MENU
TH EN
ราชวงศ์ลังกาสุกะ
First revision: Jun.29, 2016
Last revision: Jul.03, 2016
 



บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี

          ปัตตานี ดารุสสลาม02 นครแห่งสันติภาพ เกิดโศกนาฎกรรมต่อเนื่องกัน ถึงกับหมดผู้สืบบัลลังก์ฝ่ายชาย สมัยต่อจากนี้จึงถูกปกครองโดย "กษัตริยา" ต่อเนื่องกันถึงสี่พระองค์ ในช่วง 67 ปี ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของปัตตานี

          ๑. ราชินีฮีเยา (Raja Hijau)  (พ.ศ.2127-2159)
          ๒. ราชินีบีรู (Raja Biru)  (พ.ศ.2159-2167)
          ๓. ราชินีอูรู (Raja Ungu)
          ๔. ราชินีกูนิง (Raja Kuning) 

         ซึ่งสามราชินีแรก เป็นพี่น้องกัน ส่วนราชินีองค์สุดท้าย เป็นราชธิดาของราชินีอูรู.

 
  • ปืนใหญ่พญาตานี01
            ปืนใหญ่พญาตานี (ชื่อเดิม: ศรีปัตตานี) ซึ่งกองทัพของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ได้นำมาไว้ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งสยามยกทัพไปตีเมืองปัตตานีสำเร็จในปี พ.ศ.2329 ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม

          
การสร้างปืนใหญ่

         มีสองทฤษฎี
         หนึ่ง: สร้างโดยสุลต่านมาเอล ชาฮ์ (พ.ศ.2043-2073) โดยช่างชาวโรมัน ?? ชื่อ อับดุลซามัค ??
         
         สอง: สร้างในช่วง ราชินีฮีเยา หรือ ราชินีบีรู (สยาเราะห์กรียาอันมลายูปัตตานี ซึ่งนายอิบราฮิมซากรี ชาวกลันตัน (ปัจจุบัน "กลันตัน" เป็นรัฐทางเหนือของมาเลเซีย) เป็นผู้เขียนได้กล่าวว่า) นางพญาบีรูทราบข่าวว่ากองทัพสยามกำลังจะยกทัพมาตีปัตตานี (ซึ่งน่าจะตรงกับช่วงรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา) - จึงให้มุขมนตรีจัดหาทองเหลืองและนายช่างมาหล่อปืนไว้ เพื่อต่อสู้กับกองทัพพระเจ้ากรุงสยาม ได้นายช่างชาวจีนชื่อ "โกเคี่ยม" ซึ่งภายหลังเข้ารีตเป็นมุสลิม เรียกกันว่า "โต๊ะเคี่ยม" เป็นผู้หล่อปืนใหญ่ ได้รวมสามกระบอก มีชื่อเรียกดังนี้

          ๑. ศรีนัครา
          ๒. ศรีปัตตานี
          ๓. มหาเสลา

         จากประวัติตามตำนานพื้นบ้านที่กล่าวไว้นั้น ไม่สามารถสรุปได้ว่าปืนกระบอกเหล่านี้สร้างขึ้นเมื่อไหรแน่ ถ้าพิจารณาลักษณะปืนพญาตานี จะเห็นได้ว่าเป็นแบบรูปปืนโบราณเนื้องทองสัมฤทธิ์ ลำกล้องเรียบ มีวงแหวนรัดปากลำกล้องหนาหกเซนติเมตร วงแหวนรัดท้ายปืนหนา 10 เซนติเมตร และวงแหวนรัดกลางกระบอกปืนเป็นระยะ ๆ อีกสี่วงแหวน ปากลำกล้องปืนกว้าง 44 เซนติเมตร ตัวปืนยาว 6 เมตร 89 เซนติเมตร บรรจุกระสุนทางปากกระบอก ใช้ดินดำเป็นดินระเบิด จุดดินระเบิดผ่านทางสายชนวน ท้ายปืนหล่อตันเป็นรูปสังข์ เพลาสลักรูปราชสีห์ มีคำจารึก ?"พญาตานิ"? ที่ผิวกระบอกปืนมีสัมฤทธิ์รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อุดอยู่ทั่วไป อันเป็นกรรมวิธีที่ช่างหล่อโบราณนิยมใช้กัน ดังนั้นปืนกระบอกนี้ ควรจะทำการหล่อก่อนสมัยองค์รายาบีรู คือ ยุคแรก ๆ ของการนำปืนเข้ามาใช้ในแหลมมลายู.

