MENU
TH EN

คู่มือผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน : บทที่ 1

Title Thumbnail & Hero Image: ผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายบัญชีและการเงิน, พัฒนาเมื่อ 18 กรกฎาคม 2567.
คู่มือผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน : บทที่ 1
First revision: Apr.29, 2024
Last change: Jul.24, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
.
 
หน้าที่ 1
  • คำพรรณนาลักษณะงานของ CFO: ดูแลระบบบัญชีการเงิน การรายงาน และการเปิดเผยข้อมูล การให้ความมั่นใจในการปฏิบัติตามการรายงานทางการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และข้อกำหนดการบัญชี กฎหมายหลักทรัพย์ ให้ความมั่นใจในการปฏิบัติขององค์บริหารส่วนท้องที่ รัฐบาลส่วนกลาง และกฎหมายภาษี ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดหลักทรัพย์รอง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวให้กับ SMEs (MAI - Market for Alternative Investment); จัดทำ ติดตาม และประเมินผลการควบคุมภายใน ทำงานร่วมกับ CEO ในการพัฒนาเป้าหมายและแผนเชิงกลยุทธ์ ดำเนินการตามแผนเชิงกลยุทธ์ และประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ มีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณระยะยาวและระยะสั้น ทักษะการสื่อสารและการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมในทีมงาน สามารถระดมทุนและบริหารจัดการโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้สูงสุดและลดต้นทุนเงินทุนของบริษัทได้ พัฒนา ติดตาม และประเมินผลโครงการบริหารความเสี่ยง สื่อสารกับคณะกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ไม่อ่อนไหวต่อผลกระทบของคริปโตไนต์.
  • จากวิกฤติการณ์ทางการเงิน ช่วง คศ.1990s-ต้น 2000s การล้มของบริษัทยักษ์ใหญ่ ENRON, WorldCom และอีกหลายบรรษัท ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาทางด้านผู้สอบบัญชีและการกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติตามกฎที่วางไว้ (Auditor, Governance, & Compliance) รัฐสภาสหรัฐได้ออกรัฐบัญญัติซาร์เบนส์-ออกซเลย์ (Sarbanes-Oxley Act of 2002 - SOx Act) ขึ้น เพื่อจัดการกับภาระความรับผิดและความรับผิดชอบในการสอบบัญชีและบรรษัท (Corporate and Auditing Accountability and Responsibility Act) ซึ่งผลมายังมาตรฐานการบัญชีไทย และกฎระเบียบนโยบายต่าง ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีต่อบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาดังนี้.
    • เน้นธรรมาภิบาล พัฒนามาตรฐานผู้สอบบัญชี
    • ไม่อนุญาติให้บริษัทสอบบัญชี (Auditor Firm) ทำงานด้าน Non-Audit เช่น ที่ปรึกษาด้านการจัดการ (Management Services) ที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เป็นต้น.
    • เน้น ความรับผิดชอบของกิจการ (Corporate Responsibility) มีให้กรรมการอิสระในชุดคณะกรรมการตรวจสอบ.
    • การรายงานสู่สาธารณะรายไตรมาสต้องมีการลงนามรับรองโดย CEO และ CFO.
    • ให้การตรวจสอบของ Auditor มีความเป็นอิสระเพียงพอ.
    • ให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเรื่องโบนัส กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์.
    • ห้ามเรื่องการซื้อขายภายใน (Insider trading) ระหว่างระยะเวลาปิดกองทุนบำเหน็จบำนาญ (A Pension Fund Blackout Period).
    • ให้เปิดเผยรายการสำคัญที่อยู่นอกเหนืองบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance Sheet).
    • ให้มีการกระทบยอดจากการประมาณการข้อมูลทางการเงินกับผลที่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP - Generally Accepted Accounting Principle).
    • มีข้อห้ามในหมวดเงินยืมกรรมการหรือผู้บริหารหลายประเภท.
    • เพิ่มการเปิดเผยข้อมูล รายการกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นหลัก.
    • ให้เปิดเผยจรรยาบรรณของพนักงานทางการเงิน (Code of Ethics for Financial Officer).
    • ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางการเงินอย่างน้อยหนึ่งคนในคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee).
  • มีการวิเคราะห์รายการที่ขัดผลประโยชน์กัน (Analyst Conflict of Interest).
    • เพิ่มความเป็นอิสระในการวิเคราะห์และกิจกรรมด้านวานิชธนกิจ กำหนดให้มีการเปิดเผยการวิเคราะห์รายการที่ขัดผลประโยชน์กันให้ทราบ.
