MENU
TH EN

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 20: สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (รามาธิบดีที่ 3)

Hero Image: ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงออกว่าราชการ, ที่มา: www.silpa-mag.com, วันที่สืบค้น 19 พฤษภาคม 2561.

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 20: สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (รามาธิบดีที่ 3)
First revision: May 19, 2018
Last change: Feb.27, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
 
     ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีคำสั่งที่มอบให้ทูตไทยไปโปรตุเกส เมื่อ ค.ศ.1684/พ.ศ.2227 โดยกล่าวว่า หากได้รับคำถามเกี่ยวกับกษัตริย์โบราณและสิ่งก่อสร้างโบราณของสยาม

     "...ให้ตอบถึงกษัตริย์โดยอ้างลงมาตั้งแต่สมเด็จพระปทุมสุริยนรนิสสวรบพิตร...(Sommedethia Ppra Pattarma Souria Naaranissavoora Boppitra Seangae) (พระปทุมสุริยวงศ์?) ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองชัยบุรีมหานคร? ใน พ.ศ. 1300 และกษัตริย์ที่ครองราชย์สืบมาอีกสิบพระองค์ ต่อมาสมเด็จพระยโศธรธเรนทร์ เทพราชอติ (Sommedethia Prayasouttora Ttarrena Ttepperaraacchaatti) (พระเจ้ายโศธรวรมัน?) ผู้สร้างเมืองยโศธรนครหลวง (Yassouttora Naccoora Louang) และกษัตริย์ 12 พระองค์ ที่ครองราชย์ที่นั่น ต่อมาเมื่อกษัตริย์สมเด็จพระพนมไชยศิริมเหศวรินทธิราชบพิตร เสด็จไปประทับในสุโขทัย และในปี พ.ศ.1731 พระองค์สร้างเมืองเพชรบุรี ที่นี้มีกษัตริย์ครองราชย์มาสี่พระองค์ เป็นเวลา 163 ปี ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีบพิตร (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สร้างพระนครของสยามในปี พ.ศ.1894 ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรและเรียกว่า กรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา และพระองค์ครองราชย์มา 27 ปี ดังนั้นจึงมีกษัตริย์ 50 พระองค์ ใน 962 ปี..."

 




จัดทำไว้เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567 สำหรับบรรยาย พร้อมทั้งพาเพื่อน ๆ และครอบครัวเที่ยวอยุธยา เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2567.
หมายเหตุ: ภาพที่ใช้ประกอบส่วนใหญ่มาจากตัวละครในซีรี่ทีวีชุดบุพเพสันนิวาสและพรหมลิขิต ตลอดจนภาพประกอบอื่น ๆ ที่สืบค้นได้จากทางอินเทอร์เน็ตทั่วไป ซึ่งประสงค์ที่ใช้เป็นสื่อประกอบความรู้ความเข้าใจทางด้านประวัติศาสตร์ มิได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด.
 
  • ในรัชสมัยของพระองค์มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมาก มีเอกสารที่อังกฤษ ฮอลันดา และในยุโรปหลายประเทศ ที่ได้มีการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย
  • จดหมายเหตุ เดอ ลา ลูแบร์ มีคนแปลเป็นภาษาไทยนานแล้ว นักวิชาการได้อ่านทวนสอบหลายครั้ง
  • ออกจากไทย ค.ศ.1687 ถึงฝรั่งเศส ค.ศ.1688 เดอ ลา ลูแบร์ เป็นทูตพิเศษจากฝรั่งเศส มาหลายท่าน (ร่วมกับ โกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay)  ในนามบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ค.ศ.1685 มีทูตจากฝรั่งเศส ชื่อโชมองต์มาก่อนแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมเด็จพระนารายณ์ เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ และให้ฝรั่งเศสได้รับเอกสิทธิ์ทางการค้า และอภิสิทธิ์ต่าง ๆ เทียบอินเดียตะวันออกของฮอลันดา

