ภาพจาก www.openbase.in.th/node/6406, วันที่สืบค้น 7 พ.ย.2559.
ค. อาณาจักรล้านนา ช่วงที่พม่าปกครอง (พ.ศ.2121 - พ.ศ.2317)01, 06, 07. 08.
First revision: Nov.05, 2016
Last change: Sep.18, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของอาณาจักรล้านนา ซึ่งถูกอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา เข้ามาปกครองสับเปลี่ยนกันไป บางครั้งบางช่วงราษฎรล้านนาก็เจ็บแค้น ช่วงชิงเข้ามาปกครองตนเองได้บ้าง (เทพสิงห์ ปกครองเองเป็นอิสระได้เดือนเดียว) แต่เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จนกระทั่งราชวงศ์คองบอง (หยองยาน หรือ กงบ่อง หรือ อลองพญา ซึ่งแปลว่า "โพธิสัตว์") ได้สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะ พม่าจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง.
อาณาจักรราชวงศ์ตองอู (พ.ศ.2029-2295)
เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 ( 7 สิงหาคม หรือเดือนเก้า พ.ศ.2112 ) พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วสารทิศ จนได้รับการขนานนามว่าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดนครเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้ายึดเมืองบริวาร ลูกหลวงไว้ด้วย.
เหตุที่พระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนองกะยอดินนรธาเข้ายึดล้านนา เพราะ "ปัญหาการแข็งเมืองของไทยใหญ่และการขอพึ่งอำนาจกษัตริย์เชียงใหม่ของเจ้าเมืองนาย และล้านนามีอาณาเขตอยู่ชิดกับหัวเมืองมอญและหัวเมืองไทยใหญ่ ซึ่งเป็นการเกยทับ ทับซ้อนกับหลักการจักรวรรดิอาณาเขตอันกว้างใหญ่ของพม่า พม่าไม่สามารถควบคุมเมืองไทยใหญ่ เมืองมอญได้ง่าย นอกจากนั้นการยึดครองล้านนา ยังทำให้กษัตริย์พม่ามีปริมาณแรงงานในกองทัพเพิ่มและมีเสบียงอาหารจากล้านนามาใช้เลี้ยงดูกองทัพพม่าที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาได้โดยการส่งผ่านลงมาตามลำน้ำปิง"10.
พญาเมกุ (พระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์)
ใน"รูปลักษณ์ของนัตโยนบะเยง หรือนัตพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ ตามความเชื่อของชาวพม่า"
ในช่วงแรกนั้น ทางอาณาจักรตองอูยังไม่เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากติดพันศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้พญาเมกุ (พระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์) เป็นผู้ปกครองบ้านเมืองตามเดิม และทางเมืองเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่กรุงหงสาวดี แห่งอาณาจักรตองอู ต่อมาพญาเมกุคิดตั้งตนเป็นอิสระ ทางพม่าจึงปลดออก และแต่งตั้งมหาเทวีวิสุทธิ ผู้มีเชื้อราชวงศ์มังราย ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระมารดาของพญาเมกุ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน ครั้นเมื่อมหาเทวีวิสุทธิสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝายพม่า เข้ามาปกครองแทน โดยมีภารกิจเพื่อดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และเตรียมเสบียงอาหารเพื่อทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา.
