MENU
TH EN
Title Thumbnail & Hero Image: ภาพที่พัฒนาเมื่อ 16 ธันวาคม 2567.
โอดิสซีย์: บทนำ 1
First revision: Dec.16, 2024.
Last change: Feb.17 2025.
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
หน้าที่ 1
      หากาพย์โอดิสซีย์ (Eng: Odyssey; Greek: Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นมหากาพย์หนึ่งในสองเรื่องที่โฮเมอร์ได้ประพันธ์ขึ้น คาดว่าราวก่อนพุทธกาล 300 ปีหรือ 800 ปีก่อนคริสกาล ณ แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของทูร์เคีย (Türkiye) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในอาณัติของกรีก. บทกวีแบ่งออกเป็น 24 เล่ม บทกวีได้เล่าเรื่องต่อจากอีเลียด กล่าวถึงการเดินทางกลับบ้านที่อิธาคา (Ithaca) ของวีรบุรุษกรีกที่ชื่อ โอดิซูส บ้างก็เรียก โอดิสเซียส - Odysseus, (หรือ ยูลิสซีส - Ulysses ตามตำนานโรมัน) หลังจากการล่มสลายของกรุงทรอย (The Trojan War).

       โอดิซูสใช้เวลาเดินทางกลับบ้านนานถึง 10 ปี หลังจากที่ใช้เวลาไปกับศึกเมืองทรอยแล้วถึง 10 ปี เรือนำล่องผ่านไปแอฟริกาและยุโรปตอนใต้ ในช่วงเวลาระหว่างนั้น เทเลมาคัส (Telemachus) บุตรของเขา และพีเนโลพี (Penelope) ผู้ภรรยา ต้องต่อสู้กับกลุ่มคนพาลที่พยายามจะขอวิวาห์กับพีโนโลป เพราะต่างคิดว่าโอดิซูสเสียชีวิตแล้ว.

แผนที่ (จากการศึกษาและสันนิษฐานของ ศาสตราจารย์ปีเตอร์ สตรัค แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย) การเดินทางที่ใช้เวลาสิบปีในการกลับบ้านของโอดิซูส, ที่มา: www.worldhistory.org, วันที่เข้าถึง: 18 ธันวาคม 2567.
1.
       บทกวีมหากาพย์ชุดนี้ นับเป็นรากฐานสำคัญต่องานวรรณกรรมตะวันตกยุคใหม่ ถือเป็นอันดับสองรองจากอีเลียด มหากาพย์ชุดนี้มีการศึกษาและแปลออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายทั่วโลก เชื่อกันว่าบทกวีเริ่มแรกประพันธ์ขึ้นในลักษณะวรรณกรรมมุขปาฐะ เพื่อการขับร้องลำนำของเหล่านักดนตรีมากกว่าเพื่อการอ่าน ใช้ฉันทลักษณ์แบบ Heroic hexmeter ประกอบด้วยบทกวีรวม 12,110 บรรทัด.

       โอดิซูส หรือ โอดิสเซียส เป็นกษัตริย์ของเกาะอิธาคา และเป็นกษัตริย์ที่มีปัญญามากที่สุดในบรรดากษัตริย์ที่ไปร่วมรบเพื่อชิงกรุงทรอย เมื่อกรุงทรอยแตกและตกกับกองทัพกรีกแล้ว โอดิซูสก็ล่องเรือกลับอิธาคา แต่ระหว่างทางเรือของโอดิซูสและสหายถูกซัดพาไปยังเกาะของพวกไซคล็อปส์.

