MENU
TH EN
การเงินกิจการ
การเงินกิจการ01, 02, 03 ตอนที่ 1
(Corporate Finance Session I)
First revision: Dec.28, 2018
Last revision: Jun.05, 2019
แปล รวบรวม เรียบเรียงโดย:
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
  • จากการศึกษาตำราภาษาอังกฤษ คำว่า Corporate Finance กับ Financial Management มีเนื้อหาประเด็นต่าง ๆ ที่เหมือนกัน
 
ส่วนที่ 1
 บทนำ (INTRODUCTION)
 บทที่ 1  กิจการและภาพรวมของการจัดการด้านการเงิน (The Corporation & An Overview of Financial Management)
 บทที่ 2  ตลาดและสถาบันการเงินต่าง ๆ (Financial Markets and Institutions) 
 บทที่ 3  Introduction to Financial Statement Analysis: IFRS
 บทที่ 4  การตัดสินใจทางการเงินและกฎแห่งราคาเดียว (Financial Decision Making and the Law of One Price)
 ส่วนที่ 2
 เวลา, เงิน, และอัตราดอกเบี้ย
(TIME, MONEY, AND INTEREST RATES)
 บทที่ 5  มูลค่าปัจจุบันของเงิน (The Time Value of Money)
 บทที่ 6  อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)
 บทที่ 7  Value Bonds
 ส่วนที่ 3
 การประเมินมูลค่าโครงการและกิจการต่าง ๆ
(VALUING PROJECTS  AND FIRMS)
 บทที่ 8  กฎเกณฑ์การตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ (Investment Decision Rules)
 บทที่ 9  พื้นฐานการจัดทำงบประมาณลงทุนต่าง ๆ (Fundamentals of Capital Budgeting)
 บทที่ 10   Valuing Stocks
 ส่วนที่ 4
 ความเสี่ยงและผลตอบแทน
(RISK AND RETURN)
 บทที่ 11  Capital Markets and the Pricing of Risk
 บทที่ 12  Optimal Portfolio Choice and the Capital Asset Pricing Model
 บทที่ 13  การประมาณการต้นทุนของเงินทุน (Estimating the Cost of Capital)
 บทที่ 14  Investor Behavior and Capital Market Efficiency
 ส่วนที่ 5
 โครงสร้างเงินทุน (
CAPITAL STRUCTURE)
 บทที่ 15  โครงสร้างเงินทุนในตลาดที่สมบูรณ์ (Capital Structure in a Perfect Market)
 บทที่ 16  ภาระหนี้และภาษีต่าง ๆ (Debt and Taxes)
 บทที่ 17  Financial Distress, Managerial Incentives, and Information
 บทที่ 18  นโยบายการจ่ายปันผล (Payout Policy)
 ส่วนที่ 6
 การประเมินมูลค่าขั้นก้าวหน้า
(ADVANCED VALUATION)
 บทที่ 19  Capital Budgeting and Valuation with Leverage 
 บทที่ 20  Valuation and Financial Modelling: A Case Study
 ส่วนที่ 7
 ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายทรัพย์สิน
(OPTIONS)
 บทที่ 21  Financial Options
 บทที่ 22  Option Valuation
 บทที่ 23  Real Options
 ส่วนที่ 8
 การจัดหาเงินทุนระยะยาว
(LONG-TERM FINANCING)
 บทที่ 24  Raising Equity Capital
 บทที่ 25  Debt Financing
 บทที่ 26  Leasing
 ส่วนที่ 9
 การจัดหาเงินทุนระยะสั้น
(SHORT-TERM FINANCING)
 บทที่ 27  การจัดการเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management)
 บทที่ 28  การวางแผนทางการเงินระยะสั้น (Short-Term Financial Planning)
 ส่วนที่ 10
 หัวข้อพิเศษ
(SPECIAL TOPICS)
 บทที่ 29  การควบกิจการ (Mergers and Acquisitions)
 บทที่ 30  การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance)
 บทที่ 31  การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
 บทที่ 32  การเงินกิจการในระดับนานาชาติ (International Corporate Finance)



 
ส่วนที่ 1: บทนำ (INTRODUCTION)

