MENU
TH EN

เยือนภารตะ: ชมความศรัทธาอันประจักษ์ในกลุ่มถ้ำเอลโลร่า กลุ่มถ้ำอชันตา และถ้ำเอเลเฟนตา รัฐมหาราษฏระ

Hero Image & Title Thumbnail: ผมกับภาพสลักหินพระตรีมูรติ ซึ่งเป็นมหาเทพในโถงถ้ำประธาน ของถ้ำเอเลเฟนต้า มุมไป รัฐมหาราษฏระ ถ่ายไว้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.
เยือนภารตะ: ชมความศรัทธาอันประจักษ์ในกลุ่มถ้ำเอลโลร่า กลุ่มถ้ำอชันตา และถ้ำเอเลเฟนตา รัฐมหาราษฏระ
First revision: Dec.9, 2024
Last change: Dec.21, 2024
บรรยายการท่องเที่ยว นมัสการสิ่ง/สถานที่ที่ศรัทธาพึงเคารพสักการะโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
หน้าที่ 1
       ผมเดินทางไปภารตะอีกครั้ง ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สาม เพื่อชมความมหัศจรรย์ของถ้ำเอเลเฟนต้า กลุ่มถ้ำเอลโลร่า และกลุ่มถ้ำอชันตา ที่รัฐมหาราษฏระ ภารตะ ระหว่างวันที่ 6-12 พฤศจิกายน 2567 โดยไปกับคณาจารย์จากคณะมัณฑนศิล์ป มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งคณะฯ รวม 26 ท่าน รวม 7 วัน 5 คืน ค่าทัวร์พักเดี่ยวรวมทุกอย่างพร้อมทิปไกด์ท้องถิ่น (คุณวิชาญ) ราว 67,000 บาท.

วันแรก วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567
 ช่วงเวลา  รายละเอียดกำหนดการ  หมายเหตุ และอื่น ๆ
 16:00 น.  คณะฯ (ราว 26 ท่าน) พร้อมกันที่ชั้น 4 ประตู 3 เคาน์เตอร์การบินไทย มีเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ   ผมได้เตรียมกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องบิน ไม่เกิน 20 kg. และ Power Bank นำขึ้นเครื่องฯ 15,000 mAh (milli-Ampere-hour - ซึ่งต่ำกว่า 20,000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้) เตรียมปลั๊กแบบสามรู มา 3 อัน เตรียมอาหารแห้ง น้ำปลา หมูหยอง น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาย่าง เกี่ยมฉ่ายแบบไทย ๆ ไปด้วย
 และเตรียมกล้องพระเอก Nikon Zf พร้อม Zoom Lens จัดเต็ม เสื้อกันหนาว หยูกยาที่จำเป็นพร้อม สตังค์แลกเป็นรูปี และซื้อยาหม่องตราลิงถือลูกท้อ พร้อมทิป หากเดินเข้าสถานที่สำคัญต่าง ๆ .
 18:55 น.  คณะฯ ออกเดินทางสู่สนามบินฉัตราปตีศิวะจี ภารตะ เมืองมุมไบ (หรือบอมเบย์) รัฐมหาราษฏระ โดยการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 317  รับบริการอาหารเย็นบนเครื่องบิน
 22:00 น.  ถึงสนามบินฉัตราปตีศิวะจี เมืองมุมไบ ตรวจคนเข้าเมือง เดินทางเข้าสู่ที่พักโรงแรม Hotel Kohinoor Continental เมืองมุมไบ ระดับ 4 ดาว  เวลาในภารตะช้ากว่าไทย 1:30 ชั่วโมง
   รับคีย์การ์ดเข้าที่พัก ห้องพักดีมาก สะดวกสบาย แอร์เย็นฉ่ำ เสียบปลั๊กสามรู ต่อกับที่ชาร์ทแบต เรียบร้อย อาบน้ำอาบท่า พักผ่อนเล็กน้อย แล้วหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย  ได้รู้จักไกด์ท้องถิ่นชื่อวิชาญ อุตส่าห์เดินทางมาจากเมืองพาราณสีมายังเมืองมุมไบ ร่วม 1,500 กิโลฯ. ได้สอนคำทักทายประจำวันดังนี้
 สวัสดีตอนเช้า -- ศุภประภาส (Suprabhaat)
 สวัสดีตอนกลางวัน -- นมัสการ (Namaskar)
 สวัสดีตอนเย็น -- ศุภสนธยา (Shub Sundhyaa) หรือ สนธยาวันทัน (Sandhya vandan)
 สวัสดีตอนกลางคืน -- ศุภราตรี (Shub Raatri).
  1.
       มาถึงเมื่อคืนหากดูตามเวลาเมืองไทย ก็ราวเที่ยวคืนดึกมาก มีสองประเด็นที่ควรกล่าวถึงคือ

