MENU
TH EN

อาณาจักรสุโขทัย ตอนที่ 2

Thumbnail Image: พระอัจนะ แห่งวัดศรีชุม สุโขทัย ถ่ายเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562
Hero Image: วัดสระศรี สุโขทัย  ถ่ายเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562

อาณาจักรสุโขทัย ตอนที่ 202
First revision: Nov.28, 2019
Last change: Nov.06, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       มีหนังสือหลายเล่มจากนักวิชาการหลายท่าน รวมทั้งเว็บไซต์ที่น่าสนใจต่าง ๆ ได้จัดเรียงลำดับกษัตริย์สุโขทัยแตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหลักฐานชั้นต้นต่าง ๆ มีไม่มากพอ ลางเลือน และขาดตอนในข้อความที่สำคัญ จนต้องตีความถอดแปลอักษร อาศัยองค์ความรู้ที่มี เทียบเคียงกับเอกสารจากแหล่งอื่น ๆ ใน Time line เดียวกัน เช่น หมิงสือลู่ (จดหมายเหตุฉบับหลวงของราชวงศ์หมิง) ชินกาลมาลินี ตำนานมูลศาสนา จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเหนือ จารึกต่าง ๆ เป็นต้น และอาศัยภูมิปัญญา ความเพียรในการพิเคราะห์จำแนก แต่กระนั้นก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน.

       กระผมจึงขอใคร่แสดงตารางลำดับกษัตริย์สุโขทัย ที่ดีที่น่าเชื่อถือจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งนี้ ขอให้ผู้สนใจศึกษาได้นำไปค้นคว้าต่อยอดเพื่อหาข้อเท็จจริงอันสมบูรณ์ต่อไปในเบื้องหน้า. 

 
ตารางลำดับกษัตริย์สุโขทัย10
   ศรีนาวนำถุม  
   พ่อขุนผาเมือง (เมืองราด)  กำแหงพระราม (สองแคว)  พ่อขุนบางกลางหาว
     ศรีศรัทธา  พ่อขุนบาลเมือง
   รามคำแหง
 ศรีไสยรณรงค์สงคราม
 (ศรีธรรมราช)
   พญาเลอไท
   งั่วนำถุม  
     พญาลือไท (ฦๅไท)
   ศรีเทพาหุราช
   แม่นางสาขา <---- ไสลือไท ---->  ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
   พระยาบาลเมือง บรมปาล
 (พิษณุโลก)
   รามราชาธิราช 
 (สุโขทัย)
 ศรีธรรมาโศกราช
พระวรราชเทวี           <----
 

----> บรมราชาธิราชที่ 2
        (เจ้าสามพระยา)

                  v
   ยุธิษฐิระ
(น่าจะมีอายุมากกว่าพระบรมไตรโลกนาถ)

 ราเมศวรบรมไตรโลกนาถ
 ศรียศราช
 (เชลียง)
 
      นอกจากนี้ยังมีงานศึกษาที่น่าสนใจ โดยผู้เขียนชื่อ เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี13. ใช้ข้อมูลหลักอ้างอิงจากงานของ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาพิจารณาเทียบเคียงไว้ดังนี้
 
ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
สุโขทัย
  พระนาม ปีที่ครองราชย์
  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ.ศ.179201 - ?
  พญาบาลเมือง พ.ศ. ?-182202
  พญารามราช (รามคำแหง) พ.ศ.1822-184103
  พญาเลอไท พ.ศ.184104-?
  พญางั่วนำถุม พ.ศ.?-189005
  พญาลือไท (หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1) พ.ศ.1890-191106
  พระมหาธรรมราชาที่ 2 (เลอไท)07 พ.ศ.1911-194208
  พญาไสลือไท (หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 3) พ.ศ.1943-?09
  พระศรีสุริยวงศ์บรมปาล (พระมหาธรรมราชาที่ 4) พ.ศ.195510-198111
หมายเหตุ
01-05. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541, สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร, กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์, หน้า 288.
06. ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร มีความเห็นว่าการที่พระสุมนเถระไปเชียงใหม่ใน พ.ศ.1912 นั้น เป็นเพราะพญาลือไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 สวรรตแล้ว สอดคล้องกับที่มีหลักฐานกล่าวว่าในก่อนหน้านั้น พญากือนา (หรือกิลนา หรือ โกฎินา) ทรงนิมนต์เชิญท่านแล้วครั้งหนึ่งแต่ท่านไม่มา.
07. พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงเป็นหลาน-ปู่กับพญาเลอไท ดังนั้นตามธรรมเนียมการนำชื่อบรรพบุรุษมาตั้งเป็นชื่อหลาน พระองค์ควรมีพระนามว่า "เลอไท" ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐานยืนยันในเรื่อง "ท้าวยี่กุมกาม พญาสามฝั่ง และพญาไสลือไท ทรงเป็นพี่น้องร่วมบิดากัน".
08. วิเคราะห์ความจารึกวัดบูรพารามและวัดอโสการามได้ความว่าพระมหาธรรมราชาที่ 2 สวรรคตไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ.1942 เห็นได้จากการที่พระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระมเหสีของพระองค์ ทรงทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลให้พระองค์.



