MENU
TH EN

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี - บทที่ 6: การค้าและการต่างประเทศในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี

Title Thumbnail: จากหนังสือเมืองโบราณ, Hero Image: The village of Thonburi, on the right (west) bank of the Chao Phraya (here in the lower left corner of the map), facing the fortress of Bangkok, during the 1688 Siege of Bangkok from Jean Vollant des Verquains History of the revolution in Siam in the year 1688, in Smithies 2002, p.95-96, via en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 18 สิงหาคม 2563
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี: บทที่ 6: การค้าและการต่างประเทศในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี
01.
First revision: Aug.18, 2020
Last change: Aug.20, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

 

พิจารณาจากเอกสารของฝรั่ง  สามปีแรกกรุงธนบุรีในหลักฐานดัตช์
  • การค้ากับ Dutch, บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Vereenigde Oostindische Compagnie:VOC) ได้ยกเลิกการค้ากับกรุงศรีฯ ก่อนกรุงแตกราวปีกว่า ๆ การศึกษาได้อ้างอิงเอกสาร 4 ฉบับ ดังนี้:
1.  คำให้การของ Anthonij Goyaton และ Seyed Ali 26 เมษายน ค.ศ.1768 (พ.ศ.2311) (ANRI, Jakarta; NA, VOC 3218) เป็นบทความที่ มร.ยาน บูเลส (J.J. Boeles) เขียนในวารสารสยามสมาคม (JSS 56/1, 1968)
  • Anthonij Goyaton เป็นชาวอาร์เมเนียเป็นหัวหน้าชาวต่างประเทศในกรุงศรีฯ ชาวตะวันตกในอยุธยามีน้อย บทความสำคัญมีน้อย ถูกมองข้ามไปมาก
  • Seyed Ali มีฐานะเป็น Prister หรือพระชาวอาหรับ...อิหม่าม
  • เอกสารบันทึกเป็นภาษาดัตช์ เป็นผู้ที่เห็นเหตุการณ์ (eyes witness account) ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติอินโดนีเซีย ที่ปัตตาเวีย (จาการ์ต้า) อีกฉบับเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเนเธอแลนด์ ภายใต้เอกสารกลุ่ม VOC
  • ข้อความจาก Goyaton & Seyed Ali หน้า 2
    • พม่า "เผากรุง" มีชาวพม่าเป็นไส้ศึกอยู่ในกรุงฯ
    • ให้การว่า สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสวรรคตในระหว่างที่ทรงถูกพม่าพาตัวไปพม่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงถูกชาวสยามสังหารเผา
    • ผู้ให้การถูกกวาดต้อนไปพม่า แต่หนีกลับมาเมืองไทยได้ มาอยู่ใกล้ปากน้ำเจ้าพระยาเป็นเวลาสามเดือน
    • เดินทางออกจากสยามด้วยเรือจีนไปยังเขมรและต่อไปถึงปาเล็มบัง ก่อนที่จะอาศัยเรืออีกลำมายังปัตตาเวีย
    • ในบริเวณบางกอก-ธนบุรี มีชาวสยามที่หนีภัยสงครามกลับมาหาเลี้ยงชีพด้วยการค้ากับเขมร และยังมีชาวจีนประมาณ 2,000 คน ภายใต้ผู้นำของเขา เลี้ยงชีพด้วยการหาปลาและเกษตรกรรม
  • แต่ทั้งนี้ การให้ข้อมูลของทั้งสองท่านอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะแม้อยู่ใน Timeline เดียวกัน แต่ก็อาจจะอยู่คนละสถานที่ ไม่ได้อยู่ในวัง ไม่ได้ทราบทุกจุด บางทีเรื่องใกล้ตัวก็อาจจะไม่รู้เรื่องราวทั้งหมด นี่คือปัญหาของการตีความประวัติศาสตร์
  • ทหารพม่าที่คุมการกวาดต้อนเชลยทหารไทยซึ่งมีนับพันคนนั้น มีเพียง 15 คน แน่นอนว่าระหว่างคุมตัว ยอมมีเชลยหนีไปได้มาก
  • เป็นไปได้ว่า "ภายใต้ผู้นำของเขา" นั่นคือพระยาตาก
  • เครือข่ายทางการค้าในอ่าวไทย ตั้งแต่ ฮาเตียน ปาเล็มปัง ก็การมีสินค้าแลกเปลี่ยน ก็ดึงดูดการค้า แตกพอกรุงศรีฯ แตก ก็ไม่มีอะไรจะค้าขาย ไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน ไม่มีกำลังซื้อ ทั้งดีบุก ไม้ฝาง และงาช้างก็ไม่มี...

