MENU
TH EN

ล้านนามหาปกรณัม ตอนที่ 2

Hero Image: พระพุทธสิหิงค์ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ ถ่ายไว้เมื่อ 3 เมษายน 2564.
ล้านนามหาปกรณัม ตอนที่ 2
First revision: Jan.31, 2021
Last change: May 15, 2021
 
       ผมได้นำเอกสารประกอบการบรรยายที่เป็น Soft files และการจดเล็คเชอร์การบรรยายของท่านอาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร แห่งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นำมาแสดงในบล็อกนี้ด้วยความเคารพ ผนวกกับการที่ผมแทรกภาพ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องจากการค้นคว้ามากลั่นกรองแทรกเสริมพร้อมแหล่งอ้างอิง เพื่อให้องค์ความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรล้านนามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมิได้แสวงหาประโยชน์ในทางการค้า ทั้งนี้เป็นไปเพื่อวิทยาทานต่อผู้สนใจทั่วไปครับ.
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
31 มกราคม 2564.


หัวข้อการบรรยาย : หริภุญชัยและพิงครัฐ (คริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13)
       1.  จามเทวีในความทรงจำของท้องถิ่น และความสำคัญในประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา
       2.  เรื่องราวขุนหลวงวิลังคะ (ตำนาน) VS การรุกรานของมหาราชโก๊ะล่อเฝิงแห่งหนานเจ้า (ประวัติศาสตร์)
       3.  หริภุญชัยในฐานะศูนย์กลางแห่งอารยธรรมพุทธ
       4.  อาทิจจราช (อาทิตยราช) กับการสถาปนาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเจดีย์หลวง) หริภุญชัย / ธรรมิกราชกับการหล่อพระอัฏฐารส / สรรพสิทธิราชกับ
การสร้างบูรณะพระเจดีย์หลวงหลังแผ่นดินไหว

 
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

การบรรยายเรื่อง

ล้านนามหาปกรณัม ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย

ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ครั้งที่
3 ศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ช่วง 10:00-11:30 และ 13:00-14:30 น.
 
หริภุญชัยและพิงครัฐ (คริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13)
โครงสร้างประวัติศาสตร์ล้านนา
ตำนานดึกดำบรรพ์
   การตั้งรัฐไท - ลาว  การตั้งรัฐมอญ
   1. ตำนานก่อนการเข้ามาของชนชาติไท - ลาว (วงศ์ลัวะ วงศ์มิละขุ กล็อม)
   1.1 สุวรรณคำแดง
   1.2 สุวรรณโคมคำ
   1.3 อุโมงคเสนานคร
 ตำนานเมืองที่ฤๅษีวาสุเทพสร้างและล่มก่อนสร้างเมืองหริภุญชัย
   2. ตำนานก่อนการเข้ามาของชนชาติไท-ลาว
   2.1 สิงหนติกุมารโยนกนาคพันธุ์ช้างแสน (โยนกวงศ์)
 
   3. ตำนานลาวจก (วงศ์ลาว)  ตำนานนางจามเทวี (จามเทวีวงศ์)
   4. หน่งจื้อเกา (ประวัติศาสตร์)
   4.1 ขุนเจื๋อง (ตำนาน)
 ตำนานอาทิจจราช (อาทิตยวงศ์)
   5. วงศ์มังราย  
  • อาจารย์วินัย นำมาแจกในห้อง Lecture: ประมวลกฎหมายสมัย ร.1 ตราสามดวง เล่มที่ 3 : กฎหมายเกี่ยวกับพระสงฆ์ กฎหมายกรุงศรีฯ ตอนปลาย
  • ดึกดำบรรพ์ (บรรพ์ = บรรพบุรุษ, ดึกดำ = ลึกมึดค่ำลึกไปเรื่อย รวม ๆ แล้วคือเรื่องราวเก่าแก่ย้อนกลับไปจนแทบจะลืมเลือน)
  • มิละขุ = ทมิฬ ดาร์วิเดี่ยน ผู้ยังไม่เจริญ
  • ตำนานดึกดำบรรพ์ - ตำนานก่อนการเข้ามาของชานชาติไท-ลาว อาจจะรวมมหาเถรฟ้าโบสถ์
  • มีการเล่าเรื่องดึกดำบรรพ์อาจมีการสร้างขึ้นใหม่ ตำนานว่าด้วยการเข้ามาของชนชาติไทย-ลาว - สิงหนติกุมารโยนกนาคพันธ์ช้างแสน (โยนกวงศ์) มาจากกลุ่มคนไทยที่มาจากยูนนาน อธิบายชื่อของรัฐ โยนรัฐ ได้เข้าสู่ดินแดนสุวรรณคำแดง สุวรรณโคมคำ ซึ่งล่มไปก่อนหน้านี้แล้ว.
  • ยูนนาน...ชื่อเมืองของโยนรัฐ ที่มาเก่าแก่ มีพระมหากษัตริย์ที่มาจากเมืองราชคฤห์ มาตั้งเมืองริมแม่น้ำโขง (กัลนที ??? เช็ค...) แม่สาย หรือบริเวณที่เป็นชุมชน แรกเริ่มคนไทยอพยพมาอยู่ริมแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำโขง ...อพยพมาจากเมืองที่ล่มแล้ว (อุโมงคเสนานคร)
  • ตำนานเมืองอุโมงคเสนา ซึ่งสร้างโดยพระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นอดีตพระพุทธเจ้า...เป็นความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยหลัง
  • ตำนานสิงหนติกุมารโยนกนาคพันธ์ช้างแสนนี้ มีทั้งที่ละเอียด และไม่ละเอียด......ตำนานที่คัดเขียนโดย อาจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (ตำนานเมืองเชียงแสน...ฉบับลายมือ) เป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ ลายมืออัจฉริยะบุคคล...เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับคนไทย ศักราชได้ "สิบเจ็ดตัวปีก๊บไจ๊หรือปีกดไจ้...เช็ค...???" นั้น (เกิดขึ้นตามความเชื่อของคนเมืองเหนือ) มีกษัตริย์ปกครองชื่อ "เทวการ" ปกครองนครไทยเทศ (นครของคนไทย) เมืองหลวงชื่อราชคฤห์ ดินแดนไทยโบราณ (พระเป็นคนเขียน สมมติให้ดินแดนไทยเป็นชมพูทวีป ซึ่งเป็นพระภิกษุที่รอบรู้ในคัมภีร์โบราณ) ตำนานพระเจ้าสีหพาหุ ตำนานมหาวงศ์
  • มีเรื่องเล่ากันว่ากษัตริย์แคว้นวังคะ (บังคลาเทศปัจจุบัน) มีธิดาองค์หนึ่ง กาลีบ้านกาลีเมือง ชอบหนีไปเที่ยว พบรักกับพญาราชสีห์ ๆ นำมาเลี้ยงดูเป็นเมียในถ้ำ แล้วปิดปากถ้ำเสีย มีลูกขึ้นมา ลูกที่เกิดมามีพลังมหาศาล ผลักหินที่ปิดปากถ้ำออก พาแม่หนีออกมา กลับเมืองเก่าเดิม.
  • กษัตริย์แคว้นวังคะก็ประกาศว่า หากมีราชสีห์มาบุก ใครปราบได้ให้รางวัล โอรสหรือลูกราชสีห์ก็อาสา ไดเยิงศรไป (ยังบิดาผู้เป็นราชสีห์)...ก็กลับเป็นดอกไม้...(ลูกจะฆ่าพ่อได้อย่างไร)...ต่อมาลูกคนนี้หรือหลานกษัตริย์แคว้นวังคะมีชื่อว่า สีหพาหุ (ผู้มีกำลังดั่งสิงห์) ...ๆ ต่อมามีลูกชาย 17 หญิง 17 แบ่งและแยกคู่กันไปสร้างบ้านสร้างเมืองต่าง ๆ .
  • คนโตคือพระเจ้าพิมพิสาร (มั่วสุดขีด...!!!) ได้ครองเมืองราชคฤห์ต่อ ลูกคนรองชื่อสิงหนติ (สิงหน + นติ (วัติ)....ไปด้วยกำลังแห่งสิงห์) ก็พาน้องสาว ลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ไปนครไทยเทศ ก็คือเมืองยูนนาน..
  • เป็นตำนานบ้านเมืองเดิมของไทย...หาที่ทาง เจ้าที่เจ้าทางพญานาคก็มาปรากฎกายในลักษณะที่เป็นพราหมณ์ มาเฝ้าพระเจ้าสิงหนติ...โยนกพราหมณ์ (นาคที่มาเฝ้า) ให้คำปรึกษาการตั้งบ้านเรือน ก็เสนอและตั้งบ้านเมืองชื่อว่า...เมืองโยนกนาคพันธุ์ช้าง (เชียงแสน) เดิมชื่อช้างแสน (ด้วยมีช้างมาร้องเยอะเสียงดังไกล)
  • โยงกับเรื่องมหาวงศ์ พระโมคคัลลีเถระ มีการชำระพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้พระนาคิตะเถระให้เดินทางมาแคว้นโยนก ปกปักษ์พระศาสนา
    ตำนานที่สร้างขึ้นมาเป็นโมฆียปกรณัม แต่ให้ดูมีเหตุมีผล คือการจะอธิบายชื่อของโยนรัฐ กำเนิดเมืองเชียงแสน....ต่อมาถึงสมัยพรญาแสนภู ที่ก่อสร้าง ๆ ความรุ่งเรืองแก่เชียงแสน
  • สิงหนติกุมารได้มายังดินแดนแถบนี้ ในบริเวณที่ดีตั้งแต่บริเวณสบกก เชียงแสน เชียงราย แม่สาย จนกระทั่งถึงเชียงของ ไดเพบหัวหน้าชาวลั๊วะ ที่ชื่อ ลาวจก แต่คนละเรื่องกับลาวจกในตำนานยุคต่อมา
  • ตำนานลาวจก (ตำนานสร้างขึ้นใหม่เป็นต้นวงศ์มังราย) เป็นเรื่องที่ห่างกัน โดยกล่าวว่าสมัยพระยาอนิรุทธิมหาราช ราว ค.ศ.638-9 ต้องการตัดศักราชให้ใช้แบบเดียวกัน ด้วยล้านนายังไม่มีกษัตริย์ ก็มีตำนานสร้างว่า พระยาอนิรุทธิมหาราช ไปพบท้าวสักกะ ๆ ให้เทพมาจุติบนโลก โอปาปติกะ (ลงมาปั๊บโตเลยอายุ 16) "ลวจังกราช" ในดินแดนล้านนาไต่เกิ่นเงิน (บันได) ลงมาจากสวรรค์ ตอนที่ลงมาค้างอยู่เป็นเมืองเกิ่นยาง คือเกิ่นมันค้าง ตรงที่ลงมาเป็นเมืองยาง หรือเมืองหยั่ง เชื่อว่าแถวเมืองวรชัยนคร (เชียงราว)...แม่สายเดิม
  • ลวจังราช ลงมาท่ามกลางหมู่ลั๊วะ เกิดการสร้างตำนานลาวจก แสดงที่มาอธิบายของวงศ์ลาว แสดงการอพยพของคนไท ที่มีเชื้อสายลาว
  • ทางเชียงใหม่เป็น ลาวยวน (ลาวหลวงพระบาง) มีภาษามีวัฒนธรรม ในทางตีความทางมานุษยวิทยา มีการรับเอาเรื่องราวท้องถิ่นเข้ามาเป็นของตน
  • ลาว มีความหมาย (สิงหนติกุมาร หมายถึง ลั๊วะ) แต่ในที่นี้หมายถึง คนเชื้อสายลาวมากกว่า เป็นตำนานดึกดำบรรพ์ที่ไม่เป็นประวัติศาสตร์แต่แสดง Identity

หริภุญชัยสมัยกึ่งประวัติศาสตร์

1.   จามเทวีในความทรงจำของท้องถิ่นและความสำคัญในประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา
 
   ค.ศ.629 -937  อาณาจักรหนานเจ้า
   ค.ศ.938-1253  อาณาจักรต้าหลี่
   ค.ศ.639/1181 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง ค.ศ.762/3  ราชวงศ์ศรีกรมาทิตย์ สถาปนาอาณาจักรศรีเกษตร
   ค.ศ.638-9/1280 (ถือโอปาติกะ 638-9/1280 ปีที่พระเจ้าอนิรุทธ์มหาราชตัดศักราช)  ลวจังกราช
   ค.ศ.660/1204  ฤๅษีวาสุเทพและสุกกทันตะสร้างเมืองหริภุญชัย กับการครองราชย์ของพระนางจามเทวี
   ค.ศ.758/1302  ลวจังกราชทิวงคตหลังครองราชย์ 120 ปี

