คำทับศัพท์ |
คำอธิบาย |
OKRs |
OKRs ย่อมาจาก Objectives and Key Results ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า วัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สำคัญ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 รูปแบบ คือ OKRs ที่ต้องทำ (Committed OKRs) และ OKRs ที่อยากทำ (Aspirational OKRs) |
CFRs |
CFRs เป็นตัวย่อที่มาจากศัพท์ 3 คำคือ
การสนทนา (Conversation) คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างแท้จริงระหว่างสองฝ่าย โดยมุ่งเป้าไปที่การขับเคลื่อนผลการดำเนินงาน
การฟีดแบค (Feedback) จะเป็นการสื่อสารแบบสองทิศทางหรือภายในเครือข่าย ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อประเมินความก้าวหน้า และแนะนำการปรับปรุงการทำงานในอนาคต
การชื่นชมยกย่อง (Recognition) เป็นการแสดงออกถึงความชื่นชมต่อบุคคล สำหรับการมีส่วนร่วมในทุก ๆ ด้าน. |
Committed Goal |
วัตถุประสงค์ที่ต้องทำ เป้าหมายในกลุ่มนี้คือตัววัดต่าง ๆ ของกูเกิลที่ต้องทำเป็นเรื่องปกติในธุรกิจอยู่แล้ว เช่น การออกผลิตภัณฑ์ การจองล่วงหน้า การจ้างงาน และเรื่องลูกค้าซึ่งฝ่ายบริหารจะกำหนดให้วัตถุประสงค์เหล่านี้ไว้ในระดับบริษัท ส่วนพนักงานจะถูกกำหนดให้วัตถุประสงค์ไว้ที่ระดับบริษัท ส่วนพนักงานจะถูกกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ที่ระดับแผนก สำหรับตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ต้องทำ เช่น เป้าหมายการขายและรายได้ จะต้องได้ตามเป้า 100% ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายในเวลาที่กำหนด. |
Aspiration Goal |
วัตถุประสงค์ที่อยากทำ เป้าหมายในกลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นภาพที่ใหญ่กว่า มีความเสี่ยงสูงกว่า เป็นเรื่องการเติบโตในอนาคตขององค์กร วัตถุประสงค์กลุ่มนี้เกิดจากคนไหน หน่วยงานไหน ระดับไหนในองค์กรก็ได้ พูดง่าย ๆ คือใครนำเสนอวัตถุประสงค์ประเภทนี้ขึ้นมาก็ได้ วัตถุประสงค์ข้อนี้เมื่อกำหนดแล้วจะต้องระดมสรรพกำลังจากคนทั้งองค์กรมาช่วยกัน เพราะถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ๆ ยากมาก ๆ ที่จะทำให้สำเร็จได้เพียงคนบางส่วนขององค์กร ดังนั้น วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายประเภทนี้โดยเฉลี่ยแล้วจะล้มเหลวประมาณ 40% ของเป้าหมายในกลุ่มนี้ทั้งหมด เป้าหมายประเภทนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของกูเกิลไปแล้ว. |
MBO |
การจัดการตามวัตถุประสงค์ หรือ MBO (Management by Objectives) ถูกพัฒนามาตั้งแต่ทศวรรษ 1960s โดย ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ (ปรมาจารย์ด้านการจัดการ) เป็นกระบวนการที่เรารู้จักและองค์กรชั้นนำที่ทันสมัยหลายแห่งได้นำมาใช้ และองค์กรหนึ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ ฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด |
iMBO |
แอนดี้ โกรฟได้นำแนวคิด MBO (Mangement by Objectives) ที่ถูกพัฒนามาแล้วนั้น ได้พยายามนำข้อจำกัดต่าง ๆ ของ MBO มาปรับให้ดีขึ้นโดยตัว i มาจากคำว่า อินเทล ในช่วงแรกของการใช้งานจึงเรียกว่า iMBO และถือว่าเป็นต้นแบบของแนวคิด OKRs |
10x |
