Title Thumbnail: รูปแกะสลักหินทรายพระเจ้ายโสวรมเทวะที่ 1 (King Yasovarman I), ที่มา: เว็ปไซต์ของสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO), วันที่เข้าถึง 30 มีนาคม 2562, Hero Image: รูปแกะสลักหินทรายพระเจ้ายโสวรมเทวะที่ 1, ถ่ายไว้เมื่อ 21 ตุลาคม 2561.
09. ลานพระเจ้าขี้เรื้อน
First revision: Oct.31, 2019
Last change: Sep.07, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
ด้วยจากข้อมูลที่สืบค้น หมายถึง พระเจ้ายโสวรมเทวะที่ 1 (King Yasovarman I) เป็นโรคเรื้อน
Statue du roi lépreux, fr.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 31 ตุลาคม 2562
จากพระราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา02. ที่มีข้อความพิศดาร "ขณะนั้น พระพุทธศักราช ล่วงแล้วได้ 1181 ปี จุลศักราช 1 ปี... ...ในสมัยพระบาทสมเด็จเจ้าสังขจักรสิงหะพุกะนาโมภิโยคะเสระบรมนารถบรมบพิตรเหนือเกล้า...
...ขณะนั้นมนตรีนาคมีกิริยาต่ำสูงไม่ค่อยมีความยำเกรงกลัวต่อพระบรมเดชานุภาพ โดยคิดว่าตัวก็มีฤทธิบ้างเหมือนกัน สมเด็จพระบรมบพิตรทรงทัศนาการเห็นดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธ เสด็จลงจากพระบัลลังก์ทรงพระดำเนินไปจนถึงใกล้ชิดกับตัวมนตรีนาค โดยทรงหวังจะประหารชีวิตด้วยพระขรรค์ ฝ่ายมนตรีนาคหลบทันแล้วพ่นโลหิตออกมาถูกพระกายแห่งพระองค์ จึงทรงพระประชวรเปนโรคเรื้อนกุฏฐัง จำเดิมตั้งแต่เวลานั้นมา หมู่นาคีนาคาก็มิได้ไปมาหาสู่กับหมู่มนุษย์อิกเลย ส่วนสมเด็จพระบรมบพิตรก็ได้เสวยพระโอสถหลายขนาน แต่ไม่หายจากพระโรคที่เปนอยู่ ขณะนั้นยังมีพระดาบศองค์หนึ่งเปนผู้มีวิชาเวทมนต์อันศักดิสิทธิได้มาถึงแล้วเข้าไปถวายพระพรพระบาทสังขจักรว่า ให้ตั้งกระทะต้มน้ำให้เดือดแล้ว ให้พระองค์พระบาทสังขจักรโดดลงไปในกระทะกำลังน้ำเดือดนั้น พระดาบศจะได้ใส่ยาให้พระบรมบพิตรได้หายจากโรคเปนปรกติดังแต่ก่อน พระองค์ไม่ทรงเชื่อ แล้วตรัสว่าให้พระดาบศโดดลงกระทะก่อน พระดาบศก็ยอม แต่กราบทูลว่า เมื่อพระดาบศโดดลงไปในกระทะแล้ว ขอให้ใส่ยาให้ คือ ยาขนานที่ 1 ทำให้แขง ยาขนานที่ 2 ทำให้ก่อเปนรูปร่าง ยาขนานที่ 3 กระทำให้มีชีวิตรเปนขึ้น ครั้นกราบทูลสั่งเสร็จแล้ว พระดาบศก็โดดลงไปในกระทะ พระมหากระษัตริย์ก็ทรงใส่ยาลงในกระทะทุกขนาน แต่หาเปนเหมือนดังคำของดาบศกล่าวไม่ เพียงแต่แขง ๆ เท่านั้น หาได้เปนร่างกายมีชีวิตรจิตรใจไม่ พระองค์จึงตรัสสั่งนำทรากพระดาบศนั้นไปเททิ้งเสีย ตำบลที่เททรากนั้นยังมีปรากฎคงอยู่จนทุกวันนี้.
ฝ่ายพระฤๅษีซึ่งเปนอาจารย์ของพระดาบศ เมื่อไม่เห็นศิษย์กลับคืนไป ก็เข้าโลกิยฌานเหาะมาถามข่าว ครั้นได้ทราบเรื่องราวเปนแน่นอนแล้ว ก็แช่งว่า อย่าให้กระษัตริย์ผู้ครองกรุงกัมพูชาได้เปนใหญ่มีอำนาจเหนือนานาประเทศดังเช่นกระษัตริย์แต่ปางก่อนอิกเลย ฝ่ายสมเด็จพระบรมบพิตรทรงพระประชวรพระโรคมีพระอาการหนักลง ก็เสด็จสู่สวรรคต ไม่ปรากฎพระชนมายุได้เท่าใด..."

พญานาคเก้าเศียรในโลกบาดาล

ม้าพลห หรือ พลาหะ (The Horse Balaha) 01
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. ม้าพลห หรือ พลาหะ (The Horse Balaha) เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) ที่อวตารลงมาช่วยผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก เมื่อครั้งพระองค์ทรงช่วยพวกเรือแตกจากนางยักษิณี เมื่อเห็นรูปม้าพลาหะแหวกว่ายไปยังตัวปราสาท ทำให้ผู้คนพลันเกิดความเชื่อที่ว่า ม้าวิเศษตัวนี้ได้เหาะพาผู้คนไปยังสรวงสวรรค์ โดยผู้คนเหล่านี้จะเกาะหางและขนม้าพาไป บ้างก็ว่าม้าพลาหะได้พาผู้คนข้ามพ้นมหาสมุทร.
02. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา: หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ตำนานเรื่องเล่าของชนชาวเขมร, นายพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), แปลจากภาษาเขมร, ISBN. 978-616-514-668-5, หน้าที่ 53-54, ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563.
PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01-02: ภาพสลักหินทรายพระเจ้าขี้เรื้อน, ที่มา: สำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO), ไม่ทราบปี.
ภาพที่ 03: ภาพสลักหินทรายพระเจ้าขี้เรื้อน, ไม่ทราบปี, ที่มา: Facebook เพจ "มเหนทรบรรพต", วันที่เข้าถึง 05 กันยายน 2563.