MENU
TH EN

046. ปราสาทตาเมือนธม - อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์

Title Thumbnail: ปราสาทตาเมือนธม, ที่มา: Sanook.com/news/967819, วันที่เข้าถึง 16 พฤศจิกายน 2564.
046. ปราสาทตาเมือนธม - อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
First revision: Aug.06, 2021
Last change: Nov.16, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
 
  • จารึกปราสาทตาเมือนธม 401. (พ.ศ.1556) อายุ 1,006 ปี จารึกหลักนี้ ปรากฏชื่อ "ศิวบาท" อย่างชัดเจน
    ส่วนคำที่น่าสนใจมากและถ้าข้าพเจ้าอ่านไม่ผิดก็คือคำที่แปลว่า "เป็นธรรมคุรุแด่ชนกและชนนี" ถ้าคำนี้หมายถึงพ่อกับแม่คนอื่นก็แล้วไป แต่ถ้าหมายถึง "ชนกและชนนี" ของพระเจ้าสูรยะที่ 1 แล้ว มันจะเป็นข้อต่อทางประวัติศาสตร์ทีสำคัญมาก อาจจะเป็นไปได้ว่าพ่อกับแม่ของท่านน่าจะอยู่บริเวณนี้ และจะช่วยเราเข้าใจได้ว่า ทำไมศาสนสถานที่สร้างในสมัยพระเจ้าสูรยะที่ 1 จึงปรากฏอยู่แถวสองฟากฝั่งบริเวณเทือกเขาพนมดงรักเต็มไปหมด ... อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้ ข้าพเจ้ายังไม่ยืนยัน
    ส่วนประเด็นอื่น ๆ ทั้งคำศัพท์ก็ดี ชื่อขุนนางทั้งหลายก็ดี การประกาศเรื่องการทำบุญ การปักประกาศจารึกก็ดี การบอกหลักเขตของที่ดิน การถวายทรัพย์สมบัติ ข้าทาสต่าง ๆ รวมไปถึงจำนวน นรก 32 ขุมก็ดี เป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าศึกษาเรียนรู้

จารึกคำสาปแช่ง02.
       ซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรม ค่านิยมบางประการในยุคนั้น ดังนี้:
       • จารึกปราสาทตาเมือนธม 5 (สร. 16 อักษรขอมโบราณ พ.ศ. 1563) ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 5 – 11 :
“...และตวน ผู้เป็นหลานแห่งเตงของเตงปิตเถฺว ซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาให้ไปดูแลญาติข้าพเจ้าทั้งปวงที่ยังอยู่ ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าได้ให้ข้าทาส ทอง เงิน ที่แบ่งเป็นส่วน ๆ ทั้งหมด ยกเว้นคนงานที่เป็นโรคผิวหนัง และข้าทาสที่อยู่ประจำเทวสถานนี้ ซึ่งพวกเขายุยงให้ข้าทาสที่อยู่ประจำเหล่านี้กระด้างกระเดื่องต่อบุตรหลานของเตงปิตเถฺว ข้าพเจ้าจึงปรารถนาให้พวกเขา ตกนรกชั่วโกฏิกัลป์...”

       ตอนท้ายของจารึกด้านและหลักเดียวกันนี้ บรรทัดที่ 18-19 ยังมีข้อความสาปแช่งต่ออีกว่า “ขอผู้ทำลายฐานที่ก่อไว้นี้ พร้อมกับญาติพวกพ้องทั้งปวง จงตกนรกขุมที่ลึกที่สุด สิ้นกาล...มหาโกฏิ”



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. Facebook เพจ "Kang Vol Khatshima," วันที่เข้าถึง 16 พฤศจิกายน 2564.
02จาก. Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," ซึ่งคัดจาก คำสาปแช่งในจารึก - นวพรรณ ภัทรมูล กลุ่มงานวิชาการ 2 มีนาคม 2552, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,
 วันที่เข้าถึง 6 สิงหาคม 2564.
info@huexonline.com