 
รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย01.
   รัฐอิสระ
   ลำดับ  พระนาม  ตำแหน่ง  ราชวงศ์  ช่วงเวลา
   -  พระยาพาลีราช
 (
ตำนานกล่าวว่า พ.ศ.1043 พระยาพาลีราชแห่งอาณาจักรละโว้ เป็นผู้ก่อตั้งเมืองสุโขทัย)04
 เจ้าเมืองสุโขทัย  -  พ.ศ.1043 - ไม่มีข้อมูล03
   -   พระยาอภัย  เจ้าเมืองสุโขทัย  -  ไม่ทราบปี
   -  พระอรุณกุมาร  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย  -  ไม่ทราบปี
   -   พระยาพสุจราช  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย  -  ไม่ทราบปี
   -  พระยาธรรมไตรโลก  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย  -   ไม่ทราบปี
   -  พระยาศรีจันทราธิบดี  พระร่วงเจ้าสุโขทัย (อดีตภิกษุ)  -   พ.ศ.1502 - ไม่ทราบปี
   1  พ่อขุนศรีนาวนำถุม  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  นำถม  ไม่ทราบปี - พ.ศ.1724
   2  ขอมสบาดโขลญลำพง  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  -  ไม่ทราบปี - พ.ศ.1780
   3  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์05  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1780 - ประมาณ พ.ศ.1801
   4  พ่อขุนบานเมือง  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  ประมาณ พ.ศ.1801 - พ.ศ.1822
   5  พ่อขุนรามคำแหง  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1822 - 1842
   6  พญาไสสงคราม  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1842
   7  พญาเลอไท  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1842 - 1866
   8  พญางั่วนำถุม  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1866 - 1890
   9  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1890 - 1913
   10  พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1913 - 1921
           
   รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา
   ลำดับ  พระนาม/นาม  ตำแหน่ง  ราชวงศ์  ช่วงเวลา
   10  พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1921 - 1931
   11  พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท)  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1931 - 1962
   12  พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.1962 - 1981
   13  พระราเมศวร  พระร่วงเจ้าสุโขทัย  สุพรรณภูมิ  พ.ศ.1981 - 1991
   -  ว่าง  -  -  พ.ศ.1991 - 2011
           
   รัฐบรรณาการอาณาจักรล้านนา
   ลำดับ  พระนาม/นาม  ตำแหน่ง  ราชวงศ์  ช่วงเวลา
   14  พระยายุทธิษฐิระ
 (ขึ้นครองเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งขณะนั้นมีความสำคัญกว่าเมืองพิษณุโลก)
 พระร่วงเจ้าสุโขทัย  พระร่วง  พ.ศ.2011 - 2017
 (ข้อมูลยังต้องมีการตรวจสอบ)
           
   พระพิษณุโลกสองแคว
      พระยายุทธิษเฐียร
 (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ.2011)
     พ.ศ.1991 - 2011
     สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก จนสิ้นรัชกาล)
   สุพรรณภูมิ  พ.ศ.2011 - 2031
     พระเชษฐาธิราช  พระมหาอุปราชแห่งอยุธยา  สุพรรณภูมิ  พ.ศ.2031 - 2034
     พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร)  พระมหาอุปราชแห่งอยุธยา  สุพรรณภูมิ  พ.ศ.2034 - 2072
     พระไชยราชา  พระมหาอุปราชแห่งอยุธยา  สุพรรณภูมิ  พ.ศ.2072 - 2077
     สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ  สุโขทัย  พ.ศ.2077 - 2111
     สมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช(นะ-เรด-วอ-ระ-รา-ชา-ทิ-ราด)
 (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี)
 พระมหาอุปราชแห่งอยุธยา  สุโขทัย  พ.ศ.2115 - 2133
     สมเด็จพระเอกาทศรถ  พระมหาอุปราชแห่งอยุธยา  สุโขทัย  พ.ศ.2133 -2148
     จากนั้น สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฯ ผู้ครองเมืองพิษณุโลก
 

