Title Thumbnail: พระปรางค์สามยอดลพบุรี และ Hero Image: วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี, ถ่ายไว้เมื่อ 5 มีนาคม 2566.
เมืองละโว้ ตอนที่ 1
First revision: Feb.27, 2020
Last change: Mar.08, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
เมืองละโว้ หรือ ลพบุรี (สฺรุกโลฺว หรือ สโวทยปุระ) หรือจากการค้นคว้าใหม่01. เรียก "นพบุรีศรีลโวทัยปุระ", จีน (สมัยราชวงศ์หยวน) เรียก หลอหู มายังแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 โดยแคว้นละโว้แยกตัวเป็นอิสระจากกัมพูชาโบราณ
มีปรากฎหลักฐานว่าพระเจ้าชัยวรรมเทวะที่ 7 แห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ โปรดให้ พระราชโอรสนาม "นฤปตีนทรวรมัน" มาปกครอง แต่เมื่อครั้นสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรรมเทวะที่ 7 อาณาจักรกัมพูชาโบราณก็เสื่อมอำนาจลง ละโว้ได้แยกตัวเป็นแคว้นอิสระ ต่อมาก็มีการรวมตัวกันกับแคว้นสุพรรณภูมิ
เอกสารทางล้านนา เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ หรือ ชินกาลมาลีนี (ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดของล้านนา) เรียกแคว้นละโว้ว่า "กัมโพชรัฐ"
- มีหลักฐานร่วมสมัย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทุกบทจะเรียกลพบุรีว่า นพบุรี ร่วมทั้งเอกสารของ ลา ลูแบร์ (จดหมายเหตุลาลูแบร์ -Du Royaume de Siam: ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม) ก็จะกล่าวว่า คนสยามเรียกละโว้ว่านพบุรี (เมืองใหม่ ซึ่ง นพ ก็คือ นว แปลว่าใหม่) สมเด็จพระนารายณ์ได้บูรณะขึ้นมาเป็นเมืองใหม่ของท่าน สมเด็จพระนารายณ์จะอยู่ที่เมืองละโว้เป็นส่วนใหญ่ถึงปีละแปด-เก้าเดือน จะเสด็จกลับมากรุงศรีฯ เฉพาะช่วงที่มีประเพณี พิธีการที่สำคัญเท่านั้น
- พระมหาราชครู แต่ง โคลงสรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ อันเป็นเอกสารชั้นต้น ซึ่งจะให้ภาพเมืองลพบุรีในสมัยโบราณได้ถูกต้องที่สุด เป็นโคลงที่เขียนขึ้นในวัฒนธรรมฝ่ายพราหมณ์ ไม่มีบทไหว้พระรัตนตรัย มีการกล่าวถึงเรื่องการคล้องช้าง เป็นเรื่องการสรรเสริญพระเกียรติ อธิบายบ้านเมือง ศิลปกรรม และประติมากรรม
- "ทะเลชุบศร" เป็นชื่อที่เคลื่อนมาจาก "ทะเลพุทธศร" อ้างจากจดหมายเหตุฯ ของ ลา ลูแบร์
- คนชนชาติเดิมในแถบนี้ คือ มอญ-ขะแมร์
- ตามตำนานของลาวมีการกล่าวถึง "ขุนบรม" มีบุตร 17 คน ส่งบุตรคนหนึ่ง มาปกครองละโว้อโยธยา คนโบราณมักจะสร้างเมืองเป็นคู่แฝด กรุงทวารวดีศรีอโยธยา (ในแง่นิรุกติศาสตร์ ทวารวดีมากับละโว้ แล้วก็มาจับคำกับอโยธยา)
- นพบุรีศรีลโวทัยปุระ หรือละโว้นี้นั้น อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าละโว้ในสมัยนี้ ซึ่งแผ่นดินมันงอกขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่กองทัพเรือของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ยกมาตีเมืองละโว้ ซึ่งไม่ได้ถึงขนาดตีเมืองละโว้ตรง ๆ แต่น่าจะตีตรงชายขอบแดนอาณาจักรละโว้มากกว่า.
- นพบุรีศรีลโวทัยปุระในประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น:
- สมัยก่อนตั้งพระนครศรีอโยธยา
- ตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2199 (ค.ศ.1351-1656)
- รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ
- ทำเลเมืองละโว้อยู่ตรงกลางประเทศ ออกทะเลได้ เหนือก็เป็นสุโขทัย ตะวันตกก็เป็นมอญ พม่า ตะวันออกก็เชื่อมไปยังกัมพูชาได้
- เอกสารชั้นต้นทางภาคอิสาน (สกลนคร โคราช ชัยภูมิ ฯ) มีมาก ล้วนเขียนเป็นภาษามอญทั้งนั้น
- ทวารวดี ก็เป็นเมืองมอญ
- เหรียญลวปุระ (พุทธศตวรรษที่ 14) เป็นของละโว้ ไปพบที่อู่ทอง
- มีจารึกหลักหนึ่งพบที่เมืองละโว้ เป็นสมัยพระเจ้าศรีชัยวรรมเทวะ (ก่อนพระเจ้าชัยวรรมเทวะที่ 1) แสดงว่าเขมรแผ่อำนาจเข้ามานานแล้ว แสดงอิทธิพลของเขมรในด้านภาษาวัฒนธรรม ดังนั้นละโว้เป็นเมืองที่สำคัญ เมื่อเขมรยึดครองได้แล้ว ก็เป็นจุดสำคัญก้าวกระโดดยึดครองลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้ทั้งหมด.
- พม่า สมัยพระเจ้าจันสิตะ เรียกคนแถบนี้ว่า "กรอม" เป็นคนพื้นเมือง อาจจะเป็นมอญที่ได้รับอิทธิพลของเขมรแล้ว.
- จารึกมอญได้มีภาษาเขมรแทรกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ค่อย ๆ แทรกมาเรื่อย ๆ จะภาษามอญหมดไป. การกลมกลืนของภาษาเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เพราะภาษามอญ-ขะแมร์ เป็นตระกูลภาษาเดียวกัน
- มีจารึกกล่าวถึงกมรเตงอัญวาสุเทพ มีการสร้างปราสาทถวาย มีผลตำรวจพิสัย (กำกับราชการ) กมรเตงอัญศรีบรมวาสุเทวะ (ไวษณพนิกาย - ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่)
- การกัลปนา ด้วยการเป็นนางทาสี ที่รำตามโบสถ์ต่าง ๆ ต้องเป็นเชื้อสายผู้ดี เพราะเป็นงานที่มีเกียรติ มีการเกณฑ์เมืองต่าง ๆ ให้ส่งพืชผลไปให้ ข้าวเปลือกที่เป็นพืชผลให้นำมาจากเมือง "ชลพิมาน" - วิมานแห่งน้ำ, มีจากข้อมูลเสริมของอองรี มูโอต์ ที่เดินทางมาเมืองจันทรบูรณ์ ฉะเชิงเทราได้กล่าวถึงการหลากของน้ำไหลซู่ ก็เหมือนกับน้ำที่เมืองละโว้ ตามที่ปรากฎในโคลงยอพระเกียรติฯ ช่างมีความเหมือนด้วยน้ำที่มีปริมาณมากหลากไหล.
- ค.ศ.1115 เอกสารจีนสมัยราชวงศ์หยวน กล่าวว่า หลัวหู ส่งทูตไปเมืองจีนครั้งแรก ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจมาก โดยปกติจีนจะไม่รับบรรณาการจากเมืองประเทศราชคนอื่น อาจแสดงว่า หลัวหู หรือ ละโว้ พยายามทำตนเป็นอิสระ, อาจเป็นเขมรที่ต้องการจะหลุดจากเมืองแม่
- เอกสารจากจีนกล่าวว่า: เจนล่า (เขมร....จันทระ....ต้นวงศ์เขมรเป็น "จันทรวงศ์" - วงศ์นี้ อ้างอิงถึงวงศ์ที่เกี่ยวกับเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะ) หลัวหู ส่งทูตไปเมืองจีน
- เมื่อ 5 ก.พ. ค.ศ.1167 จากจารึกดงแม่นางเมือง (จ.นครสวรรค์ บรรพตพิสัย) กรุงศรีธรรมาโศกราชให้เจ้าเมืองธัญปุระ (เมืองแห่งข้าว----นครสวรรค์) ทำบุญแด่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชองค์พ่อ (อยู่ไหน?....)