  • ต้องมีรายงานการศึกษา อุตสาหกรรมธูรกิจการสอบบัญชี อุตสาหกรรมการให้ Credit Rating ผู้ฝ่าฝืน (Violators) กฎหมายด้านหลักทรัพย์ การบังคับใช้ และธนาคารวานิชธนกิจ.
  • ความสำนึกรับผิดชอบของกิจการต่อการฉ้อโกงและอาชญากรรม (Corporate and Criminal Fraud Accountability).
    • กำหนดให้มีบทลงโทษทางอาญาในการทำลายหลักฐาน.
    • จัดให้มีการแจ้งเบาะแส การหลอกลวง.
    • กำหนดให้มีการลงโทษทางอาญาในการหลอกลวงผู้ถือหุ้น.
  • เพิ่มประสิทธิภาพการลงโทษทางอาชญากรรมแก่ผู้บริหาร.
    • จัดให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพบทลงโทษทางอาญา แก่ผู้บริหารที่ก่ออาชญากรรม อย่างเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ โทรคมนาคมต่าง ๆ .
    • กำหนดให้มีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่ได้รับรองรายงานทางการเงิน.
  • การหลอกลวงและสำนึกรับผิดชอบของกิจการ (Corporate Fraud and Accountability)
    • กำหนดให้มีเบี้ยปรับและการจำขังที่เป็นไปได้ต่อการเข้ามายุ่งเกี่ยวด้านเอกสารในการสืบสวน.
    • จัดให้ SEC (กลต.) มีอำนาจหน้าที่ในการหยุดยั้งหยุดรายการจ่ายเงิน ในขณะที่มีการสืบสวน.
    •  
หน้าที่ 2
ซึ่งรัฐบัญญัติ SOx 2002 นี้ กระทบโดยตรงต่อ CFO ดังนี้:
  • (Section 206:) ลดการขัดผลประโยชน์ในการทำผิดกฎหมายได้ คือห้ามมิให้สำหรับ CEO, CFO, Controller หรือบุคลากรที่เทียบเท่าเข้าทำงานในบริษัทสอบบัญชีอิสระและเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชีของบริษัทภายใน 1 ปีที่มีการ Audit.
  • (Section 302:) ให้ CEO, CFO และเจ้าหน้าที่/ผู้บริหารที่เทียบเท่า รับรองรายงานประจำปี รายไตรมาส และลงนามรับผิดชอบถึงการจัดวางและธำรงระบบการควบคุมภายใน. ด้วยการรับรอง ถือเป็นการยืนยันการรายงานความขาดแคลนหรือบกพร่องใด ๆ ต่อผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการตรวจสอบ.
  • (Section 304:) กำหนดให้ กกต. (SEC) ริบทรัพย์จากค่า Incentive ค่าตอบแทนที่คำนวณจากส่วนของทุน (Equity-based) หรือโบนัสที่ได้ค่าตอบแทนในการบริหารจัดการ อันเนื่องมาจากการปรับงบการเงินที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎกติกา (Noncompliance) บทบัญญัตินี้จะยับยั้งฝ่ายจัดการในการเข้าตบแต่ง (Manipulate) ผลจากรายงานทางบัญชีการเงิน แก่ประโยชน์ส่วนบุคคล.
  • (Section 401:) กำหนดให้มีการจัดทำรายงานทางการเงิน ไม่เพียงการนำเสนอจะต้องถูกต้องเท่านั้น แต่ต้องนำเสนอลักษณะที่ไม่ถูกต้องหรือล้มเหลวนั้นเป็นเช่นไรในการนำเสนอสถานะของข้อมูลที่สำคัญ ต้องการให้เปิดเผยสระสำคัญของรายการที่อยู่นอกงบการเงิน (Off-balance Sheet Transactions)01. อีกด้วย.
  • (Section 401:) กำหนดให้เปิดเผยการประเมินเชิงการจัดการของการควบคุมภายในและการยืนยัน (Attestation) ของผู้สอบบัญชี ที่เกี่ยวกับการประเมินฝ่ายจัดการ.
  • (Section 404:) ข้อกำหนดของรายงานที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน กำหนดให้มีต้นทุนเริ่มตั้งบริษัทที่มีสาระสำคัญ. ที่มีความสำคัญมากก็คือบทบัญญัตินี้ได้สร้าง Liability risk ที่เกิดจาก CEO, CFO. นั่นคือสำนักงานสอบบัญชีและฝ่ายจัดการที่ลงนามในรายงานการควบคุมภายในต้องรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของระบบการควบคุมภายใน.
  • (Section 409:) บทบัญญัตินี้ได้กำหนดเวลาที่ต้องดำเนินการให้ทันเวลา มีการเปิดเผยข้อมูลด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ แสดงการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญต่าง ๆ ของการดำเนินงานภายในบริษัท หรือฐานะทางการเงิน. ผลกระทบคือ (1) เป็นบทขยายของจำนวนเหตุการณ์ที่กำหนดให้บริษัทฯ ต้องกรอกแบบฟอร์ม 8-K ภายใต้กฎบัตรของ กกต. ในปี ค.ศ.1934 (2) กำหนดเวลาไว้ 4 วันทำการ.
  • (Section 906) บทบัญญัตินี้: กำหนดให้มีการรับรองในรางานการตรวจสอบโดย CEO, CFO ด้วยการเคารพถึงการทำตามกฎกติกาของกฎหมายด้านหลักทรัพย์ฯ และเป็นข้อมูลที่นำเสนออย่างยุติธรรมถึงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ. บทลงโทษทางอาญานั้นมีความเป็นไปได้สำหรับการให้การรับรอง เมื่อไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ (Noncompliance).

ประมวลผลจาก Copilot AI เมื่อ 3 พฤษภาคม 2567.
หมายเหตุ คำอธิบาย:
01. จะอธิบาย รายการที่อยู่นอกงบการเงิน (off-balance sheet transactions) ในบทที่ 3.