ลำดับ |
ภาพ |
รายพระนาม |
เริ่มครองราชย์ |
สิ้นสุดรัชกาล |
รวมเวลา |
หมายเหตุ |
1 |
|
สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ (อโนรธาเมงสอ/เจ้าฟ้าสารวตี) (1) |
พ.ศ.2121 |
พ.ศ.2150 |
29 ปี |
* พระโอรสในพระเจ้าบุเรงนองกับพระราชเทวี (เชงทเวละ) |
2 |
|
พระช้อย (สะโดกะยอ) (2) |
พ.ศ.2150 |
พ.ศ.2151 |
1 ปี |
* พระโอรสในสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ |
3 |
|
พระชัยทิพ (มองกอยต่อ) (3) |
พ.ศ.2151 |
พ.ศ.2156 |
5 ปี |
* พระโอรสในสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ
* พระโอรสในพระช้อย |
|
|
พระช้อย (สะโดกะยอ) (2) |
พ.ศ.2156 |
พ.ศ.2158 |
2 ปี |
* พระโอรสในสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ
* พระเชษฐาในพระชัยทิพ |
4 |
|
พระเจ้าศรีสองเมือง (4) |
พ.ศ.2158 |
พ.ศ.2174 |
16 ปี |
* พระโอรสบุญธรรมในสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ |
5 |
|
พระยาหลวงทิพเนตร (5) |
พ.ศ.2174 |
พ.ศ.2198 |
24 ปี |
* ทรงเคยเป็นเจ้าเมืองฝางมาก่อน |
6 |
|
พระแสนเมือง (6) |
พ.ศ.2198 |
พ.ศ.2202 |
4 ปี |
* พระโอรสในพระยาหลวงทิพเนตร |
7 |
|
เจ้าเมืองแพร่ (7) |
พ.ศ.2202 |
พ.ศ.2215 |
13 ปี |
* ทรงเคยเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่มาก่อน |
8 |
|
อุปราชอึ้งแซะ (8) |
พ.ศ.2215 |
พ.ศ.2218 |
3 ปี |
* พระโอรสในพระเจ้าอังวะ |
9 |
|
เจพูตราย (9) |
พ.ศ.2218 |
พ.ศ.2250 |
32 ปี |
* พระโอรสเจ้าเจกุตรา |
10 |
|
มังแรนร่า (10) |
พ.ศ.2250 |
พ.ศ.2270 |
20 ปี |
|
11 |
|
เทพสิงห์ (11) |
พ.ศ.2270 |
พ.ศ.2270 |
1 เดือน |
ผู้ปกครองเมืองยวม แถบเมืองแม่ฮ่องสอน |
12 |
|
องค์คำ (12) |
พ.ศ.2270 |
พ.ศ.2302 |
32 ปี |
ผู้ปกครองเมืองล้านช้าง |
13 |
|
องค์จันทร์ (13) |
พ.ศ.2302 |
พ.ศ.2304 |
2 ปี |
* พระโอรสในองค์คำ |
14 |
|
เจ้าขี้หุด (14) |
พ.ศ.2304 |
พ.ศ.2306 |
2 ปี |
* อดีตเจ้าอธิการวัดดวงดี |
15 |
|
โป่อภัยคามินี (15) |
พ.ศ.2306 |
พ.ศ.2311 |
5 ปี |
|
16 |
|
โป่มะยุง่วน (416) |
พ.ศ.2311 |
พ.ศ.2317 |
5 ปี |
|
หมายเหตุ:
(1) พระเจ้าสาวถีนรตรามังวอศรีมังสรธาช่อ (Nawrahta Minsaw)02 หรือ อโนรธาเมงสอ หรือ เจ้าฟ้าสารวตี ปฐมราชวงศ์ของชาวพม่าที่ปกครองแคว้นล้านนา ในช่วง พ.ศ.2121 - 2150 (29 ปี) พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung of Toungoo) กับพระราชเทวีเชงทเวละ (Htwe Hla) พระองค์ได้ปกครองล้านนา จนกระทั่ง พ.ศ.2127 ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงประกาศอิสระภาพจากพม่า ทรงพยายามรวบรวมแผ่นดินอีกครั้ง พระองค์ทรงตีแคว้นล้านนาได้ทั้งหมด ซึ่งเจ้าฟ้าสารวตีต่อสู้ไม่ได้ จึงทรงยอมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชในปี พ.ศ.2139 แต่สมเด็จพระนเรศก็ทรงให้ เจ้าฟ้าสารวตีแห่งราชวงศ์ตองอูปกครองต่อไป อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ถวายพระธิดาเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระนเรศด้วย โดยปรากฎในโคลงบทที่ 21 (เรื่อง มัทรารบเชียงใหม่) ความว่า
นอเรศขอเจื่องเจ้า สาวกระสัตร
เทียมแท่นเสวยสมบัติ โกถเคล้า
แล้วเล่าลูกชายถัด เป็นแขก เขรยเอย
หวังว่าจักบางเส้า เล่าซ้ำแถมถม ฯ
(2) พระช้อย (Pra Soy) หรือ มองซอยเทา หรือ สะโดกะยอ เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอู ที่ปกครองอาณาจักรล้านนา พระช้อยเป็นโอรสพระองค์เล็ก (ข้อมูลยังแย้งกันอยู่ ????) ในเจ้าฟ้าสารวตี หลังจากที่พระบิดาสิ้นพระชนม์แล้ว โอรสทั้งสามพระองค์แย่งชิงราชสมบัติกัน พระช้อยได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดา ในปี พ.ศ.2150-2151 (ปีเดียว) และพระช้อยถูกพระชัยทิพ (มองกอยต่อ) (ข้อมูลยังแย้งกันอยู่ ????) พระเชษฐา แย่งราชสมบัติไป แต่พระช้อยก็กลับมาครองราชย์อีกครั้ง (พ.ศ.2156-2158 รวมสองปี).