- มีจารึก ค.ศ.1510 ในสมัยพระเจ้ารามาธิบดีที่ 2 แห่งอยุธยา ว่าเจ้าเมืองกำแพงเพชร ชื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
- กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มหึมามาก เมื่อเทียบกับสุโขทัยก็ใหญ่กว่าสุโขทัยเสียด้วยซ้ำ กองทัพของพระเจ้าลิ้นดำตะเบ็งชะเวตี้ แห่งพุกามประเทศ พยายามตีเมืองกำแพงเพชร ก็ตีไม่ได้เพราะกำแพงใหญ่และแข็งแรงมาก
- จากเอกสารของจีน: เจินหลี่ฟู (มีนักวิชาการสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา ยังสรุปได้ไม่ชัดนัก) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเจนล่า (เขมร) สันนิษฐานว่าเป็นเมืองสุพรรณบุรี ได้ส่งทูตไปจีนเพื่อขอแต่งตั้งให้ทำการค้าได้ หมอหลวงปากมรเตงอัญศรีสางอุย (วรบาทกมรเตงอัญ)
- ค.ศ.1181 พระเจ้าชัยวรรมเทวะที่ 7 ขึ้นเมืองพระนครธม (ประมาณเอา) ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางความวุ่นวาย
แผนที่โลกตามความเข้าใจของนักเดินทางชาวอิตาเลียน ราว พศว.ที่ 19-20, ที่มา: Facebook เพจ "นครประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา," โดยผู้ใช้นามว่า "Zencross Zagame", วันที่เข้าถึง 23 ตุลาคม 2564.
- ในจารึกปราสาทพระขรรค์ มีคำว่า ลโวทัยปุระ ปรากฎ อ้างสิทธิ์หรือมีอำนาจอยู่จริง (ช่วงนั้นเขมรกำลังทำสงครามกับจัมปา ทางทิศตะวันออก ราว ค.ศ.1200 - จางลู่กั๊ว บันทึกเมื่อ ค.ศ.1250 ) อาจจะเป็น Myth ก็ได้ จากความเห็นของ ดร.ไมเคิล วิคคารี่.
- ค.ศ.1279 ข้อมูลจากจีน กุบไลข่าน จะยกทัพไปตี เสียน หลัวหู (ละโว้) สุมูตาล่า (สุมาตรา) และรัฐชายฝั่ง แต่ไม่พูดถึง เจนล่า (แสดงว่าเจนล่าหรือเขมรอ่อนน้อมแล้ว).
- ค.ศ.1289 ข้อมูลจีนกล่าวว่า หลัวหู หนี่เหรินกว๋า (หริภูณชัย) ส่งของมาบรรณาการ.
- ค.ศ.1296 ข้อมูลจากจีน โจวต้ากวน มาศรียโศธรปุระ ทั้งหลัวหู และเจนล่าต่างส่งทูตไปจีน แสดงว่า ละโว้ (หลัวหู) เป็นอิสระจากเขมร.
- สยาม (สุโขทัย สยามเทเศ - สุโขทัยอันเป็นสยามประเทศ) และหลัวหูส่งทูตมาจีน.
- โจวต้ากวน กล่าวถึงความสำคัญของสยามมาก ผ้าไหมมาจากสยาม.
- กัมพุชประเทศ (เขมร - ลูกหลานของฤๅษีกัมพุช) กับ กัมโพชรัฐ (ละโว้) แตกต่างกัน มีความสับสน แม้ในเอกสารจีน.
- หลัง พ.ศ.1300 เดิมเขมรมีหลักฐานเป็นจารึก แต่ถัดจากนั้นไม่มีเลย. อาจจะต่อเนื่องมาในสมัยปลายละโว้ ต่อมากรุงศรีอยุธยา (เกิดจากการที่พ่อค้าชาวจีนมาตั้งหลักแหล่งที่หนองโสน - การผลักดันของราชวงศ์ซ่งให้ชาวจีนออกมาค้าขายมาเมืองท่าต่าง ๆ ) อยุธยาเจริญขึ้น ในระยะต่อมาก็จึงมีการย้ายพระนครจากละโว้มาอยุธยา. [01:20:41]
บันทึกของมาร์โคโปโลสู่ละโว้แดนสยาม03.
