรมนั้นไม่สมดุลโดยสิ้นเชิง มันเกิดขึ้นในสื่อตะวันตก ด้วยการใช้ภาษาตะวันตก และในความเป็นจริงแล้ว แนวคิดของบทสนทนาระหว่างวัฒนธรรมนั้น ฟังดูน่าเคลือบแคลงเกี่ยวกับยูโร-อเมริกัน. ในแง่หนึ่ง ส่วนที่เหลือของโลกนั้น ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องรับสิ่งที่เรียกว่าความเป็นตะวันตกหรือความทันสมัย (ในระดับอุดมการณ์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมือง) ที่คลุมเครือและต้องการรับสิ่งเหล่านี้

 
4
แม้จะมีข้อโต้แย้งก็ตาม. เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการโลกาภิวัตน์ที่จะทำลายล้าง สภาพกายหยาบที่มีดีอยู่นี้คือการเรียนรู้และทำความเข้าใจ "ผู้อื่น" ได้อย่างแม่นยำ. หนังสือที่ผู้ประพันธ์เขียนขึ้นนี้ ได้พยายามที่จะส่งเสริมและขยายความเข้าใจนี้ ในขณะเดียวกัน การเดินทางสู่ความทันสมัยหมายความว่า แต่ละวัฒนธรรมจะต้องค้นพบและตีความอัตลักษณ์ของตนเองใหม่.

       สำหรับศาสนาเชน สิ่งที่น่าสนใจนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่. ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของสิ่งนั้น เหมือนดังเช่นกรณีของประเพณีอื่นใด จะต้องเห็นขอบเขตของการพูดคุยอย่างต่อเนื่องกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับนิยามของสิ่งนั้นเอง สิ่งนั้นจะดิ้นรน ต่อต้าน ถูกกระตุ้น และพิจารณากันใหม่. ให้เราดู.

       ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่เก่ากาล มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าอย่างน้อย 2,500 หรือ 3,000 ปี และยาวนานชั่วกัลป์ในประวัติศาสตร์อื่น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ในตำนาน". ในขั้นต้น สมาชิกของกลุ่มชนเชนนี้ เป็นที่รู้จักในฐานะ "นิครนถ์- Nirgrantha" (ผู้ไม่มีพันธะ) อันเป็นเครื่องหมายที่สะท้อนถึงธรรมชาติของการบำเพ็ญเพียรของศาสนานี้. นิครนถ์ ผู้เป็นผู้นำทางประวัติศาสตร์และตำนาน ที่มักจะถูกเรียกโดยชื่อแปลก ๆ "ผู้สร้างเนินดินให้ก้าวข้ามพ้น" (ตีรถังกร). เป็นเนินดินหรือ? ถูกต้องแล้ว การข้ามพื้นที่ (ลุ่ม) ตื้นเขินต่าง ๆ ของแม่น้ำที่จะช่วยให้ผู้อื่นข้ามไปยังฝั่งแห่งการหลุดพ้นได้ (นิพพาน - nirvāṇa). คำพ้องความหมายสำหรับ ตรีถังกร คือคำว่า ไชนะ ซึ่งแปลว่า "ชัยชนะ" หรือ "ผู้ชนะด้านจิตวิญาณ" (โมเนียร์-วิลเลียมส์ พ.ศ.2442: หน้า 421). ตีรถังกรหรือไชนะนั้น โดยนิยามศัพท์แล้ว คือ บุคคลผู้ขจัดกิเลสตน ละแล้วซึ่งความติดยึด ผู้บรรลุถึงความเห็นแจ้ง และแสดงธรรมในวิถีแห่งเชน โดยที่ผู้อื่นก็สามารถไปถึงฝั่งแห่งความรอดได้. ผู้ที่ชี้หนทางที่สมบูรณ์แบบท่านสุดท้ายคือ มหาวีระ (ศตวรรษที่ 6-5 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นไชนะในช่วงเวลาของเรา. ศาสนาเชนเป็นชื่อที่มีผู้แนะนำตั้งให้ไว้ เป็นศาสนาที่ (ได้ให้) ไชนะ (ชัยชนะ) ไว้แก่โลก. สานุศิษย์ผู้ติดตามทั้งหมดในวิถีนี้ ได้ถุกทำเครื่องหมายไว้โดยไชนะ ที่เรียกกันว่า ไชยนะ หรือ เชน.