หริภุญชัยสมัยประวัติศาสตร์ (มีเอกสารชั้นต้นยืนยัน)
  • หริภุญชัย มีการเล่าเรื่องพระนางจามเทวี โดยพระโพธิรังสี  ๆ อาจจะแค่ถ่ายทอดตำนานซึ่งมีมาตั้งแต่เดิม
  • พระโพธิรังสีได้ถ่ายทอดไว้เรื่อง "จามเทวี" ซึ่งตำนานนี้อาจมีมาตั้งแต่เดิม
  • ตำนานกล่าวว่า พระฤๅษีห้าตน อยู่อย่างพี่อย่างน้องมานานในดินแดนสยามเทศะ ....สยามมีชื่อมานาน เชียงใหม่อยู่ในสยาม (สยาม = ผิวคล้ำ) สยาม อาจมาจากคำว่าเสียม (คนไทยเก่งด้านเกษตรกรรม) เราไม่เคยเห็นคำว่า ศยาม ....ลาวจก..จก หมายถึง จอบ (เกษตรกรรม)
  • พระฤๅษีได้สร้างเมืองขึ้นมาแบบคนที่เกิดมาพิเศษโตเลย...โอปาปติกะ เป็นเมืองใหม่ ดินแดนที่มีแสงสว่างแห่งพระพุทธศาสนามาให้..มาจากคัมภีร์มหาวัสดุ (เด็กหญิงเกิดบนดอกบัว-ปทุมวดี เกิดมาเดินมามีดอกบัวรองรับ)
  • มีตำนานสองชุดทั้งฝั่งเชียงใหม่และฝั่งหริภุญชัย
  • มีตำนานสายละโว้ นางจามเทวี ก็เป็นเด็กหญิงที่เกิดจากปัสสาวะของพระฤๅษีวาสุเทพที่ฉี่บนบัว แล้วมีกวางมากินบัว กวางตั้งครรภ์เกิดลูกมาเป็นนางปทุมวดี ....นางจามเทวีลอยแพน้ำมาถึงเมืองละโว้ เจ้าเมืองละโว้ก็นำมาเลี้ยงเป็นลูกเลี้ยงแต่งกับลูกชาย ท้องได้สามเดือนแล้วก็มาให้มาครองเมืองหริภุญชัย.
  • ตำนานเวลาในเทวีวิมังสะจะถดมากไปกว่าความเป็นจริงราวสามร้อยปี ต้องดูบริบทประวัติศาสตร์ชั้นต้นมาเทียบเคียง
  • นางจามเทวี นำอารยธรรมของพระพุทธศาสนาที่เมืองละโว้ขึ้นมายังเมืองเหนือ น่าจะเป็นพุทธศาสนา มหายานนิกาย มีพระสงฆ์ห้าร้อยรูป มีช่างจำนวนหนึ่งขึ้นมาด้วย มีข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะสนับสนุนอยู่.

"จามเทวี กับการสร้าง "สุวรรณจังโกฏก์" (เจดีย์กู่กุด/กู่กุฎี)-ผู้วางรากฐานของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในล้านนาและการสถาปนาพระพุทธศาสนาหนยางควง อาจเป็นแบบมหายาน"
  • ตำนานลาวจก เดินเสด็จไต่ไก่ (เกิ่น) เงินลงมา 
  • ตำนานขุนบูลม ...มีเทพสูงสุดคือ แถนหลวง (จูปิเตอร์ของเมืองไทย) เป็นพระอิศวร ..หากชาวบ้านไม่เส้นสรวง จะพิโรธก็จะบันดาลให้น้ำท่วม มีคนเชื่อคนเดียงคือ ปู่ลางเถิงกับเมีย (ตายายแก่ ๆ ) ได้สร้างแพใส่สัตว์อย่างละคู่ เหมือนตำนานโนอาห์ สัตว์ตายหมดแทบไม่เหลืออะไร น้ำท่วมสูงติดบนสวรรค์ พอน้ำลดก็ลงมาเจอวัวควายและน้ำเต้า เอาเหล็กเผาไฟจี้ที่น้ำเต้า ก็มีคนไหลออกมา เป็นมนุษย์ปัจจุบัน คนที่ตัวไม่งาม (ติดเขม่าจากปากรูน้ำเต้า) ก็เอาเป็นขี้ข้า พวกข่า พวกที่สวยงามก็เป็นไท รวมทั้งไทเลิง (ปกครองสุโขทัย) ไทเขม มาเป็นต้นสกุลคนไท อาจจะมาจากตำนานอัคยสูตร (พุทธศาสนา) ของลาว เช่น เทวดาเกิดมากินม้วนดิน ไม่เป็นพรหมจรรย์ก็เป็นมนุษย์สมสู่กันวุ่นวาย แย่งชิง.
  • ปู่ลางเถิงเห็นว่าจะไม่ไหวก็มาเฝ้าแถนหลวง ๆ ตัดแนวทางขึ้นแยกสวรรค์กับโลกมนุษย์ ส่งขุนบูลมที่เป็นโอรสลงมาปกครอง ไต่ลงมาจากบันได ตำนานเมืองนาน้อยอ้อยหนู (เดียนเบียนฟู) จับมาแต่งงานกับนางยมโดย มีแถนต่าง ๆ มีการสอนเกษตรกรรม สร้างบ้านสร้างเมือง เอาวัฒนธรรม นวัตกรรมมาให้ เหมือนตำนานคนไทในลุ่มแม่น้ำอูในเวียดนาม
  • เหมือนกับตอนที่พระพุทธเจ้า (เสด็จมาโปรดพุทธมารดา) เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ลงมาทางบันไดเงิน และมีเทวดา ๆ ทั้งหลาย แลมข้างมาทั้งสองข้าง (ทำให้เราคิดใหม่ว่า ตำนานนั้น นำมาจากพระพุทธศาสนาทั้งนั้น)
  • นางยมโดย มาสอนวิธีปลูกต้นหม่อน ทอไหม เหมือนจักรพรรดิเหลืองของจีน ที่มีมเหสีซึ่งได้คิดวิธีการปลูกต้นหม่อน ทอไหม ใกล้วัฒนธรรมจีน.

2.   เรื่องราวขุนหลวงวิลังคะ (ตำนาน) VS การรุกรานของมหาราชโก๊ะล่อเฝิงแห่งหนานเจ้า (ประวัติศาสตร์)
  • พระเจ้าอาทิจจราช (อาทิตยราช...อาทิตยวงศ์) ครองราชย์ เมื่อ จ.ศ.409 ตรงกับ ค.ศ.1047/ พ.ศ.1590-1 อยู่ร่วมสมัยกับวีรบุรุษของไทยในกวางสี ชาวไทน่ง หรือ ผู้น่ง หนงจื้อเกา เป็นกลุ่มคนไทย (รอยต่อระหว่างจีนลาวเวียดนาม...แหล่งแร่ทองคำ) โคตรวงศ์ที่มีความสัมพันธ์ไม่เป็นเอกภาพ อิสระอยู่กันเป็นปก ไม่มีสถานภาพเป็นรัฐ เมื่อกษัตริย์ราชวงศ์ลี่ ไดเวียดเข้ามาปกครองจะ centralize ทำให้ชาวผู้น่งอึดอัด ต้องการอิสระติดต่อราชวงศ์ซ่ง แล้วส่งบรรณาการให้ หนงจื้อเกาได้ตั้งรัฐตาหลี่กว้า หนงจื้อเกาได้นำผู้คนราว 5,000 คนออกโจมตีทั้งเวียดนาม (ซึ่งไม่ยอมรับหนงจื้อเกา) และจีน (ชอบขูดรีด) เพื่อตั้งรัฐใหม่
  • ต่อมาหนงจื้อเกาแพ้จีนที่เมืองกวางตุ้ง บางตำนานกล่าวว่า เจ้าเมืองต้าหลี่ให้หนงจื้อเกามาตั้งถิ่นฐานแถบแม่สาย ทางเหนือของไทย (เรื่องราว คศว.ที่ 11 กลายเป็นตำนานของคนไทยกลุ่มต่าง ๆ ) - การต่อสู้กับความอยุติธรรม
  • ในสิบรอบนักษัตร ราว 120 ปี หนงจื้อเกา (Culture Hero) ก็ตรงกับตำนาน "ขุนเจื๋อง" ซึ่งทั้งเชียงราย พะเยา ก็อ้างว่าขุนเจื๋องเป็นผู้สร้างเมืองของตน อันเป็นตำนานของกลุ่มชนลาว
  • หนงจื้อเกา ตั้งฐานปฏิบัติการที่เมืองบั๊กกัน (ไทยเรียกว่า) ปะกัน หรือ แกวประกัน (แกว เป็นคำมาจากเกาจี้ เมืองโบราณทางเหนือของเวียดนามซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของจีนมาก่อน, แกว คำเรียกที่ชาวเวียดนามไม่ชอบ)
   ค.ศ.832/1375  กองทัพหนานเจ้าได้เข้ารุกรานและปล้นทำลายอาณาจักรของชาวเผี่ยว (ปยู) พร้อมทั้งกวาดต้อนเชลยกว่า 3,000 คนไปเป็นทาสที่เมืองแจ้ถ่ง (Chetung) หรือหยุนหนานฝู้
   ค.ศ.835/1378  กองทัพหนานเจ้าได้เข้าโจมตีและทำลายอาณาจักรมี่เจิ้น (Mi-chen) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของศรีเกษตรในพม่าตอนล่าง ไม่เพียงเท่านั้น หนานเจ้าได้เข้าโจมตีอาณาจักรของชาวมอญอีกสองแห่ง คือ คุนหลุน และ นูหวาง การรุกรานสองอาณาจักรนี้ นอกจากไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังสูญเสียรี้พลเป็นจำนวนมากอีกด้วย.
   ค.ศ.1047/1590  อาทิตยวงศ์: อาทิจจราชได้ขึ้นครองราชสมบัติ
   ค.ศ.1048  หน่งจื้อเกากลับมาต่อต้านทั้งจีนและไดโกเวียด เขานำทัพเข้าโจมตีเมืองอันเต้อโจวในกว่างซี และประกาศตั้ง "ราชอาณาจักรแห่งสวรรค์ทางใต้" และใช้ปีรัชศกว่า จิงรุ่ย แปลว่า "ศุภมงคลกาล" (Auspicious Circumstance) ตามธรรมเนียมจักรพรรดิจีนและไดโกเวียด เหตุกบฎของหน่งจื้อเกาในครั้งนี้มีที่มาจากการที่เขาต้องการให้เขตการปกครองของเขา เข้าอยู่ในระบบความสัมพันธ์แบบบรรณาการกับราชวงศ์ซ่ง และเรียกร้องให้ฝ่ายจีนรวมชุมชนของเขาไว้ในฐานะเหน่ยฟู่ (รัฐในอารักขา) ในระบบที่เรียกว่า จีมี่ แปลว่า "ควบคุมอย่างหลวม ๆ " เนื่องจากชุมชนของหนงจื่อเกาอยู่ในแคว้นเกาบัง พื้นที่ที่เขาปกครองเป็นแหล่งทรัพยากรโดยเฉพาะทองคำและอื่น ๆ ราชวงศ์ซ่งไม่รับข้อเสนอเพราะความสนใจอยู่กับปัญหาพรมแดนภาคเหนือ อีกทั้งไม่พร้อมที่จะมีข้อขัดแย้งกับราชสำนักไดโกเวียด ซึ่งในทางทฤษฎีได้รับมอบหมายให้ดูแลสันติสุขของชายแดน ดังนั้นหนงจื้อเกาจึงมีปฏิกริยาตอบโต้ที่ราชสำนักซ่ง เห็นด้วยกับการที่ไดโกเวียดจะเข้ามาควบคุมเขตปกครองของเขาอย่างใกล้ชิด โดยหวังประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ.
   ค.ศ.1051  ไดโกเวียดได้ส่งทัพเข้าไปปราบปรามรัฐที่หนงจื้อเกาตั้งใหม่ ทำให้เขาต้องหลบหนีเข้าไปในเขตจีน เขาได้ส่งคณะทูตไปไคเฟิง เพื่อถวายบรรณาการอันได้แก่ ช้างเชื่อง ทองแท่งและเงินแท่ง แต่ราชสำนักซ่งไม่ยอมรับ นอกจากนี้ยังพยายามขอความช่วยเหลือจากข้าหลวงเมืองหย่งโจว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองแต่ประการใด หนงจื้อเกาจึงจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นปฏิบัติการ หนงจื้อเกาเป็นคนเด็ดขาดและมีความเป็นผู้นำในการรบ เขาสั่งให้เผาหมู่บ้านที่เขาปกครองทั้งหมดและนำกองทัพจำนวน 5,000 คนเข้าโจมตีสถานที่ต่าง ๆ ในกว่างซีโดยคำพูดปลุกใจไพร่พลว่า "เดี๋ยวนี้หรือไม่เลย" เขายึดเมืองสำคัญอย่างหย่งโจวได้ และมีผู้เข้าร่วมมากขึ้นจนกำลังเพิ่มเป็น 20,000 คน ที่เมืองหย่งโจวนั่นเอง เขาได้ประกาศตั้ง "อาณาจักรทางใต้อันยิ่งใหญ่" ในโอกาสนี้เขาได้ใช้ปีรัชศกซึ่งแปลว่า "จักรพรรดิผู้ทรงคุณธรรม" คนที่มีบทบาทในชีวิตของหนงจื้อเกาคือ อาหนง ผู้เป็นมารดาของเขาและมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการรบ 
   ค.ศ.1052  กองทัพของหนงจื้อเกาประสบความก้าวหน้าจนมาปรากฎอยู่ที่ประตูเมืองกว่างโจว ด้วยพลรวม 50,000 คน เขาตั้งล้อมกว่างโจวอยู่ถึง 57 วัน ก่อนที่ราชวงศ์ซ่งจะรวบรวมกำลังครั้งใหญ่มาผลักดันออกไป ในปีถัดมาเขาก็เสียเมืองหย่งโจว
   ค.ศ.1502-1053  การลุกฮือของกลุ่มไทน่งต่อต้านเวียดนามและจีนในกลางทศวรรษ 1050 แม้การกบฎครั้งนั้นจะล้มเหลว แต่ทัพไทน่งสามารถเข้ายึดครองดินแดนกว่างซีและกว่างตุ้งได้เป็นบริเวณกว้าง และเกือบตีเมืองกวางโจวได้ สามารถตรวจสอบได้กับเอกสารจีนราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.968-1279) การศึกษาเอกสารเวียดนามโบราณมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนไทยจากชายแดนเวียดนาม ลาว และจีนใต้ไปทางตะวันตก.
   ค.ศ.1075-1076  ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในเขตชุมชนไทในกว่างซีได้ผลักดันให้จีนต้องมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับไดเวียด จนนำไปสู่สงครามใหญ่ระหว่างสองชาติ
   ค.ศ.1134/1677  อภิเษกขุนเจี๋ยงเป็นกษัตริย์เมืองแกวประกัน.
  • ชินกาลมณีปกรณ์ไม่กล่าวถึงขุนเจื๋องเลย แต่ราชวงศ์ปกรณ์ได้กล่าวถึง (ซึ่งล่วงมา 120 ปี) จึงสรุปได้ว่า: ราชตระกูลของพรญามังรายจะถูกสร้างขึ้นโดยมีขุนเจื๋องเป็นต้นตระกูล จะกล่าวถึงขุนหม่อน หรือ ขุนเจื๋อง เป็นต้นกระกูล (มังรายวินิจฉัย...กฎหมายจารีตมาตั้งแต่ปู่หม่อน)
  • ขุนเจื๋องได้ประกาศตนเป็นเจ้าเมืองแกวประกัน (บั๊กกัน) ด้วย ได้ธิดาเมืองแกวเป็นภรรยาด้วย ไปรบที่ แมนตาขอบ ขอบฟ้าตายืน เช็ค...???? แล้วสิ้นพระชนม์ชีพ
  • มีการเล่าซ้ำถึงขุนเจื๋องอีก แสดงในราชวงศ์ปกรณ์ มีการกล่าวว่าพรญามังรายเป็นกษัตริย์ของเมืองแกวด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เป็นการนำเค้าเรื่องมาจากหนงจื้อเกา