บทที่ 1: กิจการและภาพรวมของการจัดการด้านการเงิน (The Corporation & An Overview of Financial Management)
  • การจัดการด้านการเงินในเอเซียตะวันออกนั้นแตกต่างจากโลกด้านตะวันตก อาจจะด้วยปัญหาการหาเศษหาเลยในการเบิกค่าใช้จ่าย (perquisite consumption) การลงทุนที่เกินตัว (Overinvestment) หรือ การลงทุนที่ต่ำไป (underinvestment) ทำให้ไม่เกิดความประหยัดอันเนื่องมาจากขนาด (Economy of scale) ซึ่งจะลดความมั่งคั่งในส่วนของผู้ถือหุ้นลง การให้หุ้นแก่ซีอีโอและผู้บริหารต่าง ๆ ในองค์กร (stock options) นั้น จากการวิจัยพบว่า จะผลักดันให้ซีอีโออาสาที่จะรับนโยบายด้านความเสี่ยงในการลดมูลค่าการควบกิจการลง (Mergers & Acquisitions - M&As) และการรายงานในงบการเงินที่ไม่ถูกต้องนัก 
  • ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องตัวแทน (Agency problem) ของกิจการในเอเชียมีน้อยกว่าในโลกตะวันตก เช่น ความสัมพันธ์หรือการแย้งกันระหว่างผู้ถือหุ้นกับผู้บริหาร เจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้น เป็นต้น
  • Shareholdings of affiliates การถือหุ้นไขว้กันของกลุ่มบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นที่เรียกว่า "Keiretsu" กลุ่มบริษัทในเกาหลีใต้ที่มีการผูกขาดธุรกิจโดยตระกูลใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า "chaebol" ทำให้มีอำนาจทางการตลาดสูงและได้รับเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารเพิ่มขึ้น
  • สิทธิในการควบคุมกิจการ (Control rights) มีปัญหามากในฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไต้หวัน สมาชิกครอบครัวมีส่วนครอบงำกิจการสูง อาทิ เป็นทั้งกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูง
  • โครงสร้างความเป็นเจ้าของ (Ownership structure) บริษัทในเอเชียตะวันออก จะมีหุ้นส่วนที่เป็นสถาบันและกองทุนนานาชาติในอัตราส่วนที่น้อยกว่าในตะวันตก
  • จากประเด็นข้างต้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ (มีฐานะเหมือนห้างสรรพสินค้า ให้คนทั่วไปซื้อขายหุ้นทุนและหุ้นกู้) หรือ กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - มีฐานะเหมือน Auditor) จะต้องกำกับดูแลออกระเบียบด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) มากยิ่งขึ้น เช่น ข้อจำกัดในการออกเสียงของบริษัทแม่ที่มีต่อบริษัทย่อย การเปิดเผยข้อมูลให้มากขึ้น และกฎระเบียบจำนวนคณะกรรมการอิสระขั้นต่ำที่ต้องมี ทั้งนี้เพื่อให้กิจการเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน
  • สำหรับเป้าหมายของกิจการและผู้จัดการแล้ว ควรที่จะต้องสร้างมูลค่าสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งหมายถึง เพิ่มมูลค่าสูงสุดแก่หุ้น นั่นหมายถึง คุณค่าที่แท้จริงและระยะยาวนั่นเอง. (For corporations, management's goal should be to maximize shareholder wealth, which means "maximizing the value of the stock," we mean the "true, long-run value")
  • ผู้จัดการจะต้องเห็นความสำคัญของจริยธรรม ตระหนักถึงคุณค่าระยาวสูงสุด (การเติบโตอย่างยั่งยืน) และการรับผิดชอบต่อสังคม.
  • การเงินคืออะไร?  "ระบบที่รวมถึงการหมุนเวียนของเงิน การให้สินเชื่อ การลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการธนาคาร - the system that includes the circulation of money, the granting of credit, the making of investments, and the provision of banking facilities." (นิยามจากเว็บสเตอร์ ดิกชั่นนารี่)
  • การศึกษาด้าน Corporate Finance นั้นจะต้องครอบคลุมเนื้อหาพื้นฐานสามเรื่อง คือ 1) มูลค่าของเงินตามเวลา/เวลาเป็นเงินเป็นทอง (Time Value of Money -TVM) 2) การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และ 3) การประเมินค่าหรือการตีราคา (Valuation)
  • ขอบเขตการศึกษา และธุรกรรมด้านการเงินประกอบด้วย 3 ส่วน:
    1. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management)
    2. ตลาดทุนต่าง ๆ (Capital Markets) และ 
    3. การลงทุนต่าง ๆ (Investments)
  • การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) หรือ การเงินองค์กร (Corporate Finance) นั้นจะเน้นการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงินและประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการได้มา, การเพิ่มเงินทุนอย่างไรที่เพียงพอต่อการซื้อสินทรัพย์, และวิธีการดำเนินกิจการเพื่อให้ได้มูลค่าสูงสุด. หลักการนี้ประยุกต์ใช้ได้ทัั้งองค์กรที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร.
  • ตลาดทุนต่าง ๆ (Capital Markets) สัมพันธ์กับตลาดต่าง ๆ ที่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย หุ้นทุนและราคาหุ้นกู้. ศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่อุปทานเงินทุนให้แก่ธุรกิจ. ธนาคาร, ธนาคารเพื่อการลงทุน, โบรกเกอร์ค้าหุ้น, กองทุนรวม, บริษัทประกันภัยต่าง ๆ เป็นผู้รวบรวมเงินทุนไว้ นำไปเป็นอุปทานแก่การลงทุนและธุรกิจต่าง ๆ , ทั้งส่วนบุคคล, และที่เป็นหน่วนธุรกิจรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความประสงค์จะใช้เงินทุนที่หลากหลายวัตถุประสงค์.
  • การลงทุนต่าง ๆ (Investments) สัมพันธ์กับการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นทุนและหุ้นกู้ต่าง ๆ และรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้: (1) การวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Security analysis) (2) ทฤษฎีผลงาน (Portfolio theory) และ (3) การวิเคราะห์ตลาด (Market analysis)  ซึ่งหมายรวมถึงอีกศาสตร์หนึ่งคือ Behavior finance เป็นการพิจารณาศึกษาพฤติกรรมการลงทุน จิตวิทยานักลงทุน
  • รูปแบบธุรกิจ หลัก ๆ คือ หนึ่ง) การเป็นเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorships), สอง) ห้างหุ้นส่วน (Partnerships), สาม) บริษัทต่าง ๆ ที่จำกัดภาระหนี้สิน (Limited liability companies), หรือ บริษัทขนาดใหญ่ หรือ บรรษัท (Corporations). ในสหรัฐอเมริกามีรุปแบบธุรกิจดังนี้ 
    • เจ้าของคนเดียว (Proprietorship) - A unincorporated business owned by one individual. ข้อดีคือ ง่าย การจัดตั้งไม่ยุ่งยาก เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบภาครัฐน้อย ภาษีเงินได้น้อยกว่าบรรษัท (ด้วยเพราะมีรายได้น้อยกว่า) ข้อเสียคือ ไม่จำกัดภาระหนี้ เช่นลูกจ้างขับรถไปชนคน มีค่าเสียหาย สามารถเรียกร้องได้เต็มตามความเสียหาย อายุธุรกิจสั้นเพราะขึ้นอยู่กับเจ้าของ ไม่สามารถระดมทุนขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำได้
    • ห้างหุ้นส่วน (Partnership) - An unincorporated business owned by two or more persons. หุ้นส่วนมีรายได้ การคำนวณเสียภาษีเป็นแบบ Pro rata basis  (สัดส่วน - Proportion) มีข้อเสียคือไม่จำกัดภาระหนี้เหมือนเจ้าของคนเดียว การมีภาระหนี้ไม่จำกัดทำให้มีข้อจำกัดในการระดมทุนจากสถาบันการเงิน
    • บริษัท หรือ บรรษัท (Corporation) - A legal entity created by a state, separate and distinct from its owners and managers having unlimited life, easy transferability of ownership, and limited liability. จำกัดหนี้สินความรับผิดชอบ บริษัทหรือบรรษัท เป็นนิติบุคคลต่างหากแยกจากเจ้าของ
    • บริษัทหรือบรรษัทแบบพิเศษ (S Corporations) - A special designation that allows small businesses to be taxed as if they were a proprietorship or a partnership rather than a corperation. สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาบัญญัตินิติบุคคลประเภทนี้ขึ้นมา ไม่ต้องเสียเงินได้ภาษีนิติบุคคล (The corporate income tax exempted) เสมือนหนึ่งเป็น เจ้าของคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วน ทั้งนี้จะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน 100 คน กำหนดให้มีขนาดเล็ก เจ้าของกิจการส่วนตัว ส่วนบรรษัทขนาดใหญ่ หมายถึง C Corporations.
    • บริษัทจำกัด [Limited liability company (LLC)] - A popular type of organization that is a hybrid between a partnership and a corporation.
    • ห้างหุ้นส่วนจำกัด [Limited liability partnership (LLP)] - Similar to an LLC but used for professional firms in the fields of accounting, law, and architecture. It provides personal asset protection from business debts and liabilities but is taxed as a partnership. ส่วนใหญ่เป็นสำนักงานด้านอาชีพเช่น สำนักงานบัญชี กฎหมาย สถาปนิก
  • ในแง่จำนวนกิจการ รูปแบบการเป็นเจ้าของคนเดียวมีสัดส่วนมากที่สุดคือ 71% ของจำนวนกิจการทั้ังหมด แต่หากพิจารณาในเชิงสัดส่วนของรายได้แล้ว รูปแบบของกิจการที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่นั้น สร้างรายได้มากเป็น 84% ของจำนวนกิจการทั้งหมด.
  • ผังองค์กรของบริษัทขนาดใหญ่โดยทั่วไป (เน้นในส่วนที่เป็น Backoffice) จะเป็นดังนี้
 