เรือโบราณบัตตาเวีย (Batavia) ของดัตช์, ที่มา: http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1208.php, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2563.


2.  คำให้การของชาวจีน "โจเซโก้" Tjoseeko ว่าด้วยการเสียกรุง ค.ศ.1768 (พ.ศ.2311) (NA, VOC 3218)
  • ข้อความจากคำให้การเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเนเธอร์แลนด์
    • เอกสารภาษาดัตช์ แต่เป็นคำให้การของ "Tjoseeko" นายเรือชาวจีนจากเมืองปาเล็มบัง (Palembang) บนเกาะสุมาตราที่เพิ่งมาจากกรุงศรีอยุธยา
    • "Tjoseeko" ให้การแก่เจ้าหน้าที่บริษัท VOC ที่กรุงปัตตาเวีย
    • เนื้อหาหลักของเอกสารเกี่ยวกับชุมชนธนบุรีและพระยาตาก การสงคราม การค้า
    • ให้การว่ามีชุมชนธนบุรีเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีประชากรเพียง 3,000-4,000 คน ภายใต้การควบคุมปกครองของชาวจีนเลือดผสม ("Pie a Kat, se Thee", peranakan)
  • คำว่า Pie a Kat, se Thee น่าจะหมายถึง พระยาตาก แซ่แต้ ส่วนคำว่า เปอรานากัน (peranakan) แปลว่าชาวจีนโพ้นทะเลที่เกิดนอกแผ่นดินแม่
  • มีการกล่าวว่า สยามอยู่ในช่วงสงคราม มีการรบกับเจ้าองค์หนึ่งซึ่งอยู่ที่เมืองกาล็อก (น่าจะหมายถึง โคราช พิมาย) "เจ้า" ในที่นี่น่าจะหมายถึง กรมหมื่นเทพพิพิทธ
    • ข้าวยากหมากแพง แต่ราคาข้าวเริ่มลดลงเมื่อเรือสำเภาบรรทุกข้าวมาจากเมืองอาเตียนและเขมร/กัมพูชา (ลดลงหนึ่งในสี่) ผู้คนบริโภคต้นมะพร้าว ต้นกล้วย กับปลาที่จับได้ทุก ๆ วัน
    • Tjoseeko ขายข้าวและเสบียงอาหารอื่น ๆ ผ้า ให้การว่าไม่สามารถหาซื้อไม้ฝาง งาช้าง หรือดีบุกได้ มีแต่ "ปลาแห้ง" ชาวสยามไม่ได้ใช้เงินสดซื้อสินค้า แต่ใช้เครื่องทอง เงิน ทองแดง เพื่อแลก (Barter trade)
    • เอ่ยถึงเจ้านายในราชวงศ์เก่า กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ และกรมหมื่นเทพพิพิทธ
  • เจ้านายราชวงศ์เก่า (เจ้าศรีสังข์ และ เจ้าจุ้ย)ได้หนีไปทางกัมพูชาและอยู่ที่พุทไธมาศ (Ha-tien) และสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา....