3.   หริภุญชัยในฐานะศูนย์กลางแห่งอารยธรรมพุทธ
      จามเทวีกับการสร้าง "สุวรรณ จังโกฏก์" (เจดีย์กู่กุด/กู่กุฏิ์)
       การสถาปนาพุทธศาสนาหนยางควง อาจเป็นแบบมหายาน
  • ในปี ค.ศ.639/พ.ศ.1181 ราชวงศ์ศรีกรมาทิตย์ สถาปนาอาณาจักรศรีเกษตร (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง ค.ศ.762/3)
  • อาณาจักรหนานเจ้า ค.ศ.629-937  และเปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรต้าหลี่ ค.ศ.938-1253 โดยตระกูลต้วน
  • ลวจังราชตาย (ค.ศ.758/พ.ศ.1302) (ถือโอปาติกา 638-9/1280 ปีที่อนิรุทธ์ตัดศักราช) เป็น จุลศักราชที่ 1 ผิดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ แท้จริงพระเจ้าอนิรุทธิ์มหาราช ขึ้นครองราชย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11.
  • ค.ศ.660/พ.ศ.1203 พระนางจามเทวีขึ้นครองราชย์ (ตรวจสอบเอกสารตรงกันระหว่าง เซเดส์ และ ดร.วินัย) ในการเล่าเรื่องพระนางจามเทวีจะเกี่ยวกับขุนหลวงวิรังคะ (ตำนานกล่าวว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของชาวลั๊ว) ได้ผจญกับการรุกรานของมหาราชโก๊ะล่อเฝิงแห่งหนานเจ้า (ประวัติศาสตร์) ขุนหลวงวิรังคะหลงไหลพระนางจามเทวี ขอพระนาง แต่พระนางไม่ยอม ขุนหลวงวิรังคะก็เข้าโจมตี พระนางจามเทวีใช้กลลวงไม่ให้ขุนหลวงวิรังคะเข้าโจมตีได้.
  • หนานเจ้าตีอาณาจักรศรีเกษตร ค.ศ.832/พ.ศ.1375 จนหมอดไหม้ล่มจม มีหลักฐานกล่าวว่าหนานเจ้าบุกเข้าไปจรดทะเล เพื่อให้อาณาจักรตนจรดทะเล (ด้วยอาณาจักรตนถูกปิดล้อม)
  • ข้อมูลจากราชวงศ์ถัง กล่าวว่าอาณาจักรนิวหวาง (มอญ แปลว่าเมืองที่ผู้หญิงปกครอง อาจหมายถึงเมืองหริภุญชัย) และอาณาจักรคุนลุน (แปลว่าภูเขา ไม่มีความหมาย เพราะชื่อพื้น ๆ )
  • สมัยพระนางจามเทวี มีการทำศึกสงครามกับมหาอำนาจครั้งใหญ่ (อาณาจักรหนานเจ้า) ...ก็กล่าวเป็นตำนานว่าขุนหลวง....ขุนหลวงวิรังคะนี่แหละมาโจมตี

       อาทิจจราช/อาทิตยราช
          คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า พระเจ้าอาทิจจราชเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ จ.ศ.409 ตรงกับ ค.ศ.1047/ พ.ศ.1590-1 โปรดให้สร้างพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อครองราชย์แล้ว 16 ปี นั่นคือ ปี ค.ศ.1062/ พ.ศ.1605 (409+15 = 424).
   ค.ศ.1062/พ.ศ.1606  อาทิจจราชสร้างพระธาตุหริภุญชัย (ตามราชวงศ์ปกรณ์หริภุญชัย: 265) (พระเจดีย์หลวง)
117
เจดีย์พระชินธาตุเจ้า          ศรีสถาน
โสภิตพะงาปาน               เกศเกล้า
ทศมนมิมีปาน                 พอคู่ ครบเอ่
ฤๅเลิศไตรทิพเท้า            เท่าเว้นจุดาศรี (เจดีย์จุฬามณี)..(สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์)

       ต้นรัชกาลของพระองค์ตรงกับช่วงปลายของพระเจ้าสูรยวรมเทวะที่ 1 (ค.ศ.1006-1050/พ.ศ.1549-1593) แห่งกัมพูชา จามเทวีวงศ์ที่มีอายุเก่ากว่าเล่าว่า พระเจ้าอาทิจจราชแห่งหริภุญชัย ทรงเป็นคู่ศึกที่ทำสงครามยืดเยื้อกับพระเจ้ากรุงลโวทัยปุระ ดังนั้นจึงอาจสันนิษฐานอย่างเลา ๆ ว่า บริบทของความขัดแย้งระหว่างหริภุญชัยกับแคว้นกัมโพช เป็นการสะท้อนถึงความพยายามของพระเจ้าสูรยวรมเทวะที่ 1 ในการขยายอิทธิพลขึ้นไปทางเหนือเพื่อครอบครองหริภุญชัย.

       จามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงการแข่งขันกันสร้างเจดีย์เพื่อชิงบ้านชิงเมืองระหว่างสองฝ่าย เรื่องที่เล่าไว้เป็นตำนานที่ออกจะไร้สาระ แต่กระนั้นก็ตาม เจดีย์มีความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ จึงน่าสันนิษฐานว่าอาทิจจราชทรงต่อต้านการขยายอำนาจของเมืองละโว้ได้สำเร็จ โอกาสนั้นได้เองโปรดให้สร้างอุทิศเจดีย์หรือพระบรมสารีริกธาตุเป็นการประกาศชัยชนะ.

       พระเจ้าธรรมิกราช ราชโอรสของพระเจ้าอาทิจจราช ครองราชย์ 5 ปี กับการหล่อพระอัฏฐารส (พระยืนสิบแปดศอก...อัฏฐารส...อาจจะแปลว่าเป็นพุทธคุณสมบัติ 18 ประการของพระบรมศาสดา ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน?) ย้ายไปวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ แต่ไม่ใช่? เข้าใจว่าน่าจะถูกครอบเก็บไว้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยก็ได้ เหมือพระพุทธรูปปางทางเมืองเหนืออื่น ๆ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน?
       จารึกเจ้าพัน กล่าวถึงกษัตริย์สุโขทัยพระองค์หนึ่ง พระมหาธรรมราชา ไปบูรณะปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปศาสนาสถาน สถานที่สำคัญต่าง ๆ อุทิศข้าคนไปดูแลพระพุทธรูป
       จารึกที่เป็นภาษามอญ อยู่ฐานพระอัฏฐารสนี้ด้วย

       รถราช (ครองราชย์ 5 ปี) กษัตริย์มอญ (รัด-ถะ-ราช) พระเจ้ารอด (นารอด - นารถ) อาจจะเกี่ยวกับพระรอดที่วัดมหาวัน

       สวราธิสิทธิราช หรือพระเจ้าสรรพสิทธิ์ (กษัตริย์มอญ) กับการสร้างบูรณะพระเจดีย์หลวงหลังแผ่นดินไหว
       ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.1116/พ.ศ.1659 ถึง ค.ศ.1161/พ.ศ.1704
         ชินกาลมาลีปกรณ์เขียนบรรยายไว้.....เป็นภาษาสันสกฤต (ซึ่งหมายถึงมหายาน)...."ถัดนั้นยังมีพระยาตนหนึ่ง ชื่อว่าสรรพสิทธิ์ (สววาธิสิทธิ) เกิดมาได้ 5 ขวบได้เป็นพระยาแทนพ่อ (พระเจ้ารถราช) จึ่งให้ช่างมาเขียนรูปพระพุทธเจ้าไว้ในผ้าสำหรับเอาไว้ไหว้ พลอยให้สร้างพระพุทธรูปด้วยทองแดงองค์ 1 ด้วยเงินองค์ 1 ด้วยทองคำองค์ 1 ด้วยดินบก (เขียนเพี้ยนเสียงจาก ดีบุก (บางครั้งเรียกว่า ชิน)) องค์ 1 แลด้วยงาองค์ 1 สำหรับเอาไว้ไหว้แลบูชานั้นแล เมื่อเป็นพระยาใหญ่มาได้ 7 ปี ก็ปลงราชสมบัติไว้แก่แม่ แล้วออกไปบวชเป็นสามเณร ได้ให้ผอบสำหรับใส่พระสารีริกธาตุ แล้วให้สร้างหนังสือ 12 คัมภีร์ เมื่อให้ได้ 10 ปี ได้สร้างมหาวันกับทั้งเจดีย์ เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ฉลองแลถวายเป็นอันมาก แล้วให้สร้างพระพุทธรูปองค์ 1 ไว้ในมหาวันนั้น เมื่อท่านมีอายุได้ 17 ปี จึงสึกออกเป็นคน (น่าจะหมายถึงเป็นคนสามัญครองฆารวาส) ก็ได้ราชาภิเษก ชื่อว่า พระยาสรรพสิทธิ์นั้นแล แต่นั้นไปเสวยราชสมบัติตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมบ่ให้ผิด แล้วกระทำคูหา (หมายถึง กู่ หรือเจดีย์ทรงปราสาทมีคูหาหรือช่องสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป หรือจระนำของเจดีย์) อันหนึ่งริมต้นมหาโพธิ์ ถัดนั้นให้สร้างพระพุทธรูปอันแล้วด้วยดินเผา 10 องค์ไว้ในคูหานั้น ถัดนั้นให้สร้างพระพุทธรูปอีกองค์ 1 แล้วด้วยทองแดง สิ้น 700 กหาปณะ (ภาษาบาลี ราคาบาทหนึ่ง) แล้วก็ให้พอกด้วยคำ (บุด้วยทองคำ) .......... ถัดนั้นให้สร้าง (จำลอง) พระธรรมปิฎกทั้ง 3 บริบูรณ์ทุกคัมภีร์."
       จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (สัพพาธิสิทธิ์) ซึ่งพบที่วัดดอนแก้ว และจารึกที่พบที่วัดกู่กุดของกษัตริย์องค์เดียวกันที่ทำขึ้น คราวผาติกรรม (ศัพท์ทางพระ การบูรณะซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์) "บูรณะแก้วอันประเสริฐ คือ เจดีย์องค์นี้ (รัตนเจดีย์ หรือเจดีย์หลวง) [ซึ่ง] ในปัจจุบัน ประดับด้วยทองและไม่อาจมีที่เปรียบได้ในประเทศนี้" การทำผาติกรรมนี้เพราะได้เกิดแผ่นดินไหว พระเจ้าสววาธิสิทธิได้ทรงเล่าว่า พระเจดีย์นี้ "ซึ่ง[พระอัยกา]ของข้าพเจ้า ผู้มีนามว่า[อาทิจจราช?]ได้สร้างขึ้นภายหลัง (น่าจะหมายถึง "ภายใน") (2 ปี) สำเร็จลงในรัชกาลที่แผ่ไปทั้งสิบทิศ"
       จากรัชกาลของพระเจ้าอาทิจจราชมาถึงรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิเป็นช่วงเวลา 10 ปีเท่านั้น ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว "พระองค์ก่อเสริมพระธาตุทรงปราสาทที่พระเจ้าอาทิจจ์สร้างไว้เป็นสูง 24 ศอก" (6 วา หรือ 12 เมตร)  และจารึกวัดกู่กุดยังบอกด้วยว่าพระธาตุนี้ "ประดับด้วยทองและไม่อาจมีที่เปรียบได้ในประเทศนี้"
       ทรงสร้างวัดมหาวัน (อาจจะชื่อเดิมว่าวัดเชตวัน) และพระพุทธรูปจำนวนมาก.
      วัดมหาวัน เป็นต้นตำรับของพระรอด น่าจะเป็นนามของพระมหากษัตริย์ รถราชา (รัด-ถะ-รา-ชา) มากกว่า



