MENU
TH EN
Hero Image & Title Thumbnail: ทวยเทพเจ้ากรีก, พัฒนาเมื่อ 17 มกราคม 2568.
อีเลียด (IΛIAΣ): บทนำ 1
First revision: Nov.25, 2024
Last change: Jan.21, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
.
1.
หน้าที่ 1
       อีเลียด (กรีก: Ἰλιάς, Ilias; อังกฤษ: Iliad) เป็นหนึ่งในสอง01, บทกวีมหากาพย์02, กรีซโบราณ03, ของโฮเมอร์04, ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามกรุงทรอย05 ในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป. แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฎเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งท่าน.

       เรื่องราวในมหากาพย์บทกวีนี้บรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" {ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)} อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (ทูร์เคีย: Truva; กรีก: Τροία, Troía; ละติน: Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวม ๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.


การสร้างสรรค์และฉันทลักษณ์
       ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิชาการต่างลงความเห็นว่า อีเลียด และ โอดิสซีย์ ประพันธ์ขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงต้นศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ยังมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ บุคคลสำคัญท่านหนึ่งคือ แบร์รี่ บี. พาวเวลล์ (ผู้เสนอแนวคิดว่า อีเลียด มีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับการประดิษฐ์คิดค้นอักษรกรีก) จี.เอส.เคิร์ค และ ริชาร์ด แจงโค ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง (รวม มาร์ติน เวสต์ และริชาร์ด ซีฟอร์ด) เชื่อว่ามหากาพย์ชิ้นนี้น่าจะเกิดขึ้นในราว 600-700 ปีก่อนคริสตกาล.

       นักวิชาการโดยทั่วไปเชื่อว่าทั้ง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ประพันธ์ขึ้นโดยกวีเพียงท่านเดียว ชื่อว่า โฮเมอร์ ชาวกรีกจากแคว้นไอโอเนีย บ้างก็ว่าท่านเป็นนักดนตรีพเนจรตาบอด ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวผ่านบทลำนำแบบปากเปล่า อันเป็นลักษณะของวัฒนธรรมการขับร้องในยุคโบราณ อย่างไรก็ดีมีนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า โฮเมอร์ไม่มีตัวตน และมหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นการรังสรรค์โดยนักประพันธ์หลาย ๆ ท่าน ที่จดบันทึกบทลำนำลงเป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากเวลาผ่านไปหลายร้อยปี. 
---------------

01. ประกอบด้วย อีเลียด (The Iliad) และ โอดีสซีย์ (กรีก: Ὀδύσσεια, Odusseia; อังกฤษ: Odyssey)
02. มหากาพย์ (Epic poetry) เป็นวรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงสร้างเรื่องซับซ้อนและยาว มีตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์ที่อยู่ในเอเชียนั้น โดยมากจะเป็นการแสดงถึงความเชื่อและศาสนา.
03. กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นอารยธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดำรงอยู่ตั้งแต่ยุคมืดของกรีซในช่วงศตวรรษที่ 12-9 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงปลายยุคคลาสสิก (ประมาณ ค.ศ. 600) ประกอบด้วยกลุ่มนครรัฐและดินแดนอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรมและภาษาศาสตร์.

โฮเมอร์ ชาวกรีกโบราณ บ้างก็ว่าเกิดเมื่อ 850 ปีก่อนคริสตกาล บ้างก็ว่าเกิดช่วง 1194-1184 ปีก่อนคริสตกาล.
1.
04. โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; อังกฤษ: Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา. ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุส (กรีกโบราณ: Ἡρόδοτος, Hēródotos) อ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส (กรีก: Ἐρατοσθένης; Eratosthenes) กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.
05. สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ (กรีกโบราณ: Ἀχαιοί) กับชาวกรุงทรอย หลังจากที่ปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา

 

อคิลลิส (Achilles), พัฒนาเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2567.
1.
2.
หน้าที่ 2
โฮเมอร์: อีเลียด เป็นการประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์แบบ Dactylic Hexameter มีความยาวทั้งสิ้น 15,693 บรรทัด แบ่งออกเป็น 24 บท (หรือ 24 ม้วนกระดาษ) แนวทางการแบ่งเนื้อหาเช่นนี้ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน.
 
