ครั้งที่ 1: ศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2563 |
ความสำคัญของอาณาจักรล้านนาใน "ประวัติศาสตร์ชาติไทย".
1. การรับรู้ของคนไทยในปัจจุบัน และประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา.
2. หลักฐานสำคัญในการรื้อร้างสร้างใหม่ประวัติศาสตร์ล้านนา.
3. ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ล้านนา.
3.1 หริภุญชัยและเชียงใหม่ในฐานเมืองหลัก-เมืองรอง.
3.2 พัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม: การศึกษาในเชิงวิเคราะห์.
3.3 จารึกศึกษา.
3.4 ประเด็นศึกษาเฉพาะที่สำคัญ.
4. คุณูปการของงานวิจัย. |
ครั้งที่ 2: |
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
1. ดินแดนล้านนาในบริบทของประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบน.
1.1 ความสำคัญของภูมิ-รัฐศาสตร์ ชาติพันธุ์ดั้งเดิม การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง.
1.2 ถิ่นเดิมและการขยายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9-11.
คำสำคัญ: หนานเจ้า อ้ายลาว (ลาว เหมาหนาว/มู่ลัม/หมู่ลาว อาหนาน/อ้ายหนาน สุย/อ้ายซุย) ไทกวางสี (ไทนุง ผู้ไต้/ผู้ไท ผู้น่ง ผู้ถู่/ขันหมาก เมิง กู ผู้ก้ำ/แอ่วสาว แอ่วเมิง ผู้เย้ย/ผู้ใหญ่) เผาไต/เผ่าไท กาว ซ่าว เลิง ฯ.
2. กำเนิดเมืองหริภุญชัยและพิงครัฐ.
2.1 จินตนทัศน์ตำนาน.
2.2 หลักฐานประวัติศาสตร์. |
ครั้งที่ 3: |
หริภุญชัยและพิงครัฐ (คริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13).
1. จามเทวีในความทรงจำของท้องถิ่นและความสำคัญในประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา.
2. เรื่องราวขุนหลวงวิลังคะ (ตำนาน) VS การรุกรานของมหาราชโก๊ะล่อเฝิงแห่งหนานเจ้า (ประวัติศาสตร์).
3. หริภุญชัยในฐานะศูนย์กลางแห่งอารยธรรมพุทธ.
อาทิจจราช (อาทิตยราช) กับการสถาปนาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเจดีย์หลวง) หริภุญชัย / ธรรมิกราชกับการหล่อพระอัฏฐารส / สรรพสิทธิราชกับการสร้างบูรณะพระเจดีย์หลวงหลังแผ่นดินไหว. |
ครั้งที่ 4: |
โยนรัฐ พรญามังรายหลวงและการสถาปนาราชวงศ์ใหม่.
1. ภูมิหลังก่อนการสถาปนาโยนรัฐและราชวงศ์มังราย.
1.1 ตำนานลาวจง (ลวจังกราช).
1.2 การเชื่อมโยงกับตำนานขุนเจื๋อง.
2. การทำสงครามแผ่พระราชอำนาจในดินแดนล้านนา.
3. เหตุการณ์สำคัญในรัชกาล.
3.1 การรวมพิงครัฐและโยนรัฐ.
3.2 การสร้างนครเชียงใหม่. |
ครั้งที่ 5: |
ความสัมพันธ์และการสงครามกับราชวงศ์หยวน.
1. บริบทของการสงคราม.
2. พรญามังรายหลวงกับการแผ่พระราชอำนาจในพม่า.
3. ผลกระทบของการสงครามกับราชวงศ์หยวน. |
ครั้งที่ 6: |
ความรุ่งเรืองของโยนรัฐในรัชสมัยพรญามังรายหลวง.
1. ด้านการพระศาสนา.
2. ด้านนีติศาสตร์: มังรายราชศาสตร์.
3. ด้านภูมิปัญญา: คำสอนพรญามังรายหลว์ (หลวง). |
ครั้งที่ 7: |
ความแตกแยกของราชวงศ์มังรายในรัชกาลขุนคราม.
1. ขุนครามกับการย้ายเมืองหลวงไปที่เชียงราย.
2. ความสัมพันธ์กับราชวงศ์หยวน: เจาปู่จ่งลู่.
3. ความแตกแยกระหว่างพระราชโอรสของขุนคราม.
