MENU
TH EN

ข. พัฒนาการของอาณาจักรล้านนา - ราชวงศ์มังราย

Title Thumbnail & Hero Image: พระเจ้าค่าคิง วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2478 และ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2478 ที่มา: Facebook เพจ"Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
ข. พัฒนาการของอาณาจักรล้านนา - ราชวงศ์มังราย
First revision: Jul.12, 2020
Last change: Jul.03, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรต โดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
ราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1839 - 2121) 
 ลำดับ  พระรูป  ชื่อกษัตริย์  เริ่มครองราชย์  สิ้นสุดรัชกาล  รวมระยะเวลา  หมายเหตุ/คำอธิบาย
 01  01  พญามังราย  พ.ศ.1839/1804  พ.ศ.1854  บ้างก็ว่า15 ปี บ้างก็ว่า 50 ปี02  * พระโอรสในลาวเมง (หรือเม็ง) กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงราว กับนางเทพคำขยาย
 02  03  พญาไชยสงคราม  พ.ศ.1854  พ.ศ.1868  14 ปี04  * พระโอรสในพญามังราย
 03  05  พญาแสนภู  พ.ศ.1868  พ.ศ.1877  9 ปี06   * พระโอรสในพญาไชยสงคราม
 04  07  พญาคำฟู  พ.ศ.1877  พ.ศ.1879  2 ปี  * พระโอรสในพญามังราย
 * พระอนุชาในพญาไชยสงคราม
 05   08  พญาผายู  พ.ศ.1879  พ.ศ.1898  19 ปี  * พระโอรสในพญามังราย
 * พระอนุชาในพญาไชยสงคราม
 06  09  พญากือนา  พ.ศ.1898  พ.ศ.1928  30 ปี  * พระโอรสในพญาผายู
 07  10  พญาแสนเมืองมา  พ.ศ.1928  พ.ศ.1944  16 ปี  * พระโอรสพญากือนา
 08  11  พญาสามฝั่งแกน  พ.ศ.1944  พ.ศ.1984  40 ปี  * พระโอรสในพญาแสนเมืองมา
 09  12  พญาติโลกราช/
พระเจ้าติโลกราช
 พ.ศ.1984  พ.ศ.2030  46 ปี  * พระโอรสในพญาสามฝั่งแกน ลำดับที่ 6 (ท้าวลก) และแม่พระดิลก
 10  13  พญายอดเชียงราย  พ.ศ.2030  พ.ศ.2038  8 ปี  * พระโอรสในท้างบุญเรือง
* พระนัดดาในพระเจ้าติโลกราช
 11  14   พระเมืองแก้ว/พญาแก้ว (พญารัตนราชบุตร/พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ)  พ.ศ.2038  พ.ศ.2068  30 ปี  * พระโอรสในพญายอดเชียงรายกับมหาเทวีสิริยศวดี
 12  15  พระเมืองเกษเกล้า (ท้าวอ้ายเกล้า, เคล้า) บ้างก็เรียก พระเกส  พ.ศ.2068  พ.ศ.
207916 /2081
 บ้างว่า 11ปี บ้างว่า 13 ปี  * พระโอรสในพญาแก้วกับพระนางจิรประภามหาเทวี
 13  17  พระเมืองซายเจ้า (ท้าวซายคำ)  พ.ศ.2079/2081  พ.ศ.2086
18.
 บ้างว่า 5 ปี บ้างว่า 7 ปี  * พระโอรสในพญาแก้วกับพระนางจิรประภามหาเทวี
 14  19  พระเมืองเกษเกล้า หรือพระเกส (ครั้งที่ 2)  พ.ศ.2086  พ.ศ.2088  2 ปี  * พระโอรสในพญาแก้วกับพระนางจิรประภามหาเทวี
 15  20  พระมหาเทวีจิรประภา  พ.ศ.2088  พ.ศ.2089  1 ปี  * พระมเหสีในพญาแก้ว
 * พระมารดาในพระเมืองเกษเกล้าและท้าวซายคำ
 16  21  พระไชยเชษฐาธิราช  พ.ศ.2089  พ.ศ.2090
22.
 1 ปี  * พระโอรสในพระเจ้าโพธิสารราชกับพระนางยอดคำทิพย์
 * พระนัดดาในพญาแก้วกับพระนางจิรประภามหาเทวี
 ว่างกษัตริย์ พ.ศ.2090 - 2094 (4 ปี)
 17  23  พญาแม่กุ (พระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์)  พ.ศ.2094  พ.ศ.2107  13 ปี  * ทรงเป็นเจ้าฟ้าเมืองนายมาก่อน แต่ทรงมีเชื้อสายของขุนเครือพระโอรสพญามังราย
ในปี พ.ศ.2101 เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์ วัดเชียงมั่น ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
 18 24  พระนางวิสุทธิมหาเทวี  พ.ศ.2107  พ.ศ.2121
25.
 13 ปี  * พระราชมารดาในพญาแม่กุ