 เล่ม 1:  สงครามผ่านไปเก้าปี อักกะเมมนอนจับตัวนางไบรเซอีสมาใช้แทนนางไครเซอีส อคิลลิสถอนตัวจากกองทัพด้วยความโกรธ บนเทือกเขาโอลิมปัส เหล่าเทพถกเถียงกันเรื่องผลของสงคราม.  The Rage of Achilles
 เล่ม 2:  อักกะเมมนอนแสร้งสั่งให้ถอยทัพเพื่อลองใจ โอดิซูสปลุกระดมทัพกรีกให้เข้าสู้ รายละเอียดกองเรือ รายละเอียดเมืองทรอยและทัพพันธมิตร.  The Great Gathering of Armies
 เล่ม 3:  ปารีสท้าเมนนิเลอัสประลองตัวต่อตัว โดยนางเฮเลนเฝ้าดูบนกำแพงเมืองทรอยข้างท้าวเพรียม ปารีสเอาชนะเมนนิเลอัสได้อย่างรวดเร็ว แต่เทพีอโฟรไดท์มาช่วยเขาไว้ ทำให้ดูเหมือนเมนนิเลอัสเป็นฝ่ายชนะ.  Helen Reviews the Champions
 เล่ม 4:  ยกเลิกการพักรบ เริ่มประจัญบาน.  The Truce Erupts in War
 เล่ม 5:  ดิโอมีดีสมีชัยในการรบ อโฟรไดท์กับเอรีสได้รับบาดเจ็บ.  Diomedes Fights the Gods
 เล่ม 6:  เกลาคัสกับดิโอมีดีสแสดงความยินดีต่อกันระหว่างพักรบ เฮกเตอร์กลับเข้าเมืองทรอยและเจรจากับภริยาของตน.  Hector Returns to Troy
 เล่ม 7:  เฮกเตอร์สู้กับอจักส์.  Ajax Duels with Hector
 เล่ม 8:  เทพเจ้าถอนตัวจากการรบ.  The Tide of Battle Turns
 เล่ม 9:  ทัพกรีกส่งผู้แทนไปเจรจากับอคิลลีส แต่ถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย.  The Embassy to Achilles
 เล่ม 10:  ดิโอมีดีสและโอดิซูสลอบสืบข้อมูลในเมืองทรอย และสังหารโดลอนชาวทรอยผู้ทรยศ.  Marauding Through the Night
 เล่ม 11:  ปารีสทำร้ายดิโอมีดีสบาดเจ็บ อคิลลีสส่งปโตรกลัสเข้าร่วมรบ.  Agamemnon's Day of Glory
 เล่ม 12:  ทัพกรีกถอยกลับเข้าค่าย ถูกทัพเมืองทรอยปิดล้อม.  The Trojans Storm the Rampart
 เล่ม 13:  เทพโพไซดอนให้กำลังใจทัพกรีก.  Battling for the Ships
 เล่ม 14:  เทพีเฮราช่วยโพไซดอนให้ช่วยทัพกรีก  Hera Outflanks Zeus
 เล่ม 15:  เทพซูสห้ามโพไซดอนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการรบ.  The Achaean Armies at Bay
 เล่ม 16:  ปโตรกลัสสวมเกราะของอคิลลีสเข้าร่วมรบ สังหารซาร์เพดอน และต่อมาถูกเฮกเตอร์สังหาร.  Patroclus Fights and Dies
 เล่ม 17:  สองทัพรบกันเพื่อชิงเสื้อเกราะและร่างของปโตรกลัส.  Menelaus' Finest Hour
 เล่ม 18:  อคิลลีสทราบข่าวการตายของปโตรกลัส ได้รับเสื้อเกราะใหม่ มีบทบรรยายเสื้อเกราะนี้อย่างละเอียด.  The Shield of Achilles
 เล่ม 19:  อคิลลีสคืนดีกับอักกะเมมนอน และกลับเข้าร่วมรบ.  The Champion Arms for Battle
 เล่ม 20:  เทพเจ้ากลับเข้าร่วมในการรบอีก อคิลลีสพยายามสังหารอีเนียส.  Olympian Gods in Arms
 เล่ม 21:  อคิลลีสรบกับทัพสกาแมนเดอร์จำนวนมาก ประจันหน้ากับเฮกเตอร์ที่หน้าประตูเมืองทรอย.  Achilles Fights the River
 เล่ม 22:  อคิลลีสสังหารเฮกเตอร์และลากร่างของเขากลับไปค่ายกรีก.  The Death of Hector
 เล่ม 23:  งานศพของปโตรกลัส.  Funeral Games for Patroclus
 เล่ม 24:  ท้าวเพรียม กษัตริย์เมืองทรอย ลอบเข้าค่ายทัพกรีก ขอร้องอคิลลีสให้คืนร่างของเฮกเตอร์ อคิลลีสยอมตาม ร่างของเฮกเตอร์จึงได้นำกลับไปทำพิธีศพบนกองฟืน.  Achilles and Priam
1.
2.
หน้าที่ 3
เรื่องราวในอีเลียด
       มหากาพย์ อีเลียด เริ่มต้นด้วยประโยคต่อไปนี้:

       μῆνιν ἄειδε θεὰ Πηληϊάδεω Ἀχιλῆος
       οὐλομένην, ἣ μυρί' Ἀχαιοῖς ἄλγε' ἔθηκεν,

       ร้องเพลงเถิดเทพี โทสะแห่งอคิลลีส บุตรแห่งพีลูส
       โทสะทำลายล้างอันนำความเจ็บปวดมหาศาลสู่ชาวเอเคียน,


       คำเปิดเรื่อง อีเลียด ของโฮเมอร์ คือ μῆνιν (mēnin) เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง "โทสะ" เป็นการประกาศถึง Thym หลักของเรื่อง อีเลียด นั่นคือ "โทสะของอคิลลีส" เมื่อกษัตริย์อักกะเมมนอน (Agamemnon) ผู้นำกองทัพกรีกบุกเมืองทรอย ได้หมิ่นเกียรติของอคิลลีสโดยการชิงตัวนางไบรเซอีส (Briseis) ทาสสาวนางหนึ่งซึ่งตกเป็นของขวัญชนะศึกของอคีลลิสไปเสีย. อคิลลีสจึงถอนตัวจากการรบ แต่เมื่อปราศจากอคิลลีสในการเป็นแม่ทัพนายกองกองทัพกรีกแล้ว กองทัพกรีกก็ต้องพ่ายแพ้แก่เมืองทรอยอย่างย่อยยับ จนเกือบจะถอดใจยกทัพกลับ. แต่แล้วอคิลลีสก็กลับเข้าร่วมในการรบอีกครั้ง หลังจากเพื่อนสนิทของของเขาคือ ปโตรกลัส (Patroclus) ถูกสังหารโดยเฮกเตอร์ (Hector) เจ้าชายเมืองทรอย. อคิลลีสสังหารชาวทรอยเป็นจำนวนมากรวมทั้งเฮกเตอร์ แล้วลากศพเฮกเตอร์ประจาน ไม่ยอมคืนร่างผู้เสียชีวิตให้มาตุภูมิแผ่นดินแม่ซึ่งผิดธรรมเนียมในการรบ. จนในที่สุดท้าวเพรียม (Priam) บิดาของเฮกเตอร์ ต้องมาไถ่ร่างบุตรชายกลับคืน มหากาพย์ อีเลียด สิ้นสุดลงที่งานพิธีศพของเฮกเตอร์.