สมัยราชวงศ์หยวน พ.ศ.1814-1911 มีนักเดินทางชาวตะวันตกชื่อ “มาร์โคโปโล” เดินรอนแรมจากเวนิสมาถึงต้าตู (ปักกิ่ง) รับใช้ราชสำนักมองโกลหลายปี ภายหลังเดินทางไปส่งเจ้าหญิงมองโกลที่อิหร่านแล้วกลับเวนิสบ้านเกิดโดยทางเรือ เขาได้บันทึกชื่อแว่นแคว้นต่าง ๆ ตามรายทาง มีชื่อประเทศหนึ่งบันทึกเอาไว้ว่า “Locach” อันหมายถึง “ละโว้” นั่นเอง.
“มาร์โคโปโล” ได้กล่าวถึงสภาพของเมืองละโว้สมัยนั้นอย่างละเอียดไว้ว่า “ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ และมีภาษาพิเศษของเขาปกครองโดยกษัตริย์ของเขาเอง กษัตริย์ของเขาไม่ยอมส่งจิ้มก้อง (ส่งเครื่องบรรณาการ) กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศมีสภาพป้องกันการรุกรานจากข้าศึกได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น ไม่มีศัตรูใดกล้ามาโจมตี ถ้าหากอาณาจักรนี้โจมตีง่าย “กุบไลข่าน” อาจจะเอาแผ่นดินนี้เป็นอาณาเขตของพระองค์อย่างไม่ลังเลในการตัดสินใจ สิ่งของสำคัญที่มีอยู่ในอาณาจักรนี้คือไม้ฝาง มีทองมากจนเหลือเชื่อได้ มีช้าง ไม่ว่าจะใช้สุนัขหรือนกไปล่าสัตว์ก็สามารถล่าสัตว์ได้อย่างมากมาย หินโมราที่ได้จากอาณาจักรนี้มีประกายงดงามแวววาวสวยงามมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจึงใช้หินโมรานี้แทนเงินตรากับต่างประเทศ อาณาจักรนี้มีภูเขาต่ำ ๆ สูง ๆ และไม่ได้ปลูกต้นไม้ คนภายนอกไปท่องเที่ยวน้อย กษัตริย์ปกครองห้ามปรามบุคคลที่มาจากภายนอก เพราะไม่อยากให้ชาวต่างชาติรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองและความลับของอาณาจักรนี้”.
จากนั้นมาร์โคโปโลยังได้เขียนบันทึกไว้ว่าชนถิ่นนี้เรียกว่า “Siam” หรือ “สยาม" ทำให้ชาวยุโรปทราบเรื่องราวของเอเชียกระตุ้นให้เดินทางมาค้าขายและประกาศศาสนาในอนาคต
Cr.from [The Book of Ser Marco Polo, the Venetian, concerning the kingdoms and marvels of the East]
ศิลปกรรมเมืองลพบุรี02.
- ศิลปกรรมมีการบูรณะต่อเนื่องมาหลายสมัย แต่ก็ยังสืบหาร่องรอยได้ หลักฐานเยอะมาก มีการส่งทอดองค์ความรู้จากละโว้ สู่อยุธยา (ตอนต้น)
- เมืองค้าขายโบราณด้าน เหล็ก ทองแดง เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ พบแหล่งถลุงแร่ขนาดใหญ่
- จากจารึกศาลสูง ซึ่งพระบาทกมรเตงอัญชยวรมัน ก่อน ค.ศ.ที่ 11 มีอิทธิพลของเขมรโบราณแผ่มาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เห็นร่องรอยวัฒนธรรมดังกล่าวที่เมืองละโว้แล้ว ใน ค.ศ.ที่ 12
- กลาง ค.ศ.ที่ 13-14 อิทธิพลของเขมรโบราณอ่อนอำนาจลง (ผู้บรรยายกล่าวว่าคำว่า ข้าราชการ ใช้ในลพบุรี เพราะเขมรได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมต่อเนื่องจากอินเดีย ส่วนคำว่า "ขุนนาง" ใช้ในสมัยอยุธยา) เป็นช่วงที่ลพบุรีเป็นตัวของตัวเอง (มอญ เขมร ไทย เป็นการประสมประสานที่สำคัญ)
- ทำไมเมืองละโว้ในอดีตถึงทำการค้าทางทะเลได้ เพราะเมื่อดูภาพสันนิษฐานอ่าวไทยโบราณ ช่วงต้นน้ำทะเลเข้าทะลักเข้าไปในตอนกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเมืองลพบุรีเลย ทำการค้าได้ ค้าขายกับอินเดีย "ภารตวัตร"