4. พิงครัฐแยกตัวเป็นอิสระ. |
ครั้งที่ 8: |
รัชกาลพรญาแสนภูถึงสิ้นรัชกาลพระยาผายู.
1. การสร้าง และย้ายเมืองหลวงไปเชียงแสน.
2. เอกสารจีนกับการตรวจสอบปีรัชกาลพรญาคำฟูและพรญาผายู (หริปรยู).
3. พรญาคำฟูย้ายเมืองหลวงกลับมาที่เชียงใหม่. |
ครั้งที่ 9: |
ความรุ่งเรืองของล้านนาในรัชกาลท้าวสองแสนนา "พรญากือนา" หรือ "กิลนา".
1. การเสด็จขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่และพรหมราชาที่เชียงราย: จารึกสัตยาธิษฐานระหว่างพี่น้อง.
2. ความสัมพันธ์กับจีนและสุโขทัย.
3. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกา-รามัญวงศ์: จารึกวัดพระยืน และการสร้างวัดบุปผาราม (สวนดอกไม้).
4. ความเจริญด้านนีติศาสตร์: การวางรากฐานกระบวนการพิจารณาความ.
5. พรหมราชา: ภาพลักษณ์ของกษัตริย์ผู้มีบารมี. |
ครั้งที่ 10: |
รัชกาลมหาราชแสนเมืองมา (ตาวป่านเหมี่ยน) และมหาราชท้าวสามฝั่งแก่น (ตาวเจ้าส้าน).
1. รัชกาลแสนเมืองมา.
- การแย่งชิงราชสมบัติตอนต้นรัชกาล: การรบชนะพรหมราชาและได้สัญลักษณ์แห่งความชอบธรรม การเชิญพระสิงห์มาเชียงใหม่เพื่อประดิษฐานที่พระเจดีย์หลวง.
- ความสัมพันธ์กับราชวงศ์หมิง.
- ความขัดแย้งกับรัฐไตมาวโหลง (ไทมาวโหลง).
- การสร้างวัดพระเจดีย์หลวงอุทิศแด่มหาราชกือนา.
- การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชโอรสท้าวยี่กุมกามอุปราชเมืองเชียงรายกับท้าวเจ้าสามพระอนุชา.
2. รัชกาลมหาราชท้าวสามฝั่งแก่น.
- ความขัดแย้งกับจีนราชวงศ์หมิง: สาเหตุ, การเสียเมืองเชียงแสน เมืองสาย และเชียงใหม่.
- การสืบชะตาเมือง: บทสวดอุปาตะสันติของพระศีลวงศ์เถระ.
- จีนรับรองความเป็นรัฐบรรณาการของปาไป่ต้าเตี้ยน (เชียงใหม่) และปาไป่เจ้อไน่ (เชียงราย).
- ความขัดแย้งด้านการพระศาสนา: การเข้ามาของลัทธิลังกาวงศ์ใหม่ และการตั้งคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแดงของพระธรรม/ญาณคัมภีร์ และพระเมธังกร.
- ตาวเจาลูก/เจ้าลกเป็นกบฏถอดมหาราชท้าวสามฝั่งแก่นออกจากราชบัลลังก์.
|
ครั้งที่ 11: |
ความสำคัญของรัชกาลติลกมหาราช (พระเจ้าติโลกราช) ในประวัติศาสตร์ล้านนา.
1. กษัตริยภาพ: ปัญหาสิทธิธรรมและการสร้างความชอบธรรม.
- การเกื้อกูลกันระหว่างสถาบันกษัตริย์กับการสนับสนุนคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ (สำนักวัดป่าแดง).
- การเสด็จออกทรงผนวช.
- การรับลายจุ้มลายเจียจากราชสำนักจีน.
2. อภินวบุรี - ศรีอโยธยามหายุทธ์.
- สาเหตุของสงคราม.
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงทองและเชียงใหม่.
- การเข้ามาสวามิภักดิ์ของเจ้ายุธิษเฐียร.
- ผลของการสงคราม.
3. สงครามล้านช้าง - ไดเวียด: ความเกี่ยวพันของโยนรัฐและจีน.
- สาเหตุของสงคราม.
- บทบาทของท้าวขาก่านในการต่อต้านการรุกรานของทัพไดเวียด.
- ผลของสงคราม.
4. ระบบการปกครองและการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง.
- การลดความสำคัญของการส่งเจ้าไปปกครองหัวเมือง.
- การควบคุมพวกขุน.