4.   โยนรัฐ พรญามังรายหลวงและการสถาปนาราชวงศ์ใหม่

     4.1 "โยนรัฐ" จากมุขปาฐะสู่ประวัติศาสตร์
             ตำนานเรื่องเมืองโยนกนาคพันธุ์ช้างแสน (ช้างส่งเสียงดังก้องสองแสนตัว...เชียงแสน)
             ตำนานสิงหนวัติกุมาร หรือ สิงหนติ (สิง-หะ-นะ-ติ) (การยืมเค้าเรื่องจากมหาวงศ์)
             ตำนานลาวจก
     4.2 ขุนเจื๋อง (หนงจื้อเกา) แห่งเมืองพะเยา
            
     4.3 มังรายหลวงและการสถาปนาราชวงศ์ใหม่

             พระนามเม็งราย/มังราย เมงราย = ลาวเมง - จอมผาเรือง - นางเทพคำขร่าย = มัง (กษัตริย์) ราย (เรียงราย ในชั้นต้นเป็นกษัตริย์ของเมืองที่เรียงรายตามแม่น้ำ...เชียงราย...เชียงแสน...เชียงของ อาจจะมาจากภาษาพม่า มังกรี ....ออกเสียงมาเป็นมังกราย - Great Lord - จักรพรรดิ)
             นางเทพคำขร่าย (contrived etymology) อาจเอาชื่อส่วนหน้าของพ่อ และส่วนหลังของแม่มาเป็นชื่อ เป็น เมงร่าย หรือ เม็งร่าย.

 
         
อนุสาวรีย์พรญามังราย, ที่มา: กลุ่มไลน์ "ล้านนามหาปกรณัม", โดยผู้ใช้นามว่า "ฮ้อ ภัทรสิทธิ์", วันที่สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564.
 
  • พรญามังรายหลวง หมายถึง กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น ในเอกสารชั้นต้นไม่ปรากฎคำว่า "เม็งราย" เลย ดร.ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่า ขณะนั้นไทยขัดแย้งกับอังกฤษ หากใช้คำว่า มัง ก็เหมือนพม่า อังกฤษก็จะอ้างกรรมสิทธิ์ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "เม็ง" เสีย.
  • อีกทฤษฏีหนึ่ง: พ่อท่านชื่อ ลาวเมง ที่สืบเชื้อสายมาจาก ลวจังราช ... เม็งราย นั้นเป็นชื่อที่ถูกแล้ว ชื่อพ่อ + ชื่อแม่ (ลาวเมง + นางเทพคำขร่าย)
  • เอกสารเก่าเรียก ล้านนา ไม่ได้เรียก ล้านนาไทย
  • เอกสารชั้นต้นค่อนข้างสับสน ขัดแย้งกันมาก ชินกาลมาลีปกรณ์เก่าที่สุด (เขียนขึ้น ค.ศ.1517) ราชวงศ์ปกรณ์เก่ารองลงมา (ร้อยหรือสองร้อยปีต่อมา) แต่ข้อมูลแตกต่างกัน ทำอย่างไรดี...ต้องนำเอาประวัติศาสตร์ของล้านนาเข้าสู่บริบทนานาชาติ
  • มีเอกสารจีนรวบรวมไว้เยอะที่กล่าวถึงเชียงใหม่ พอเอกสารมาก ๆ เข้า ก็มีการชำระ มีการคัดทิ้งไปไม่น้อย (เจาปู่ส่งลู่...เอกสารสำคัญเกี่ยวกับล้านนา) ทำให้ขาดรายละเอียดที่ต้องการไปมาก แต่ก็ทราบวันเวลาที่ทูตต่าง ๆ ได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิ วันเดือนปีที่แน่นอนทำให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์มาก (การเดินทางจากเชียงรายไปปักกิ่งใช้เวลา 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับฤดูกาล)  แต่ที่น่าสนใจคือสิ่งที่จีนจดไว้มันไม่ตรงกับของไทย คือ กษัตริย์ล้านนาหายไปหนึ่งองค์คือพระเจ้าน้ำท่วม (นำถม) พระเจ้าแสนภูไม่มีอยู่ในสารบบของจีนเลย
 
เปรียบเทียบลำดับเหตุการณ์รัชกาลพระยามังรายหลวงในเอกสารต่าง ๆ
(1 = เอกสารจีน 2 = ชินกาลมาลีปกรณ์ 3 = ราชวงศ์ปกรณ์)
  ศักราช (ค.ศ./พ.ศ) เหตุการณ์ 1 2 3
  1215/1758  23 กันยายน: กุบไลข่านประสูติ      
  1239/1782  มังรายประสูติ   / /
  1253/1796  น่านเจ้า - ต้าหลี่เสียแก่มองโกล /    
  1255/1798  ต้วน ซิงจื้อ (Duan Xingzhi) ตระกูลหรือราชวงศ์ต้วน, ได้ไปยังราชสำนักถวายแผนที่ยูนนานแก่เมิงเก้อข่าน {ก็คือกุบไลข่าน (ตอนที่ยังไม่เป็นข่านใหญ่) Mongke Khan} และถวายคำแนะนำเรื่องการปราบปรามชนเผ่าต่าง ๆ ที่ยังไม่อ่อนน้อม ต้วนเองได้นำกองทหารขนาดใหญ่เป็นกองทัพหน้า นำทัพมองโกลยกไป /    
  1256/1799  อูร์ยังฆะไท่ (Uryankhadai) ชื่อมองโกล ได้ปราบชนเผ่าต่าง ๆ ในยูนนานจนราบคาบ /    
  1260/1803  รัฐศกจ่งคง, กุบไลข่านมีพระราชโองการให้ปราบปรามชนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีพรมแดนติดต่อกับยูนนานในทันที และได้แต่งทัพไปตีโยนรัฐ หรือ ปาไป่สีฟู่ แต่ก็ไปไม่ถึงต้องกลับเสียก่อน {ปาไป่ต้าเดี้ยนเซวียนเว่ยสื่อซือ เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า จิ่งไม่ (เชียงใหม่) มีเรื่องเล่าขานกันมาช้านานว่าประมุขของประเทศนี้มีชายาแปดร้อยนางและแต่ละนางปกครองหนึ่ง ไจ้ เหตุนี้จึงเรียกว่าประเทศปาไป่สีฟู่  เป็นดินแดนแห่งช้าง เครื่องหอม เช่น กำยานและไม้จันทน์ขาว เป็นต้น พลเมืองของประเทศปาไป่สีฟู่ทั้งหมดเป็นชนกลุ่มเป๋ออี๋ นิยมสักลวดลายระหว่างคิ้วกับตา จะพนมมือไหว้แสดงการคารวะกัน ประชาชนมีจิตศรัทธาปสาทะในพระศาสนา วัดและเจดีย์จะพบเห็นได้ในทุก ๆ หมู่บ้าน ดังนั้นจึงนับจำนวนวัดและเจดีย์ได้เป็นหมื่นแห่ง (น่าจะโม้ แต่หมายความว่ามีวัดจำนวนมาก) เกลียดการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และไม่ชอบการทะเลาะวิวาท พวกเขาจะใช้กำลังทหารต่อเมื่อข้าศึกรุกรานและจะเลิกทันทีเมื่อได้ชำระความแค้นแล้ว ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า "ประเทศแห่งเมตตาธรรม"} /    
  1260/1803  มังรายขึ้นครองราชย์   /  
  1261/1804  สร้างเมืองเชียงราย (ย้ายเมืองหลวงจากเชียงแสน หรือแม่สาย?? มาเชียงราย)   /  
  1269/1812  มังรายสร้างเมืองฝาง และเสด็จประทับที่นั่น (ด้วยปัญหาระแวงว่าพวกมองโกล ชักจะเข้าใกล้มาแล้ว หรืออาจจะแสวงหาอำนาจลงมาทางใต้)    /  