       ณ จุดเริ่มต้น ศาสนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเชน ต่างได้นิยามตนเองเป็น ลัทธิพราหมณ์พระเวท และศาสนาหลายกลุ่มที่เรียกว่า ศรมณิก หรือ สมณะ01.  ซึ่งเป็นกลุ่มแนวหน้าสุดของพระพุทธศาสนา แต่โดยแท้จริงแล้ว เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเชน. เป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่พระพุทธศาสนาได้ก่อตั้งเป็นอีกศาสนาอื่นอีกศาสนาหนึ่งขึ้นมา ในเวลาเดียวกันเสมือนเป็นพี่น้องขบเขี้ยวกันมาตลอด ทั้งสองศาสนาได้ต่อสู้ดิ้นรนและเรียนรู้ ตลอดจนต่างได้บำรุงซึ่งกันและกัน ต่อมาก็มีศาสนาอื่นที่อุทิศก่อร่างเป็นศาสนาฮินดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้โน้มเอียงไปยังลัทธิไศวะนิกาย และ ไวษณพนิกาย. แล้วกลายมาเป็นอินเดียที่นับถือลัทธิอิสลาม. ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ก็ได้ผนึกเป็นบริติชราช. ศาสนาเชนต้องตอบสนองต่อความทันสมัยและลัทธิชาตินิยมฮินดู. และในทุก ๆ กรณี ศาสนาเชนต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองและสร้างบทบรรยายวาทกรรมขึ้นใหม่. ประวัติของปฏิสัมพันธ์ อันยาวนานที่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้นั้น เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าต้องการทำให้เกิดความชัดเจน. ศาสนาเชนไม่ใช่เสาหินอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ทว่าเป็นประเพณีที่เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อตอบสนองต่อการเดินทางสู่ยุคใหม่ ศาสนาเชน - และประเพณีของ
ภารตะโดยรวมนั้น - ได้ครอบครองทรัพยากรและความสามารถในการปรับตัวมากกว่าที่เราคิด.

       เป็นเวลานับสิบ ๆ ปีที่มีผู้สังเกตการณ์ให้ความรู้สึกต่อศาสนาเชนว่าได้มาถึงจุดสิ้นสุดทางประวัติศาสตร์แล้ว. มันไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการพัฒนาอย่างแท้จริง (ฟอน 
กลาสแนปป์ พ.ศ.2468 หน้าที่ 163-165) ซึ่งมีการอนุรักษ์ไว้อย่างเต็มที่. ข้าพเจ้าหวังว่ามีการแสดงด้านประเพณีที่เน้นย้ำถึง
หมายเหตุ การขยายความ
01. ศรมณิก (Śramaṇic) หรือ สมณะ (samaṇa) Śramaṇa (Sanskrit: श्रमण; Pali: samaṇa, Tamil: Samanam) หมายถึง "ผู้ทำงาน ตรากตรำ หรือออกแรง (เพื่อวัตถุที่สูงขึ้นหรือทางศาสนา)" หรือ "ผู้แสวงหา ผู้บำเพ็ญเพียร นักพรต".
        

