MENU
TH EN

คำสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย

คำสวดสรรเสริญพระรัตนตรัยนี้ เมื่อมีการเวียนเทียน รอบองค์พระประธาน พระเจดีย์ หรือสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ในวันสำคัญต่าง ๆ การนำบทสวดนี้ไปภาวนาในระหว่างเดินเวียนเทียน จะทำให้กาย วาจา และจิตใจเป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน น้อมถวายเป็นพุทธบูชา รำลึกถึงพระคุณของพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ รวมทั้งเป็นการสร้างบารมีแก่ผู้เวียนเทียนด้วย
  • รอบแรก ให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ โดยภาวนาคาถาในบท อิติปิโส..............ไปจนจบ
  • รอบที่ ๒ ให้ระลึกถึง พระธรรมคุณ โดยภาวนา คาถาในบท สวากขาโต........ไปจนจบ
  • รอบที่ ๓ ให้ระลึกถึง พระสังฆคุณ โดยภาวนาคาถาในบท สุปะฏิปันโน.........ไปจนจบ

"เราปลงตกแล้ว เราตระหนักดีแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
 อนาคตที่จะมา เป็นเรื่องไร้สาระ
 อดีตที่ผ่านไปแล้ว ก็เป็นเรื่องไร้สาระ
 (เราควรอยู่ในปัจจุบัน) ให้สมดุลกับชีวิตและความตาย
"

 
                    
โดย ศรีบัณฑิต ยวาหระลาล เนห์รู
นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย

จากหนังสือ "พบถิ่นอินเดีย"
                   
First Revision: Jun.06, 2012
Last change: Jul.31, 2021

คำสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย


พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ - ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔
ชาวฉะเชิงเทรา:
แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๐๐ ปี ท่านได้คิดแบบสอนอ่านหนังสือไทย รวม ๖ เล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน พิศาลการันต์ ไวพจน์พิจารณ์ ฯลฯ

 
 
๑. ให้นั่งคุกเข่าลงพร้อมกัน ประนมมือ

 

 

๒. ให้ผู้เป็นหัวหน้านำสวด และคนอื่น ๆ ว่าตามดังต่อไปนี้:-

        อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
        พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ)
        สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
        ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ)
        สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
        สังฆังนะมามิ
(กราบ)

๓. ให้ลุกขึ้นยืนพร้อมกัน ประนมมือ
๔. ให้ตั้งนะโม ๓ จบ สวดทำนองสังโยคหลวงไว้ระยะ ดังต่อไปนี้ :-

        (นำ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต......................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป)...................อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
        นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
        อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
        นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
        อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


๕. ให้สวดพระพุทธคุณ ดังต่อไปนี้ :-

        (นำ) อิติปิโส ภะคะวา...................................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป)......................อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
        วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
        อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
        เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ


๖. ให้สวดคาถานมัสการพระพุทธคุณ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นทำนองสรภัญญะ ดังต่อไปนี้ :-

        (นำ) องค์ใดพระสัมพุทธ์...................................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป) ..........สุวิสุทธะสันดาน
        ตัดมูลกะเลสมาร                         บ่มิหม่นมิหมองมัว
             หนึ่งในพระทัยท่าน                ก็เบิกบานคือดอกบัว
        ราคีบ่พันพัว                                สุวะคนธะกำจร
             องค์ใดประกอบด้วย               พระกรุณาดังสาคร
        โปรดหมู่ประชากร                       มะละโอฆะกันดาร
             ชี้ทางบรรเทาทุกข์                 และชี้สุขกะเกษมศานต์
        ชี้ทางพระนะฤพาน                      อันพ้นโศกวิโยคภัย
             พร้อมเบญจะพิธะจัก              ษุจะรัสวิมลใส
        เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                      ก็เจนจบประจักษ์จริง
             กำจัดน้ำใจหยาบ                   สันดานบาปทั้งชายหญิง
        สัตวะโลกได้พึ่งพิง                      มะละบาปบำเพ็ญบุญ
            ข้าขอประณตน้อม                   ศิริเกล้าบังคมคุณ
        สัมพุทธะการุญ                           ญะภาพนั้นนิรันดร ฯ


๗. ให้สวดพระธรรมคุณ ดังต่อไปนี้ :-

        (นำ) สวากขาโต ............................................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป) ภะคะวะตา ธัมโม
        สันทิฏฐิโก         อะกาลิโก         เอหิปัสสิโก
        โอปะนะยิโก        ปัจจัตตัง          เวทิตัพโพ
        วิญญูหีติ ฯ
 


๘. ให้สวดคาถานมัสการพระธรรมคุณ ของพระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นทำนองสวดฉันท์ดังต่อไปนี้ :-

        (นำ) ธัมมะคือคุณากร .......................................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป) ............... ส่วนชอบสาทร
        ดุจดวงประทีปชัชะวาล
             แห่งองค์พระศาสดาจารย์          ส่องสัตว์สันดาร
        สว่างกระจ่างใจมน
             ธรรมใดนับโดยมรรคผล            เป็นแปดพึงยล
        และเก้ากับทั้งนะฤพาน
             สมญาโลกอุดรพิสะดาร              อันลึกโอฬาร
        พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
             อีกธรรมต้นทางครรไล               นามขนานขานไข
        ปะฏิบัติปะริยัติเป็นสอง
             คือทางดำเนินดุจคลอง               ให้ล่วงลุปอง
        ยังโลกอุดรโดยตรง
             ข้าขอโอนอ่อนอุตตะมงค์             นบธรรมจำนง
        ด้วยจิตและกายวาจา ฯ