         
การนำปืนใหญ่เข้ากรุงเทพฯ
          ในปี พ.ศ.2329 พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จยกทัพหลวงลงไปปราบปราม จากนั้นไปตีเมืองปัตตานี จนยึดเมืองได้สำเร็จ กรมพระราชวังบวรฯ รับแจ้งว่าพบปืนใหญ่สามกระบอก จึงโปรดฯ ให้นำปืนทั้งสามกระบอกกลับกรุงเทพฯ เพื่อตัดทอนไม่ให้ปัตตานีแข็งขืนได้อีก แต่ปืนกระบอกหนึ่งตกน้ำเสียที่ท่าหน้าเมืองปัตตานี ได้ไปแต่กระบอกเดียว คือนางพญาปัตตานี หรือ ศรีปัตตานี นั่นเอง.

          ปืนกระบอกที่สอง ชื่อ ศรีนัครา บ้างก็เรียก ศรีนัครี ในพงศาวดารเมืองปัตตานีกล่าวไว้แตกต่างกัน คือ ไม่ได้ตกน้ำหายไป แต่จมหายทั้งเรือ

          ส่วนปืนกระบอกที่สามนั้น ชื่อมหาเลลา ไม่มีหลักฐานใด ๆ กล่าวถึง เท่ากับสูญหายไปเฉย ๆ เอกสารบางฉบับอ้างว่าปืนแตกขณะรบกับกองทัพของปลัดจะนะ ทัพหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ.

          เมื่อปืนใหญ่พญาตานีมาถึงกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2329 กรมพระราชวังบวรฯ ได้ถวายแก่รัชกาลที่ 1 พร้อมครัวแขก03 พม่าเชลย และเครื่องศาสตราวุธต่าง ๆ "ปืนบอกใหญ่ที่ได้มาแต่เมืองตานีนั้น ก็โปรดให้แก้ไขตกแต่งลวดลายท้ายสังข์ขัดสีเสียใหม่ ให้จารึกนามลงไว้กับบอกปืนว่า ?"พญาตานี"? แล้วให้ทำโรงไว้ที่ข้างหน้าศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา ?

          จากนั้น ก็โปรดให้หล่อปืนขึ้นคู่กับปืนพญาตานีอีกกระบอกหนึ่ง ที่โรงหล่อริมถนน ประตูวิเศษไชยศรี พระราชทานชื่อว่า ?"นารายณ์สังหาร"? และให้หล่อปืนขึ้นอีกหกกระบอก ทำโรงขึ้นไว้เป็นคู่ ๆ กันข้างประตูวิเศษไชยศรี ภายหลังจึงย้ายมาไว้ที่หน้ากระทรวงกลาโหมอย่างในปัจจุบัน.

 
          ทุกวันนี้จังหวัดปัตตานียังใช้สัญลักษณ์ปืนพญาตานีเป็นตราจังหวัดอยู่.

         
ปฏิกริยา
          ตำนานปืนพญาตานี ได้นำไปสู่เรื่องราวของ "กษัตริยา" ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถขับเคี่ยวกับอาณาจักรให้อย่างกรุงศรีอยุธยาได้
        
          ปืนกระบอกนี้ จึงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่เป็นอาวุธสงคราม แต่ยังบอกเรื่องราวในอดีตด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปัตตานี และเป็นอนุสรณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของปัตตานีได้เป็นอย่างดี. การนำปืนใหญ่พญาตานีเข้ากรุงเทพฯ นั้น สร้างความไม่พอใจแก่ชาวปัตตานีเป็นอย่างมาก

          ปัจจุบัน ประชาชนทั้งไทยพุทธ มุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาล นำปืนใหญ่พญาตานี กลับคืนสู่ จ.ปัตตานีอย่างต่อเนื่อง

ที่มาและคำอธิบาย:
01.  ปรับปรุงจาก. Facebook "ย้อนรอยสามก๊ก" , www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=24925.0, และ www.clopmass.com/story/41985, สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2559.
02.  ปรับปรุงจาก. ข้อเขียนของปรามินทร์ เครือทอง ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 3, มกราคม 2547.
03.  ในคราวที่นำปืนพญาตานีมากรุงเทพฯ นี้ ก็ยังมีครัวแขกพ่วงมาด้วย บุคคลที่มีชื่อเสียงในกลุ่มครัวแขกครั้งนี้คือนางประแดะ มเหสีของท้าวประดู่ ในบทละครล้อเลียนเสียดสีสังคมเรื่อง "ระเด่นลันได".
info@huexonline.com