 
5
ความซื่อสัตย์ต่อหลักการของตน (ศาสนาเชน) เป็นพิเศษ แต่ก็ไม่และไม่คงที่เท่าที่ควร. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าเชื่อว่าแนวทางประวัติศาสตร์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาใช้บางส่วน และการเข้าไปเกี่ยวพันกับวิธีอื่นในการทำความเข้าใจศาสนาประเพณีภารตะอื่น ๆ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน. จากมุมมองนี้ คนเราจึงเข้าใจว่าประเพณีทั้งหมดเป็นปรากฎการณ์ที่มี พลวัต เป็นการเคลื่อนไหวโดยตลอดและติดต่อกับสังคมผู้คน. มีเพียงเราเท่านั้นที่ตระหนักถึงคุณค่าของบทบาทอันยิ่งใหญ่ของศาสนาเชนในการรังสรรค์อารยธรรมภารตะ ข้าพเจ้าเชื่อว่าการศึกษาและการเผยแพร่ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ได้เน้นย้ำถึงองค์ประกอบด้านพราหมณ์ พระเวท และภาษาสันสกฤตมากเกินไป เป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ปัจจัยอื่น ๆ ที่เท่าเทียมกัน เช่น พระพุทธศาสนา ศาสนาเชน ลัทธิตันตระ ข้อคิดทางจิตวิญญาณของศาสนาฮินดู แนวคิดของชนเผ่า มุสลิม ชาวซิกข์ และชาวคริสต์. งานประพันธ์นี้พยายามที่จะฟื้นฟูศาสนาเชนให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างอารยธรรมภารตะ. เรามาดูตัวอย่างกัน.

       ชุมชนชาวเชนในปัจจุบันมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีจำนวนประมาณ 4.5 หรือ 5 ล้านคนที่นับถือศรัทธาและยังคงอยู่ภายในขอบเขตของประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิด ภารตะ ด้วยยังมีชุมชนชาวเชนอินเดียเล็ก ๆ ในแอฟริกา ยุโรป อเมริกา และบางจุดในเอเชีย. อย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ ศาสนาเชนนี้เป็นศาสนาที่มีผู้ติดตามจำนวนคณานับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างคศว.ที่ 5 ถึง 12 ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จในการเทียบเคียงกันประเพณีศาสนาอินเดียอื่น ๆ . อิทธิพลที่มีต่อค่านิยมและการปฏิบัติของชาวฮินดูและพุทธศาสนิกชน. อันมีความสำคัญมาก อาทิ ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ เช่น การทานอาหารมังสวิรัติ หรือการไม่ใช้ความรุนแรง (อหิงสา-ahiṃsā) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นมรดกตกทอดของชาว
ภารตะ และศาสนิกชนอื่น ๆ ในอินเดีย. หลักคำสอนเรื่องอหิงสา ได้รับการเทิดไว้ขั้นสูงในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันเป็นคุณธรรมสำคัญ. ระบบการบูชาทั้งหมดเป็นไปตามการสังเวยสัตว์ ซึ่งได้ระบุไว้ในพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์. ระบบการบูชาทั้งหมดเป็นไปตามการสังเวยบรรดาสัตว์ตามที่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์. ซึ่งต้องมีการชำระแก้ไขกันขนานใหญ่. ไม่น่าแปลกใจเลยที่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียสองพระองค์ คือ พระเจ้าอโศก ที่เป็นพุทธมามกะ (ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3) และชาวมุสลิมที่ชื่อกษัตริย์อัคบาร์ (คศว.ที่ 16-17) เป็นผู้เสนอหลักคำสอนเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง. ทุกวันนี้ การสักการะบูชาของชาวฮินดู (pūjā - Sanskrit: पूजा) เป็นมังสวิรัติโดยตลอด และมีการห้ามฆ่าสัตว์ (ใหญ่) ในหลาย ๆ รัฐของภารตะ. ซึ่งต้องขอขอบคุณงามความดี จริยธรรม และหลักปฏิบัติของการไม่ใช้ความรุนแรงของคานธี ได้ไปถึงทั่วทุกมุมโลก.

       ซึ่งข้อความข้างต้นจะท้าทายความคิดโบราณที่แพร่หลาย - ซึ่งมีการชำแหละไว้ (อ้างถึง จอห์น ค็อร์ท (พ.ศ.2541:3) ว่าศาสนาเชนเหมือนกับคนจน ๆ ไม่มีความสัมพันธ์ที่สลักสำคัญอะไรมากมายนักกับศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ.