  • กฎหมายของสหรัฐอเมริกา (Sarbanes-Oxley Act) เป็นกฎหมายที่ผ่านสภาคองเกรส กำหนดให้ CEO และ CFO ต้องนามรับรองความถูกต้องในงบการเงินของกิจการด้วย.
  • ใบกำหนดหน้าที่งานของ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน หรือ ผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีการเงิน (Chief Financial Officer - CFO Job Description)
     มีสองหน้าที่หลัก ๆ คือ 
  1. วิเคราะห์ ตัดสินใจในเรื่องหลักที่มีผลกระทบในด้านการเงินของบริษัท
  2. ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารของบริษัท โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
     หรือเมื่อพิจารณาภาระงานตามกรอบการตัดสินใจ สามารถแบ่งได้สามภาระงาน ดังนี้
  1. การตัดสินใจลงทุน (Making investment decisions) 
  2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน (Making financing decisions) และ
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับกระแสเงินสดกิจการ (Making the firm's cash flows)
     โดยสองหน้าที่และสามภาระงานหลักข้างต้น มีรายละเอียดดังนี้
  • คำนวณวิเคราะห์ต้นทุนทางการเงิน (Cost of Capital) ขององค์กรให้เหมาะสมกับธุรกิจ
  • ปรับโครงสร้างของเงินทุน (Capital Structure) เพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยใช้องค์ความรู้ในเรื่อง:-
    • วิธีการก่อหนี้สินประเภทต่าง ๆ (Debt Financing)
    • วิธีการระดมทุน (Equity Financing) เช่น จากบุคคลหรือตลาดหลักทรัพย์ฯ
    • การจัดสัดส่วนหนี้สินต่อเงินทุน (Financial Leverage) ที่เหมาะสม
  • กำหนดกรอบการลงทุนประเภทต่าง ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่าง ๆ ภายในบริษัท บริษัทลูก บริษัทร่วมทุน หรือ การลงทุนภายนอกเพื่อหาดอกผลสำหรับเงินสดส่วนเกิน
  • พิจารณาโครงการลงทุน (Project Investment) โดยรวมไปถึง วิธีการหาอัตราผลตอบแทนต่าง ๆ และระยะเวลาคืนทุนที่เหมาะสม
  • พัฒนาตัวแบบ (Model) ในการประมาณการกระแสเงินสด เพื่อนำข้อมูลจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผน
  • คำนวณและวิเคราะห์อัตราการใช้สินทรัพย์ กำลังการผลิต/การให้บริการ (Asset/Capacity Utilization) และหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้เหมาะสม
  • ประสานงาน มีการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินที่สนับสนุนองค์กร พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์กับแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ 
  • วางแผนการรองรับกับความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะ Financial Risks จะต้องออกนโยบาย หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Risk Management & Internal Control)
  • พัฒนาปรับปรุงแนวทาง การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของงานการบัญชีและการเงิน
  • ร่วมมือ รับคำแนะนำจากผู้สอบบัญชีทั้งภายในและภายนอก เพื่อจัดทำงบการเงินทั้งในส่วนบริษัท บริษัทลูกและบริษัทร่วมทุนที่เข้าเกณฑ์ต้องจัดทำงบการเงินรวม (Consolidated Financial Report) ให้ถูกต้อง ทันการณ์และครบถ้วน
  • กำกับดูแล ประสานงาน และร่วมจัดทำงบการเงินทั้งในส่วนบริษัท บริษัทลูกและบริษัทร่วมทุนที่เข้าเกณฑ์ต้องจัดทำงบการเงินรวม (Consolidated Financial Report) ให้เสร็จตามกำหนด
  • ศึกษา วิเคราะห์ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หาแนวทางที่ประหยัด เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงิน และวางแผนภาษี (Tax Planning) เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
  • ศึกษา วิเคราะห์และนำกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายใหม่ ๆ หรือที่มีการแก้ไขปรับปรุง ที่เกี่ยวข้องมาวางแผนใช้งานด้านบัญชีการเงิน
  • งานอื่น ๆ (ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานบัญชีและการเงิน) ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) และตามมติของคณะกรรมการบริษัท. ​​​​​

แปลจาก..CFO: ROLES AND RESPONSIBILITIES, Deloitte, Four Faces of the CFO,
ที่มา: เอกสารประกอบการบรรยาย ของ ผศ.ดร.วิศรุต ศรีบุญนาค,
"CFO's ORIENTATION COURSE FOR NEW IPOs, จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, เมื่อ 26 มกราคม 2562
 
  • และหน้าที่หลักของประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน คือ (The primary tasks of the CFO are)
    1. สร้างความมั่นใจให้ได้ว่าระบบบัญชีได้ประมวลตัวเลข "ที่ดี" ต่อการตัดสินใจภายในธุรกิจและสำหรับนักลงทุน, (to make sure the accounting system provides "good' numbers for internal decision making and for investors,)
    2. สร้างความมั่นใจให้ได้ว่ากิจการมีการใช้เงินทุนอย่างปกติธุระ, (to ensure that the firm is financed in the proper manner,)
    3. ประเมินการดำเนินงานหน่วย ฝ่าย แผนกต่าง ๆ สร้างความมั่นใจให้ได้ว่าหน่วยงานเหล่านั้น มีการปฏิบัติงานเป็นไปตามปรกติ (to evaluate the operating units to make sure they are performing in an optimal manner,) และ and
    4. ประเมินรายจ่ายที่เป็นการลงทุนทุกประเภทนั้น ต้องเป็นการสร้างมูลค่าให้กิจการ (to evaluate all proposed capital expenditures to make sure they will increase the firm's value.)
 
  • เป้าหมายหลักทางด้านการเงิน: สร้างคุณค่าแก่นักลงทุน (The Main Financial Goal: Creating Value for Investors): บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น, ผู้จัดการและพนักงานในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ, วัตถุประสงค์ทางการเงินสูงสุดคือ การเติบโต กำไรต่อหุ้น และส่วนแบ่งตลาด เป้าหมายเหล่านี้จะต้องไม่เหนือกว่าเป้าหมายหลักทางด้านการเงินคือ การสร้างคุณค่าแก่นักลงทุน.
  • ตัวกำหนดหรือปัจจัยต่าง ๆ ของมูลค่า (Determinants of Value):
 