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loub
ère)
ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (21 เมษายน พ.ศ.2185 - 26 มีนาคม พ.ศ.2272)
ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 มิถุนายน 2563.
  • ผลงานของโชมองต์ หรือ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ล้มเหลว การเกลี่ยกล่อมไม่สำเร็จเรื่องนี้ เช่น สมเด็จพระนารายณ์ มอบเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศสไปดูแล เพื่อเป็นศูนย์การค้าทางทะเลเหมือนปัตตาเวียของฮอลันดาที่อินโดนีเซีย แต่สงขลาเป็นเมืองที่เป็นกบฏต่ออยุธยา ซึ่งไม่มั่นคงนัก และสงขลาอยู่ไกลจากอยุธยา (ซึ่งเรื่องนี้ฝรั่งเศสไม่พอใจโชมองต์ เพราะ สงขลาอยู่ไกลจากอยุธยา)
  • เดอ ลา ลูแบร์ กะว่าจะทำสนธิสัญญาใหม่ เพื่อให้ฝรั่งเศสได้เปรียบ มีมาพร้อมทหาร 600 นาย และฝรั่งเศสกำชับเดอ ลา ลูแบร์ให้ทหารฝรั่งเศสเหล่านี้ประจำป้อมที่บางกอก และที่เมืองมะริด (เมืองท่าสำคัญที่สุดในเบงกอล และบางกอกด้วย เพราะเป็นกุญแจในการเข้าสู่สยาม)
  • เดอ ลา ลูแบร์มาอยู่ไม่กี่เดือน เอกสารราชทูตจากฝรั่งเศส มีประเด็นน่าสนใจ เช่น หนึ่ง) ทหารฝรั่งเศส จะต้องไม่ขึ้นจากเรือจนกว่าสยาม อนุญาตให้ขึ้นบกได้ สอง) หากจำเป็นก็ให้ทหารยึดป้อมบางกอกให้ได้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น.
  • ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในบันทึกของเดอ ลา ลูแบร์ ไม่กล่าวถึง ฟอลคอน พระยาวิชาเยนทร์แต่อย่างใด อาจเป็นไปได้ว่า เดอ ลา ลูแบร์ไม่ชอบ ฟอลคอนเลย....!!!!
  • ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ มากรุงศรีฯ ค.ศ.1687 และกลับราว ค.ศ.1688 ใช้เวลาอยู่อยุธยาเพียง 98 วัน สามารถบันทึกอะไรต่าง ๆ ไว้มากอย่างน่าอัศจรรย์
  • จดหมายเหตุของลา ลูแบร์ถือเป็น วืทยานิพนธ์เล่มแรกเกี่ยวกับไทย ที่ทำโดยคนต่างประเทศ ท่านเก็บข้อมูลได้มาก ด้วยท่านชำนาญเรื่องคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์
  • ท่านอธิบายได้ว่า ดาราศาสตร์ของไทยเป้นอย่างไร ลา ลูแบร์ มีความสามารถมาก งานเขียนเป็นระบบ มีการเแบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน การเข้ามาของลา ลูแบร์ อาจจะมาจากการโดนหลอกของบาทหลวงบางท่านที่เพ็ดทูลต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ว่า สามารถชักจูงให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับและนับถือคริสตศาสนาได้.
  • ซึ่งการเข้ามาในประเทศพุทธแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นคริสต์นั้นลำบาก เดอ ลา ลูแบร์ มีลักษณะเป็นนักวิชาการ ก่อนมาไทย ท่านได้ศึกษางานเขียนเกี่ยวกับประเทศสยาม รวมทั้งจีนและญี่ปุ่นไว้ล่วงหน้าแล้ว.
  • ความที่ท่านต้องมาสยาม ท่ามกลางคนแปลกหน้า ท่านได้ข้อมูลจากคนไทยนำมาเขียนได้เยอะ แต่มิได้หมายความว่าสิ่งที่ลา ลูแบร์เขียนนั้น จะเป็นความจริงไปเสียทั้งหมด
  • จดหมายเหตุลา ลูแบร์ ถือเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ที่สุดที่กล่าวถึงอยุธยาตอนกลางถึงปลาย โดยกล่าวถึง ประเทศสยาม สภาพภูมิศาสตร์ ระบบเมือง ทรัพยากร สินค้าที่มีในกรุงศรีฯ มีอะไรบ้าง และนำมาจากไหน?
  • สังคมสยามคือสังคมนานาชาติ มีคนมาอาศัยในอยุธยามาก กล่าวถึงสังคมคนนานาชาติแต่ละกลุ่ม ให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของชาวต่างชาติระหว่างกัน ชนชั้นต่าง ๆ กษัตริย์เชื้อพระวงศ์ ขุนาง พ่อค้า การศาสนา
  • เดอ ลา ลูแบร์ ยุติธรรม เที่ยงตรง ตรงไปตรงมา มีทัศนคติจากมุมมองจากชาติของเขา ...เช่น ชาวสยามเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน น้องชายของพระนารายณ์นั้น เก่งมากเรื่องกลอน มีคำกล่าวจากพระนารายณ์ว่า เรานั้นเจ้าบทเจ้ากลอน แต่การละครไม่ได้เรื่องเลย
  • ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้น การละครรุ่งเรืองมาก เดอ ลา ลูแบร์มีน้อยมากที่จะเยินยอกษัตริย์ตนเอง
  • เดอ ลา ลูแบร์เขียนว่า กษัตริย์ไทยและบูรพทิศ ไม่พอใจให้น้องชายเจริญก้าวหน้า เทียบเคียงตน มีโอกาสก็จะทำร้ายน้องชายเสีย, กษัตริย์พระองค์นี้ก็เช่นกัน ห่วงแหนอำนาจ
  • การแปลจากฝรั่งเศสเป็นไทยนั้นดี แต่ไม่ง่าย
  • ราชการไทยมีสองประเทศ หนึ่ง) รับราชการอยู่ (Active officer) และ สอง) นอกราชการ (Inactive officer)
  • การเดินทางไปฝรั่งเศส เป็นทูตโดยออกพระวิสูตรสุนทร โกษา(ปาน) ...แม้ว่าโกษาปานจะฉลาดเฉลียว แต่ก็มีเกณฑ์ที่ลดบทบาทความฉลาดอันนี้ โดยระบบราชทูตฝรั่งเศส
  • ลา ลูแบร์ เป็นปราชญ์คนหนึ่ง หลังจากออกจดหมายเหตุนี้แล้ว ก็ได้ยกระดับเป็นนักวิชาการของชาติฝรั่งเศส...จดหมายเหตุนี้ ครอบคลุมจนเกือบเป็นสารานุกรม
  • คณะราชทูตไทยจะรวมตัวกัน เรียบเรียง เขียนรายงาน ก่อนที่จะเสนอพระนารายณ์
  • กษัตริย์ฝรั่งเศสมีการมอบหมายให้ทูตทำงานลับ ๆ ด้วย