5.   การทำสงครามแผ่พระราชอำนาจในดินแดนล้านนา และการทำสงครามกับราชวงศ์หยวน
(1 = เอกสารจีน 2 = ชินกาลมาลีปกรณ์ 3 = ราชวงศ์ปกรณ์)
   ศักราช (ค.ศ./พ.ศ)  เหตุการณ์  1  2  3
   1269/1812  มังรายได้เมืองเชียงของ (เป็นเมืองยุทธศาสตร์ไว้ติดต่อกับลาว)   /  
  1271/1815  กุบไลข่านตั้งราชวงศ์หยวน ส่งทูตไปข่มขู่พุกาม (นรสีหบดี หรือ นรสีหปติ) /    
  1273/1817  ส่งทูตไปข่มขู่พุกาม (นรสีหบดี) ครั้งที่ 2 /    
  1275/1818  ทำสงครามกับพระยากาว (น่าน) ได้เมืองมอบ (เมืองมอบ หรือ เมืองทระ มักปรากฎในชินกาลมาลีปกรณ์บ่อย ๆ แต่ยังหาสถานที่ไม่เจอ)   /  
  1276/1819  มังรายไปตีเมืองภูยาวของพรญางำเมือง     /
  1283/1826  นัสเซอเอดดิน (มองโกล) ได้เข้าโจมตีบรรดาเมืองต่าง ๆ ของพม่าทางตะวันออกของแม่น้ำคง (แม่น้ำสาละวิน) เป็นกลุ่มรัฐไทใหญ่ เพื่อเตรียมตีพม่า       
  1284/1827  กุบไลข่านโปรดให้ปู้หลู่เหอต๋า แม่ทัพมองโกล ไปตีประเทศปาไป่สีฟู่อีก (จีนคงเข้าใจว่าปาไป่สีฟู่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉาน-ไทยใหญ่) ระหว่างเดินทางไปถึงเชอหลี่ใหญ่ (เชียงรุ่ง) เขาได้นำทหารม้าสามร้อยนายไปเกลี้ยกล่อมให้เจ้าเมืองเชียงรุ่งสวามิภักดิ์ แต่เจ้าเมืองเชียงรุ่งไม่ยินยอม จึงยกกำลังเข้าตี เสียเชียงรุ่งแก่มองโกล.      
   1287/1830  ซึ่งพวกมองโกลยกทัพมาตีและยึดได้เมืองพุกามนั้น (สมัยพระเจ้านรสีหปติ-ทรงไม่เข้มแข็งนัก) พระรัตนปัญญาเถระได้อ้างตำนานเดิม (แสดงว่ามีตำนานใหม่ สามกษัตริย์มาพบกันที่เมืองเชียงใหม่) ว่า พระยามังรายหลวง พระยางำเมือง และโรจราช (พระเจ้าร่วง) ได้มาพบกัน ณ ประตูชัย (เมืองเชียงราย)  - น่าจะมาประชุมเพื่อต่อต้านมองโกลมากกว่า, Professor ลูส์ ให้ความเห็นว่าพรญามังรายคิดจะยึดเมืองหริภุญชัย
 เมืองพานนาคเหนืออังวะ เป็นรัฐไทใหญ่เล็ก ๆ กษัตริย์ย้ายมาเมืองมยินตาย (ให้ลูกชายปกครองเมืองเดิม) และมีลูกชายอีก 3 คน 1) ศรีอสงไขย 2) ราชสงคราม 3) ศรีหสุระ...ทั้งสามมารับใช้กษัตริย์พระเจ้าสีหปติ... ได้เป็นสัมขยัง (ชื่อตำแหน่งสูงในภาษาพม่า) ให้น้องสาวแต่งงานกับกษัตริย์พม่า ยึดพุกามได้ โดยเป็นใส้ศึกให้จีน พอพม่าแตก จีนเขตปกครองเหมียนเตี้ยน แต่ปกครองไม่ได้นานเพราะวุ่นวายมาก
กษัตริย์ (นรสีหปติ) หนีไปแปร แล้วไปเมืองพะสิม 
  /  
  1289/1382  พรญามังรายได้ส่งอ้ายฟ้าไปเป็นไส้ศึก (อุปนิขิต) ในหริภุญชัย (เป็นเมืองยุทธศาสตร์ติดต่อไปยังเมืองมอญได้) ....การเป็นไส้ศึกนั้น อาจเป็นตำนานทางพระพุทธศาสนามาแทรก (วัสการพราหมณ์ เข้าไปยุยงในเมืองลิจฉวี) ก็ได้    /  
  1289/1382  (วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.1832) วันซิงโฉ่ว เดือนสิบปีที่ 26 รัชศกจื้อหยวน ละโว้ และหนี่เหรินกั๋ว (เมืองของพระเจ้าแผ่นดินผู้หญิง) ทั้งสองประเทศส่งทูตมาถวายของพื้นเมืองเป็นเครื่องราชบรรณการแก่จีนแห่งราชวงศ์หยวนแล้ว /    
  1290/1833  วันที่ 31 สิงหาคม 1290/1833 ราชสำนักหยวนได้รับแจ้งจากกรมการมณฑลยูนนานว่า เชียงรุ่งกับรัฐเล็กรัฐน้อยในยูนนานรวมทั้งหมด 11 รัฐได้ยอมจำนนต่อจีนแห่งราชวงศ์หยวนแล้ว. (จีนมีระบบซาฟา คือการเรียกส่วยสิ่งของต่าง ๆ ) /    
  1292/1835  วันที่ 11 ตุลาคม: กุบไลข่านได้มีพระราชโองการให้ปู้ตุนหมางหวู (ทู) หลูหมีสือ ยกกองทัพไปตีประเทศปาไป่สีฟู่อีกครั้งหนึ่ง การมาโจมตีครั้งที่สองนี้ เอกสารจีนไม่ได้รายงานว่าประสบความสำเร็จแต่ประการใด (เข้าใจว่าไม่ประสบความสำเร็จ ปาไป่สีฟู่ เข้าไปแทรกแซงช่วย 11 รัฐในยูนนาน) /    
  1292/1835  พรญามังรายหลวงนำทัพไปรบพระยายี่บาและยึดเมืองหริภุญชัย ขณะที่พระชนม์ได้ 52 ชันษา รวมเศวตฉัตรเป็นหนึ่งเดียว (รวมโยนรัฐกับพิงครัฐ)   /  
  1294/1837  18 กุมภาพันธ์: กุบไลข่านสวรรคต      
  1296/1839  พรญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ (ขินกาลมาลีปกรณ์ และตำนานวัดสวนดอก (หรือตำนานมูลศาสนา) ไม่ได้กล่าวว่าพรญามังราย เชิญพรญางำเมือง และเจ้าโรจราช มาเลย) มีแต่ในราชวงศ์ปกรณ์มีข้อมูลว่าพรญาทั้งสามมาชุมนุมตั้งเมืองเชียงใหม่   /  
  1297/1840  ปาไป่สีฟู่เป็นกบฎและยกกองกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงรุ่ง (เชอหลี่ใหญ่) จักรพรรดิหยวนมีรับสั่งเมื่อวันที่ 29 กันยายน 1297/1840 ให้เหย่เซียนปู้ฮัว นำทหารไปปราบปราม การที่พรญามังรายหลวงยกกองทัพไปตีเชียงรุ่ง เพราะทางมองโกลได้ตั้งสำนักปกครองเชียงรุ่งขึ้น เพื่อต่อต้านปาไป่สีฟู่ เอกสารจีนไม่ได้กล่าวว่า เหย่เซียนปู้ฮัวประสบความสำเร็จเพียงใด คงทำได้เพียงขับไล่กองทัพของลาวยวน กลับออกไปจากชายแดนยูนนาน และยกฐานะของเชียงรุ่งขึ้นเป็นสำนักปกครองทหารและพลเรือน. [Ep4. 1/2 - 44:55] /    
  1298/1841  ตอนต้นปี 1298/1841 พระยามังรายหลวงและ "เชอหลี่น้อย" (สันนิษฐานว่าเป็นเมืองยอง) ยังคงส่งกองทัพเข้าไปขยายอำนาจ ณ บริเวณชายแดนยูนนาน พระยามังรายหลวงทรงยกทัพขนาดใหญ่เข้าไปในพม่า ทำสงครามปราบปรามรัฐเล็กรัฐน้อยในเขตไทใหญ่ จนกรมการมณฑลยูนนานต้องขอระดมกำลังนับหมื่นเข้าไประงับเหตุการณ์ {ในทศวรรษ 1290 กษัตริย์จอฉ่วย หรือ กลอฉวา (กะยอชวา) ทรงปกครองอาณาจักรพุกาม โดยมีพระราชอำนาจแต่ในนาม พวกพี่น้องไทใหญ่สามคนซึ่งค้ำจุนพระองค์อยู่มีฐานะเป็นสัมพยัง - (Sambyan: คำมอญ แปลว่า อรรคเสนาบดี) พระองค์คงรู้สึกหนักพระทัยที่จำต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอัครเสนาบดีไทใหญ่ และทรงพยายามหาทางออกด้วยการยกฐานะของพระองค์ให้สูงขึ้น ราว ๆ ต้นปี 1297/1840 พระเจ้ากลอฉวา ทรงส่งพระโอรสนามว่า "สิงหบดี" ไปยังเมืองปักกิ่ง เจรจายอมอ่อนน้อมต่อราชวงศ์มองโกล และเสนอที่จะจ่ายเครื่องราชบรรณาการให้เป็นเงิน 2,500 ตำลัง ไหม 1,000 พับ ช้าง 20 เชือก และข้าว 10,000 ถังต่อปี ในวันที่ 20 เดือนมีนาคม จักรพรรดิทรงแต่งตั้งรับรองกลอฉวาเป็นกษัตริย์แห่งพม่า พร้อมทั้งพระราชทานตราประจำพระองค์ทำด้วยเงิน ส่วนเจ้าชายสีหบดีได้ตราเสือรับรองเป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์พม่า}      
   ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 1298/1841  ก้วนจู่ซือเจี่ย ทูตมองโกลที่เดินทางกลับมาพร้อมกับคณะทูตของเติงหลง (ตะเลง-มอญหงสาวดี) ผ่านเมืองพุกามจะไปจีนได้รายงานว่า กษัตริย์พม่าพระเจ้ากลอฉวาซึ่งราชสำนักมองโกลแต่งตั้งรับรอง ได้ถูกพวกเสนาบดีไทใหญ่ถอดออกจากราชบัลลังก์ เอาพระองค์ไปควบคุมอยู่ที่เมืองมยินไซง์ (Myinzaing) แล้ว และพวกนี้ยกเอาเจ้าชายสอนิต โอรสพระองค์ ผู้ประสูติแด่พระสนมขึ้นครองราชสมบัติ  เหตุผลที่ฝ่ายกบฏ (อรรคเสนาบดีไทใหญ่) อ้างก็คือ พระเจ้ากลอฉวาทรงเรียกกองทัพของปาไป่สีฟู่เข้ามาปล้นเมืองหลายแห่ง ดูเหมือนว่าในเวลานั้น กลุ่มไทใหญ่ทางตะวันตกของแม่น้ำอิรวดีได้ลุกฮือเป็นกบฏ ฝ่ายสีหสูระและราชสังกรม (สองในสามของพี่น้องไทใหญ่) กลับไปเข้าข้างกบฏ พระเจ้ากลอฉวาได้ทรงส่งศรีอสังขยา (พี่ชายคนโตของสามพี่น้องไทใหญ่) ไปปราบปราม แต่กลับไปเข้าข้างกัน ดังนั้น พระเจ้ากลอฉวา จึงจะขอกองทัพราชวงศ์หยวนเข้ามาปราบปราม เข้าใจว่า พวกพี่น้องไทใหญ่คงจะได้เรียกกองทัพจากปาไป่สีฟู่เข้ามาข่มขู่พระเจ้ากลอฉวา (เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี 1298/1841 แต่ราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ได้กล่าวถึงการที่พระยามังรายหลวงยกทัพไปเมืองหงสาวดีและได้นางปายโคในปี 1286/1829 หลังจากสร้างเวียงกุมกาม ห่างกัน 12 ปีหรือรอบนักษัตร์หนึ่ง)      
  1300/1843  2 มิถุนายน 1300/1843 หมางหวู่ตูรูมิช ขอกำลังพล 6,000 คนเพื่อไปตีพม่า ที่ประชุมเสนาบดีเสนอว่า น่าจะต้องใช้กำลังเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 10,000 คน แต่จักรพรรดิทรงให้เพิ่มอีก 12,000 คน เหตุที่ต้องให้ไพร่พลเพิ่มมากมายอย่างนี้ เพราะ ‘พวกกบฏในพม่านั้นเข้มแข็ง แล้วยังอาจขอความช่วยเหลือจากปาไป่สีฟู่ได้อีกด้วย’ ข้อมูลที่จีนได้มานั้นแสดงว่า พวกไทใหญ่ในพม่ากับพระยามังรายหลวงมีฐานะเป็นพันธมิตรกัน      
  1301/1844  เดือนเมษายนว่า กองทัพที่ส่งไปตีพุกามนั้นประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
จึงมีพระราชโองการให้หลิวเซิน เหอลาไต้ และเจิ้งอิ้ว นำกำลังทหาร  20,000 นายไปตีปาไป่สีฟู่ และให้มณฑลยูนนานจัดม้าให้ห้าตัวต่อทหารสิบคน  อีกห้าวันต่อมาได้พระราชทานเงินให้ 92,000 ติ้ง ในระหว่างเตรียมการในปลายเดือนมีนาคม จักรพรรดิโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์นักโทษในเสฉวนและยูนนานเข้าเป็นทหารในทัพที่จัดไว้ไปตีปาไป่สีฟู่
กันยายน กองทัพมองโกลซึ่งถอนกลับจากพม่าถูกชนเผ่า ‘ฟันทอง’ ซุ่มโจมตีตามรายทาง พระยามังรายหลวงกษัตริย์แห่งปาไป่สีฟู่ (พิงครัฐ-เชียงใหม่) และบรรดารัฐเล็กรัฐน้อยต่างพากันปฎิเสธที่จะส่งส่วยแก่ราชสำนักมองโกล การพ่ายแพ้แก่พวกไทใหญ่ในพม่า และความล้มเหลวในการจัดทัพไปกำหราบพวกลาวยวน
  /  
  1302/1846  วันที่ 21 มีนาคม และอีกสองสัปดาห์ถัดมา ราชสำนักมีคำสั่งให้ประหารชีวิตหลิวเซิน กับให้โบยเหอลาไต้และเจิ้งอิ้ว เพราะไปตีปาไป่สีฟู่ไม่สำเร็จ      
   1303/1846-7  สร้างนครกุมกาม หรือกุมกามนคร ทรงสร้างเจดีย์กู่คำเรียงรายด้วยพระพุทธรูป 60 องค์   /  
   1311/1854  มังรายสวรรคตเมื่อพระชนม์ 71 ปี
ขุนครามได้ขึ้นครองราชย์ 4 เดือนแล้วย้ายไปประทับที่เชียงราย ให้เจ้าแสนภู ราชโอรสอยู่ที่เชียงใหม่
  /  
  • ประวัติศาสตร์เมืองพม่าช่วงพระเจ้านรสีหปติ เมืองพุกาม ตอนช่วงก่อน 1287 ที่มองโกลจะตียึดเมืองพุกามได้ พระเจ้านรสีหปติไม่ค่อยเข้มแข็งนัก อาระกัน ไทไหญ่ ก็มีเรื่องยุ่ง ๆ  ที่ไทใหญ่ก็มีพี่น้องสามคนฉวยโอกาส การขึ้นมีอำนาจ คล้าย ๆ กับกรณีของพรญามังราย มีเมืองเล็ก ๆ ชื่อพิงนะคะ (ปัจจุบันยังสืบหาตำแหน่งเมืองไม่ได้) อาจจะเป็นเมืองพานนาค (ชื่อแบบไทย) ตะวันตกเหนือเมืองอังวะ ลูกชายคนสุดท้ายหนีไปมาเมืองมยืนตาย (หรือเมืองโมยิน พม่าปัจจุบัน) และเกิดลูกชายสามคน คนโตชื่อ "ศรีอสงขยา หรือ ศรีอสงไขย แปลว่านับไม่ถ้วน" มีการตั้งชื่อเป็นมงคล คนที่สองชื่อ "ราชสงคราม" คนที่สามชื่อ "ศรีหสุระ" ทั้งสามฉลาดมากต่อมาสวามิภักดิ์พระเจ้านรสีหปติ ไต่เต้าขึ้นไปเป็นอัครเสนาบดีชั้นสูง (สัมพยัง-Sambyan - คำมอญ แปลว่า อรรคเสนาบดี) และพี่น้องทั้งสามยังมีน้องสาว ซึ่งให้ไปแต่งงานกับเจ้านายพม่า


6.   ความรุ่งเรืองของรัชกาลพระยามังรายหลวง

    6.1 ด้านการพระพุทธศาสนา
             เวียงกุมกาม
    6.2 ด้านนีติศาสตร์ : มังรายวินิจฉัย
    6.3 ด้านวรรณกรรมคำสอน: คำสอนพระยามังรายหลวง และมังรายสอนลูก


 
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

การบรรยายเรื่อง

ล้านนามหาปกรณัม ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย

ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ครั้งที่
4 ศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ช่วง 10:00-11:30 และ 13:00-14:30 น.
 