  • คุณค่าภายในที่แท้จริง (Intrinsic value): An estimate of a stocks "true" value based on accurate risk and return data. The intrinsic value can be estimated, but not measured precisely. Intrinsic value is a long-run concept. Management's goal should be to take actions designed to maximize the firm's intrinsic value, not its current market price.
  • ราคาตลาด (Market price): The stock value based on perceived but possibly incorrect information as seen by the marginal investor.
  • นักลงทุนในส่วนที่เพิ่มขึ้น (Marginal investor): An investor whose viws determine the actual stock price.
  • จุดดุลยภาค (Equilibrium): The situation in which the actual market price equals the intrinsic value, so investors are indifferent between buying and selling a stock.
  • ความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร (Stockholder-Manager Conflicts) ต่างก็มีความคาดหวังกันที่จะ Maximize Value ของฝ่ายตน ฝ่ายผู้ถือหุ้นจะมีเครื่องมือในการจูงใจหรือกระตุ้นการทำงานของฝ่ายจัดการด้วยกัน 3 วัน หนึ่ง) รายการเหมาที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนที่เหมาะสม สอง) ไล่ฝ่ายจัดการผู้นั้นออก ที่ผลการดำเนินงานไม่ดี และ สาม) การเข้าครอบครองที่ไม่เป็นมิตร (โดยปรปักษ์) หรือเข้ายึดกิจการเลย
  • รายการเหมาเกี่ยวกับค่าตอบแทน (Compensation Package) 
  • การเข้าแทรกแซงโดยตรงของผู้ถือหุ้น (Direct Stockholder Intervention)
  • การตอบสนองหรือตอบโต้ของฝ่ายจัดการ (Manager's Response)
    • ผู้ตรวจค้นองค์กร (Corporate Raiders): Individuals who target corporations for takeover because they are undervalued.
    • การครอบครองที่ไม่เป็นมิตร (Hostile Takeover): The acquisition of a company over the opposition of its management. 
    • ฝ่ายจัดการต้องพยายามเพิ่มมูลค่าภายในที่แท้จริงให้สูงที่สุด แล้วสื่อสารกับผู้ถือหุ้นอย่างมีประสิทธิผล. ซึ่งจะเป็นเหตุให้มูลค่าภายในที่แท้จริงสูงขึ้น และราคาหุ้นที่ซื้อขายกันก็จะมีราคาเข้าใกล้กับมูลค่าภายในที่แท้จริงตลอดเวลา. (Managers should try to maximize their stock's intrinsic value and then communicate effectively with stockholders. That will cause the intrinsic value to be high and the actual stock price to remain close to the intrinsic value over times.)
  • ความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นกับเจ้าหนี้ (Stockholder-Debtholder Conflicts): ในการระดมทุนของกิจการนั้น มาได้สองแหล่งคือ หนึ่ง) จากเจ้าหนี้ (เงินกู้หรือการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน) สอง) จากผู้ถือหุ้น ซึ่งเจ้าหนี้จะมีบุริมสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยแน่ ๆ ในอัตราที่ตกลงไว้ (แม้ว่าผลการดำเนินงาน จะดีหรือไม่ดี เจ้าหนี้ก็จะรับผลตอบแทนที่เป็นดอกเบี้ยในอัตราเดิมตามที่ตกลงไว้) ส่วนผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนที่สูงหากกิจการดำเนินงานได้ผลดี และจะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำหรือไม่ได้รับเลยหากผลประกอบการไม่ดี ทั้งนี้ CFO จะต้องวางแผนให้ดี กำหนดโครงการ วิเคราะห์ให้เหมาะสม เพื่อประกอบการตัดสินใจ
  • ซึ่งหากมีทางเลือกในการลงทุน เจ้าหนี้มักเลือกโครงการที่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยกว่า ส่วนที่เป็นผู้ถือหุ่นก็มักจะยอมเสี่ยงในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า (หากผลประกอบการดี) ยอมเสี่ยงที่จะขาดทุนหากผลประกอบการขาดทุน (The risker project) นี่เป็นประเด็นที่แย้งกันระหว่างผู้ถือหุ้นกับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้มักพยายามปกป้องตนเองด้วยการมีข้อตกลง (covenant) หรือสัญญา ให้กิจการจำกัดในการก่อหนี้เพิ่มขึ้น.
  • การสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนต่อสังคม (Balancing Shareholder Interests and The Interests of Society): ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกับ "ความมั่งคั่งสูงสุดของผู้ถือหุ้น (Shareholder Wealth Maximization)" ก่อน ซึ่งหมายถึง เป้าหมายทางการเงินพื้นฐานของฝ่ายจัดการของบริษัทจดทะเบียน (ในตลาดหลักทรัพย์ฯ) ที่บ่งบอกถึงการตัดสินใจต่าง ๆ อันจะส่งผลต่อการสร้างมูลค่าหุ้นของกิจการให้สูงสุดในระยะยาว (The primary financial goal for managers of publicly owned companies implies that decisions should be made to maximize the long-run value of the firm's common stock.) แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่เป็นเป้าหมายรวมเบ็ดเสร็จ (at all costs) ของฝ่ายจัดการ โดยจะต้องรวมข้อบังคับที่ต้องประพฤติอย่างมีจริยธรรม และปฏิบัติตามกฎกติกาด้าน การดูแลกำกับกิจการที่ดี (Corporate Governance) อีกด้วย.
  • จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics): กฎกติการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม (Ethics = standards of conduct or moral behavior, Webster's Dictionary) มีกำหนดไว้ในกฎหมาย the Sarbanes-Oxlet Act; 2002 และ the Dodd-Frank Act ที่ผ่านจากสภาคองเกรส
  • Merck บริษัทผู้ผลิตยา ได้วิจัยพบว่ายาของตนชื่อ Vioxx ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ Merck ตัดสินใจให้ข้อเท็จจริงกับผู้ใช้ยา ให้พึงระวัง แม้ว่าจะกระทบต่อยอดขาย แต่ในระยะยาว มูลค่าหุ้นของ Merck ทะยานขึ้นเพราะมี จริยธรรมทางธุรกิจ. 