หนึ่งในหน้าต่าง ๆ ของหนังสือ Du Royaume de Siam ของ ลา ลูแบร์ ซึ่งอธิบายในฉบับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ค.ศ.1693)

 
  • โกษาปาน ก็เหมือนคนไทยทั่วไป เวลาลงนาม ก็จะไม่ลงนามคนเดียว ร่วมรับผิดชอบด้วยกัน ดูในงานของ "วินเซ่"
  • เดอ เซียม เป็นคำที่ลา ลูแบร์เรียกเรา ท่านบันทึกด้านเศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์กรุงสยาม...ตัวอย่างเป็นเรื่องเกี่ยวกับตำนาน ราชวงศ์ของสมเด็จพระนารายณ์
  • ความเข้าใจเรื่องของชนชาติ ลา ลูแบร์อธิบายที่เกินจริง เช่น (คนไทยจะโม้ว่า) มีชนชาติต่าง ๆ มากกว่า 40 ชาติ แต่จริง ๆ มีกว่า 20 ชาติเท่านั้น แต่ของไทยที่อ้างได้มี 32 ชาติ
  • เดอ ลา ลูแบร์จะอธิบาย...พระอุปนิสัยของสมเด็จพระนารายณ์ ..พระนารายณ์มีอุปสรรคมาก โดยเม้าส์ นินทามาก เพราะท่านทำสิ่งที่แปลกไปจากชาวสยามแบบเดิมมาก จนมีคำถามการสนทนาระหว่างพระนาราณ์กับพระภิกษุว่า ตอนนี้พระองค์โดนนินทามาก แล้วจะทำอย่างไร? เป็นต้น
  • ในเอกสารดัทช์และอื่น ๆ ส่วนของลา ลูแบร์ นั้น กล่าวว่า ก่อนการจะครองราชย์ของพระนารายณ์นั้น ท่านทรงผนวชก่อน และระหว่างผนวชก็ทำการประชุมปรึกษา War room โค่นล้มพระปิตุลา (สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา) ของพระองค์เอง....แต่อาจจะมีการแต่งมาภายหลังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
  • การกัลปนาที่ดินพัทลุง เชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเพทราชา แต่จากการศึกษาค้นคว้า จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
  • สมเด็จพระนารายณ์ทรงไม่ไว้วางใจใครเลย มีการส่งคนไปเช็คการทำงาน พระอนุชาของพระองค์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก
  • ขุนพลที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงไว้วางใจคือ ออกญาพระเพทราชา ซึ่งเราก็ทราบว่าจะเป็นผู้ก่อการ และครองราชย์ต่อไป
  • ออกญาพระเพทราชา ดูแลกรมช้าง นั้นเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องดูแลปืนใหญ่ด้วย ชื่อเสียงของพระนารายณ์ออกจะไม่เป็นที่นิยมของประชาชน แต่ขุนนางออกญาพระเพทราชา เป็นที่ยอมรับมากกว่า จากพระ และประชาชน
  • สมเด็จพระนารายณ์ไม่ชอบทำพิธีตามธรรมเนียมแต่โบราณ เช่น ยกเลิกพระราชพิธีไล่น้ำปลายฝน โดยยกพระแสงดาบลง หมายถึงไม่มีฝนแล้ว (แต่โหรดูฤกษ์ ดูฤกษ์ผิด กลับมีฝนตก ตอนที่พระองค์ยกพระขรรค์ลง ทำให้พระองค์เสียพระพักตร์มาก) ปรากฎในจดหมายเหตุเดอ ลา ลูแบร์
  • แต่เอกสารชาวต่างประเทศบ้างท่าน ก็ไม่ระบุว่าพระนารายณ์หนีไปบวชก่อนครองราชย์ ดังนั้นในฐานะนักประวัติศาสตร์ก็อย่าไปด่วนสรุป
  • จดหมายเหตุฯ ระบุว่า: สยามในช่วงอิทธพลของ ฟอลคอน การค้าก็ผูกขาด (ซึ่งช่วงการค้าขายไม่ใช่ภาวะปกติ ฟอลคอนคุมอยู่)
  • สมเด็จพระนารายณ์ก็ขัดแย้งกับพระธิดา (กรมหลวงโยธาเทพ) เสียใจว่าพระบิดาแย่งการค้าไปหมด ลูกสาวอดค้าขายด้วย
  • พระนารายณ์ทรงระแวงต้องเปลี่ยนห้องบรรทมบ่อย ๆ พระเกรงเรื่องกบฎมาจู่โจม เพราะเคยเกิดสมัยพ่อท่าน (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ต้องขี่คอมหาดเล็กหนีออกไป กรณีกบฎวัดเจ้าท่าทราย (ทหารติดตามพระอาทิตยวงศ์เข้าก่อกบฎ แต่ไม่สำเร็จ) พระนารายณ์ทรงใฝ่รู้ ให้คนแปลเอกสาร ฟังเอกสารเปอร์เชีย และญี่ปุ่น
  • ครั้งหนึ่ง ทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าไม่ยอมนั่ง ท่านก็ให้ข้าราชการ ขุนนางของพระนารายณ์ลุกขึ้นยืนเหมือนกัน เป็นแม่แบบการยกเลิกหมอบกราบ เป็นการรักษาศักดิ์ศรีขุนนางไทย
  • พระนารายณ์ทรงมีความเป็นพ่อค้า ...ครั้งหนึ่งขอจีนซื้อทองแดง จีนบอกไม่ให้เพราะเป็นยุทธปัจจัย ขอครั้งที่สองพระองค์แจงว่าจะนำทองแดงมาใช้ในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาจึงซื้อทองแดงมาได้  พอทองแดงมาถึง พระองค์ก็นำทองแดงไป Export ให้ฝรั่งอีกทีหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นธุรกิจของพระธิดาท่าน (กรมหลวงโยธาเทพ)
  • จะเอาชาวสวีเดนมาดูแลแหล่งแร่ เดอ ลา ลูแบร์ใช้คำที่รุนแรงมาก ใช้คำว่า พระองค์ทรงละโมบ ทำนองนั้น.
  • ฝ่ายพระเพทราชา ก็มองฝ่ายพระนารายณ์ไม่ค่อยดีเท่าไร.[04:37]