 
หน้าที่ 3
บทบาทความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของ CFO
  • ลดบทบาทด้านการเงินบัญชีลง แต่จะให้รุกเดินไปข้างหน้า (Proactive) ในอนาคตของกิจการ การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของกิจการมากขึ้น.
    • ตามธรรมเนียมทั่วไปแล้ว หน้าที่ความรับผิดชอบของ CFO จะเกี่ยวกับบัญชีและงานด้านสินทรัพย์ การเงิน (Treasury). การบัญชีประเภทงบประมาณ ประมาณการ รายงานทางการเงิน และการวัดผลการดำเนินงาน CFO ต้องเชี่ยวชาญด้านบัญชีการเงิน บัญชีเพื่อการจัดการและงบประมาณ. มีความสามารถในการสื่อสาร เข้าใจถ่องแท้ถืงข้อมูลภายในองค์กร เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น และอื่น ๆ.
    • งานด้าน Treasury สินทรัพย์ การตัดสินใจลงทุน การตัดสินใจด้วยโครงสร้างเงินทุน การลงทุนระยะยาว และความต้องการที่จะให้ CFO สรุปหลักการลงทุนต่าง ๆ ของกิจการให้ฝ่ายจัดการทราบ.
  • บทบาทความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของ CFO ประกอบด้วย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance) การจัดการด้าความเสี่ยง (Risk management) การสื่อสาร (Communication) และการประเมินผลการดำเนินงาน (performance evaluation). งานที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ความซับซ้อนในบทบาทของ CFO, จึงต้องกำหนดให้มีความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ มีความเข้าใจในด้านความเสี่ยง และความสามารถในการสื่อสารกับความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนมีความสามารถในการประเมินผลการดำเนินงาน. เครื่องมือที่ใช้ อย่างเช่น OKRs - Objectives and Key Results, BSC - Balanced Scorecard, Economic Value Added, และการคำนวณวัดต่าง ๆ  เป็นต้น.
  • เราสามารถแสดงการเชื่อมต่อ (nexus) ความรับผิดชอบของ CFO ได้ดังในภาพที่ 1.1


ภาพที่ 1.1 ความรับผิดชอบของ CFO



 
หน้าที่ 4
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ: ภาษี, กฎหมาย, และระเบียบข้อบังคับ (Compliance: Tax, Legal, and Regulatory)
  • ข้อบังคับที่เป็นระเบียบต้องปฏิบัติตามของ CFO นั้น มีความซับซ้อนมากขึ้นในฐานที่เป็นกฎหมายข้อบังคับที่ยกร่างขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลง.
  • ดังเช่น CFO ต้องมีความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ที่กระทบต่อการบัญชีการเงิน การจัดการด้านความเสี่ยง และการจัดการด้านการควบคุมภายใน. กฎหมาย ระเบียบ และกฎที่ CFO จะต้องมีความคุ้นเคย ประกอบด้วย
    • ข้อกำหนดรายงานเสนอ กลต. และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง.
    • การปฏิบัติตามรัฐบัญญัติ SOx year 2002.
    • หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP - Generally Accepted Accounting Principle) มาตรฐานการบัญชีไทย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (IFRS - International Financial Report Standard), มาตรฐานรายงานทางการเงินของไทย (TFRS - Thai Financial Reporting Standards).
    • การรายงานตามที่สรรพากรกำหนด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และระเบียบต่าง ๆ .
    • การปฏิบัติงามตามกฎกติกา ตามนโยบาย Anti-Corruption.
  • CFO ต้องทราบถึงความเปลี่ยนแปลง เพื่อการวางแผน และการประมาณการที่มีประสิทธิภาพ เช่น IFRS, IASC (The International Accounting Standards Committee), FASB (Financial Accounting Standard Board) ซึ่งกระทบต่อรายงานทางการเงิน และการตัดสินใจทางการเงินต่าง ๆ .

การสื่อสาร (Communications)
  • บทบาทเดิม - สื่อสารกับ Company's stakeholders, creditors, shareholders และอื่น ๆ โยงไปถึงสถานะทางการเงิน และ ผลการดำเนินงานของบริษัท.
  • บทบาทใหม่ - เพิ่ม Risks และกลยุทธ์ของบริษัทฯ ความโปร่งใส (Transparency) การเปิดเผยข้อมูลที่ Real-time เพิ่มแรงกดดันด้วยข้อมูลปัจจุบันที่ต้องแม่นยำ (Accurate current information).
  • จำนวนของการนำเสนอ (filing) ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนด้านการค้าที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ. ที่จะต้องแสดงได้สรุปไว้แล้วในตารางที่ 1.1
 
ตารางที่ 1.1 การสรุปจำนวนการนำเสนอ (Filing) ของบริษัทจดทะเบียนด้านการค้าของสหรัฐ, การเป็นเจ้าของ, และฝ่ายบริหาร.
(Summary of Filings a Publicly Trade Companies, Their Owners, and Executives.)
 