 
1. พ่อขุนศรีนาวนำถุม
    ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์นำถุม (ไม่ทราบปี - พ.ศ.1724???). จากการบรรยาย ของ ดร.วินัย พงษ์ศรีเพียร ในการสัมมนา "สุโขทัยคดี" ณ ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563 กล่าวว่า นำถุม ไม่ใช่ นำถม เพราะ นำถุม เป็นภาษาล้านนาแปลว่า น้ำท่วม และ คำว่า นาว เป็นสมัญญา น่าจะหมายถึง  น้าว รวม ๆ นั่น คือ "น้าวน้ำท่วม" ดังนั้น พ่อขุนศรีนาวนำถุม แปลว่า พระผู้จัดการน้ำไม่ให้ท่วมไว้ได้ หรือ พระผู้ทรงจัดการด้านชลประทาน นั่นเอง.  
     เป็นพระบิดาของ "พ่อขุนผาเมือง"  พบถนนพระร่วง หรือ ท่อปู่พญาร่วง ไม่ใช่กำแพง แต่เป็นคลองระบายและกั้นน้ำ และเป็นคลองส่งน้ำไปเลื้ยงสุโขทัย

2.
ขอมสบาดโขลญลำพง
    ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย (ไม่ทราบปี - พ.ศ.1780???) "ขอมสบาด" เป็นชื่อคน ส่วน "โขลญลำพง" เป็นตำแหน่ง (โขลญ หมายถึง ขุน หัวหน้า, ลำพง หมายถึง ขอบเขต, ลำพัง)

3.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 
    ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.1780??? - ประมาณ พ.ศ.1801???) มีพระนามเป็นภาษาไทยว่า "พ่อขุนบางกลางหาว" (กลางหาว กลางอากาศ ก็คือ พระอาทิตย์ นั่นก็คือที่มาของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  หรือ "พระเจ้าโรจราช" ดังปรากฎในศิลาจารึกวัดศรีชุม โดยพ่อขุนผาเมืองได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย คำว่า "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" เป็นภาษาสันสกฤต

4.
พ่อขุนบานเมือง หรือ พญาบาลเมือง
     ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง (ประมาณ พ.ศ.1780??? - พ.ศ.1822????)
 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, ที่มา: goodlifeupdate.com, วันที่เข้าถึง 30  พฤศจิกายน 2562

5. พ่อขุนรามคำแหง "พระรามผู้มีความกล้าแข็งหรือมีอำนาจ"
     ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.1822??? - พ.ศ.1842???) ด้วยพระนาม ''รามคำแหง" (พรญารามราช) นั้น มีความเคลือบแคลงน่าสงสัย เพราะปรากฎพระนามนี้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 เพียงหลักเดียว ส่วนพระนามในศิลาจารึกหลักอื่นใช้ว่า "พญารามราช"06 ก็ตาม ไม่นับรวมพระนามของเชื้อพระวงศ์พระองค์อื่นที่มีพระนามว่า "ราม" ตามความนิยมในการนำชื่อของปู่มาตั้งชื่อหลาน07 เช่น พ่อขุนรามพล08 ซึ่งน่าจะเป็นพระยาราม อนุชาของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) เป็นต้น07 อย่างไรก็ตามในที่นี้ (อาจารย์ศานติ ภักดีคำ) วิเคราะห์พระนามตามที่ปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ 1) เป็นหลัก.
     พระนามว่า "ราม" ไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะ น่าจะมาจากพระนามของ "พระราม" ซึ่งเป็นอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ (รายละเอียดดูใน "นารายณ์อวตาร ตอนที่ 7 รามาวตาร") หรืออาจมาจากภาษาไทยที่แปลว่า "ปานกลาง" เช่น กลองอันใหญ่ กลองอันราม กลองอันเล็ก07 (หน้าที่ 83) ในที่นี้อาจหมายถึงพระโอรสองค์กลาง.
     ส่วนคำว่า "คำแหง" สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษาเขมร คำว่า "คำแหง" ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเขียนคำนี้ด้วยอักขรวิธีโบราณว่า "คํแหง" ตรงกับคำว่า "คํแหง" ในภาษาเขมรซึ่งแผลงมาจากคำว่า "แขง" แปลว่า "แข็ง" (ภาษาเขมรปัจจุบัน: ខ្លាំង - klang) โดยการลงอาคม "ม" ลงไปทำให้เกิดคำใหม่ที่แปลว่า "ผู้เข้มแข็ง" คำนี้ปรากฎในศิลาจารึกเขสรสมัยโบราณว่า กนฺเหง หรือ กนฺหฺยง หมายความว่า แข็งแรง, อำนาจ09 ด้วยเหตุนี้ "พระรามคำแหง" จึงน่าจะหมายถึง "พระรามผู้มีความกล้าแข็งหรือมีอำนาจ".
    ในสมัย ร.6 และเสด็จในกรมฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จะเรียกว่า พ่อขุนรามกำแหง ซึ่ง (ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีอาวุโส สกว. ให้ความเห็นว่าถูกต้องแล้ว)