       หนึ่ง) แถวคิว ตม. เข้าเมืองของนักท่องเที่ยวต่างประเทศยาวเหยียด การตรวจค่อนข้างช้า ผมสันนิษฐาน อนุมานเอาว่า......
เอาแล้ว โดนัลด์ ทรัมฟ์ จะได้เป็นประธานาธิบดี สหปาลีรัฐอเมริกา แกเน้น America comes first...!!!
และอินเดีย ภารตะ ก็อยู่ในกลุ่ม BRICS - Brazil Russia India China และ South Africa คนละขั้วกัน ....คงตรวจเช็คหนักเรื่อง Spy สายสืบ
เพราะตอนนี้มีช่องว่างแทรกเข้าเมือง ในช่วงเปลี่ยนผ่าน คงต้องเช็คคนเข้าประเทศให้ละเอียด.

       สอง) โรงแรมที่พักชื่อ Kohinoor อยู่กลางกรุงมุมไบ หรือ บอมเบย์ มหาโคตรเพชร "โคอินัวร์"

โคตรเพชร "โคอินัวร์-Kohinoor", ที่มา:https://voices.shortpedia.com/, วันที่เข้าถึง: 10 ธันวาคม 2567.
 
ซึ่งมีประวัติยาวเหยียด เป็นของภารตะมาหลายยุคสมัย ท้ายสุดมาอยู่บนยอดมงกุฎราชินีวิคตอเรีย แห่งจักรวรรดิอังกฤษและบริเทนใหญ่
ตอนนี้เก็บไว้ที่ Tower of London เฮี้ยนมากกกก มีประวัติคำสาป สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ทั่วไป.
     
       รถราในตัวเมืองมุมไบ ติดมาก บีบแตรกันเป็นระยะ กว่าจะเข้าที่พักหัวถึงหมอนจริง ๆ ก็เกือบตีสอง.

 

ประติมากรรมโลหะเป็นรูปช้างสองเชือก ในอาคารผู้โดยสารใหม่ (SAT-1) สนามบินสุวรรณภูมิส่วนขยาย, ถ่ายไว้เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2567.
1.
วันที่สอง วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567
 ช่วงเวลา  รายละเอียดกำหนดการ  หมายเหตุ และอื่น ๆ
   ผมตื่นแต่เช้าราวตี 4 อ่านหนังสือ เขียนไดอะรี่ และเนื้อหาอื่น ๆ ลง Website ทำธุระส่วนตัว ชาร์ทแบต ลงมาเดินในตัวโรงแรม แล้วทานอาหารเช้าในโรงแรม ซึ่งออกแนวมังสะวิรัติ มีนม มีไข่เสริม เรียนตรง ๆ ไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร แต่ดูคุณภาพอาหารค่อนข้างดี ทานร่วมกับเพื่อน ๆ ในทริป ทำความรู้จัก
 - สักพัก ผมก็ขอตัวไปอาบน้ำแต่งตัว 
 
09:00 น.  ล้อรถหมุน ไกด์ก็กล่าวกำหนดการในวันนี้ ให้สมาชิกในคณะฯ แนะนำตัว ทำความรู้จักกัน.
 - คณะฯ มายังพิพิธภัณฑ์ฉัตรปาตี ศิวจี มหาราช วัสตุ สังเคราะหลัย (CSMVS - Chhatrapati Shivaji Maharaj Vastu Sangrahalaya) หรือพิพิธภัณฑ์ Prince of Wales ซึ่งมีโบราณวัตถุที่รวบรวมมาจากหลายพื้นที่ในภารตะ และมีภาพเขียนด้วยสีประเภทต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
 ด้วยผมเคยมาพิพิธภัณฑ์นี้มาแล้วเมื่อปีกลาย ผมเลยมุ่งไปถ่ายภาพส่วนที่ยังขาด คืนด้านขวาชั้นสองของอาคาร จะมีภาพเขียนมากมาย ส่วนในเป็นเรื่องของพระกฤษณะและนางราธา อาวุธสงครามในยุคต่าง ๆ 
 เที่ยง  หลังจากชมพิพิธภัณฑ์เสร็จ ก็ขึ้นรถมาใกล้ ๆ ย่านประตูสู่อินเดีย (Gateway of India) รถเยอะมากต้องแวะจอดให้คณะฯ ลงไปรับประทานอาหารเที่ยงที่ภัตตาคารจีน แล้วรถก็จะวนมารับเราเมื่อทานเสร็จ
 อาหารดีมาก มีพริกน้ำปลา มีน้ำพริกเสริม ถูกปาก ได้คุยกับเพื่อน ๆ ในทริป ชักคุ้นกันแล้วหลายท่านเจตคติ สารเคมีตรงกัน คุยกันได้ออกรส.
 - ทางไกด์ได้นำคณะฯ ชมความงามของนครลอนดอนแห่งภารตะ มีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมงดงาม เมื่อช่วงอังกฤษปกครองภารตะ มีทั้งแบบโกธิค แบบภารตะผสมอาหรับ เช่น สถานีรถไฟวิคตอเรียเทอร์มินัล ที่ทำการรัฐบาลและอาคารมหาวิทยาลัย (ไม่ได้เข้าชม เพียงเป็นโบรชัวร์ กำหนดการเท่านั้น)
 - ชมประตูสู่อินเดีย (Gateway of India Mumbai) ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลอาระเบียน ซึ่งพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เสด็จเยือนภารตะในปี ค.ศ.1911 ซุ้มประตูนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะโรมันและภารตะและอาหรับเข้าด้วยกัน.
 