   ข้อความ (Statement)  วัตถุประสงค์ (Purpose)  ข้อมูล (Information)
   รายงาน 10-K  การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินประจำปีตามกำหนดที่เป็นบริษัทจดทะเบียนด้านการค้าแก่สาธารณชนภายใน 90 วันหลังปิดบัญชีประจำปี  เป็นการอธิบายถึงธุรกิจของบริษัท ข้อมูลงบการเงินที่พบในรายงานประจำปีของกิจการและการเปิดเผยข้อมูลรวมทั้งการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management's Discussion and Analysis)
   รายงาน 10-Q  การเปิดเผยรายไตรมาสแก่สาธารณชนของบริษัทจดทะเบียนด้านการค้า ภายใน 45 วันหลังจากสามไตรมาสแรกของปีงบการเงิน  เป็นการนำเสนอสั้น ๆ ถึงงบการเงินในแต่ละไตรมาส หมายเหตุ และการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (M&DA).
   8-K Filing  จัดส่งรายงานที่ไม่เป็นไปตามตารางกำหนด เหตุการณ์สำคัญหรือเหตุการณ์ที่อาจจะพิจารณาแล้วมีความสำคัญต่อนักลงทุน  อธิบายเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่เป็นเรื่องน่าสนใจของนักลงทุน ส่งรายงานเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น.
   หนังสือชี้ชวน (Prospectus)  การเตรียมตัว Filing ที่จัดทำโดยความตังใจที่จะออกหลักทรัพย์ การลงทะเบียนปฏิบัติตาม พรบ.หลักทรัพย์ (1933 Act.) (Comply)  ข้อมูลบริษัทและข้อมูลทางการเงินพื้นฐานในการออกจำหน่ายหลักทรัพย์
   คำสั่งมอบฉันทะ (Proxy statement - Schedule 14A)  การออกหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการมอบฉันทะในการลงคะแนนเสียง โดยผู้ถือหุ้น ปฏิบัติตามระเบียบ 14A สถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องเตรียมพร้อมให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับการลงคะแนนเสียงตามที่กำหนดไว้ ตามกฎหมายแห่งรัฐ.  คำอธิบายถึงประเด็นในการมอบฉันทะในการลงคะแนนเสียง ความคิดเห็นของฝ่ายจัดการที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้น การชดเชยตอบแทนฝ่ายจัดการระดับซีเนียร์ การถือหุ้นโดยพนักงานและกรรมการ.
 
   คำสั่งลงทะเบียน (Registration Statements)
(e.g., S-1, S-2, F-1)
 คำสั่งลงทะเบียนในการ Filing จัดทำโดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แก่สาธารณชน เป็นไปตามข้อกำหนด พรบ.1933  ข้อมูลงบการเงิน พร้อมทั้งข้อมูลที่อธิบายธุรกิจและการจัดการของบริษัท.
   ตารางที่ 13D (Schedule 13D)  การ Filing จัดทำโดยบุคคลทำการรายงานความเป็นเจ้าของที่มีผลประโยชน์ในหุ้นของหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายสู่สาธารณะที่เป็นบริษัทด้านการค้าเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่า 5% ของจำนวนหุ้นที่ลงทะเบียนไว้ จะต้องรายงานภายใน 10 วันหลังจากที่ได้ครอบครองหุ้น.  การรายงานการได้มาซึ่งหุ้น รวมทั้งข้อมูล จากการครอบครองหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุน จำนวนเงินทุนที่ใช้ซื้อ รวมทั้งข้อมูลแสดงตัวตนของฝ่ายที่ได้รับ (ครอบครอง)
   ตารางที่ 14D-1 (Schedule 14D-1)  การรายงาน (แสดงเอกสาร) การเสนอซื้อ (Tender Offer) โดยผู้ใดก็ตาม นอกเหนือจากผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งรายงานความเป็นเจ้าของ การมีผลประโยชน์มากกว่า 5% ของจำนวนหุ้นลงทะเบียน.  รายงานถึงการเสนอซื้อหุ้นรวมทั้งข้อมูลแสดงตัวตนของฝ่ายที่ได้รับการครอบครอง แหล่งที่มาและจำนวนเงินทุนที่ใช้ในการซื้อและเงื่อนไขของการเสนอซื้อ.
   ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ของตัวแทนผู้รับมอบฉันทะ (Proxy) : preliminary, confidential, and definitive. แสดงเป็นคำย่อ (ตัวอย่างใน DEF 14A).


หน้าที่ 5

พัฒนาเมื่อ 28 มิถุนายน 2567.
 
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
       ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท อาจจะเป็นบุคคลผู้ทำงานอยู่ในคณะกรรมการบริษัทที่ได้จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ขึ้น, แต่ผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายบัญชีและการเงินนั้น บ่อยครั้งที่จะถูกร้องขอให้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งทั้งสองท่านก็ต้องพัฒนากลยุทธ์และนำไปปฏิบัติให้ได้ต่อไป. งานด้านการเงินภายในบริษัทนั้นขยายกว้างขึ้น นำไปสู่การเชื่อมโยงกันระหว่างฝ่าย ฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ของบริษัท. อาจกล่าวได้ว่า CFO ต้องทำแผนกลยุทธ์ให้บังเกิดขึ้นให้ได้ และกำกับติดตามความก้าวหน้าให้มุ่งหน้าไปตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์.