ต่อมาเมื่อปลายรัชกาลพระเจ้าอโนเพตลุน (Anaukpetlun - พระราชาแห่งทิศตะวันตก - พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง) กษัตริย์แห่งพม่า ได้ยกทัพมายึดเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา พระช้อยถูกจับและถูกประหารเพราะกระทำการอันเป็นทุรยศ แข็งเมือง เมืองเชียงใหม่จึงกลับมาเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกครั้ง.
(3) พระชัยทิพ (มองกอยต่อ หรือ Pra Chaiyathip) เท่าที่สืบค้น ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก.
(4) พระเจ้าศรีสองเมือง วีรบุรุษแห่งเมืองนันทบุรี03 ทรงครองราชย์อาณาจักรล้านนา ช่วงปี พ.ศ.2158-2174 ในกำกับของพม่าเป็นระยะเวลา 16 ปี พระองค์เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าฟ้าสารวตี และทรงเป็นเจ้าเมืองน่าน ในช่วงเวลานี้ แผ่นดินอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าสีหสุธรรมราชา04 พระองค์คิดยึดครองล้านนาให้กลับมามีเอกราชอีกครั้ง เจ้าสรีสองเมืองจึงเอาใจออกห่างพม่า จากนั้นพระองค์ก็ถูกจับกุมไปไว้ในนครหงสาวดี.
ภาพแม่ทัพพม่าสมัยราชวงศ์อลองพญา (คองบอง หรือ กงบ่อง)
การปกครองของล้านนาในช่วงเวลาที่พม่ายึดครองจะมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองที่ผู้ปกครองพม่าส่งมาทำหน้าที่คอยดูแลเมืองต่าง ๆ นอกจากนี้พม่ายังแต่งตั้งตำแหน่งนาซ้าย นาขวา คอยดูแลและเก็บภาษี ตลอดจนคอยดูแลและควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ มิให้ก่อการกบฏ พันธะสำคัญประการหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ในฐานะประเทศราช ก็คือต้องเกณฑ์ส่วยจากเมืองต่าง ๆ ส่งไปยังพม่า และเมื่อมีศึกสงครามโดยเฉพาะศึกระหว่างพม่ากับกรุงศรีอยุธยา เมืองเชียงใหม่จะมีหน้าที่ในการเกณฑ์กำลังคนและส่งเสบียง อย่างไรก็ตามอำนาจของพม่าเหนือเมืองเชียงใหม่มิใช่เป็นอำนาจที่ถาวรหรือมั่นคงตลอดเวลา เพราะอาณาจักรพม่าก็มิได้มีความมั่นคงตลอด แต่มีการขึ้นและลงของราชวงศ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ซึ่งความวุ่นวายในพม่าจะส่งผลต่อการปกครองของพม่าในล้านนาด้วย ประกอบกับสภาพที่ตั้งของเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ตลอดจนระบบพันนาต่าง ๆ ของแต่ละเมืองได้กลายเป็นขุมกำลังที่ดีของเจ้าเมืองในท้องถิ่นที่จะพยายามสร้างสมอำนาจภายในเมืองเสมอมา พม่าจึงไม่สามารถควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้ ทำให้ไม่สามารถปกครองเมืองต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครองล้านนาจึงเกิดกบฏของเมืองต่าง ๆ เสมอมา
การกบฏที่เกิดขึ้นในอาณาจักรตลอดมาจึงทำให้ใน พ.ศ.2244 พม่ามีนโยบายที่จะแบ่งแยกการปกครองล้านนาออกเป็นสองส่วน:08.