โฮเมอร์ ชาวกรีกโบราณ บ้างก็ว่าเกิดเมื่อ 850 ปีก่อนคริสตกาล บ้างก็ว่าเกิดช่วง 1194-1184 ปีก่อนคริสตกาล.
1.
2.
หน้าที่ 2
โอดิสซีย์ของโฮเมอร์
 เล่มที่ 1:  อะธีนา (Αθήνα - Athena) สร้างแรงบันดาลใจให้เจ้าชาย  จุดเริ่มต้นของมหากาพย์
 เล่มที่ 2:  เทเลมาคัสออกเรือ  
 เล่มที่ 3:  กษัตริย์เนสเตอร์ทรงจำได้  
 เล่มที่ 4:  กษัตริย์และราชินีแห่งสปาร์ตา  
 เล่มที่ 5:  โอดิซูส - นางไม้และเรืออับปาง  
 เล่มที่ 6:  เจ้าหญิงกับคนแปลกหน้า  
 เล่มที่ 7:  ห้องโถงและสวนของพวกเพเชียน  
 เล่มที่ 8:  วันแห่งบทเพลงและการแข่งขัน  
 เล่มที่ 9:  ภายในถ้ำของยักษ์ตาเดียว  
 เล่มที่ 10:  ราชินีผู้น่าหลงใหลแห่งเออีอา  
 เล่มที่ 11:  ราชาแห่งความตาย  
 เล่มที่ 12:  วัวแห่งพระอาทิตย์  ในตำนานเทพเจ้ากรีก หมายถึง วัวของเฮลิออสหรือไฮพีเรียน เป็นวัวที่เลี้ยงไว้บนเกาะ Thrinacia หรือ Thrinakia (ภายหลังมีผู้ระบุข้อมูลว่า หมายถึงชิซิลี หรือ มอลตา)
 เล่มที่ 13:  ในที่สุดก็อิธาคา  
 เล่มที่ 14:  คนเลี้ยงหมูผู้ซื่อสัตย์  
 เล่มที่ 15:  เจ้าชายออกเรือกลับบ้าน  
 เล่มที่ 16:  บิดาและบุตร  
 เล่มที่ 17:  คนแปลกหน้าที่ประตู  
 เล่มที่ 18:  ราชาขอทานแห่งอิธาคา  
 เล่มที่ 19:  พีเนโลพีกับแขกของเธอ  
 เล่มที่ 20:  ลางร้ายย่างกรายเข้ามา  
 เล่มที่ 21:  โอดิซูสขึงธนู  
 เล่มที่ 22:  การสังหารในท้องพระโรง  
 เล่มที่ 23:  เตียงรากใหญ่  
 เล่มที่ 24:  สันติสุข  
1.
2.
หน้าที่ 3
โอดิสซีย์” เป็นคำภาษาอังกฤษที่คุ้นเคย ตามตามที่ปรากฎในพจนานุกรมเว็บสเตอร์นั้น มีความหมายว่า “การเดินทาง การผจญภัยที่มักมีการเปลี่ยนแปลงโชคชะตาอยู่บ่อยครั้ง.” ส่วนคำภาษากรีกนั้น Odusseia ซึ่งเป็นที่มาของคำภาษาอังกฤษนี้ หมายความถึง “เรื่องราวของโอดิซูส,” วีรบุรุษชาวกรีกในสงครามเมืองทรอย ซึ่งใช้เวลาสิบปีกว่าจะเดินทางกลับจากเมืองทรอยไปยังบ้านของเขาบนเกาะอิธากา ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกของแผ่นดินใหญ่ของกรีซ. โอดิสซีย์ของโฮเมอร์ได้นำเสนอ “การเดินทางผจญภัย” และ “การเปลี่ยนแปลงโชคชะตา” ให้เราได้ทราบ แต่ในขณะเดียวกัน ยังเป็นเรื่องราวอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการกลับมาของวีรบุรุษเพื่อพบกับสถานการณ์ที่อันตรายยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ ที่เขาเคยเผชิญบนที่ราบทรอยหรือระหว่างที่เขาพเนจรไปในท้องทะเลที่ยังไม่มีใครสำรวจ.

       อริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีก ได้เขียนไว้เมื่อหลังพุทธกาลหนึ่งศตวรรษ หรือศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลว่า เขาตั้งคำถามว่าอะไรคือเนื้อหาหลักของเรื่อง ในบทความของเขาที่มีชื่อว่า Poetics “ชายคนหนึ่งอยู่ต่างประเทศมาหลายปี เขาอยู่คนเดียว และมหาเทพโพไซดอนเฝ้าจับตาดูเขาอย่างไม่เป็นมิตร ที่บ้าน มีคนมาขอแต่งงานกับภรรยาของเขาและวางแผนจะฆ่าลูกชายของเขา จากนั้น เมื่อประสบกับพายุและเรือแตก เขากลับบ้าน เปิดเผยตัวตน และโจมตีคนมาขอแต่งงาน แต่เขาก็รอดชีวิตมาได้ และพวกเขาก็ถูกทำลาย” บทสรุปสั้น ๆ นี้เป็นโครงเรื่องของบทกวีแบบมหากาพย์ซึ่งประกอบด้วยบทกลอนหกบรรทัดจำนวน 12,109 บรรทัด แต่งขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 หรือปลายศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลหรือต้นศตวรรษที่ 7 โดยกวีที่รู้จักกันในยุคต่อมาในชื่อโฮเมอร์ ซึ่งไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับชีวิตและกิจกรรมของเขาแต่อย่างใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง บทกวีนี้มีอายุประมาณ 2,700 ปี ผู้อ่านอาจสงสัยว่าหนังสือเล่มนี้รอดมาได้อย่างไรในช่วงเวลาอันยาวนานเช่นนี้ หนังสือเล่มนี้แต่งขึ้นโดยใคร เพื่อใคร อย่างไร และภายใต้สถานการณ์ใด. บางทีวิธีที่ดีที่สุดในการสำรวจคำถามเหล่านี้ (ซึ่งไม่มีใครสามารถรับประกันคำตอบที่สมบูรณ์และแน่นอนได้) คือการย้อนกลับไปอ่านข้อความในหนังสือเล่มนี้.