- ยังมีความเชื่อว่าศูนย์กลางของทวารวดีอยู่ที่นครปฐม (ซึ่งรวมแว่นแคว้น กาญจนบุรี อู่ทอง)
- มีวัฒนธรรมพุทธแบบเถรวาท รับจากอินเดียโดยตรง "อถา เย ธรรมา"
- ก่อนจะรับวัฒนธรรมเขมรอีกระลอก เกิดเป็นพุทธแบบใหม่ ที่เป็นเถรวาทใหม่
- ลพบุรีเป็นเมืองศูนย์กลางของกัมโพชรัฐ ในสมัยโบราณมีเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ตั้งอยู่ และดับไปตามปัจจัยต่าง ๆ การวิเคราะห์พิจารณาแผนที่โบราณ พึงละงด การดูแผนที่ในปัจจุบัน เพราะการกำหนดเมืองต่าง ๆ ในมุมมองปัจจุบันไม่เหมือนอดีต
- จากหลักฐานที่เมืองซับจำปา อุบลฯ พบหลักฐานเหรียญเงินอินเดีย "หม้อบูรณกะตะ" (เขียนไม่ถูก จะตรงสอบสืบค้นภายหลัง) วัฒนธรรมทวารวดีกระจายไปทั่วภูมิภาค
- คนโบราณอยู่ได้เพราะศาสนา พบร่องรอยการสร้างพระพุทธประดับทั่วไป แล้วเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์
- วัดนครโกษา (สร้างหลายสมัย) ขุดค้นไปมีร่องรอยของวัฒนธรรมทวารวดี พบศิลปะคุปตะจากอินเดีย วัดนครโกษานี้เป็นศูนย์กลางการเมืองของกัมโพชรัฐ เติบโตใน ค.ศ.ที่ 5 หลักฐานอักษรปาลวะ มีการพบพระพุทธรูปปูนปั้นแบบทวารวดี นั่นทำไมถึงอยุธยามีคำว่าทวารวดีประกอบ เพราะแสดงถึงความรุ่งเรืองทางการค้า
- ศิลปกรรม มีศิลปกรรมที่ระบุว่าอะไรเป็นศิลปะแบบทวารวดี และเขมร
วัดนครโกษา, ถ่ายไว้เมื่อ 5 มีนาคม 2566
- ค.ศ.ที่ 11 เป็นช่วงเวลากำหนดศิลปกรรมเขมรโบราณ เขมรส่งอิทธิพลให้กับภาคกลางของประเทศไทย ถึงคอคอดกระ ก่อนพระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1 ก็ขยายอำนาจมายังดินแดนไทย พบลูกปัด พบศิลปะแบบบาปวน
- เราไม่เห็นการถลุงโลหะในเขมรเท่าไหร แต่มาพบที่อิสาน ภาคกลางของไทย ถลุงหลอมสัมฤทธิ์ บอกร่องรอยไวณพนิกายที่เมืองละโว้
- ค.ศ.ที่ 12 เขมรเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ซึ่งสืบเนื่องมาจากพระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1....เมืองพิมาย....เมืองละโว้ มาทั้งทางบก และทางทะเล
- พบทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ หินทราย ศิลปะเขมร แบบบาปวน พบที่ศาลพระกาฬ ลพบุรี (ก่อนสมัย พระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1)
- ศาลพระกาฬ มีคนบูชาเยอะ มีศิลปกรรมท้องถิ่น (คล้าย ๆ ชวา + เขมร) ที่นครวัดมีพระพุทธรูปแบบบายน นาคปรก เศียรพระพุทธรูปมีมงกุฎ
- คศว.10-12 แสดงความต่อเนื่องของอิทธิพลเขมรในดินแดนไทย
- พระปรางค์แขก เก่าแก่มาก ปัจจุบันทรุดโทรม ต่อมีการบูรณะอย่างจริงจัง ปรางค์แขก มีอิทธิพลนำไปสู่ปรางค์หรือปราสาทสามยอด
- ปรางค์สามส่วนเรียงทิศเหนือกลางใต้ ไม่เจอในศิลปะเขมร แต่เจอในลพบุรี มุขที่เชื่อมปรางค์สามหลังไว้ด้วยกัน เกิดการลบรูป ปราสาทข้าง ๆ เล็กลง
