อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน, |
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้; |
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, |
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; |
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก, |
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์; |
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก, |
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน; |
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, |
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ; |
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ :- |
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า :- |
ชาติปิ ทุกขา, |
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์; |
ชะราปิ ทุกขา, |
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์; |
มะระณัมปิ ทุกขัง, |
แม้ความตายก็เป็นทุกข์; |
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, |
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์; |
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, |
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์; |
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, |
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์; |
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, |
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์; |
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, |
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์; |
เสยยะถีทัง, |
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :- |
รูปูปาทานักขันโธ, |
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป1; |
เวทะนูปาทานักขันโธ, |
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา2; |
สัญญูปาทานักขันโธ, |
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา3; |
สังขารูปาทานักขันโธ, |
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร4; |
วิญญาณูปาทานักขันโธ, |
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ5; |
เยสัง ปะริญญายะ, |
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง, |
ธะระมาโน โส ภะคะวา, |
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่, |
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, |
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก; |
เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ
อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ, |
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก,
มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า:- |
รูปัง อะนิจจัง, |
รูปไม่เที่ยง; |
เวทะนา อะนิจจา, |
เวทนาไม่เที่ยง; |
สัญญา อะนิจจา, |
สัญญาไม่เที่ยง; |
สังขารา อะนิจจา, |
สังขารไม่เที่ยง; |
วิญญาณัง อะนิจจัง, |
วิญญาณไม่เที่ยง; |
รูปัง อะนัตตา, |
รูปไม่ใช่ตัวตน; |
เวทะนา อะนัตตา, |
เวทนาไม่ใช่ตัวตน; |
สัญญา อะนัตตา, |
สัญญาไม่ใช่ตัวตน; |
สังขารา อะนัตตา, |
สังขารไม่ใช่ตัวตน; |
วิญญาณัง อะนัตตา, |
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน. |
สัพเพ สังขารา อะนิจจา, |
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้. |
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ. |
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้. |
เต (ตา)6 มะยัง โอติณณามหะ, |
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว; |
ชาติยา, |
โดยความเกิด; |
ชะรามะระเณนะ, |
โดยความแก่ และความตาย; |
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, |
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย; |
ทุกโขติณณา, |
เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว; |
ทุกขะปะเรตา, |
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว; |
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ. |
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฎชัด แก่เราได้. |
จิระปะรินิพพุตัมปิตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, |
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ; |
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, |
ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย; |
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, |
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง, |
สา สา โน ปะฏิปัตติ, |
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย; |
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. |
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ. |