01. พญามังราย
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1839/1804-1854) ครองราชย์ 15/50 ปี เป็นพระโอรสในลาวเมง (หรือเม็ง) กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงราว กับนางเทพคำขยาย (หรือ นางเทพคำขร่าย)


02. พญาไชยสงคราม หรือ ขุนคราม
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1854-1868) ครองราชย์ 14 ปี เป็นพระโอรสในพญามังราย


03. พญาแสนภู
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1868-1877) ครองราชย์ 9 ปี เป็นพระโอรสในพญาไชยสงคราม


04. พญาคำฟู
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1877-1879) ครองราชย์ 2 ปี เป็นพระโอรสในมังราย พระอนุชาในพญาไชยสงคราม


05. พญาผายู
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1879-1898) ครองราชย์ 19 ปี เป็นพระโอรสในมังราย พระอนุชาในพญาไชยสงคราม


06. พญากือนา หรือเดิมคือ ท้าวสองแสนนา
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1898-1928) ครองราชย์ 30 ปี เป็นพระโอรสในผายู บ้างก็เรียกพระองค์ว่า (พญากิลนา แรกเริ่มเดิมทีคือ ท้าวสองแสนนา ช่วงหลัง ๆ ยกเฟ้อให้เป็นพญาโกฎินา หรือ พญากือนา นั่นเอง26.)


07. พญาแสนเมืองมา
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1928-1944) ครองราชย์ 16 ปี เป็นพระโอรสในพญากือนา (พญาพันเมือง ต่อมายกเฟ้อเป็นพญาแสนเมืองมา26.) ซึ่งเมื่อพิจารณาเอกสารของจีน "หมิงสือลู่" ได้เรียกพระองค์ว่า ปานเหมี่ยน ซึ่งน่าจะเพี้ยนเสียงมาจาก "พันเมือง" พระนามที่เปลี่ยนไปนั้นน่าจะมาจากการที่ผู้เรียบเรียงราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ในสมัยหลังยกย่องพระเกียรติยศมากขึ้น27.


08. พระเจ้าสามฝั่งแกน หรือ สามฝั่งแก่น
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1944-1984) ครองราชย์ 40 เป็นพระโอรสในพญาแสนเมืองมา บทบาทของแม่มีสูงมาก พระเจ้าสามฝั่งแก่นมีพระราชโอรสหลายพระองค์ เจ้าลก ซึ่งเป็นราชโอรสองค์ที่หกไม่ทรงพอพระทัย ไม่ถูกกับพระราชบิดา ทำการโค่นล้มพระเจ้าสามฝั่งแก่น ด้วยการสนับสนุนของเสนาอำมาตย์และพระราชมารดา26.


09. พญาติโลกราช หรือ พระเจ้าติโลกราช
     (ครองราชย์-สิ้นสุดรัชกาล พ.ศ.1984-2030) ครองราชย์ 46 เป็นพระโอรสในพญาสามฝั่งแก่น และแม่พระดิลก พระนามเดิมชื่อเจ้าลก (นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า เจ้าลูก เพราะมีเจ้าพ่อ คือพระยาสามฝั่งแก่น) ทรงยกทัพไปตีเมืองน่าน ด้วยเมืองน่านเชื่อมโยงกับกรุงศรีอยูธยา โดยผ่านลำน้ำน่าน และผ่านสุโขทัย พระเจ้าติโลกราชจึงคิดตีเอาเมืองเสีย พระเจ้าติโลกราชไม่ได้เสด็จเอง แต่มอบหมายให้พระราชมารดา (แม่พระดิลก) ไปตีเมืองน่านแทน และตีได้สำเร็จ26.      


10. พญายอดเชียงราย
    
ในนิราศหริภุญชัย....พระนางมหาเทวียศวดี..สวยงาม เป็นราชเทวีของเจ้ายอดเชียงราย ๆ หลงสตรีนางหนึ่งเป็นเชื้อสายฮ่อ สนับสนุนราชบุตรที่มีเชื้อสายฮ่อ ทำให้ราชสำนักล้านนาเกรงว่าผิดเพี้ยนไป...เจ้านางยศวดีจึงวางแผนกำกับให้บุตร เจ้าเมืองแก้ว ยึดอำนาจเจ้ายอดเชียงรายแทน26.


