MENU
TH EN

2. ประวัติศาสตร์จักรยาน และ เดอะ เวด เมคัม (พ.ศ.๒๔๒๘)

First revision: Jan.07, 2014
Last change: Jan.19, 2014
จักรยานเริ่มถือกำเนิดขึ้นอย่างช้า ๆ ท่ามกลางการมองของผู้คนอย่างแปลก ๆ และเย้ยยันว่ามันไม่ได้ดีหรืออาจจะแย่กว่าการเดินเสียด้วยซ้ำ.  นับเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ ของสามประเทศหลักด้านจักรยานโลก คือ อังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศส.
"ผู้รวบรวมและเขียน" กับหลาน "เป็นต่อ" ที่หน้าหมู่บ้านพุทธธานี เมื่อ 11 กรกฎาคม 2554
 
2. ประวัติศาสตร์จักรยาน และ เดอะ เวด เมคัม พ.ศ.๒๔๒๘.

ประวัติศาสตร์จักรยานโดยสังเขป:
          จักรยานนั้น, จุดเริ่มต้นมาจากความน่าเชื่อในการใช้ม้าเป็นพาหนะเดินทาง และการรุ่งอรุณของการขนส่งด้วยจักรกลส่วนบุคคล. จักรยานได้ให้ความอิสระแก่ผู้คนจากแหล่งที่พำนักอาศัย และนำพาเขาเหล่านี้ไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ได้พบปะผู้คน เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเป็นอยู่ของชาวบ้านร้านตลาดของประเทศ (ในที่นี้หมายถึงประเทศอังกฤษ) อย่างเสรี. โดยแท้จริงแล้ว นักประวัติศาสตร์มักจะมองข้ามจักรยานไปเสีย กลับไปมุ่งความสนใจการเคลื่อนย้ายผู้คนด้วยรถไฟแทน. ทั้ง ๆ จักรยานนี้เอง มีส่วนสำคัญให้ชุมชนเล็ก ๆ ธำรงความเป็นชุมชนไว้. (จักรยานช่วยให้ผู้คนเดินทางไปมาบ้าน-ที่ทำงาน โดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน ดังนั้นขนาดของชุมชนก็ยังคงมีขนาดเท่าเดิม).

          จักรยานนั้น มีแหล่งกำเนิดที่คลุมเครือว่ามาจากประเทศฝรั่งเศส ราว พ.ศ. ๒๓๑๓ (ค.ศ.1770). จักรยานคันแรกของโลกนั้น ดูแปลกพิลึกพิลั่น และก็มีผู้คิดว่ามันเหมือนเป็นรถลากเปื้อนโคลนที่วิ่งลู่อยู่บนถนนซึ่งมีหลุมขรุขระขนาดใหญ่อยู่. มันเป็นการยากที่จินตนาการว่าจะมีใคร สามารถนำจักรยาน(คันแรกของโลกนี้) มาใช้ปั่นได้ระยะและเกิดประโยชน์ได้. ในขณะที่ทุก ๆ สิ่งประดิษฐ์ ล้วนแล้วแต่มีผู้คนที่พร้อมจะช่วยปรับปรุงให้ดีขึ้นจากต้นแบบดั้งเดิม และสิ่งประดิษฐ์เช่นจักรยาน ก็ไม่ได้รับการยกเว้น. ตัวอย่างเช่น ในช่วงเปลี่ยนของศตวรรษ (จากคริสตศวรรษที่ ๑๘ เป็น ๑๙) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกานั้น มีสองอาคารที่กำกับดูแลจัดการทุก ๆ สิทธิบัตร (Patent) ในสหรัฐอเมริกา. ตึกแรกจะรวบรวมทุกประเภทผลิตภัณฑ์ที่เราคิดค้นขึ้น และตึกหลังที่สองจะถูกสำรองไว้จำเพาะสำหรับสิทธิบัตรต่าง ๆ ของจักรยาน.

          ดูท่าจะยากเอาการที่จะบอกให้ได้ชัด ๆ ว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์จักรยาน แต่บุคคลที่จะกล่าวต่อไปนี้ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาจักรยาน.

          ราว ๆ ปี พ.ศ. ๒๓๖๑-๒๓๖๓ (ค.ศ.1818-1820) เครื่องจักรในการขับเคลื่อนพื้น ๆ ที่ชื่อ "ม้าขี่ยามว่าง ๆ (Hobby horse)" หรือ "ลอฟมัชชินเนอ (Laufmaschine)"1 ซึ่งแปลว่าเครื่องเดิน  ถูกประดิษฐ์โดยขุนนางระดับบารอนชาวเยอรมันที่ชื่อ คาร์ล ฟอน ไดรส์ (Karl Von Drais) ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนิ้วเท้าและฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นโดยตรงเพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้า.
คาร์ล ฟอน ไดรส์ ราว ๆ ค.ศ.1820 ช่วงที่เขายังเป็นบารอน

คาร์ล ฟอน ไดรส์ กับ "ลอฟมัชชินเนอ" ในช่วงปี ค.ศ.1819
 
       ได้มีการจดสิทธิบัตรในฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๑ (ค.ศ.1818) ต่อมาสิ่งประดิษฐ์นี้ได้รับการปรับปรุงขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ.1860s) โดยชาวฝรั่งเศสสองคนที่ชื่อ "เออร์เนส และ เพแอร์  มิชูซ์ (Ernest & Pierre Michaux)" (เออร์เนสเป็นบุตรชาย ส่วนเพแอร์เป็นบิดา) ได้พัฒนาตีนถีบหรือที่เหยียบ (Pedal) ด้วยการวางไว้ที่ล้อหน้า
เออร์เนส มิชูซ์ และมิชัวดีน เวลอซิพีด (Michaudine velocipede)2
 
       จักรยานในรุ่นนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ เวลอซิพีด (Velocipede) หรือ เครื่องเขย่ากระดูก (Boneshaker). และมันได้ถูกผลิตในฝรั่งเศสโดยบริษัทจำกัดในกรุงปารีส (Cie Parisienne) ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจการผลิตและจำหน่ายจักรยาน.

ที่มาและคำอธิบาย:
01จาก. en.wikipedia.org/wiki/Karl_Drais, วันที่สืบค้น ๑๙ มกราคม ๒๕๕๗.
02. จาก. en.wikipedia.org/wiki/Pierre_Michaux, วันที่สืบค้น ๑๙ มกราคม ๒๕๕๗.



 
info@huexonline.com