       CFO นั้นจะเกี่ยวข้องกับการประเมินโอกาสต่าง ๆ ในการเติบโต โดยประเมินการควบกิจการ การเข้าครอบครอง หรือ แสวงหาโอกาสทางธุรกิจร่วมค้า (Joint Venture Opportunities) และโดยการพัฒนาโอกาสต่าง ๆ ด้านการเติบโตจากภายในบริษัทเอง. CFO จะต้องประมวลควบรวมในการเชื่อมโยงการเงินเชิงกลยุทธ์ การนำองค์ความรู้ และการเงิน และทักษะการวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ .



การประเมินผลการดำเนินงาน (Performance Evaluation)
       โดยธรรมเนียมทั่วไปแล้ว CFO คือเครื่องมือในการทำหน้าที่วัดผลการดำเนินงาน เนื่องเพราะบทบาทการทำงานจะขึ้นอยู่กับการรายงานทางการเงิน, ทั้งภายในและภายนอก. CFO อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการเข้าใจถึงตัวขับเคลื่อนต่าง ๆ ของผลการดำเนินงาน, ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญในการจัดวาง Incentives ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงาน. ตัวอย่างเช่น หากผลการดำเนินงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (มีคุณลักษณะ) กับปัจจัยที่ควบคุมได้โดยผู้จัดการฝ่าย และในส่วนที่เป็นปัจจัยภายนอกที่นอกจากการควบคุมของผู้จัดการ, CFO สามารถกำหนดคุณลักษณะเนื้องานที่มาจากผู้จัดการฝ่ายในส่วนที่ควบคุมได้ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน.

       ในกระบวนการจัดการที่มากมาย และเครื่องมือที่บริษัทเลือกใช้ เพื่อเป็นเกจ์วัดผลการดำเนินงานนั้น. เราได้สรุปเครื่องมือการจัดการที่ (เพียงพอ) จำนวนหนึ่ง ดูในตารางที่ 1.2 สิ่ง สิ่งสำคัญที่ประดิษฐ์และดำเนินการกับระบบที่ใกล้ชิดกับการจัดตำแหน่งของรางวัลที่เกี่ยวเนื่องกับผลการดำเนินงาน. CFO จะต้องทำงานกับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ มีบทบาทในการกำหนดผลการดำเนินงานที่คาดหวังสำหรับการจัดการของบริษัท และสื่อสารไปยังนักลงทุน.

       การประเมินผลการดำเนินงานและรางวัลที่สัมพันธ์กันนั้น เป็นสิ่งที่มุ่งเน้นอยู่ในปัจจุบันที่ตั้งใจไว้มาก เนื่องจากข่าวลือที่มีทางเลือกจะย้อนไปในวันเก่า ๆ . บริษัทต่าง ๆ กำลังคิดทบทวนถึงการใช้ Stock Options เพื่อจัดตำแหน่ง ที่มาจากผลการดำเนินงานและรางวัลที่จะมอบให้แก่พนักงาน (แม้ว่าจะมีคำถามากมายถึงประสิทธิภาพในการใช้ Executive Stock Options เพื่อควบคุมประโยชน์ต่าง ๆ ของฝ่ายจัดการ ด้วยการให้เป็นผู้ถือหุ้นเสีย, ข่าวลือที่ย้อนไปถึงเรื่องในอดีตต่าง ๆ จะต้องผลักมาไว้ข้างหน้า. Back Date Option เป็น Executive option ที่ยินยอมให้เพื่อวันที่ยินยอมให้ได้ถูกนำไปปฏิบัติการ เพื่อให้ผลประโยชน์ที่มากขึ้นแก่ Executives และเป็นการลดภาระภาษี อย่างเช่น การปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามก็เป็นการละเมิดการเปิดเผยทางการเงินและกฎหมายด้านภาษี. ปัญหาเมื่อเร็ว ๆ นี้สัมพันธ์กับ The Backdateing of Options อย่างไรก็ตามความพยายาม ๆ ที่มีความตึงเครียดในเบื้องหน้าจะปรับปรุงความมั่นใจในการจัดการของกิจการและการรายงานงบการเงิน.) ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 กลต.ของสหรับอเมริกาได้ออกกฎกติกาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลค่าตอบแทนของ Executive สำหรับสาธารณชนในหมวดกลุ่มบริษัทต่าง ๆ ทางการค้า. (การเปิดเผยค่าตอบแทนแก่ผู้บริหาร - Executive Compensation Disclosure กลต. สหรัฐ 17 CFR Part 228 และ 229, Release nos.33-8765; 34-55009; File no. S7-06-06, RIN3235-AI80, 22 ธันวาคม 2549) กฎกติกาต่าง ๆ นี้ ได้เพิ่มให้เห็นถึงความโปร่งใสของค่าตอบแทนโดยขยายขอบเขตและจัดโครงการการเปิดเผยข้อมูลค่าตอบแทนต่าง ๆ เสียใหม่ ในรายงานหรือข้อความการมอบอำนาจ มอบฉันทะ. 