(เครดิตภาพ - เพื่อน ๆ ในทริป)
 ช่วงบ่าย  จากนั้นรถก็มาส่งคณะฯ ณ จุดที่ใกล้ประตูสู่อินเดีย แล้วมารอเตรียมขึ้นเรือเพื่อไปเกาะช้าง (Elephanta) อากาศร้อนอบอ้าว พอขึ้นเรือก็หาที่นั่งกับตามอัธยาศัย สนุกดี คนเยอะเต็มลำ เรือใช้เวลาเดินกว่าชั่วโมง ก็มาถึงเกาะเอเลเฟนต้า
 ยังมีรถไฟเล็ก ๆ Local Made วิ่งได้ระยะทางราวกิโลฯ เศษ เพื่อเชื่อมต่อไปยังเชิงเขาเอเฟนต้า แปลกดี ระยะทางสั้น ๆ ตอนรอขึ้นรถไฟแดดก็ร้อน ซึ่งความจริงเดินเอาก็ได้ หรือทางภาครัฐก็ทำเป็นหลังคาคลุมทางเดินไว้ แต่พอคิดอีกมุมหนึ่ง การทำรถไฟสายสั้น ๆ ก็สามารถเก็บสตังค์ได้.
 - คณะฯ เดินขึ้นเนินเขาอีกเล็กน้อยก็ถึงถ้ำเอเลเฟนต้า คนเยอะมาก มีลิงป่ายปีนกันตามสมควร ทะเลาะกันบ้างโครม ๆ บนหลังคาสังกะสีของร้านรวงข้างทาง
 - ไกด์วิทยากรก็ได้บรรยาภาพสลักหินทรายตามจุดต่าง ๆ
 - ผมเดินตามชมบ้าง แยกตัวไปถ่ายเก็บภาพบ้าง
 - ได้เวลาสมควรก็เดินทางกลับ ขณะนั่งเรือกลับนั้น ก็มีนกนางนวล หลายสิบตัวบินตามเรือ คอยรับเศษอาหารที่ผู้โดยสารยื่นและโปรยให้ สวยงามดี แต่ไม่ค่อยได้เห็นแสงอาทิตย์ชัด ๆ ฟ้าขมุกขมัว
 
     
     
1.
      
ภาพด้านซ้าย: ประติมากรรมเศียรพระบรมศาสดาขณะบรรทม ประดิษฐาน ณ ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ CSMVS, และภาพด้านขวา: ถ่ายจากหน้าสนามลานกว้างตรงหน้าพิพิธภัณฑ์ CSMVS, ถ่ายไว้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.
1.
         
ภาพจากซ้ายไปขวา: ประติมากรรมศิวนาฏราช ประดิษฐาน ณ กลางห้องโถงของพิพิธภัณฑ์ CSMVS และภาพบนเปลือกไม้ "สิบหกรูปลักษณ์ของพระคเณศ" จัดวางไว้บนฝาผนังด้านขวาในชั้นล่างของอาคารพิพิธภัณฑ์, ถ่ายไว้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.
1.
      
ภาพจากซ้ายไปขวา: ประตูสู่อินเดีย (Gateway of India) (เครดิตภาพ - เพื่อน ๆ ในทริป) และโรงแรมทัชมาฮาล ทาวเวอร์ มุมไบ (Taj Mahal Tower Mumbai) ยามสนธยา, ถ่ายไว้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.

      
จากซ้ายไปขวา: ผมถ่ายกับรูปหินทรายสลักพระสทาศิวะ (सदाशिव - Sadāśiva) และรูปหินทรายสลักราวณะนุเคราะห์-มูรติ (Ravananugraha-Murti - Ravana Shaking Mountain Kailasa)


ประตูสู่อินเดีย ยามสนธยา (คนเยอะมากนับหมื่น มาเดินเที่ยวในบริเวณนี้)

 
1.

สาม
 
info@huexonline.com