Title Thumbnail & Hero Image: ปราสาทตาแก้ว ถ่ายไว้เมื่อ 22 ตุลาคม 2561.
15. ปราสาทตาแก้ว01, 02,03.
First revision: Nov.08, 2019
Last change Aug.16, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
ภาพด้านข้างแสดงการวางหินโดยรวมทั้งหมดของประสาทตาแก้ว ถ่ายที่ศาลาหน้าปราสาทเจ้าสายเทวดา
ที่ดำเนินการบูรณะโดยหน่วยงานของสาธารณรัฐประชาชนจีน, ถ่ายไว้เมื่อ 22 ตุลาคม 2561.
ปราสาทตาแก้ว นี้ บ้างก็ว่าเป็นปิรามิดที่มีหอปราสาทห้าหลังด้านบน เป็นปราสาทที่สร้างด้วยหินดินดานและหินทราย (laterite and sandstone) ก่อสร้างภายใต้แนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกาย ตั้งอยู่ที่อำเภอเสียมเรียบ เมืองพระนคร ระหว่างประตูแห่งชัยชนะเมืองนครธม และบารายตะวันออก.
ศิลปะการก่อสร้าง: ศิลปะแบบคลัง (Khleang style)
สร้างในสมัย: พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 แต่ไม่แล้วเสร็จ ปลาย คศว.ที่ 10 ถึงต้น คศว.11
หยุดการสร้าง (แม้ว่าสร้างไม่เสร็จ) ราว ค.ศ.1000
ปราสาทตาแก้วเป็นเทวาลัยประจำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 พระโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะ (ผู้สร้างปราสาทแปรรูป) ปราสาทนี้มีหอวิหาร 5 หอ จัดสร้างไว้ระดับชั้นด้านบน มีวิหารคดเหลื่อมกันในแต่และหอวิหาร (เป็นเหมือนแนวปิรามิดที่วางเรียงกัน) ล้อมรอบด้วยคูเมือง (Moat) เป็นสัญลักษณ์แห่งเขาพระสุเมรุ.
ด้วยลักษณะภายนอกที่ดูใหญ่โต และสืบเนื่องมาจากการหยุดก่อสร้างตกแต่งภายนอกปราสาท การเจาะสกัดก็เพิ่งจะเริ่มต้นแต่ก็หยุดกลางคันไปเสียก่อน เมื่อพิจาณามุมที่ซับซ้อนต่าง ๆ แล้ว ก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะกัมพูชาแบบคลัง.
ชื่อที่ปรากฎในจารึกคือ เหมะ-ศรีนาคคีรี (Hema-Sringagiri) ภูเขาที่มียอดเป็นทองคำ (the Mountain with Golden Peaks) ครั้นเมื่อถึงสมัยพระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 1 ขึ้นครองราชย์เมื่อ ราว ค.ศ.1010 ทรงมอบปราสาทตาแก้วนี้ให้พราหมณ์ โยคีศวร บัณฑิต (Yogisvara Pandita) ให้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ ด้านล่างของปราสาทเท่านั้น.
ที่มา คำศัพท์และคำอธิบาย:
01. เดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler), ประวัติศาสตร์กัมพูชา (A History of Cambodia), ISBN 974 91090 3 1, แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, วงเดือน นานาสัจจ์, พิมพ์ครั้งที่ 3: 2546, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, กรุงเทพฯ.
02. จาก. en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564.
03. Michael Freeman และ Claude Jacques, ANCIENT ANGKOR Book guides, ISBN 974 8225 27 5, จัดพิมพ์ที่ บมจ.อมรินทร์ พรินติ้ง ประเทศไทย, ครั้งที่ 11 พ.ศ.2556.