ความแตกแยกของโยนรัฐ-พิงครัฐ: รัชกาลขุนครามถึงรัชกาลพระยาคำฟู

1. รัชกาลขุนคราม
        1.1 โยนกนครกลับไปเป็นเมืองหลวง เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองลูกหลวง (พระยาแสนภูได้ครองในฐานะอุปราช)
        1.2 หริภุญชัยแยกเป็นอิสระนาน 6 ปี
        1.3 ความสัมพันธ์กับราชวงศ์หยวน

 
  ปีศักราช (ค.ศ./พ.ศ.) เชียงราย หริภุญชัย
  1311/1854 ขุนครามขึ้นครองราชย์  
  1312/1855 ทูตมองโกลเดินทางมาเชียงราย ขุนเครื่องยกทัพจากเมืองนายมายึดหริภุญชัย
  1313/1855 ต้าหลู่ฮัวเช่อฮูลาติง ขุนนางจังหวัดไต่หนานเตี้ยนในมณฑลยูนนาน ถือพระราชสาสน์เดินทางไปพร้อมกับข้าราชการปาไปสีฟู่ ชื่อ หน่ายอ้าย
(น่าจะเป็น นายอ้าย คำว่า หน่าย ในที่นี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามาจากคำว่า นาย ในภาษาไท ขอให้สังเกตว่า คำนี้ยังแสดงฐานะทางการเมืองที่สูงอยู่มาก)
 หน่ายอุน (ข้างหน้าเขียนเป็น หน่ายกุน ตรงกับ นายขุน) กวนอาย กวนอู่ เคอหนี อ้ายตัวหวู่ ฮัวเอ๋อ อาหวู่ อาซ่าน และอาไอ (ในเอกสารร่วมสมัย เจาปู่จ่งลู่ ให้บัญชีรายชื่อไว้ดังนี้ <หน่ายอ้าย หน่ายกุน กวนอาย กวนอู่ เชี่ยหนี อายตังอู่ หั้วเอ๋อ เอออู่ เออส้าน และเอออาย>)
1 หุนฉี่หลาน
2 หนานก้งน่ง ชายาขุนคราม
3 หนานทง
4 เมิ่งฟ่านเตี้ยน
5 ปี่เย่ากับลี่ฉี่หลุน (ขุนเคริ่ง อนุชาของขุนคราม)
 
  1315/1858 วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.1315/พ.ศ. 1858 หยวนสื่อได้บันทึกว่า หมานปาไป่สีฟู่ (โยนรัฐ) ส่งทูตมาถวายช้างขอสองเชือก จักรพรรดิได้พระราชทานแพรไหมตอบแทน  
  1319/1862 เจ้าแสนภูได้กินเมืองเชียงใหม่อีกครั้งหลังปราบเจ้าน้ำท่วม ขุนเครื่องยกทัพไปยึดเชียงใหม่ได้จากท้าวแสนภู
ขุนโครนได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่พระองค์ครองราชย์ได้เพียง 2 เดือนก็ถูกพระเชษฐาคือ เจ้าขัคคะ (แปลว่า พระขรรค์) ถอดออกจากราชบัลลังก์ แต่ครองราชย์ได้เพียง 3 เดือน เจ้าน้ำท่วมยกทัพจากเมืองตากมายึดหริภุญชัยได้ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วแข็งข้อไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระราชบิดา ขุนครามส่งแสนภูไปปราบปราม เจ้าน้ำท่วมถูกส่งตัวไปครองเชียงตุง
  1321/1865   ขุนเครื่องครองราชย์นาน 6 ปี
 

2 เหตุการณ์หลังรัชกาลขุนคราม
 
   ปีศักราช (ค.ศ./พ.ศ.)  เหตุการณ์
  1325/1869 ขุนครามตาย พญาแสนภูได้ครองราชย์ทั้งโยนกและพิงครัฐ
ทรงสร้างเมืองใกล้สบกก และสร้างพระพุทธรูปยืนด้วยแก่นจันทร์
  1326/1869 วันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. 1326/1869 เจ้าหนานเต้า (คัดลอกผิดจากหนานทง) ยังคงเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ เพราะพระองค์ส่งโอรสชื่อ เจ้าซานติง (เจ้าสาม...?) ไปถวายเครื่องราชบรรณาการที่ปักกิ่ง
  1327/1871 พระเจ้าแสนภูสร้างเชียงแสน
1330/1874 สร้างมหาวิหารที่กลางเมืองเชียงแสน
1332/1876 สร้างพระพุทธปฏิมาศิลา ปีรุ่งขึ้นฉลองพระพุทธรูปนั้น
  1327/1871 มีรายงาน (จากราชสำนักจีน) ว่า เจ้าหนานทง (เจ้าน้ำท่วม) เจ้าเมืองปาไป่สีฟู่ได้เดินทางมายังราชสำนักหยวนเพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นผลิตผลท้องถิ่น ดูเหมือนว่า การเสด็จไปเมืองจีนในครั้งนี้ ได้นำไปสู่การแต่งตั้งเจ้าหนานทง ซึ่งราชสำนักมองโกลมองว่าเป็นข้าราชการของราชสำนักไปแล้วเป็น ‘ขุนพลใหญ่และผู้บำรุงขวัญ’ (Great General & Comforter) และแต่งตั้งเจ้าซานจิน (คงคัดลอกผิดมาจาก ซานติง (สาม...))  พระโอรส เป็นผู้ช่วย
  1328/1871 เจ้าหนานทงได้ส่งส่วยสองครั้ง ครั้งแรกโอรสนามว่า อายเจ้า มาเข้าเฝ้าในวันที่ 15 มิถุนายนครั้งหนึ่ง และวันที่ 16 ธันวาคมอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งหลังทูตที่มาชื่อ เจ้าอ้าย
ราชปกรณ์เชียงใหม่กล่าวว่า พระองค์ขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่เมื่อค.ศ. 1328/1871
  1329/1872 14 มีนาคม ปาไป่สีฟู่ส่งทูตไปที่จีนอีกครั้งหนึ่ง ผู้ส่งทูตไปในครั้งนี้ยังคงเป็นเจ้าน้ำท่วมอยู่
  1334/1878 แสนภูสวรรคตในค.ศ. 1334/พ.ศ. 1878
  1345/1888 ราชวงศ์ปกรณ์กล่าวว่า พรญาคำฟูสวรรคตปี 1345/1888 (ครองราชย์ 10 ปี ตามตำนานวัดสวนดอก)
  1347/1890 คณะทูตของกษัตริย์พระนามว่า ห้านปู้ แห่งปาไป่สีฟู่ (โยนรัฐ) ได้รับการรับรองที่ราชสำนักมองโกล กษัตริย์พระองค์นี้ เป็นใครอื่นมิได้นอกจากพระยาผายู หรือ หรปยว (หะ-ระ-ปะ-ยู)
 
 
ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังรายจนถึง “ท้าวสองแสนนา”
 
  จารึกวัดพระยืน (ร่วมสมัย) พ.ศ. 1914 จารึกวัดสุวรรณมหาวิหาร พ.ศ. 1954 และ
หลักฐานไทยอื่น ๆ สมัยหลัง
หยวนสื่อ และเจาปู่จ่งลู่
  พรญามังรายหลวง
    พรญาไสยสงคราม
(ขุนคราม)
หุนฉี่ล่าน
(ขุนคราม)
    แสนภู หนานทง
(เจ้าน้ำท่วม/นำถม)
  คำฟู
  ผายู
 
  • ปัญหาว่าด้วยเรื่องความเชื่อและหลักฐาน จารึกภาษาสันกฤตว่าด้วยวงศ์กัมพุช (กำเนิดกัมพูชา)...กล่าวถึงบุคคลศักดิ์สิทธิ์เหยียบน้ำทะเลแล้วหวาน ผ่านมาแล้วหลายร้อยปี โยงกับหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด (ฟังตำนานแล้วอย่าถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ไป ต้องพิเคราะห์)
  • เมืองเขมรสมัยที่สมเด็จพระนเรศ-วร-ราชาธิราช ตีเขมรแตกที่เมืองละแวก ด้วยความเจ้าเล่ห์ของอโยธยา โดยเอาเงินทองไปหว่านหน้าค่าย ทหารก็เปิดประตูเก็บเงิน ทหารไทยจึงตีเขมรได้.
  • ไทมาว (เหนือทางไทยใหญ่) ต้องรบกับราชวงศ์หมิง ทหารจีนเอาเงินมาหว่านล่อหน้าประตูเมือง ทหารไทมาวก็เปิดประตูมาเก็บเงิน ทหารจีนจึงบุกตียึดเมืองไทมาวได้........ตำนานเดินได้.....ชินกาลมาลีปกรณ์เก่าที่สุดน่าเชื่อถือที่สุด แต่คนไปเชื่อ ที่กษัตริย์สามพระองค์พบกัน
  • พ.ศ.1271 กุบไลข่าน ให้ทูตมาพุกาม แจ้งพระเจ้านรปติ ให้ส่งลูกชายไปเมืองจีน แต่พระเจ้านรปติมีขัตติยะมานะทรงไม่ยอม   
  • สุวรรณภูมิอยู่ที่เมืองสะเทิม ธรรมวดี (ความเชื่อของพม่า) ในจารึกเขมรก็กล่าวว่ากษัตริย์...ทรงปกครองสุวรรณภูมิ
  • ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงกษัตริย์สามเมือง (พรญามังราย พรญางำเมือง พระร่วง - หน้าประตูเมืองเชียงราย) มาพบกันเพื่อทำสัญญา ค.ศ.1287 เป็นปีที่พุกามแตก (ให้ราชวงศ์หยวน)
  • ท้าวสองแสนนา หรือ พรญากิลนา หรือ พรญากือนา หรือพรญาโกฏินา
  • ด้วยเอกสารอ้างอิงหลายแหล่งไม่สมบูรณ์ มีความขัดแย้งสูง อาจมีการจารึกกันภายหลัง ขึ้นอยู่กับจุดยืนและทรรศนะของใคร...ใครเป็นตัวแทนปาไป่สีฟู้ในสายตาจีน....พรญาแสนภู หรือ หนานทง (เจ้าน้ำท่วม) - น้ำท่วม ก็หมายถึงการชลประทาน นำน้ำไปอีกที่หนึ่ง เป็นคำยกย่อง. 
  • หน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ต้องทำหน้าที่ด้าน Problem Solving เหมือนนักกฎหมาย อาศัย Logic และในภาพรวม
  • โยนรัฐมุ่งเหนือ เชียงใหม่ค่อนมาทางกลุ่มเมืองทางใต้ (เห็นชัดในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช) อยุธยามุ่งใต้ในช่วงแรก (แต่ก็ผิดหวังที่ไม่ได้เมืองมะละกา) ต่อมามุ่งเหนือ ก็ปะทะกับพระเจ้าติโลกราช
  • หนานเจ้าต้องการทางออกทะเล ไปถึงเมืองพะสิม อาระกัน. เหตุการณ์ในสมัยโบราณโยงกับการเมืองปัจจุบัน (จีนสนับสนุนรัฐประหารพม่า เพื่อต้องการเชื่อมเส้นทางสายไหมออกทะเล)
 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

การบรรยายเรื่อง

ล้านนามหาปกรณัม ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย

ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ครั้งที่
5 ศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ช่วง 10:00-11:30 และ 13:00-14:30 น
 
รัชกาลพรญาแสนภู-พระเจ้าน้ำท่วมถึงสิ้นรัชกาลพระยาผายู
   ปีศักราช (ค.ศ./พ.ศ.) แสนภู น้ำท่วม
  1325/1869  พญาแสนภูได้ครองโยนกรัฐทรงสร้างเมืองใกล้สบกก สร้างพระพุทธรูปยืนด้วยแก่นจันทร์  
  1326/1869    วันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. 1326/1869 เจ้าหนานเต้า (คัดลอกผิดจากหนานทง) ยังคงเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ เพราะพระองค์ส่งโอรสชื่อ เจ้าซานติง (เจ้าสาม...?) ไปถวายเครื่องราชบรรณาการที่ปักกิ่ง
  1327/1871 สร้างเชียงแสน
1330/1874 สร้างมหาวิหารที่กลางเมืองเชียงแสน
1332/1876 สร้างพระพุทธปฏิมาศิลา ปีรุ่งขึ้นฉลองพระพุทธรูปนั้น
 มีรายงาน (จากราชสำนักจีน) ว่า เจ้าหนานทง (เจ้าน้ำท่วม) เจ้าเมืองปาไป่สีฟู่ได้เดินทางมายังราชสำนักหยวนเพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นผลิตผลท้องถิ่น ดูเหมือนว่า การเสด็จไปเมืองจีนในครั้งนี้ ได้นำไปสู่การแต่งตั้งเจ้าหนานทง ซึ่งราชสำนักมองโกลมองว่าเป็นข้าราชการของราชสำนักไปแล้วเป็น ‘ขุนพลใหญ่และผู้บำรุงขวัญ’ (Great General & Comforter) และแต่งตั้งเจ้าซานจิน (คงคัดลอกผิดมาจาก ซานติง (สาม...))  พระโอรส เป็นผู้ช่วย
  1327/1871    เจ้าหนานทงได้ส่งส่วยสองครั้ง ครั้งแรกโอรสนามว่า อายเจ้า มาเข้าเฝ้าในวันที่ 15 มิถุนายนครั้งหนึ่ง และวันที่ 16 ธันวาคมอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งหลังทูตที่มาชื่อ เจ้าอ้าย
ราชปกรณ์เชียงใหม่กล่าวว่า พระองค์ขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่เมื่อค.ศ. 1328/1871
  1329/1872    14 มีนาคม ปาไป่สีฟู่ส่งทูตไปที่จีนอีกครั้งหนึ่ง ผู้ส่งทูตไปในครั้งนี้ยังคงเป็นเจ้าน้ำท่วมอยู่
  1330/1874  สร้างมหาวิหารกลางเมืองเชียงแสน  
  1332/1876  สร้างพระพุทธปฏิมาศิลา ปีรุ่งขึ้น ฉลองพระพุทธรูปนั้น  
  1334/1878 แสนภูสวรรคต เมื่อก่อนสิ้นแสนภู คำฟูเคยรบกับพระยากาวและยึดเมืองแพร่ได้
  1335/1879  [พรญาคำฟูได้ขึ้นครองราชย์] เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ (ขึ้นครองราชย์อายุ 12 ปี และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่นำมาจากศรีสัชนาลัย ณ วัดบุปผาราม) เรื่องพระสหายกฎุมพีชื่องัวหงแหง เมืองเวียงเชียงคำ
  1345/1888 ราชวงศ์ปกรณ์กล่าวว่า พรญาคำฟูสวรรคตปี 1345/1888 (ครองราชย์ 10 ปี ตามตำนานวัดสวนดอก)
  1347/1890  พรญาผายูได้ครองราชย์ที่เชียงรายนาน 3 ปี ก่อนย้ายมาเชียงใหม่
 คณะทูตของกษัตริย์พระนามว่า ห้านปู้ แห่งปาไป่สีฟู่ (โยนรัฐ) ได้รับการรับรองที่ราชสำนักมองโกล กษัตริย์พระองค์นี้ เป็นใครอื่นมิได้นอกจากพระยาผายู หรือ หรปยว คำนี้น่าจะได้สร้างจาก หาญผายู > หรปยู (หะ-ระ-ปะ-ยู) โปรดให้ "สร้างเจดีย์หลวง ท่ามกลางนครนั้นสูง 76 ศอก [ประมาณ 38 เมตร] แต่ละด้านกว้าง 48 ศอก [ราว 24 เมตร]" พระองค์มีพระทัยศรัทธาในพระศาสนา ปรารถนาจักสร้างวัด จึงโปรดให้นำอิฐจากวัดช้างรอบ (ไม่ทราบว่าวัดใดในเชียงใหม่) สร้างพระเจดีย์วัดสีเชียงพระ ส่วนอิฐหักที่เหลือ โปรดให้นำไปก่อเจดีย์วัดชมพู (หรือวัดกู่น้อยใต้เวียงเชียงใหม่) เรื่องการสร้าง "เจดีย์หลวงท่ามกลางนคร"
  1365/1908  ท้าวสองแสนนาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์ได้ 16 ปี
 