       นี่เป็นการแปลโดยโรเบิร์ต ฟาเกิ้ลส์ จากข้อความที่เป็นภาษากรีกที่แก้ไขโดยเดวิด มอนโรและ โธมัส อัลเลน ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หนังสือชุดนี้มี 2 เล่ม พิมพ์ด้วยตัวอักษรกรีกพร้อมทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ การดลใจ และการเน้นเสียง ซึ่งอิงตามลายมือที่สง่างามของริชาร์ด พอร์สัน นักวิชาการผู้เฉลียวฉลาดในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 19.
1.
2.
หน้าที่ 4
พอร์สันนั้นติดสุราที่รักษาไม่หายและยังหัวรั้นอีกด้วย. แน่นอนว่านี่ไม่ใช่แบบอักษรกรีกตัวแรก ในความเป็นจริง ฉบับพิมพ์ครั้งแรกของโฮเมอร์ซึ่งพิมพ์ในฟลอเรนซ์ในปี พ.ศ.2431 (ค.ศ. 1488) นั้นใช้แบบอักษรที่เลียนแบบลายมือกรีกร่วมสมัย โดยมีอักษรควบและตัวย่อที่ซับซ้อนมากมาย. ช่างพิมพ์ในยุคแรกพยายามทำให้หนังสือของตนดูเหมือนสำเนาที่เขียนด้วยลายมือซึ่งหมุนเวียนอยู่ในอิตาลีมาประมาณร้อยปีก่อนที่จะมีการพิมพ์ครั้งแรก เปตราร์ช (Petrarch) พยายามเรียนภาษากรีกแต่ก็ยอมแพ้ โบกัคชิโอ (Boccaccio) ประสบความสำเร็จ และในปี พ.ศ.1903 (ค.ศ.1360) ก็มีการตั้งคณะทำงานด้านภาษากรีกขึ้นในฟลอเรนซ์ แต่ก่อนหน้าเปตราร์ช ดันเตไม่เคยอ่านหนังสือของโฮเมอร์เลย ถึงแม้ว่าเขาจะให้โฮเมอร์อยู่ในสถานะที่ไร้ซึ่งนักกวีที่ไม่ใช่นักคริสต์ก็ตาม และไม่สามารถอ่านงานของเขาได้แม้ว่าจะเห็นข้อความก็ตาม เป็นเวลาเกือบพันปีนับตั้งแต่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย ความรู้ภาษากรีกแทบจะสูญหายไปในยุโรปตะวันตก ในพุทธศตวรรษที่ 19 (คริสต์ศตวรรษที่ 14) ความรู้ภาษากรีกได้รับการนำกลับเข้ามาในอิตาลีอีกครั้งจากอาณาจักรไบแซนไทน์ ซึ่งจักรวรรดิคริสเตียนที่พูดภาษากรีกยังคงดำรงอยู่ได้นับตั้งแต่ที่คอนสแตนตินได้สถาปนาเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโรมันฝั่งตะวันออก.

โอดิซูส หรือ โอดิสเซียส (Odysseus), พัฒนาเมื่อ 31 มกราคม 2568.





แหล่งอ้างอิง:
01. จาก. THE ODYSSEY, PENGUIN CLASSICS, DELUXE EDITION, แปลโดย Robert Fagles, คำนำและอธิบายโดย Bernard Knox, ตีพิมพ์ครั้งที่ 54, พ.ศ.2539, ISBN: 0-670-82162-4, พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา.
1.
2.
3.
humanexcellence.thailand@gmail.com