MENU
TH EN

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 22: สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8) (พระเจ้าเสือ)

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 22: สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8) (พระเจ้าเสือ)
First revision: May 20, 2018
Last change: Feb.27, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
     
   พระนาม  สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (จากคำให้การชาวกรุงเก่า)
 ขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ)
 สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 (พระบรมวินิจฉัย ร.5)01.
   ครองราชย์  6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2246 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2251 (5 ปี 3 วัน)
   ก่อนหน้า  ขุนหลวงเพทราชา หรือ พระเพทราชา
   ถัดไป  ขุนหลวงท้ายสระ หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
   พระมหาอุปราช  เจ้าฟ้าเพชร พระบัณฑูรใหญ่ (ขุนหลวงท้ายสระ)
 เจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย
(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
   สมุหนายก  เจ้าพระยาจักรี (ครุฑ)
   พระราชสมภพ  พ.ศ.2204 ณ ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา
   สวรรคต  9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2251 (47 พรรษา)
   พระอัครมเหสี  สมเด็จพระพันวษา
   สนม  พระกรัดนางกัลยาณี
   พระราชบุตรและบุตรี  สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
 เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฎพระนาม
 เจ้าฟ้าหญิงแก้ว
 พระองค์เจ้าทับทิม
   ราชวงศ์  บ้านพลูหลวง
   พระราชบิดา-พระราชมารดา  สมเด็จพระเพทราชา และ พระนางกุสาวดี
 

โปสเตอร์หนัง "พันท้ายนรสิงห์" ถนอม อัครเศรณี เป็น พระเจ้าเสือ, ชูชัย พระขรรค์ชัย เป็นพันท้ายนรสิงห์, สุพรรณ บูรณพิมพ์ เป็นนวล พ.ศ.2493, ที่มา: classicmovieshop.Inwshop.com, วันที่เข้าถึง: 13 มกราคม 2567.

       สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (คำให้การชาวกรุงเก่า) หลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) หรือพระสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 801. เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา (รวมขุนวรวงศาธิราชด้วย เพราะได้ผ่านพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์แล้ว) และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2246 - พ.ศ.2251.

       ประชาชนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่าพระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฎชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบันได้.

จัดทำไว้เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567 สำหรับบรรยาย พร้อมทั้งพาเพื่อน ๆ และครอบครัวเที่ยวอยุธยา เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2567.
หมายเหตุ: ภาพที่ใช้ประกอบส่วนใหญ่มาจากตัวละครในซีรี่ทีวีชุดบุพเพสันนิวาสและพรหมลิขิต ตลอดจนภาพประกอบอื่น ๆ ที่สืบค้นได้จากทางอินเทอร์เน็ตทั่วไป ซึ่งประสงค์ที่ใช้เป็นสื่อประกอบความรู้ความเข้าใจทางด้านประวัติศาสตร์ มิได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด.


 
     จากการสำรวจของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง02. มีสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับวัด "เจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์" ที่ปรากฎในนิราศวัดเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่นั้น คือ วัดสนมไทย บนเขาพนมยงค์ บ้านหินกอง อ.หนองแค จ.สระบุรี ...สอดคล้องกับข้อความในนิราศประโยคที่ว่า "พอเย็นจวนด่วนเดินขึ้นเนินโขด ถึงตาลโดดดินพูนเป็นมูลสูง" ...คำว่า เจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ...อากาศ คือ ท้องฟ้า นาถนรินทร์ คือที่พึ่งของมวลเทวดา...ตามข้อมูลในคำให้การชาวกรุงเก่ากับคำให้การขุนหลวงหาวัด เรียกพระเจ้าเสือ ว่า พระศรีสุริเยนทร์ ซึ่งหมายถึง พระอาทิตย์ ...เจ้าฟ้าอากาศฯ ก็คือ พระอาทิตย์ ซึ่งเป็นผู้เป็นใหญ่ในท้องฟ้า
     และบริเวณนี้ที่เรียกกันว่าเขาพนมยงค์ แท้จริงแล้วมาจากคำว่า พนมโยง หมายถึง เป็นพื้นที่เชื่อมต่อ หรือ โยงกับเขาลูกใหญ่ ปรากฎในสมุดภาพไตรภูมิ สมัยอยุธยา ซึ่งในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าเสือเคยเสด็จมาประทับที่นี่ จึงสันนิษฐานได้ว่า เจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ คือ พระเจ้าเสือ..




ที่มา, คำศัพท์, และคำอธิบาย
01. จาก. (รัชกาลที่ 5) ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช, หน้า 42-59.
02.  คณสุจิตต์ วงษ์เทศ, บล็อคย่อย "ศิลปะและวัฒนธรรม" หัวข้อ "'สุจิตต์' บุกหนาม ฟันธงพระนามปริศนา เจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ที่แท้ 'พระเจ้าเสือ'" ใน matichon.co.th, วันที่เข้าถึง 03 ธันวาคม 2562.
info@huexonline.com