 

6. พญาไสสงคราม
 ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.1842???) มีบางตำรา ไม่ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์นี้
เศียรพระขุดได้ที่สวรรคโลก เมื่อปี พ.ศ.2451 ปัจจุบัน คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์14  ประดิษฐานไว้ที่องค์พระปฐมเจดีย์, ที่มา: Facebook จากผู้ใช้ชื่อว่า เจ้าคุณปราบสุราพินาศ, วันที่เข้าถึง 12 เมษายน 2563.
 

7. พญาเลอไท
 ตำแหน่ง: พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.1842??? - พ.ศ.1866???) พระนามของพ่อขุนเลอไท ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ว่า "เลือไท" ตรงกับอักขรปัจจุบันว่า "เลอไท" พระนามนี้น่าจะมีที่มาจากภาษาเขมรในคำว่า "เลอ" ในภาษาเขมรโบราณ และตรงกับภาษาเขมรปัจจุบันว่า ឡេ - อ่านว่า le เล ซึ่งแปลว่า "บน, เหนือ, ที่" ดังนั้น พระนามว่า "เลอไท" จึงน่าจะหมายความว่า "ผู้อยู่เหนือหมู่พวกไท".


8. พระยางั่วนำถุม (อนุชาของพญาเลอไท...ลำดับที่ 7)
     (พ.ศ.1866???-1890???)



9. พระยาลือไท (ฦๅไท หรือ ฦๅไทยราช) ลิไทย12 หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 
     (พ.ศ.1890???-1912??? (-1917???))

 
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลือไท หรือ พระยาลิไท), ที่มา: Facebook ห้อง "นครประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา", วันที่เข้าถึง 21 พฤษภาคม 2563.

10.  พระศรีเทพาหุราช
     บ้างก็เรียก พระศรีเทพาหูราช ปกครองเมืองสุโขทัย ระยะสั้น ๆ ในปี พ.ศ.1924 เป็นพระโอรสของขุนหลวงพะงั่ว (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา กับพระมหาเทวีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลือไท หรือ พระยาลิไท) ทรงมีเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิฝั่งพระบิดา และมีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงฝั่งพระราชมารดา


11. พรญาไสลือไท
             พรญาไสลือไท มีอัครชายาสองพระองค์
        องค์แรกคือ แม่นางสาขา (น่าจะมาจากพุทธประวัติ "นางวิสาขา") มีพระโอรสชื่อ บรมปาล ต่อมาคือ พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 4
        องค์ที่สอง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีพระโอรสสองพระองค์ องค์แรกชื่อ รามราช (พระรามราชาธิราช) องค์ที่สองชื่อ ศรีธรรมโศกราช



12. พรญารามราชาธิราช (พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2)
     เป็นพระราชโอรสของพรญาไสลือไท กับ พระอัครราชเทวีท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ช่วงแรกหัวเมืองต่าง ๆ แข็งข้อไม่ยอมรับ ก็เกิดการขัดขืน มีจารึกกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา (รามราชาธิราช) และพระศรีธรรมราชมาตา (ซึ่งหมายถึงแม่) นำทัพไปปราบบ้านเมืองต่าง ๆ ให้อยู่ในอำนาจของกรุงสุโขทัย มีหลานเมือง อาทิ ทางตะวันตกและลุ่มแม่น้ำป่าสักให้กลับมาในอำนาจกรุงสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง  
     แสดงให้เห็นการมีอำนาจของหญิง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ท่านสร้างวัดวาอารามมากมาย แม้แต่การออกกฎหมายในลักษณะลักพา ที่เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) พระราชมารดาเสด็จด้วย พบหลักฐาน ข้าราชการที่ตามเสด็จ พรญาพังนาวทีศรียมุนา บรรดาเจ้าเมือง 4-5 เมือง เช่น ไตรตรึงษ์ ที่เป็นพันธมิตรกับสุโขทัย
ช้างเซรามิกส์ "ศิลาดล" ไว้วางเครื่องหอม พบใน จว.สุโขทัย, ที่มา: Facebook ห้อง "École française d'Extrême-Orient - EFEO", วันที่เข้าถึง 13 สิงหาคม 2563