 
หน้าที่ 6
  ตารางที่ 1.2 ตัวอย่างเครื่องมือการจัดการสำหรับการประเมินผลการดำเนินงาน
(Examples of Management Tools for Performance Evaluation)
   เครื่องมือการจัดการ (Management Tool)  สรุปย่อ (Brief Summary)
   การคำนวณต้นทุนบนฐานของกิจกรรม (Activity-based costing)a  วิธีการวางแผนและควบคุมที่แสดงคุณลักษณะของต้นทุน ไปยังผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ บนฐานของการวิเคราะห์สาเหตุ-และ-ผลกระทบ (Cause-and-affect analysis).
   Balanced Scorecard (BSC)b  กระบวนการการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ของบริษัท การกำหนดการวัดเพื่อประเมินผล เพื่อให้บรรลุผลที่เป็นเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะยาว การวางเป้าหมาย และการให้ผลย้นอกลับจากการวัดผล
   มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์
(Economic value added)c
 การวัดผลการดำเนินงานทางการเงินซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับคุณค่าของผู้ถือหุ้น
   Six Sigmad  ระบบที่เกี่ยวเนื่องมาจากความพยายามเชิงวิศวกรรมคุณภาพที่เกี่ยวกับการวัดผลของเสียในกระบวนการ และให้ผลย้อนกลับมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพ.

หมายเหตุ
a  Robert S. Kaplan, "Measuring Manufacturing Performance": A New Challenge for Managerial Accounting Research, The Accouting Review 59 (ตุลาคม พ.ศ.2526) หน้าที่ 686-705.
b  Robert S. Kaplan and David P. Norton, The Balanced Scorecrad (Boston: Harvard Business School Press, 1996), and Robert S. Kaplan and David P. Norton, The Strategy-Focused Organization (Boston: Hardvard Business School Press, Harvard, พ.ศ.2544).
c  Alfred Marshall ได้จัดทำสูตรการคำนวณต่าง ๆ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ.2433, economic value added ได้ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์โดยบริษัทของ Stern Stewart และอธิบายใน G. Bennett Stewart, The Quest for Value (นิวยอร์ค: HarperCollins, 1999) และ Al Ehrbat, EVA: The Real key to Creating Wealth (New York: Wiley, 1998).
d Bill Smith of Motorlloa ได้รับเครดิตในศัพท์ว่า Six Sigma และเป็นที่รู้กันว่าเป็นบิดาแห่ง Six Sigma.

-------------------------------------
ไม่เพียงแต่การนำแนวข้อเสนอใหม่ของค่าตอบแทน จะเพิ่มความโปร่งใสมาใช้ แต่จะให้การเชื่อมโยงถึงข้อมูลการมอบฉันทะเกี่ยวกับการแสดงในงบการเงินของกิจการต่าง ๆ . แม้ว่ากฎกติกาของ กลต.สหรัฐส่งผลกระทบต่อผู้บริหารที่มีเงินเดือนสูง ๆ ในบริษัท.

 

การจัดการด้านความเสี่ยง (Risk Management)
CFOs จะต้องเข้ามามีบทบาทเชิงรุกแข็งขันในการจัดการด้านความเสี่ยงของบริษัท. ซึ่งมีหลายมิติสำหรับความเสี่ยงในระดับกิจการ (Enterprise's Risk). CFO จะต้องรับผิดชอบในการวัดประเมินและจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่บริษัทกำลังเผชิญ. การจัดการด้านความเสี่ยงอาจจะเกี่ยวข้องกับการระบุกำหนดถึงการมีของความเสี่ยง การทำงานกับคณะกรรมการบริษัทในการประเมินว่าอะไรเป็นระดับความเสี่ยงที่ยอมรับ (Risk Appetite) และระดับความเบี่ยงเบนของความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) ความเสี่ยงใดที่เก็บงำตระหนักไว้ยอมรับได้ (retain) และความเสี่ยงใดที่จะต้องผ่องจำหน่ายถ่ายโอนออกไป (transfer) การรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อธำรงรักษาความยืดยุ่นของบริษัทในการตอบโต้อันน่าประหลาดใจ. อาวุธ (ปืนใหญ่) ของ CFO สำหรับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป (shifting risk) นอกเหนือการประกันแบบธรรมดาทั่วไป. CFO ในวันนี้จะต้องพร้อมสำหรับเครื่องมือและกลยุทธ์ต่าง ๆ : ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) การโอนความเสี่ยงไปยังทางเลือกต่าง ๆ และรายการทางเงินที่ได้จัดวางโครงสร้างไว้แล้ว. ในบริษัทขนาดใหญ่นั้น ความรับผิดชอบในการจัดการด้านความเสี่ยง อาจจะมีการแจกจ่ายจัดแบ่งหน้าที่ออกไปเป็นส่วน ๆ สำหรับพนักงานระดับสูงที่รับผิดชอบด้านความเสี่ยง (Chief Risk Officer - CRO) หรือเทียบเท่านั้น แต่ถึงอย่างไร CFO จะต้องมีความรับผิดชอบด้านการจัดการและการสื่อสารที่เกี่ยวความเสี่ยงต่าง ๆ ของบริษัท.

       CFO นั้นมีข้อได้เปรียบในการนำเสนอหนึ่งในมุมมองที่ดีที่สุดสำหรับความเสี่ยงขององค์กร. และมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงในระดับกิจการ (Enterprise's Risk) ซึ่งจะช่วยให้ CFO ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และบทบาทด้านการประมาณการ. รัฐบัญญัติ SOx ได้กำหนดแรงจูงใจเพิ่มเสริมสำหรับ CFO ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความเสี่ยง. รัฐบัญญัติ SOx ได้เน้นถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) และสำนึกในความรับผิดรับชอบ (Accountability) บังคับเอาให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นสำหรับ CFO ด้านความโปร่งใสถึงความเสี่ยง  ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงทางธุรกิจ การพัฒนากลยุทธ์เพื่อเผชิญกับความเสี่ยง และการสื่อสารกลยุทธ์เกี่ยวกับความเสี่ยงไปยังคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทในปัจจุบันมีความสำคัญกว่าแต่ก่อนมาก.