ท้าวสองแสนนา หรือ พญากือนา
 
ความสำคัญของรัชกาลท้าวสองแสนนา (มหาราชกือนา ค.ศ.1365/พ.ศ.1908 - ค.ศ.1377/พ.ศ.1920)

1. การสถาปนาเจ้าพรหมราชาเป็นเจ้าเมืองเชียงราย
       เมื่อท้าวสองแสนนาขึ้นครองราชย์นั้น ได้ทรงแต่งตั้งให้พระอนุชาคือ เจ้าพรหม เสวยราชสมบัติเมืองเชียงราย ในการนี้มหาราชท้างสองแสนนาและเจ้าพรหมกระทำสัตย์สาบานต่อกัน ณ พระบรมสารีริกธาตุ หริภุญชัย ดั่งคำจารึกพระสัตยาธิษฐาน ลำพูน ความว่า

       เราจะสั่งไว้แก่เขา / [ดุจไว้]แก่พี่เรา / ดังเราเมือ [แล] เรา / ไปเสวยราชสมบัติ [บุรี] ใหม่ / พี่เราสั่งไว้แก่เ [ฏิก่เ] ขา / แลเราให้ได้รักกัน / ดั่ [งคำ] พระสัตย์ปฏิญญาณ / [อัน] มีประมาณเท่านี้ / [ตาม] ความเท่าดั่งนี อั [นโท] รหะใส่โทษ / ฉิบ [หาย] ไปนรกอันว่านี้ ยังยา ] กเป็นประโคนสงสารจุ่งเรา [เกิด] เทอญ ll หงสวดีศรีสัตยาธิษฐาน ll

       หลักฐานนี้แสดงว่า เจ้าพรหมเจ้าเมืองเชียงราย มีอิสรริยยศสูงในฐานะกษัตริย์ปกครองโยนรัฐ เพราะพระมหาเทวีพระมารดาของกษัตริย์พี่น้องคู่นี้เรียกพระราชโอรส "เจ้าพระยาทั้งสอง" เอกสารประวัติศาสตร์ทั้งราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่และชินกาลมาลีปกรณ์ต่างให้บทบาทแก่เจ้าพระยาพรหมมากในระหว่างรัชกาลท้าวสองแสนนา (กือนา).

2. เริ่มต้นความสัมพันธ์กับจีนราชวงศ์หมิง
 ค.ศ.1383/ พ.ศ.1926  คณะทูตจีนได้เดินทางไปยังอาณาจักรพุกามใน ค.ศ.1371/พ.ศ.1914 คณะทูตที่เดินทางกลับได้ไปรายงานว่า ปาไป่สีฟู่อยู่ติดกับพุกาม ซึ่งแสดงว่าราชสำนักหมิง ภายหลังยึดอำนาจจากมองโกลแล้ว ต้องกลับมาทำความคุ้นเคยกับรัฐติดขายแดนยูนนานใหม่ ในเดือนญี่ ปีที่ 16 รัชศกหงหวู่ (1383/1926) ขุนนางชื่อ มู่อิง ได้รับการแต่งตั้งไปรั้งเมืองยูนนาน ในครั้งนั้นเขาได้ติดต่อกับรัฐต่าง ๆ และเพื่อจำแนกประเภทและกำหนดจำนวนของพื้นเมืองที่จะนำขึ้นถวายเป็นเครื่องบรรณาการ (ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า การปกครองรัฐชายแดนของจีนสมัยราชวงศ์หมิง และการเกณฑ์ส่วยนั้น มีผลบังคับจริง ไม่เหมือนกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัฐบรรณาการทางทะเลซึ่งเป็นเรื่องพิธีกรรมและการค้า) พม่าและปาไป่สีฟู ต่างมาขอสวามิภักดิ์ถือเป็นเกียรติยศแก่ราชสำนักจีน จนมีการเขียนคำกลอนว่า "ร้อยเอ็ดแว่นแคว้นปก สามสิบหกภูมิภาค เจ็ดสิบปากประตู กำแพงคูแกร่งไกร ปาไป่สีฟู่อยู่ถ้วน อนุราฐล้วนในปกครอง จักถวายของอีกส่วยสา มุ่งหน้าท้องพระโรงหมิงถัง ราชทูตคัลคั่งบังคม"
 ค.ศ.1388/ พ.ศ.1931  ปาไปสีฟู่ ส่งทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการที่ราชสำนักจีน สมัยราชวงศ์หมิงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1388/พ.ศ.1931 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเชียงใหม่กับจีน อย่างไรก็ตาม คณะทูตที่ไปยังหนานจิง (นานกิง เมืองหลวงในขณะนั้น) อาจเป็นคณะทูตของกิลนามหาราช เมื่อก่อนสวรรคตในปี ค.ศ.1387/ พ.ศ.1930 หรือของมหาราชแสนเมืองมาในรัชกาลถัดมา เอกสารจีนระบุว่า ก่อนหน้านั้นปาไป่สีฟู่ "ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง" เรื่องส่งทูตไปจีน จนมู่อิงต้องเกลี้ยกล่อม และได้มีการต่อรองตัดส่วยข้าว 400 คาน (หาบ) ที่ราชสำนักหมิงเรียกร้อง


 
ความสัมพันธ์กับสุโขทัยและอโยธยา

       รัชกาลท้าวสองแสนนา หรือ กิลนามหาราชตรงกับช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรเชียงใหม่ อำนาจของอาณาจักรนี้แผ่ไปจรดเมืองเชียงตุง (เขมรัฐของไทเขิน) เมืองนายและเมืองไทใหญ่อื่น ๆ ทางฝั่งตะวันตกของน้ำคง (สาละวิน) จรดอาณาจักรมาวโหลง (ไทมาวหลวง) ทางเหนือจรดเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองยาง และเมืองส่วนใหญ่ในสิบสองพันนา ทางตะวันออกจรดเมืองชวา (ซ่าว) หรือหลวงพระบาง ส่วนทางใต้มีอิทธิพลลงไปถึงเมืองเชียงทอง เมืองน่าน เมืองแพร่ และศรีสัชนาลัย (เชียงชื่น)
       กิลนามหาราช มีความสัมพันธ์อันดีกับ "ปกเลือง" (อาณาจักรสุโขทัย) ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 (พระยาลือไท) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางพระศาสนา ความสัมพันธ์นี้เนื่องมาตั้งแต่รัชกาลพระยามังรายหลวงและพระร่วงเจ้า (พ่อขุนรามคำแหง) ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1 อาณาจักรอโยธยากำลังรุ่งเรือง และแผ่อำนาจขึ้นมาทางเหนือ เมื่อสิ้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1 แล้ว สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ่องั่ว) ได้ยกกองทัพขึ้นมาโจมตีเมืองเหนือใน ค.ศ.1371/พ.ศ.1914.
       ในครั้งนั้นได้เกิดสถานการณ์วิกฤตเพราะกษัตริย์พระองค์ใหม่ยังทรงพระเยาว์ ฝ่ายเมืองสุโขทัยได้เจ้าพรมไชยและพระยาศรีเทพาหุราชเข้ามาช่วยกันรักษาบ้านเมือง พระยาศรีเทพาหุราชได้ส่งพ่อนมไสดำสึกออกจากสมณเพศ เพื่อมาช่วยฟื้นฟูบ้านเมือง และเป็นทูตขึ้นไปเฝ้ามหาราชท้าวสองแสนนาแห่งเชียงใหม่ เพื่อขอความช่วยเหลือ จารึกพ่อนมไสดำเป็นเอกสารร่วมสมัยแรกสุดที่เรียกกษัตริย์ล้านนาว่า "มหาราช" พระองค์ได้ส่งทัพไปช่วยสุโขทัยทำสงครามกับอโยธยา จนถึงกับเสียเจ้าอ้ายออนพระราชโอรสองค์หนึ่งแก่ฝ่ายอโยธยา อย่างไรก็ตามสมเด็จพระบรมราชาธิราช (พ่องั่ว) ได้ยกกองทัพขึ้นมาตีเมืองเหนืออีกด้วยกำลังที่เข้มแข็งกว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 จึงทรงออกถวายบังคมใน ค.ศ.1378/พ.ศ.1921.


 
การทำนุบำรุงพระศาสนา: การอาราธนาพระสุมนเถระมาสถาปนาพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกา - รามัญวงศ์

       วัฒนธรรมพุทธของโยนรัฐนั้นมาจากทั้งหริภุญชัย (รับมาจากลโวทัยปุระอีกทีหนึ่ง) และพุกาม ซึ่งแสดงให้เห็นอิทธิพลของลัทธิพุทธมหายานที่ผสมกลมกลืนเข้ามา ท้าวสองแสนนาหรือกิลนามหาราชเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของราชวงศ์มังราย จึงได้ทรงมองหาแรงดลบันดาลใจใหม่ที่จะฟื้นฟูพระศาสนา ในช่วงนั้นลังกาเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด พระภิกษุจากพม่าและหัวเมืองมอญต่างมุ่งหน้าเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่นั่น รวมทั้งพระมติมาแห่งเมืองพัน (หรือเมาะตะพัน ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เมาะตะมะ) ซึ่งได้นำเอาศาสนาพุทธเถรวาทจากลังกามาปลูกฝังที่เมืองดังกล่าว พระภิกษุจากเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยได้เดินทางไปบวชใหม่และเล่าเรียนในสำนักของพระมติมา (หรือต่อมาเป็นพระมหาสามีสังฆราชอุทุมพร) แล้วเดินทางกลับมาสั่งสอนพระศาสนาในเมืองสยาม
                                                       (ที่มา?: เรื่องพระสุมนเถระ จารึกวัดพระยืน และวัดบุปผาราม (สวนดอกไม้))



 
ความเจริญด้านนีติศาสตร์: กิลนามหาราชกับคลองตัดคำ (กฎหมายวิธีพิจารณาความ)