       ทีนี้ เราลองมาตรวจสอบตำราเกี่ยวกับจิตวิญญาณของชาวเอเชียใต้กัน. ศาสนาเชนได้บังเกิดขึ้น - พบเห็นบ่อย ๆ ในเงาของพระพุทธศาสนา - เมื่อพิจารณาถึงกระแสแห่งความไม่สงบทางจิตวิญญาณที่กระทบกระเทือนในทางตอนเหนือของภารตะ ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8-4 แล้ว. ตำราหรือคัมภีร์ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาและสังคมในช่วงเวลาอันสำคัญนี้ และเกี่ยวกับประเพณีใหม่ของผู้ที่ละทิ้งโลกมนุษย์ (อันเป็นกายหยาบ) (สมณะ - Śramaṇa) ที่นำโดยมหาบุรุษที่มีคุณลักษณะพิเศษ เช่น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมหาวีระ. ถัดจากจุดนี้ไปศาสนาเชนก็หายไปจากตำรา. ศาสนาเชนถูกระบุด้วยสูตรโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่านั้น และน้ำหนัก (ในความน่าเชื่อถือ) ของศาสนาเชนก็ได้รับการยอมรับว่าเป็น (เพียง) ความท้าทายของศาสนาพระเวทและพระพุทธศาสนาเท่านั้น เมื่อหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล มีผู้ประพันธ์นามว่าศรีกุนดากุนดาอาจารยา (Kundakunda)01. (ในคริสต์ศตวรรษที่ 2) อุมาสวาติ (Umāsvāti)02. (ในคริสต์ศตวรรษที่ 3)

หมายเหตุ การขยายความ
01. สวามีศรีกุนดากุนดาอาจารยา (Svami Sri Kunda kunda Āchārya) เป็นปราชญ์สงฆ์ในศาสนาเชน นิกายทิฆัมพร มีอายุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ท่านมีผลงานเป็นภาษาปรากฤต แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม หนึ่ง... อธิบายเรื่องแก่นแท้ (สาระ) สอง... คำอธิษฐานอุทิศ สรรเสริญอาจารยา คติธรรม และพิธีกรรมมาตรฐานของศาสนาเชน นิกายทิฆัมพร สาม... ข้อความสั้น ๆ ที่เรียกว่า ปราภารตะ เช่น สัมมาทิฐิ ความประพฤติที่ถูกต้อง, ปรับจาก: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 24 เมษายน 2566.
02. อุมาสวาติ อาจารยา (Umāsvāti) และ เป็นหนึ่งในปัญจะ-ปรเมษฐิ (ห้าสิ่งสูงสุด) ตามจารีตของเชน ทฤษฎีที่อุมาสวาติเสนอคือ การเกิดใหม่และความทุกข์นั้นเกิดจากกรรม (การกระทำ) ของคน ๆ หนึ่ง และชีวิตที่ดำเนินชีวิตตามคำปฏิญาณว่าจะดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมด้วยความสมถะจะชำระล้างกรรมนี้ และนำไปสู่การหลุดพ้นในที่สุด ปรัชญาหลักในคำพังเพยของ Tatvartha Sutra ของ Umaswati คือ "ทุกชีวิต ทั้งมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์", ปรับจาก: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 24 เมษายน 2566.