3.  เอกสารการทูต ราชสำนักสยาม-ข้าหลวงใหญ่ฮอลันดา ค.ศ. 1769  (NA, VOC 3249, 1023; ANRI Dagregister...Casteel Batavia)
  • ข้อความจากคำให้การเก็บไว้ที่...
    • สาสน์ (ออกพระ) หลักฐานใหม่แสดงให้เห็นว่า (น่าจะเป็นพระยา) พิพัทธโกษา เขียนถึง Hoge Regering (Governor-General and Council) ข้าหลวงใหญ่ในช่วงนั้นได้แก่ Petrus Albertus van der Parra 13 มกราคม ค.ศ.1769 (พ.ศ.2312) .
    • เนื้อหาหลักของจดหมาย ราชสำนักสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องการซื้อปืนจากฮอลันดา และอยากเชื้อเชิญให้ดัตช์มาค้าขายในสยาม
    • บทบาทและสถานะของพญาตาก จดหมายการทูตในฐานะ "โฆษณาชวนเชื่อ" สิทธิธรรมของพระเจ้ากรุงธนบุรีในฐานะผู้นำหรือกษัตริย์ ความมั่งคั่งของสยาม
  • มีอาจารย์กำพล จำปาพันธุ์ (หนังสือศิลปวัฒนธรรม) อ้างถึงเอกสารนี้ และกล่าวว่า พระเจ้าเอกทัศมีพระบรมราชโองการให้เจ้าตากตีฝ่าออกไปนอกกรุงฯ (ต้องศึกษากันต่อไปอีกครับ...)
  • ทำไม ดัตช์ถึงยอมรับพระเจ้าตากเป็นกษัตริย์ อาจเป็นด้วยวิสัยพ่อค้า ซึ่งต่างการมองของพระเจ้ากรุงจีน
  • ชาวสยามหนีไปเยอะช่วงสงคราม และกลับมาใหม่ช่วงพระเจ้าตาก และต่างพร้อมใจเลือกให้พระเจ้าตากเป็นนายของคนสยาม และสอดคล้องกับเอกสารของฝรั่งเศส เนื่องด้วยมีสิทธิตามธรรมชาติ ในการปกครอง หาเสบียงอาหารให้ประชาชนกินได้ ในยามวิกฤต ก็ต้องเลือกเจ้าตาก แทนที่จะพิจารณาในเชิงสายเลือด
  • "โฆษณาชวนเชื่อ" กล่าวว่ากรุงธนบุรีนั้น อาจจะมั่งคั่งกว่าอยุธยา....ทำไงได้ เพราะสยามต้องการสินค้า เปิดประเทศ และอาวุธปืน
  • สาสน์ข้าหลวงใหญ่ ณ กรุงปัตตาเวียถึงราชสำนักสยาม
    • จดหมายจากนาย Van der Parra ถึง (พญา) พิพัทธโกษา 29 พฤษภาคม 1769 (พ.ศ.2312)
    • ฮอลันดายังไม่กลับมาตั้งสถานีการค้าในเมืองไทย อ้างว่าต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าชายแห่งออเรนจ์
    • การค้าไทย-ฮอลันดา สมัยกรุงธนบุรี ขายไม้ฝาง ซื้อปืนคาบศิลา
    • จดหมายใช้ภาษาจีน
  • จดหมายเต็มไปด้วยคำพูดที่สุภาพ แต่ไม่ตอบรับ ยกเว้นจะขายปืน เขาหาข้ออ้างที่จะไม่มา เพราะเขาไม่ไว้ใจในสถานการณ์เมืองไทย
  • การอ้างเจ้านาย อ้างเจ้าชาย ของดัตช์ (เจ้าชายแห่งออเรนจ์ เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ใน VOC ด้วยเป็นสาธารณรัฐดัตช์) เพื่อให้สอดคล้องกับ Perception ของคนไทยเรื่องศักดินา

