MENU
TH EN

เซเปียนส์: ประวัติย่อมนุษยชาติ ตอนที่ 2

Title Thumbnail: Adam and Eve, ที่มา: theosthinktank.co.uk, วันที่เข้าถึง 13 มิถุนายน 2564. Hero Image: ปกหนังสือ Sapiens: A Graphic History, ที่มา: penguin.co.uk, วันที่เข้าถึง 13 มิถุนายน 2564.
เซเปียนส์: ประวัติย่อของมนุษยชาติ01. ตอนที่ 2
First revision: Jun.13, 2021
Last change: Jun.24, 2021

     ผมใคร่ขอเขียนสรุป ค้นคว้าเพิ่มเติม แทรกรายละเอียดและภาพต่าง ๆ ด้วยเห็นว่าหนังสือเล่มนี้ดีมาก อยากจะศึกษาลงลึกในรายละเอียดและต่อยอด สิ่งที่ได้ค้นคว้าเสริมเพิ่มเติมนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
                                                                                  อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
วันหนึ่งในชีวิตของอดัมและอีฟ
(A Day in the Life of Adam and Eve)
 
  • ต้องเข้าใจก่อนว่า บรรพบุรุษของเรามีชีวิตเป็นนายพรานล่าสัตว์ เก็บของป่า เมื่อ 200 ปีที่ผ่านมานี้ เรากลายเป็นแรงงานในเมืองและบริษัท กินขนมปังกินข้าว และก่อนหน้านี้เมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมา เซเปียนส์ใช้ชีวิตส่วนมากในการเป็นเกษตรกรและทำปศุสัตว์.
ภาพจาก thebiomesavanna.weebly.com, วันที่เข้าถึง 13 มิถุนายน 2564.
 
  • หากพิจารณาทางด้านสาขาจิตวิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary psychology) มีความเห็นว่าลักษณะทางจิตวิทยาและสังคมจำนวนมากที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ ล้วนก่อรูปมาจากยุคก่อนเกษตรกรรมอันยาวนาน สมองจิตใจของเราปรับให้เข้ากับชีวิตการล่าสัตว์ หาของป่า ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ยาวนานมาก
  • บางครั้งเรารู้สึกซึมเศร้า กดดัน พำนักอยู่ในอพาตเม้นต์กลางกรุง (มีอาหารมากมายล้นตู้เย็น) เราต้องศึกษาชีวิตนายพรานให้ละเอียด เพราะมันอยู่ในโลกที่จิตใต้สำนึกของเรา.
  • ทำไมเราต้องกินอาหารที่มีแคลอรีสูง ๆ ทั้ง ๆ ที่มีประโยชน์น้อยมากต่อร่างกาย เกิดความทุกข์ทรมานจากโรคอ้วน ต้องย้อนไปสมัยที่เราเป็นนายพรานในทุ่งหญ้าสะวันนาห์ ด้วยของหวานแคลอรีสูงหายากมาก การหาของหวานได้กินมีเพียงอย่างเดียวคือผลไม้สุก เราจึงต้องตะกละตะกลามที่จะต้องกินให้เยอะ ๆ พฤติกรรมเช่นนี้แฝงอยู่ในพันธุกรรมของเรา
  • ทฤษฎี “ยีนตะกละตะกลาม” (Gorging gene theory) นี้เป็นที่ยอมรับกันกว้างขวาง.
  • มีนักจิตวิทยาวิวัฒนาการ (Evolutionary psychologist) บางท่านเสนอว่า กลุ่มนักล่าหาของป่าโบราณ ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบครอบครัวเดี่ยวแบบผัวเดียวเมียเดียว (Monogamous couples) อยู่เป็นชุมชนที่ไม่มีสมบัติส่วนตัว ไม่มีความสัมพันธ์แบบคู่สมรสคนเดียว หรือแม้แต่ไม่มีความเป็นพ่อ ชุมชนนี้ผู้หญิงสามารถมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย (ผู้หญิง) หลายคนในกลุ่มไปพร้อม ๆ กันได้ ต่างจะร่วมมือกันเลี้ยงเด็ก ๆ ไม่มีผู้ชายคนไหนรู้ว่าเด็กคนไหนเป็นลูกตน พวกผู้ชายจะห่วงใยเด็ก ๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียม
หญิงและเด็ก ๆ ชาวเผ่าอินเดียนบาริ (The Barí tribe of Venezuela) ในเวเนซุเอลา,
ที่มา: discovermagazine.com, วันที่เข้าถึง 23 มิถุนายน 264.
  • มีผู้เสนอแนวคิด "ประชาคมโบราณ" (Ancient commune) โดยให้เหตุผลว่า การนอกใจที่พบได้บ่อยในชีวิตการแต่งงานสมัยใหม่ และอัตราการหย่าร้างที่สูง ปมจิตวิทยาที่พบมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การใช้ชีวิตแบบผัวเดียวเมียเดียวนั้น เข้ากันไม่ได้กับชุดคำสั่งทางชีววิทยาของเรา ซึ่งก็มีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยปฏิเสธทฤษฎีนี้อย่างรุนแรง นักวิจัยพบว่ายังมีพวกที่อยู่เป็นกลุ่มย่อย ๆ ยังมีการหึงหวงกัน และมีเด็ก ๆ ที่เขาเลี้ยงดูเป็นหลัก การมีครอบครัวผัวเดียวเมียเดียวเป็นบรรทัดฐานในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ ซึ่งน่าจะมีการปฏิวัติการรับรู้นี้เมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว และเริ่มมีการปฏิวัติเกษตรกรรมเมื่อ 12,000 ปีที่แล้ว.
  • จากหลักฐานทางโบราณคดี นายพรานและผู้หาของป่าโบราณ มีเครื่องมือส่วนใหญ่ทำจากไม้ จึงน่าจะเรียกยุคนี้ว่ายุคไม้ (Wood Age) แทนที่จะเป็นยุคหิน. ยุคนายพรานหาของป่าโบราณนั้น มีการสะสมข้าวของเครื่องมือเครื่อง อุปกรณ์ต่าง ๆ น้อยมากเมื่อเทียบกับยุคที่ทำเกษตรกรรมและยุคปัจจุบัน. เพราะนายพรานหาของป่าย้ายบ้านทุกเดือน ทุกสัปดาห์ และอาจจะย้ายทุกวัน
 


หมายเหตุ และคำอธิบายเพิ่มเติม
01. อ้างอิงจาก.
     01.1 หนังสือ A Brief History of Humankind, Yuval Noah Harari, Penguin Random House UK, 2011.
     01.2 หนังสือแปล เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ, เขียนโดย ยูวีล โนอาห์ แฮรารี, แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, สำนักพิมพ์ยิปซี, 2561.
     01.3 Sapiens: A Graphic History, The Birth of Humankind, Yuval Noah Harari; David Vandermeulen; Danial Casanave, Jonathan Cape London, Penguin Random House UK, 2020.

 
humanexcellence.thailand@gmail.com