 
6
หริภัทรา (Haribhadra)01. (ในคริสต์ศตวรรษที่ 8) ไชนะเสน (Jinasena)02. (ในคริสต์ศตวรรษที่ 9) หรือ เหมะจันทรา (Hemacandra)03. (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12) ด้วยอัจฉริยภาพของปราชญ์เหล่านี้ มีผลกระทบอย่างมากต่อปรัชญาและจิตวิญญาณของภารตะ ซึ่งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงเลย. สิ่งที่ถูกละเลยในทำนองเดียวกันคืออิทธิพลของศาสนาเชนที่มีต่อราชวงศ์คงคา (Gaṅga - Western Ganga) (ราว ค.ศ. 350-1000) ราชวงศ์ราษฏรคูฏะ (Rāṣṭrakūṭa) (ราว ค.ศ.753-982) ราชวงศ์โหยสละ (หรือ ฮอยซาลา - Hoysala) (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10-14) หรือราชวงศ์โซลงคี (Solaṅkī หรือ Chalukyas หรือ Chaulukya) (ราว ค.ศ.940-1244) ในยุคหลังคุปตะ (the post-Gupta period) (ยุคกลาง) (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 3-9). มีงานศึกษาน้อยมาก ทั้งด้านการปฏิบัติบูชา หรืออุดมคติและวัตรปฏิบัติของชุมชนที่เป็นฆารวาทของศาสนาเชน - ทั้งยังมิต้องกล่าวถึงผลกระทบมหาศาลที่ศาสนาเชนมีต่อการพัฒนาภาษาพื้นถิ่น: ทมิฬ กันนาดา มาราธี ฮินดี หรือ คุชราต. ในอีกแง่มุมหนึ่งที่แทบไม่ได้รับการกล่าวถึงคือ อิทธิพลอันทรงพลังของศาสนาเชนที่มีต่อวรรณกรรมและศิลปะของภารตะ. ยิ่งไปกว่านั้น น้ำเสียงโดยทั่วไปของนักวิชาการชาวตะวันตกหลายคนมีท่าทีเหยียดหยาม. ศาสนาเชนถูกนำเสนอในฐานะเสียงส่วนน้อย เนื่องจากมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลเลยสำหรับสังคมสมัยใหม่ ในอีกแง่หนึ่ง ศาสนาเชนได้ถูกพรรณนาว่าเป็นนิกายที่ถูกล้างออกไป ไม่เชื่อในพระเจ้า และไม่เกี่ยวข้องกัน (งานของฮ้อปกิ้นส์ ปี พ.ศ.2441 หน้าที่ 296). อย่างดีที่สุด สิ่งเดียวที่น่าสนใจของศาสนาเชนคือ การคงไว้ซึ่งมุมมองที่คร่ำครึ มีมาก่อนหลักปรัชญา และการมองโลกในแง่ร้าย.
 

อนุทวีปอินเดีย ภายหลังราชวงศ์คุปตา (ราว ค.ศ.490-750), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 9 พฤษภาคม 2566.
 

นักภารตวิทยา กับ นักสังคมวิทยา

       เห็นได้ชัดว่ามีผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง รู้ถึงความสำคัญของประเพณีนี้. มีการศึกษางานด้านศาสนาเชนมาช้านาน.

       เหล่าผู้นำในการศึกษาเป็นมิชชันนารีและทหารชาวยุโรป เช่น โทมัส โคลบรู๊คส์, โฮเรส วิลสัน, ออตโต บ็อตห์ลิงค์ และ บาทหลวง เจ. สเตเวนสัน. พวกเขาได้แปลวรรณกรรมเชนชุดแรก ๆ เป็นภาษาในกลุ่มประเทศยุโรปในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19. ซึ่งในช่วงปลายศตวรรษนั้น มีการศึกษาอย่างจริงจังกันครั้งแรกโดยนักอินเดียวิทยาและนักภาษาสันสกฤตที่มีภูมิความรู้ อาทิ อัลบริชห์ท วีเบอร์ จอร์จ บูห์เล่อร์ และ แฮร์มานน์ ยาโคบี. ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีนักวิชาการอีกรุ่นหนึ่ง เช่น วาลเธอร์ ชูบริงค์ และ ลุดวิก อัลส์ดอร์ฟ ได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้พวกเรา. มีคำแนะนำทั่วไปโดย เฮลมุธ ฟอน กลาเซนแนปป์, เดอร์ ไชนิสมุส ซึ่งได้ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2463 ได้แสดงความก้าวหน้าที่สำคัญในการเผยแพร่ประเพณีของเชนแก่ผู้อ่านที่ชาญฉลาด. ซึ่งแน่นอนว่าหมายถึงผลงานของนักเขียนชาวตะวันตกที่เขียนขึ้นสำหรับผู้อ่านชาวตะวันตก. ซึ่งมิได้หมายถึงว่าเป็นการรวมงานศึกษาจำนวนมากของเหล่าศาสนิกเชน ที่แพร่กระจายโดยนักภารตวิทยา.

