MENU
TH EN

TH - จารึกหลักที่ 46: จารึกวัดตาเถรขึงหนัง

Title Thumbnail: จารึกวัดตาเถรขึงหนัง, ที่มา: db.sac.or.th, วันที่เข้าถึง 6 พฤษภาคม 2563 และ Hero Image: วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม, จาก. Website อุทยานประวัติศาสตร์-กรมศิลปากร, วันที่เข้าถึง 16 สิงหาคม 2563.

TH - จารึกหลักที่ 46: จารึกวัดตาเถรขึงหนัง01, 02.
First revision: May 06, 2020
Last change: Aug.20, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     จารึกนี้ ที่ถูกต้องแล้วควรเรียกว่า จารึกวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
 
 ชื่อจารึก  จารึกวัดตาเถรขึงหนัง
 ชื่อจารึกแบบ  หลักที่ 8 ค., หลักที่ 46 ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง,
 อื่น ๆ  ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช 1947.
 อักษรที่มีในจารึก  ขอมสุโขทัย
 ศักราช  พุทธศักราช 1947
 ภาษา  บาลี, ไทย
 ด้าน/บรรทัด  จำนวน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด
 วัตถุจารึก  หินชนวน
 ลักษณะวัตถุ  แผ่นรูปใบเสมา (ชำรุด)
 ขนาดวัตถุ  กว้าง 68 ซม. สูง 72 ซม. หนา 6 ซม.
 บัญชีทะเบียนวัตถุ  1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "สท.16"
 2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น "หลักที่ 8 ค."
 3) ในหนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น "หลักที่ 46 ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง"
 4) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น "ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช 1947"
 ปีที่พบจารึก  พุทธศักราช 2499
 สถานที่พบ  วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (ชื่อเดิมคือ วัดตาเถรขึงหนัง) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
 ผู้พบ  ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี (ครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์ พระนคร กองโบราณคดี กรมศิลปากร)
 ปัจจุบันอยู่ที่  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
 พิมพ์เผยแพร่  1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 70-74.
 2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 356-360.
 ประวัติ  ศิลาจารึกหลักนี้ชำรุด ส่วนล่างหักหายไป จารึกอักษร 1 ด้าน รูปอักษรที่ปรากฎมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ บรรทัดที่ 1 ถึง 2 จารึกอักษรขอม ภาษบาลี บรรทัดที่ 3 ถึง 15 จารึกอักษร ภาษาไทย จารึกเมื่อปี พ.ศ.1947.
 เนื้อหาโดยสังเขป  เรื่องราวที่จารึกในส่วนภาษาบาลี  เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัยและคำไหว้อาจารย์ ส่วนจารึกภาษาไทย ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชย์ในนครศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตลอดถึงอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้าง "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" และสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา ปลูกพระศรีมหาโพธิ
 ผู้สร้าง  ไม่ปรากฎหลักฐาน
 การกำหนดอายุ  ข้อความจารึก บรรทัดที่ 17 ระบุ จ.ศ.766 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.1947
 ข้อมูลอ้างอิง  เรียบเรียงข้อมูลโดย: วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
 1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, "ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช 1947," ในจารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 356-360.
 2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, "หลักที่ 46 ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง," ในประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 70-74.



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/121, วันที่เข้าถึง 16 สิงหาคม 2563.
02. จาก. การบรรยาย และเอกสารประกอบของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว., ในการสัมมนา "สุโขทัยคดี" ครั้งที่ 12 ด้านนิรุติประวัติ, ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), เมื่อ 13 สิงหาคม 2563.




PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: จาก. facebook ห้อง "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย", วันที่เข้าถึง 16 สิงหาคม 2563
ภาพที่ 02: จาก. Website อุทยานประวัติศาสตร์-กรมศิลปากร, วันที่เข้าถึง 16 สิงหาคม 2563

 

PHOTO
GALLERY
humanexcellence.thailand@gmail.com