5. การทำสงครามเพื่อความมั่นคงของราชอาณาจักร.
6. การพระศาสนา.
- การชำระสถาบันสงฆ์ให้บริสุทธิ์.
- การชำระพระไตรปิฎก.
- การประดิษฐานพระแก้วมรกต ณ วัดเจดีย์หลวง.
- การบูรณะพระบรมสารีริกธาตุ หริภุญชัยและการสร้างวัดสำคัญ.
- การหล่อพระพุทธรูปแบบลโวทัยปุระ.
7. ภาพลักษณ์โดยรวม. |
ครั้งที่ 12: |
รัชกาลมหาราชเมืองแก้ว: ความรุ่งเรืองครั้งสุดท้าย.
1. การขึ้นครองราชย์ของยุวกษัตริย์และบทบาทของพระกันโลงแม่.
- การขึ้นมามีบทบาทและอำนาจของเจ้าขุนในเค้าสนามหลวง.
2. การสงครามเพื่อป้องกันราชอาณาจักร.
- สงครามกับอโยธยาสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (อาทิตยวงศ์).
- สงครามปราบปรามเงี้ยว (รัฐไทใหญ่).
3. การพระศาสนา.
- ความรุ่งเรืองของลัทธิลังกาวงศ์และสำนักวัดป่าแดง.
- การสร้างวัดบุพพารามเป็นวัดประจำพระองค์.
- การบูรณะพระเจดีย์หลวง (เชียงใหม่) พระเจดีย์หลวง (เชียงแสน) พระเจดีย์หลวง (หริภุญชัย).
- การจำลองพระไตรปิฎกฉบับปิดทอง.
- การหล่อพระพุทธรูปสำคัญ.
4. ความรุ่งเรืองด้านอักษรศาสตร์.
- ปาลีศึกษาและวรรณกรรมปาลี.
- พระราชนิพนธ์โคลง: รุธิราชรำพัน (โคลงเมิ้งเปล้า/โคลงหริภุญชัย).
|
ครั้งที่ 13: |
การล่มสลายของอาณาจักรล้านนา.
1. ลูกขุนขึ้นมาเป็นใหญ่สามารถบงการเลือกและถอดถอนกษัตริย์ได้จนไม่มีเชื้อวงศ์มังรายรับอัญเชิญเป็นกษัตริย์.
2. ลูกขุนที่เป็นใหญ่แข่งขันอำนาจและระแวงกันทำให้เกิดสงครามกลางเมือง.
3. พระนางจิรประภามหาสุทธ มหาเทวีในพรญาเกศเกล้าได้รับเชิญขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ลูกขุนได้ไปเชิญพระอุปโยราช โอรสของกษัตริย์ล้านช้างมาเสวยราชย์.
4. พระอุปโยราชรับราชสมบัติอยู่เพียง 2 ปีก็กลับไปเมืองหลวงพระบาง ในระหว่างนั้นเกิดจลาจลในกลุ่มลูกขุนขันคำทั้งห้า และการรุกรานจากภายนอก อีกสามปีต่อมาเจ้าอุปโยราชได้ขอเวนเมืองเชียงใหม่แก่พระนางจิรประภาตามเดิม.
5. การยกทัพขึ้นมาเชียงใหม่ของสมเด็จพระชัยราชาธิราช.
6. ลูกขุนเชิญพรญาแม่กุเจ้าเมืองนายมาสืบราชสมบัติ แต่ก็เสียเมืองแก่พระเจ้าบุเรงนองถึงสองครั้ง.
7. บุเรงนองอภิเษกให้วิสุทธเทวีกินเมืองเชียงใหม่.
8. เหตุแห่งการเสียเมือง.
- ปัจจัยภายใน.
- ปัจจัยภายนอก.
|
ครั้งที่ 14: |
ระบบการเมืองการปกครอง.
- สถาบันกษัตริย์ที่ยอมรับราชวงศ์เดียวเท่านั้น.
- โครงสร้างระบบการปกครอง.
|
พระเจ้าแผ่นดิน
"มหาราช"
เจ้าอุปราช เจ้าราชบุตร |
|
เจ้าขัน 5 ตน
เถ้าเมือง สิงเมือง
เค้าสนามหลวง
เจ้าเมือง เจ้านาย
เจ้าขุนขันคำทั้ง 5 |
|
ข้าราชสำนัก ตระลาการ ข้าราชการทำหน้าที่เฉพาะทาง ขุนทหาร |
|
|
|
ครั้งที่ 15: |
เศรษฐกิจและการค้าของเชียงใหม่และหริภุญชัย.
- ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ.
- เครือข่ายการค้าภายในและภายนอก.
- ส่วนไร ส่วยเชา ขุมหลวง.
เศรษฐกิจเมือง.
- กาดประเภทต่าง ๆ และสินค้า.
- เงินตรา: เงินจีน เงินเจียง พดด้วง เงินแท่ง ทองแท่ง ตราชู.
เศรษฐกิจชนบท.
- เศรษฐกิจแบบยังชีพ.
- ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า.
- เศรษฐกิจแบบกึ่งใช้เงินตรา.
กฎหมายว่าด้วยการค้าขาย. |
ครั้งที่ 16: |
สังคมและวิถีชีวิต.
1. กลุ่มชาติพันธุ์ ชนชั้นและการเลื่อนชั้นทางสังคม.
2. กฎหมายกับสังคม: รัฐกับการควบคุมประชากร.
3. การศึกษา อาชีพ และนันทนาการ.
4. คติความเชื่อกับการดำเนินชีวิต.
- พุทธศาสนา.
- คำสอนพระยามังรายหลวง.
- ฮีต คอง ราชประเพณี ราชศาสตร์.
- สถานภาพสตรี.
|
ครั้งที่ 17: |
พุทธศิลป์แผ่นดินพิงครัฐ: แรงบันดาลใจ รูปแบบ สุนทรียภาพ.
1. สถาปัตยกรรมศิลป์.
2. ประติมากรรม.
3. ทัศนศิลป์. |
ครั้งที่ 18: |
นาฏ-ดุริยศิลป์แห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย.
1. แรงบันดาลใจ.
- ศิลปะเพื่อความบันเทิง.
- ศิลปะประกอบพิธีกรรม.
2. ดุริยสังคีตแห่งเวียงพิง.
- เครื่องดนตรีล้านนา.
- นักดนตรี.
- เนื้อหา.
3. เอกลักษณ์แห่งนาฏศิลป์เชียงใหม่และหริภุญชัย.
- เนื้อหา.
- รูปแบบ.
- ลีลา.
- สุนทรียภาพ.
|
ครั้งที่ 19: |
เชียงใหม่ในฐานะศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาล้านนา: อักษรินรัตน์-วิวัฒน์วรรณกรรม.
1. ภูมิหลัง:
- รากฐานภูมิปัญญาลาวยวนเดิม.
- อิทธิพลของการรับนับถือพุทธศาสนา.
- การผสานคติความเชื่อท้องถิ่นกับปรัชญาพุทธ.
2. อักษรินรัตน์-วิวัฒน์วรรณกรรม.
- การประดิษฐ์อักษร.
- อักษรฝักขามจากอักษรสุโขทัย และอักษรธรรมจากอักษรมอญ.
- อัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์และวรรณกรรมของลาวยวน.
- ฉันทลักษณ์ลาวยวน: ร่าย/โคลง/ค่าว/และการขับ.
3. พุทธศึกษาและปาลีศึกษา.
- แรงกระตุ้นที่มาจากสังฆเภท.
- พระเถระนักปราชญ์กับวรรณกรรมบาลีที่สำคัญของล้านนา.
4. วรรณกรรมทางโลกย์.
- รุธิราชรำพัน (โคลงเมิ้งเปล้า หรือนิราศหริภุญชัย).
- โคลงมังตรารบเชียงใหม่.
- วรรณกรรมบำรุงปัญญา (วรรณกรรมคำสอน).
5. ผลกระทบของวรรณกรรมล้านนาต่อวรรณกรรมไทย. |
ครั้งที่ 20: |
พระพุทธรูปและพระอารามสำคัญแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย.
- พระพุทธรูปสัญจร: ตำนานและความหมาย.
- พระพุทธรูปสำคัญที่ควรรู้จัก.
|
ครั้งที่ 21: |
เชียงใหม่และลำพูนในสายตาของอาคันตุกะ.
- หยวนสื่อและหมิงสือลู่.
- Ralph Flyche
- Sir Robert Schomburgh
- Captain Thomas Lowdnes
- Daniel McGilvary
- Carl Block
- Sir. Emest Satow
- Arhibald Colquhoune
- Holt Hallet
- Francois Gamier
- Pierre Oode
- Lilian Curtis
|