MENU
TH EN

LT002. วัดพระโต (พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) - อุบลราชธานี ประเทศไทย


Title Thumbnail & Hero Image: พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ไม่ทราบปีที่ถ่าย Cr.ผู้ถ่ายภาพ, Facebook เพจ "กลุ่มศิลปะวัฒนธรรมประเพณีประวัติศาสตร์ลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," โดยผู้ใช้นามว่า รังสรร เหมัน, วันที่เข้าถึง 15 สิงหาคม 2564
LT002. วัดพระโต (พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) - จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย01,02,03.
First revision: Aug.15, 2021
Last change: Aug.15, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย 
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือ พระเจ้าอินทร์ใส่โสม วัดพระโต บ้านปากแซง ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ประวัติพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาวขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร แท่นบูชาสูง 1.19 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.1880 พระพุทธรูปที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาประชาชนคนไทยและจากคนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว).

       ซึ่งเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ตลอดมา จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญมึงการนมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ระหว่างวันขึ้น 9 ค่ำถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปีและจะมีประชาชนทั่วทุกสารทิศทั้งไทยลาวได้หลั่งไหลมานมัสการจำนวนมาก.

       ประวัติการสร้างพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมีเพียงการบันทึกจากคำบอกเล่าของคนแก่ที่ได้เล่าสืบทอดกันมา มีกษัตริย์ (ข้อมูลเบื้องต้นใช้คำว่ากษัตริย์ขอม) พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าพระยาเเข้วเจ็ดถัน ได้เสด็จล่องเรือมาตามลำแม่น้ำโขงในฤดูฝนพอถึงบ้านปากแซงก็ค่ำลงจึงได้หยุดประทับแรม 1 คืนวันรุ่งขึ้นพระองค์ได้เสด็จไปยังหมู่บ้านแล้วได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้าน ในสมัยนั้นพระยาเเข้วเจ็ดถันได้ตัดถามถึงประวัติหมู่บ้านเจ้ากวนได้เล่าให้ฟังว่าบ้านนี้มีหาดสวยงามกว้างใหญ่ในฤดูแล้งหาดทรายจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำและหาดทรายแห่งนี้มีสิ่งอัศจรรย์อยู่คือถ้าปีใดหาดทรายโผล่ขึ้นเนื้อผิวน้ำระหว่างหมู่บ้านประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข. เมื่อพระองค์ได้ทราบก็เกิดศรัทธาในใจว่าสักวันหนึ่งจะย้อนกลับมาสร้างหมู่บ้านนี้ให้เป็นเมือง.

       ในราวปี พ.ศ.1154 พระองค์ก็ได้เสด็จมาพร้อมข้าทาสบริวารเป็นจำนวนมากเมื่อพระองค์เสด็จมาก็ได้มอบให้เจ้าแสง (สันนิษฐานว่าเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างพร้อมกันนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่งซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณปี พ.ศ.1180 และขนานนามว่าพระอินทร์ใส่โสม  (ต่อมาเรียกว่าพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) เมื่อเจ้าแสงถึงแก่กรรมลงชาวเมืองได้สร้างหอหลักเมืองขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และขนานนามว่าหอแสง.

       ต่อมาวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้างจนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวแล้วได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นอีกครั้ง และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดพระโตจนถึงปัจจุบัน.




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01ปริวรรตจาก. Facebook เพจ "กลุ่มศิลปะวัฒนธรรมประเพณีประวัติศาสตร์ลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," โดยผู้ใช้นามว่า รังสรร เหมัน, วันที่เข้าถึง 15 สิงหาคม 2564.
02ปริวรรตจาก. Esanpedia.oar.ubu.ac.th, วันที่เข้าถึง 15 สิงหาคม 2564.
03. จาก. 108prageji.com, วันที่เข้าถึง 15 สิงหาคม 2564.


 
humanexcellence.thailand@gmail.com