๙. ให้สวดพระสังฆคุณ ดังต่อไปนี้ :-

        (นำ) สุปะฎิปันโน..........................................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป) ................. ภะคะวะโต
        สาวะกะสังโฆ
        อุชุปะฏิปันโน          ภะคะวะโต          สาวะกะสังโฆ
        ญายะปะฏิปันโน     ภะคะวะโต          สาวะกะสังโฆ
        สามีจิปะฏิปันโน     ภะคะวะโต           สาวะกะสังโฆ
        ยะทิทัง                  จัตตาริ             ปุริสะยุคานิ                อัฏฐะปุริสะปุคคะลา
        เอสะ                     ภะคะวะโต         สาวะกะสังโฆ             อาหุเนยโย
        ปาหุเนยโย           ทักขิเณยโย     อัญชะลีกะระณีโย      อนุตตะรัง
        ปุญญักเขตตัง      โลกัสสาติ ฯ


๑๐. ให้สวดคาถานมัสการพระสังฆคุณ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

        (นำ) สงฆ์ใดสาวกศาสะดา ...................................................
        (รับและสวดพร้อมกันต่อไป) ................... รับปะฏิบัติมา
        แด่องค์สมเด็จภะคะวันต์
             เห็นแจ้งจัตุสัตย์เสร็จบรร               ลุทางที่อัน
        ระงับและดับทุกข์ภัย
             โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร                 ปัญญาผ่องใส
        สะอาดและปราศมัวหมอง
             เหินห่างทางข้าศึกปอง                   บมิลำพอง
        ด้วยกายและวาจาใจ
             เป็นเนื้อนาบุญอำไพ                       ศาลแดโลกัย
        และเกิดพิบูลพูนพล
             สมญาเอารสทศะพล                       มีคุณอะนนต์
        อะเนกจะนับเหลือตรา
             ข้าขอนบหมู่พระศะรา                     พกทรงคุณา
        นุคุณประดุจรำพัน
             ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์                   พระไตรรัตน์อัน
        อุดมดิเรกนิรัติศัย
             จงช่วยขะจัดโพยภัย                      อันตะรายใดใด
        จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ 


๑๑. ให้สวด พาหุง ดังต่อไปนี้ :-

       (นำ) พาหุงสะหัสสะมะภินิม .............................................
       (รับและสวดพร้อมกันไป) มิตะสาวุธันตัง
       ครีเมขะลัง      อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

       ทานาทิธัมมะวิธินา     ชิตะวา     มุนินโท
       ตันเตชะสา     ภะวะตุ     เม     ชะยะสิทธิ     นิจจัง ฯ


๑๒. ให้สวด ชัยมงคล เป็นทำนองสรภัญญะดังต่อไปนี้ :-

       (นำ) ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท ......................................
       (รับและสวดพร้อมกันต่อไป)           ธะวิสุทธะศาสะดา
       ตรัสรู้อะนุตตะระสะมา                  ธิณะโพธิบัลลังก์
            ขุนมารสะหัสสะพะหุพา          หุวิชาวิชิตขลัง
       ขี่คีริเมขะละประทัง                        คะชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
            แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์      กะละคิดจะรอนราญ
       รุมพลพะหลพะยุหะปาน               พระสมุทรทะนองมา
            หวังเพื่อผะจญวะระมุนิน          ทะสุชินะราชา
       พระปราบพะหลพะยุหะมา            ระมะเลืองมลายสูญ
            ด้วยเดชะองค์พระทศะพล       สุวิมละไพบูลย์
       ทานาทิธรรมะวิทิกูล                     ชะนะน้อมมะโนตาม
            ด้วยเดชะสัจจะวะจะมา            และนะมามิองค์สาม
       ขอจงนิกรพะละสยาม                   ชะยะสิทธิทุกวาร
            ถึงแม้จะมีอะริวิเศษ                  พะละเดชะเทียมมาร
       ขอไทยผะจญพิชิตะผลาญ           อะริแม้นมุนินทร ฯ
          


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
๑  จาก. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
      ๓๑๔ - ๓๑๖ ปากซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ
      กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐
      โทร. ๐๒ ๒๒๓-๓๓๕๑, ๐๒ ๒๒๓-๕๕๔๘, ๐๒ ๒๒๕-๗๔๙๑,
      ๐๒ ๒๒๑-๐๑๓๕ โทรสาร ๐๒ ๖๒๑-๒๙๑๐
จาก. http://th.wikipedia.org/wiki/พระยาศรีสุนทรโวหาร_(น้อย_อาจารยางกูร), วันที่สืบค้น: ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕
๓  จาก. http://th.wikipedia.org/wiki/บทสวดทำนองสรภัญญะ, วันที่สืบค้น: ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕, บทสวดทำนองสรภัญญะ (/สะระพันยะ/ หรือ /สอระพันยะ/) คือ การอ่านบทประพันธ์คำฉันท์ที่มีเนื้อหาบูชาพระรัตนตรัยสำหรับสวดเป็นทำนอง กล่าวคือเป็นการอ่านทำนองสวดมนต์ในทำนองสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ ปัจจุบันบทสวดสรภัญญะที่เป็นที่รู้จักทั่วไป เรียกตามภาษาปากว่า บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธ ตามข้อความบาทแรกของบทสวด

หากท่านประสงค์ที่จะแนะนำ ติชม ตัดทอน เพิ่มเสริม เพื่อความสมบูรณ์และเหมาะสมของข้อมูล สามารถส่งข้อความดังกล่าวได้มายัง info@huexonline.com หรือ www.facebook.com/human.excellence และใคร่ขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
humanexcellence.thailand@gmail.com