       ในแง่มุมประวัติศาสตร์ ท้าวสองแสนนา (หรือที่รู้จักกันในพระนามที่ยกย่องสมัยหลังว่า กือนา หรือ กิลนา) สมควรได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ในประวัติศาสตร์ไทยด้วยพระองค์หนึ่ง เพราะทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองในทางวัฒนธรรมและในการปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นมีความสงบสุข พระยามังรายหลวงทรงริเริ่มให้จัดทำประมวลกฎหมายมังรายวินิจฉัยขึ้น แต่กิลนามหาราชทรงให้ความสนพระทัยแก่เรื่องกระบวนการพิจารณาความ เอกสารที่รวบรวมตัวอย่างของการตัดสินคดีความคือ คลองตัดคำพระยากือนา และคลองตัดคำพระพุทธโษสาจารย์ (โปรดดู วินัย พงศ์ศรีเพียร. คลองตัดคำพระพุทธโษสาจารย์, รายงานวิจัยฉบับพิเศษโครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ในความสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2549) ซึ่งแสดงถึงหลักการที่ว่า ไม่ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาในคดีใดคดีหนึ่งมีความผิดสำเร็จ หากแต่ต้องมีการไต่สวนหาความจริงจนประจักษ์ชัด.
       มีข้อควรสังเกตว่า ระบบกฎหมายของล้านนาแทบไม่ได้รับอิทธิพลจากมนูธรรมศาสตร์เลย แม้จะมีการอ้างถึงทั้งพระธรรมศาสตร์และพระราชสาสน์ก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของมังรายวินิจฉัยจากฮีตคองและประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานหลายชั่วคน (อย่างน้อย 3 ชั่วคนตามคำสอนพระยามังรายหลวง) ในการจัดหมวดหมู่กฎหมาย มังรายวินิจฉัยมิได้จัดแยกเป็น 18 มูลคดีพระพระไอยการตามพระธรรมศาสตร์ แต่มุ่งเน้นเนื้อหาคือพระราชสาสน์ หรือบทบัญญัติที่พระเจ้าแผ่นดินทรงให้ตราขึ้น ซึ่งครอบคลุมคดีความทุกประเภทตั้งแต่กฎหมายไพร่ กระบถศึก การพิจารณาความของตระลาการ ผัวเมียและชู้สาว จ้างวาน หนี้สิน บทบัญญัติเรื่องสินไหม วิวาท ที่ดินกระหนาบคาบเกี่ยว และอื่น ๆ ในเรื่องทัณฑกรรม กำหนดโทษไว้ดังนี้ โทษตายนั้นจำกัดอยู่ที่กระบถศึก โทษสมควรตายคือ โทษอุกฉกรรจ์ โทษปรับไหมมีค่าตัวคน และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเกณฑ์ โทษขับจากเมือง และไม่เป็นโทาเพราะไม่เจตนากระทำ เป็นเหตุสุดวิสัยหรือ "เป็นกรรมของสัตว์"
       เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ในราวปี ค.ศ.1387/พ.ศ.1930 อาณาจักรล้านนาก็ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง


 
"ตาวปานเหมี่ยน": เจ้าท้าวแสนเมืองมาในประวัติศาสตร์ล้านนา

       ในปีดังกล่าวคือ ค.ศ.1387/พ.ศ.1930 บรรดาอมาตย์มนตรีเมืองเชียงใหม่ได้พอใจยกเจ้าแสนเมืองมา พระราชโอรสของพระองค์ (มหาราชกิลนา) ขึ้นเป็นกษัตริย์ขณะเมื่อพระชนม์ได้ 24 ปี ในครั้งนั้นพรหมราชาเจ้าเมืองเชียงรายไม่พอพระทัย เพราะถือว่าพระองค์เป็นอุปราชอยู่ที่เชียงราย และมีอำนาจบารมีมาก อีกทั้งได้พระพุทธสิหิงค์ไว้ในครอบครองด้วย จึงยกกองทัพมาหวังยึดเมืองเชียงใหม่ แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงยกกองทัพไปปล้นเมืองหริภุญชัย อีกสามปีต่อมาได้หันไปพึ่ง "สมเด็จพระบรมไตรจักร" (สมเด็จเจ้าสามพระยา) กษัตริย์อโยธยา นำทัพมาตีเมืองลำปาง แต่ไม่ได้เมือง จึงยกกองทัพกลับไปเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมาทรงตั้งพระองค์ได้มั่นคง จึงทรงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงรายบ้าง ทรงได้ตัวพรหมราชาแต่ไม่ได้ฆ่าฟันประการใด โปรดให้ครองเมืองเชียงรายต่อไป เพียงแต่ขอนำพระพุทธสิหิงค์ที่ตามตำนานกล่าวว่า พรหมราชาได้มาจากเมืองกำแพงเพชร ลงมาประดิษฐานที่จรนำของพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งโปรดให้สร้างอุทิศถวายแด่พระราชบิดา แต่การสร้างเจดีย์หลวงนี้ยังไม่เสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระอัครมเหสีของพระองค์ได้ทรงทำยอดพระธาตุจนเสร็จ
       พระนาม "แสนเมืองมา" นั้น ตำนานเล่าว่า ในปีที่ประสูติได้มีบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ มาถวายเครื่องราชบรรณาการมากมาย พระยากือนาจึงพระราชทานนามดังกล่าวแก่พระราชโอรส อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบดูกับเอกสารจีนพบว่า ใน "หมิงสือลู่" กลับเรียกพระองค์ว่า ปานเหมี่ยน ซึ่งน่าจะเพี้ยนเสียงมาจาก "พันเมือง" พระนามที่เปลี่ยนไปนั้นน่าจะมาจากการที่ผู้เรียบเรียงราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ในสมัยหลังยกย่องพระเกียรติยศมากขึ้นเช่นเดียวกับการที่ "ท้าวสองแสนนา" กลายเป็น "กือนา" นั่นเอง.

 

แผนที่มณฑลยูนนาน, ที่มา: www.levelupthailand.com, วันที่เข้าถึง 6 มีนาคม 2564.
 
ความสัมพันธ์กับจีนและไทมาวโหลง

       มหาราชแสนเมืองมา เมื่อตอนขึ้นครองราชย์และได้อำนาจสมบูรณ์แล้ว น่าจะได้ส่งทูตไปยังราชสำนักจีนเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1388/ พ.ศ.1931 เอกสารจีนได้กล่าวว่าปาไป่สีฟู่ส่งคณะทูตครั้งต่อไปในปี ค.ศ.1391/พ.ศ.1934 ดังความในหมิงสือลู่ว่า
       วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1391/พ.ศ.1934  ตาวปานเหมี่ยน ข้าหลวงปกครองพื้นเมืองปาไป่ (มีบ่อยครั้งที่เอกสารจีนจะเรียก ปาไป่สีฟู่ อย่างย่อ ๆ ว่า ปาไป่) สังกัดยูนนาน ได้ส่งทูตมาถวายช้างและสิ่งของพื้นเมือง ก่อนหน้านี้ มู่อิง ขุนนางตำแหน่งซีผิงโหวได้เคยให้หยางจ่าย ขุนนางตำแหน่ง จั่วเว่ยไปซูา แห่งยูนนานไปเกลี้ยกล่อมปาไป่ให้มาสวามิภักดิ์ปาไป่จึงได้มาถวายเครื่องราชบรรณาการ (หมิงไท่จู่สือลู่ บรรพที่ 209)
       ในเอกสารจีนได้เรียกกษัตริย์ล้านนาว่า "ตาวปานเหมี่ยน" ซึ่งตรงกับคำไทว่า ท้าวพันเมือง เอกสารจีนหมิงสือลู่ได้กล่าวว่า ตาวปานเหมี่ยน ส่งคณะทูตไปราชสำนักจีนรวมทั้งหมด 7 ครั้ง ในปี
          ค.ศ.1388/พ.ศ.1931

            ค.ศ.1391/พ.ศ.1934
          ค.ศ.1393/พ.ศ.1936
          ค.ศ.1394/พ.ศ.1937
          ค.ศ.1396/พ.ศ.1939
          ค.ศ.1400/พ.ศ.1943 และ
          ค.ศ.1402/พ.ศ.1945 เป็นครั้งสุดท้าย
       ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดกันมากขึ้น เอกสารจีนทำให้ทราบว่าจีนเริ่มเรียกชื่ออาณาจักรโยนรัฐ จากปาไป่สีฟู่เป็น "ปาไป่ต้าเตี้ยน" (มหารัฐ) ในปี ค.ศ.1391/พ.ศ.1934 ซึ่งอาจเกี่ยวโยงกับการที่ท้าวแสนเมืองมา สามารถปราบปรามพรหมราชาแห่งเชียงรายได้สำเร็จ.
       ตามข้อความในหมิงสือลู่ลงวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1391/พ.ศ.1934 จักรพรรดิไท่จู่ทรงปรารภว่า "ได้ยินมาว่า ปาไป่ [ต้าเตี้ยน] และไป่อี๋ [ไทมาว] ได้ทำศึกสงครามกันมานานจนหาความสงบสุขมิได้ " แต่เนื่องจากปาไป่ยอมอ่อนน้อมส่งบรรณาการ จึงได้ทรงให้หาทางช่วยเหลือปาไป่ ภูมิหลังของเรื่องนี้มาจากช่วงปลายราชวงศ์หยวนเมื่ออำนาจของพวกมองโกลได้เสื่อมลง ในครั้งนั้น เสือกาฟ้า (บ้างก็เรียก เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า เจ้าหลวงขุนผางคำ) กษัตริย์มาวแห่งเมืองแส้หลวง (เมืองมาวหรือเมืองรุ่ยลี่ (Ruili) ในจีน) ได้ฉวยโอกาสขยายอำนาจในกลุ่มรัฐไทใหญ่ นอกจากนี้ยังขยายอำนาจเข้าไปในเขตยูนนาน เกิดการรบพุ่งกับราชวงศ์หมิง ซึ่งต้องการสถาปนาอำนาจเหนือบริเวณยูนนานตะวันตก ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่า เสือกาฟ้าทรงต้องการสร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เหมือนหนานเจ้าและต้าหลี่ในอดีต เพราะทรงปรารถนาที่จะยึดครองเมืองต้าหลี่ด้วย พระราชโอรสของพระองค์คือ เสือโหลงฟ้า (บ้างก็เรียก เจ้าเสือข่านฟ้า) ได้ขึ้นครองราชย์ ค.ศ.1383/พ.ศ.1926 ในช่วงเวลาเพียงสามปี เสือโหลงฟ้ามีกำลังกล้าแข็งถึงขนาดที่ว่า วันที่ 26 มกราคม ค.ศ.1386/พ.ศ.1929 ได้มีรายงานถึงราชสำนักที่ปักกิ่งว่าพระองค์ได้นำพล 100,000 คนเข้าโจมตี จิ่งต้ง และรบได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายจีน แต่ในต้นปี ค.ศ.1388/พ.ศ.1931 เสือโหลงฟ้าได้นำทัพเข้าโจมตียูนนานอีก แต่ทัพของพระองค์ประสบกับความพ่ายแพ้ อันเนื่องมาจากฝ่ายจีนนำเอาปืนไฟมาใช้ และไพร่พลของพระองค์ถูกจับเป็นเชลยจำนวนมาก.
       ความขัดแย้งระหว่างท้าวแสนเมืองมา (ตาวปานเหมี่ยน) กับเสือโหลงฟ้าแห่งเมืองมาวน่าจะมาจากการที่มีเขตอิทธิพลติดกัน (ในตำนานของไทยมาว ซึ่งพูดเกินเลยไปถึงอำนาจของเสือโหลงฟ้านั้น ได้กล่าวถึงเมืองขึ้นของไทมาวจำนวนมากมายรวมทั้งเชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ่ง หริภุญชัย พุกาม อยุธยา ฯ และแม้กระทั่งต้าหลี่ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย) เพราะเมืองเชียงใหม่ได้ขยายอำนาจไปเหนือดินแดนตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ในช่วงเวลาที่เสือโหลงฟ้ามีปัญหากับกษัตริย์อังวะ เพราะยกกองทัพเข้าโจมตีดินแดนพม่า จนพระองค์ร้องเรียนไปยังราชสำนักหมิงในปี ค.ศ.1395/พ.ศ.1938 และ ค.ศ.1396/พ.ศ.1939 ในท่ามกลางความขัดแย้งนี้ ทูตของปาไป่ต้าเตี้ยนในการเข้าเฝ้าจักรพรรดิในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1393/พ.ศ.1936 ได้ขออาสาเป็นสื่อกลางติดต่อจีนให้แก่พม่า เพื่อให้ราชสำนักจีนส่งทูตไปพม่าเชื้อเชิญให้พม่ายอมติดต่อสัมพันธ์กับราชสำนักอังวะ พม่าได้ส่งทูตไปจีนในปีเดียวกันนั้นเอง ข้อมูลนี้แสดว่า ท้าวแสนเมืองมาได้ผูกไมตรีกับเมืองอังวะ ต่อต้านการขยายอำนาจของเสือโหลงฟ้า อย่างไรก็ตาม พม่าได้แจ้งแก่ราชสำนักจีนถึงสองครั้งในปี ค.ศ.1395/พ.ศ.1938 และ ค.ศ.1396/พ.ศ.1939 ว่าภายหลังยกทัพมาโจมตีพม่าไม่สำเร็จ เสือโหลงฟ้าก็ถูกตาวกานหมิ่ง (ท้าวคำ) โค่นล้มอำนาจ จนต้องหันไปพึ่งจีนก่อนกลับมาได้ราชสมบัติและพิราลัยใน ค.ศ.1399/พ.ศ.1942


 
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

       ท้าวพันเมือง/มหาราชท้าวแสนเมืองมา มิได้ทรงละเลยเรื่องกิจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดย
     1. พระองค์ได้โปรดให้หุ้มทองคำเปลว พระบรมสารีริกธาตุที่หริภุณชัยด้วยพระราชทรัพย์ถึง 210,000 บาท.
     2. พระมหาราชครูของพระองค์ คือ พระมหาสามีมหาเถระได้จาริกแสวงบุญไปถึงพุกามใน ค.ศ.1393/พ.ศ.1936 และได้ตั้งมูลนิธิเพื่อเอาดอกผลไปหุ้มทองและพอกปูนขาวที่พระมหาเจดีย์ชเหว่ซิโข่ง (มหาเจดีย์ชเวสิกอง)
       ข้อมูลนี้แสดงว่า สถาบันสงฆ์เชียงใหม่ (พม่าเรียกโยนรัฐ) ได้รับอิทธิพลด้านพระพุทธศาสนาจากทั้งเมืองพุกามและเมืองสุโขทัย.


 
humanexcellence.thailand@gmail.com