 
หน้าที่ 7
หน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจ (Fiduciary Duty)
ความรับผิดชอบที่ทอดยาวจากประเพณีดั้งเดิมและเพิ่มเติมขึ้นสำหรับ CFO นี้ คือหน้าที่ที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบความไว้วางใจให้ CFO แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และมีความภักดีของ CFO และที่บริษัท ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ให้คุณประโยชน์ต่อ CFO. หน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจนี้ กำหนดให้ CFO เล็งเห็นถึงประโยชน์/รักษาประโยชน์ของกิจการและมีความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของรักษาประโยชน์อื่น ๆ รวมทั้งประโยชน์ส่วนตนด้วย. หน้าที่นี้สามารถนำไปใช้กับประเด็นอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการจัดการด้านความเสี่ยง, การควบคุมต้นทุน, การประเมินผลการปฏิบัติงาน, และให้เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบ. กิจการมีผู้ดูแลหลายช่องทางที่ต้องมีการจัดการด้านความเสี่ยง ต้องมีความรับผิดชอบ ทั้งที่เป็นนักบัญชี นักกฎหมาย กรรมการบริษัท และพนักงานต่าง ๆ . อย่างไรก็ตาม CFO นั้นเป็นตำแหน่งหนึ่งเดียวที่ต้องน้อมรับมุมมองและข้อมูลที่มีเพียงพอต่าง ๆ .

       ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทน {agent(s)} และประธาน {Principal(s)} นั้นมีความเป็นทางการในทฤษฎีตัวแทน (Agency theory) ซึ่งจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจของบริษัท - พนักงาน, กรรมการ, และฝ่ายจัดการ และประธาน.01 ในทฤษฎีแล้ว ตัวแทน - พนักงาน, กรรมการ, และผู้จัดการ - มีความรับผิดชอบที่จะต้องตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ประธาน - เจ้าของกิจการ. ในธุรกิจขนาดย่อยนั้น เจ้าของและผู้จัดการมักจะเป็นคน ๆ เดียวกัน. จึงไม่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างเจ้าของและผู้ตัดสินใจ. อย่างไรก็ตามในกิจการขนาดใหญ่ มีการแยกความเป็นเจ้าของกับการตัดสินใจออกจากกัน, และเจ้าของต้องให้ความไว้วางใจกรรมการ พนักงาน และผู้จัดการในความรับผิดชอบที่จะต้องตัดสินใจในนามของพวกเขา. มันมีต้นทุนที่มีความสัมพันธ์เรียงลำดับของความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการจำแนกความเป็นเจ้าของกับการตัดสินใจ. นั่นคือต้นทุนในการเป็นตัวแทน (Agency costs) ซึ่งอาจจะเป็นต้นทุนทางตรง (Direct costs) - เช่น ต้นทุนในการตีพิมพ์และจัดแจกรายงานประจำปี - หรือ ต้นทุนทางอ้อม (Indirect costs) ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองที่จำเป็นต่าง ๆ .

       กลไกในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ที่สำคัญและต้นทุนที่เกี่ยวข้องนั่นเป็น ระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate governance system). มีเรื่องอื้อฉาวทางด้านการเงินมากมายที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ.1990s และต้นปี ค.ศ.2000s ซึ่งเกิดมาจากความล้มเหลวในระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี. ในการสนองตอบต่อเรื่องอื้อฉาวทางการเงินนี้ มีการทบทวนใหม่และเน้นถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ประสิทธิผล. มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ขึ้น - สิ่งสะดุดตาที่สุดคือรัฐบัญญัติ
ซาร์เบนส์-ออกซเลย์ (Sarbanes-Oxley Act) ในปี ค.ศ.2002 - และการเพิ่มแรงกดดันจากชุมชนทางธุรกิจในการเพิ่มทัศนวิสัย (Visibility) และการให้ความสำคัญต่อความสำนึกรับผิดรับชอบ (Accountability) และความรับผิดชอบ (Responsibility) ตลอดทั่วทั้งการกำกับดูแลกิจการดี. การรับรองรายงานทางการเงินต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ต้องอยู่ภายใต้รัฐบัญญัติซาร์เบนส์-ออกซเลย์ ปี ค.ศ.2002 นี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ตัวอย่างในการปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ซึ่งเรียกร้องความสำนึกรับผิดรับชอบจาก CFO.

       CFO ในฐานะที่เป็นพนักงานในองค์กรธุรกิจ จะต้องสนองให้บริการผลประโยชน์ต่าง ๆ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ. ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้รวมถึง สมาชิกในตลาดทุน เจ้าหนี้ต่าง ๆ และบรรดาผู้ถือหุ้น. อย่างไรก็ตามก็ต้องพึงตระหนักถึงการเติบโตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ของธุรกิจด้วย ประกอบด้วย
--------------

01. ดูใน Michael Jensen และ William H. Meckling. "Theory of the Firm: Manageral Behavior, Agency Costs and Ownership Structure," Journal of Financial Economics, 3 (1976), หน้าที่ 305-360.

