MENU
TH EN

พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 2

Title Thumbnail & Hero Image: พระพุทธรูปนูนต่ำแบบต่าง ๆ รอบพระมหาเจดีย์พุทธคยา รัฐพิหาร ภารตะ, ถ่ายไว้เมื่อ 5 มกราคม 2568.
พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 2
First revision: Jul.8, 2025
Last change: Jul.9, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
หน้าที่ 1
พระโพธิสัตว์ สมันตภัทระ (समन्तभद्र - Samantabhadra), ที่มา: www.reddit.com, วันที่เข้าถึง: 8 กรกฎาคม 2568.
1.
       พระสมันตภัทระ (समन्तभद्र - Samantabhadra) - ในความหมายของพระพุทธศาสนา มหายานนิกายแล้ว พระสมันตภัทระ เป็นชื่อของพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตามที่ปรากฎในบทที่ 47 มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ (สส. - महाप्रज्ञापारमिताशास्त्र - Mahāprajñāpāramitāśāstra - The Perfection of Wisdom Sūtra) อันเป็นงานประพันธ์ในพุทธศตวรรษที่ 7 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 2 และพระสมันตภัทระนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ได้รับการเคารพนับถือจากพุทธมามกะในเอเชียตะวันออก พระองค์มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรม การทำสมาธิ และคำปฏิญาณอันยิ่งใหญ่ 10 ประการของพระโพธิสัตว์ตามที่กล่าวไว้ในพระสูตรอวตัมสก (สส. - अवतांसक सूत्रम् - the Avataṃsaka Sūtra) พระสมันตภัทรมักปรากฏอยู่เคียงข้างพระศากยมุนี (สส. - शाक्यमुनि बुद्ध - Shakyamuni Buddha) และพระโพธิสัตว์มัญชุศรี (สส. - बोधिसत्त्व मञ्जुश्री - the bodhisattva Mañjuśrī) ซึ่งประกอบเป็นพระไตรลักษณ์พระศากยมุนี หรือ พระศากยมุนีตรียัม (สส. - शाक्यमुनित्रियम् - the Shakyamuni Triad) นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในนามผู่เซียน (普贤菩萨 - Puxian) ในพระพุทธศาสนาของจีน และในพระพุทธศาสนาของญี่ปุ่น พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในนามฟูเก็น (普賢菩薩 - Fugen - Fugen Bosatsu) ในพระพุทธศาสนาของญี่ปุ่นอีกด้วย.
1.
2.
หน้าที่ 2

พระนาคารชุน (สส. - नागार्जुन - Nāgārjuna), ที่มา: www.pinterst.com, วันที่สืบค้น: 9 กรกฎาคม 2568.
1.
       แนวคิดสำคัญของสำนักมัธยมกะ บ้างก็เรียกมัธยมิกะ บ้างก็เรียกมาธยมกะ (สส. - माध्यामिक - Mādhyamika) แปลว่า "สายกลาง" มาจากคำว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" บางครั้งก็เรียกสำนักนี้ว่า ศูนฺยตา (สส. - शुन्यता - Śūnyatā) หรือ สุญญตา (บฬ.) เป็นสำนักที่มีชื่อเสียงด้านปรัชญาและการปฏิบัติของพระพุทธศาสนา มหายานนิกาย สำนักนี้มีลักษณะเด่นคือเน้นที่ มัชฌิมปฏิปทา {(บฬ.- Majjhimāpaṭipadā, สส. - मध्यमप्रतिपाद - Madhyamāpratipada) - ทางสายกลาง (middle way)} ซึ่งเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติระหว่างสุดโต่งหรือสุดขั้วของการดำรงอยู่และการไม่มีอยู่ โดยเน้นที่ความว่างเปล่า (ศูนฺยตา) ของปรากฎการณ์ทั้งหมด. พระนาคารชุน ปราชญ์ภารตะชาวพุทธ ในพุทธศตวรรษที่ 7 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จัดระบบความคิดมัธยมกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านมูลมัธยมกะการิกา (สส. - मूलमध्यमकारिका - Mūlamadhyamakakārikā - the fundamental verses of the middle) ของท่าน.








 
humanexcellence.thailand@gmail.com