บทที่ 2: ตลาดและสถาบันการเงินต่าง ๆ (Financial Markets and Institutions) 
  • ก่อนวิกฤตการณ์ทางการเงินใน ปี ค.ศ.2008 มีนวัตกรรมทางการเงิน Subprime mortgaged bonds อันเป็นวิกฤติสินเชื่อซับไพร์ม06 ที่สร้างความเสียหาย ต่อมาก็มีนวัตกรรมที่เป็น ฟินเทค (Fin Tech) มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว การวิเคราะห์ Big Data สังคมออนไลน์ การชำระเงินค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การทำธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้นมาก จากเป็นวัน ก็เป็น ไม่กี่วินาที การซื้อขายออนไลน์คึกคัก แต่ก็เป็นภัยคุกคามต่อสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินต้องพัฒนาเป็น โมบาย เปย์เม้นท์ (Mobile payment), Online money transfer, online lending, investing services, and robot advisors, สถาบันการเงินก็มี Big data to analyze customer demand และให้บริการที่รวดเร็วขึ้นด้วย IT ที่เป็น cloud-based solutions และ open API (Application programming interface) ecosystem. ก่อให้เกิดระบบธนาคารที่ให้บริการเร็วขึ้น 24 ชั่วโมง และ Cross-industry services.
  • ธนาคารเพื่อการลงทุนต่าง ๆ  (Investment Bank)ได้พัฒนาสาธารณูปการด้านดิจิตอลขึ้น เพิ่มธุรกรรมและการลงทุน และขยายขอบเขตประสิทธิภาพของระบบการเงินโลก.
  • มีการสร้างระบบท่าทางการเงินทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก เพิ่มความโปร่งใสของข้อมูลข่าวสาร เพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การประหยัดเวลา และสภาพคล่อง ซึ่งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดและลดการยักย้ายถ่ายเท.
  • กระบวนการจัดสรรเงินทุน (The Capital Allocation Process) ในระบบเศรษฐกิจที่องคาพยพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีการทำงานกันอย่างลงตัว จะมีสามแนวทาง แสดงได้ดังนี้
    • Direct Transfers
    • Indirect Transfers Through Investment Bankers
    • Indirect Transfers Through a Financial Intermediary
  • ประเภทของตลาด (Types of Markets)
    • Spot Markets - The markts in which assets are brought or sold for "on-the-spot" delivery.
    • Future Markets - The markets in which participants agree today to buy or sell an asset at some future date.
    • ตลาดเงิน (Money Markets) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะสั้น คำว่าระยะสั้นในที่นี้หมายความถึงตราสารทางการเงินที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ตัวอย่างของตราสารทางการเงินในกลุ่มนี้ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ระยะสั้น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินอายุต่ำกว่า 1 ปี และบัตรเงินฝาก เป็นต้น (The financial markets in which funds are borrowed or loaned for short periods (les than one year))
    • ตลาดทุน (Capital Markets) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะยาว คำว่าระยะยาวในที่นี้หมายความถึง ตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) พันธบัตร หุ้นกู้ เป็นต้น ตลาดทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะการย้ายของเงินทุน พิจารณาจากเงินทุนที่ได้จากการซื้อขายหลักทรัพย์เข้าสู่มือของผู้ใด โดยแบ่งเป็นตลาดแรกและตลาดรอง. 
    • ตลาดแรก (Primary Markets) สินทรัพย์ทางการเงินที่ซื้อขายกันในตลาดแรกเป็นสินทรัพย์ที่กิจการออกใหม่ เพื่อเป็นการระดมเงินทุนจากผู้มีเงินทุนส่วนเกิน (Surplus Spending Unit - SSU) มายังผู้ต้องการเงินทุน (Deficit Spending Unit -DSU) โดยตรงในตลาดการเงิน กระบวนการนี้อาจเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ การออกตราสารทางการเงินเพื่อเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป หรือที่เรียกว่า Public Offering (PO) และการออกตราสารทางการเงินเพื่อเสนอขายแก่ผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเฉพาะเจาะจง เช่น สถาบันการเงิน กองทุน หรือผู้ลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า Private Placement (PP). 
    • ตลาดรอง (Secondary Markets) เป็นตลาดที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ครอบครองสินทรัพย์ทางการเงินจากตลาดตลาดแรกมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนให้แก่ผู้อื่น กระแสเงินทุนที่เกิดขึ้นในตลาดรองไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ธุรกิจผู้ออกตราสารเหมือนตลาดแรก ตลาดรองนี้ มีทั้งที่จัดตั้งเป็นทางการ (Organized Market) เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange - BEX) และตลาดตราสารอนุพันธ์ (Thailand Future Exchange -TFEX) เป็นต้น และตลาดที่ไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นทางการ (Over-the-counter)
    • Private Markets
    • Public Markets
  • สถาบันการเงินต่าง ๆ (Financial Institutions)
    • Investment Banks
    • Commercial Banks
    • Financial Services Corporations
    • Mutual Funds
    • Money Market Funds
    • Exchange Traded Funds
    • Hedge Funds
    • Private equity companies
  • ตลาดหลักทรัพย์ (Stock Market)


 
 
บทที่ 3: บทนำการวิเคราะห์งบการเงิน: มาตรฐานการรายงานทางเงินระดับสากล
(Introduction to Financial Staement Analysis: IFRS)
+04
  • กิจการจำเป็นจะต้องรายงานสถานะของบริษัท ผลงานที่ผ่านมาต่อสาธารณชน โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ ทั้งที่เป็นผู้ลงทุน ภาครัฐ สถาบันการเงินที่เป็นแหล่งเงินทุนของกิจการ ฯ ผู้คาดหวังจะลงทุน ฯลฯ ที่เรียกรวม ๆ ว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กิจการสามารถรายงานได้ในรูปของรายงานทางการเงิน (Financial report) หรือที่เรียกกันว่า งบการเงินต่าง ๆ  (Financial Statements)
  • เพื่อให้เห็นถึงสุขภาพ สถานะทางการเงิน แหล่งที่มาของเงินทุนและที่ใช้ไปของเงินทุน การลงทุน ผลการดำเนินงาน ฯลฯ เป็นต้น
  • วิธีและรูปแบบการรายงานจำต้องมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับผู้ประกอบการรายอื่น และรายงานของปีที่ผ่าน ๆ มา หน่วยงาน/เกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในระดับสากลที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดมาตรฐานรายงานทางการเงิน และมาตรฐานทางการบัญชีนั้นประกอบด้วย
    • General Accepted Accounting Principle (GAAP)
    • International Financial Reporting Standards (ที่ออกประกาศโดย IASB หรือ International Accounting Standards Board มีสิบประเทศร่วมก่อตั้งในปี ค.ศ.1973 สำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร )
  • ด้วยนักลงทุนต้องการความเชื่อมั่นว่างบการเงินนั้น ได้มีการตระเตรียม จัดทำอย่างถูกต้อง บริษัทต้องว่าจ้างบุคคลที่สามอันเป็นกลาง, นั่นคือ ผู้สอบบัญชี (Auditor) เพื่อตรวจสอบงบการเงินประจำปี เป็นการสร้างความมั่นใจได้ว่า งบการเงินมีความน่าเชื่อถือ ได้มีการจัดทำเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และมีหลักฐานเอกสารที่เป็นข้อมูลสนับสนุนถึงความน่าเชื่อถือ.
 