 
หน้าที่ 8
ซับพลายเออร์ ลูกค้า และพนักงาน.01 บทบาทที่เพิ่มขึ้นของ CFO ได้ขยายขอบเขตกว้างออกไป ไม่เพียงแต่รายการความรับผิดชอบของ CFO แต่รวมถึงขอบเขตหน้าที่ของ CFO ที่มีต่อเจ้าของ เจ้าหนี้ พนักงาน และอื่น ๆ อีกด้วย.


วาระของเรา (Our Agenda)
ในบล็อกนี้ เราได้ Update ประเด็นและเกร็ดต่าง ๆ สำหรับ CFO. เราได้รวบรวมหัวข้อต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับบทบาทเดิม ๆ ของ CFO ไปพร้อม ๆ กับความรับผิดชอบใหม่ ๆ ของ CFO ไว้แล้ว.
  • เราจะเน้นถึงการตัดสินใจเพิ่มทุน (Raising Capital) และโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure) ในส่วนที่หนึ่ง. ได้เพิ่มเสริมการอภิปรายถกถึงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของเงินทุน, ต้นทุนทางการเงิน (Cost of Capital) และคุณค่าของบริษัท (Company Value), เราให้รายละเอียดการจัดหาเงินทุนจากการสร้างหนี้ที่แตกต่างกันไป (the different sources of debt financing) และถกประเด็นที่สัมพันธ์กับการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity Financing), รวมทั้งเงินปันผล (Dividends), การซื้อ (หุ้น) กลับ (repurchases) และประเภทต่าง ๆ ของหุ้น. เราจะถกในเรื่องการเข้าทำรายการโครงสร้างทางการเงิน (Structured financial transactions) - การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) บันทึกเกี่ยวกับโครงสร้าง และการเช่าซื้อ.
  • ในส่วนที่สอง เราจะถกในเรื่องการวางแผนทางการเงิน (Financial planning) และการจัดการด้านความเสี่ยง (Risk Management). โดยเฉพาะเราจะถกกันเรื่องเครื่องมือละกระบวนการต่าง ๆ ซึ่ง CFO อาจจะนำมาใช้จัดการเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งภาษี กระบวนการการจัดการความเสี่ยงขององค์กร (The Enterprise Risk Management - ERM) และกลยุทธ์ต่าง ๆ สำหรับถ่ายโอนความเสี่ยง (Strategies for transferring risk).
  • เราจะถกครอบคลุมถึงการประเมินผลการดำเนินงาน (Performance Evaluation) ในส่วนที่สาม. เราจะเน้นในส่วนที่เป็นอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) และการวิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash Flow Analysis) และการที่ CFO จะใช้มันวิเคราะห์ได้อย่างไรให้เกิดความเข้าใจที่ดีกว่าถึงสภาพทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท. เราจะอภิปรายถึงการบัญชีตามความรับผิดชอบ (Responsibility Accounting), ผลการดำเนินงานตามศูนย์ความรับผิดชอบ (Responsibility Center Performance), และการโอนราคา (Transfer pricing) ในบริบทของการประเมินผลการดำเนินงาน (Performance Evaluation).
  • เราจะมุ่งเน้นในเรื่องการจัดการทรัพย์สิน (Asset Management) ในส่วนที่สี่. เราจะพิจารณาถึงพื้นฐานของกระบวนการจัดทำงบประมาณด้านเงินทุน (The Capital Budgeting Process) ประกอบด้วยการประมาณการกระแสเงินสด (Cash Flow Estimation) และการประเมินกระแสเงินสดในการตัดสินใจ (The Evaluation of Cash Flows in decision Making). เราจะพิจารณาถึงการจัดการเกี่ยวกับสินทรัพย์ระยะสั้นของบริษัท (The Management of the Company's short-term assets) {ตัวอย่างเช่น การจัดการเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management)} และการตัดสินใจเช่าซื้อ.
  • เราจะพิจารณาครอบคลุมถึงประเด็นด้านการบัญชีต้นทุนตามปกติ (The Traditional Cost Accounting) การจัดทำต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Costing) และการจัดการด้านต้นทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Cost Management) ในส่วนที่ห้า. ในหัวข้อนี้ประกอบด้วยการจำแนกต้นทุนต่าง ๆ การควบคุมต้นทุน (Cost Control) การคำนวณต้นทุน (Costing) และการจัดทำงบประมาณหลัก (The Master Budget).
--------------
01. มีตัวอย่างของการเสริมสร้างความตระหนักรู้สำหรับความรับผิดชอบแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ได้จัดทำขึ้นในปี ค.ศ.1999 แห่ง The Dow Jones Sustainability Index (DJSI), ซึ่งเป็นเครื่องเทียบเคียงในการพิจารณาถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี นักลงทุนสัมพันธ์ การจัดการด้านความเสี่ยง Scorecards การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างความพึงพอใจให้พนักงาน และปัจจัยต่าง ๆ อื่น ๆ . การขยายบทบาทของ CFO ประกอบด้วยความรับผิดชอบในหลายมิติของการตัดสินใจ ที่ได้ถูกบันทึกไว้ในดัชนีนี้แล้ว. 


 
humanexcellence.thailand@gmail.com