การเติบโตเป็น 10 เท่า (10x) หรือการเห็นผลลัพธ์แบบ 10 เท่านั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ได้ยินเป็นอย่างมากในวงการสตาร์ต-อัพ เนื่องมาจาก VC (Venture Capitalist) ต้องการลงทุนในสตาร์ต-อัพ ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด และสร้างผลตอบแทนอย่างต่ำ 10 เท่าขึ้นไป สตาร์ต-อัพจึงต้องสามารถระบุตลาดหัวหาด และแยกแยะออกมาให้ชัดเจนว่า Total Addressable Market นั้นมีขนาดเป็นเท่าไหรของ Total Market ลักษณะตลาดและการเติบโตเป็นอย่างไร และอะไรเป็น Key Drivers ของตลาดนั้น. |
Feedback |
การให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อให้เกิดการพูดคุยกันเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความรู้สึกซึ่งกันและกัน และถือว่าเป็นการสื่อสารแบบสองทิศทาง หรือภายในเครือข่ายระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อประเมินความก้าวหน้า และแนะนำการปรับปรุงการทำงานในอนาคต. |
Superpowers |
อาจมีความหมายว่า สิ่งวิเศษ พลังวิเศษ หรือ พลังมหัศจรรย์ ก็ได้ แต่ผู้เขียนใน 03 ขอทับศัพท์คำว่า Superpowers ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบคือ โฟกัส (Focus) สอดคล้อง (Align) ติดตาม (Track) และการเพิ่มความท้าทาย (Stretch) |
Dialogue |
การสนทนาแบบไดอะลอก เป็นการรับฟังวิธีคิด วิธีการให้คุณค่า ความหมายของคนอื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ละทิ้งสิ่งที่แต่ละคนยึดถือ เพื่อก้าวข้ามพรมแดนแห่งตัวตนไปพร้อม ๆ กัน โดยใน 03 จะให้ความหมายคือทักษะและศิลปะการพูดคุยแบบเปิดกว้าง. |
Reflection |
กระบวนการสะท้อนกลับ ซึ่งเปรียบเสมือนกระจกที่จะช่วยให้เราเห็น และจัดระบบระเบียบความคิดให้เข้าที่เข้าทาง. |
Moore's Law |
กฎของมัวร์ เป็นกฎที่อธิบายถึงแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ โดยระบุว่า จำนวนของทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิป จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ สองปี ซึ่งกฎนี้ตั้งชื่อตามเจ้าของทฤษฎีคือ กอร์ดอน มัวร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล. |
Moonshot |
เป้าหมายที่มีความท้าทายสูงมาก เปรียบเสมือนการยิงจรวดขึ้นไปยังดวงจันทร์ เพราะเมื่อคุณตั้งเป้าจะไปให้ถึงดวงจันทร์ ถึงแม้คุณจะไปไม่ถึง แต่คุณก็ยังเอื้อม (คว้าอากาศ) ไปยังดวงดาวได้. |
Disruptive/Disruption |
Disrupt หมายถึง ขัดขวาง กีดขวาง หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงให้เปลี่ยนไปจากสภาวะที่ดำรงอยู่ การเรียกเทคโนโลยีใหม่ ๆ ว่า Disruptive Technologies มิได้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นอยู่ ประการสำคัญก็คือกระทบต่อการทำมาหากิน ธุรกิจ การดำเนินชีวิตของผู้คน ฯลฯ. |
BHAG |
(อ่านว่า bee - hug) เป็นแนวคิดที่กล่าวไว้ในหนังสือ Built to Last เขียนโดย จิม คอลลินส์ และ เจอร์รี ไอ. พอร์ราส และ Balanced Scorecard Diagnosis เขียนโดย Paul R. Niven มาจากคำเต็มว่า Big Hairy Audacious Goal คือ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ต้องมีการอธิบายเพิ่มเติม ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถเห็นเป้าหมายตรงกัน และต้องเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย ที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง มีความกระตือรือร้นอยากให้บรรลุเป้าหมายนั้น. |