  • งบการเงินต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) งบดุล หรือ งบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance Sheet or Statement of Financial Position) 2) งบกำไรขาดทุน (Income Statement หรือ Staement of comprehensive income) 3) งบกระแสเงินสด (The Statement of Cash Flows) และ 4) ข้อมูลในงบการเงินอื่น (Other Financial Statement Information) เช่น 4.1) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น (Statement of Changes in Shareholders' Equity) 4.2) การวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis - MD&A) 4.3) หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to the Financial Statements).
  • งบแสดงฐานะทางการเงิน (The Statement of Financial Position) หรืองบดุล (Balance Sheet) ประกอบด้วย
    • สินทรัพย์ (Assets)
    • หนี้สิน (Liabilities) และ
    • ทุน (Shareholders' equity)
  • โดยที่สินทรัพย์ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
    • สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) และ
    • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets)
  • สินทรัพย์หมุนเวียน ประกอบด้วย
    • เงินสด (Cash) หรือ หลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาด (Marketable Securities) 
    • ลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable)
    • สินค้าคงคลัง (Inventories) และ
    • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (Other current assets)
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่เป็นที่ดิน อาคาร เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต จับต้องได้หรือมีตัวตน (Tangible assets) สามารถก่อนประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งปี ซึ่งจะต้องมีการตัดลดทอนการคืนทุนของมันเอง หรือค่าเสื่อมสภาพที่เรียกกันว่าค่าเสื่อมราคา (Depreciation expense) ทุก ๆ ช่วงเวลาที่มีการคำนวณปิดรอบบัญชี เมื่อทบทวีหลายปี หลายรอบบัญชีเข้า ค่าเสื่อมราคาก็จะถูกรวบรวมไว้เรียกว่า ค่าเสื่อมราคาสะสม (Accumulated depreciation) เป็นการรวบรวมค่าคืนทุนหรือค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนี้จนตลอดถึงอายุของสินทรัพย์นั้น. ซึ่งทั้งนี้ที่ดิน (Land) จะไม่มีการหักค่าเสื่อมราคา
  • มูลค่าตามบัญชี (Book value หรือ carrying amount) ของสิ่งปลูกสร้าง โรงงาน และอุปกรณ์ จะแสดงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ (Book value is equal to its acquisition cost less accumulated depreciation).
  • กรณีที่บริษัทได้บริษัทอื่นมา หรืออาจจะได้สินทรัพย์ที่มีตัวตนจำนวนหนึ่ง ซึ่งนำมาแสดงในงบกำไรขาดทุน. ในบางกรณีบริษัทซื้อมาในราคาที่สุงกว่ามูลค่าตามบัญชี ส่วนต่างนี้จะต้องลงบันทึกจำแนกเป็นค่านิยม (goodwill) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (intangible asset) การลดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วยวิธีตัดจำหน่าย (amortization หรือ impairment charge) ซึ่งมีลักษณะเหมือนค่าเสื่อมราคา โดยเป็นค่าใช้จ่ายี่ไม่เป็นเงินสด (Not an actual cash expense)
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (Other non-current assets) คือสินทรัพย์หมุนเวียนรายการอื่น ๆ ที่ไม่เข้าพวกสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ตามลักษณะข้างต้น ไม่เป็นสินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน (จัดตั้งบริษัท - Start-up cost) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาว หรือสิ่งปลูกสร้างที่ถือไว้เพื่อรอจำหน่าย.
  • หนี้สิน (Liabilities)
  • หนี้สิน แบ่งออกเป็น
    • หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) และ
    • หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-current Liabilities)
  • หนี้สินหมุนเวียน จะแสดงอยู่ภายในงบแสดงฐานะทางการเงินกรอบหนึ่งปี (ปีหรือช่วงระยะต่อไป ก็จะเป็นยอดหนี้สินหมุนเวียนชุดอื่น ทดแทนไปตามวิถีธุรกิจ) ประกอบด้วย
    • เจ้าหนี้การค้า (Accounts payable)
    • หนี้สินระยะสั้น (Short-term debt)
    • รายการค้างจ่ายหรือเกณฑ์สิทธิต่าง ๆ (Accrual items) 
  • ส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน กิจการจะเรียกว่า เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital) เป็นเงินทุนที่มีไว้ใช้หมุนเวียนระยะสั้นในกิจการ
  • หนี้สินไม่หมุนเวียน (ระยะยาว) [Non-current (Long-Term) Liabilities]: เป็นหนี้สินที่มีอายุมากกว่าหนึ่งมี มีจำแนกหลัก ๆ ดังนี้
    • หนี้สินระยะยาว (Long-term debt)
    • สัญญาเช่า (ทุน) ซื้อ (Capital leases) ซึ่งเหมือนกันกับสัญญาเช่าการเงิน (Financial leases)
    • ภาษีค้างจ่ายรอจ่ายและรอการตัดบัญชี (Deferred taxes)
  • ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' Equity)
  • เป็นส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์รวม (สินทรัพย์หมุนเวียน + สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน) กับ หนี้สินรวม ส่วนต่างนี้คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น บางทีเรียกว่า Book value of equity.
  • ส่วนของผู้ถือหุ้นนี้ มีไว้เพื่อแสดงการประเมินมูลค่าที่ถูกต้องแท้จริงของกิจการ แต่ช่างโชคร้าย คือ เป็นการประเมินค่าที่เป็นต้นทุนเดิม ๆ (Historical cost) มากกว่าที่จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงในปัจจุบัน.
  • มูลค่าตลาด เทียบกับมูลค่าตามบัญชี (Market Value Versus Book Value): มีสมการแสดงได้ดังนี้

     มูลค่าตลาดในส่วนของทุน (Market Value of Equity)  =  จำนวนหุ้นที่ออก (Shares outstanding) X ราคาตลาดต่อหุ้น (Market price per share)
 
  • ซึ่ง Market Value of Equity มักจะมีผู้หมายถึง มูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของบริษัท หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า "market cap" เป็นมูลค่าที่นักลงทุนไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนที่ผ่านมา การบันทึกบัญชี (Historical cost) แต่คำนึงถึงสิ่งที่นักลงทุนคาดหวังว่าสินทรัพย์นี้จะสร้างผลผลิตขึ้นมาในอนาคตมากกว่า 
  • มูลค่ากิจการ (Enterprise Value) ต้นทุนในการครอบครองธุรกิจ (Take over the business) . นั่นคือมูลค่าของธุรกิจเอง Enterprise value บางครั้งก็เรียก Total enterprise value หรือ TEV โดยสูตรการคำนวณเป็นดังนี้
Enterprise Value   =   Market Value of Equity + Debt - Cash
       ค่าที่ได้หมายถึงมูลค่าของกิจการจริง ๆ  หากใครต้องการครอบครองธุรกิจเบ็ดเสร็จ จะต้องมีต้นทุนเป็นจำนวนนี้ 
  • The enterprise value of a firm is the total value of its underlying (รองรับ) business operations.


งบกำไรขาดทุน (The Income Statement)
  • งบกำไรขาดทุน (Income Statement) หรือ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Statement of comprehensive income) (อ้างถึงใน IFRS คำว่างบกำไรขาดทุน นั่นหมายถึง งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) เป็นรายการที่แสดงรายได้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในช่วงเวลาหรืองวด โดยบรรทัดสุดท้าย (Bottom line) ของงบกำไรขาดทุนจะแสดงให้เห็นรายได้สุทธิของกิจการ (The firm's net income) หรือกำไรสุทธิ (net profit) เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรในแต่ละงวด บางทีก็มักจะเรียกงบนี้ว่า a Profit and Loss statement หรือ P&L statement.
  • รายได้สุทธิ (Net income) ของกิจการ นั่นแปลว่า ส่วนที่กิจการได้รับจริง ๆ (The firm's earnings).
  • การคำนวณกำไรหรือส่วนที่กิจการพึงได้รับ (Earning Calculations) : (Whereas the statement of financial position, or balance sheet shows the firm's assets and liabilities at a given point in time, the income statement shows the flow of revenues and expenses generated by those assets and liabilities between two dates.
  • กำไรขั้นต้น (Gross Profit) - which is the difference between sales revenues and the cost of sales (cost of sales = costs directly related to producing the goods or services being sold, such as manufacturing costs.)
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) - expenses from the ordinary course of running the business that is not directly related to producing the goods or services being sold.
  • กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (Earning before Interest and Taxes - EBIT)
  • กำไรก่อนภาษี (Earnings before tax - EBT) หรือ กำไรก่อนภาษี (Pretax income) ซึ่งเป็นกำไรก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ (profit before taxation), กำไรสุทธิ (Net income) หมายถึง รายได้รวมที่รับมาแสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น มักจะรายงานอยู่บนฐานของกำไรต่อหุ้น (per-share basis) ที่เรียกกันว่า กำไรต่อหุ้น (earning per share - EPS)
  • คำนวณโดย
                                                                                                              กำไรสุทธิ (Net Income)  
                                      กำไรต่อหุ้น - {Earnings per share (EPS)}    =   ......................................................