- ปรางค์ปราสาทสามยอด แสดงอิทธิพลรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 จะนำไปสู่การตีความรูปเคารพแนวคิดมหายานที่สำคัญคือเป็นรูปบุคคลสามองค์ พระรัตนไตรมหายาน องค์แรกอยู่สูงสุดตรงกลางหมายถึงพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาประทับนั่งนาคปรก ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นพระโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ด้านซ้ายเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา
- ปลาย คศว.13 ถึงปลาย 14 ละโว้เริ่มเป็นอิสระ เริ่มส่งทูตไปเมืองจีน มีพระปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แม้ว่ายังมีกลิ่นอายเป็นเขมร แต่ก็เริ่มมีรูปแบบศิลปะเป็นแบบลพบุรี (สมัยนพบุรีศรีลโวทัยปุระ) เอง มีนักวิชาการกล่าวกันว่า พระปรางค์ที่วัดมหาธาตุลพบุรี คือพระปรางค์ต้นแบบของอยุธยา
- ส่วนล่างเป็นฐานเฉียงรองรับตัวปราสาททั้งสามหลังไว้ทั้งหมด เป็นแบบบายน
- ลักษณะเฉพาะของศิลปกรรมละโว้
- แผนผังของศาสนสถาน มีปรางค์เป็นประธาน วิหารอยู่ด้านหน้า พระอุโบสถอยู่ด้านหลังและมีท้ายวิหารยื่นล้ำเข้าไปในระเบียงคด.
- ปรางค์ 3 หลัง (ปีกปรางค์)
- เรือนธาตุมีการทำมุขยื่นมาด้านหน้า (ทางเข้าด้านเดียว) และช่องทางเข้าสามทางหรือที่เรียกว่าตรีมุข.
- มีพระพุทธรูปแข้งคม รูปลักษณ์ศิลปะแบบบายน หน้าแข้งจะนูนคมออกมา
- พระเจ้าอู่ทอง อาจจะมีข้อสันนิษฐานมาจากหลายแหล่ง แต่อาจารย์อภินันท์สรุปว่ามาจากละโว้นี่แหละ เช่น วัดพุทไธศวรรย์ อยุธยา รูปแบบแผนผังเหมือนศิลปะละโว้ ด้วยวัดพุทไธศวรรย์เป็นวัดยุคแรกช่วงเริ่มสร้างกรุงศรีฯ สมัยพระเจ้าอู่ทอง วัดพระราม ก็มีแผนผังโครงสร้างเดียวกันเป็นศิลปะลพบุรี.
- พระพิมพ์วัดราชบูรณะ ก็มีลักษณะศิลปะแบบบายนลพบุรี
- [48:04]
แผนผังเมืองลพบุรี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ขยายจากแผนผัง "Plan de la Ville de Louvo" ที่สำรวจโดยวิศรกรชาวฝรั่งเศส มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ - Monsieur de Lamare), ที่มา: Facebook เพจ ราชธานีศรีอยุธยา, โดยผู้ใช้นามว่า Nat Kiat, วันที่เข้าถึง: 30 ตุลาคม 2565.
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. งานเสวนาวิชาการชุด "บูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งกรุงสยาม" "นพบุรีศรีลโวทัยปุระในจารึกโบราณ เอกสารประวัติศาสตร์วรรณกรรม และศิลปกรรม" และเปิดตัวหนังสือ "มรดกความทรงจำศรีนพบุรีลโวทัยปุระ" ว่าด้วย โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ และจารึกโบราณแห่งเมืองละโว้ ร่วมเสวนาโดย รศ.เสมอ บุญมา, ดร.ตรงใจ หุตางกูร, รศ.ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร นำเสวนาโดย ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. เมื่อ 17 ตุลาคม 2558 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ช่วงเช้า
02. จาก. งานเดียวกันตาม 01. โดย อ.อภินันท์ สงเคราะห์ ช่วงบ่าย
03. ที่มา: Facebook เพจ "นครประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา," โดยผู้ใช้นามว่า "Zencross Zagame", วันที่เข้าถึง 23 ตุลาคม 2564.