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01.  จาก. th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 28-29 พฤศจิกายน 2562.
02.  จากประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ISBN 978-616-465-018-3, พิมพ์ครั้งแรก, กันยายน 2562.
03.  ศักราชอาจคลาดเคลื่อน เพราะพงศาวดารเหนือ ได้ระบุถึงพระนามผู้ปกครองที่สืบต่อมา จนถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม (บ้างก็เรียก พ่อขุนศรีนาวนำถุม) อีกทั้งไม่ปรากฎพระนามพระยาพาลีราชตามหลักฐานอื่น ว่าเป็นผู้ปกครองอาณาจักรละโว้ในปีดังกล่าว
04.  จาก. ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย, dwhistorythai.wordpress.com, วันที่เข้าถึง 28 พฤศจิกายน 2562.
05จาก. ในหนังสือ "ดำรงวิชาการ" บทความ: พระนามกษัตริย์สุโขทัย: ความสัมพันธ์กับเขมรโบราณ, ศานติ ภักดีคำ, "...พระนามของบรรพบุรุษในราชวงศ์พระร่วงหรือราชวงศ์ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ มักมีพระนามเดิมก่อนขึ้นครองราชสมบัติเป็นภาษาไทย ดังที่ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 (จารึกปู่ขุนจิตขุนจอด) ว่า "...แต่นี้ตำพงศ์ผีปู่ผาคำ...ฝูงผู้หวาน ปู่ขุนจิต ขุนจอด...ปู่พระยาศ (รีอินทราทิ) ตย์ ปู่พระยาบาน...ปู่พระยารามราช..." แสดงว่า ปู่ขุนจิต ขุนจอด เป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์พระร่วง"  (ซึ่งอ้างมาจาก...คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์: วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 3 (พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2508), หน้า 62.)
06.  จาก. คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 3, หน้า 62.
07.  จาก. ประเสริฐ ณ นคร, การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547), หน้า 92.
08.  จาก. คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 7 ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : ศักดิโสภาการพิมพ์, 2535), หน้า 9.
09.  จาก. ศานติ ภักดีคำ, พจนานุกรมคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย ฉบับฉลอง 55 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชา (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง มหาชน, 2549), หน้า 21.
10.  จาก. ตารางลำดับกษัตริย์สุโขทัย ของ ด
ร.วินัย พงษ์ศรีเพียร ข้อมูลในห้อง LINE สืบเนื่องจากการสัมมนา "สุโขทัยคดี" ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2563.
11.  พ.ศ. ที่ผมได้แสดงเครื่องหมาย ??? เป็นสีแดงนั้น ต้องขอตรวจทานให้ชัดเจน เพราะ จากศึกษา การได้ฟังบรรยายต่าง ๆ เอกสารชั้นต้นหลายชิ้นมีความไม่สอดคล้องกัน ใคร่ขอนำไปตรวจทานให้มั่นใจก่อนที่จะระบุปี พ.ศ.ที่ชัดเจนต่อไป.
12. ภาษาบาลีเขียนว่า ลิเทยฺย
13. จาก. "ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย: ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ", เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ISBN 978-974-03-3487-3, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2559 หน้าที่ 5 ของคำชี้แจง.
14.  วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 ได้ประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียพิตร (จากวัดเขาใหญ่ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย) เป็นองค์สมบูรณ์ ณ องค์พระปฐมเจดีย์ "
ปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทอดพระเนตร พระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย (จังหวัดสุโขทัย) กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมากเหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2456 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานครฯ พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของ พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2466 แต่ประชาชนทั่วไป จะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์
พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศ 7.42 เมตร หรือราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ และพระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระ เป็นกิริยาห้าม มีพระอุทรพลุ้ยออกมา ห่มจีวรบางคลุม แนบติดพระวรกาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ทำด้วยโลหะทองเหลือง หนัก 100 หาบ การอัญเชิญพระร่วงโรจนฤทธิ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 จำเป็นต้องแยกชิ้นมาและมาประกอบเข้าด้วย กันที่จังหวัดนครปฐมแล้วเสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว ตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่าให้ บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุ พระบรมราชสรีรังคาร ณ ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตามพระประสงค์ทุกประการ
", ที่มา: Facebook เพจ "นครปฐม ที่คิดไม่ถึง," ซึ่งอ้างถึง ช้อมูลจากสมเด็จพระร่วง วัดพระปฐมเจดีย์ วันที่เข้าถึง 6 พฤศจิกายน 2564.



 
info@huexonline.com