                                                                                                        จำนวนหุ้นทั้งสิ้น (Share Outstanding)
  • หุ้นสามารถเพิ่มหน่วยขึ้นได้ (increase the number of shares outstanding) วิธีการหนึ่งคือ หุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible bonds), อันเป็นรูปแบบหนึ่งของหนี้ แล้วแปลงหนี้มาเป็นหุ้น.
  • การที่มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลกำไรของกิจการยังเท่าเดิม ทำให้ผลตอบแทนต่อหุ้น ถูกลดทอน ย่อยลง (Dilution) กิจการจะต้องเปิดเผยเป็นรายงานแสดง diluted EPS (กำไรที่ถูกลดทอน ย่อยลง จางลงจากกำไรที่ได้รับ)


งบกระแสเงินสด (The Statement of Cash Flows)
  • ด้วยงบกำไรขาดทุน ไม่ได้แสดงชัดว่า กิจการได้รับเงินสดมาเท่าใด และรายการที่ไม่เป็นเงินสดปรากฎในงบกำไรขาดทุน เช่น ค่าเสื่อมราคา และการค่าใช้จ่ายตัดจ่ายต่าง ๆ (Depreciation & Amortization) และรายการจ่ายบางรายการไม่แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน เช่น การซื้อทรัพย์สิน การซื้อสินค้าคงคลังเข้ามาไว้.
  • ในมุมมองของนักลงทุน ที่พยายามพิจารณาถึงคุณค่าของกิจการ นักลงทุนให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลที่แสดงไว้ในงบกระแสเงินสดมาก มากกว่างบการเงินอื่น ๆ ทั้งสี่ประเภท.
  • งบกระแสเงินสด แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก ๆ คือ 
    • Operating activities
    • Investment activities และ
    • Financing activities

ข้อมูลทางการเงินอื่น ๆ  (Other Financial Statement Information)
  • ประกอบด้วย
          1) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น ( The Statement of Changes in Shareholders' Equity)
                        Change in Shareholders' Equity = Retained Earnings + Net sales of shares
                                                                     = Net Income - Dividends + Sales of shares - Repurchases of shares

          2) คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (The Management discussion and analysis - MD&A), or business and operating review is a preface to the financial statements in which the company's management discuss the recent year's performance, providing a background on the company and any significant events that may have occurred. Management may also discuss the coming year, and outline goals, new projects, and future plans.
              Management should also discuss any important risks that the firm faces or issues that may affect the firm's liquidity or resources. Management is also required to disclose any off-balance sheet transactions, which are transactions or arrangements that can have a material impact on the firm's future performance yet do not appear on the balance sheet. For example, if a firm has made guarantees that it will compensate a buyer for losses related to an asset purchased from the firm these guarantees represent a potential future liability for the firm that must be disclosed as part of the review.  และ


          3) หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to the Financial Statements) เป็นบันทึกที่นอกเหนือจาก 2 กลุ่มข้อมูลข้างต้น เช่น สมมติฐานทางการบัญชีที่สำคัญ ที่ใช้นำมาประกอบการจัดทำงบ รายละเอียด Share-based compensation plans for employees และรายละเอียดประเภทของภาระหนี้ที่กิจการมี รายละเอียดการครอบ การควบกิจการ การ Spin-offs, leases, ภาษี, ตารางการจ่ายชำระหนี้, กิจกรรมการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจกับงบการเงิน.




การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis)

สรุปอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ (A Summary of Key Financial Ratios)
 
 
อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (จากการดำเนินการ) [(Operating) Profitability Ratios]
 1.  อัตรากำไรขั้นต้น [Gross (Profit) Margin]  กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
 --------------------------------
 ยอดขาย (สุทธิ) (Sales
 2. อัตรากำไรจากการดำเนินงาน [Operating (Profit) Margin]  กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT01)
 ---------------------------------------------------------------------
 ยอดขายสุทธิ [(Net) Sales]
 3. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)  กำไรสุทธิ (Net Profit)
 ---------------------------
 ยอดขายสุทธิ [(Net) Sales]
 
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (ภายในกิจการ) [(Internal) Liquidity ratio]
 1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)  สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)
 -----------------------------------------
 หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)
 2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio หรือ Acid-Test Ratio)  เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด02+ ลูกหนี้การค้า
 ----------------------------------------------------------------------
 หนี้สินหมุนเวียน
 3. อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio)  เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
 ----------------------------------------------------
 หนี้สินหมุนเวียน
 
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Ratios)
 1. Accounts Receivable Days Accounts Receivable
--------------------------------
Average Daily Sales
 2. Accounts Payable Days Accounts Payable
-------------------------------------
Average Daily Cost of Sales
 3. Inventory Days Inventory
---------------------------------------
Average Daily Cost of Sales
 4. อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า
    (Accounts Receivable Turnover)
ยอดขายสุทธิ (Annual Sales or Net Sales)
-----------------------------------
ลูกหนี้การค้าถัวเฉลี่ย [(average) Accounts Receivable]
 5. Accounts Payable Turnover Annual Cost of Sales
--------------------------------
Accounts Payable
 6. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) ต้นทุนขาย (Annual Cost of Sales)
----------------------------------------
สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย (Inventory)

 Interest Coverage Ratios
 1. EBIT/Interest Coverage EBIT
----------------------------
Interest Expense
 2. EBITDA/Interest Coverage EBITDA
------------------------------
Interest Expense

อัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงจากการกู้ยืม - Leverage (Gearing Ratios)
 1. Debt-Equity Ratio Total Debt
----------------------------------------------
Book (or Market) Value of Equity
 2. Debt-to-Capital Ratio Total Debt
---------------------------------------------
Total Equity + Total Debt
 3. Debt-to-Enterprise Value Ratio Net Debt
-----------------------------------------
Enterprise Value
 4. Equity Multiplier (book) Total Assets
----------------------------------------
Book Value of Equity
 5. Equity Multiplier (market) Enterprise Value
----------------------------------------
Market Value of Equity

 Valuation Ratios
 1. Market-to-Book Ratio บ้างก็เรียก price-to-book [P/B] ratio03 Market Value of Equity
--------------------------------------------
Book Value of Equity 
 2. อัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น - Price-Earning Ratio (P/E)05 Market Capitalization / Net Income
หรือ
Share Price / Earnings per Share
 3. อัตรามูลค่ากิจการ - Enterprise Value Ratios Enterprise Value04
---------------------------------------------------
EBIT or EBITDA or sales

Operating Returns
 1. Asset Turnover Sales
-----------------------------
Total Assets
 2. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น [Return on Equity (ROE)] กำไรสุทธิ (Net Income)
------------------------------------------
ส่วนของทุนถัวเฉลี่ย หรือ Book Value of Equity
 3. Return on Assets (ROA)06 Net Income + Interest Expense
-------------------------------------------------
Book Value of Assets
 4. อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนรวม
    [Return on Invested Capital (ROIC)]07
EBIT (1 - Tax Rate)
---------------------------------------------
Book Value of Equity + Net Debt
 5. The Dupont Identity ROE = (Net Income/Sales  = net profit margin) * (Sales/Total assets = Asset Turnover) * (Total assets/Book Value of Equity = Equity Multiplier)

หมายเหตุ
01  EBIT หมายถึง Earning before interest and taxes
02  หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด หมายถึง Short-term Investments
03  Market-to-Book Ratio ใช้ในการวิเคราะห์ประเมินกิจการ ว่ากิจการประสบความสำเร็จแค่ไหน มีส่วนเกินจากทุนที่เป็น Historical costs เท่าใด สะท้อนถึงมูลค่าพื้นฐานของกิจการ เทียบกับกิจการที่มีมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการที่ดี.