       ก้าวต่อไปในการเผยแพร่ความรู้ของศาสนาเชน ก็คือการแนะนำที่ยอดเยี่ยมโดย พัดมนาบห์ ไชนิ04, วิถีแห่งความบริสุทธิ์ของเชน (The Jaina Path of Purification) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ.2522. แต่ทว่างานด้านศาสนาเชน เป็นที่รู้กันวงจำกัดเฉพาะหมู่นักวิชาการเท่านั้น และไม่สามารถเข้าถึงนักอ่านทั่วไป. และยังมีปัญหาอีกประการหนึ่ง.

       งานศึกษาด้านศาสนาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังผู้ที่มีคุณธรรมทางจิตวิญญาณและวิถีแห่งเหล่าพรต (ภิกษุ ชี ผู้ซึ่งสละแล้ว นักบุญ และผู้พยากรณ์) ขณะเดียวกันก็หลงลืมหรือเพิกเฉยต่อจิตวิญญาณของผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่. ซึ่งศาสนาเชนก็ไม่มีข้อยกเว้น. เราเพียงต้องการศึกษางานของเชนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อดูว่าพวกเหล่าพรตนี้ ได้มุ่งจดจ่อเขียนงานของเชนอันเป็นจารีตประเพณีมากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรยายสาธกไปตามจริต ข้อกังวล และคุณลักษณะของชุมนุมนักพรตนี้.

หมายเหตุ การขยายความ
01. หริภัทรา (Haribhadra) หรือ อาจารยา หริภัทรา สุริ เป็นนักบวชเชน เศวตัมพร (หรือ เศวตามพร) นิกาย ท่านเขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับโยคะและศาสนาเปรียบเทียบ (ฮินดู-พุทธ-เชน) โดยรวมจุดดีของปรัชญาศาสนาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในยุคของท่าน เพื่อการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ ปรากฎในงานเขียนชื่อ Yogadṛṣṭisamuccaya เป็นภาษาสันสกฤต.
02.
ไชนะเสน (Jinasena) หรือ อาจารยา ศรี ไชนะเสน เป็นนักบวชเชน ทิฆัมพร (หรือ ทิคัมพร) นิกาย ท่านได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ในราชวงศ์ราษฏรคูฏะ ท่านมีงานเขียนสำคัญชื่อ อดิปุราณะ และ มหาปุราณะ ซึ่งนักเขียนไซไฟ (นิยายวิทยาศาสตร์) คนสำคัญ คาร์ล ซากัน (Carl Sagan) ได้นำบทความจากมหาปุราณะมากล่าว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความไม่มีเหตุผลเลยที่จะมีพระเจ้าสร้างโลก จักรวาลเป็นผู้สร้างมันเอง.
03. อาจารยา เหมะจันทรา สุริ (Hemachandra) หรือ หมะกันดรา (Hemacandra)
ท่านเกิดที่เมืองคุชราต เป็นนักบวชเชน เศวตัมพร (หรือ เศวตามพร) นิกาย เป็นผู้รอบรู้หลายแขวงวิชา ปราชญ์ กวี นักคณิตศาสตร์ โยคี นักไวยากรณ์ ฯ และเป็นบิดาของภาษาคุชราต ท่านมีผลงานด้านไวยกรณ์ภาษาสันสกฤต ประกฤติ และปรัชญาอินเดียหลายสาขา.
04. พัดมนาบห์ ไชนิ (Padmanabh Jaini) (ชาตะ 23 ตุลาคม พ.ศ.2466 คาร์นาตะ อินเดีย - 25 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ถึงแก่กรรมที่เบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐ) ท่านเป็นนักวิชาการเชน และพุทธศาสนา ครอบครัวของท่านมาจากตระกูลทิฆัมพรนิกาย เชน ท่านได้สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ผลงานที่มีชื่อเสียงของท่านคือ The Jaina Path of Purification ปี พ.ศ.2522.