11. พญาแก้ว
     พระนางยศวดี อยู่ในอำนาจยาวนานหลายปี (พญาแก้วพระชนม์เพียง 14 ปีขณะขึ้นครองราชย์) และรบกับอยุธยา เป็นครั้งสุดท้าย ยันทัพไว้ได้ รักษาสถานภาพเดิมไว้ (Statusquo) ทรงสร้างวัดวาอารามไว้มาก เก่งมาก
ในกฎหมายมังรายศาสตร์ แปลกมากมีการจ่ายค่าปรับจัดสรรให้พระนางยศวดีด้วย จะได้ครึ่งหนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน26.



12. พระเมืองเกษเกล้า (ท้าวอ้ายเกล้า, เคล้า) บ้างก็เรียก พระเกส


13. พระเมืองซายเจ้า (ท้าวซายคำ)



14. พระเมืองเกษเกล้า หรือพระเกส (ครั้งที่ 2)




15.  พระมหาเทวีจิรประภา28
       หรือบ้างก็เรียก จิระประภามหาเทวี เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีกรุงเชียงใหม่ ได้เสด็จออกมาต้อนรับกองทัพสมเด็จพระไชยราชาธิราช มหาเทวีจิระประภาเป็นกษัตริษ์ล้านนารัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช หลังจากเหตุการณ์นี้ไม่นานขุนนางเชียงใหม่ก็อันเชิญเจ้าฟ้าไชยเชษฐากุมารจากนครหลวงพระบางมาขึ้นรับตำแหน่งกษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ ยุวกษัตริย์น้อยก็ครองเชียงใหม่ได้ไม่นานถึงคราวต้องเสด็จกลับนครหลวงพระบางจึงเกิดเหตุการณ์การเคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าผู้คนมากมายพร้อมทั้งมหาเทวีจิระประภาก็ยกราชสำนักของพระองค์ไปด้วยประทับอยู่ที่หลวงพระบางจนสิ้นพระชนม์.
       วัดโลกโมฬี เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหาเทวีจิรประภา




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. พระราชานุสาวรีย์พญามังราย ที่ห้าแยกพ่อขุน อำเภอเมืองเชียงราย จ.เชียงราย ฝีมือปั้นของปกรณ์ เล็กฮอน ด้านหลังคือตุงทองสามผืนฝีมือของถวัลย์ ดัชนี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และกนก วิศวะกุล ตามลำดับ (ที่มา. th.wikipedia.org/wiki/พญามังราย, วันที่สืบค้น 02 พ.ย.2559)
02. จาก. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ, เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2559. พ.ศ.1804 -1854 รวม 50 ปี. โดยให้เหตุผลว่า... ลำดับปีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ตั้งแต่รัชกาลพญามังรายจนถึงรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า ยึดตามศักราชที่ปรากฎในชินกาลมาลีปกรณ์ โดยนำมาบวก 1181 จะได้เท่ากับปี พ.ศ.ที่แสดงไว้ สำหรับลำดับ ปี พ.ศ. ตั้งแต่รัชกาลพระเมืองเกษเกล้าเป็นต้นไปยึดตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และอื่น ๆ. หลังจากสิ้นสมัยพญามังราย กษัตริย์มักประทับอยู่เมืองเชียงแสนแล้วแต่งตั้งพระราชบุตรให้ครองเมืองเชียงใหม่แทนในฐานะที่คล้ายกับผู้ปกครองเมืองลูกหลวง ต่อมาในสมัยพญาคำฟู กษัตริย์ก็กลับมาครองและประทับอยู่ที่เชียงใหม่เป็นการถาวร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่ากษัตริย์บางพระองค์มีจำนวนปีครองราชย์อย่างแท้จริงเพียงไม่กี่ปี.
03. จาก. Facebook เพจ "เรื่องเล่าชาวล้านนา," วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
04. จาก. ชินกาลมาลีปกรณ์, พระรัตนปัญญา (เขียน), แสง มนวิทูร (แปล), 2510, พิมพ์เป็นอนุสรณ์แก่ นายกี นิมมานเหมินท์ เนื่องในวันเปิดตึกคนไข้พิเศษ "นิมมานเหมินท์-ชุติมา", กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์, หน้า 173.
05. พระราชานุสาวรีย์พระญาแสนภู จ.เชียงราย, ที่มา. historicallanna01.blogspot.com/2011/12/blog-post.html, วันที่สืบค้น 03 พ.ย. 2559.
06. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าพระเมืองเกษเกล้า โดนปลดออกจากพระราชบัลลังก์ใน พ.ศ.2081 แต่แท้จริงแล้วท้าวซายคำ พระราชบุตรของพระองค์ ยึดได้บัลลังก์และขึ้นเป็นกษัตริย์ไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2079 (อ้างจาก 02. ข้างต้น).
07. จาก. http://www.hugchiangkham.com/พญาคำฟูสวรรคตเชียงคำ, วันที่สืบค้น 03 พ.ย.2559.
08. จาก. www.chiangmainews.co.th, วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
09. จาก. historicallanna01.blogspot.com/2012/08/blog-post_6706.html, วันที่สืบค้น 5 พ.ย.2559, "ภาพพระญากือนาธรรมิกราช กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ จากหนังสือตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ".
10. ภาพในอุโบสถ วัดเจดีย์หลวง อันเป็นวัดสำคัญที่สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา, ที่มา: htpps://pantip.com, วันที่เข้าถึง 12 กรกฏาคม 2563.
11. พระบรมราชานุสาวรีย์พระญาสามฝั่งแกน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่.
12. พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าติโลกราช.
13. พระราชานุสาวรีย์พระญายอดเชียงราย วัดตโปทาราม จ.เชียงใหม่.
14. ศาลเจ้าพ่อพญาแก้ว ต.เวียงเชียงของ, ที่มา: www.blockdit.com, วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
15. จาก. www.baanmaha.com/community/threads/27485, วันที่สืบค้น 7 พ.ย.2559.
16. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าพระเมืองเกษเกล้า โดนปลดออกจากพระราชบัลลังก์ใน พ.ศ.2081 แต่แท้จริงแล้วท้าวซายคำ พระราชบุตรของพระองค์ ยึดได้บัลลังก์และขึ้นเป็นกษัตริย์ไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2079 (อ้างจาก 02. ข้างต้น).
17. ภาพประกอบ นักรบโยนกับไทใหญ่ (เงี้ยว), ที่มา: facebook ห้อง "เรื่องเล่าชาวล้านนา", วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
18. แต่เดิมเชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่าท้าวซายคำครองราชย์ใน พ.ศ.2081 แต่ผู้เขียน (อ้างจาก 02. ข้างต้น) พบหลักฐานยืนยันว่าท้าวซายคำครองราชย์แล้วใน พ.ศ.2079.
19. พระเจดีย์วัดเจ็ดยอด ทรงยอดสิงขร เนื่องจากพระเมืองเกษเกล้า เคยบวชที่วัดนี้, ที่มา: th.wiki.pedia.org, วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
20. ภาพพระนางจิรประภามหาเทวี, ภาพวาดมหาเทวีจิรประภา ที่วัดโลกโมฬี, ที่มา: www.sri.cmu.ac.th, วันที่เข้าถึง 12 กรกฎาคม 2563.
21. จาก. th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร_ไชยเชษฐาธิราช, วันที่สืบค้น 7 พ.ย.2559.
22. จาก. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต), 2543, กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, หน้า 117. อย่างไรก็ตามพระไชยเชษฐาธิราช ยังคงอ้างสิทธิ์ในการเป็นพระเจ้าแผ่นดินล้านนามาจนถึง พ.ศ.2097 ซึ่งพญาแม่กุได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ไปแล้ว ดังปรากฎความในจารึกวัดเชียสาเรียกแทนพระนามพระองค์ว่า "สมเด็จบรมบพิตรตนสมัฤทธิ์เสวยราชพิภพทั้ง 2 แผ่นดิน ล้านช้าง ล้านนา".
23. จาก. th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์, วันที่สืบค้น 7 พ.ย.2559. "รูปลักษณ์ของนัตโยนบะเยง หรือนัตพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ ตามความเชื่อของชาวพม่า".
24. จาก. www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main2/main2.php, วันที่สืบค้น 7 พ.ย.2559, "กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มังราย (ภาพวาดพระนางวิสุทธิเทวี วัดโลกโมฬี).
25. อ้างจาก 22. ข้างต้น หน้า 124 ที่ผู้เขียน (อ้างจาก 02. ข้างต้น) ใช้คำว่า "วิสุทธิมหาเทวี" ก็เพราะค้นพบหลักฐานแล้วว่าพระองค์เป็นพระราชมารดาของพญาแม่กุ ซึ่งตำแหน่ง "มหาเทวี" ของทางล้านนานั้นหมายถึงพระราชมารดาของกษัตริย์.
26. จากการบรรยาย "สุโขทัยคดี" ของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อ 24 กรกฎาคม 2563.
27.
จากการบรรยาย "ล้านนามหาปกรณัม ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหรภุชัย" ของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อ 5 มีนาคม 2564.
28. บางส่วนจาก Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 3 กรกฎาคม 2564.





PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01-02: จาก. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 13 กรกฎาคม 2563.
ภาพที่ 01: วัดมหาวัน เชียงใหม่ ปี 2478 Court of Wat Maha Wanna ,Chiang Mai ,1935

ภาพที่ 02: วัดศรีชุม ลำปาง ปี 2478 Wat Sri Chum, Lampang ,1935



 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com