04  Enterprise Value = Market Value of Equity + Net Debt หรือ Value of all claims on the assets and cash flow of the company.
05  กิจการที่มีความเสี่ยงมากกว่าจะมี P/E ratio ที่ต่ำ
06  The ROA calculation includes interest expenses in the numerator because the assets in the denominator have been funded by both debt and equity investors. 
     As a performance measure, ROA has the benefit that it is less sensitive to leverage than ROE. However, it is sensitive to working capital - for example, an equal increase in the firm's receivables and payables will increase total assets and thus lower ROA. To avoid this problem. we can consider the firm's return invested capital (ROIC).
07  The return on invested capital measures the after-tax profit generated by the business itself, excluding any interest expenses (or interest income), and compares it to the capital raised from equity and debt holders that have already been deployed (i.e., not held as cash). Of the three measures of operating returns, ROIC is the most useful in assessing the performance of the underlying business.





บทที่ 4: การตัดสินใจทางการเงิน และ กฎแห่งราคาเดียว (Financial Decision Making and the Law of One Price)
  • หลักการการประเมินค่า (Valuation Principle) และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present value -NPV) อำนาจชี้ขาด (arbitrage) เป็นกลยุทธ์ที่ให้เราสำรวจสถานการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนต่าง ๆ ที่มีราคาเปิดเผยในสาธารณะ ว่าเรายืนยันกับราคานี้หรือไม่? ด้วยการเสนอซื้อขายนั้นมีความรวดเร็วมาก นักลงทุนหรือเทรดเดอร์จะได้รับประโยชน์จากการ Arbitrage นี้ ดังนั้น กฎแห่งราคาเดียว จึงมีความสำคัญมากในศาสตร์ด้านการเงินธุรกิจ.
  • หลักการประเมินค่า (Valuation Principle) มูลค่าสินทรัพย์ของกิจการหรือของนักลงทุนนั้น ถูกกำหนดโดยราคาตลาดที่มีการแข่งขัน. ประโยชน์และต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจ จะถูกประเมินโดยใช้ราคาตลาด, และเมื่อมูลค่าของประโยชน์ที่ได้รับสูงกว่าต้นทุนแล้ว, การตัดสินใจนี้จะเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้แก่กิจการ. (The value of an asset to the firm or its investors is determined by its competitive market price. The benefits and costs of a decision should be evaluated using these market prices, and when the value of the benefits exceeds the value of the costs, the decision will increase the market value of the firm.)


อัตราดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา หรือ เวลาเป็นเงินเป็นทอง  (Interest Rates and the Time value of Money)
  • ความแตกต่างในมูลค่าของเงินในวันนี้กับเงินในอนาคต นั่น คือ Time value of momey (The difference in value between money today and money in the future = Time value of money).
  • อัตราดอกเบี้ย คือ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างช่วงเวลา (The Interest Rate: An Exchange Rate Across Time)



 
ส่วนที่ 2: เวลา, เงิน, และอัตราดอกเบี้ย (TIME, MONEY, AND INTEREST RATE)

บทที่ 5: มูลค่าปัจจุบันของเงิน (The Time Value of Money)

5.1  The Timeline
5.2  The Three Rules of Time Travel
5.3  Valuing a Stream of Cash Flows
5.4  Calculating the Net Present Value
5.5  Perpetuities and Annuities
5.6  Using an Annuity Spreadsheet or Calculator
5.7  Non-Annual Cash Flows
5.8  Solving for the Cash Payments
5.9  The Internal Rate of Return
 




หมายเหตุและคำอธิบาย
01.  ใช้หนังสือ Corporate Finance, Third Edition; Global Edition, Jonathan Berk และ Peter DeMarzo (ทั้งสองท่านเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา), สำนักพิมพ์ PEARSON, 2014 เป็นหนึ่งในสองหนังสือหลักในการแปลและอธิบาย.
02.  ใช้หนังสือ Essentials of Financial Management; Fourth Edition, Eugene F. Brigham (ปัจจุบันท่านเป็น President ของ Financial Management Association หนังสือของท่านใช้สอนมากกว่าพันมหาวิทยาลัยในสหรัฐ และมีการแปลถึง 11 ภาษาจัดจำหน่ายทั่วโลก), Joel F. Houston (ท่านจบ Wharton School of Finance แห่ง University of Pennsylvania, ท่านเคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำ Federal Reserve Bank), Jun-Ming Hsu (ท่านเป็นชาวไต้หวัน เขียนบทความเกี่ยวกับ International Finance ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ที่ National Chung Hsing University ไต้หวัน), Yoon Kee Kong (ท่านเป็นชาวสิงคโปร์ จบดุษฎีบัณฑิต CFA, FRM ปัจจุบันท่านบรรยายอยู่ที่ Nanyang Technical University สิงคโปร์ ท่านเชี่ยวชาญด้าน Capital markets, equities, foreign exchange, future, options, financial engineering and structuring และ Risk management) และ A. N. Bany-Ariffin (ท่านจบ DBA ที่ National University of Malaysia ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์ที่ Universiti Putra Malaysia), สำนักพิมพ์ CENGAGE, สิงคโปร์, 2018 เป็นหนังสือหลักเล่มที่สองในการแปลและอธิบาย
03.  ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์: หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (Securities Investment Consultant), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 21, พฤศจิกายน 2557. 
04.  การวิเคราะห์งบการเงิน: เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน, Certified Investment and Securities Analyst Program (CISA Level 1), รศ.ดร.อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 7 พฤศจิกายน 2559.
05.  คู่มือ (Manual Guides), SETSMART: SET Market Analysis and Reporting Tool, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, เวอร์ชั่น 2.2 ปรับล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2561. 
06.  วิกฤติสินเชื่อซับไพร์ม (Subprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ และยังรู้จักกันในชื่อ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จุดเด่นของวิกฤตินี้คือการที่ความคล่องตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลกและระบบธนาคารลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา การกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง และระดับหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงเกินไป วิกฤติครั้งนี้มีผลหลายขั้นและค่อย ๆ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินและระบบการควบคุมทั่วโลก
วิกฤติครั้งนี้เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาแตก และการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ผู้กู้ยืมนั้นกู้ยืมสินเชื่อที่เกินกำลังโดยคิดว่าตนจะสามารถปรับโครงสร้างเงินกู้ได้โดยง่าย เพราะในตลาดการเงินนั้นมีมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ต่ำลง ผู้ปล่อยกู้เสนอข้อจูงใจในการกู้ยืม เช่นเงื่อนไขเบื้องต้นง่าย ๆ และแนวโน้มราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทว่าการปรับโครงสร้างเงินกู้กลับเป็นไปได้ยากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้นและราคาบ้านเริ่มต่ำลงในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ในหลายพื้นที่ในสหรัฐ การผิดชำระหนี้และการยึดทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมดเงื่อนไขเบื้องต้นอย่างง่าย ราคาบ้านไม่สูงขึ้นอย่างที่คิด และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มสูงขึ้น การยึดทรัพย์สินในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 และทำให้ปัญหาทางการเงินนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551
ธนาคารและสถาบันทางการเงินที่สำคัญทั่วโลกรายงานยอดการขาดทุนที่สูงกว่า 4.35 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 18 เมษายน 2562.
info@huexonline.com