4.  เจ้าในราชวงศ์เก่าในความรับรู้ของฮอลันดา
  • เจ้าศรีสังข์กับเจ้าจุ้ย ("Phe-ong Si Shiang", "Phe-ong Sjauwtjoei") ทรงเขียนถึงข้าหลวงใหญ่ฮอลันดา ปัตตาเวียได้รับและอ่านเมื่อวันที่ 3 เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1770 (พ.ศ.2313) ต้นฉบับภาษาฮอลันดาเก็บรักษาไว้ที่ ANRI (พิพิธภัณฑ์ที่ปัตตาเวีย)
  • ทรงประกาศสิทธิธรรมที่จะครองราชย์ และสัญญาว่าจะให้สิทธิทางการค้าแก่บริษัท VOC หากได้กลับเมืองไทย (ช่วงนั้นประทับอยู่ที่เมืองพุทไธมาศ Ha-tien)
  • ไม่สามารถซื้อของขวัญส่งไปให้ข้าหลวงใหญ่
  • เกิดสงครามที่ ฮาเตียน เจ้าเมืองฮาเตียนก็ไม่คิดจะส่งเจ้านายราชวงศ์เดิมกลับไปสยาม การที่เจ้านายราชวงศ์เดิมทั้งสองไม่สามารถซื้อของขวัญให้ข้าหลวงดัตช์ได้สะท้อนถึงข้อจำกัด (ถังแตก) ด้านเศรษฐกิจ
  • เอกสารนี้ทำให้เห็นภาพการก่อรัฐขึ้นมาในสยาม กรุงธนบุรี ตอนนั้นสยามมีประชากรเพียง 3,00-4,000 คน เรือสินค้า พาณิชย์นาวีถูกพม่าเผาหมดแล้ว ไม่มีทูตพาณิชย์ โกษาธิบดีใด ๆ เลย
  • สรุป
    • เอกสารฮอลันดาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นภาพช่วงเริ่มก่อรัฐขึ้นที่ธนบุรี
    • ธนบุรีในสองปีแรกน่าจะมีประชากรนับพันเท่านั้น แต่ในปีที่สาม (ค.ศ.1769) รัฐธนบุรีสามารถฟื้นฟูโครงสร้างและวิธีปฏิบัติของรัฐสยาม
    • ความสำคัญและความต่อเนื่องของการค้าระหว่างเมืองท่าในอ่าวไทย กับเมืองท่าในบริเวณหมู่เกาะ (บางกอก-ธนบุรี บางปลาสร้อย จันทบูร ฮาเตียน ปาเล็มบัง ปัตตาเวีย)
    • บทบาทพ่อค้าและนายเรือ (ในเอกสารเรียกว่า nakhoda, anachoda) ชาวจีน หรือเชื้อสายจีน ในการฟื้นฟูรัฐสยามที่ธนบุรี.
  • เจ้าตากได้ทั้งเรือ และคนมาจากทางตะวันออก การซื้ออาวุธ ปืนคาบศิลา 1,000 กระบอกแรกที่ VOC ส่งให้สยาม โดยผ่านเรือสำเภาจีน
  • รัฐกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี มีองค์ประกอบที่มีความเป็นจีนสูงมาก ควรต้องศึกษาเอกสารชั้นต้นของจีนต่อไป...

พิจารณาจากเอกสารของจีน
  • มีเอกสารสำคัญในช่วง 15 ปีที่พระเจ้าตากครองราชย์ มีหลายฉบับ
  • เอกสารที่บันทึกเรื่องราวการแต่งทูตไปเมืองจีนสมัยกรุงธนบุรี
    • พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
    • พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
    • จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี (มีพงศาวดารกระซิบ ให้ไปขอลูกสาวเจ้ากรุงปักกิ่งกลับมาด้วย...แต่ไม่พบจากเอกสารฝั่งจีน)
    • พระราชสาสน์ไปกรุงปักกิ่ง จ.ศ.1143 (สมุดไทยดำ)
    • นิราศกวางตุ้งของหลวงนายศักดิ์ (นิราศพระยามหานุภาพ) ช่วงปลายกรุงธนบุรี
    • จดหมายเหตุรายวันราชวงศ์ชิง (ชิงสื่อลู่) หมวด"เกาจงสื่อลู่" สมัยจักรพรรดิเกาจง หรือ ฮ่องเต้เฉียนหลง ตรงกับสมัยกรุงธนบุรี
  •  เจ็ดครั้ง ที่ราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงธนบุรีไปกรุงปักกิ่ง แต่ล้มเหลวหกครั้งแรก
  • เอกสารสมุดไทยดำ ข้างต้น ปัจจุบันอยู่ที่ไต้หวัน เอกสารที่เป็นทองคำแผ่นส่งไปจีน ทางจีนมักจะหลอมเป็นพระพุทธรูปหรืออย่างอื่นสุดแล้วแต่
  • เอกสารชิงสื่อลู่ สำคัญมาก เอกสารต่าง ๆ ที่รัฐบรรณาการทั้งหลายส่งให้จีน มีเป็นพัน ๆ กระสอบ (เยอะมาก) [52:15] ...



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. ถอดเทปบรรยาย "การค้าและการต่างประเทศในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี| ธนบุรีในวัฏจักรการเปลี่ยนแปลง", จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 2-3 มีนาคม 2561, ความสัมพันธ์กับฝรั่ง โดย รศ.ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, ความสัมพันธ์กับจีน โดย ผศ.ศุภการ สิริไพศาล, ดำเนินรายการโดย ดร.ตรงใจ หุตางกูร
humanexcellence.thailand@gmail.com