ที่มา: Facebook เพจ: ห้องบันทึกประวัติศาสตร์ ผ่านผู้ใช้นามว่า Pisut Jarintippitack, วันที่เข้าถึง 09 เมษายน 2564.

       ในภาพข้างต้นมีชาวยุโรป 4 คน ซึ่งแตกต่างกันมาก03
คนแรก: คอนแสตนติน ฟอลคอน (คนที่คลานซ้ายมือสุดยกมือขึ้น) นักเสี่ยงโชคชาวกรีก เฉลียวฉลาดหลักแหลม ด้วยบุคลิกพิเศษ ถ้าไม่ขึ้นสู่จุดสุดยอดก็ตาย ผู้เป็นทั้งวีรบุรุษ ผู้ทรยศ ทั้งต่อกรุงศรีฯ และฝรั่งเศส ในสมัยนั้นอาจกล่าวได้ว่า ผู้ปกครองที่แท้จริงเป็นฟอลคอน พระนารายณ์ก็เห็นด้วยคล้อยไปกับฟอลคอน พระองค์พูดภาษาทางยุโรปไม่ได้ ตรัสผ่านทางฟอลคอนแทน และสันนิษฐานว่าพระองค์ตรัสเป็นภาษาเขมรด้วยซ้ำ04
คนที่สอง:
เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ผู้ยกพานพระราชสาสน์ มีหน้าที่แจ้งพระนารายณ์ให้เข้ารีต นับศาสนาคริสต์ ตามบัญชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เค้ามาและก็ไปไม่สนใจอะไรเลย
คนที่สาม: บาทหลวง เดอ ซัวซี หน้าตาเกลี้ยงเกลา อุปทูตผู้เขียนบันทึกเรื่องราวของสยาม.
คนที่สี่: พระคุณเจ้าลาโนต์ ผู้ที่ถูกกล่าวถึงน้อยที่สุด มิชชันนารีผู้เป็นตัวประกันอยุธยา หลังสัญญาสงบศึกป้อมบางกอกระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ถูกจับ และทรมาน แต่ไม่ไปไหน อยู่ในสยามเป็นเวลา 32 ปี ถึงแผ่นดินพระเพทราชา และสุดท้ายฝังร่างในแผ่นดินสยาม.




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย

01. จาก. Michael Smithies and Dhiravat na Pombejra, "Instructions Given to the Siamese Envoys Sent to Portugal, 1684," JSS Volume 90, Parts 1 & 2, 2002, p. 127.
02. จาก. โครงการวิจัย "100 เอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย" การบรรยายพิเศษและการเสวนาทางวิชาการ "ความสำคัญของรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช - จดหมายเหตุ เดอ ลาลูแบร์" ณ หอประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 22 สิงหาคม 2558. โดย รศ.ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร จุฬาฯ, ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีอาวุโส สกว., อ.ธิษณา วีระเกียรติสุนทร.
03.  ปริวรรตจาก. 
Facebook เพจ: ห้องบันทึกประวัติศาสตร์ ผ่านผู้ใช้นามว่า Pisut Jarintippitack, วันที่เข้าถึง 09 เมษายน 2564.
04.  จาก. การบรรยายในการนำทริปของ Ejeab Academy เมื่อ 26-27 กุมภาพันธ์ 2564.

 
info@huexonline.com