       โฮเมอร์ได้บรรยายภาพการศึกไว้ในมหากาพย์อย่างละเอียด เขาได้ระบุชื่อนักรบจำนวนมาก เอ่ยถึงถ้อยคำที่ด่าทอ นับจำนวนครั้งที่เปล่งเสียงร้อง รวมถึงรายละเอียดในการปลิดชีวิตฝ่ายศัตรู การสิ้นชีวิตของวีรบุรุษแต่ละคนส่งผลให้การสงครามรุนแรงหนักยิ่งขึ้น ทัพทั้งสองฝ่ายต่างเข้าแย่งชิงเสื้อเกราะเครื่องอาวุธ และแก้แค้นต่อผู้ที่สังหารคนของตน นักรบที่โชคดีมักรอดพ้นไปได้ด้วยฝีมือการขับรถของสารถี หรือด้วยการช่วยเหลือป้องกันของเหล่าเทพ รายละเอียดสงครามของโฮเมอร์นับเป็นงานวรรณกรรมที่โหดเหี้ยมและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด.

       มหากาพย์ อีเลียด มีนัยทางศาสนาและสิ่งที่เหนือธรรมชาติอยู่มาก กองทัพทั้งสองฝ่ายต่างเคร่งครัดศรัทธาต่อเทพเจ้าของตน และต่างมีนักรบที่สืบเชื้อสายมาจากเหล่าเทพด้วย. พวกเขามักเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้า ขอคำปรึกษาจากนักบวช และเสาะแสวงคำพยากรณ์เพื่อตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป พวกเทพเจ้ามักเข้าร่วมในการรบ ทั้งโดยการให้คำแนะนำและช่วยเหลือปกป้องนักรบคนโปรดของตน. บางคราวก็ร่วมรบด้วยตนเองกับพวกมนุษย์หรือกับพวกเทพเจ้าองค์อื่น ๆ .

เจสันกับขนแกะทองคำ (Jason and the argonauts), พัฒนาขึ้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2567.
1.
       ตัวละครหลักของมหากาพย์ อีเลียด จำนวนมากมีส่วนเชื่อมโยงสงครามเมืองทรอยเข้ากับตำนานปรัมปราอื่น ๆ เช่น ตำนานเจสันกับขนแกะทองคำ (Jason and the argonauts) ตำนวนกบฎเมืองธีบส์ และการผจญภัยของเฮราคลีส (เฮอร์คิวลิส) ตำนานปรัมปราของกรีกโบราณมีเรื่องเล่ากันในหลายรูปแบบ โฮเมอร์ผู้ประพันธ์จึงค่อนข้างมีอิสระในการเลือกรูปแบบตามที่เขาประสงค์เพื่อนำมาประกอบในมหากาพย์.

1.
2.
หน้าที่ 4
มหาเทพ เทพ และตัวละครฝั่งอาเคียน (กรีก) พร้อมตัวละครฝั่งทรอย (ทูร์เคียในปัจจุบัน) ในมหากาพย์อีเลียด:
 
 หนึ่ง
พัฒนาเมื่อ 14 มกราคม 2568.
 มหาเทพซูส หรือ จูปีเตอร์
 สอง
พัฒนาเมื่อ 17 มกราคม 2568.
 มหาเทพโพไซดอน หรือ เนปจูน
 สาม
พัฒนาเมื่อ 14 มกราคม 2568.
 มหาเทพเฮเดส หรือ พลูโต
     
     
 
พัฒนาเมื่อ 15 มกราคม 2568.
 ธีทิส (นางพรายสมุทร) มารดาแห่งอคิลลีส
     
 
พัฒนาเมื่อ 17 มกราคม 2568.
 อคิลลิส บุตรแห่งพีลยูส (ในที่นี้ขออ่านว่า พีลิอุส)
     
 
พัฒนาเมื่อ 17 มกราคม 2568.
 ปารีสแห่งเมืองทรอย
     
 
พัฒนาเมื่อ 21 มกราคม 2568.
 อะโฟรไดต์ หรือ วีนัส
     
     
     
     
     
     
     
     




แหล่งอ้างอิง:
01. จาก. THE ILIAD, HOMER, PENGUIN CLASSICS, DELUXE EDITION, แปลโดย Robert Fagles, คำแนะนำและอธิบายโดย Bernard Knox, Winner of an Academy of American Poets Landon Translation Award, พิมพ์ครั้งที่ 51, พ.ศ.2541, ISBN: 0-670-83510-2, พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา.






 
humanexcellence.thailand@gmail.com