 
7
ผลที่ตามมาก็คือ นักภารตวิทยาได้มอบภาพที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไร้ระเบียบ และเคร่งครัดของศาสนาเชนให้แก่เรา. ด้วยข้อยกเว้นบางประการ มุมมองที่นำเสนอนั้น ได้เน้นไปที่การศึกษาตัวบทหรือรายละเอียดทางประวัติศาสตร์มากเกินไป. ที่สำคัญก็คือ มีบทความอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของเชน ซึ่งมีมากกว่าบทความที่เกี่ยวกับเชนที่มีชีวิตในทุกวันนี้. น่าเสียดายที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญได้ทำลายแนวคิดโบราณเหลือแต่เพียงประวัติศาสตร์ภารตะโบราณเท่านั้นที่สอนเราได้.

       แม้ว่ามุมมองของนักภารตวิทยาและนักภาษาสันสกฤต จะมุ่งความสำคัญในการทำความเข้าใจกับเชนศาสนิกชน แต่เขาก็สนับสนุนแบบแผนชั้นเอกที่มาจากชุมชนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ: นั่นก็คือความสุขุม ความเข้มงวด และแนวโน้มที่จะเข้าสู่การทดสอบ. โดยมิได้ปฏิเสธความสำคัญของการบำเพ็ญญาณตบะของสมาชิกเหล่าชุมชนเลยแม้แต่น้อย พวกเราทุกคนที่อาศัยอยู่กับสมาชิกของชุมชนจะเห็นด้วยกับผู้ประพันธ์ (01) - และจอห์น คอร์ท (พ.ศ.2534 หน้า 213) - ตรงที่ว่าเชนศาสนิกชนนั้นมีชีวิตชีวาไม่น้อยกว่าชาวพราหมณ์-ฮินดู ที่เป็นคนเปิดเผย และพิธีกรรมของพวกเขาก็ไม่ได้ดึงดูดสายตาหรือกระตุ้นความรู้สึกแม้แต่น้อย ดูน้อยกว่าศาสนาอื่น ๆ ใกล้เคียง (อาทิ พระพุทธศาสนา และพราหมณ์-ฮินดู). มีช่องว่างระหว่างมุมมองทางการเป็นภิกษุสงฆ์ของศาสนาเชนกับศาสนาที่ดำเนินอยู่และมีวัตรปฏิบัติโดยฆารวาส. อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโดยทั่วไป และด้วยเหตุนี้ผู้ที่ชื่นชอบการอ่านหรือศึกษาจึงเกิดความท้อแท้อย่างมากเมื่อพวกเขาได้อ่านหรือศึกษา (กล่าวไว้เมื่อ พ.ศ.2521 หน้า 122-123).

       ผู้เขียน 01 มีความเห็นว่าภาษาของนักประวัติศาสตร์และนักภารตวิทยา ควรต้องเสริมด้วยภาษาของนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาด้วย ซึ่งจะเสนอภาพจารีตประเพณีได้มากขึ้น. การศึกษาข้อเขียนจารึกคัมภีร์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจความคิดทางศาสนาของผู้คน แต่ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาพฤติกรรมทางศาสนาของพวกเขาได้. 




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. ปรับเสริมจาก. JAINISM, History, Society, Philosophy and Practice, เขียนโดย Agustín Pániker, สำนักพิมพ์ MOTILAL BANARSIDASS, ISBN: 978-81-208-3460-6, พิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ.2560, เดลี ภารตะ.
02. ปรับเสริมจาก. An Introduction: Janism, เขียนโดย Jeffery D Long, สำนักพิมพ์ I.B. Tauris & Co Ltd., ISBN: 978-1-84511-625-5 (HB), พ.ศ.2552, นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา.



 
humanexcellence.thailand@gmail.com