ส่วนแรก: แยกเชียงแสนออกมาจากเชียงใหม่ ให้เมืองเชียงแสนขึ้นตรงต่อกรุงอังวะ โดยถือเป็นประเทศราชมณฑลหนึ่ง ประกอบด้วย เมืองกาย เมืองไร เมืองเลน เมืองแหลว เมืองพยาก เมืองเชียงราย และเมืองภูคา
ส่วนที่สอง: เมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วย เมืองในอาณาจักรล้านนาที่เหลือ อาทิ แม่ฮ่องสอน นครลำปาง ลำพูน เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองผาง เมืองสาด เมืองเชียงของ เมืองเทิง เป็นต้น
ต่อมาพม่าให้เมืองต่าง ๆ คือ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครลำปาง เมืองฝาง เมืองสาด เมืองเชียงของ และเมืองเทิงขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแสน แต่การแบ่งแยกเมืองเชียงแสนและเมืองบริวารออกไป ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการกบฏในเมืองต่าง ๆ ได้ เพราะยังมีการกบฏหรือแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ครึ่งหลังของ พศว.ที่ 23 เป็นต้นมา มีการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างผู้ปกครองระดับท้องถิ่นกันเอง เช่นกรณีของเทพสิงห์ ผู้ปกครองเมืองยวมเข้าแย่งชิงเมืองเชียงใหม่จากผู้ปกครองพม่า และภายหลังก็ถูกเจ้าองค์คำจากเมืองล้านช้างเข้ามาแย่งชิงเมืองอีกต่อหนึ่ง เทพสิงห์จึงร่วมมือกับเจ้าเมืองน่านที่จะยึดเมืองเชียงใหม่กลับคืนมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นเจ้าองค์คำจึงสามารถปกครองเมืองเชียงใหม่สืบมา เมื่อเจ้าองค์คำถึงแก่พิราลัยก็เกิดศึกแย่งชิงเมืองภายในเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นเหตุให้พม่ายกกองทัพมายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้อีกครั้งใน พ.ศ.2306 และใช้ล้านนาเป็นฐานกำลังสำคัญในการยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา.
(12) องค์คำ นี้ เป็นเจ้านายลาวสายหลวงพระบาง อีกพระองค์หนึ่งที่เข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่ในช่วงที่พม่าปกครอง พระองค์มีความสามารถในการเข้าตีเมืองเชียงแสนได้ และมีการออกพระนามเป็นหนึ่งในอารักษ์เจนเมืองอีกด้วย อันแสดงถึงความสำคัญของพระองค์.09.
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. ใช้กรอบข้อมูลหลักมาจาก. th.wikipedia.org/wiki/รายนามพระมหากษัตริย์ล้านนา, วันที่สืบค้น 7 พ.ย.2559.
02. จาก. th.wikipedia.org/wiki/สาวถีนรตรามังวอศรีมังสรธาช่อ, วันที่สืบค้น 12 พ.ย.2559.
03. ปรับปรุงจาก. historicallanna01.blogspot.com/2011/04/blog-post_24.html, วันที่สืบค้น 26 พ.ย.2559.
นัดจินหน่อง อุปราชตองอู (รับบทโดย น.อ.จงเจต วัชรานันท์) ในภาพยนตร์ชุด "ตำนานสมเด็จพระนเรศวร"
04. มีประเด็นข้อมูลที่น่าสนใจ พระเจ้าสีหสุธรรมราชา หรือ สิริสุธรรมราชา (Thiri Thudhamma Yaza) คือ นัดจินหน่อง หรือ นัตชิงหน่อง (Natshinnaung) เป็นโอรสของพระเจ้าบุเรงนองที่ประสูติกับพระนางราชเทวี (Yaza Dewi) หนึ่งในสามมเหสีใหญ่ของพระเจ้าบุเรงนอง ประสูติเมื่อ พ.ศ.2104 อายุน้อยกว่าพระนเรศประมาณ 5 ปีนั้น นับเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยนั้น เพราะเป็นทั้งนักรบและกวีที่มีชื่อเสียงของพม่า เคยทำสงครามกับสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชหลายครั้ง และที่สำคัญคือเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้านันทบุเรง (อ้างจากบทความใน Facebook เพจ "วิพากษ์ประวัติศาสตร์," วันที่สืบค้น 27 พ.ย.2559).
05. จาก. "ประวัติศาสตร์ล้านนา" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล, ISBN 978-616-18-0026-0, สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ 10 พฤศจิกายน 2557.
06. จาก. "ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา", ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล, ISBN 978-616-7767-98-7, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2561.
07. จาก. "คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในล้านนา", ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ISBN 978-616-465-036-7, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2563.
08. จาก. สำนักนายกรัฐมนตรี, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, (พระนคร : โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี, 2514), หน้า 84.
09. ข้อมูลจากผู้ใช้นามว่า Dara Malee ใน Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 3 กรกฎาคม 2564.
10. ปริวรรตจาก. "200 ปี พม่าในล้านนา", ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว, พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2545 สนับสนุนโดย สกว. โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้าที่ 65, อ้างอิงถึง Relationship with Burma - Part 1, "The Siam Society, p.17 และ p.25"